December 23, 2024

ซิสโก้ (NASDAQ: CSCO)  บริษัทชั้นนำด้านเทคโนโลยีระบบรักษาความปลอดภัยและเครือข่าย ได้ประกาศเปิดตัวโซลูชั่นคลัสเตอร์ AI ที่ก้าวล้ำ พร้อมด้วยเทคโนโลยีจาก NVIDIA สำหรับดาต้าเซ็นเตอร์ยุคใหม่ที่จะพลิกโฉมการสร้าง การจัดการ และการปรับแต่งโครงสร้างพื้นฐานและซอฟต์แวร์

ภายใต้วิสัยทัศน์ Cisco Networking Cloud ซึ่งมุ่งที่จะลดความซับซ้อนของเครือข่าย ซิสโก้ได้นำเสนอโซลูชั่นโครงสร้างพื้นฐานแบบครบวงจรที่พร้อมใช้งานในระดับองค์กร เพื่อรองรับเวิร์กโหลด Generative AI โดยโซลูชั่นคลัสเตอร์ Cisco Nexus HyperFabric AI ผสานรวมเครือข่ายแบบ AI-native ของซิสโก้ เข้ากับระบบประมวลผลที่มีการเร่งความเร็วและซอฟต์แวร์ AI ของ NVIDIA และที่เก็บข้อมูล VAST ที่แข็งแกร่ง โซลูชั่นดังกล่าวได้รับการออกแบบเป็นพิเศษเพื่อช่วยให้ลูกค้าสามารถโฟกัสไปที่การสร้างสรรค์นวัตกรรมที่ขับเคลื่อนด้วย AI รวมถึงโอกาสใหม่ๆ ในการสร้างรายได้ โดยไม่ต้องวุ่นวายกับการจัดการระบบไอที

รายงานแนวโน้มด้านระบบเครือข่ายทั่วโลก (Global Networking Trends Report) ฉบับล่าสุดของซิสโก้ ระบุว่า ในช่วงสองปีข้างหน้า 60% ของผู้บริหารและบุคลากรด้านไอทีคาดว่าจะมีการปรับใช้ระบบเครือข่ายอัตโนมัติเชิงคาดการณ์ที่รองรับ AI ในทุกโดเมน เพื่อให้สามารถจัดการ NetOps ได้ดียิ่งขึ้น1 นอกจากนี้ 75% มีแผนที่จะปรับใช้เครื่องมือที่รองรับการตรวจสอบแบบครบวงจรผ่านคอนโซลหนึ่งเดียว ครอบคลุมโดเมนเครือข่ายที่แตกต่างกัน เช่น เครือข่ายแคมปัสและสาขา, WAN, ดาต้าเซ็นเตอร์, อินเทอร์เน็ต, ระบบ คลาวด์สาธารณะ และเครือข่ายอุตสาหกรรม

 

โจนาธาน เดวิดสัน รองประธานบริหารและผู้จัดการทั่วไปของ Cisco Networking กล่าวว่า “ถึงแม้ว่าอนาคตของ AI จะมีความชัดเจน แต่หนทางข้างหน้าสำหรับหลายๆ องค์กรที่เพิ่งเริ่มต้นการปรับใช้เทคโนโลยีกลับไม่เป็นเช่นนั้น กล่าวคือ ลูกค้าส่วนใหญ่มักจะต้องเผชิญกับปัญหาท้าทายทางด้านการเงินและการดำเนินงานสำหรับการเริ่มต้นใช้งาน AI Stack ซิสโก้มุ่งมั่นที่จะปรับปรุงการติดตั้งใช้งานและการจัดการโครงสร้างพื้นฐาน AI ให้สะดวกง่ายดายมากขึ้น โดยเราได้ร่วมมือกับ NVIDIA เพื่อนำเสนอโซลูชั่น AI Stack ที่ปรับใช้ได้อย่างง่ายดายและควบคุมผ่านระบบคลาวด์ โซลูชั่นที่ว่านี้สร้างขึ้นภายใต้วิสัยทัศน์แพลตฟอร์ม Cisco Networking Cloud ของเรา ซึ่งมุ่งเน้นการทำงานแบบอัตโนมัติและเรียบง่าย”

เควิน ไดเออร์ลิง รองประธานอาวุโสฝ่ายระบบเครือข่ายของ NVIDIA กล่าวว่า “Generative AI จำเป็นต้องใช้โครงสร้างพื้นฐานและซอฟต์แวร์ที่ออกแบบและสร้างขึ้นเพื่อการนี้โดยเฉพาะ เพื่อให้องค์กรต่างๆ สามารถเปลี่ยนข้อมูลที่มีอยู่ให้กลายเป็นเชื้อเพลิงสำหรับการพลิกโฉมธุรกิจได้อย่างปลอดภัยและมีประสิทธิภาพ NVIDIA และซิสโก้ร่วมมือกันเพื่อส่งมอบแพลตฟอร์ม AI และระบบควบคุมที่พร้อมใช้งานสำหรับองค์กร เพื่อเพิ่มความสะดวกในการติดตั้งใช้งานระบบประมวลผลแบบเร่งความเร็ว ระบบเครือข่าย และซอฟต์แวร์ที่จำเป็นสำหรับเวิร์กโหลด Generative AI”

ซิสโก้ได้ตอกย้ำถึงความมุ่งมั่นในการช่วยให้ลูกค้าสามารถปรับใช้โครงสร้างพื้นฐาน AI ได้อย่างรวดเร็ว นอกจากนี้ ซิสโก้ยังส่งมอบเครื่องมือที่เหมาะสมให้กับลูกค้าเพื่อสร้างเครือข่าย AI-native ที่ใช้งานง่าย สามารถคาดการณ์ความล้มเหลวในการทำงาน ตลอดจนวินิจฉัยและแก้ไขปัญหาได้อย่างฉับไว

วิธีการทำงานของ Cisco Nexus HyperFabric AI Cluster

โซลูชั่นนี้รองรับการออกแบบ ปรับใช้ ตรวจสอบ และรับรองพ็อด AI และเวิร์กโหลดของดาต้าเซ็นเตอร์อย่างครบวงจร โดยจะแนะนำผู้ใช้ตั้งแต่ขั้นตอนการออกแบบ ไปจนถึงการติดตั้งใช้งานที่ผ่านการตรวจสอบยืนยัน ไปจนถึงการตรวจสอบดูแลและรับรองโครงสร้างพื้นฐาน AI ที่พร้อมใช้งานระดับองค์กร ด้วยความสามารถในการจัดการระบบคลาวด์ ลูกค้าจะสามารถติดตั้งและจัดการแฟบริคขนาดใหญ่ที่ครอบคลุมทั่วทั้งดาต้าเซ็นเตอร์ ระบบโคโลเคชั่น (Colocation) และไซต์ Edge ได้อย่างง่ายดาย

 

โซลูชั่นคลัสเตอร์ Cisco Nexus HyperFabric AI นำเสนอการทำงานแบบอัตโนมัติที่ควบคุมจัดการผ่านระบบคลาวด์ ครอบคลุมระบบประมวลผลและเครือข่ายแบบครบวงจรที่ผสานรวมความเชี่ยวชาญด้านสวิตช์อีเธอร์เน็ตของซิสโก้บน Cisco Silicon One โดยบูรณาการเข้ากับระบบประมวลผลแบบเร่งความเร็วของ NVIDIA และซอฟต์แวร์ NVIDIA AI Enterprise รวมไปถึงแพลตฟอร์มการจัดเก็บข้อมูลของ VAST โซลูชั่นดังกล่าวประกอบด้วย:

· ความสามารถในการจัดการระบบคลาวด์ของซิสโก้ ซึ่งจะช่วยลดความยุ่งยากซับซ้อนของการดำเนินงานด้านไอทีในทุกขั้นตอนของเวิร์กโฟลว์

· สวิตช์ Cisco Nexus 6000 series สำหรับ Spine และ Leaf ซึ่งให้ประสิทธิภาพของแฟบริคอีเธอร์เน็ต 400G และ 800G

· โมดูล QSFP-DD ในตระกูล Cisco Optics ซึ่งช่วยเพิ่มทางเลือกให้แก่ลูกค้าและให้ความหนาแน่นสูงมาก

· ซอฟต์แวร์ NVIDIA AI Enterprise ซึ่งช่วยเพิ่มความคล่องตัวในการพัฒนาและปรับใช้เวิร์กโหลด Generative AI ในระดับเทียบเท่าการใช้งานจริง

· ไมโครเซอร์วิสการอนุมาน NVIDIA NIM ที่เพิ่มความรวดเร็วในการปรับใช้โมเดลพื้นฐาน พร้อมทั้งรับประกันความปลอดภัยของข้อมูล และสามารถใช้งานร่วมกับ NVIDIA AI Enterprise · NVIDIA Tensor Core GPU ที่เริ่มต้นด้วย NVIDIA H200 NVL ได้รับการออกแบบเป็นพิเศษเพื่อเพิ่มพลังให้กับเวิร์กโหลด Generative AI ด้วยสมรรถนะที่เหนือชั้นและความสามารถของหน่วยความจำที่เหนือกว่า

· หน่วยประมวลผลข้อมูล NVIDIA BlueField-3 DPU และ BlueField-3 SuperNIC สำหรับการเร่งความเร็วของเวิร์กโหลดด้านเครือข่ายประมวลผล AI การเข้าถึงข้อมูล และการรักษาความปลอดภัย

· ดีไซน์ต้นแบบระดับองค์กรสำหรับ AI ที่สร้างขึ้นบน NVIDIA MGX ซึ่งเป็นสถาปัตยกรรมเซิร์ฟเวอร์แบบแยกส่วนที่มีความยืดหยุ่นสูง

· VAST Data Platform ซึ่งให้พื้นที่จัดเก็บข้อมูลแบบครบวงจร ฐานข้อมูล และเอนจิ้นฟังก์ชั่นที่ขับเคลื่อนด้วยข้อมูลซึ่งสร้างขึ้นเป็นพิเศษสำหรับ AI

มีองค์กรในไทยเพียง 9 เปอร์เซ็นต์เท่านั้นที่มี ‘ความพร้อมเต็มที่’ (Mature) ในการรับมือกับความเสี่ยงด้านไซเบอร์ซีเคียวริตี้ยุคใหม่ ตามที่ระบุไว้ในรายงานดัชนี “ความพร้อมด้านไซเบอร์ซีเคียวริตี้ (Cybersecurity Readiness Index) ประจำปี 2567” ของซิสโก้

รายงานดัชนี “ความพร้อมด้านไซเบอร์ซีเคียวริตี้ประจำปี 2567” ของซิสโก้ ได้รับการจัดทำขึ้นในยุคที่มีการเชื่อมต่อถึงกันอย่างหลากหลาย (hyperconnectivity) และสถานการณ์ภัยคุกคามมีการพัฒนาอย่างรวดเร็ว ทุกวันนี้ บริษัทต่างๆ ยังคงตกเป็นเป้าหมายการโจมตีด้วยเทคนิคที่แตกต่างมากมาย ตั้งแต่ฟิชชิ่งและแรนซัมแวร์ ไปจนถึงการโจมตีจากซัพพลายเชนและโซเชียล เอนจิเนียริ่ง ถึงแม้ว่าองค์กรต่างๆ จะมีการติดตั้งระบบรักษาความปลอดภัยเพื่อป้องกันการโจมตีเหล่านี้ แต่ก็ยังคงประสบปัญหาในการป้องกันภัยคุกคามอย่างต่อเนื่อง อีกทั้งมาตรการรักษาความปลอดภัยที่มีความซับซ้อนมากจนเกินไป เนื่องจากมีการติดตั้งโซลูชั่นเฉพาะจุดจำนวนมาก ก็ส่งผลให้องค์กรประสบความยากลำบาก ปัญหาท้าทายเหล่านี้เกิดขึ้นในสภาพแวดล้อมการทำงานแบบกระจายในปัจจุบัน ซึ่งข้อมูลสามารถแพร่กระจายไปยังการให้บริการ อุปกรณ์ แอปพลิเคชั่น และผู้ใช้จำนวนมากอย่างไม่จำกัด อย่างไรก็ตาม 89% ของบริษัทที่ตอบแบบสอบถามยังคงรู้สึกมั่นใจใน ‘ระดับปานกลางถึงระดับสูงมาก’ เกี่ยวกับความสามารถในการป้องกันการโจมตีทางไซเบอร์ด้วยโครงสร้างพื้นฐานที่มีอยู่ในปัจจุบัน ความแตกต่างระหว่าง ‘ความเชื่อมั่น’ และ ‘ความพร้อม’ นี้ชี้ให้เห็นว่าบริษัทต่างๆ อาจมีความมั่นใจที่ผิดเกี่ยวกับความสามารถของตนเองในการรับมือกับภัยคุกคาม และอาจไม่สามารถประเมินความรุนแรงที่แท้จริงของปัญหาท้าทายกำลังเผชิญอยู่ได้อย่างถูกต้อง

รายงานดัชนี “ความพร้อมด้านไซเบอร์ซีเคียวริตี้ประจำปี 2567” ของซิสโก้: บริษัทที่ ‘ไม่เตรียมพร้อมและมีความมั่นใจมากเกินไป’ ต้องเผชิญและรับมือกับภัยคุกคามที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา

รายงานดัชนีนี้ประเมินความพร้อมของบริษัทใน 5 ด้านที่สำคัญ ได้แก่ ระบบอัจฉริยะด้านข้อมูลบุคคล, ความยืดหยุ่นของเครือข่าย, ความน่าเชื่อถือของแมชชีน, ความแข็งแกร่งของคลาวด์ และการเสริมกำลังด้วย AI ซึ่งประกอบด้วยโซลูชั่นและฟีเจอร์ที่เกี่ยวข้อง 31 รายการ โดยอิงจากการสำรวจความคิดเห็นแบบปกปิดสองทาง (Double-Blind) ของผู้บริหารฝ่ายรักษาความปลอดภัยและฝ่ายธุรกิจขององค์กรเอกชนมากกว่า 8,000 คนใน 30 ประเทศทั่วโลก โดยการสำรวจความคิดเห็นครั้งนี้ดำเนินการโดยองค์กรอิสระ ผู้ตอบแบบสอบถามถูกขอให้ระบุว่ามีโซลูชั่นและฟีเจอร์ใดบ้างที่พวกเขาได้ติดตั้งใช้งาน รวมถึงระดับของการใช้งาน จากนั้นบริษัทต่างๆ ถูกแบ่งกลุ่มตามระดับความพร้อม 4 ระดับ ได้แก่ ระดับ Beginner (ระดับเริ่มต้น), Formative (ระดับสร้างฐานความพร้อม), Progressive (ระดับก้าวหน้า) และ Mature (ระดับพร้อมเต็มที่)

จีทู พาเทล, รองประธานบริหารและผู้จัดการทั่วไปฝ่ายระบบรักษาความปลอดภัยและการทำงานร่วมกันของซิสโก้ กล่าวว่า “เราไม่ควรละเลยความเสี่ยงจากภัยคุกคามที่เกิดจากความมั่นใจเกินไปของเรา องค์กรในปัจจุบันจำเป็นต้องให้ความสำคัญกับการลงทุนในแพลตฟอร์มแบบครบวงจร และนำ AI มาใช้เพื่อการดำเนินการของแมชชีน ซึ่งท้ายที่สุดแล้วจะช่วยให้องค์กรมีความได้เปรียบในการป้องกันมากขึ้น”

 

ข้อมูลที่พบจากผลการศึกษาโดยรวมแล้ว จากผลการศึกษาพบว่า บริษัทในไทยมีเพียง 9 เปอร์เซ็นต์เท่านั้นที่พร้อมรับมือกับภัยคุกคามในปัจจุบัน โดยองค์กรมากกว่าครึ่งหนึ่ง (54%) มีความพร้อมในระดับเริ่มต้น หรือระดับสร้างฐานของความพร้อม ขณะที่บริษัทต่างๆ ทั่วโลก 3% มีระดับความพร้อมเต็มที่ นอกจากนั้น:

· เหตุการณ์ทางไซเบอร์ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคต: 65% ของผู้ตอบแบบสอบถาม คาดการณ์ว่า เหตุการณ์ด้านไซเบอร์ซีเคียวริตี้จะทำให้ธุรกิจของพวกเขาหยุดชะงักใน 12 ถึง 24 เดือนข้างหน้า การที่องค์กรขาดความพร้อมอาจส่งผลให้เกิดความเสียหายที่มีมูลค่าสูงมาก โดยผู้ตอบแบบสอบถาม 51% กล่าวว่าพวกเขาประสบกับเหตุการณ์ด้านไซเบอร์ซีเคียวริตี้ในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมา และ 69% ขององค์กรที่ได้รับผลกระทบระบุว่าปัญหาที่เกิดขึ้นสร้างความเสียหายอย่างน้อย 300,000 ดอลลาร์

· การติดตั้งโซลูชั่นเฉพาะจุดมากเกินไป: แนวทางแบบเดิมๆ ในการติดตั้งโซลูชั่นเฉพาะจุดจำนวนมากสำหรับการรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ไม่ได้ให้ผลลัพธ์ที่มีประสิทธิภาพ โดย 92% ของผู้ตอบแบบสอบถามยอมรับว่าการมีโซลูชั่นเฉพาะจุดจำนวนมากส่งผลให้ทีมทำงานได้ช้าลงในการตรวจจับการโจมตี การตอบสนอง และการกู้คืนระบบ ซึ่งก่อให้เกิดความกังวลใจเป็นอย่างมาก โดย 75% ขององค์กรกล่าวว่าพวกเขาได้ติดตั้งโซลูชั่นด้านการรักษาความปลอดภัยแบบเฉพาะจุด 10 โซลูชั่นขึ้นไป ขณะที่ 35% มีอย่างน้อย 30 โซลูชั่น

· อุปกรณ์ที่ ‘ไม่ปลอดภัย’ และ ‘ไม่มีการจัดการ’ สร้างความซับซ้อนเพิ่มมากขึ้น: 94% ของบริษัทกล่าวว่าพนักงานของตนเข้าถึงแพลตฟอร์มของบริษัทจากอุปกรณ์ที่ไม่มีการจัดการ และ 42% ของบริษัทเหล่านั้นใช้เวลาหนึ่งในห้า (20%) ในการล็อกออนเข้าสู่ระบบเครือข่ายของบริษัทจากอุปกรณ์ที่ไม่มีการจัดการ นอกจากนี้ 26% รายงานว่าพนักงานมีการสลับไปมาระหว่างเครือข่ายต่างๆ อย่างน้อยหกเครือข่ายในหนึ่งสัปดาห์

· การขาดแคลนบุคลากรทางไซเบอร์อย่างต่อเนื่อง: องค์กรต่างๆ ไม่สามารถพัฒนาด้านความปลอดภัยอย่างเต็มศักยภาพเนื่องจากขาดแคลนบุคลากรที่มีความสามารถ โดยบริษัท 91% เน้นย้ำว่าปัญหานี้นับเป็นเรื่องสำคัญ และที่จริงแล้ว บริษัท 43% พบว่าพวกเขายังคงขาดแคลนบุคลากรในตำแหน่งงานที่เกี่ยวกับการรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์มากกว่า 10 อัตราในช่วงที่มีการสำรวจความคิดเห็น

· การลงทุนด้านไซเบอร์ที่เพิ่มขึ้นในอนาคต: บริษัทต่างๆ ตระหนักถึงปัญหาท้าทายดังกล่าว และกำลังดำเนินการเพื่อยกระดับการป้องกัน โดย 65% มีแผนที่จะอัปเกรดโครงสร้างพื้นฐานด้านไอทีครั้งใหญ่ใน 12 ถึง 24 เดือนข้างหน้า ซึ่งเป็นการเพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัดจาก 47% ที่วางแผนจะทำเช่นนั้นในปีที่แล้ว โดยองค์กรต่างๆ วางแผนที่จะอัปเกรดโซลูชั่นที่มีอยู่ (70%) ปรับใช้โซลูชั่นใหม่ (53%) และลงทุนในเทคโนโลยีที่ขับเคลื่อนด้วย AI (61%) นอกจากนี้ เกือบทั้งหมด (99%) ของบริษัทที่ตอบแบบสอบถามคาดว่าจะเพิ่มงบประมาณด้านไซเบอร์ซีเคียวริตี้ใน 12 เดือนข้างหน้า และ 94% กล่าวว่างบประมาณของพวกเขาจะเพิ่มขึ้นอย่างน้อย 10%

 เพื่อเอาชนะปัญหาท้าทายเกี่ยวกับสถานการณ์ภัยคุกคามในปัจจุบัน บริษัทต่างๆ ต้องเร่งดำเนินการลงทุนที่สำคัญในระบบรักษาความปลอดภัย รวมถึงการใช้มาตรการรักษาความปลอดภัยที่เป็นนวัตกรรมใหม่, การปรับใช้แนวทางแพลตฟอร์มการรักษาความปลอดภัย, การเสริมความยืดหยุ่นของเครือข่าย, การใช้งาน Gen AI อย่างเหมาะสม และเพิ่มบุคลากรที่มีความสามารถเพื่อลดช่องว่างของทักษะด้านไซเบอร์ซีเคียวริตี้

วีระ อารีรัตนศักดิ์ กรรมการผู้จัดการ ซิสโก้ ประเทศไทย และเมียนมาร์ กล่าวว่า “สถานการณ์ภัยคุกคามในปัจจุบันมีความซับซ้อนมากขึ้น ขณะที่บริษัทต่างๆ ทั่วโลก รวมถึงในประเทศไทย ยังไม่มีการเตรียมความพร้อมอย่างเพียงพอ รายงานดัชนีความพร้อมด้านไซเบอร์ซีเคียวริตี้ล่าสุดของเราเปิดเผยว่า บริษัทในไทยเพียง 9% เท่านั้นที่มี ‘ความพร้อมอย่างเต็มที่’ ในการรับมือกับความเสี่ยงด้านไซเบอร์ซีเคียวริตี้ยุคใหม่ ซึ่งลดลงจากปี 2566 ที่องค์กรมีความพร้อมอยู่ที่ 27% องค์กรธุรกิจในไทยจึงจำเป็นที่จะต้องปรับใช้แนวทางแพลตฟอร์มแบบหลายทาง (multi-pronged platform approach) เพื่อเพิ่มความยืดหยุ่นด้านไซเบอร์ซีเคียวริตี้ ตั้งแต่การลงทุนในมาตรการรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ ไปจนถึงการใช้ประโยชน์จาก Gen AI เพื่อปรับปรุงระบบรักษาความปลอดภัย ลดช่องว่างด้านบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญด้านไซเบอร์ซีเคียวริตี้ และวางรากฐานสำหรับการเตรียมความพร้อมในทุกๆ ส่วนทั่วทั้งองค์กร”

ผลการศึกษาของซิสโก้ชี้ องค์กรในไทยเพียง 20% มีความพร้อมในการปรับใช้และใช้ประโยชน์จาก AI โดย 74% เป็นกังวลอย่างมากเกี่ยวกับผลกระทบต่อธุรกิจหากไม่เตรียมพร้อมในอีก 12 เดือนข้างหน้า

 

ประเด็นข่าว:

· องค์กรเกือบทั้งหมดในไทย (99%) ระบุว่าความจำเป็นเร่งด่วนในการปรับใช้เทคโนโลยีที่ขับเคลื่อนด้วย AI ได้เพิ่มสูงขึ้นช่วง 6 เดือนที่ผ่านมา

· มีช่องว่างที่สำคัญใน 6 เสาหลักของธุรกิจ ซึ่งได้แก่ กลยุทธ์ โครงสร้างพื้นฐาน ข้อมูล การกำกับดูแล บุคลากร และวัฒนธรรมองค์กร โดยบริษัท 80% กล่าวว่าพวกเขายังไม่พร้อมอย่างเต็มที่ในการบูรณาการ AI เข้ากับธุรกิจของตน

· บริษัทต่างๆ กำลังแข่งกับเวลา โดย 74% กล่าวว่าพวกเขามีเวลาสูงสุดแค่ “หนึ่งปี” ในการปรับใช้กลยุทธ์ AI มิฉะนั้นจะส่งผลเสียต่อธุรกิจ

 

กรุงเทพฯ, 16 พฤศจิกายน 2566 — มีเพียง 20% ขององค์กรในประเทศไทยเท่านั้นที่มีความพร้อมอย่างเต็มที่ในการปรับใช้และใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีที่ขับเคลื่อนด้วย AI ตามรายงานฉบับแรกเกี่ยวกับดัชนีความพร้อมด้าน AI (AI Readiness Index) ของซิสโก้ (NASDAQ: CSCO) ซึ่งได้ตีพิมพ์เผยแพร่ในวันนี้ ดัชนีดังกล่าวซึ่งเป็นการสำรวจข้อมูลจากบริษัททั่วโลกมากกว่า 8,000 แห่ง ที่ได้รับการพัฒนาเพื่อตอบสนองต่อการปรับใช้ AI อย่างรวดเร็ว ซึ่งนับเป็นการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญที่ส่งผลกระทบต่อธุรกิจและชีวิตประจำวันในเกือบทุกแง่มุม รายงานดังกล่าวเน้นย้ำถึงความพร้อมของบริษัทต่างๆ ในการปรับใช้และใช้ประโยชน์จาก AI โดยแสดงให้เห็น “ช่องว่างที่สำคัญ” ในเสาหลักของธุรกิจและโครงสร้างพื้นฐานซึ่งจะก่อให้เกิดความเสี่ยงอย่างร้ายแรงในอนาคตอันใกล้นี้

 

ผลการศึกษาล่าสุดชี้ว่า ถึงแม้การปรับใช้ AI จะมีความคืบหน้าอย่างช้าๆ มานานหลายทศวรรษ แต่ความก้าวหน้าของเทคโนโลยี Generative AI ประกอบกับการเปิดให้ใช้งานอย่างกว้างขวางสำหรับผู้ใช้ทั่วไปในช่วงปีที่ผ่านมา ส่งผลให้มีความสนใจเพิ่มมากขึ้น รวมถึงความท้าทาย ความเปลี่ยนแปลง และความเป็นไปได้ใหม่ๆ ที่เกิดจากเทคโนโลยีนี้ ขณะที่ 63% ของผู้ตอบแบบสอบถามเชื่อว่า AI จะมีผลกระทบอย่างมากต่อการดำเนินธุรกิจของพวกเขา และอาจก่อให้เกิดประเด็นใหม่ๆ เกี่ยวกับความเป็นส่วนตัวของข้อมูลและความปลอดภัย รายงานดัชนีดังกล่าวพบว่า บริษัทต่างๆ เผชิญกับความท้าทายมากที่สุดเมื่อใช้ประโยชน์จาก AI ควบคู่ไปกับข้อมูลของพวกเขา ที่จริงแล้ว ผู้ตอบแบบสอบถาม 75% ยอมรับว่าสาเหตุเป็นเพราะข้อมูลถูกจัดเก็บอย่างกระจัดกระจายไว้ในระบบต่างๆ ทั่วทั้งองค์กร

อย่างไรก็ตาม ข่าวดีก็คือ รายงานดัชนีดังกล่าวเปิดเผยว่า บริษัทต่างๆ ในไทยกำลังใช้มาตรการเชิงรุกในหลายๆ ด้านเพื่อเตรียมพร้อมสำหรับอนาคตที่มุ่งเน้น AI เป็นหลัก เมื่อพูดถึงการกำหนดกลยุทธ์ด้าน AI องค์กร 97% มีกลยุทธ์ด้าน AI ที่แข็งแกร่งอยู่แล้วหรืออยู่ระหว่างการพัฒนา องค์กรมากกว่า 8 ใน 10 (81%) ถูกจัดอยู่ในกลุ่ม Pacesetters (มีความพร้อมอย่างเต็มที่) หรือ Chasers (มีความพร้อมปานกลาง) โดยมีเพียง 1% เท่านั้นที่จัดอยู่ในกลุ่ม Laggards (ไม่ได้เตรียมพร้อม) ซึ่งนับเป็นการบ่งบอกว่าผู้บริหารระดับสูงและผู้บริหารฝ่ายไอทีให้ความสำคัญกับเรื่องนี้เป็นอย่างมาก ดังจะเห็นได้จากข้อเท็จจริงที่ว่าผู้ตอบแบบสอบถามเกือบทุกคน (99%) กล่าวว่าความจำเป็นเร่งด่วนในการปรับใช้เทคโนโลยี AI ในองค์กรของพวกเขาเพิ่มสูงขึ้นในช่วง 6 เดือนที่ผ่านมา โดยมีการรายงานว่า ‘โครงสร้างพื้นฐานด้านไอทีและการรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์’ เป็นส่วนที่สำคัญที่สุดในการปรับใช้ AI

 

ลิซ เซนโทนี่ รองประธานบริหารและผู้จัดการทั่วไปฝ่ายแอปพลิเคชั่น และประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายกลยุทธ์ของซิสโก้ กล่าวว่า “ขณะที่บริษัทต่างๆ เร่งการปรับใช้โซลูชั่น AI ก็จะต้องมีการประเมินว่าควรจะลงทุนในส่วนใดบ้างเพื่อให้แน่ใจว่าโครงสร้างพื้นฐานของพวกเขาจะสามารถรองรับความต้องการของเวิร์กโหลด AI ได้ดีที่สุด นอกจากนี้ องค์กรยังต้องสามารถตรวจสอบว่า AI ถูกใช้งานอย่างไร เพื่อให้แน่ใจเกี่ยวกับ ROI, ความปลอดภัย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ‘ความรับผิดชอบ’ ”

 

ข้อมูลสำคัญที่พบในผลการศึกษา

ผลการศึกษาพบว่า โดยรวมแล้วมีบริษัทเพียง 20% เท่านั้นที่จัดอยู่ในกลุ่ม Pacesetters (มีความพร้อมอย่างเต็มที่) โดยที่ 36% ของบริษัทในไทยจัดอยู่ในกลุ่ม Laggards (ไม่ได้เตรียมพร้อม) ที่ 1% และกลุ่ม Followers (มีความพร้อมอย่างจำกัด) ที่ 35% นอกจากนี้ ยังพบข้อมูลที่สำคัญที่สุดได้แก่:

· ความเร่งด่วน: สูงสุด “หนึ่งปี” ก่อนที่บริษัทต่างๆ จะเริ่มเห็นผลกระทบเชิงลบต่อธุรกิจ โดย 74% ของผู้ตอบแบบสอบถามในไทยเชื่อว่าพวกเขามีเวลาสูงสุดไม่เกินหนึ่งปีในการปรับใช้กลยุทธ์ AI ก่อนที่องค์กรของพวกเขาจะเริ่มได้รับผลกระทบเชิงลบอย่างมีนัยสำคัญต่อธุรกิจ

· กลยุทธ์ : ขั้นตอนแรกคือการกำหนดกลยุทธ์ และองค์กรต่างๆ ดำเนินการได้ด้วยดี โดย 81% ขององค์กรในไทยจัดอยู่ในกลุ่ม Pacesetters หรือ Chasers โดยมีเพียง 1% เท่านั้นที่จัดอยู่ในกลุ่ม Laggards นอกจากนี้ 97% ขององค์กรมีกลยุทธ์ AI ที่ชัดเจนอยู่แล้วหรืออยู่ระหว่างการพัฒนา ซึ่งนับเป็นสัญญาณเชิงบวก แต่ก็ยังมีสิ่งที่ต้องทำอีกมาก

· โครงสร้างพื้นฐาน: เครือข่ายยังไม่มีความพร้อมที่จะรองรับเวิร์กโหลด AI โดย 95% ขององค์กรธุรกิจทั่วโลกตระหนักดีว่า AI จะก่อให้เกิดเวิร์กโหลดเพิ่มมากขึ้นต่อโครงสร้างพื้นฐาน แต่ในประเทศไทย มีองค์กรเพียง 29% เท่านั้นที่มองว่าโครงสร้างพื้นฐานของตนสามารถปรับขนาดได้อย่างยืดหยุ่น ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่ (56%) ระบุว่าพวกเขามีความสามารถในการปรับขนาดอย่างจำกัด หรือไม่มีเลยเมื่อต้องรับมือกับปัญหาหรือความท้าทายด้าน AI ใหม่ๆ ภายในโครงสร้างพื้นฐานด้านไอทีที่มีอยู่ในปัจจุบัน นอกจากนี้ เพื่อรองรับความต้องการด้านพลังงานและการประมวลผลที่เพิ่มสูงขึ้นของ AI บริษัทมากกว่าสองในสาม (71%) จะต้องใช้หน่วยประมวลผลกราฟิก (GPU) สำหรับดาต้าเซ็นเตอร์มากขึ้น เพื่อรองรับเวิร์กโหลด AI ในอนาคต

· ข้อมูล: องค์กรไม่สามารถละเลยความสำคัญของการมี ‘ข้อมูลที่พร้อมสำหรับ AI’ แม้ว่าข้อมูลจะทำหน้าที่เป็นแกนหลักที่สำคัญสำหรับการดำเนินการของ AI แต่กลับเป็นส่วนที่มีความพร้อมน้อยที่สุด โดยมีจำนวน Laggards มากที่สุด (10%) เมื่อเทียบกับเสาหลักอื่นๆ ทั้งนี้ 75% ของผู้ตอบแบบสอบถามทั้งหมดระบุว่า ข้อมูลต่างๆ ถูกแยกส่วนหรือกระจัดกระจายอยู่ในองค์กรของตน ซึ่งจะก่อให้เกิดปัญหาท้าทายที่สำคัญ เพราะความยุ่งยากซับซ้อนในการบูรณาการข้อมูลที่อยู่ในระบบต่างๆ และการทำให้ข้อมูลดังกล่าวพร้อมใช้งานสำหรับแอปพลิเคชัน AI สามารถส่งผลกระทบต่อความสามารถในการใช้ประโยชน์จากแอปพลิเคชันเหล่านี้

· บุคลากร: ความต้องการทักษะด้าน AI เผยให้เห็นถึงช่องว่างหรือความเหลื่อมล้ำทางดิจิทัลในยุคใหม่ คณะกรรมการ (93%) และผู้บริหาร (91%) มีแนวโน้มที่จะยอมรับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดจาก AI มากที่สุด โดยมีการตอบรับในระดับสูงหรือปานกลาง อย่างไรก็ตาม ยังมีงานที่ต้องทำอีกมากเพื่อดึงดูดผู้บริหารระดับกลาง โดย 19% ยอมรับ AI อย่างมีข้อจำกัดหรือไม่ยอมรับเลย และในส่วนของพนักงาน องค์กรเกือบหนึ่งในห้า (22%) รายงานว่าพนักงานไม่ค่อยเต็มใจที่จะปรับใช้ AI หรือต่อต้านการใช้ AI ความต้องการทักษะด้าน AI เผยถึงช่องว่างทางดิจิทัลยุคใหม่ ผู้ตอบแบบสอบถาม 95% กล่าวว่าพวกเขาได้ลงทุนเพื่อยกระดับทักษะของพนักงานที่มีอยู่ ขณะที่ 10% เห็นถึงความเหลื่อมล้ำด้าน AI ที่กำลังเกิดขึ้น โดยตั้งข้อสงสัยว่าจะมีบุคลากรเพียงพอต่อการยกระดับทักษะหรือไม่

· การกำกับดูแล: การปรับใช้นโยบาย AI เริ่มต้นช้า 57% ขององค์กรไม่มีนโยบาย AI ที่ครอบคลุม ซึ่งนับเป็นปัญหาที่ต้องได้รับการแก้ไข ขณะที่บริษัทต่างๆ พิจารณาและกำกับดูแลปัจจัยทั้งหมดที่ทำให้เกิดความเสี่ยงต่อการทำลายความเชื่อมั่นและความไว้วางใจ ปัจจัยที่ว่านี้ได้แก่ ความเป็นส่วนตัวของข้อมูล อธิปไตยด้านข้อมูล หรือสิทธิของการเป็นเจ้าของข้อมูล (Data Sovereignty) และความเข้าใจต่อการปฏิบัติตามกฎระเบียบโลก นอกจากนั้น จะต้องให้ความสนใจอย่างใกล้ชิดเกี่ยวกับแนวคิดเรื่องอคติ ความยุติธรรม และความโปร่งใส ทั้งในส่วนของข้อมูลและอัลกอริธึม

· วัฒนธรรมองค์กร: มีการเตรียมการน้อยมาก แต่มีแรงจูงใจสูงในการให้ความสำคัญเป็นอันดับต้นๆ เสาหลักนี้มีจำนวน Pacesetters ต่ำที่สุด (13%) เมื่อเทียบกับหมวดหมู่อื่นๆ โดยส่วนใหญ่ได้รับแรงหนุนจากข้อเท็จจริงที่ว่า 3.4% ของบริษัทยังไม่ได้จัดทำแผนการจัดการการเปลี่ยนแปลง (Change Management Plans) และสำหรับบริษัทที่ทำแผนไว้แล้ว 76% ยังคงอยู่ระหว่างดำเนินการ ผู้บริหารระดับสูงเปิดรับการเปลี่ยนแปลงด้าน AI ภายในองค์กรมากที่สุด และจะต้องเป็นผู้นำในการจัดทำแผนงานที่ครอบคลุมและมีการสื่อสารอย่างชัดเจนไปยังผู้บริหารระดับกลางและพนักงานที่มีอัตราการยอมรับ AI ค่อนข้างต่ำ ข่าวดีก็คือ พนักงานมีแรงจูงใจอยู่ในระดับสูง โดยมากกว่า 8 ใน 10 (81%) กล่าวว่าองค์กรของพวกเขากำลังเปิดรับ AI โดยมีความเร่งด่วนในระดับปานกลางถึงระดับสูง

 

ดัชนีความพร้อมด้าน AI ของซิสโก้

ดัชนีความพร้อมด้าน AI ของซิสโก้ (Cisco AI Readiness Index) อ้างอิงการสำรวจความคิดเห็นแบบปกปิดสองทาง (Double Blind) สำหรับผู้บริหารฝ่ายธุรกิจและฝ่ายไอทีภาคเอกชนจำนวน 8,161 คนใน 30 ประเทศ ซึ่งดำเนินการโดยหน่วยงานอิสระ และเป็นการสอบถามความเห็นของผู้ตอบแบบสอบถามจากบริษัทที่มีพนักงาน 500 คนขึ้นไป ดัชนีดังกล่าวประเมินความพร้อมด้าน AI ของผู้ตอบแบบสอบถาม ใน 6 เสาหลักที่สำคัญ ได้แก่ กลยุทธ์ โครงสร้างพื้นฐาน ข้อมูล บุคลากร การกำกับดูแล และวัฒนธรรมองค์กร

บริษัทต่างๆ ได้รับการตรวจสอบโดยใช้เกณฑ์ชี้วัดที่แตกต่างกัน 49 รายการ ครอบคลุมเสาหลักทั้งหก เพื่อกำหนดคะแนนความพร้อมสำหรับแต่ละด้าน รวมถึงคะแนนความพร้อมโดยรวมสำหรับองค์กรของผู้ตอบแบบสอบถาม ตัวบ่งชี้แต่ละรายการได้รับการถ่วงน้ำหนักตามความสำคัญสำหรับความพร้อมในส่วนของเสาหลักที่เกี่ยวข้อง และจากคะแนนโดยรวม ซิสโก้ได้จำแนกองค์กรเป็น 4 กลุ่มตามระดับความพร้อมที่แตกต่างกัน ได้แก่ Pacesetters (มีความพร้อมอย่างเต็มที่), Chasers (มีความพร้อมปานกลาง), Followers (มีความพร้อมอย่างจำกัด) และ Laggards (ไม่ได้เตรียมพร้อม)

นวัตกรรมใหม่ครอบคลุมระบบเครือข่าย ระบบรักษาความปลอดภัย และแอปพลิเคชัน สอดรับกับกลยุทธ์ของซิสโก้ ช่วยให้ลูกค้ารับมือกับความท้าทายด้านเทคโนโลยีที่สำคัญที่สุด

 

 

ซิสโก้ (CSCO) ผู้นำด้านระบบเครือข่ายและความปลอดภัยระดับองค์กรได้เปิดตัวเทคโนโลยีและความก้าวหน้าในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ของระบบเครือข่าย ระบบรักษาความปลอดภัย และแอปพลิเคชัน พร้อมกันนี้ ซิสโก้ได้เผยวิสัยทัศน์เกี่ยวกับการนำเสนอประสบการณ์แบบครบวงจรที่เรียบง่ายมากขึ้นสำหรับลูกค้าและคู่ค้า โดยครอบคลุมกลุ่มผลิตภัณฑ์ทั้งหมดของซิสโก้

ดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชั่นนับเป็นองค์ประกอบหลักที่สำคัญของอนาคตเกือบทุกองค์กร และด้วยเหตุนี้ เครือข่ายที่ปลอดภัยจึงมีความสำคัญมากยิ่งขึ้นสำหรับองค์กรยุคใหม่ ผู้บริหารของซิสโก้ รวมถึง ชัค ร็อบบินส์ ประธานกรรมการบริหารและซีอีโอของซิสโก้ ขึ้นกล่าวบรรยายบนเวทีในงานเพื่อบอกเล่าเกี่ยวกับโซลูชั่นใหม่ๆ ที่จะช่วยเสริมสร้างความยืดหยุ่นและความปลอดภัยให้แก่คู่ค้าและลูกค้า เพื่อให้สามารถรับมือกับอนาคตที่มีวิวัฒนาการอย่างรวดเร็ว

 

ชัค ร็อบบินส์ ประธานกรรมการและซีอีโอของซิสโก้ กล่าวว่า “เรามีความยินดีที่จะเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับนวัตกรรมที่ก้าวล้ำ และความสามารถใหม่ๆ ของพอร์ตโฟลิโอของซิสโก้ให้กับลูกค้าของเราที่งาน Cisco Live เราเชื่อว่ามีโอกาสอันยิ่งใหญ่ที่รอเราอยู่ในอนาคตเพราะเราได้ช่วยลูกค้าแก้ปัญหาและจัดการความท้าทายทางธุรกิจที่สำคัญที่สุด ไม่ว่าจะเป็นเรื่องความปลอดภัย การเชื่อมต่อ แอปพลิเคชัน หรือความยั่งยืน ซิสโก้คือพันธมิตรที่มีความพร้อมในการช่วยให้ลูกค้าทรานส์ฟอร์ม และนำไปใช้ พวกเราพร้อมที่จะนำเสนอทุกสิ่งที่ทีมงานร่วมกันพัฒนา ตลอดจนวิสัยทัศน์ของพอร์ตโฟลิโอของซิสโก้ เพราะเราทำทุกอย่างให้ง่ายขึ้น ครอบคลุมมากขึ้น และยั่งยืนมากกว่าเดิม”

วิช ไอเยอร์ รองประธานฝ่ายสถาปัตยกรรมของซิสโก้ ประจำภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก ญี่ปุ่น และจีนแผ่นดินใหญ่ กล่าวว่า “สภาพแวดล้อมดิจิทัลในปัจจุบันมีการทรานส์ฟอร์มอย่างต่อเนื่อง และรวดเร็ว องค์กรธุรกิจต่างๆ จึงต้องการโซลูชั่นแพลตฟอร์มที่แข็งแกร่ง เป็นนวัตกรรมใหม่ที่มีความยืดหยุ่นและปลอดภัย เพื่อให้งานเหล่านี้เป็นไปอย่างราบรื่น ผู้มีอำนาจตัดสินใจด้านไอที และนักพัฒนาได้ให้ความสำคัญถึงวิธีที่ง่ายและรวมศูนย์ในการจัดการโครงสร้างพื้นฐานด้านไอทีที่กำลังขยายตัวและพัฒนาอย่างรวดเร็ว เรารู้สึกตื่นเต้นที่จะได้นำเสนอเทคโนโลยีใหม่และความก้าวหน้าของผลิตภัณฑ์เหล่านี้ให้แก่ลูกค้าและคู่ค้าของเราในภูมิภาคนี้ และช่วยให้พวกเขาเติบโตบนเส้นทางดิจิทัลด้วยประสบการณ์ที่ครบวงจรในรูปแบบใหม่เพื่อรับมือกับความท้าทาย และความซับซ้อนต่างๆ ได้มากขึ้น”

นวัตกรรมด้านผลิตภัณฑ์ของซิสโก้เพื่อรับมือกับความท้าทายที่สำคัญของลูกค้า

รายงาน State of Global Innovation ของซิสโก้ พบว่า 85% ของบุคลากรฝ่ายไอทีให้ความสำคัญกับความเรียบง่ายของระบบไอทีในองค์กร เทคโนโลยีใหม่ที่เปิดตัวที่งาน Cisco Live ปีนี้ตอกย้ำความมุ่งมั่นของซิสโก้ในการปรับปรุงประสบการณ์การใช้งานให้ง่ายขึ้น และช่วยขับเคลื่อนอนาคตของทุกคน โดยเทคโนโลยีที่เปิดตัวในวันนี้ได้แก่:

วิสัยทัศน์สำหรับ Cisco Networking Cloud 

ซิสโก้มุ่งมั่นที่จะลดความยุ่งยากซับซ้อนของระบบไอที โดยบริษัทฯ ได้ประกาศวิสัยทัศน์สำหรับ Cisco Networking Cloud ซึ่งเป็นประสบการณ์ด้านแพลตฟอร์มการจัดการแบบบูรณาการสำหรับโมเดลการจัดการคลาวด์ทั้งภายในและภายนอกองค์กร

ประสบการณ์ด้านไอทีที่เรียบง่ายจะส่งผลดีต่อการสร้างความพึงพอใจให้แก่ลูกค้า การดึงดูดพนักงาน และการสร้างความแตกต่างเหนือคู่แข่ง ซิสโก้ตระหนักถึงปัญหาเรื่องระบบที่แยกเป็นส่วนๆ ไม่ต่อเนื่องกัน ขาดการตรวจสอบอย่างทั่วถึง ปัญหาภัยคุกคามด้านความปลอดภัย และการบูรณาการระบบที่ยุ่งยาก ต้องใช้เวลานาน ซึ่งเป็นอุปสรรคต่อการส่งมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีกว่า นอกจากนี้ ซิสโก้ยังเข้าใจดีว่าการพัฒนาไปสู่ความเรียบง่ายขึ้นอยู่กับปัจจัยต่างๆ เช่น เป้าหมายทางธุรกิจของผู้ให้บริการแต่ละราย ความจำเป็นด้านฟังก์ชั่นการทำงาน และรูปแบบการใช้งานที่ลูกค้าต้องการ ไม่ว่ากรณีการใช้งานนั้นๆ จะต้องอาศัยระบบที่ติดตั้งภายในองค์กร ระบบที่รองรับคลาวด์ หรืออะไรก็ตามที่เกี่ยวข้อง ซิสโก้ก็พร้อมตอบสนองทุกความต้องการด้านไอทีในทุกๆ ที่

ภายใต้แผนการพัฒนาสู่ความเรียบง่าย ซิสโก้ได้ทำงานอย่างจริงจังเพื่อสร้างประสบการณ์ด้านแพลตฟอร์มการจัดการเครือข่ายที่ง่ายขึ้น เพื่อช่วยให้ลูกค้าเข้าถึงได้โดยง่าย และใช้หลายๆ แพล็ตฟอร์มในการจัดการผลิตภัณฑ์เครือข่ายของซิสโก้ทั้งหมดจากที่เดียว Cisco Networking Cloud นำเสนอระบบอัตโนมัติที่ขับเคลื่อนด้วยคลาวด์ ข้อมูลเชิงลึกที่หลากหลายเกี่ยวกับเครือข่าย และนวัตกรรมผ่านอีโคซิสเต็มส์ของพันธมิตร ซึ่งจะช่วยเร่งการส่งมอบประสบการณ์ที่เป็นหนึ่งเดียว และขับเคลื่อนผลลัพธ์ทางธุรกิจที่สามารถวัดผลได้

นวัตกรรมที่นำเสนอในงาน Cisco Live ประกอบด้วยอินเทอร์เฟซผู้ใช้ที่มีการเข้าถึงแบบ Single Sign-On (SSO), API Key Exchange/Repository, การทำ navigation ข้ามแพลตฟอร์ม, การรับรองเครือข่ายที่กว้างมาก

ขึ้นด้วย Cisco ThousandEyes, การตรวจสอบระบบคลาวด์สำหรับอุปกรณ์ Catalyst, โซลูชั่นเครือข่ายพลังงานที่ยั่งยืนสำหรับดาต้าเซ็นเตอร์ และอื่นๆ

นอกจากนี้ ซิสโก้ยังลดความซับซ้อนของธุรกิจเพื่อให้ลูกค้าทำงานได้ง่ายขึ้น ด้วยสแต็กสวิตช์ Cisco Catalyst ที่ยืดหยุ่นมากขึ้น ช่วยปรับปรุงการตรวจสอบประสิทธิภาพและการใช้พลังงานของดาต้าเซ็นเตอร์ และยังมี blueprint ใหม่สำหรับ AI ดาต้าเซ็นเตอร์ ซึ่งจะช่วยปรับปรุงประสิทธิภาพและความสามารถในการตรวจสอบสำหรับผู้ให้บริการเครือข่าย

นวัตกรรม Security Cloud ที่ขับเคลื่อนด้วย AI

ซิสโก้ปฏิบัติตามคำมั่นสัญญาในการนำเสนอ Cisco Security Cloud ที่ขับเคลื่อนด้วย AI เพื่อลดความยุ่งยากซับซ้อนของการรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ และช่วยให้ผู้คนสามารถทำงานได้ดีที่สุดจากทุกที่ โดยไม่ต้องกังวลเกี่ยวกับสถานการณ์ภัยคุกคามที่มีความก้าวหน้ามากขึ้น

การเปิดตัว Cisco Secure Access ซึ่งเป็นโซลูชั่น Secure Service Edge (SSE) ใหม่ล่าสุด เพื่อช่วยประสบการณ์การทำงานแบบไฮบริดที่เหนือกว่า และทำให้การเข้าถึงสามารถทำได้จากทุกที่ ทุกอุปกรณ์ และทุกแอปพลิเคชันง่ายขึ้นอย่างมาก

จุดเด่นของ Cisco Secure Access ได้แก่:

· Common Access Experience: มอบวิธีการที่ง่ายในการเข้าถึงแอปพลิเคชันและทรัพยากรทั้งหมด (ไม่ใช่เพียงบางส่วน) โดยควบคุมการรับส่งข้อมูลอย่างชาญฉลาดและปลอดภัยไปยังปลายทางส่วนตัวและสาธารณะโดยไม่มีการแทรกแซงของผู้ใช้งานปลายทาง

· Single, Cloud-Managed Console: ลดความซับซ้อนของการดำเนินงานด้านความปลอดภัยโดยการรวมฟังก์ชันต่างๆ เข้าไว้ด้วยกันในโซลูชันเดียวที่ใช้งานง่ายซึ่งป้องกันการรับส่งข้อมูลทั้งหมด โดยแทนที่จะต้องจัดการชุดเครื่องมือจำนวนมาก ผู้ดูแลระบบและนักวิเคราะห์สามารถไปที่เดียวเพื่อดูการรับส่งข้อมูลทั้งหมด กำหนดนโยบายทั้งหมด และวิเคราะห์ความเสี่ยงด้านความปลอดภัย สิ่งเหล่านี้จะนำไปสู่การเพิ่มประสิทธิภาพ การลดต้นทุน และสภาพแวดล้อมด้านไอทีที่ยืดหยุ่น

· การตรวจจับและการตอบสนองที่รวดเร็ว: จัดให้มีการวิเคราะห์เพื่อเร่งความเร็วในการสืบสวน และได้รับการสนับสนุนจาก ซิสโก้ ทาลอส (Cisco Talos) เครือข่ายข่าวกรองภัยคุกคามเชิงพาณิชย์ที่มีฐานข้อมูลใหญ่ที่สุดด้วยระบบ Threat Intelligence ที่ขับเคลื่อนด้วย AI เพื่อตรวจจับและบล็อกภัยคุกคามเพิ่มเติม

ในส่วนของวิสัยทัศน์เชิงกลยุทธ์ ซิสโก้ยังได้สาธิตความสามารถของ Generative AI ของ Cisco Security Cloud ซึ่งจะช่วยให้นักวิเคราะห์ด้านความปลอดภัยสามารถตรวจจับ และแก้ไขภัยคุกคามได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น รวมทั้งจัดการนโยบายในสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัยอย่างเหมาะสม

ซิสโก้บรรลุความก้าวหน้าในการพัฒนาแพลตฟอร์ม Security Cloud ด้วยการเปิดตัว Cisco Multicloud Defense, อุปกรณ์ Cisco Secure Firewall 4200 Series และซอฟต์แวร์ 7.4 รวมถึงการปรับปรุงความปลอดภัยของแอปพลิเคชันคลาวด์เนทีฟในพาโนปติกา (Panoptica) นวัตกรรมล่าสุดของซิสโก้ทั้งหมดจะช่วยปกป้องโครงสร้างพื้นฐานแบบไฮบริดและมัลติคลาวด์ พร้อมทั้งมอบประสบการณ์ที่ดีเยี่ยมให้แก่ผู้ใช้งาน

เปิดตัว Cisco Full-Stack Observability Platform เพื่อขับเคลื่อนองค์กรดิจิทัลที่ชาญฉลาดยิ่งขึ้น

ซิสโก้เปิดตัว Full Stack Observability (FSO) Platform โซลูชั่นที่สามารถใช้งานร่วมกับเทคโนโลยีของทุกบริษัท ทำหน้าที่ควบคุมผลิตภัณฑ์ทั้งหมดของซิสโก้ และถือเป็นความก้าวหน้าที่สำคัญในการเร่งปรับใช้กลยุทธ์ FSO ของซิสโก้ ด้วยการนำเสนอข้อมูลเชิงลึกตามบริบทที่สัมพันธ์กัน และคาดการณ์ได้ ซึ่งช่วยให้ลูกค้าสามารถแก้ไขปัญหาได้รวดเร็วยิ่งขึ้นและเพิ่มประสบการณ์ที่ดี ในขณะเดียวกันก็ลดความเสี่ยงทางธุรกิจให้น้อยที่สุด

โซลูชั่นระดับแนวหน้าของอุตสาหกรรมนี้จะช่วยให้เกิดอีโคซิสเต็มส์สำหรับการตรวจสอบ ซึ่งนำเอาข้อมูลมาจากหลายส่วนเข้าด้วยกัน รวมถึง แอปพลิเคชัน เครือข่าย โครงสร้างพื้นฐาน การรักษาความปลอดภัย คลาวด์ ความยั่งยืน และข้อมูลธุรกิจ

FSO Platform ของซิสโก้มุ่งเน้นไปที่ OpenTelemetry และยึดอยู่กับ Metrics, Events, Logs และ Traces (MELT) ช่วยให้องค์กรธุรกิจสามารถรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูล MELT ที่สร้างจากแหล่งที่มาต่างๆ ได้อย่างราบรื่น Cisco FSO Platform ได้รับการออกแบบให้เป็นแพลตฟอร์มแบบครบวงจรที่รองรับการต่อขยาย ช่วยให้นักพัฒนาสามารถสร้างโซลูชั่น observability ได้ด้วยตนเอง และเพิ่มศักยภาพให้กับอีโคซิสเต็มส์ของลูกค้าและคู่ค้า

โซลูชั่นชั้นนำที่นำเสนอบน Cisco FSO Platform คือ Cloud Native Application Observability ซึ่งจะช่วยให้ลูกค้าบรรลุผลลัพธ์ทางธุรกิจ ตัดสินใจเกี่ยวกับประสบการณ์ดิจิทัลได้อย่างถูกต้อง ตรวจสอบประสิทธิภาพการทำงานให้สอดคล้องกับความคาดหวังของผู้ใช้ จัดลำดับความสำคัญและลดความเสี่ยง พร้อมทั้งปกป้องเวิร์กโหลดให้ปลอดภัย นอกเหนือไปจาก Cloud Native Application Observability แล้ว โมดูลชุดแรกบน FSO Platform ของซิสโก้ประกอบไปด้วย Cost Insights, Application Resource Optimizer, Security Insights และ Cisco AIOps

ซิสโก้ร่วมมือกับพันธมิตรหลายราย รวมถึง CloudFabrix, Evolutio และ Kanari เพื่อพัฒนาและสร้างรายได้จากอีโคซิสเต็มส์ของโซลูชั่นที่หลากหลายสำหรับ Cisco FSO Platform ที่รองรับการใช้งานรูปแบบใหม่ๆ ที่มีประโยชน์ และสร้างมูลค่าให้แก่ลูกค้าได้อย่างรวดเร็วด้วยระบบ Telemetry ที่สามารถตรวจสอบได้

 

ล่าสุดในงาน WebexOne 2022 ซิสโก้ (NASDAQ: CSCO) ได้เปิดตัวฟีเจอร์และความสามารถใหม่ๆ สำหรับ Webex Customer Experience (CX) ซึ่งนำเสนอแพลตฟอร์มแบบครบวงจรสำหรับการทำงานร่วมกัน รวมไปถึงคอลล์เซ็นเตอร์ และการติดต่อสื่อสารบนระบบคลาวด์ เพื่อเพิ่มความพึงพอใจสูงสุดให้แก่ลูกค้าในการดำเนินงานในทุกขั้นตอน ด้วยการนำเสนอ Webex CX ซิสโก้จึงนับเป็น ‘บริษัทหนึ่งเดียว’ ที่สามารถให้บริการ Unified Communications-as-a-Service (UCaaS), Contact Center-as-a-Service (CCaaS) และ Communications Platform-as-a-Service (CPaaS) ได้อย่างครบวงจร รองรับ customer journey ของลูกค้าในแต่ละขั้นตอนได้อย่างไร้รอยต่อ ครอบคลุมช่องทางดิจิทัลและเสียง ขับเคลื่อนด้วยอีโคซิสเต็มส์ที่แข็งแกร่ง

จีทู พาเทล รองประธานบริหารและผู้จัดการทั่วไป ฝ่ายโซลูชั่นการรักษาความปลอดภัยและการทำงานร่วมกันของซิสโก้ กล่าวว่า “ปัจจุบัน กลุ่มลูกค้าที่ใช้ช่องทางดิจิทัลเป็นหลักต้องการประสบการณ์แบบเฉพาะบุคคลที่มีการตอบสนองอย่างฉับไวจากแบรนด์ต่างๆ ที่พวกเราชื่นชอบ เทรนด์นี้ส่งผลให้หลายๆ บริษัทจำเป็นต้องทบทวนและปรับเปลี่ยนแนวทางเกี่ยวกับ CX บริษัทเหล่านี้จึงมองหาผู้ผลิตรายเดียวที่สามารถนำเสนอเทคโนโลยี CX ที่ก้าวล้ำได้อย่างพร้อมสรรพ เปี่ยมด้วยเสถียรภาพ และความปลอดภัยที่แข็งแกร่ง ซึ่งทั้งหมดนี้คือสิ่งที่ลูกค้าจะได้รับจากเทคโนโลยีและบริการของซิสโก้”

Webex CX มุ่งเน้นการจัดหาเทคโนโลยีที่รองรับการนำเสนอประสบการณ์ลูกค้าในลักษณะเชิงรุก และมีการปรับแต่งแบบเฉพาะบุคคลอย่างชาญฉลาด เพื่อให้ลูกค้าเกิดการยอมรับและภักดีต่อแบรนด์ โซลูชั่น Webex CX ช่วยให้องค์กรธุรกิจสามารถติดต่อสื่อสารกับลูกค้าได้อย่างง่ายดายในทุกขั้นตอนของ customer journey โดยครอบคลุมทั้งช่องทางดิจิทัลและการติดต่อสื่อสารระหว่างบุคคล (เสียงและข้อความ) ประสบการณ์แบบไร้รอยต่อผ่านหลากหลายช่องทางนี้เกิดขึ้นได้ด้วยการบูรณาการอย่างกลมกลืนระหว่าง Webex Connect และ Webex Contact Center ซึ่งรองรับการสร้างสรรค์ประสบการณ์ลูกค้าที่มีการเชื่อมต่อถึงกัน

การปรับปรุงประสบการณ์ลูกค้า

เทคโนโลยีการตัดเสียงรบกวนที่ขับเคลื่อนด้วย AI ของ Webex จะพร้อมใช้งานใน Webex Contact Center รวมถึงการโทรติดต่อด้วยเสียง PSTN การตัดเสียงรบกวนรอบข้างจะช่วยปรับปรุงประสบการณ์ของลูกค้า เพราะจะทำให้เสียงสนทนาระหว่างลูกค้าและเจ้าหน้าที่มีความชัดเจนมากขึ้น และทำให้การติดต่อสื่อสารเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ · ติดต่อสื่อสารผ่านช่องทางดิจิทัลเพิ่มมากขึ้น: ตอนนี้ลูกค้าสามารถติดต่อผ่านช่องทางต่างๆ ได้มากกว่า 16 ช่องทาง รวมถึง Instagram และ Google Business Messages โดย Webex Connect จะช่วยให้องค์กรธุรกิจสามารถเข้าถึงลูกค้าได้ทุกที่ เพื่อให้บริการแก่ลูกค้าและมอบประสบการณ์ที่แปลกใหม่สำหรับการซื้อ-ขายสินค้าและบริการ

การปรับปรุงประสบการณ์ของเจ้าหน้าที่

เพื่อเข้าถึงผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน: Webex Contact Center ที่ผ่านการรับรองการใช้งานร่วมกับ Microsoft Teams จึงรองรับการติดต่อสื่อสารอย่างไร้รอยต่อและการโอนสายผ่านระบบ Teams นอกจากนี้ Webex Connect ยังบูรณาการเข้ากับระบบ CRM, Contact Center, คอมเมิร์ซ, ฐานข้อมูล/สตอเรจ และ Helpdesk จากบริษัทชั้นนำ เช่น Salesforce, AWS, Microsoft Azure และอื่นๆ · ปรับปรุงประสบการณ์ด้านเสียงสำหรับเจ้าหน้าที่: ชุดหูฟังรุ่นใหม่ล่าสุด Cisco Headset 720 Series ได้รับการออกแบบเป็นพิเศษโดยคำนึงถึงการใช้งานของเจ้าหน้าที่ ชุดหูฟังดังกล่าวประกอบด้วยก้านไมโครโฟนน้ำหนักเบาที่

หมุนได้ 276° สามารถพลิกด้านเพื่อปิดเสียง และมีปุ่มกดสำหรับการเข้าร่วม Webex และ Microsoft Teams มีให้เลือกแบบสวมหูข้างเดียวหรือสองข้าง

การปรับปรุงผลลัพธ์ทางธุรกิจสำหรับลูกค้า  ซึ่งครอบคลุม

· ปรับปรุงประสิทธิภาพของหัวหน้างาน: Webex Contact Center นำเสนอแดชบอร์ดบนระบบคลาวด์สำหรับหัวหน้างาน เพื่อรองรับการตรวจสอบผลการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ การส่งข้อความภายใน Webex App และการดูข้อมูลรายละเอียดเกี่ยวกับเจ้าหน้าที่ รวมถึงไฮไลต์ที่สำคัญของการโทรติดต่อ นอกจากนี้ Webex ยังขยายรายงาน Analyzer เพื่อให้หัวหน้างานสามารถปรับปรุงประสิทธิภาพของทีมงาน โดยอ้างอิงข้อมูลเชิงลึกแบบเรียลไทม์และข้อมูลในอดีต

· รองรับการบูรณาการอย่างไร้รอยต่อ: Webex Connect บูรณาการเข้ากับ Sycurio รองรับการประมวลผลการชำระเงินอย่างง่ายดายและรวดเร็วสำหรับผู้ใช้งาน โดยเป็นส่วนหนึ่งของเวิร์กโฟลว์ และในอนาคตจะมีการร่วมมือกับ Epic และ Cerner ซึ่งจะช่วยให้ลูกค้าในธุรกิจเฮลท์แคร์สามารถบูรณาการระบบแบ็คเอนด์ที่มีอยู่ เพื่อปรับปรุงการติดต่อสื่อสารกับผู้ป่วยผ่านทุกช่องทางได้ทันท่วงที

· รองรับเวิร์กโฟลว์อัตโนมัติ: Webex Connect รองรับการใช้บอท (Bot) สำหรับ 93 ภาษา โดยใช้ประโยชน์จากโหนด Natural Language Processing (NLP) เพื่อปรับปรุงความสามารถทางด้านภาษา

· ปรับแต่งและขยายความเป็นไปได้: ล่าสุด Webex ได้เปิดตัว Customer Experience Developer Portal สำหรับการเข้าถึง API และเอกสารคู่มือ เพื่อใช้ในการปรับแต่งประสบการณ์คอลล์เซ็นเตอร์ ทั้งนี้ มี API สำหรับการปรับแต่งระบบเดสก์ท็อปของเจ้าหน้าที่ การโอนสาย การจัดการ ระบบอัตโนมัติ AI และอื่นๆ

พลิกโฉมพื้นที่ทำงานในออฟฟิศ ที่บ้าน และที่อื่นๆ

98% ของการประชุมจะมีผู้เข้าร่วมที่เชื่อมต่อผ่านวิดีโอทางไกล แต่พบว่ามีห้องประชุมเพียง 11% เท่านั้นที่รองรับระบบวิดีโอ (Frost & Sullivan “สถานะของตลาดอุปกรณ์วิดีโอคอนเฟอเรนซ์ทั่วโลก (State of the Global Video Conferencing Devices Market), ตุลาคม 2565”) พื้นที่สำนักงานและโฮมออฟฟิศจำเป็นที่จะต้องมีอุปกรณ์วิดีโอเพื่อให้บุคลากรประสานงานร่วมกันได้อย่างง่ายดายและมีประสิทธิภาพ และจากผลการสำรวจความคิดเห็นของลูกค้าในปี 2565 พบว่า 85% ใช้แพลตฟอร์มการประชุมมากกว่าหนึ่งแพลตฟอร์ม ดังนั้นจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่อุปกรณ์วิดีโอดังกล่าวจะต้องสามารถใช้งานร่วมกับแพลตฟอร์มที่เพื่อนร่วมงานและลูกค้าใช้งานอยู่ได้อย่างราบรื่น ความร่วมมือและความสามารถใหม่ๆ ของซิสโก้มีดังนี้: · ซิสโก้ร่วมมือกับไมโครซอฟท์ (Microsoft): ซิสโก้ร่วมมือกับไมโครซอฟท์ เพื่อรองรับการใช้งาน Microsoft Teams Rooms บนอุปกรณ์สำหรับการทำงานร่วมกันของซิสโก้ในทุกๆ ที่ ลูกค้าและฝ่ายไอทีจะได้รับประโยชน์จากชุดอุปกรณ์คุณภาพสูงจากซิสโก้ที่ใช้งานและจัดการได้อย่างง่ายดาย และมีความยืดหยุ่นสูง ตอบโจทย์ความต้องการในการประสานงานร่วมกันได้อย่างลงตัว · อุปกรณ์ใหม่สำหรับการทำงานร่วมกัน: Cisco Room Kit EQ เป็นโซลูชั่นอุปกรณ์สำหรับการทำงานร่วมกันที่ก้าวล้ำที่สุดในอุตสาหกรรม เหมาะสำหรับพื้นที่ทำงานขนาดใหญ่ ขับเคลื่อนด้วย Cisco Codec EQ ซึ่งเป็นอุปกรณ์ประมวลผลที่ใช้ AI โดย Room Kit EQ จะมอบประสบการณ์การประชุมที่สมจริง พร้อมการบูรณาการอย่างไร้รอยต่อเพื่อรองรับวิดีโอและพลิกโฉมพื้นที่ขนาดใหญ่สำหรับการทำงานแบบไฮบริดสำหรับทุกคน

· พิมพ์เขียวสำหรับพื้นที่ทำงานแบบไฮบริด: นับเป็นครั้งแรกที่ซิสโก้นำเสนอคู่มือการออกแบบพื้นที่ทำงานแบบไฮบริด ซึ่งอ้างอิงจากการใช้งานจริงที่สำนักงานของซิสโก้ในนิวยอร์กซิตี้ ทั้งนี้เพื่อช่วยให้ลูกค้าสามารถออกแบบพื้นที่ทำงานแบบไฮบริดที่ทันสมัย โดยครอบคลุมทั้งในส่วนของโซลูชั่นอาคารอัจฉริยะ (Smart Building Solutions) ของซิสโก้ รวมถึงเทคโนโลยีสำหรับการทำงานร่วมกัน ระบบเครือข่าย ระบบรักษาความปลอดภัย และอื่นๆ แนวทางของซิสโก้มุ่งเน้นการเชื่อมต่อผู้คน พื้นที่ และเทคโนโลยีเข้าด้วยกัน โดยรองรับการใช้งาน 3 หน้าจอ มีระบบอัจฉริยะสำหรับกล้องและเสียง รวมถึงการตัดเสียงรบกวนโดยอัตโนมัติ และตัวเลือกในการเปลี่ยนไปใช้อุปกรณ์ส่วนตัวสำหรับการประสานงานร่วมกัน ดังนั้นลูกค้าจึงสามารถรองรับการทำงานแบบไฮบริดได้อย่างเต็มศักยภาพ

· แอพใหม่สำหรับไวท์บอร์ด: หนึ่งในปัญหาสำคัญที่สุดของการทำงานแบบไฮบริดก็คือ ‘การเปิดโอกาสให้บุคลากรทั้งในและนอกสำนักงานสามารถระดมความคิดร่วมกัน หรือวาดภาพร่างบนกระดานไวท์บอร์ดระหว่างการประชุม’ ด้วยแอพใหม่ Webex Whiteboard ใน Webex Suite ผู้ใช้จะได้รับประโยชน์จากประสบการณ์การใช้งานไวท์บอร์ดที่ง่ายดาย ไม่ว่าผู้ใช้จะทำงานอยู่ที่ใดก็ตาม ผู้ใช้สามารถเริ่มต้นหรือเข้าร่วมไวท์บอร์ดและทำงานร่วมกันได้จากเบราว์เซอร์ หรือ Webex App หรืออุปกรณ์ของซิสโก้ นอกจากนี้ ไวท์บอร์ดยังผนวกรวมเข้ากับโพลล์

Slido บันทึกและแชร์ในพื้นที่ Webex สำหรับการคิดไอเดียแบบต่างคนต่างทำ · ความร่วมมือกับแอปเปิล (Apple): ตอนนี้ผู้ใช้ iPhone และ iPad สามารถแชร์คอนเทนต์จากกล้องหลังหรือกล้องหน้าของอุปกรณ์ผ่านแอพ Webex Meetings และใส่คำอธิบายประกอบเกี่ยวกับสิ่งที่เขามองเห็นโดยใช้ Mobile Camera Share นวัตกรรมที่ไม่เคยมีมาก่อนนี้จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานร่วมกัน ด้วยการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีการถ่ายวิดีโอคุณภาพสูงของอุปกรณ์ Apple ตัวอย่างเช่น สถาปนิกหรือคนงานที่ไซต์ก่อสร้างสามารถแชร์ภาพความคืบหน้าของโครงการให้แก่ลูกค้าในแบบเรียลไทม์ แทนการส่งภาพถ่ายหรือภาพหน้าจอ

· กิจกรรมแบบไฮบริด: Webex Events และ Webinars นับเป็นโซลูชั่นที่ครบถ้วนสมบูรณ์ที่สุดสำหรับกิจกรรมแบบไฮบริด โดยทั้งหมดนี้รวมอยู่บนแพลตฟอร์มเดียว ตอนนี้ผู้ใช้จะสามารถเข้าถึงประสบการณ์ New Lobby ที่แปลกใหม่สำหรับงานเวอช่วลอีเว้นท์ ซึ่งรองรับการปรับแต่งที่หลากหลาย เช่น กำหนดการ ข้อมูลประวัติของวิทยากร สปอนเซอร์ และอื่นๆ และยังมีวิดเจ็ทคอนเทนต์รุ่นใหม่ที่ช่วยเพิ่มความสะดวกในการใส่องค์ประกอบเหล่านี้ไว้ในเว็บไซต์กิจกรรมภายนอกองค์กร นอกจากนี้ เครื่องมือโปรดักชั่นใหม่ล่าสุดใน Webex Webinars จะช่วยให้ผู้จัดงานสามารถเพิ่มแบรนด์และการปรับแต่งแบบเฉพาะบุคคลได้อย่างง่ายดายสำหรับทุกกิจกรรมโดยใช้ Stage Manager ยิ่งไปกว่านั้น การบูรณาการเข้ากับ Network Device Interface (NDI) จะช่วยให้ทีมงานฝ่ายโปรดักชั่นมีเครื่องมือใหม่สำหรับการถ่ายทอดสัญญาณภาพการจัดงานในระดับมืออาชีพ

Page 1 of 3
X

Right Click

No right click