November 22, 2024

ไมโครซอฟท์ ประเทศไทย ประกาศวิสัยทัศน์ “AI for All Thais” ตอกย้ำความมุ่งมั่นเสริมศักยภาพให้กับทุกคนและทุกองค์กรในประเทศไทยด้วยพลังแห่ง Generative AI อันล้ำสมัย ผ่านกลยุทธ์หลัก 3 ด้าน ได้แก่ สร้างทักษะ เสริมขีดความสามารถ และสานต่อความมั่นคง ตอกย้ำพันธกิจของไมโครซอฟท์ในการร่วมพัฒนาเศรษฐกิจดิจิทัล เพื่อสร้างการเติบโตและชีวิตที่ดีให้กับคนไทยและประเทศไทย 

12 เดือนที่ผ่านมา นับเป็นประวัติศาสตร์หน้าใหม่ของไมโครซอฟท์ในประเทศไทย จากการมาเยือนของนายสัตยา นาเดลลา ที่ได้ประกาศพันธสัญญาเพื่อขับเคลื่อนประเทศไทยสู่อนาคตในยุค AI และคลาวด์ ผสานความร่วมมือกับภาครัฐและเอกชนในโครงการใหม่ๆ เพื่อยกระดับประเทศไทย และการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน Datacenter region เพื่อขยายการให้บริการคลาวด์จากไมโครซอฟท์ให้กว้างขวางและทั่วถึงยิ่งขึ้น มอบเสถียรภาพและสมรรถนะที่ตอบโจทย์ผู้ใช้งานระดับองค์กรมากยิ่งขึ้น ทั้งยังรองรับมาตรฐานของประเทศไทยด้านการจัดเก็บและรักษาความปลอดภัยของข้อมูลอย่างครบถ้วน 

นายธนวัฒน์ สุธรรมพันธุ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ไมโครซอฟท์ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า “ไมโครซอฟท์ เห็นโอกาสที่ AI และคลาวด์จะเข้ามายกระดับและสร้างการเปลี่ยนแปลงเชิงบวกให้กับคนไทยและประเทศไทย ทั้งภาคการศึกษา  
การท่องเที่ยว เกษตร อุตสาหกรรม เป็นต้น พันธกิจที่เราได้ประกาศออกไปเกี่ยวกับการลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน AI และคลาวด์  
ดาต้าเซ็นเตอร์ เป็นกุญแจสำคัญที่เข้ามาสร้างโอกาสให้คนไทย บริษัทไทย และประเทศไทย ประสบความสำเร็จในเวทีโลก จึงเป็นที่มาของการประกาศวิสัยทัศน์ “AI for All Thais” ด้วยเจตนารมณ์ที่จะมอบพลังและศักยภาพของ AI ให้คนไทย ผ่าน 3 กลยุทธ์หลัก คือ สร้างทักษะ AI เสริมขีดความสามารถให้เกิดการนำ AI ไปใช้ในวงกว้าง และสานต่อความมั่นคงเพื่อให้ทุกคนใช้งานได้อย่างมั่นใจ รวมทั้งส่งเสริมอีโคซิสเท็มของ AI ที่ปลอดภัยและเชื่อถือได้” 

สร้างทักษะ 

เพื่อตอกย้ำความตั้งใจในการพัฒนาทักษะด้าน AI ให้กับคนไทยอย่างยั่งยืน ผ่านความร่วมมือกับพันธมิตรในภาคส่วนต่างๆ ไมโครซอฟท์ เตรียมเปิดตัวโครงการ ‘AI National Skill Initiative’ ซึ่งมีเป้าหมายเพื่อสนับสนุนทักษะ AI ที่จำเป็นให้กับคนไทย 1 ล้านคนภายในปีหน้า ผ่านหลากหลายหลักสูตรฝึกอบรมที่เป็นหลักสูตรภาษาไทยกว่า 80% ซึ่งออกแบบให้ครอบคลุมผู้ใช้งานทุกระดับ ไม่ว่าจะเป็น ผู้ใช้งานทั่วไป ผู้บริหาร และนักพัฒนา เพื่อนำศักยภาพของ AI ไปประยุกต์ใช้เพิ่มความสะดวกในการใช้ชีวิตประจำวัน การทำงาน ตลอดจนการสร้างสรรค์นวัตกรรม AI ด้วยฝีมือคนไทย  

เสริมขีดความสามารถ 

ไมโครซอฟท์ มุ่งมั่นเสริมศักยภาพให้กับคนไทยและองค์กรไทยได้รับประโยชน์จากขุมพลังอันไร้ขีดจำกัดของ AI เพื่อนำไปประยุกต์ใช้งานในวงกว้างทั้งระดับบุคคลและองค์กร โดยในระดับบุคคล ไมโครซอฟท์ พร้อมขับเคลื่อนการใช้งาน AI ให้กับผู้ใช้ทุกกลุ่ม ไม่ว่าจะเป็น บุคคลทั่วไป นักเรียนนักศึกษา ครูอาจารย์ นักสร้างสรรค์คอนเทนต์ ข้าราชการ และอีกมากมาย โดยเปิดให้ผู้ใช้เข้าถึงเครื่องมือและประสิทธิภาพของเครื่องมือและบริการที่ขับเคลื่อนด้วย AI อันหลากหลาย เช่น Copilot บน Windows และ Edge, Microsoft Designer บนแอปพลิเคชันและผ่านเว็บ, Cocreator และ Paint บน Windows 11, ฟีเจอร์ Reading progress ใน Microsoft Teams และ Reading immersive ใน Microsoft Words, GitHub Copilot รวมถึง  Copilot+ PC ยุคใหม่ของพีซีที่มอบสมรรถนะสูงสุดและคุณสมบัติการใช้งานที่ชาญฉลาดที่สุดบนแพลตฟอร์ม Windows  

ในระดับองค์กร ไมโครซอฟท์ ขับเคลื่อนการนำศักยภาพของ AI ที่มีการพัฒนาไปอย่างก้าวกระโดดในระดับโลก จนกลายเป็นผู้ช่วยที่มีบทบาทสำคัญในการยกระดับการดำเนินงานให้กับองค์กรยุคใหม่ และช่วยรับมือความท้าทายต่างๆ ในปัจจุบันที่เกิดขึ้นรวดเร็วและคาดเดาได้ยาก ด้วยนวัตกรรมโซลูชันที่ช่วยเสริมประสิทธิภาพ ความคิดสร้างสรรค์ และความคล่องตัว เพื่อให้ทุกภารกิจสำเร็จได้อย่างราบรื่น โดยทำงานอย่างใกล้ชิดกับองค์กรทั้งภาครัฐและเอกชน และครอบคลุมในทุกอุตสาหกรรม 

สานต่อความมั่นคง 

ไมโครซอฟท์ เชื่อว่าความปลอดภัยคือประเด็นสำคัญอันดับหนึ่งที่ทุกผลิตภัณฑ์ ทุกบริการด้านเทคโนโลยีจะต้องมี เพราะผู้ใช้ต้องเกิดความไว้วางใจก่อน จึงจะสามารถได้รับประโยชน์จากเทคโนโลยีนั้นๆ ซึ่งการทำงานด้านความปลอดภัยเป็นความรับผิดชอบร่วมกันของทุกภาคส่วน โดยไมโครซอฟท์จะขยายความร่วมมือกับภาครัฐและเอกชนอย่างต่อเนื่อง ทั้งเสริมสร้างความแข็งแกร่งด้านความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ของประเทศ เสริมทักษะด้านการใช้ AI เพื่อความปลอดภัยไซเบอร์ และแนวทางการใช้งาน AI อย่างถูกต้อง ปลอดภัย และมีความรับผิดชอบ 

ไมโครซอฟท์ ประเทศไทย พร้อมร่วมมือกับทุกภาคส่วนเพื่อขับเคลื่อนอนาคตดิจิทัลของประเทศไทย โดยส่งเสริมทักษะ AI และขยายการเข้าถึงเทคโนโลยี และสร้างระบบนิเวศดิจิทัลที่ปลอดภัย เพื่อให้คนไทยได้รับประโยชน์จากศักยภาพ AI ที่พัฒนาไปอย่างก้าวล้ำในระดับโลก และสนับสนุนทุกคนและทุกองค์กรในประเทศไทยให้บรรลุเป้าหมายที่ยิ่งใหญ่ไปพร้อมกัน 

 

รัฐบาลไทยและไมโครซอฟท์ได้ลงนามในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือภายใต้วิสัยทัศน์ในการยกระดับประเทศไทยให้มุ่งสู่ก้าวต่อไปกับนวัตกรรมดิจิทัลและปัญญาประดิษฐ์ (AI) โดยข้อตกลงฉบับนี้มีจุดมุ่งหมายที่จะนำเทคโนโลยีคลาวด์และ AI ที่เปี่ยมประสิทธิภาพจากไมโครซอฟท์มาเสริมความแข็งแกร่งทางเศรษฐกิจของประเทศไทย สร้างโอกาสใหม่ๆ ในการจ้างงานที่ยกระดับคุณภาพชีวิตของคนไทย และปูทางให้ประเทศไทยมุ่งสู่ความเป็นผู้นำในระดับภูมิภาค ทั้งในด้านนวัตกรรมดิจิทัลและความยั่งยืน

ในโอกาสนี้ นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี และนายสัตยา นาเดลลา ซีอีโอของไมโครซอฟท์ ได้ร่วมพบปะหารือกันที่เมือง ซานฟรานซิสโก สหรัฐอเมริกา เพื่อร่วมพูดคุยถึงจุดประสงค์ของบันทึกข้อตกลงความร่วมมือฉบับดังกล่าว ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้

· ขับเคลื่อนประเทศไทยด้วยนวัตกรรมดิจิทัล

ไมโครซอฟท์จะทำงานอย่างใกล้ชิดกับหน่วยงานภาครัฐเพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลที่สอดคล้องกับนโยบายด้านรัฐบาลดิจิทัลและการใช้บริการระบบคลาวด์ภาครัฐ หรือ Cloud First ของกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม โดยมุ่งเน้นไปที่การสนับสนุนภาคการเกษตร สาธารณสุข การท่องเที่ยว และการศึกษา นอกจากนี้ ทั้งสองฝ่ายยังจะร่วมพิจารณาแผนการลงทุนก่อสร้างศูนย์ข้อมูล (Data Center) ในประเทศไทย เพื่อยกระดับการใช้งานคลาวด์และ AI ต่อไปในอนาคต และพร้อมกันนี้ ไมโครซอฟท์จะให้การสนับสนุนกับรัฐบาลไทยในด้านการรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ ด้วยการนำเสนอแนวทางการปฏิบัติที่ดีที่สุด พร้อมด้วยความเชี่ยวชาญจากบุคลากรชั้นนำของบริษัท

 · ปูทางสู่อนาคตที่ขับเคลื่อนด้วย AI

ไมโครซอฟท์จะทำงานร่วมกับกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมในการพัฒนาและผสมผสานเทคโนโลยี AI เข้ากับโครงการด้านรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (e-Government) และบริการสาธารณะต่างๆ เพื่อประโยชน์แก่คนไทย นอกจากนี้ ทั้งสองฝ่ายยังมีแผนที่จะร่วมกันจัดตั้งศูนย์ความเป็นเลิศเชิงกลยุทธ์ด้าน AI (AI Center of Excellence) เพื่อยกระดับโครงการที่ใช้เทคโนโลยี AI ของภาครัฐ จัดทำโรดแมปที่จะช่วยให้การนำเทคโนโลยี AI มาใช้งานเกิดขึ้นได้จริง และส่งเสริมให้เกิดนวัตกรรมในภาคส่วนและอุตสาหกรรมต่างๆ ยิ่งไปกว่านั้น กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมยังจะร่วมหารือกับไมโครซอฟท์เกี่ยวกับการกำหนดทิศทางนโยบายและกรอบการกำกับดูแล เพื่อให้ทุกภาคส่วนสามารถนำ AI มาใช้งานได้อย่างถูกต้อง เหมาะสม และมีประสิทธิภาพ

· เสริมทักษะคนไทยเพื่อชีวิตในยุคหน้า

ไมโครซอฟท์จะสานต่อพันธกิจในการยกระดับทักษะแห่งอนาคตสำหรับคนไทยกว่า 10 ล้านคน ผ่านทางความร่วมมือกับกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมและหน่วยงานอื่นๆ โดยครอบคลุมทักษะสำคัญในหลากหลายด้าน ไม่ว่าจะเป็นภาษาที่สองเพื่อการสื่อสารหรือความรู้ความเข้าใจในเทคโนโลยีขั้นพื้นฐาน ไปจนถึงการฝึกฝนนักพัฒนานวัตกรรมรุ่นใหม่ในทุกสายอาชีพ (Citizen Developers) ในรูปแบบที่เปิดให้ประชาชนสามารถเข้าถึงโอกาสในการเรียนรู้ได้อย่างทั่วถึงยิ่งขึ้น

· ยกระดับประเทศไทยสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน

หน่วยงานภาครัฐของไทยจะทำงานร่วมกับไมโครซอฟท์เพื่อมุ่งสู่เป้าหมายการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero) ภายในปี พ.ศ. 2608 ผ่านทางการสร้างพื้นที่ทดสอบสำหรับการพัฒนานวัตกรรมเพื่อความยั่งยืน (Sustainability Sandbox) เพื่อให้เกิดประโยชน์กับทุกภาคส่วน นับตั้งแต่ภาครัฐ องค์กรเอกชนขนาดใหญ่ ไปจนถึงผู้ประกอบการรายย่อย นอกจากนี้ ไมโครซอฟท์ยังมีแผนที่จะนำพลังงานหมุนเวียนมาใช้งานเต็ม 100% ในโครงการและแผนการลงทุนในอนาคตอีกด้วย

 

นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า “พันธกิจของประเทศไทย นับตั้งแต่ด้านการสร้างสรรค์อนาคตที่ยั่งยืนไปจนถึงการใช้พลังงานหมุนเวียน นับว่ามีทิศทางที่สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ของไมโครซอฟท์ โดยความร่วมมือในครั้งนี้จะช่วยเสริมสร้างทั้งความแข็งแกร่งทางเศรษฐกิจและศักยภาพเชิงดิจิทัลของประเทศไทยไปพร้อมกัน”

นายอาเหม็ด มาซารี ประธาน ไมโครซอฟท์ เอเชีย กล่าวเสริมอีกว่า “เทคโนโลยี AI มีบทบาทที่สำคัญอย่างยิ่งในการกำหนดทิศทางและวิธีการทำงานของทั้งผู้คนและองค์กรทั่วโลก สำหรับประเทศไทยนั้น แผนปฏิบัติการของรัฐบาลได้วางเป้าหมายในการนำ AI มาขับเคลื่อนให้เกิดประโยชน์กับทุกภาคส่วนเป็นมูลค่ากว่า 48,000 ล้านบาท ภายในปี พ.ศ. 25701 และเราก็มีความยินดีอย่างยิ่งที่จะได้ทำงานอย่างใกล้ชิดยิ่งขึ้นกับรัฐบาลไทยเพื่อมุ่งสู่อนาคตที่มี AI เป็นนวัตกรรมคู่คิดของประเทศไทย”

 

ไมโครซอฟท์ และ ซีเมนส์ ผนึกความร่วมมือต่อเนื่อง นำประสิทธิภาพ Generative AI มาสู่ภาคอุตสาหกรรมทั่วโลก โดยทั้งสองบริษัทฯ เตรียมเปิดตัว Siemens Industrial Copilot ซึ่งเป็นผู้ช่วยปัญญาประดิษฐ์ (AI) ที่พัฒนาร่วมกัน มีเป้าหมายเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพการทำงานร่วมกันระหว่างมนุษย์และเครื่องจักรในภาคการผลิต

นอกจากนี้การผนวกซอฟต์แวร์ Teamcenter ของซีเมนส์ที่ใช้สำหรับการบริหารจัดการวงจรชีวิตผลิตภัณฑ์ (หรือ PLM) เข้ากับ Microsoft Teams ยังสนับสนุนการสร้างเมตาเวิร์สในภาคอุตสาหกรรม ลดความซับซ้อนในการทำงานร่วมกันแบบเสมือนจริงให้แก่วิศวกรออกแบบ ผู้ปฏิบัติงานหน้างานและทีมอื่น ๆ ตลอดสายงานธุรกิจ

สัตยา นาเดลลา ประธานและซีอีโอของไมโครซอฟท์ กล่าวว่า “ด้วยศักยภาพของปัญญาประดิษฐ์ยุคใหม่นี้ เรามีโอกาสพิเศษในการเร่งสร้างนวัตกรรมให้กับภาคอุตสาหกรรมทั้งหมด เรากำลังพัฒนาต่อยอดจากความร่วมมือที่ยาวนานกับซีเมนส์ รวบรวมความก้าวหน้าด้าน AI ใน Microsoft Cloud มาผนวกรวมกับความเชี่ยวชาญทางด้านอุตสาหกรรมของซีเมนส์ เพื่อเสริมศักยภาพให้แก่ผู้ปฏิบัติงานหน้างานและพนักงานที่มีทักษะเฉพาะทาง ด้วยเครื่องมือใหม่ ๆ ที่ขับเคลื่อนด้วยขุมพลังปัญญาประดิษฐ์ โดยเริ่มต้นด้วยโครงการ Siemens Industrial Copilot

 

โรแลนด์ บุช ซีอีโอของซีเมนส์ กล่าวว่า “เราและไมโครซอฟท์มีวิสัยทัศน์ร่วมกันในการส่งเสริมศักยภาพของลูกค้าด้วยการนำ Generative AI มาใช้งาน เทคโนโลยีนี้มีศักยภาพมหาศาลที่จะปฏิวัติวิธีการที่บริษัทต่าง ๆ ใช้ออกแบบ พัฒนา ผลิตและดำเนินการ ด้วยการส่งเสริมการทำงานร่วมกันระหว่างมนุษย์กับเครื่องจักรที่เชื่อมต่อกันในวงกว้างมากขึ้น ช่วยให้เหล่าวิศวกรสามารถเร่งพัฒนาโค้ด เพิ่มนวัตกรรม และรับมือกับปัญหาการขาดแคลนแรงงานที่มีทักษะได้

ยุคใหม่ของการทำงานร่วมกันของมนุษย์และเครื่องจักร

Siemens Industrial Copilot จะช่วยให้ผู้ใช้งานสามารถสร้าง เพิ่มประสิทธิภาพ และแก้ไขโค้ดอัตโนมัติที่ซับซ้อนได้อย่างรวดเร็ว พร้อมลดระยะเวลาการจำลองสถานการณ์ลงอย่างมาก ซึ่งวิธีการนี้จะช่วยลดงานที่ก่อนหน้านี้ต้องใช้เวลาหลายสัปดาห์ให้เหลือเป็นหน่วยนาที โดย Copilot จะนำข้อมูลของระบบอัตโนมัติและกระบวนการการจำลองจากแพลตฟอร์ม Siemens Xcelerator ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มธุรกิจดิจิทัลแบบเปิดของซีเมนส์ และเพิ่มประสิทธิภาพด้วย Azure OpenAI Service ของไมโครซอฟท์ โดยลูกค้ายังคงควบคุมข้อมูลตนเองได้ทั้งหมด ระบบจะไม่มีการนำข้อมูลไปใช้กับการฝึกโมเดล AI พื้นฐาน

Siemens Industrial Copilot มีความสามารถเพิ่มผลผลิตและเพิ่มประสิทธิภาพครบวงจรในอุตสาหกรรม โดยเจ้าหน้าที่ซ่อมบำรุงจะได้รับคำแนะนำการซ่อมแซมอย่างละเอียดด้วยภาษาปกติอย่างเป็นธรรมชาติ ขณะที่วิศวกรจะสามารถเข้าถึงเครื่องมือแบบจำลองได้อย่างรวดเร็ว

Copilots สำหรับทุกอุตสาหกรรม

ทั้งซีเมนส์และไมโครซอฟท์ต่างเล็งเห็นว่า AI Copilots มีความสามารถในการช่วยเหลือผู้เชี่ยวชาญในอุตสาหกรรมต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น อุตสาหกรรมการผลิต โครงสร้างพื้นฐาน การขนส่ง และการดูแลสุขภาพ โดย Copilot จำนวนมากกำลังถูกวางแผนที่จะนำมาใช้ในภาคการผลิต เช่น ยานยนต์ สินค้าอุปโภคบริโภค และการผลิตเครื่องจักร Schaeffler AG ซัพพลายเออร์ยานยนต์ชั้นนำเป็นหนึ่งในบริษัทรายแรก ๆ ของอุตสาหกรรมยานยนต์ที่นำ Generative AI ไปใช้ในงานด้านวิศวกรรม ช่วยให้ทีมวิศวกรสามารถพัฒนาโค้ดที่มีความน่าเชื่อถือสำหรับการโปรแกรมระบบอัตโนมัติในอุตสาหกรรม เช่น หุ่นยนต์ นอกจากนี้ บริษัทฯ เตรียมนำ Siemens Industrial Copilot มาใช้ในระบบการดำเนินงาน โดยวางเป้าหมายเพื่อลดการหยุดชะงักของ

การทำงาน (Downtime) ของเครื่องจักรอย่างมีนัยสำคัญ และเตรียมพัฒนาขั้นต่อไปสำหรับลูกค้าในภายหลัง

เคลาส์ โรเซนเฟลด์ ซีอีโอของกลุ่มแชฟฟ์เลอร์ กล่าวว่า “เรากำลังก้าวสู่ยุคใหม่ของการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและนวัตกรรมในโครงการนำร่องร่วมกันนี้ ซึ่ง Siemens Industrial Copilot จะช่วยให้ทีมงานของเราทำงานอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ทั้งยังลดภาระงานซ้ำซ้อน และเพิ่มไอเดียสร้างสรรค์ใหม่ ๆ เรารู้สึกตื่นเต้นที่ได้ร่วมมือกับซีเมนส์และไมโครซอฟท์ในโครงการนี้”

Generative AI เพิ่มความสะดวกการทำงานร่วมกันในแบบเสมือน

เพื่อยกระดับการทำงานร่วมกันแบบเสมือนระหว่างทีม ซอฟต์แวร์ Teamcenter ของซีเมนส์ สำหรับ Microsoft Teams พร้อมเปิดให้ใช้งานได้โดยทั่วไปตั้งแต่เดือนธันวาคมปีนี้ โดยแอปพลิเคชันนี้จะใช้ศักยภาพล่าสุดของ Generative AI เชื่อมต่อฟังก์ชั่นการทำงานต่าง ๆ ของวงจรการออกแบบผลิตภัณฑ์และวงจรการผลิต ตั้งแต่ผู้ปฏิบัติงานหน้างานไปจนถึงทีมวิศวกร โดยจะเชื่อมต่อซอฟต์แวร์ Teamcenter ของซีเมนส์ที่ใช้สำหรับการบริหารจัดการวงจรชีวิตผลิตภัณฑ์ (หรือ PLM) เข้ากับ Microsoft Teams ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มการทำงานร่วมกันของไมโครซอฟท์ เพื่อให้พนักงานในโรงงานและพนักงานภาคสนามสามารถเข้าถึงข้อมูลได้ สิ่งนี้จะช่วยให้พนักงานหลายล้านคนที่เข้าไม่ถึงเครื่องมือ PLM ในปัจจุบันสามารถมีส่วนร่วมในกระบวนการออกแบบและผลิตได้ง่ายยิ่งขึ้นเสมือนเป็นส่วนหนึ่งของงานประจำวัน

ซีเมนส์จะแบ่งปันรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับ Siemens Industrial Copilot ที่งาน SPS expo ที่จะจัดขึ้น ณ เมืองนูเรมเบิร์ก ประเทศเยอรมนี ในเดือนพฤศจิกายน ปี 2566

ไมโครซอฟท์พร้อมพาผู้ใช้และองค์กรทั่วโลกเข้าสู่ยุคใหม่ของ AI ที่จะเปลี่ยนแปลงแนวทางการทำงานและใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีในแทบทุกด้าน ด้วยระบบแชตและโมเดลภาษาขนาดใหญ่ (Large Language Models) ที่สามารถตอบสนองคำสั่งในรูปของภาษาเขียนและภาษาพูดได้อย่างชาญฉลาด นำไปสร้างสรรค์ชิ้นงานต่อยอดหรือลงมือทำตามคำสั่งได้อย่างแม่นยำ เป็นเสมือนผู้ช่วยหรือ “Copilot” ที่พร้อมสนับสนุนคุณในทุกภารกิจ ต่อยอดจากฟีเจอร์ AI มากมายที่เปิดตัวไปก่อนหน้านี้ ไม่ว่าจะเป็นทางแพลตฟอร์ม GitHub การทำงานใน Microsoft 365 การค้นหาข้อมูลผ่าน Bing และ Edge หรือการทำงานผสานกับหลากหลายแอปในพีซีของคุณด้วย Windows

ไมโครซอฟท์พร้อมแล้วที่จะรวบรวมทุกคุณสมบัติและความสามารถไว้ในประสบการณ์ AI เพียงหนึ่งเดียว ภายใต้ชื่อ Microsoft Copilot โดยผสมผสานทั้งข้อมูลและความรู้จากโลกออนไลน์ ข้อมูลในองค์กรของผู้ใช้งาน และสิ่งที่ผู้ใช้กำลังทำอยู่บนพีซี เพื่อช่วยให้ทุกภารกิจสำเร็จลุล่วงไปได้อย่างราบรื่นยิ่งขึ้น โดยที่ยังมั่นใจได้ในความปลอดภัยและความเป็นส่วนตัวของคุณ และสามารถใช้งานได้อย่างสะดวกสบาย ไร้รอยต่อ ทั้งใน Windows 11, Microsoft 365, Edge และ Bing เรียกใช้งานได้ทั้งในรูปของแอปและตัวช่วยในเมนูที่ปรากฎขึ้นเมื่อคลิกเมาส์ปุ่มขวา ทั้งนี้ Microsoft Copilot จะได้รับอัปเดตที่เพิ่มความสามารถใหม่ๆ และเชื่อมโยงกับแอปพลิเคชันอื่นๆ บนแพลตฟอร์มของไมโครซอฟท์ เพื่อมอบประสบการณ์หนึ่งเดียวที่ผสานกับชีวิตของผู้ใช้ได้อย่างลงตัว

Copilot พร้อมเปิดใช้งานแล้ววันนี้ ผ่านอัปเดตฟรีสำหรับ Windows 11 ก่อนจะเปิดตัวฟีเจอร์ใหม่ๆ เพิ่มเติมทั้งใน Bing, Edge และ Microsoft 365 Copilot ในช่วงปลายปีนี้ นอกจากนี้ ไมโครซอฟท์ยังได้เปิดตัวคุณสมบัติและความสามารถใหม่ๆ อีกมากมายเพื่อยกระดับการทำงาน ปลดปล่อยความคิดสร้างสรรค์ และตอบโจทย์การใช้งานในชีวิตประจำวันของทั้งผู้ใช้ทั่วไปและภาคธุรกิจ

· อัปเดตล่าสุดสำหรับ Windows 11 มาพร้อมกับฟีเจอร์ใหม่ถึง 150 รายการ นับตั้งแต่ผู้ช่วย Copilot ไปจนถึงคุณสมบัติใหม่จาก AI ในแอปอย่าง Paint, Photos, Clipchamp และอื่นๆ อีกมากมาย

· Bing พร้อมรองรับศักยภาพที่เพิ่มขึ้นของโมเดล DALL.E 3 จาก OpenAI และสามารถตอบคำถามอย่างเฉพาะเจาะจง ตรงความต้องการของผู้ใช้แต่ละคนมากขึ้นด้วยการอ้างอิงจากประวัติการค้นหา พร้อมด้วย

ประสบการณ์การช้อปปิ้งที่มี AI เป็นตัวช่วย และอัปเดตใหม่สำหรับ Bing Chat Enterprise ที่ออกแบบมาเพื่อการใช้งานผ่านสมาร์ทโฟนและการทำงานกับรูปภาพ

· Microsoft 365 Copilot จะเปิดให้ลูกค้าองค์กรได้เริ่มใช้งานตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2566 เป็นต้นไป โดยมาพร้อมกับ Microsoft 365 Chat ผู้ช่วย AI ตัวใหม่ที่พร้อมเข้ามาพลิกโฉมวิธีการทำงานของคุณ

อัปเดตใหม่ Windows 11 จัดเต็มกว่า 150 ฟีเจอร์ พร้อมแนะนำผู้ช่วยอัจฉริยะ Copilot สำหรับพีซีทุกเครื่อง

Windows จะกลายเป็นแพลตฟอร์มที่พร้อมมอบประสบการณ์ AI ที่ยอดเยี่ยมที่สุด ด้วยอัปเดตล่าสุดสำหรับ Windows 11 ที่พร้อมให้ติดตั้งและใช้งานแล้ววันนี้

ชมวิดีโอแนะนำ Copilot ใน Windows 11 ได้ที่นี่

สำหรับฟีเจอร์เด่นในอัปเดตนี้ ได้แก่:

· Copilot สำหรับ Windows (รุ่นพรีวิว) พร้อมช่วยให้ผู้ใช้ทุกคนสร้างสรรค์ชิ้นงานและทำภารกิจให้เสร็จสิ้นอย่างสบายใจยิ่งขึ้น ด้วยผู้ช่วย Copilot ที่พร้อมเข้ามาเปลี่ยนเรื่องยากให้เป็นเรื่องง่าย เพียงคลิกเรียกที่ taskbar หรือกดปุ่มลัด Win+C ก็สามารถขอความช่วยเหลือและทำงานคู่กับแอปได้ทันที

· Paint อัปเดตใหม่ เติมพลัง AI ด้วยฟีเจอร์การลบพื้นหลังภาพและการรองรับเลเยอร์ แถมด้วยพรีวิวของ Cocreator ระบบ generative AI ที่จะช่วยสร้างสรรค์งานศิลปะให้กับคุณ

· แอป Photos ก็เติมพลัง AI มาช่วยงานแต่งภาพให้ง่ายยิ่งกว่าเดิม อย่างฟีเจอร์ Background Blur ที่ทำเอฟเฟกต์หน้าชัดหลังเบลอได้ในคลิกเดียว แถมยังหาภาพจากคลังเก็บใน OneDrive ได้ง่ายๆ ด้วยระบบค้นหาที่แยกแยะได้ทั้งสิ่งที่อยู่ในภาพและสถานที่ที่ถ่ายแต่ละภาพ

· เครื่องมือแคปหน้าจอ Snipping Tool สามารถดึงข้อความจากภาพออกมาให้ใช้งานต่อได้ หรือจะสั่งให้ช่วยปิดชื่อและข้อมูลที่เป็นความลับในภาพหน้าจอก็ยังได้ และนอกจากจะแคปภาพได้แล้ว อัปเดตนี้ยังเพิ่มการอัดเสียงทั้งจากตัวเครื่องและผ่านไมโครโฟน จึงอัดหน้าจอเป็นวิดีโอเพื่อทำคอนเทนต์ได้แบบง่ายๆ

· แอปตัดต่อวิดีโอ Clipchamp สามารถเสนอไอเดียการจัดซีน ตัดคลิป หรือลำดับเรื่อง จากภาพและวิดีโอของคุณแบบอัตโนมัติด้วยฟีเจอร์ auto compose ทำให้ตัดคลิปแค่ฉับเดียวก็อัปโหลดและแชร์ได้แล้ว

· Notepad จะเซฟเนื้อหาที่คุณพิมพ์ค้างไว้แบบอัตโนมัติตลอดเวลา จึงสามารถปิดแอปทิ้งแล้วกลับมาเปิดทำต่อได้แบบหายห่วง แถมยังเปิดหลายไฟล์พร้อมกันในแบบแยกแท็บได้อีกด้วย

· Outlook for Windows เวอร์ชั่นใหม่ ที่รวบรวมอีเมลจากทุกบัญชีและแพลตฟอร์มของคุณ (รวมถึง Gmail, Yahoo, iCloud และอื่นๆ ด้วย) มาไว้ในแอปเดียว พร้อมตัวช่วยมากมายสำหรับการเขียนอีเมลให้มีเนื้อหาตรงเป้า กระชับ ฉับไว และแนบไฟล์จาก OneDrive ได้อย่างสะดวกสบาย สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ Outlook ใหม่นี้ สามารถอ่านได้ ที่นี่

· File Explorer ปรับโฉมใหม่ด้วยหน้าจอหลัก ช่องพิมพ์แอดเดรส และช่องค้นหาที่ออกแบบมาให้คุณสามารถเข้าถึงทุกคอนเทนต์ที่ต้องการได้ง่ายขึ้น ทั้งยังสะดวกสบายกว่าด้วยไฮไลท์การปรับแก้ล่าสุดในไฟล์ต่างๆ และฟีเจอร์ Gallery สำหรับการเปิดอัลบั้มรูปโดยเฉพาะ

· ฟีเจอร์ใหม่สำหรับการใช้เสียงแทนการพิมพ์ และเสียงพูดที่เป็นธรรมชาติยิ่งกว่าเดิมในแอป Narrator ทื่เข้ามาสานต่อพันธกิจของไมโครซอฟท์ในการพัฒนาให้ Windows 11 เป็น Windows รุ่นที่รองรับผู้ใช้ทุกกลุ่มมากที่สุด

· Windows Backup ช่วยให้การย้ายไฟล์ไปยังพีซี Windows 11 เครื่องใหม่ของคุณง่ายยิ่งกว่าเดิม โดยสามารถถ่ายโอนไปได้หมดทั้งไฟล์ แอปที่ติดตั้งไว้ และการตั้งค่าต่างๆ จึงตามไปให้ใช้งานบนเครื่องใหม่ได้แบบไร้รอยต่อ

Copilot สำหรับ Windows และฟีเจอร์ใหม่อื่นๆ ทั้งหมดนี้ เป็นส่วนหนึ่งของอัปเดตสำหรับ Windows 11 รุ่น 22H2 ซึ่งเปิดให้ดาวน์โหลดและติดตั้งใช้งานได้ตั้งแต่วันที่ 26 กันยายนเป็นต้นไป

Bing และ Edge ยกระดับประสบการณ์หลากหลายในโลกออนไลน์

ส่วน Bing และ Edge ก็พร้อมเติมความสามารถใหม่ๆ ให้กับทุกวันของคุณด้วยโมเดล AI รุ่นล่าสุด โดยคุณสามารถใช้งาน Bing Chat ได้ผ่าน Microsoft Edge หรือทาง bing.com/chat และจะได้สัมผัสฟีเจอร์ใหม่เร็วๆ นี้

· คำตอบตรงประเด็น ปรับแต่งสำหรับผู้ใช้แต่ละคน ด้วยประวัติการแชตในอดีตที่สามารถนำมาผสมผสานกับคำตอบใหม่ๆ ใน Bing Chat ได้ เช่น ถ้าคุณเคยใช้ Bing ติดตามข่าวคราวของทีมฟุตบอลทีมโปรด เมื่อคุณใช้ Bing วางแผนเดินทางท่องเที่ยวในครั้งต่อไป Bing จะสามารถบอกได้ในทันทีว่าทีมโปรดของคุณมีเกมเตะในเมืองที่เป็นจุดหมายปลายทางของคุณหรือไม่ ทั้งนี้ คุณสามารถเลือกปิดฟีเจอร์นี้ได้ในเมนูการตั้งค่าของ Bing หากไม่ต้องการคำตอบที่อ้างอิงประวัติการแชตในอดีต

· Copilot สำหรับ Microsoft Shopping ให้คุณใช้ Bing หรือ Edge ค้นหาสินค้าที่ต้องการซื้อได้อย่างรวดเร็ว โดยเมื่อคุณถามถึงข้อมูลเกี่ยวกับสินค้า Bing จะถามคำถามเพิ่มเติมเพื่อเรียนรู้จากข้อมูลนั้น เพื่อให้สามารถแนะนำสินค้าได้ตรงใจผู้ใช้งานมากยิ่งขึ้น พร้อมด้วยความคุ้มค่าจากการเปรียบเทียบเพื่อหาราคาที่ดีที่สุด โดยตลอดช่วง 12 เดือนที่ผ่านมา ผู้ใช้ที่ซื้อสินค้าผ่าน Microsoft Edge ได้พบกับข้อเสนอสุดพิเศษมากมายที่สามารถประหยัดเงินในกระเป๋าไปได้กว่า 4,000 ล้านเหรียญสหรัฐ (ราว 144,880 ล้านบาท) และอีกไม่นาน คุณจะสามารถนำภาพถ่ายหรือไฟล์รูปที่เซฟไว้มาใช้หาสินค้าเพื่อช้อปต่อได้อีกด้วย

· โมเดล DALL.E 3 จาก OpenAI ใน Bing Image Creator มาพร้อมประสิทธิภาพที่เหนือกว่าแบบก้าวกระโดดสำหรับการสร้างรูปภาพที่สวยงามยิ่งกว่าเดิม และการลงรายละเอียดที่ถูกต้องแม่นยำยิ่งขึ้นสำหรับส่วนประกอบภาพอย่างนิ้วมือและดวงตา นอกจากนี้ DALL.E 3 ยังเข้าใจคำสั่งของผู้ใช้งานได้ดีขึ้นกว่าที่เคย จึงได้ภาพที่ถูกต้องตามโจทย์มากขึ้น ยิ่งไปกว่านั้น ไมโครซอฟท์ยังได้ผนวก Microsoft Designer เข้ากับ Bing โดยตรง เพื่อให้คุณสามารถแก้ไขและปรับแต่งภาพหรืองานออกแบบได้ง่ายกว่าเดิม

· แยกแยะภาพที่สร้างโดย AI ด้วย Content Credentials เครื่องมือที่สะท้อนถึงแนวทางการพัฒนา Generative AI โดยคำนึงถึงความรับผิดชอบต่อสังคม โดยระบบ Content Credentials นำเทคนิคการเข้ารหัสมาทำการใส่ลายน้ำดิจิทัลที่มองไม่เห็นลงในภาพที่ใช้ AI สร้างขึ้นผ่าน Bing โดยระบุวัน-เวลาที่รูปภาพถูกสร้างขึ้นไว้ด้วย นอกจากนี้ เรายังเตรียมที่จะนำเครื่องมือนี้ไปผนวกไว้ใน Paint และ Microsoft Designer อีกด้วย

· อัปเดตล่าสุดสำหรับ Bing Chat Enterprise ที่เปิดตัวไปเมื่อ 2 เดือนก่อน โดยปัจจุบัน มีผู้ใช้งาน Microsoft 365 กว่า 160 ล้านคนที่สามารถใช้งาน Bing Chat Enterprise ได้โดยไม่มีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม ท่ามกลางเสียงตอบรับที่ดีเยี่ยมจากผู้ใช้งานจริง ในโอกาสนี้ เราจึงเปิดให้ Bing Chat Enterprise สามารถใช้งานกับสมาร์ทโฟนและแท็บเล็ตได้ ผ่านทางแอป Microsoft Edge และเร็วๆ นี้ คุณจะสามารถค้นหาข้อมูลด้วยภาพและใช้ Image Creator สร้างสรรค์ผลงานใหม่ๆ ได้ผ่าน Bing Chat Enterprise

ไมโครซอฟท์ ประเทศไทยร่วมงานมหกรรม “BCG Startup Investment Day” ซึ่งจัดขึ้นโดย สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ NIA ร่วมกับ สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน หรือ BOI  ภายใต้แนวคิดเศรษฐกิจ “Bio-Circular-Green Economy” เพื่อยกระดับความสามารถและเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันของสตาร์ทอัพ ตลอดจนส่งเสริมอุตสาหกรรมเทคโนโลยีของไทย งานนี้ด้วยความร่วมมือกับเครือข่ายพันธมิตรอีกหลายราย เปิดโอกาสให้สตาร์ทอัพได้ต่อยอดโอกาสทางธุรกิจทั้งในระดับภูมิภาคและระดับนานาชาติด้วยการสร้างเครือข่ายพันธมิตร ซึ่งเป็นส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของไทยให้เติบโตแบบก้าวกระโดดบนฐานรากการพัฒนาอย่างยั่งยืน งานมหกรรมครั้งนี้จัดขึ้นเมื่อวันที่ 24 มีนาคม 2565 ในรูปแบบไฮบริด ณ ศูนย์ C asean

นางสาวชูบา บี ราจีฟ, Global Market Development (GMD) สำหรับภาครัฐ – เอเชียแปซิฟิก และญี่ปุ่นไมโครซอฟท์ เอเชีย กล่าวว่า ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมาทั้งภาครัฐและเอกชนได้ส่งเสริมวัฒนธรรมการแบ่งปันความรู้และพัฒนาฐานความรู้สำหรับสตาร์ทอัพและผู้ประกอบการอย่างต่อเนื่อง เพื่อช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมไทยให้ก้าวไปข้างหน้า มหกรรม “BCG Startup Investment Day” เป็นกรอบความร่วมมือระหว่าง NIA และ BOI โดยได้รับการสนับสนุนจากเครือข่ายพันธมิตรทั้งภาครัฐและเอกชน ซึ่งได้พิสูจน์ให้เห็นถึงศักยภาพของแต่ละฝ่ายในการเสริมสร้างพลังทางสังคมและการรวมตัวกันภายใต้เป้าหมายร่วมกันในการขับเคลื่อนสตาร์ทอัพ และด้วยความมุ่งมั่นในการทำงานตามนโยบายของรัฐบาลในการสนับสนุนสตาร์ทอัพ ไมโครซอฟท์จึงพยายามสนับสนุนให้สตาร์ทอัพสร้างและขยายธุรกิจเพื่อสร้างผลกระทบเชิงบวกไปทั่วโลก โดยให้สตาร์ทอัพที่มีคุณสมบัติเข้าเกณฑ์สามารถเข้าถึงเทคโนโลยี ความเชี่ยวชาญ และทรัพยากรต่างๆ ได้มากขึ้น และด้วยเครื่องมือ รวมถึงการสนับสนุนที่เหมาะสม เราจึงมีความมั่นใจอย่างยิ่งว่าสตาร์ทอัพเหล่านี้สามารถเติบโต และยกระดับความก้าวหน้าของภูมิภาคให้ทัดเทียมนวัตกรรมระดับโลกได้ ไปพร้อมกับการขับเคลื่อนพัฒนาสังคมด้วยเช่นกัน

 

นอกจากจะได้ค้นพบไอเดียดีๆ จากผู้ประกอบการแล้ว ไมโครซอฟท์ ประเทศไทยยังถือโอกาสนี้นำโปรแกรม Microsoft Thailand Founders program for Startups ซึ่งช่วยผลักดันให้สตาร์ทอัพด้าน B2B (Business to Business) ในทุกสเตจของการเดินทางเข้าถึงโอกาสทางธุรกิจในระดับภูมิภาคมากขึ้น รวมถึงการเพิ่มประสิทธิภาพทรัพยากรทางเทคโนโลยี การเชื่อมต่อเข้ากับคอมมูนิตี้ของสตาร์ทอัพ พร้อมคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญในการเตรียมการเข้าสู่ตลาด และอื่นๆอีกมากมาย ที่สำคัญยังมี M12 ซึ่งเป็นบริษัทในเครือของไมโครซอฟท์เข้าร่วมงานในฐานะนักลงทุนในสตาร์ทอัพที่มีศักยภาพ ที่พร้อมสนับสนุนและผลักดันผู้ประกอบการผ่านเงินทุน การเข้าถึงลูกค้า และการพัฒนาธุรกิจที่รวดเร็วยิ่งขึ้นสำหรับสตาร์ทอัพในระยะเริ่มต้นเพื่อการเติบโตอย่างมั่นคง และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันจนเป็นที่ยอมรับในระดับสากล

นายปวิช ใจชื่น รองกรรมการผู้จัดการ กลุ่มธุรกิจภาครัฐ ไมโครซอฟท์ ประเทศไทย อธิบายเพิ่มเติมว่า “จากรายงาน Thailand Startup Ecosystem Report ปี 2564 โดย NIA พบว่าเราได้เห็นสตาร์ทอัพไทยบางรายสามารถพัฒนาไปสู่ระดับยูนิคอร์นได้ด้วยเงินทุนราว 100 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งนับเป็นก้าวสำคัญที่สะท้อนศักยภาพของอีโคซิสเต็มสตาร์ทอัพไทย ขณะเดียวกันการระบาดครั้งใหญ่ของโควิด-19 ได้เร่งกระบวนการเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัล และหลายธุรกิจจำเป็นต้องมีการเปลี่ยนแปลงเพื่อความอยู่รอด เราจึงเล็งเห็นถึงความสำคัญของสตาร์ทอัพที่เป็นหนึ่งในแรงขับเคลื่อนหลักของเศรษฐกิจที่ยั่งยืน และเราตั้งเป้าที่จะช่วยให้สตาร์ทอัพตระหนักถึงศักยภาพสูงสุดของพวกเขาด้วยการผลักดันให้เกิดการเติบโตขั้นสุดในทุกมิติผ่านเครื่องมือ ทรัพยากร และความเชี่ยวชาญของไมโครซอฟท์ เพื่อยกระดับธุรกิจและสร้างการเปลี่ยนแปลงอย่างก้าวกระโดด

ภายในงานมหกรรม “BCG Startup Investment Day” ครั้งนี้ ไมโครซอฟท์ยังให้คำปรึกษาและสนับสนุนกระบวนการนำเสนอไอเดียของสตาร์ทอัพเพื่อสร้างมุมมองการเล่าเรื่องของธุรกิจให้มีมิติมากขึ้น นอกจากนี้ สตาร์ทอัพที่ได้รับการคัดเลือกจะมีโอกาสได้ร่วมงานด้วยการร่วมลงทุนจากทางไมโครซอฟท์ โดยไม่เพียงแต่เข้าถึงด้านเงินทุนเท่านั้น แต่ยังได้รับการสนับสนุนทรัพยากรด้านเทคโนโลยี รวมถึงคำปรึกษาจากผู้เชี่ยวชาญของไมโครซอฟท์เกี่ยวกับการพัฒนาธุรกิจและโอกาสทางการตลาดอีกด้วย ซึ่งรายละเอียดเกี่ยวกับกระบวนการสรรหาสำหรับโครงการร่วมทุนนี้จะประกาศให้ทราบในภายหลัง และสามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ทีมงานของไมโครซอฟท์ ที่ Vasupon.Thankakan@microsoft.comThis email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it. และ This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

Page 1 of 2
X

Right Click

No right click