November 23, 2024

โดย แซม เบิร์ด

3 ปีที่ผ่านมา เดลล์ได้พูดถึงยุคแห่งการฟื้นฟูและการกลับมารุ่งเรืองอีกครั้งของพีซี (Renaissance of the PC) ในขณะที่พีซี ยังคงเป็นผู้ช่วยที่ดีในการเชื่อมต่อและประสานการทำงานร่วมกันอย่างที่เคยเป็นมา ช่วงปี 2020 ณ จุดสูงสุดของการเรียนรู้ผ่านระบบเสมือน และการทำงานงานจากที่บ้าน เราได้เห็นบทบาทสำคัญของพีซีในทุกแง่มุมของการใช้ชีวิต และนี่คือช่วงเวลาที่เราได้ก่อร่างสร้างวิสัยทัศน์สำหรับอนาคต มีการกำหนดว่าที่ผ่านมามีการลงทุนไปในทิศทางใด พร้อมคาดการณ์ว่าประสบการณ์การใช้พีซีของผู้คนจะพัฒนาต่อไปในรูปแบบใด

ปัจจุบัน ช่วงเวลาสำคัญอีกอย่างกำลังมารออยู่แล้วที่ปลายนิ้วสัมผัส นี่คือช่วงเวลาของ GenAI คือความก้าวหน้าที่เราจะได้รับจาก GenAI ที่เทียบได้กับความก้าวหน้าในช่วงที่มีการเปิดตัวพีซีเมื่อ 40 ปีที่แล้ว ที่นำพาประสิทธิภาพอย่างที่ไม่เคยปรากฏมาก่อนสู่โลกนี้ แต่สิ่งนี้มีความหมายอย่างไรต่ออนาคตของพีซี แล้ว GenAI จะเข้ามากำหนดรูปแบบประสบการณ์การทำงานระหว่างพีซีและมนุษย์หรือไม่อย่างไร

อย่างแรก จงมองที่ปัจจุบัน

เพื่อให้เข้าใจถึงโอกาสในอนาคตของ AI ให้ลองพิจารณาว่าเราได้ผ่านอะไรมาบ้างในอดีตและเรากำลังอยู่ในจุดไหนของปัจจุบัน สิ่งที่น่าจะเป็นก็คือโอกาสสูงที่คุณอาจจะได้ใช้งานปัญญาประดิษฐ์ในรูปแบบหนึ่งในชีวิตประจำวันอยู่แล้ว (อย่าลืมว่าปัญญาประดิษฐ์ และแมชชีน เลิร์นนิ่งเกิดแล้วมาสักพัก) เราได้เห็นโอกาสที่พีซีช่วยขับเคลื่อนประสิทธิภาพให้กับผู้คน และทำให้คนเหล่านี้กลายเป็นผู้ใช้งาน AI ในยุคแรกๆ ทำให้พีซีมีความฉลาดมากขึ้น เรียนรู้สิ่งต่างๆ และรู้จักผู้ใช้งานมากขึ้น

โอกาสของ GenAI ในระยะเวลาอันใกล้

GenAI จะมีอิทธิพลต่อการทำงานและการใช้ชีวิตของผู้คน ในขณะที่ยังมีสิ่งอีกมากมายที่ต้องใช้จินตนาการ พีซีที่ใช้ความสามารถของ AI กำลังกลายเป็นส่วนหนึ่งในการถกประเด็นมากขึ้น เราเห็นว่า GenAI จะช่วยปลดล็อกศักยภาพไปสู่ระดับใหม่ๆ ได้อย่างไรบ้างกับการเปิดตัว Microsoft Copilot ในช่วงที่ผ่านมาก เราได้สังเกตการณ์การสาธิตการใช้งานหลายต่อหลายครั้ง ที่แสดงให้เห็นว่าพีซีจะทำการเก็บรวบรวมและสร้างข้อมูลได้รวดเร็วมากขึ้นกว่าที่ผ่านมามาก โดยใช้แนวคิดเป็นศูนย์กลาง และช่วยให้ผู้คนใช้เวลากับการสร้างสรรค์ แก้ปัญหาและสร้างนวัตกรรม

เดลล์กำลังทำงานอย่างใกล้ชิดกับไมโครซอฟท์ ในช่วงที่มีการเปิดตัวฟีเจอร์ใหม่ของ Copilot (และผู้ใช้ Windows 11 เริ่มเข้าใจถึงประโยชน์ต่างๆ แล้วในตอนนี้) แต่เราจะไม่หยุดแค่นี้ เพราะเดลล์มุ่งเน้นการเป็นผู้ให้บริการพีซีชั้นนำในยุคของ AI ด้วยการลงทุนเพิ่มและมุ่งเน้นศูนย์กลางที่การสร้างความฉลาด ความปลอดภัยและการเป็นที่ปรึกษาด้าน AI อย่างครบวงจรที่ให้ความมั่นใจได้)

เดลล์ ต้องการให้อุปกรณ์ทำสิ่งต่างๆ ได้มากขึ้น ซึ่งจะต้องใช้พีซีที่มีการสร้างแบบจำลองด้านภาษา (language modeling) การประมวลผลด้านภาษา และความสามารถด้านแมชชีน เลิร์นนิ่ง เพื่อปรับปรุงประสบการณ์ผู้ใช้ให้ดีขึ้น การใช้แอปพลิเคชัน AI

เหล่านี้บนพีซี จะนำมาซึ่งประสิทธิภาพมากมาย เช่นประสิทธิภาพเรื่องความคุ้มค่า ปรับปรุงความเป็นส่วนตัวได้ดีขึ้น รักษาความปลอดภัยดีขึ้น ช่วยลด latency และให้ประโยชน์เรื่องความยั่งยืน นอกจากนี้ ยังต้องใช้สถาปัตยกรรมใหม่ในการประมวลผลที่ไม่ได้อาศัย CPU หรือ GPU ซึ่งเดลล์กำลังทำงานอย่างจริงจังร่วมกับพันธมิตรทั่วทั้งอุตสาหกรรมเพื่อทำให้สถาปัตยกรรมใหม่ดังกล่าวเป็นจริงภายในปี 2024

ความเป็นไปได้ของ GenAI ในระยะยาว

เมื่อมองไปในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า เราจะเห็นอนาคตพีซีเป็นเสมือนพันธมิตรดิจิทัลที่แท้จริง โดย พีซี จะพัฒนาบทบาทไปไกลกว่าการขับเคลื่อนผลลัพธ์ในการทำงานของมนุษย์ แต่จะก้าวสู่การขับเคลื่อนความสามารถของมนุษย์ ประเด็นนี้ จะทำให้ผู้ใช้งานต้องหันมาทบทวนการใช้งานแล็ปท็อปและเดสก์ท็อปที่คุ้นเคยกันใหม่ในปัจจุบัน

ตัวอย่างเช่น แทนที่ส่วนใหญ่จะใช้การพิมพ์บนคีย์บอร์ด เพื่อโต้ตอบการทำงานผ่าน command-and-control ก็จะเพิ่มเติมแนวทางการทำงานที่ไม่ต้องใช้ข้อความ เพื่อเตรียมความพร้อมให้เทคโนโลยีสามารถทำงานโต้ตอบสองทางระหว่างมนุษย์และพีซี ลองนึกภาพอนาคตที่เราสามารถประสานการทำงานหรือร่วมสร้างสรรค์ผลงานด้วยเสียง สั่งงานผ่านรูปภาพ และท่าทาง ให้จินตนาการว่าพีซีจะตีความโดยอาศัยการจับอารมณ์ของคุณ สีหน้าการแสดงออก น้ำเสียงหรือกระทั่งการเปลี่ยนวิธีการพิมพ์เพื่อให้ได้ประสบการณ์ที่สมบูรณ์มากขึ้น ในการสร้างผลลัพธ์ที่ดีที่สุดได้ตามที่คุณต้องการ ประสบการณ์การใช้งานพีซี จะเปลี่ยนจากการเสิร์ชเป็นการพร้อมท์คำสั่ง เปลี่ยนจากการอ่านไปสู่ความเข้าใจ จากการแก้ไขเป็นการชี้แนวทาง

เป็นความน่าตื่นเต้นเมื่อคิดถึงสิ่งที่จะเกิดขึ้น ไม่ใช่แค่เรื่องของอุปกรณ์ แต่เป็นระบบนิเวศพีซีทั้งหมด เพราะเดลล์นำประสบการณ์ของมนุษย์มาใช้ในการขับเคลื่อนความก้าวหน้าของมนุษย์ และสายผลิตภัณฑ์ที่ครอบคลุมของเรา ทั้งโซลูชันและบริการจะมีบทบาทสำคัญยิ่งในการเป็นขุมพลังขับเคลื่อนอนาคต

เราอยู่ในจุดของการเปลี่ยนผัน

เราอยู่ในอุตสาหกรรมเทคโนโลยีมา 30 ปี มีทั้งเรื่องน่าตื่นเต้นและสิ่งที่รุดหน้าไปอย่างรวดเร็วตลอดเวลา แต่โอกาสที่รออยู่ข้างหน้าก็ไม่เหมือนที่เคยเห็นตอนเปิดตัวพีซีเมื่อ 40 ปีที่ผ่านมา คงจะเป็นการโกหกหากบอกว่าเรามีคำตอบสำหรับทุกเรื่อง เพราะมันไม่มี แค่ประโยชน์ที่ตามมาก็มากมายมหาศาล แต่เราสามารถบอกได้ว่ามนุษย์จะยังคงเป็นศูนย์กลางของความก้าวหน้า ระหว่างที่มีการพัฒนาซอฟต์แวร์ใหม่ สถาปัตยกรรมใหม่ที่กำลังจะเกิดขึ้น ความสามารถด้านการบริการใหม่ๆ และการคิดค้นอย่างต่อเนื่องโดยมีจุดศูนย์กลางอยู่ที่การเชื่อมต่อและประสบการณ์ของผู้คน เราอยู่ในจุดของการเปลี่ยนผัน ซึ่งประสบการณ์ของผู้ใช้จะเปลี่ยนแปลงไปสู่สิ่งที่ดีขึ้นและเร็วขึ้นกว่าที่เคยมีมา เราได้รับโอกาส ในการปฏิวัติประสบการณ์การใช้งานพีซี และเรามุ่งเน้นทุกอย่างเพื่อเรื่องนี้

(กรุงเทพฯ ประเทศไทย) กุมภาพันธ์ 2566 – งานวิจัยฉบับใหม่* จากมินเทล ผู้เชี่ยวชาญด้านข้อมูลตลาดระดับโลก ชี้ว่าการใช้เวลาส่วนใหญ่ในชีวิตในช่วงเวลาแห่งความไม่แน่นอนทำให้คน Gen Z** ให้ความสำคัญกับอนาคต หาความรู้ทางการเงินมากขึ้น และตัดสินใจอย่างชาญฉลาดขึ้นในการจับจ่ายใช้สอย

หลังจากต้องประสบกับเหตุการระบาดใหญ่โควิด-19 ส่งผลให้ภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ เงินเฟ้อสูง สภาพภูมิอากาศเปลี่ยนแปลงไป ผู้บริโภคชาวไทยที่มีอายุต่ำกว่า 25 ปี มีความอยากใช้เงินลดลง โดยประมาณ 3 ใน 4 คน (75%) เลือกที่จะเก็บออมเพื่ออนาคตมากกว่าการใช้เงินไปกับการซื้อสิ่งของต่าง ๆ

ปัจจุบันคนรุ่นใหม่คิดก่อนจ่ายเสมอ โดยคนรุ่นใหม่ประมาณ 4 ใน 5 คน (86%) อ่านรีวิวสินค้าก่อนซื้อ พวกเขายังยินดีมากขึ้นที่จะจ่ายเงินไปกับผลิตภัณฑ์ที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ (53%) ผลิตภัณฑ์ที่ได้รับการรับรองที่น่าเชื่อถือ (39%) และผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (36%)

แม้ว่าคน Gen Z ประมาณ 2 ใน 3 คน (60%) มีความพึงพอใจกับชีวิตของพวกเขาในช่วงครึ่งปีที่ผ่านมา (จนถึงเดือนมิถุนายน 2565) งานวิจัยจากมินเทลชี้ว่า ผู้บริโภครุ่นใหม่รู้สึกเครียดและโดดเดี่ยว พวกเขาให้ความสำคัญกับสุขภาพองค์รวมและความเป็นอยู่ที่ดีในการตัดสินใจซื้อสินค้าและบริการ

คน Gen Z มองหาทางออกด้านสุขภาพที่มีคุณภาพและเข้าถึงได้ง่าย แต่มากกว่า 2 ใน 3 คน (38%) จะตัดสินใจซื้อสินค้านั้นๆ ก็ต่อเมื่อพวกเขาสามารถตรวจสอบได้ว่าผลิตภัณฑ์เหล่านั้นเป็นของแท้และน่าเชื่อถือ โดยการกระทำนี้เห็นได้ชัดในการจับจ่ายไปกับผลิตภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่ม ซึ่งคน Gen Z ใช้เงินกับผลิตภัณฑ์กลุ่มนี้มากที่สุด (65%)

แม้ว่าคน Gen Z จะพบเจอความท้าทายมากมาย ความมุ่งมั่นของพวกเขาที่มีต่อความยั่งยืนและประโยชน์ต่อสังคมยังคงไม่เปลี่ยนแปลง และพวกเขายังคาดหวังที่จะเห็นคุณค่าของตนเองสะท้อนออกมาจากแบรนด์ที่พวกเขาเลือก คน Gen Z จำนวนมากกว่า 3 ใน 4 คน (76%) ในประเทศไทย กล่าวว่าพวกเขาใช้ความพยายามมากกว่าเดิมในชีวิตประจำวันเพื่อรักษาสิ่งแวดล้อม และประมาณ 25% คิดว่าการจ่ายเงินเพิ่มขึ้นให้กับผลิตภัณฑ์ที่มีความยั่งยืนนั้นเป็นสิ่งที่คุ้มค่า

ช่องทางออนไลน์ยังคงเป็นช่องทางที่ผู้บริโภครุ่นใหม่ในประเทศไทยใช้งานบ่อยที่สุด โดยมากกว่า 3 ใน 5 คน (65%) ระบุว่าพวกเขาอยากซื้อของผ่านช่องทางออนไลน์มากกว่าออฟไลน์ และจำนวนใกล้เคียงกัน (64%) ระบุว่าพวกเขาเลื่อนดูสิ่งต่าง ๆ บนโซเชียลมีเดียเพื่อการผ่อนคลาย

ดร. วิลาสิณี ศิริบูรณ์พิพัฒนา (ไข่มุก) นักวิเคราะห์ไลฟ์สไตล์อาวุโส มินเทล รีพอร์ทส์ ประเทศไทย กล่าวว่า “ผู้บริโภคอายุ 18-25 ปี มีจำนวนประมาณ 1 ใน 5 ของผู้บริโภคในประเทศไทยทั้งหมด พวกเขาเป็นตัวแทนของอนาคต แบรนด์จำเป็นต้องทำความเข้าใจถึงวิธีการที่จะเข้าหาผู้บริโภคกลุ่มนี้และสร้างความภักดีต่อแบรนด์ตั้งแต่เนิ่น

“แต่แบรนด์จะพบกับความท้าทายเช่นกัน แม้ผู้บริโภค Gen Z ส่วนใหญ่ต้องการใช้เงินมากกว่าการเก็บออม แต่หลายคนก็ยังต้องพึ่งพาผู้ปกครองในด้านการเงินอยู่ และพวกเขาอาจไม่มีอิสระในการเลือกจับจ่ายใช้สอย

“แบรนด์สามารถเชื่อมต่อกับคน Gen Z ได้อย่างสำเร็จและมีประสิทธิภาพโดยการใช้ช่องทางดิจิทัล โดยการเสนอข้อมูลอย่างแท้จริง โปร่งใส และสนับสนุนในสิ่งที่ผู้บริโภค Gen Z ให้ความสนใจมากที่สุด แบรนด์สามารถใช้โอกาสนี้เพื่อช่วยลดความกังวลในการใช้เงิน โดยเพิ่มคุณค่าให้กับการใช้จ่ายของผู้บริโภครุ่นใหม่ และช่วยให้พวกเขาสามารถเก็บออมได้ดีมากขึ้นสำหรับอนาคต”

หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับเทรนด์การตลาดของผู้บริโภค Gen Z และบทสัมภาษณ์นักวิเคราะห์ สามารถส่งคำขอได้ที่ Mintel Press Office

ดีแทคร่วมกับคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาฯ เปิดเผยการระดมความเห็น Jam Ideation พบ 3 ประเด็นคนรุ่นใหม่ให้ความสำคัญ

ปฏิเสธไม่ได้ว่า ชั่วโมงนี้อัตราการแข่งขันเพื่อให้ได้ “งาน” ใน “ตำแหน่ง” ใดก็ตาม มีความยากและมีจำนวนคู่แข่ง มากขึ้นกว่าเดิมหลายเท่า จากข้อมูลภาพรวมตลาดการจ้างงานในปี 2564 โดย JobsDB พบว่าอัตราการแข่งขัน ในการหางานของคนไทยมีแนวโน้มสูงขึ้นถึง 20% ในช่วงวิกฤตการณ์โควิด-19 และมีอัตราส่วนการแข่งขันอยู่ที่ 1:100 นั่นหมายความว่า บริษัทจะต้องเฟ้นหาคนที่ใช่ โดยพิจารณาจาก “ทักษะ” และ “ศักยภาพ” ที่ปรากฏของแต่ละบุคคล ในเวลาเดียวกันก็เป็นช่วงที่นักศึกษา Gen Z เริ่มทยอยเข้าสู่โลกการทำงานจริง ซึ่งอาจต้องเผชิญกับการแข่งขันที่ดุเดือดนี้ แต่อะไรจะเป็นสิ่งที่ทำให้นักศึกษาจบใหม่ กลายเป็นที่ต้องการของตลาดงานได้ หนึ่งในนั้นก็คือ ประสบการณ์การทำงานจากการ “ฝึกงาน”

 ที่ LINE ประเทศไทย เรามองหาพลังขับเคลื่อนใหม่ๆ เพื่อสร้างสภาพแวดล้อมการทำงานที่ไม่หยุดนิ่ง โครงการ “LINE Rookie” จึงถูกจัดขึ้นเพื่อเปิดรับนักศึกษาฝึกงาน ซึ่งได้จัดไปแล้ว 2 รุ่น และกำลังจะรับสมัครรุ่นที่ 3 ในเดือนตุลาคมนี้ โครงการนี้จึงเป็นเสมือนการประลองบนสนามจริงของนักศึกษา Gen Z

 ความสำเร็จของโปรแกรมฝึกงาน คือพี่ได้เรียนรู้จากน้องในเวลาเดียวกัน

กานต์ กิมสวัสดิ์ ผู้อำนวยการฝ่ายทรัพยากรบุคคล LINE ประเทศไทยได้เปิดเผยว่า “LINE เป็นบริษัทที่ให้ความสำคัญกับการสร้างสภาพแวดล้อมการทำงานที่ไม่หยุดนิ่งอยู่แล้ว จึงเปิดโอกาสให้คนรุ่นใหม่อย่าง Gen Z ที่กำลังจะเข้าสู่โลกการทำงานจริงได้เข้ามามีส่วนร่วม สิ่งหนึ่งที่เราได้เรียนรู้จากน้องๆ Gen Z ที่มาฝึกงานกับเรา ทุกคนล้วนมีพลังในการเรียนรู้ล้นเหลือ กล้าคิด กล้าแสดงออก มีทักษะในการนำเสนองานได้คล่องแคล่วและฉลาดใช้เทคโนโลยีมาช่วยในทำงาน เกิดการเรียนรู้กันและกัน ไม่ใช่เพียงแต่น้องๆ จะเรียนรู้จากพี่ๆ แต่พี่ๆ ก็ได้เรียนรู้มุมมอง ไอเดียใหม่ๆ ซึ่งเจเนอเรชันที่ต่างกันทำให้เกิดความหลากหลาย แปลกใหม่ สามารถนำมาปรับใช้ในงานเพื่อนำเสนอสิ่งใหม่ๆ แก่ผู้ใช้ ถือเป็นความสำเร็จสูงสุดของโปรแกรม LINE Rookie เลยก็ว่าได้”

LINE Rookie แต่ละคนจะมีเมนเทอร์ ซึ่งเป็นพี่ๆ พนักงานของ LINE ดูแลมอบหมายงานต่างๆ และแนะนำอย่างใกล้ชิดตลอดระยะเวลา 10 สัปดาห์ของการฝึกงาน โดยน้องๆ จะต้องตั้งทีมและได้รับมอบหมายให้ร่วม ทำโปรเจคกลุ่ม รายงานความคืบหน้า รับคำปรึกษา และนำมาพรีเซนต์ในช่วงท้ายการฝึกงาน พร้อม Training Session แนะแนวด้าน Soft Skill และ Hard Skill ซึ่งเหล่านี้ล้วนเป็นการสร้างสภาพแวดล้อมการเรียนรู้เสมือนจริง ที่สามารถนำไปต่อยอดทำงานต่อในชีวิตจริงได้เลยทันที ขณะเดียวกันก็ทำให้พวกเขา “รู้จักตัวเองมากยิ่งขึ้น”

 ‘ฝึกงาน From Home’ ต้องทำให้น้องไม่รู้สึกถูกทอดทิ้ง

ในแต่ละปี LINE ประเทศไทยจะเปิดรับสมัครนักศึกษาฝึกงานจากนักศึกษาทั่วประเทศที่ยื่นเข้ามาฝึกในสาขางานต่างๆ ที่สนใจ เมื่อผ่านการคัดเลือกใบสมัครรอบแรก จะได้เข้าไปสัมภาษณ์กับพี่ๆ พนักงาน LINE จริงๆ เพื่อวัดความสามารถ และทัศนคติ ก่อนจะผ่านการคัดเลือก ขณะที่ในปี 2564 ก็ถือความท้าทายครั้งสำคัญ เมื่อมีการ Work From Home ทำให้การฝึกงานก็ต้อง From Home ตามเช่นกัน

 “แม้จะฝึกงานจากบ้าน การสื่อสารจึงเป็นสิ่งสำคัญมาก น้องๆ จะได้เข้าประชุมและนำเสนองานจริงๆ ขณะเดียวกัน เมนเทอร์และน้องๆ จะมีการนัดหมายลงตารางเวลา เพื่อพูดคุยแบบ Virtual อัปเดตและปรึกษางานอย่างสม่ำเสมอ โดยไม่รู้สึกถูกทอดทิ้ง” กานต์ อธิบายเสริม

เปิดมุมมองจริง จาก LINE

 Rookie

พี่ๆ สอนให้เห็นภาพใหญ่แต่ต้องไม่ลืมรายละเอียดเล็กน้อย

 ทางด้าน เก็ต-สิทธา มุ่งจิตธรรมมั่น นักศีกษา คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี (หลักสูตรนานาชาติ) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เล่าถึงความเรียลในการฝึกงานครั้งนี้ว่า “การฝึกงานเป็นเรื่องจำเป็นสำหรับผม เพราะจะทำให้รู้ว่าสิ่งที่เราต้องการจะทำ ตรงกับสิ่งที่เรา จะต้องอยู่กับมันไปตลอดไหม รู้เร็วว่าใช่หรือไม่ใช่ จะได้ไม่เสียเวลา จริงๆ เรียนไฟแนนซ์มา แต่อยากลองทำงานสายงานการตลาดดู มาฝึกงานครั้งนี้ที่แผนก e-Commerce ได้ครบทุกอรรถรส ได้สกิลที่ไม่เคยเป็นมาก่อนอย่างการออกแบบอาร์ทเวิร์คทุกสัปดาห์ แต่ที่ประทับใจที่สุดคือการได้จัด LINE SHOPPING Academy Bootcamp ที่เริ่มต้นตั้งแต่ ตั้งไข่ โดยพี่ๆ ให้เวทีนี้กับผมอย่างเต็มที่ โปรเจคนี้สำเร็จได้ เพราะมี เมนเทอร์ที่ดีมากๆ ไม่มีกำแพงในการทำงานและ สอนน้องให้เห็นภาพใหญ่แต่ต้องไม่ลืมที่จะใส่ใจรายละเอียดเล็กๆ น้อยๆ อีกด้วย”

บรรลุเป้าหมายเพราะได้มีร่วมกับผลิตภัณฑ์ที่เป็นส่วนหนึ่งของชีวิตคน

 ทรัส-ปิยวัฒน์ อำนวยผลเจริญ นักศึกษาคณะวิศวกรรมศาสตร์ ภาควิชาคอมพิวเตอร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย หนึ่งเดียวที่ได้รับเลือกให้ฝึกงานในตำแหน่ง Engineering Office รับผิดชอบในส่วนของ Data Analyst เล่าให้ฟังว่า “ผมเป็นหนึ่งคนที่เลือกออกไปฝึกงานหลายรอบมาก แบบไม่ต้องรอฝึกจบตอนปีสุดท้ายอย่างเดียวเท่านั้น เพราะมองว่าเรียนทฤษฎีแล้ว ต้องลองไปปฏิบัติ การได้ไปลองสนามในหลายๆ ที่ ทำให้ได้มากกว่าความรู้ ได้เรียนรู้ Culture ขององค์กรนั้นๆ รวมถึงได้สัมผัสกับสภาพแวดล้อมที่เวลาเราทำงานแล้วมีความสุขเป็นอย่างไร จะได้เลือกได้ถูกว่างานไหนที่ชอบและใช่ สำหรับผมได้ฝึกงานในสายงาน Data ครั้งนี้ รู้สึกว่าเราชอบจริงๆ เพราะมีความสุขเวลาที่หา Insight จากข้อมูลต่างๆ นอกจากนี้ ผมมองว่าหลายอย่าง ที่ผมเจอที่ LINE Rookie ไม่มีสอนในห้องเรียน โดยเฉพาะสิ่งที่เป็น Soft skill ผมได้เพิ่มทักษะการปรับตัวเข้าหาคนอื่น การสื่อสาร ปลุกความกล้าทั้งการพูด การคิด และการทำ เพื่อที่จะมีส่วนร่วมในการทำงานให้ได้มากที่สุด การได้เข้ามาร่วมโครงการนี้ บรรลุเป้าหมายของผมคือ การได้มีส่วนร่วมกับผลิตภัณฑ์ที่เป็นส่วนหนึ่งของชีวิตคน”

ปรับ Mindset มองโลก มุมใหม่เปลี่ยนความท้าทายเป็นโอกาส

 ขิม-กันต์ฤทัย ปิลันธน์โอวาท นักศึกษาคณะนิเทศศาสตร์ สาขาวิชาการจัดการสื่อสาร (หลักสูตรนานาชาติ) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้บอกเล่ามุมมองที่น่าสนใจว่า “ให้ความสำคัญกับการฝึกงาน เพราะรู้ว่าโลกแห่งการทำงานที่รอเราอยู่ มีอะไรใหม่ๆ ที่ต้องเรียนรู้อีกมากมาย และทำให้เรารู้ว่างานอะไรที่เราชอบ โดยขิมได้ฝึกงานในสายงาน Marketing & Communications ซึ่งตรงกับที่ได้เรียนมา โดยพอได้ลอง มาทำแล้วเห็นทางในอนาคตว่า อาจจะเริ่มต้นด้วยงาน Marketing Communication ก่อนที่จะขยับขยายตาม Career Path ของสายงานนี้ที่กว้างมาก ฝึกงานครั้งนี้นอกจากจะได้ ทำแคมเปญต่างๆ มากมายแข่งกับเวลาแล้ว ยังได้รู้จักและเข้าใจถึงวิธีคิดแบบ Design Thinking ที่ถือเป็นทาง แห่งความสำเร็จของโลกปัจจุบัน รวมถึงการได้ปรับ Mindset มองโลก มุมใหม่เปลี่ยนความท้าทายเป็นโอกาส”

สำหรับโครงการ LINE Rookie 2022 เปิดรับสมัครนิสิต นักศึกษามหาวิทยาลัยปีที่ 3-4 (ปีการศึกษา 2565) จากทุกสถาบัน ทุกสาขาวิชา ผู้สนใจสามารถสมัครร่วมโครงการได้ตั้งแต่วันนี้ ถึงวันที่ 31 ตุลาคม 2021 ได้ที่ https://linerookie.com

#LINEROOKIE #LINEThailand #LINECAREERS

 

###

 

หลังจากหนึ่งปีแห่งความไม่แน่นอน อันเนื่องมาจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19

Page 1 of 2
X

Right Click

No right click