November 22, 2024
×

Warning

JUser: :_load: Unable to load user with ID: 6847

 

 จักษ์กริช พิบูลย์ไพโรจน์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ผลิตไฟฟ้า จำกัด (มหาชน) หรือ เอ็กโก กรุ๊ปเปิดเผยผลการดำเนินงาน 6 เดือนแรกของปี 2561 ว่า บริษัทมีกำไรสุทธิ 17,807 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน จำนวน 11,313 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 174 หากพิจารณาเฉพาะผลการดำเนินงานในไตรมาส 2 ของปี 2561 บริษัทฯ ขาดทุนสุทธิ จำนวน 2,364  ล้านบาท ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อน จำนวน 5,894 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 167 โดยมีสาเหตุหลักจากผลกระทบจากอัตราแลกเปลี่ยน ขณะเดียวกัน คณะกรรมการบริษัทฯ มีมติให้จ่ายเงินปันผลระหว่างกาลจากผลการดำเนินงานครึ่งปีแรกของปี 2561 ในอัตราหุ้นละ 3.50 บาท และจ่ายเงินปันผลพิเศษ ในอัตราหุ้นละ 2.50 บาท รวมเป็นหุ้นละ 6 บาท ในวันที่ 14 กันยายน 2561

 สำหรับทิศทางการดำเนินธุรกิจในช่วงครึ่งปีหลังของปี 2561  จักษ์กริช กล่าวว่า ยังคงเดินหน้าสร้างความเติบโตอย่างยั่งยืนและสร้างผลตอบแทนที่ดีอย่างต่อเนื่องให้แก่ผู้ถือหุ้น ตามแผนกลยุทธ์ที่วางไว้ โดยให้ความสำคัญกับธุรกิจไฟฟ้าซึ่งเป็นความเชี่ยวชาญ และเน้นขยายธุรกิจในต่างประเทศที่มีฐานอยู่แล้วและสามารถขยายตลาดได้อีก รวมทั้งแสวงหาโอกาสขยายการลงทุนไปยังประเทศอื่นๆ ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก โดยการซื้อสินทรัพย์ที่เดินเครื่องเชิงพาณิชย์แล้ว และการพัฒนาโครงการประเภท Greenfield สำหรับการลงทุนในประเทศ บริษัทฯ มีความพร้อมสำหรับการลงทุนตามนโยบายของภาครัฐและแผนพัฒนากำลังการผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย (พีดีพี) ที่กำลังปรับปรุงใหม่

 

 

 ไพโรจน์ ชื่นครุฑ ประธานคณะเจ้าหน้าที่ด้านธุรกิจสินเชื่อยานยนต์ ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) เปิดเผยภาพรวมตลาดรถยนต์ไทยในช่วงครึ่งปีแรกขยายตัวต่อเนื่อง โดยเฉพาะยอดขายรถยนต์ใหม่ที่เติบโตกว่า 19 % สูงกว่าที่คาดการณ์เมื่อต้นปี ขณะที่ตลาดมอเตอร์ไซค์ลดลง 2 % จากราคาสินค้าเกษตรที่ยังไม่ขยับตัวขึ้น รถยนต์มือสองเติบโต 5 % จากการมีรถที่มีคุณภาพดีเข้าสู่ตลาดมากขึ้น

จากภาพด้านบนส่งผลให้ตลาดสินเชื่อเติบโตตามไปด้วย โดยกรุงศรี ออโต้มียอดสินเชื่อใหม่อยู่ที่  102,100 ล้านบาท  เติบโต 31% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยผลิตภัณฑ์สินเชื่อรถยนต์ใหม่เติบโตถึง 41% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน

ในขณะที่ยอดสินเชื่อคงค้างรวมใน 6 เดือนแรกของปีที่เติบโตทะลุเป้าหมายทั้งปีที่วางไว้345,000 ล้าน โดยมีมูลค่ารวมอยู่ที่ 353,000 ล้านบาท รวมทั้งสามารถรักษาอัตราสินเชื่อที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ให้อยู่ในระดับเดียวกับตลาดที่ 1.5%

จากผลการดำเนินงานในครึ่งปีแรก ประกอบกับสภาวะเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศที่ยังมีแนวโน้มที่ดี ทำให้กรุงศรี ออโต้ ปรับเป้าหมายการเติบโตของปี 2561 ในทุกด้าน โดยตั้งเป้ายอดสินเชื่อใหม่ที่ 198,600 ล้านบาท หรือเติบโต 20% จากปีก่อนหน้า พร้อมเพิ่มเป้ายอดสินเชื่อคงค้างรวมที่ 378,000 ล้านบาท หรือเติบโต 17% ซึ่งจะช่วยรักษาส่วนแบ่งการตลาดที่ 25 % ไว้ได้อย่างแน่นอน

ไพโรจน์ เล่าถึงกลยุทธ์ที่สนับสนุนการดำเนินงานของกรุงศรี ออโต้ โดยหลักคือ การสร้างความผูกพันกับผู้บริโภค โดยมาจาก 4 องค์ประกอบ คือ การเข้าถึงลูกค้าผ่านการสื่อสารแบบ Always-on โดยใช้เครื่องมือทางออนไลน์ต่างๆ ทำให้ลูกค้าสามารถติดต่อกับบริษัทได้ 24 ชั่วโมง โดยในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปีนี้จะมีการเปิดผลิตภัณฑ์ออนไลน์ใหม่อีกด้วย การบริการที่เจาะลึกถึงกลุ่มเป้าหมาย โดยในช่วงครึ่งปีแรกเน้นที่พนักงานประจำ ซึ่งในช่วงครึ่งปีหลังจะเน้นในกลุ่มอื่นเพิ่มตามมา การมัดใจลูกค้าด้วยข้อเสนอพิเศษ ด้วยการนำเสนอโปรโมชันพิเศษร่วมกับผู้ผลิตรถยนต์ผ่านช่องทางออนไลน์ และในช่วงครึ่งปีหลังจะมีการเพิ่มพันธมิตรมาร์เก็ตเพลสออนไลน์เพิ่มขึ้น และ การจัดโซนนิ่งสินเชื่อมอเตอร์ไซค์ ซึ่งมีความต้องการต่างจากสินเชื่อรถยนต์ ทำให้เข้าถึงลูกค้าได้เพิ่มขึ้น

 ระเฑียร  ศรีมงคล  ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร “เคทีซี” หรือ บริษัท บัตรกรุงไทย จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า “เศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มขยายตัวชัดเจนต่อเนื่อง จากการผลักดันภาคการส่งออกสินค้าและการท่องเที่ยวที่ปรับตัวดีขึ้นตามการขยายตัวของเศรษฐกิจ พร้อมทั้งแรงขับเคลื่อนจากอุปสงค์ในประเทศ สำหรับภาพรวมของอุตสาหกรรมสินเชื่อเพื่อผู้บริโภคในช่วงครึ่งปีแรกนี้ มีอัตราเติบโตสูงขึ้น จากลูกหนี้บัตรเครดิตรวมและปริมาณการใช้จ่ายผ่านบัตรที่เพิ่มขึ้น”

 ผลการดำเนินงานเคทีซีครึ่งปีแรกสามารถทำกำไรสุทธิได้ถึง 2,515 ล้านบาท หรือมีอัตราเติบโตจากช่วงเดียวกันของปีก่อนถึง 66% ในขณะที่กำไรสุทธิในไตรมาส 2 เท่ากับ 1,306 ล้านบาท ท่ามกลางสภาวะการแข่งขันในธุรกิจสินเชื่อเพื่อผู้บริโภคที่ทวีความเข้มข้นขึ้นต่อเนื่อง ทั้งจากความท้าทายของพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนไป และผลกระทบจากการพัฒนาด้านเทคโนโลยีที่รวดเร็ว บริษัทฯ จึงต้องปรับปรุงกระบวนการสื่อสารกับผู้บริโภคและพัฒนาตัวเองอยู่ตลอดเวลาให้ทันกับสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ประกอบกับต้องปรับกลยุทธ์เพื่อเพิ่มจำนวนลูกค้าและเพิ่มปริมาณการใช้จ่ายผ่านบัตร เพื่อรองรับกับความท้าทายของมาตรการและกฎเกณฑ์ที่เกิดขึ้น”  

ข้อมูล ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2561 เคทีซีมีสินทรัพย์รวมเท่ากับ 71,919 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 9% จากช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า โดยสินทรัพย์ที่สร้างรายได้หลักให้กับบริษัทฯ อยู่ในรูปของลูกหนี้การค้าสุทธิ คิดเป็น 92% ของสินทรัพย์รวม โดยพอร์ตลูกหนี้การค้ารวมเท่ากับ 72,037 ล้านบาท ฐานสมาชิกรวม 3.1 ล้านบัญชี เติบโต 2.8% แบ่งเป็นบัตรเครดิต 2,249,933 บัตร ขยายตัว 3.2% พอร์ตลูกหนี้บัตรเครดิตรวม 46,251 ล้านบาท สัดส่วนของลูกหนี้บัตรเครดิตเทียบกับอุตสาหกรรมปัจจุบันอยู่ที่ 12.6% อัตราเติบโตการใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตเคทีซีรวมเท่ากับ 7.7% (อุตสาหกรรมเติบโต 11.9%) ส่วนแบ่งการตลาดของการใช้จ่ายผ่านบัตรเท่ากับ 11.1%            เอ็นพีแอล (หนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ NPL) รวมของบริษัทยังลดต่ำลงอย่างต่อเนื่องอยู่ที่ 1.3% จาก 1.6% NPL บัตรเครดิตอยู่ที่ 1.1% ลดลงจาก 1.2% (อุตสาหกรรม 1.9%) สินเชื่อบุคคล 867,236 บัญชี ขยายตัว 2.0% ยอดลูกหนี้สินเชื่อบุคคลรวม 25,423 ล้านบาท สัดส่วนลูกหนี้สินเชื่อบุคคลเทียบกับอุตสาหกรรมเท่ากับ 7.0% และ NPL ของสินเชื่อบุคคลอยู่ที่ 0.8% ลดลงจาก 0.9% (อุตสาหกรรม 2.5%) โดยสัดส่วนค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญต่อ NPL ยังคงมูลค่าสูงที่ 605% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนอยู่ที่ 528%”

ระเฑียรให้ข้อมูลต่อว่า “ไตรมาสสองของปี 2561 เคทีซีมีอัตราเติบโตของรายได้รวมสูงขึ้น และสามารถควบคุมค่าใช้จ่ายรวมให้มีอัตราลดลง โดยสามารถทำรายได้เพิ่มขึ้น 9% เท่ากับ 5,259 ล้านบาท จากรายได้ดอกเบี้ยซึ่งส่วนใหญ่เพิ่มจากลูกหนี้สินเชื่อบุคคลที่ยังเติบโตได้ดี (รวมรายได้ค่าธรรมเนียมในการใช้วงเงิน) รายได้ค่าธรรมเนียมและรายได้อื่นๆ ซึ่งมีสัดส่วน 93% มาจากหนี้สูญได้รับคืน และมีการควบคุมค่าใช้จ่ายรวมอยู่ที่ 3,626 ล้านบาท ลดลง 5% จากค่าใช้จ่ายการตลาดที่ลดลง เพราะอนุมัติสมาชิกใหม่ในจำนวนน้อยลงกว่าประมาณการที่ตั้งไว้ และมีการใช้งบประมาณด้านการตลาดที่มีประสิทธิภาพผ่านเทคโนโลยีมากขึ้น ทำให้ใช้จ่ายเม็ดเงินน้อยลง ในขณะที่มูลค่าหนี้สูญและหนี้สงสัยจะสูญลดลงเช่นกันเนื่องจากพอร์ตลูกหนี้ที่ขยายตัวได้ช้า ทำให้การตั้งสำรองและค่าใช้จ่ายการเงินที่เป็นต้นทุนเงินก็ลดลง เนื่องจากบริษัทฯ ออกหุ้นกู้ใหม่ในระยะเวลาที่ยาวขึ้นด้วยต้นทุนเงินที่ต่ำลงกว่าหุ้นกู้เดิม โดยรักษาสัดส่วนค่าใช้จ่ายดำเนินงานต่อรายได้สุทธิ (Operating Cost to Income Ratio) เท่ากับ 26.8% ลดลงจากช่วงระยะเวลาเดียวกันของปีก่อน ซึ่งอยู่ที่ 27.3% ซึ่งแสดงว่าบริษัทยังคงรักษาประสิทธิภาพในกระบวนการทำงานได้ดี”

“บริษัทฯ มีวงเงินสินเชื่อคงเหลือ (Available Credit Line) ทั้งสิ้น 24,890 ล้านบาท เป็นวงเงินของธนาคารกรุงไทย 18,030 ล้านบาท และธนาคารพาณิชย์อื่นๆ 6,860 ล้านบาท โดยมีต้นทุนการเงินไตรมาส 2/2561 เท่ากับ 2.99% ลดลง 3.23% หากเทียบจากช่วงเดียวกันของปี 2560 สำหรับครึ่งปีต้นทุนเงินอยู่ที่ 2.97% (สิ้นปี 2560 เท่ากับ 3.12%) เพราะบริษัทฯ จัดหาเงินจากการออกหุ้นกู้ใหม่ด้วยระยะเวลาที่ยาวขึ้น แต่มีต้นทุนเงินที่ต่ำกว่าหุ้นกู้เดิม โดยมีอัตราส่วนของหนี้สินต่อส่วนของผู้ถือหุ้นอยู่ที่ 4.24 เท่า ซึ่งต่ำกว่าภาระผูกพันที่กำหนดไว้ที่ 10 เท่า”

“แม้ว่าในช่วงครึ่งปีแรกที่ผ่านมา บริษัทฯ จะไม่สามารถบรรลุเป้าหมายด้านอัตราเติบโตของพอร์ตและการใช้จ่ายผ่านบัตรตามที่ได้ตั้งไว้ จากปัจจัยของภาพรวมการเติบโตเศรษฐกิจที่อยู่ในสภาวะเริ่มฟื้นตัว และกฎเกณฑ์การควบคุมที่เป็นความท้าทายสำคัญ อย่างไรก็ตาม บริษัทฯ ได้ปรับกลยุทธ์ในหลายแนวทางเพื่อให้ธุรกิจแข่งขันได้ โดยในปี 2561 บริษัทฯ ยังคงประมาณการเป้าหมายพอร์ตลูกหนี้รวมธุรกิจบัตรเครดิตและสินเชื่อบุคคลเติบโตไว้ที่ 10% ปริมาณการใช้จ่ายผ่านบัตรรวมขยายตัวไม่ต่ำกว่า 15% รักษาสัดส่วน NPL ให้คงอยู่ในระดับเดียวกับ           ปีก่อนที่ 1.3% และคาดว่าจะมีกำไรสูงกว่าปี 2560 ที่มีมูลค่า 3,304 ล้านบาท”

 

วิวัฒน์ เลาหพูนรังษี ประธานกรรมการอาวุโส บริษัท อารียา พรอพเพอร์ตี้ จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า ภาพรวมธุรกิจของ อารียา พรอพเพอร์ตี้ ในครึ่งปีแรกเติบโตไปตามทิศทางเดียวกับตลาดอสังหาริมทรัพย์ ที่มีปัจจัยบวกสนับสนุน ไม่ว่าจะเป็น ตัวเลข GDP จากสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ หรือ สภาพัฒน์ ที่เพิ่งเผยข้อมูลช่วงไตรมาสแรกไปนั้น เศรษฐกิจประเทศไทยมีการเติบโตที่ 4.8% ซึ่งถือเป็นตัวเลขสูงสุดในรอบ 5 ปี ส่งผลให้เศรษฐกิจทุกภาคส่วนมีการเริ่มขยับปรับโตไปในทิศทางที่ดีขึ้น นอกจากนี้ ความต้องการซื้อเพื่อการอยู่อาศัย หรือการซื้อเพื่อการลงทุน ยังเติบโตอย่างต่อเนื่อง

โดยในครึ่งปีแรกของปี 2561 บริษัทฯ มียอดขายรวม 4,852 ล้านบาท แบ่งเป็นยอดขายจากโครงการแนวราบ มูลค่ารวม 3,107 ล้านบาท คิดเป็น 65% และจากโครงการแนวสูงมูลค่ารวม 1,745 ล้านบาท คิดเป็น 35%  ทั้งนี้ ยังพบว่า ตลาดกลุ่ม Luxury ทั้งบ้านและคอนโดที่มีราคาตั้งแต่ 25 ล้านบาทขึ้นไปของบริษัทฯ ได้รับการตอบรับจากลูกค้าเป็นอย่างดี โดยเฉพาะทำเลในย่านใจกลางเมือง ย่านธุรกิจ อาทิ โซนสุขุมวิท โซนบางนา และโซนเกษตร-นวมินทร์

อย่างไรก็ตามในไตรมาส 2/2561 บริษัทฯมีผลการดำเนินงานเป็นที่น่าพอใจโดยมีรายได้ 952.9 ล้านบาท และมีกำไรสุทธิ 16.5 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีกำไรสุทธิ 15.9 ล้านบาท สำหรับงวดครึ่งปี บริษัทฯมีรายได้ 2000.9 ล้านบาท ส่งผลให้มีกำไรสุทธิ 69.9 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 55.7% จากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีกำไรสุทธิ 44.9 ล้านบาท

 

 บริษัทนีลเส็น (ประเทศไทย) บริษัทวิจัยและตรวจวัดข้อมูลพฤติกรรมของผู้บริโภค เก็บข้อมูลงบโฆษณารายเดือน กรกฎาคม  2561 เทียบกับเดือนเดียวกันปี 2560 ทำให้เห็นภาพรวมการใช้งบประมาณโฆษณาที่ขยับตัวขึ้นในเกือบทุกสื่อยกเว้นสื่อหนังสือพิมพ์และนิตยสาร ที่การใช้เงินโฆษณายังคงลดลงอย่างต่อเนื่อง

 

หมายเหตุ

 สื่อกลางแจ้ง (outdoor) และสื่อเคลื่อนที่(transit):มีการรวมข้อมูลจาก  JCDecaux สำหรับข้อมูลจากสื่อในสนามบินตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ ปี 2560 และข้อมูลของสื่อ outdoor และ transit จาก  JCDecaux ได้ถูกรวมเข้าไว้ ในรายงานตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2560

นีลเส็นได้มีการเพิ่มพื้นที่การ เก็บข้อมูลสื่อกลางแจ้ง (outdoor) เช่นสื่อเคลื่อนที่(transit),ป้ายบิลบอร์ด, ป้ายโฆษณาบนทางเท้า, สื่อในสนามบิน และอื่นๆ ตั้งแต่เดือนมกราคมปี2559  เป็นต้นมา

อินเทอร์เน็ท - ตั้งแต่เดือนมกราคมปี 2559 นีลเส็นได้มีการขยาย การเก็บข้อมูลโมษณาผ่านสื่ออินเทอร์เน็ทโดยครอบคลุม 50 เว็บไซต์ยอดนิยม และ 10  เว็บไซต์ยอดนิยมบนมือถือ

สำหรับภาพรวมการใช้งบโฆษณาผ่านสื่ออินเตอร์เน็ททั้งหมดกรุณาอ้างอิงข้อมูลจากDAAT

สื่อในห้าง – นีลเส็นได้มี การเพิ่มข้อมูล สื่อวิทยุในห้าง Big C และ 7 Eleven เข้ามาในฐานข้อมูล ตั้งแต่เดือนมกราคม 2559

ทั้งนี้ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2558 ข้อมูลของสื่อในห้างTesco Lotus และ Big C ไม่ได้รวมอยู่ในฐานข้อมูลของนีลเส็น

Page 1 of 3
X

Right Click

No right click