November 24, 2024

การ์ทเนอร์ ประกาศ 10 เทรนด์เทคโนโลยีเชิงกลยุทธ์ที่องค์กรต้องจับตาและศึกษาในปี 2567

บาร์ท วิลเลมเซ่น รองประธานฝ่ายวิจัยการ์ทเนอร์ กล่าวว่า “การรับมือกับความปั่นป่วนทางเทคโนโลยีและความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจและสังคมต้องอาศัยความกล้าที่จะมุ่งมั่นอย่างตรงไปตรงมาและเพิ่มความยืดหยุ่นในการตอบสนองอย่างเฉพาะเจาะจง ผู้นำไอทีอยู่ในสถานะที่ต่างจากผู้อื่นในการวางโรดแมปเชิงกลยุทธ์ โดยการลงทุนเทคโนโลยีจะช่วยให้ธุรกิจยังคงประสบความสำเร็จได้ ท่ามกลางความไม่แน่นอนและแรงกดดันเหล่านี้”

คริส ฮาวเวิร์ด รองประธานและหัวหน้าฝ่ายวิจัยของการ์ทเนอร์ กล่าวว่า “ผู้นำไอทีและผู้บริหารในส่วนงานอื่น ๆ ต้องประเมินผลกระทบและประโยชน์จากเทรนด์เทคโนโลยีเชิงกลยุทธ์ แต่ไม่ใช่เรื่องง่ายเมื่อพิจารณาจากจำนวนนวัตกรรมทางเทคโนโลยีที่เพิ่มขึ้น ตัวอย่างเช่น Generative AI และ AI ประเภทอื่น ๆ ที่นำเสนอโอกาสและขับเคลื่อนเทรนด์ต่าง ๆ แต่การจะได้มาซึ่งคุณค่าทางธุรกิจจากการใช้ AI อย่างต่อเนื่องนั้น ต้องมีแนวทางที่เป็นขั้นเป็นตอนเพื่อการนำไปใช้ได้อย่างครอบคลุม ควบคู่กับการใส่ใจในความเสี่ยง”

10 เทรนด์เทคโนโลยีเชิงกลยุทธ์ในปี 2567 ได้แก่

 

Democratized Generative AI

Generative AI (หรือ GenAI) กำลังกลายเป็นเทคโนโลยีสาธารณะด้วยการผสานรวมรูปแบบจำลองที่ได้รับการฝึกฝนล่วงหน้าไว้จำนวนมาก เข้ากับการประมวลผลคลาวด์และระบบโอเพ่นซอร์ส ทำให้ผู้ใช้งานทั่วโลกสามารถเข้าถึงโมเดลเหล่านี้ได้ การ์ทเนอร์คาดว่าภายในปี 2569 องค์กรมากกว่า 80% จะใช้ GenAI API และโมเดลต่าง ๆ และ/หรือปรับใช้แอปพลิเคชันที่เปิดใช้งาน GenAI ในสภาพแวดล้อมการผลิต เพิ่มขึ้นจากช่วงต้นปี 2566 ที่น้อยกว่า 5%

แอปพลิเคชัน GenAI ต่าง ๆ ช่วยให้ผู้ใช้เข้าถึงแหล่งข้อมูลมากมายจากภายในและภายนอกองค์กรเพื่อใช้ในทางธุรกิจได้ ซี่งหมายความว่าการนำ GenAI มาใช้อย่างรวดเร็วจะทำให้เกิดองค์ความรู้และทักษะในองค์กรอย่างเสรีและมีนัยสำคัญ โดยโมเดลภาษาขนาดใหญ่ (LLM) จะช่วยให้องค์กรเชื่อมโยงพนักงานกับความรู้ในรูปแบบการสนทนาพร้อมเข้าใจความหมายที่หลากหลาย

AI Trust, Risk and Security Management การเข้าถึง AI แบบเสรีทำให้ต้องมีการกำหนดกลยุทธ์สำหรับจัดการด้านความน่าเชื่อถือ ความเสี่ยง และการรักษาความปลอดภัย (หรือ TRiSM) อย่างเร่งด่วนและชัดเจนมากยิ่งขึ้น หากไม่มีกลยุทธ์ที่ตีกรอบโมเดลการใช้ AI จะสร้างผลลบแบบทบต้นที่ควบคุมไม่ได้ บดบังประสิทธิภาพเชิงบวกและประโยชน์ที่สังคมควรได้รับจาก AI ทั้งนี้ AI TRiSM มอบเครื่องมือสำหรับ ModelOps, การป้องกันข้อมูลเชิงรุก, ความปลอดภัยเฉพาะของ AI, การมอนิเตอร์โมเดล (รวมถึงการตรวจสอบการเปลี่ยนแปลงของข้อมูล - Data Drift หรือของโมเดล - Model Drift และ/หรือผลลัพธ์โดยไม่ได้ตั้งใจ) และการควบคุมความเสี่ยงของการอินพุตและเอาต์พุตไปยังโมเดลและแอปพลิเคชันของผู้ให้บริการรายอื่น ๆ

 

การ์ทเนอร์คาดการณ์ว่า ภายในปี 2569 องค์กรที่ใช้การควบคุม AI TRiSM จะเพิ่มความแม่นยำในการตัดสินใจ โดยกำจัดข้อมูลผิดพลาดและผิดกฎหมายได้มากถึง 80%

AI-Augmented Development

การพัฒนาเสริมด้วย AI คือการใช้เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ เช่น GenAI และ Machine Learning เพื่อช่วยในการออกแบบ เขียนโค้ด และทดสอบแอปพลิเคชันให้กับวิศวกรซอฟต์แวร์ โดยการทำวิศวกรรมซอฟต์แวร์ที่ใช้ AI มาช่วย (AI-assisted Software Engineering) จะปรับปรุงประสิทธิภาพการทำงานของนักพัฒนา และช่วยให้ทีมพัฒนาตอบสนองความต้องการซอฟต์แวร์ที่เพิ่มขึ้นสำหรับการดำเนินธุรกิจ เครื่องมือที่พัฒนาขึ้นโดยใช้ AI (AI-Infused Development Tools) เหล่านี้ช่วยให้วิศวกรซอฟต์แวร์ใช้เวลาเขียนโค้ดน้อยลง จึงสามารถใช้เวลามากขึ้นกับงานเชิงกลยุทธ์มากขึ้นเช่นการออกแบบและจัดวางองค์ประกอบของแอปพลิเคชันทางธุรกิจที่น่าสนใจ

Intelligent Applications

การ์ทเนอร์ให้คำจำกัดความของแอปพลิเคชันอัจฉริยะที่มีความชาญฉลาด ว่าเป็นความสามารถในการเรียนรู้ปรับตัวให้ตอบสนองอัตโนมัติอย่างเหมาะสม โดยข้อมูลอัจฉริยะนี้สามารถนำไปใช้ในหลายเคสการใช้งานเพื่อเพิ่มหรือทำงานอัตโนมัติได้ดียิ่งขึ้น เนื่องจากความสามารถพื้นฐาน ความชาญฉลาดในแอปพลิเคชันประกอบด้วยบริการต่าง ๆ ที่ใช้ AI เช่น การเรียนรู้ของเครื่อง การเก็บเวกเตอร์และข้อมูลที่เชื่อมต่อ ด้วยเหตุนี้แอปพลิเคชันอัจฉริยะจึงมอบประสบการณ์ที่ปรับเข้ากับผู้ใช้แบบไดนามิก

ความต้องการใช้งานแอปพลิเคชันอัจฉริยะนั้นมีอยู่ โดย 26% ของผู้บริหารระดับซีอีโอ จากการสำรวจของการ์ทเนอร์ 2023 Gartner CEO and Senior Business Executive Survey ระบุว่าการขาดแคลนบุคลากรที่มีทักษะความสามารถเป็นความเสี่ยงที่สร้างความเสียหายมากที่สุดต่อองค์กร โดยการดึงดูดและรักษาผู้มีความสามารถเป็นสิ่งสำคัญอันดับแรกในด้านบุคลากรของผู้บริหาร ขณะที่ AI ได้รับเลือกให้เป็นเทคโนโลยีที่จะส่งผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญต่ออุตสาหกรรมในช่วงสามปีข้างหน้า

Augmented-Connected Workforce

Augmented-Connected Workforce (ACWF) เป็นกลยุทธ์ในการเพิ่มมูลค่าที่ได้รับจากแรงงานมนุษย์ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ความจำเป็นในการเร่งและขยายทีมบุคลากรที่มีทักษะและความสามารถกำลังขับเคลื่อนกระแส ACWF กลยุทธ์ ACWF ใช้แอปพลิเคชันอัจฉริยะและการวิเคราะห์ประสิทธิภาพของบุคลากรเพื่อสร้างบริบทและแนวทางการทำงานทุกวันเพื่อสนับสนุนประสบการณ์ ความเป็นอยู่ที่ดี และความสามารถในการพัฒนาทักษะของตนเองของทีมงาน ขณะเดียวกัน ACWF ยังใช้ขับเคลื่อนผลลัพธ์ทางธุรกิจและผลกระทบเชิงบวกต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสียหลัก

 

ในปี 2570 ผู้บริหารไอที (CIOs) 25% จะริเริ่มการเชื่อมโยงพนักงานให้ทำงานร่วมกันมากขึ้น (Augmented-Connected Workforce) เพื่อลดเวลาการทำงานในบทบาทสำคัญลง 50%

Continuous Threat Exposure Management

การจัดการความเสี่ยงต่อภัยคุกคามอย่างต่อเนื่อง (Continuous Threat Exposure Management หรือ CTEM) เป็นแนวทางเชิงปฏิบัติและเป็นระบบที่ช่วยให้องค์กรประเมินการเข้าถึง ความเสี่ยง และการใช้ประโยชน์จากสินทรัพย์ดิจิทัลและสินทรัพย์ที่จับต้องได้ขององค์กรได้อย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ การจัดวางขอบเขตการประเมินและการแก้ไข CTEM ให้สอดคล้องกับวิธีการสร้างภัยคุกคามหรือโครงการทางธุรกิจ แทนที่จะเป็นส่วนประกอบในโครงสร้างพื้นฐาน ไม่เพียงแต่จะเผยให้เห็นช่องโหว่เท่านั้น แต่ยังรวมถึงภัยคุกคามที่ไม่สามารถแก้ไขได้ด้วย

ภายในปี 2569 การ์ทเนอร์คาดการณ์ว่าองค์กรที่จัดลำดับความสำคัญการลงทุนด้านความปลอดภัยตามโปรแกรม CTEM จะพบว่าการละเมิดลดลง 2 ใน 3

Machine Customers

ลูกค้าที่เป็นเครื่องจักร (Machine Customers หรือที่เรียกว่า 'คัสโตบอท') จะเป็นผู้มีบทบาททางเศรษฐกิจในแบบที่ไม่ใช่มนุษย์ มีความสามารถเจรจา ซื้อสินค้าและบริการเพื่อให้เกิดเป็นการชำระเงิน ภายในปี 2571 ผลิตภัณฑ์ที่เชื่อมต่อกัน 15 พันล้านชิ้นจะมีศักยภาพแสดงตนเป็นลูกค้าได้และจะมีผลิตภัณฑ์อื่น ๆ อีกนับพันล้านชิ้นตามมาในปีต่อไป โดยแนวโน้มการเติบโตนี้สร้างรายได้นับล้านล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ภายในปี 2573 และในที่สุดจะมีความสำคัญมากกว่าเมื่อตอนเกิด Digital Commerce ทั้งนี้ผู้บริหารควรพิจารณากลยุทธ์รวมถึงโอกาสในการอำนวยความสะดวกให้กับอัลกอริธึมและอุปกรณ์เหล่านี้ หรือแม้แต่สร้างคัสโตบอทใหม่ ๆ

Sustainable Technology

เทคโนโลยีที่ยั่งยืน (Sustainable Technology) เป็นกรอบการทำงานของโซลูชันดิจิทัลที่ใช้เพื่อสร้างผลลัพธ์ด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล (ESG) สนับสนุนสมดุลของระบบนิเวศและสิทธิมนุษยชนในระยะยาว ซึ่งการใช้เทคโนโลยี อย่าง AI, Cryptocurrency, Internet of Things และ Cloud Computing กำลังผลักดันให้เกิดข้อถกเถียงด้านการใช้พลังงานที่เกี่ยวข้องและส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ทำให้จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมั่นใจว่าการใช้ไอทีจะมีประสิทธิภาพ มีการหมุนเวียน และมีความยั่งยืนมากขึ้น การ์ทเนอร์คาดการณ์ว่า ภายในปี 2570 ผู้บริหารซีไอโอ 25% จะเห็นการเชื่อมโยงของค่าตอบแทนส่วนบุคคลกับผลกระทบทางเทคโนโลยีที่ยั่งยืน

Platform Engineering

วิศวกรรมแพลตฟอร์ม (Platform Engineering) เป็นหลักการสร้างและดำเนินการแพลตฟอร์มเพื่อการพัฒนาภายในด้วยตนเอง แต่ละแพลตฟอร์มเป็นชั้น ๆ ที่ถูกสร้างและดูแลโดยทีมงานผลิตภัณฑ์เฉพาะ โดยได้รับการออกแบบมาเพื่อรองรับความต้องการของผู้ใช้ผ่านการเชื่อมต่อเครื่องมือและกระบวนการต่าง ๆ ซึ่งเป้าหมายของ Platform Engineering คือการเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน เพิ่มประสบการณ์ผู้ใช้ และเร่งการส่งมอบมูลค่าทางธุรกิจ

Industry Cloud Platforms

ภายในปี 2570 การ์ทเนอร์คาดการณ์ว่าองค์กรมากกว่า 70% จะใช้แพลตฟอร์มคลาวด์อุตสาหกรรม (ICP) เพื่อเร่งโครงการใหม่ ๆ ทางธุรกิจของตน เพิ่มขึ้นจากน้อยกว่า 15% ในปี 2566 ICP จัดการกับผลลัพธ์ทางธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมโดยการรวมบริการ SaaS, PaaS และ IaaS พื้นฐานเข้าด้วยกัน ไปสู่การนำเสนอผลิตภัณฑ์ทั้งหมดที่มีความสามารถในการประกอบเข้ากันได้ โดยทั่วไปจะรวมถึงโครงสร้างข้อมูลอุตสาหกรรม คลังความสามารถทางธุรกิจแบบแพ็คเกจ เครื่องมือจัดองค์ประกอบ และนวัตกรรมแพลตฟอร์มอื่น ๆ ICP ได้รับการปรับแต่งข้อเสนอระบบคลาวด์โดยเฉพาะสำหรับอุตสาหกรรมและสามารถปรับแต่งเพิ่มเติมให้ตรงกับความ

บทเรียนสำคัญที่เราได้รับในช่วงสองสามปีที่ผ่านมาก็คือ อนาคตเป็นสิ่งที่คาดเดาไม่ได้

เราได้เห็นหลายๆ องค์กรในภูมิภาคนี้ปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไปภายหลังการแพร่ระบาด และสามารถขยายธุรกิจให้เติบโตท่ามกลางปัจจัยภายนอกที่ผลมาจากความตึงเครียดทางภูมิรัฐศาสตร์ที่เพิ่มขึ้น และความเสี่ยงของภาวะเศรษฐกิจถดถอยทั่วโลก สำหรับปี 2566 องค์กรธุรกิจต่างๆ จะต้องตอบสนองความคาดหวังที่เปลี่ยนแปลงไปของพนักงาน ท่ามกลางสภาพแวดล้อมแบบไฮบริดที่มุ่งเน้นดิจิทัลและมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เทรนด์ธุรกิจและเทคโนโลยีที่สำคัญในปีใหม่นี้มีอะไรบ้าง และองค์กรธุรกิจต่างๆ จะรับมือกับการเปลี่ยนแปลงใหม่ๆ เหล่านี้ได้อย่างไร?

1. ธุรกิจจำเป็นต้องปรับปรุงเรื่องไซเบอร์ซีเคียวริตี้และโครงสร้างพื้นฐานด้านไอที เพื่อให้ทันกับแลนด์สเคปที่เปลี่ยนแปลงไป

การเชื่อมต่อระหว่างผู้คน อุปกรณ์ และข้อมูลมีการขยายตัวอยู่ตลอดเวลา โดยมีจุดเชื่อมต่อที่เปิดกว้าง รองรับการใช้งานร่วมกัน และเข้าถึงได้นับพันล้านจุด และมีจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในการทำงานแบบไฮบริดที่ใช้ระบบคลาวด์ “เครือข่าย” เปรียบเสมือนระบบประสาทที่ทำให้ทุกสิ่งสามารถทำงานร่วมกัน และแม้ว่าเครือข่ายจะรองรับความเป็นไปได้อย่างไร้ขีดจำกัด แต่ขณะเดียวกันก็ทำให้เกิดความซับซ้อนเพิ่มขึ้นด้วยเช่นกัน เนื่องจากองค์กรและผู้ใช้กระจัดกระจายมากขึ้น อีกทั้งยังมีความต้องการในการเข้าถึงแอปพลิเคชันได้ทุกที่ทุกเวลา ดังนั้นจึงจำเป็นที่จะต้องดำเนินการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงเครือข่าย เพื่อรองรับการเชื่อมต่ออย่างราบรื่น ควบคู่ไปกับการรักษาความปลอดภัย จากการสำรวจพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถาม 7 ใน 10 คนในอาเซียนเชื่อว่าปัญหาการเชื่อมต่อที่เกิดขึ้นบ่อยครั้งคือข้อจำกัดที่สำคัญสำหรับบุคลากรที่ทำงานนอกสถานที่ อย่างไรก็ดี 27% ระบุว่าบริษัทของพวกเขายังคงต้องการโครงสร้างพื้นฐานเครือข่ายที่เหมาะสม ธุรกิจต่างๆ ยังต้องปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานด้านไอทีให้ทันสมัยโดยใช้เทคโนโลยี SD-WAN ซึ่งจะช่วยให้สามารถเชื่อมต่อผู้ใช้ อุปกรณ์ต่างๆ และอุปกรณ์ IoT เข้ากับระบบ แอป และข้อมูลได้อย่างปลอดภัย ด้วยการจัดการแบบรวมศูนย์และการบริหารนโยบายด้านความปลอดภัย นอกจากนี้ ยังต้องเปลี่ยนย้ายจากระบบรักษาความปลอดภัยแบบสแตนด์อโลน ไปสู่กลยุทธ์แพลตฟอร์มที่เชื่อมต่อที่มุ่งเน้นไปที่การตรวจจับ การตอบสนอง และการกู้คืน

 

2. ยุคใหม่ของเครือข่ายที่ “รองรับการคาดการณ์” ได้มาถึงแล้ว และจะเปลี่ยนความคล่องตัวของธุรกิจ

การแข่งขันในโลกดิจิทัลปัจจุบันมีความมุ่งหมายเดียว นั่นคือ อะไรก็ตามที่สามารถส่งมอบในรูปแบบดิจิทัลได้ต้องพร้อมใช้งานอยู่เสมอ แอปพลิเคชันเป็นเพียงประตูที่เปิดไปสู่โลกดิจิทัลที่มีการเปลี่ยนแปลงและเติบโตอย่างต่อเนื่อง ทั้งในแง่ของขนาดและความซับซ้อน ทั้งนี้มีการคาดการณ์ว่าตลาด Super App ในอาเซียนจะมีรายได้สูงถึง 23 พันล้านดอลลาร์สหรัฐภายในปี 25681 กุญแจสำคัญในการส่งมอบประสบการณ์ดิจิทัลที่ดีเยี่ยมก็คือ ความสามารถในการตรวจสอบทั่วทุกจุด ทั้งในส่วนของข้อมูล การโต้ตอบกับระบบ ความเชื่อมโยงระหว่างกัน และดัชนีชี้วัดทางธุรกิจที่เกิดขึ้นแบบเรียลไทม์ผ่านอินเทอร์เฟซดิจิทัล โดยเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพในการดำเนินการในส่วนนี้ก็คือ เอนจิ้นเครือข่ายสำหรับการคาดการณ์ซึ่งทำหน้าที่เก็บรวบรวมข้อมูลจากแหล่งข้อมูลการตรวจวัดทางไกลจำนวนมาก และผสานรวมเข้ากับโมเดลต่างๆ เพื่อคาดการณ์ปัญหาเกี่ยวกับประสบการณ์ของผู้ใช้ เทคโนโลยีที่ว่านี้จะช่วยลดช่องว่างระหว่างทีมงานฝ่ายไอทีและฝ่ายธุรกิจ โดยผู้บริหารฝ่ายไอทีจะสามารถแก้ไขปัญหาได้ล่วงหน้าก่อนที่ปัญหาจะเกิดขึ้นจริง ขณะที่ทีมงานฝ่ายธุรกิจสามารถโฟกัสไปที่ความคล่องตัวและการสร้างสรรค์นวัตกรรมเพื่อให้โดนใจลูกค้า

3. Physical spaces หรือพื้นที่ทางกายภาพ เช่น ออฟฟิศ และสถานพยาบาล จะถูกพลิกโฉมเพื่อรองรับการทำงานแบบไฮบริดสำหรับทุกคน

ผลการสำรวจล่าสุดเปิดเผยว่า พนักงานที่ทำงานจากที่บ้านมีจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างมากในตอนนี้ ซึ่งนั่นหมายความว่า 98%2 ของการประชุมจะมีผู้เข้าร่วมผ่านรีโมทอย่างน้อยหนึ่งคน อย่างไรก็ตาม ทั่วโลกมีห้องประชุมและห้องเรียนเพียง 6% เท่านั้นที่รองรับวิดีโอ และในปีใหม่นี้ การทำงานแบบไฮบริดจะก่อให้เกิดผลกระทบต่อพื้นที่ทำงานทางกายภาพ โดยองค์กรต่างๆ ในทุกกลุ่มอุตสาหกรรมจะต้องคิดใหม่ทำใหม่เกี่ยวกับพื้นที่ทำงานขององค์กร ไม่ว่าจะเป็นออฟฟิศหรือสถานพยาบาล เพื่อขับเคลื่อนสภาพแวดล้อมที่เอื้อประโยชน์แก่ทุกคน สิ่งนี้จะเกิดขึ้นผ่านการทำงานร่วมกันที่ใกล้ชิดยิ่งระหว่างฝ่ายไอที ฝ่ายทรัพยากรบุคคล และฝ่ายอาคารสถานที่ เพื่อขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลง ตั้งแต่การผสานรวมฟีเจอร์ต่างๆ เช่น ระบบเสียงอัจฉริยะที่ขับเคลื่อนด้วย AI/การตัดเสียงรบกวนรอบข้าง ไปจนถึงการจัดเตรียมพื้นที่ทางกายภาพโดยใช้อุปกรณ์การประชุมทางวิดีโอที่เหมาะสม เพื่อรองรับการทำงานร่วมกันแบบไฮบริดที่ราบรื่นและปลอดภัย รวมถึงการปรับปรุงนโยบายเกี่ยวกับพนักงานและแนวทางปฏิบัติของบริษัท เพื่อให้แน่ใจว่าพนักงานทุกคนจะได้รับผลตอบแทนที่เป็นธรรมในระยะยาว ไม่ว่าพวกเขาจะทำงานจากที่ใดก็ตาม

 

4. Private 5G พร้อมด้วย Wi-Fi6 จะปฏิวัตินวัตกรรมคลาวด์, เอดจ์ (Edge) และ IoT

เนื่องจากองค์กรธุรกิจจำนวนมากในเอเชีย-แปซิฟิกเริ่มตระหนักถึงประโยชน์ของการปรับเปลี่ยนสู่ดิจิทัลเพิ่มมากขึ้น รวมถึงการใช้เทคโนโลยีแห่งอนาคต เราจึงคาดการณ์ว่าจะมีการปรับใช้ 5G เพิ่มขึ้น ซึ่งจะช่วยให้รายได้รวมของ 5G ในภูมิภาคนี้เพิ่มขึ้นจาก 2.13 พันล้านดอลลาร์ในปี 2563 เป็น 23.89 พันล้านดอลลาร์ในปี 25683 นอกจากนี้ การรวมกันของ Wi-Fi 6 และ 5G จะเป็นตัวเปลี่ยนเกมที่สำคัญ และจะปูทางสู่อนาคตใหม่ของการเชื่อมต่อสำหรับเกือบทุกอุตสาหกรรม โดยจะให้แบนด์วิธเพิ่มขึ้นสามเท่า และความเร็วเพิ่มขึ้นห้าเท่าเมื่อเทียบกับ Wi-Fi 5 เทคโนโลยีนี้สำคัญอย่างยิ่งสำหรับบริษัทในภาคอุตสาหกรรมเช่น ภาคการผลิต ซึ่งต้องการความสามารถทางวิศวกรรมที่มีความแม่นยำสูง เพื่อใช้แอปพลิเคชันใหม่ๆ ที่ขับเคลื่อนการปรับเปลี่ยนสู่ดิจิทัล ระบบโรงงานอัจฉริยะ และระบบอัตโนมัติภายในกระบวนการต่างๆ เพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพ พลังของเทคโนโลยีมาจากความสามารถในการตรวจสอบและจัดการทรัพย์สินหลายพันรายการ และความสามารถในการปรับขนาดจะช่วยรองรับการใช้งานหุ่นยนต์เคลื่อนที่ในวงกว้าง รวมไปถึงยานยนต์ไร้คนขับ และด้วยเหตุนี้ เราจึงคาดการณ์ว่าบริษัทต่างๆ จะมองหาหนทางในการปรับใช้เทคโนโลยีดังกล่าว เมื่อมีการกำหนดคลื่นความถี่และจัดเตรียมโครงสร้างพื้นฐานที่เกี่ยวข้อง

5. Purpose หรือจุดมุ่งหมายจะเชื่อมโยงทุกสิ่งที่ธุรกิจทำ ขณะที่ ESG จะเป็นวาระการประชุมของคณะกรรมการบริหาร

Purpose หรือจุดมุ่งหมาย จะมีความเกี่ยวข้องมากขึ้นและมีความสำคัญอย่างมากต่อบริษัทต่างๆ ในปีใหม่นี้ ซึ่งนับเป็นสิ่งที่ดีสำหรับธุรกิจ โดยจากผลการศึกษาของ Harvard Business Review พบว่ามากกว่า 50%ของบริษัทที่ขับเคลื่อนด้วยจุดมุ่งหมายมีการเติบโตทางธุรกิจ 10% เมื่อเทียบกับ 42% ของบริษัทที่ไม่ได้ขับเคลื่อนด้วยจุดมุ่งหมาย นอกจากนี้ ยังนับเป็นเรื่องดีสำหรับบุคลากร เพราะจากการศึกษาวิจัยพบว่า “จุดมุ่งหมายที่ชัดเจน” คือกุญแจสำคัญในการดึงดูดและรักษาบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถ และสุดท้าย นับเป็นสิ่งที่ดีสำหรับโลกของเรา กล่าวคือ แทนที่จะเป็นแบบฝึกหัดที่กาเครื่องหมายในช่องตัวเลือก การวัดผลกระทบของการดำเนินงานตามจุดมุ่งหมายของแต่ละบริษัท โดยเฉพาะอย่างยิ่งผลกระทบทางสังคมและสิ่งแวดล้อม จะกลายเป็นเวทีกลางสำหรับการตัดสินใจขององค์กรมากขึ้น และเราจะเห็นองค์กรภาครัฐและภาคเอกชนร่วมมือกันมากขึ้นเพื่อกำหนดกรอบการรายงานด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล (ESG) และมาตรฐานการเปิดเผยข้อมูล รวมถึงการกำหนดกฎระเบียบและเป้าหมายด้านความยั่งยืน

โดย: นายทวีวัฒน์ จันทรเสโน, กรรมการผู้จัดการ ซิสโก้ ประเทศไทยและพม่า

ครอบคลุมทุกมิติ ที่จะสร้างการเปลี่ยนแปลงทั้งภาคธุรกิจ พฤติกรรมผู้บริโภค และสิ่งแวดล้อม

X

Right Click

No right click