January 15, 2025

งาน Meta Marketing Summit ประจำปี Meta นำเสนอนวัตกรรมด้านการตลาดล่าสุดสำหรับธุรกิจไทย ผู้ประกอบการและนักการตลาดและตอกย้ำถึงความมุ่งมั่นในการเสริมพลังให้กับธุรกิจไทยด้วยโซลูชันที่ขับเคลื่อนด้วย AI ที่จะเข้ามาพลิกโฉมการทำธุรกิจและสร้างการเติบโตพร้อมยกระดับพลังเศรษฐกิจไทยบนเวทีโลก 

ลงทุนเพื่ออนาคต: ประสิทธิภาพที่ขับเคลื่อนด้วย AI กับ Meta Advantage 

การลงทุนด้าน AI ของ Meta กำลังปฏิวัติวิธีการที่ธุรกิจเชื่อมต่อกับผู้ใช้งานประจำวันกว่า 3.27 พันล้านคนบนแพลตฟอร์มปัจจุบัน Meta ลงทุนไปแล้ว 1 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐเพื่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานด้าน AI ทั่วทั้งบริษัท โดย 81% ของการลงทุนนี้ได้ถูกนำไปใช้ในการปรับปรุงแอปพลิเคชันหลัก ซึ่งรวมถึง Facebook, Instagram และ Messenger ตลอดจนบริการอื่นๆ สำหรับผู้ใช้งาน ครีเอเตอร์ และธุรกิจต่างๆ 

 

ในงานประจำปีด้านการตลาดของ Meta ได้โชว์เคสชุดโซลูชัน AI ล่าสุดสำหรับภาคธุรกิจ นำโดย Meta Advantage+ ชุดเครื่องมือด้านการตลาดที่ครอบคลุม ออกแบบมาเพื่อเสริมพลังให้กับธุรกิจทุกขนาด ด้วยโซลูชันที่ขับเคลื่อนด้วย AI ที่ปรับแต่งเฉพาะ เช่น Advantage+ Shopping Campaigns หรือ Advantage Apps+ Campaigns บริการนี้ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของโฆษณาพร้อมทั้งสร้างผลตอบแทนจากการลงทุนด้านโฆษณา (ROAS) ที่สูงขึ้น โดยนำระบบ AI เข้ามาใช้ตั้งแต่การระบุกลุ่มเป้าหมาย ไปจนถึงการปรับปรุงกระบวนการเชิงกลยุทธ์ การวางตำแหน่งโฆษณา และการทำความเข้าใจเส้นทางของผู้บริโภค Meta Advantage ช่วยเสริมพลังให้กับธุรกิจด้วยการปรับปรุงที่วัดผลได้ 

ประสิทธิภาพจากการใช้งาน Meta Advantage+ สร้างผลลัพธ์ที่โดดเด่นให้กับธุรกิจ: Advantage+ Shopping Campaigns ช่วยเพิ่มผลตอบแทนจากการใช้จ่ายด้านโฆษณา (ROAS) ถึง 32% และสำหรับโซลูชัน Advantage+ app campaigns ผลศึกษาชี้ว่าช่วยลดต้นทุนต่อการดำเนินการ (cost per action) ลงกว่า 9% นอกจากนั้น ยังพบว่าทุกๆ 1 ดอลลาร์ที่ใช้จ่ายใน Advantage+ Shopping Campaigns สามารถสร้างรายได้เฉลี่ย 4.52 ดอลลาร์สหรัฐกลับคืนมาให้กับธุรกิจ หรือคิดเป็นสัดส่วนของ ROAS ที่เพิ่มขึ้นกว่า 22% ในช่วงปีที่ผ่านมา 

 

Generative AI: ยุคใหม่แห่งความคิดสร้างสรรค์ในการโฆษณา 

การสร้างชิ้นงานโฆษณา (creative) นับเป็นกลยุทธ์สำคัญยิ่ง ในการดึงดูดความสนใจของผู้บริโภคและมีส่วนในการเปลี่ยนกลุ่มเป้าหมายให้เป็นผู้ซื้อ (conversion) Meta ได้เปิดตัวการอัปเดตที่น่าสนใจหลายอย่างสำหรับชุดบริการและเครื่องมือ Advantage+ Creative ซึ่งรวมถึง Meta Gen AI ที่ออกแบบมาเพื่อเพิ่มศักยภาพในการบริหารจัดการเวลา ทรัพยากร และประสิทธิภาพในการทำงาน ด้วยเครื่องมือ Meta Gen AI นักสร้างสรรค์สามารถออกแบบเนื้อหาโฆษณาที่หลากหลายได้อย่างง่ายดายและสร้างรูปแบบโฆษณาที่แตกต่างกันให้เหมาะสมกับความชอบของกลุ่มเป้าหมายมากที่สุด  

 

Meta Gen AI: ประโยชน์ที่ธุรกิจไทยจะได้รับ 

  • การสร้างภาพแบบเต็มรูปแบบ (Full image generation) ที่ผู้ใช้สามารถอัปโหลดผลงานต้นฉบับของตนเอง และ AI จะช่วยสร้างภาพที่หลากหลายในรูปแบบต่างๆ เช่น การเปลี่ยนพื้นหลังหรือการแสดงมุมมองใหม่ๆ 
  • การสร้างข้อความ (Text generation) ที่ผู้ใช้สามารถสร้างตัวเลือกหัวข้อเรื่องและข้อความหลักได้ในทันที 
  • การขยายภาพ (Image expansion) ที่ผู้ใช้สามารถอัปโหลดภาพที่มีขนาดใดก็ได้ และ AI จะช่วยขยายภาพให้พอดีกับรูปแบบแนวตั้ง เช่น 9:16 ซึ่งเหมาะสําหรับ Stories และ Reels บนอุปกรณ์มือถือ 

คุณแพร ดํารงค์มงคลกุล Country Director ประจำ Facebook ประเทศไทย กล่าวว่า "ด้วยรูปแบบกระบวนการสร้างสรรค์แบบอัตโนมัติและเพิ่มประสิทธิภาพมากขึ้น ธุรกิจสามารถสร้างเนื้อหาคอนเทนต์ที่หลากหลายได้ง่ายขึ้น ช่วยดึงดูดความสนใจของผู้บริโภคและเพิ่มอัตราการเปลี่ยนกลุ่มเป้าหมายให้เป็นผู้ซื้อ จึงช่วยประหยัดเวลาและทรัพยากร ทำให้ Meta เป็นโซลูชันที่คุ้มค่าสำหรับธุรกิจที่ต้องการใช้ประโยชน์จากเครื่องมือสร้างสรรค์อันทรงพลังและโซลูชันที่สร้างผลลัพธ์ได้จริง" 

"เครื่องมือและนวัตกรรมเพื่อการค้นพบ (discovery engine) ที่ขับเคลื่อนด้วย AI ของเราได้พลิกโฉมวิธีที่ธุรกิจเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายและสร้างผลลัพธ์ที่แท้จริง เครื่องมือด้าน AI ของ Meta ตั้งแต่แชทบอท AI ที่สามารถฝึกฝนได้สำหรับการส่งข้อความทางธุรกิจ ไปจนถึงผู้ช่วยเสมือนฟรีที่สามารถถามคำถามเพื่อสร้างแรงบันดาลใจและกระตุ้นความคิดสร้างสรรค์ รวมถึงเทคโนโลยีที่ให้บริการผ่านชุดเครื่องมือ Meta Advantage+ ของเรา มุ่งสร้างการเชื่อมต่อเชิงลึกและมีความหมายมากขึ้นผ่านการขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม" คุณแพรกล่าวเสริม 

 

Meta Llama 3.1: ขับเคลื่อนวาระแห่งชาติและเศรษฐกิจซอฟต์พาวเวอร์ของไทย 

Meta Llama 3.1 (ลาม่า) เวอร์ชันล่าสุดของ AI แบบโอเพ่นซอร์สของ Meta มีทิศทางที่จะมีบทบาทสำคัญในการเสริมสร้างโอกาสทางเศรษฐกิจของประเทศไทย เนื่องจากโมเดลประมวลผลด้วยภาษาขนาดใหญ่ (Large Language Model) ล่าสุดเพิ่มการรองรับภาษาไทย มอบความยืดหยุ่น การควบคุม และความสามารถที่ไม่มีใครเทียบได้ให้กับนักพัฒนาในประเทศไทย 

ดร. ราฟาเอล แฟรงเคิล ผู้อำนวยการฝ่ายนโยบายสาธารณะของ Meta ประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กล่าวถึงแผนการของ Meta สำหรับ Llama 3.1 ในประเทศไทยว่า "Llama 3.1 เวอร์ชันล่าสุดของเรากำลังยกระดับมาตรฐานใหม่สำหรับโมเดล AI ที่เปิดให้ใช้งานได้อย่างอิสระ ซึ่งทั้งหมดนี้รองรับภาษาไทยแล้ว การเปิดให้โมเดลของเราเป็นโอเพ่นซอร์สทำให้นักพัฒนาทั่วทุกมุมโลก รวมถึงในประเทศไทย สามารถพัฒนานวัตกรรมและแอปพลิเคชันได้อีกมากมาย ซึ่งพิสูจน์ได้จากตั้งแต่การเปิดตัว Llama รุ่นแรกเมื่อปีที่แล้ว มียอดดาวน์โหลดกว่า 300 ล้านครั้ง และมีโมเดลถูกพัฒนาต่อยอดมากว่า 20,000 โมเดล เราเชื่อว่า AI มีศักยภาพมากกว่าเทคโนโลยีสมัยใหม่อื่นๆ ในการเพิ่มประสิทธิภาพและความคิดสร้างสรรค์ของมนุษย์ รวมถึงเร่งการเติบโตทางเศรษฐกิจ ขณะเดียวกันก็ช่วยปลดล็อกความก้าวหน้าสำหรับธุรกิจและชุมชนทั่วโลกและในประเทศไทย" 

 

เพื่อสร้างผลกระทบเชิงบวกของ Meta Llama ให้มากยิ่งขึ้น Meta ได้จัดแคมเปญและโครงการต่างๆ ทั้งในระดับโลก ระดับภูมิภาค และระดับประเทศ ซึ่งออกแบบมาเพื่อสนับสนุนนักพัฒนาและชุมชนผู้ใช้ Llama ประกอบด้วยโครงการให้ความรู้ด้าน AI สำหรับธุรกิจท้องถิ่น เพื่อช่วยให้ผู้ประกอบการเข้าใจและใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยี AI ในการเพิ่มประสิทธิภาพและขยายธุรกิจ, เงินทุนสนับสนุนเพื่อสร้างประโยชน์สู่สังคม มูลค่าสูงสุด 2 ล้านดอลลาร์สหรัฐ, การแข่งขันสำหรับนักพัฒนา Llama ในระดับประเทศและระดับภูมิภาค โดยผู้เข้าร่วมมีโอกาสชิงเงินทุนสนับสนุนพิเศษมูลค่า 100,000 ดอลลาร์สหรัฐ เพื่อนำโครงการที่ใช้ AI เพื่อสังคมไปสู่การใช้งานจริง

ความร่วมมือในประเทศไทยของ Meta: ผลักดันการท่องเที่ยวและการค้าข้ามพรมแดน 

นอกเหนือจากการนำเสนอโซลูชัน AI ที่ล้ำสมัยแล้ว Meta ยังมุ่งมั่นอย่างเต็มที่ในการสนับสนุนวาระแห่งชาติของไทยเพื่อเสริมสร้างเศรษฐกิจซอฟต์พาวเวอร์ (Economic Soft Power) ของประเทศ ด้วยเหตุนี้ Meta จึงได้จับมือเป็นพันธมิตรเชิงกลยุทธ์กับการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) เพื่อเสริมพลังให้อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวด้วยความรู้และเครื่องมือที่จำเป็นต่อการเพิ่มประสิทธิภาพในทุกขั้นตอนของการทำความเข้าใจเส้นทางความสนใจของผู้บริโภค นอกจากนี้ Meta ยังประกาศเปิดตัว "คู่มือการท่องเที่ยว" (Travel Playbook) ฉบับสมบูรณ์ ซึ่งจะมอบข้อมูลเชิงลึกและกลยุทธ์ที่ธุรกิจการท่องเที่ยวสามารถนำไปปฏิบัติได้จริงในยุคดิจิทัลที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ผู้ประกอบการที่สนใจ สามารถดาวน์โหลดคู่มือท่องเที่ยวได้จากช่องบรอดแคสสำหรับธุรกิจ “Meta Thailand for Business” ของเพจ Meta Thailand ที่ https://m.me/j/Abb33bI6aY9FYiBx/ หรือผ่านทางเพจพันธมิตรได้ที่นี่  

นอกเหนือจากความร่วมมือในภาคการท่องเที่ยวแล้ว Meta ยังร่วมมือกับกระทรวงพาณิชย์ของไทยในการปลดล็อกการค้าข้ามพรมแดนให้กับธุรกิจไทย ช่วยให้ผู้ประกอบการสามารถสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันด้วยการเจาะตลาดใหม่ๆ และสร้างการเติบโตได้มากกว่าการดำเนินธุรกิจเฉพาะในตลาดภายในประเทศถึงสองเท่า เพื่อบรรลุเป้าหมายนี้ Meta จะเปิดอบรมหลักสูตรการตลาดด้วย AI สำหรับธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในประเทศไทย เพื่อสอนแนวปฏิบัติเชิงกลยุทธ์ในการสร้างการเติบโตไปสู่ตลาดนอกประเทศ  

ดร. ราฟาเอล เสริมว่า "ประเทศไทยเต็มไปด้วยความคิดสร้างสรรค์และจิตวิญญาณของการเป็นผู้ประกอบการ เรารู้สึกตื่นเต้นเป็นอย่างยิ่งที่ได้ร่วมมือกับพันธมิตรทั้งภาครัฐและเอกชนในการปลดล็อกโอกาสใหม่ๆ สำหรับการเติบโตผ่านเทคโนโลยี ด้วยการมอบเครื่องมือและข้อมูลเชิงลึกด้าน AI ที่ล้ำสมัยให้กับธุรกิจไทย เราไม่เพียงแต่สนับสนุนการเติบโตของเศรษฐกิจดิจิทัลของไทยเท่านั้น แต่ยังเป็นกำลังสำคัญให้พวกเขาสามารถแบ่งปันวัฒนธรรมและผลิตภัณฑ์อันเป็นเอกลักษณ์ในระดับโลกอีกด้วย"  

C-Lab ทำลายสถิติคว้า 29 รางวัลจากงาน CES 2023 Innovation Awards

ซัมซุงกับความสำเร็จในการพัฒนาสตาร์ทอัพและโครงการมากกว่า 500 รายการในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา

ซัมซุงประกาศเปิดนิทรรศการแสดงสุดยอดนวัตกรรมที่พัฒนาผ่านโครงการ C-Lab ในงาน CES 2023 ที่จัดขึ้นสำหรับประชาชนทั่วไป โดยซัมซุงวางแผนเปิดตัว 4 โครงการล่าสุดที่พัฒนาโดย C-Lab Inside ซึ่งเป็นโครงการเพื่อขับเคลื่อนองค์กร รวมไปถึงโครงการจากสตาร์ทอัพ 8 แห่งที่ได้รับการสนับสนุนจาก C-Lab Outside ซึ่งเป็นอีกหนึ่งโปรแกรมในการสนับสนุนสตาร์ทอัพในการคิดค้นนวัตกรรมไปสู่จุดหมาย โดยผู้เข้าชมสามารถเยี่ยชมโครงการนวัตกรรมได้ที่ Eureka Park ในลาสเวกัส สหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นพื้นที่จัดแสดงหลักสำหรับสตาร์ทอัพมากมายจากทั่วโลก ตั้งแต่วันที่ 5-8 มกราคม 2566 ทั้งนี้สตาร์ทอัพที่ได้รับการสนับสนุนจาก C-Lab จะร่วมเป็นส่วนหนึ่งในตลาดโลกด้วยการแสดงผลงานผ่านนิทรรศการ CES เพื่อเสริมสร้างความเป็นไปได้ทางธุรกิจ และพบปะกับนักลงทุนที่มีศักยภาพ

C-Lab Inside: โครงการ Metaverse และโครงการสร้างสรรค์ไลฟ์สไตล์โดยพนักงานของซัมซุง พร้อมสู่เวทีโลก

ตั้งแต่ปี 2559 เป็นต้นมา ซัมซุงได้จัดงาน C-Lab Inside เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของนิทรรศการ CES โดยโครงการที่นำมาเสนอในปี 2566 เป็น 4 โครงการที่ได้รับการประเมินในระดับสูงทางด้านนวัตกรรมและความสามารถในการสร้างการเติบโตทางการตลาดได้ ดังนี้

• Meta-Running แพลตฟอร์ม metaverse เพื่อการเรียนรู้รูปแบบในการวิ่งที่เหมาะสม

• Porkamix แพลตฟอร์ม metaverse ที่จัดเตรียมงานคอนเสิร์ตในรูปแบบอินเตอร์แอคทีฟ

• Soom ประสบการณ์การทำสมาธิพร้อมคำแนะนำแบบเรียลไทม์

• Falette การจำลองรูปแบบ 3D สำหรับผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ในบ้านที่ทำจากผ้าผ่านระบบดิจิทัล

C-Lab Outside: สตาร์ทอัพพร้อมโชว์ เทคโนโลยี AI และอีกมากมาย ฉายแสงสู้ในงาน CES

C-Lab Outside จัดตั้งขึ้นตั้งแต่เดือนตุลาคม 2561 เพื่อสนับสนุนสตาร์ทอัพในการพัฒนาโครงการต่างๆ อย่างรวดเร็ว และกระตุ้นให้เกิดความเคลื่อนไหวในวงการสตาร์ทอัพในประเทศเกาหลีใต้ สตาร์ทอัพที่ลงทะเบียนในโปรแกรม C-Lab Outside จะได้รับการจัดสรรพื้นที่สำนักงาน พร้อมรับคำปรึกษาจากผู้เชี่ยวชาญจากพนักงานของ ซัมซุง รวมไปถึงการให้คำปรึกษาด้านการตลาดดิจิทัลและการเงิน การสนับสนุนเพิ่มเติมรวมไปถึงความร่วมมืออย่างมีศักยภาพกับ ซัมซุง และโอกาสในการเข้าร่วมนิทรรศการด้านไอทีที่ทรงอิทธิพล อย่าง CES และ KES (Korea Electronics Show)

ในปีที่ผ่านมา ซัมซุง Daegu Center และ Gyeong-buk Center for Creative Economy & Innovation ซึ่งเป็นหน่วยงานหนึ่งของโครงการ C-Lab Outside ได้บ่มเพาะสตาร์ทอัพเหล่านี้เพื่อพัฒนาเทคโนโลยีของตนและพร้อมที่จะแสดงผลงานในเวทีโลก ณ งาน CES 2023 โดย 8 สตาร์ทอัพที่ได้รับการคัดเลือก ได้แก่

• NdotLight โซลูชันสำหรับงานออกแบบ 3 มิติผ่านเว็บไซต์

• NEUBILITY บริการจัดส่งในพื้นที่เมืองผ่านหุ่นยนต์ไร้คนขับ

• 40FY แอปพลิเคชันการให้การบริการดูแลสุขภาพจิต ตั้งแต่การประเมินไปสู่การรักษาผ่านระบบ

ดิจิทัล CELLICO การฝังดวงตาเทียมแบบอิเลคโทรนิคส์ สำหรับผู้ป่วยโรคจอประสาทตาเสื่อม

• Plask ระบบ AI และเครื่องมือจับการเคลื่อนไหวและแก้ไขภาพเคลื่อนไหวผ่านเบราว์เซอร์

• Wrn Technologies บริการฝึกการเขียนและสร้างคอนเทนต์ผ่านเทคโนโลยี Generative AI

• Catius หุ่นยนต์ AI เพื่อนสนทนาโต้ตอบสำหรับเด็ก

• Erangtek เครื่องขยายสัญญาณในการควบคุมระบบ IoT ภายในบ้านเพื่อปรับปรุงคุณภาพ

สัญญาณโทรศัพท์

สตาร์ทอัพ C-Lab ทำลายสถิติคว้า 29 รางวัลจากงาน CES 2023 Innovation Awards

ในเดือนพฤศจิกายน 2022 สมาคม Consumer Technology Association (CTA) ได้ประกาศรายชื่อผู้ที่ได้รับรางวัล CES 2023 Innovation Awards สำหรับผลิตภัณฑ์ใน 28 หมวดหมู่ รวมไปถึง Best of Innovation โดยโครงการจากสตาร์ทอัพของโครงการ C-Lab คว้ารางวัล Best of Innovation Awards ไปถึง 2 รางวัล และได้รับรางวัล Innovation Awards อีก 27 รางวัล ส่งผลให้ C-Lab ได้สร้างเกียรติประวัติให้ประเทศด้วยการคว้ารางวั ลInnovation Awards มากถึง 22 รางวัลในปี 2565 และอีก 7 รางวัลในปี 2566 สำหรับเทคโนโลยีที่โดดเด่น

ซัมซุงเผยถึงกุญแจแห่งความสำเร็จในการคว้ารางวัลอันมากมายจากเวที CES Innovation Award และการก้าวเข้าสู่ตลาดโลกโดย Hark Kyu Park ประธานและประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายการเงินของ บริษัท ซัมซุง อิเลคโทรนิคส์ จำกัด กล่าวว่า "เป็นเรื่องน่ายินดีอย่างยิ่งที่สตาร์ทอัพที่ได้รับการสนับสนุนจาก C-Lab ได้พิสูจน์ความสามารถทางเทคโนโลยีของตนในเวทีระดับโลก พิสูจน์ได้จากรางวัลด้านนวัตกรรมที่มากที่สุดเท่าที่เคยมีมาในงาน CES เราหวังว่าสตาร์ทอัพ C-Lab จะมุ่งมั่นในการบุกตลาดโลกอย่างแข็งขันมากขึ้น และแสดงให้เห็นถึงความเป็นเลิศของสตาร์ทอัพในเกาหลีใต้"

หนึ่งในบริษัทที่โดดเด่นอย่าง Dot Inc. ซึ่งเป็นผู้พัฒนาอุปกรณ์และซอฟต์แวร์สำหรับผู้พิการทางสายตา ได้รับการเสนอชื่อให้เป็นผู้ชนะรางวัล CES 2022 Best of Innovation Award ในหมวดความช่วยเหลือเพื่อเข้าถึงระบบการทำงาน และยังได้รับการเสนอชื่อให้เป็นผู้ได้รับรางวัล CES Innovation Awards อีก 2 รางวัล

และบริษัท Verses ผู้พัฒนาระบบ Meta Music สำหรับการสตรีมได้รับการเสนอชื่อให้เป็นผู้ชนะรางวัล CES 2023 Best of Innovation Award ในหมวดการสตรีมอีกด้วย

ทั้งนี้ สตาร์อัพ 7 ใน 8 บริษัทที่ได้เข้าร่วมเปิดบูธในงานนิทรรศการ C-Lab ได้แก่ NEUBILITY, 40FY, NdotLight, CELLICO, Plask, Catius, และ Wrtn Technologies สามารถคว้ารางวัล Innovation Awards ในปีนี้ไปครอง

นอกจากนี้ สตาร์ทอัพที่แจ้งเกิดจาก C-Lab Inside ที่ปัจจุบันมีการดำเนินธุรกิจเป็นของตนเอง ได้คว้ารางวัลไปถึง 7 รายการ และสตาร์ทอัพศิษย์เก่าจาก C-Lab Outside 11 บริษัท ได้รับรางวัล Best of Innovation Awards จำนวน 2 รางวัล และรางวัล Innovation Awards จำนวน 20 รางวัล

ซัมซุงบรรลุเป้าหมายในการบ่มเพาะสตาร์ทอัพและโปรเจ็กต์ 500 รายการในระยะเวลาเพียง 5 ปี

ในปี 2561 ซัมซุง ประกาศเป้าหมายในการพัฒนาสตาร์ทอัพเกาหลีใต้ 300 โครงการ ผ่าน โปรแกรม C-Lab Outside และ อีก 200 โครงการผ่าน C-Lab Inside โดยภายในระยะเวลา 5 ปี บริษัทมุ่งมั่นที่จะบ่มเพาะสตาร์ทอัพและโครงการทั้งหมด 506 รายการ (304 จาก C-Lab Outside และ 202 จาก C-Lab Inside)

นอกจากนี้ ซัมซุงได้จัดตั้งโครงการ C-Lab Family ซึ่งเป็นเครือข่ายมืออาชีพอันโดดเด่น จัดตั้งขึ้นเพื่อเป็นการรวมตัวของศิษย์เก่าสตาร์ทอัพที่ยินดีทำงานร่วมกับซัมซุงแม้ว่าจะจบการศึกษาจากโครงการ C-Lab Outside ไปแล้ว หรือปัจจุบันได้ดำเนินธุรกิจของตัวเอง นอกจากนี้ยังได้จัดตั้ง C-Lab Scale-Up Committee และวางแผนที่จะค่อยๆ ขยายความร่วมมือและการลงทุนสำหรับ C-Lab Family ในอนาคต

ดร.สมพร สืบถวิลกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ทิพย กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) และ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ทิพยประกันภัย จํากัด (มหาชน) ร่วมเปิดตัวทิพยประกันภัยบนโลกเสมือนจริง Metapolis ผสานเทคโนโลยีแห่งโลกอนาคตเข้ากับโลกความเป็นจริง 

ทิพยประกันภัย ได้ก้าวเข้าสู่ Next Generation Insurer โดยจับมือกับ บริษัท เมตาโพลิส จำกัด การท่าเรือแห่งประเทศไทย สำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล บริษัท เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ กรุ้ป จำกัด (มหาชน) บริษัท บาเซโลนามอเตอร์จำกัด บริษัท นานมีบุ๊คส์ จำกัด พัฒนานวัตกรรมเทคโนโลยีสมัยใหม่อย่างเต็มรูปแบบ เพื่อรองรับและตอบสนองพฤติกรรมผู้บริโภคที่มีความหลากหลายและเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว กลยุทธ์ทางการตลาดที่ล้ำสมัยจึงเข้ามามีบทบาทในการเสริมสร้าง การพัฒนาการสื่อสารและเข้าถึงกลุ่มลูกค้าด้วยเทคโนโลยีทางการตลาดใหม่ๆเข้ามาแทนรูปแบบการทำการตลาดแบบเดิม รวมถึงนำนวัตกรรมแห่งอนาคตโลกเสมือน (Virtual) มาเชื่อมโยงเข้าสู่โลกแห่งความจริง โดยร่วมกับพันธมิตรทางธุรกิจ เพื่อตอบสนองการดำเนินชีวิตของลูกค้าได้อย่างครบวงจรผ่าน Metaverse ตอกย้ำภาพลักษณ์ในการเป็น   แบรนด์ด้านนวัตกรรม

ดร.สมพร กล่าว “ถ้าพูดถึงเรื่องของอนาคต แทนที่เราจะไปรออนาคต เราก็ดึงอนาคตมาอยู่ตรงหน้าเราเลย ด้วย Power ของ Blockchain และ Metaverse ซึ่งทุกธุรกิจจะต้องปรับตัว ทิพยประกันภัยเองก็เช่นกัน เราต้องปรับตัวโดยนำเทคโนโลยีที่ล้ำสมัยในรูปแบบต่างๆเข้ามาใช้  นั่นจึงทำให้เราเป็น  Digital Insurer อย่างแท้จริง“ ทั้งนี้ทิพยประกันภัย เรามีนโยบายมุ่งเน้นการพัฒนาองค์กรเตรียมความพร้อม เข้าสู่ Digital Transformation อย่างสมบูรณ์แบบ โดยให้ความสำคัญด้านการพัฒนานวัตกรรมใหม่ๆ โดยหนึ่งในกลยุทธ์หลัก คือการสร้างสรรค์กลยุทธ์การตลาดที่ล้ำสมัย มุ่งเน้นการสร้างประสบการณ์ที่ดีในการเข้าถึงบริษัทฯ ให้ตรงกับความต้องการของกลุ่มลูกค้าอย่างแท้จริง (Omni-Chanel Experience) ซึ่งเราเห็นว่าช่องทาง Virtual Communication หรือ โลกเสมือนจริง (Metaverse) มีศักยภาพสูงในการเชื่อมต่อกับวิถีชีวิตไลฟ์สไตล์และตอบรับความต้องการของลูกค้าในยุคปัจจุบันได้เป็นอย่างดี

ทิพยประกันภัย ได้มีการเริ่มต้นโดยการสร้างอาคารสำนักงานที่มีรูปแบบเสมือนจริง เพื่อเป็น Landmark ที่สำคัญในโลก Metaverse และยังเป็นการยกระดับด้าน Digital Insurance  นอกจากนี้ด้านการบริการต่างๆของบริษัทฯ ก็มุ่งเน้นไปทางด้านการสร้างประสบการณ์แปลกใหม่ ให้แก่ผู้ใช้งาน (Immersive Experience) เพื่อสร้างประสบการณ์ที่ดีให้แก่ลูกค้า โดยมี Platform Metaverse ของ Metapolis โดยในอนาคตคาดว่าจะเป็นอีกหนึ่งช่องทางที่สำคัญของการให้บริการในรูปแบบที่ล้ำสมัย  โดยลูกค้าสามารถเข้ามาสัมผัสประสบการณ์ใหม่จากทิพยประกันภัยบนโลกเสมือนจริงได้แล้ววันนี้ ทาง http://www.metapolis.in.th หรือ https://web.facebook.com/Bkkmetapolis/ 

มีหลายเหตุการณ์ที่เปลี่ยนโลกไปอย่างสิ้นเชิง และดูเหมือนว่าโลกอนาคตจะอยู่ใกล้ตัวเรามากกว่าที่คิด 

ซีไอโอต้องใช้เวลาเพื่อพิจารณาถึงสถานการณ์ “จะเกิดอะไรขึ้นถ้า… (หรือ What If)” เพื่อไม่ให้เป็นการปิดหูปิดตาตัวเองจากกระแสดิสรัปชั่นทางสังคม พฤติกรรม และเทคโนโลยี ที่มีผลต่อการเติบโตขององค์กร

การดิสรัปชั่นเป็นพื้นฐานของการเปลี่ยนแปลงที่ส่งผลต่อเนื่องอย่างถาวร และองค์กรที่ประสบความสำเร็จคือองค์กรที่พร้อมรับมือกับมัน โดยเราต้องตั้งคำถาม “จะเกิดอะไรขึ้นถ้า…” ต่อไปเรื่อย ๆ เพื่อเปิดรับโอกาสที่มาพร้อมกับการดิสรัปชั่น”

การเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ 7 อย่างที่ผู้บริหารด้านเทคโนโลยีทั้งหลายควรใส่ใจพิจารณาในอีก 5 ปีข้างหน้านี้ ได้แก่

1. ประสบการณ์การทำงานกับ Metaverse

ในปัจจุบัน มีองค์กรมากมายใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยี Metaverse ไม่ว่าจะเป็นการสร้างการมีส่วนร่วม การทำงานร่วมกัน และการเชื่อมต่อที่ดีขึ้นกับพนักงานในสถานที่ทำงานที่มอบประสบการณ์สมจริงยิ่งขึ้นในสำนักงานเสมือน และการใช้ประสบการณ์ Metaverse ภายในองค์กรหรือที่เรียกว่า Intraverses

การ์ทเนอร์ คาดการณ์ว่าการสร้างพื้นที่ทำงานเสมือนจริงเต็มรูปแบบ (Fully Virtual Workspaces) จะคิดเป็น 30% ของการเติบโตด้านการลงทุนในเทคโนโลยี Metaverse และจะพลิกโฉมประสบการณ์การทำงานในสำนักงานไปจนถึงปี 2570

2. รถบินได้ (Flying cars)

ยานยนต์ไร้คนขับหรืออากาศยานไร้คนขับ (UAV) ที่ใช้รับส่งผู้โดยสารเป็นระยะทางสั้น ๆ ตามเขตเมือง โดยอากาศยานที่บินได้ประเภทนี้หรือที่บางครั้งเรียกว่า "รถบินได้" หรือโดรนสำหรับผู้โดยสาร ถูกออกแบบให้ทำงานโดยไม่มีนักบินที่เป็นมนุษย์ บริษัทหลายแห่งกำลังทำงานเกี่ยวกับเครื่องบินรุ่นใหม่ที่ขับเคลื่อนด้วยปัญญาประดิษฐ์ (AI) และเพื่อสร้างวิถีการเดินทางทางอากาศที่เร็วกว่า ถูกกว่า ปลอดภัยกว่า และลดการปล่อยคาร์บอน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในพื้นที่แออัด ซึ่งบริการแท็กซี่บินได้แห่งแรกมีกำหนดเปิดตัวในปี 2567  แม้จะมีความท้าทายด้านกฎระเบียบที่อาจเกิดขึ้น แต่ผู้บริหารไอทีควรพิจารณาและประเมินเกี่ยวกับปัญหาในด้านการขนส่ง การเคลื่อนย้ายคนและสินค้าขององค์กร ซึ่งอาจแก้ไขได้โดยใช้ยานพาหนะเหล่านี้แทน

3. ระบบเศรษฐกิจของมนุษย์ดิจิทัล

ตั้งแต่การดูแลทางการแพทย์ การให้บริการลูกค้า เวอร์ชวลอินฟลูเอนเซอร์ (Virtual Influencer) และการฝึกอบรมของฝ่ายบุคคล ไปจนถึงการกู้คืนชีวิตผู้ตาย ล้วนเป็นความเป็นไปได้ของการใช้งานมนุษย์ดิจิทัลที่ไม่สิ้นสุด โดยระบบเศรษฐกิจมนุษย์ดิจิทัลนั้นนำเสนอโอกาสให้แก่ระบบนิเวศดิจิทัลใหม่ ๆ ซึ่งอาศัยศักยภาพของเทคโนโลยีที่นำบุคคลและองค์กรมารวมตัวกันเพื่อสร้างสรรค์และโต้ตอบในรูปแบบใหม่

การ์ทเนอร์คาดการณ์ว่าภายในปี 2578 ระบบเศรษฐกิจมนุษย์ดิจิทัล (The Digital Human Economy) จะมีมูลค่าตลาดสูงถึง 125 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และจะเติบโตอย่างต่อเนื่อง

4. “องค์กรอิสระแบบกระจายอำนาจ” (The “Decentralized Autonomous Organization”)

องค์กรอิสระแบบกระจายอำนาจ (Decentralized Autonomous Organizations หรือ DAO) เป็นองค์กรรูปแบบใหม่ที่เกิดขึ้นในตลาดบริการด้านไอที การ์ทเนอร์ได้ให้คำจำกัดความ DAO ว่าเป็นหน่วยงานดิจิทัลที่ดำเนินงานบนบล็อกเชน และยังมีส่วนร่วมในการโต้ตอบทางธุรกิจกับองค์กร DAO อื่น ๆ หรือตัวแทนดิจิทัลและตัวแทนที่เป็นมนุษย์ โดยไม่ต้องมีการบริหารจัดการบุคลากรในแบบเดิม ๆ พนักงานที่มีความรู้ความสามารถด้านดิจิทัลระดับสูงจำนวนมากจะถูกดึงดูดให้ทำงานในองค์กร DAO แม้ตอนนี้จะยังอยู่ในช่วงเริ่มต้น แต่ DAOs มีศักยภาพที่จะก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างมากต่อบรรทัดฐานของอุตสาหกรรมเทคโนโลยีหลายประการที่เป็นอยู่ ณ ปัจจุบัน

5. การชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า (EV) แบบไร้สาย

เมื่อการชาร์จแบบไร้สายพร้อมให้บริการแล้ว จะเป็นแนวทางที่เหมาะสมที่สุดสำหรับยานพาหนะในกลุ่มรถประจำทางและรถแท็กซี่ ซึ่งยานพาหนะเหล่านี้สามารถใช้การชาร์จแบบไดนามิก (Dynamic Charging) ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ช่วยเพิ่มระยะทางขับขี่ได้ไกลขึ้นและลดต้นทุนต่าง ๆ นอกจากนั้นการติดตั้งสถานีชาร์จไฟในที่พักอาศัยจะกลายเป็นตลาดที่ใหญ่ที่สุดสำหรับการชาร์จรถยนต์แบบไร้สาย เนื่องจากเจ้าของรถยนต์ไฟฟ้า (EV) จะสะดวกขึ้นโดยไม่ต้องเสียบสายเคเบิลให้ลำบาก อย่างไรก็ตาม เมื่อมองไปไกลกว่านั้น

การ์ทเนอร์คาดว่าโครงการบ้านจัดสรรของภาคเอกชนและพื้นที่ว่างแบบแคมปัสของสถาบันการศึกษาจะมีปริมาณการติดตั้งสถานีชาร์จไร้สายแซงหน้าการติดตั้งที่บ้านพักอาศัย

6.กราฟีนจะมาแทนที่ซิลิกอน

ในอีก 7 ถึง 10 ปีข้างหน้านี้ เราจะเห็นศักยภาพมหาศาลของอุปกรณ์ทรานซิสเตอร์แบบฟิลด์เอฟเฟกต์ที่ใช้คาร์บอนเป็นโครงสร้างหลักทดแทนซิลิคอนในทรานซิสเตอร์แบบเดิมที่มาถึงขีดจำกัดเรื่องขนาดที่เล็กสุด ตัวอย่างหนึ่งคือ กราฟีน ซึ่งเป็นวัสดุคาร์บอนบริสุทธิ์ความหนาหนึ่งอะตอม เรียงต่อกันเป็นโครงสร้างแบบรังผึ้งหกเหลี่ยม ซึ่งกราฟีนสามารถแทนที่อุปกรณ์ซิลิกอนในปัจจุบันได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งใช้สำหรับการสื่อสารไร้สาย โดยที่อุปกรณ์ FET ที่ทำมาจากคาร์บอนเหล่านี้สามารถเก็บกระแสไฟฟ้าที่สูงกว่าได้มากในพื้นที่ขนาดเล็กลง ทำให้สามารถประมวลผลได้รวดเร็ว

ซีไอโอควรพิจารณาความเป็นไปได้ใหม่ ๆ ที่เกิดจากเทคโนโลยีที่ใช้ “กราฟีน” และเริ่มค้นหาซัพพลายเออร์ที่เกิดใหม่ สำหรับเตรียมพร้อมรับมือการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้น

7. เทคโนโลยีกลายเป็นของใช้แล้วทิ้ง

จะเกิดอะไรขึ้นหากวงการเทคโนโลยีจะกลายเป็นแบบเดียวกับวงการแฟชั่น ด้วยการออกแบบแอปพลิเคชันที่ “ใช้แล้วทิ้ง” อย่างรวดเร็ว? ขณะที่องค์ประกอบต่าง ๆ ในการดำเนินธุรกิจที่เน้นความคล่องตัวเป็นหลัก (Business Composability) ได้รับการยอมรับในวงกว้าง ถือเป็นโอกาสของผู้บริหารไอทีที่จะดำเนินการไปอีกขึ้นและเตรียมพร้อมสร้างความยืดหยุ่นให้แก่เทคโนโลยีแบบที่ใช้แล้วทิ้ง

 # Gartner IT Symposium /Xpo 2022

บทความ   :  เดวิด ยอดเคลสัน  รองประธานฝ่ายวิจัย / การ์ทเนอร์

 

 

อีริคสัน (NASDAQ: ERIC) เปิดรายงานใหม่ครั้งสำคัญ ซึ่งเป็นการศึกษาวิจัยระดับโลกที่ใหญ่ที่สุดในโลกจนถึง ณ ปัจจุบัน ระบุถึงการใช้ 5G ในหลายส่วนของโลกเชื่อมหมุดหมายระหว่างผู้นำกระแส (Early Adopter) ไปสู่การยอมรับในวงกว้าง (Mass Adoption) พร้อมเน้นย้ำถึงความมุ่งมั่นที่เพิ่มขึ้นของผู้บริโภคและความคาดหวังของพวกเขาต่อเครือข่าย 5G กับการใช้งานรูปแบบต่าง ๆ ในยุคถัดไป

รายงาน Ericsson ConsumerLab หรือในชื่อ 5G: The Next Wave เผยผลกระทบของเครือข่าย 5G ที่มีต่อผู้บริโภคในกลุ่มผู้นำกระแสจากหลากหลายประเทศ รวมถึงประเมินความตั้งใจและความคาดหวังในการสมัครใช้เครือข่าย 5G ของกลุ่มผู้ใช้ที่ยังไม่ได้เป็นผู้ใช้ 5G (Non-5G Subscribers) จากรายงานคาดการณ์ว่าผู้ใช้สมาร์ทโฟนอย่างน้อย 30% ตั้งใจสมัครใช้เครือข่าย 5G ภายในปีหน้า

รายงานนี้เป็นการผนวกและติดตามข้อมูลโดยอีริคสัน ครอบคลุมตั้งแต่การเปิดตัว 5G เมื่อปี 2562 ซึ่งการสำรวจผู้บริโภคครั้งล่าสุดนี้ ทำให้รายงาน Ericsson ConsumerLab สามารถระบุถึงแนวโน้มสำคัญ 6 ประการอันส่งผลกระทบต่อการนำ 5G มาใช้งานครั้งใหม่

รายงานยังครอบคลุมถึงการเปลี่ยนแปลงด้านพฤติกรรมที่เกิดจากบริการดิจิทัลที่บันเดิลอยู่ในแผนหรือแพ็กเกจ 5G ของผู้ให้บริการด้านการสื่อสาร (CSP) โดยเฉพาะอย่างยิ่งการใช้แอปพลิเคชั่นวิดีโอและ AR ที่ได้รับการพัฒนาเพิ่มขึ้น

และในรายงานยังระบุถึงความเร็วในการนำเครือข่าย 5G ไปใช้อย่างแพร่หลาย ไม่ว่าจะเป็น การค้นพบความต้องการของผู้บริโภค การเปลี่ยนแปลงด้านพฤติกรรมการใช้สมาร์ทโฟนที่เกี่ยวข้องกับเครือข่าย 5G และผลกระทบต่อการรับ-ส่งข้อมูลในเครือข่าย

งานวิจัยฉบับนี้ได้สัมภาษณ์ผู้บริโภคมากกว่า 49,000 ราย ใน 37 ประเทศ ถือเป็นการสำรวจผู้บริโภคที่เกี่ยวข้องกับเครือข่าย 5G ทั่วโลกที่ใหญ่ที่สุดในโลกจนถึง ณ ปัจจุบัน และเป็นแบบสำรวจผู้บริโภคที่ใหญ่ที่สุดที่จัดทำโดยอีริคสันในทุกหัวข้อ ซึ่งขอบเขตในการสำรวจนี้จะเป็นตัวแทนความคิดเห็นของผู้บริโภคประมาณ 1.7 พันล้านคนทั่วโลก รวมถึงผู้ใช้เครือข่าย 5G ราว 430 ล้านราย

มร.อิกอร์ มอเรล ประธานกรรมการ บริษัท อีริคสัน ประเทศไทย กล่าวว่า “การศึกษาเพิ่มเติมทำให้เราเข้าใจถึงมุมมองและทัศนคติของผู้บริโภคที่มีต่อเครือข่าย 5G อย่างแท้จริง รายงานนี้แสดงให้เห็นว่าคลื่นลูกต่อไปของลูกค้ากลุ่มเป้าหมายของบริการ 5G มีความคาดหวังเทคโนโลยีที่แตกต่างจากเดิมเมื่อเทียบกับผู้ใช้ในกลุ่มผู้นำกระแส และในภาพรวม ผู้บริโภคมองว่าการมีส่วนร่วมกับ 5G เป็นส่วนสำคัญของไลฟ์สไตล์ในอนาคตของพวกเขา”

“น่าสนใจที่ทราบว่าเครือข่าย 5G กำลังกลายเป็นปัจจัยขับเคลื่อนสำคัญสำหรับการเปิดใช้งานสำคัญในบริการที่เกี่ยวข้องกับเมตาเวิร์สของกลุ่มผู้นำกระแส อาทิ การเข้าสังคม การเล่น และการซื้อสินค้าดิจิทัลในแพลตฟอร์มเกมเสมือนจริง 3 มิติ แบบอินเตอร์แอคทีฟ นอกจากนี้ระยะเวลาที่ผู้ใช้ 5G ใช้ไปในแอปพลิเคชั่น Augmented Reality ก็เพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่าในช่วงสองปีที่ผ่านมา เมื่อเทียบกับผู้ใช้ 4G” มร.อิกอร์ กล่าวเพิ่มเติม

รายงานยังคาดการณ์ว่าผู้บริโภค 5G ที่มีประสบการณ์ใช้ฟังก์ชัน Extended Reality (XR) จะเป็นผู้ใช้กลุ่มแรกที่เปิดรับอุปกรณ์ในอนาคต เนื่องจากพวกเขามีมุมมองแง่บวกเกี่ยวกับศักยภาพของแว่นตา Mixed Reality Glasses โดยผู้ใช้ 5G ครึ่งหนึ่งที่ใช้บริการด้าน XR ทุกสัปดาห์คิดว่าแอปพลิเคชั่น AR จะย้ายจากสมาร์ทโฟนไปสู่อุปกรณ์ XR แบบสวมศีรษะภายใน 2 ปีข้างหน้านี้ เมื่อเทียบกับ 1 ใน 3 ของผู้บริโภค 4G ที่มีมุมมองแบบเดียวกัน

6 แนวโน้มสำคัญในรายงาน 5G – the Next Wave

1. การใช้งานบริการ 5G ยังคงจะเติบโตสวนกระแสอัตราเงินเฟ้อ ผู้บริโภคอย่างน้อย 510 ล้านรายใน 37 ตลาดทั่วโลก มีแนวโน้มเปิดใช้งาน 5G ในปีหน้า (2566)

2. ความต้องการใช้งานใหม่ ๆ ของผู้ใช้: ผู้ใช้ 5G มีความคาดหวังสูงในด้านประสิทธิภาพของเครือข่าย 5G โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านความครอบคลุมของสัญญาณเครือข่าย ต่างจากผู้ใช้ในกลุ่มผู้นำกระแส ซึ่งสนใจเกี่ยวกับบริการที่เป็นนวัตกรรมที่เปิดใช้งานโดย 5G

3. ความพร้อมใช้งาน 5G ที่รับรู้ได้กำลังกลายเป็นมาตรฐานความพึงพอใจใหม่ในหมู่ผู้บริโภค ความครอบคลุมของสัญญาณเครือข่ายทางภูมิศาสตร์ ความครอบคลุมสัญญาณในอาคาร/นอกอาคาร และความครอบคลุมของสัญญาณในจุด Hot-Spot มีความสำคัญต่อการสร้างการรับรู้แก่ผู้ใช้มากกว่าความครอบคลุมของประชากร

4. 5G กำลังกระตุ้นการใช้วิดีโอและเทคโนโลยี AR ที่มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น ในช่วงสองปีที่ผ่านมาผู้ใช้ 5G ใช้งานแอปพลิเคชั่น AR เพิ่มขึ้น 2 เท่า เป็นสองชั่วโมงต่อสัปดาห์

5. โมเดลการสร้างรายได้ 5G จะพัฒนามีความหลากหลายขึ้น: ผู้บริโภค 6 ใน 10 คาดหวังว่าข้อเสนอเกี่ยวกับ 5G จะมากกว่าแค่เรื่องปริมาณการใช้ข้อมูลและความเร็วที่มากขึ้นไปสู่ความสามารถเครือข่ายตามความต้องการเฉพาะ

6. การนำ 5G มาใช้งานกำลังกำหนดเส้นทางไปสู่เมตาเวิร์ส ผู้ใช้ 5G เฉลี่ยใช้เวลา 1 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ในบริการที่เกี่ยวข้องกับเมตาเวิร์ส มากกว่าผู้ใช้เครือข่าย 4G และยังคาดหวังจะใช้เวลาชมเนื้อหาประเภทวิดีโอบนอุปกรณ์เคลื่อนที่อีกสองชั่วโมงทุกสัปดาห์ โดย 1.5 ชั่วโมงชมผ่านแว่นตา AR/VR ภายในปี 2568

ในส่วนของประเทศไทย จากการศึกษาของอีริคสันพบว่า ความพร้อมใช้งาน 5G ของผู้บริโภคในประเทศไทยอยู่ในระดับสูง โดยผู้ใช้ถึง 47% ตั้งใจสมัครใช้ 5G ในปี 2566 และประมาณ 9 ใน 10 ของผู้ใช้ 5G ในปัจจุบันระบุว่า พวกเขาไม่อยากกลับไปใช้เครือข่าย 4G อีก แม้ 5G จะมีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น แสดงให้เห็นถึงแนวโน้มการเติบโตอย่างแข็งแกร่งต่อการนำ 5G ไปใช้งาน มีลูกค้ากลุ่มเป้าหมายของบริการ 5G ประมาณ1.5 เท่า ของผู้ใช้ 5G ปัจจุบัน โดยมองว่าเครือข่ายที่ครอบคลุมเป็นเหตุผลสำคัญที่สุดในการสมัครใช้ 5G ขณะที่ผู้ใช้ 5G ในกลุ่มผู้นำกระแส (Early Adopter) 92% ต้องการบริการและอุปกรณ์ดีไวซ์ที่มีนวัตกรรมล้ำสมัยมากยิ่งขึ้น

Page 1 of 3
X

Right Click

No right click