

ไมโครซอฟท์ เปิดตัวชิปควอนตัมมาโจรานา 1 (Majorana 1) ที่ใช้สถาปัตยกรรม Topological Core ใหม่ล่าสุด เป็นรุ่นแรกของโลก ซึ่งคาดว่าจะนำไปสู่การสร้างควอนตัมคอมพิวเตอร์ที่สามารถแก้ปัญหาเชิงอุตสาหกรรม ที่ซับซ้อนได้จริงในอีกเพียงไม่กี่ปีข้างหน้าเท่านั้น
ชิปดังกล่าวใช้ประโยชน์จากโทโพคอนดักเตอร์ตัวแรกของโลก ซึ่งเป็นวัสดุชนิดใหม่ที่สามารถสังเกตและ ควบคุมอนุภาคมาโจรานา เพื่อสร้างคิวบิตที่เชื่อถือได้และปรับขนาดได้มากขึ้น ซึ่งเป็นส่วนประกอบพื้นฐานของ คอมพิวเตอร์ควอนตัม
ไมโครซอฟท์ อธิบายว่า เช่นเดียวกับที่สารกึ่งตัวนำเป็นรากฐานของสมาร์ทโฟน คอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์ อิเล็กทรอนิกส์ ในปัจจุบัน โทโพคอนดักเตอร์และชิปมาโจรานา 1 จะปูทางไปสู่การพัฒนาระบบควอนตัมที่สามารถรองรับคิวบิตได้ถึง หนึ่งล้านหน่วย และแก้ปัญหาที่ซับซ้อนที่สุดทั้งในภาคอุตสาหกรรม และสังคม
เชอแทน นายัค ผู้เชี่ยวชาญทางเทคนิคของไมโครซอฟท์ กล่าวว่า “เราลองถอยกลับมาหนึ่งก้าวเพื่อพิจารณาว่า ‘ถ้าจะสร้างทรานซิสเตอร์สำหรับยุคควอนตัม ทรานซิสเตอร์นั้นควรมีคุณสมบัติอย่างไร’ นั่นคือที่มาของการพัฒนาชิป มาโจรานา 1 การผสมผสานวัสดุคุณภาพสูงและรายละเอียดต่างๆ ทำให้เราสามารถสร้างคิวบิตแบบใหม่และ สถาปัตยกรรมที่ล้ำสมัย”
ไมโครซอฟท์ ระบุว่า สถาปัตยกรรมใหม่นี้ช่วยให้ชิปมาโจรานา 1 สามารถบรรจุคิวบิตได้ถึงหนึ่งล้านหน่วย ในขนาดพื้นที่ เท่ากับฝ่ามือ ซึ่งเป็นก้าวสำคัญที่นำไปสู่การสร้างควอนตัมคอมพิวเตอร์ที่แก้ปัญหาต่างๆ ในชีวิตจริงได้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น การย่อยสลายไมโครพลาสติกให้เป็นสารที่ไม่เป็นอันตราย หรือการพัฒนาวัสดุที่สามารถซ่อมแซมตัวเองได้ สำหรับอุตสาหกรรมก่อสร้าง การผลิต และการแพทย์ เพราะควอนตัมคอมพิวเตอร์ที่มีคิวบิตหนึ่งล้านหน่วย จะสามารถประมวลผลข้อมูลได้มากกว่าคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องในโลกรวมกัน
“การพัฒนาควอนตัมคอมพิวเตอร์จะเกิดขึ้นได้จริง ต้องพัฒนาให้ถึงหนึ่งล้านคิวบิตเท่านั้น ไม่เช่นนั้น จะไปต่อไม่ได้ ซึ่งไมโครซอฟท์มีแผนที่จะไปให้ถึงจุดนั้น” นายัค กล่าว
โทโพคอนดักเตอร์ หรือที่ย่อมาจาก topological superconductor เป็นวัสดุพิเศษที่สามารถสร้างสถานะ ของสสารแบบใหม่ที่ไม่ใช่ของแข็ง ของเหลว หรือก๊าซ แต่เป็นสถานะโทโพโลยี วัสดุนี้ถูกนำมาใช้สร้างคิวบิต ที่มีความเสถียร รวดเร็ว ขนาดเล็ก และควบคุมได้แบบดิจิทัล งานวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสาร Nature ฉบับล่าสุด อธิบายถึงวิธีการที่นักวิจัยของ ไมโครซอฟท์ สร้างและวัดคุณสมบัติควอนตัมของคิวบิตโทโพโลยี ซึ่งเป็นก้าวสำคัญสู่การนำไปใช้งานจริง
ความสำเร็จในครั้งนี้เกิดจากการพัฒนาวัสดุใหม่ที่ทำจากอินเดียมอาร์เซไนด์ (Indium arsenide) และอะลูมิเนียม (Aluminum) ซึ่งไมโครซอฟท์ออกแบบและสร้างขึ้นในระดับอะตอม โดยมีเป้าหมายคือการสร้างอนุภาคควอนตัม มาโจรานา และใช้ประโยชน์จากคุณสมบัติพิเศษของสิ่งนี้ในการพัฒนาควอนตัมคอมพิวติ้งไปอีกขั้น
“ความก้าวหน้านี้ต้องอาศัยการพัฒนาโครงสร้างวัสดุแบบใหม่ทั้งหมดที่ประกอบด้วยอินเดียมอาร์เซไนด์ และอะลูมิเนียม ซึ่งไมโครซอฟท์ได้ออกแบบและสร้างขึ้นในระดับอะตอม โดยมีเป้าหมายเพื่อกระตุ้นให้เกิดอนุภาคควอนตัมชนิดใหม่ที่เรียกว่า ‘มาโจราน’ และใช้ประโยชน์จากคุณสมบัติเฉพาะตัวของมันในการก้าวไปสู่ขอบเขตใหม่ของการประมวลผลควอนตัม” ไมโครซอฟท์ กล่าว
แกนโทโพโลยี (Topological Core) หรือแกนการเชื่อมโยงการรับส่งข้อมูลเข้าอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ในรูปแบบต่างๆ แกนแรกของโลกที่ขับเคลื่อนมาโจรานา 1 ได้รับการออกแบบให้มีความเสถียรตั้งแต่ต้น ด้วยการผสานความสามารถในการต้านทานข้อผิดพลาดในระดับฮาร์ดแวร์ ทำให้มีเสถียรภาพสูงยิ่งขึ้น
ทั้งนี้ การประยุกต์ใช้ที่สำคัญในเชิงพาณิชย์จำเป็นต้องดำเนินการหลายล้านล้านครั้งบนคิวบิตนับล้าน ซึ่งแทบเป็นไปไม่ได้ด้วยวิธีการปัจจุบันที่ต้องอาศัยการควบคุมแบบแอนะล็อกที่แม่นยำสำหรับคิวบิตแต่ละตัว ด้วยเหตุนี้ทีมไมโครซอฟท์จึงพัฒนาวิธีวัดผลรูปแบบใหม่ที่ช่วยให้สามารถควบคุมคิวบิตแบบดิจิทัลได้ ซึ่งเป็นการปรับเปลี่ยนแนวคิดและลดความซับซ้อนของการประมวลผลควอนตัมอย่างมหาศาล
ความก้าวหน้านี้เป็นเครื่องพิสูจน์ว่าการเลือกพัฒนา “คิวบิตโทโพโลยี” ของไมโครซอฟท์เมื่อหลายปีก่อนเป็นแนวทางที่ถูกต้อง แม้จะเป็นความท้าทายทางวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมที่มีความเสี่ยงสูง แต่ผลลัพธ์ที่ได้รับก็คุ้มค่า ปัจจุบัน ไมโครซอฟท์สามารถนำคิวบิตโทโพโลยี จำนวนแปดตัวมาอยู่บนชิปที่ออกแบบมาเพื่อขยายขนาดให้รองรับได้ถึงหนึ่งล้านคิวบิตเลยทีเดียว
“ตั้งแต่แรกเริ่ม เป้าหมายของเราคือการสร้างคอมพิวเตอร์ควอนตัมเพื่อให้เกิดประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ ไม่ใช่เพียงเพื่อเป็นผู้นำทางความคิดเท่านั้น เรารู้ว่าต้องการคิวบิตรูปแบบใหม่ และเราต้องขยายขนาดให้ได้” แมทเธียส ทรอยเออร์ ผู้เชี่ยวชาญทางเทคนิคของไมโครซอฟท์ กล่าว
แนวทางนี้จึงนำไปสู่ความร่วมมือกับ สำนักงานโครงการวิจัยขั้นสูงด้านกลาโหม (Defense Advanced Research Projects Agency: DARPA) ซึ่งเป็นหน่วยงานของรัฐบาลกลางสหรัฐฯ ที่ลงทุนในเทคโนโลยีล้ำสมัยเพื่อความมั่นคง ของชาติ โดย DARPA ได้ดึงไมโครซอฟท์เข้าร่วมในโครงการที่เข้มข้นนี้ด้วย เพื่อประเมินว่าเทคโนโลยีควอนตัมเชิงนวัตกรรมสามารถสร้างระบบควอนตัมที่มีศักยภาพในเชิงพาณิชย์ได้เร็วกว่าแนวทางทั่วไปหรือไม่ ไมโครซอฟท์เป็นหนึ่งในสองบริษัทที่ได้รับเชิญให้เข้าสู่ โครงการ Underexplored Systems for Utility-Scale Quantum Computing (US2QC) ของ DARPA ในช่วงเฟสสุดท้าย ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของ โครงการ Quantum Benchmarking Initiative ของ DARPA ที่มีเป้าหมายในการพัฒนาคอมพิวเตอร์ควอนตัมระดับยูทิลิตี้ที่ทนทานต่อข้อผิดพลาด หรือคอมพิวเตอร์ที่มีศักยภาพในการประมวลผลสูงกว่าต้นทุนที่ใช้ในการดำเนินการ
‘เพียงให้คำตอบกับคุณ’
นอกจากการพัฒนาฮาร์ดแวร์ควอนตัมของตัวเองแล้ว ไมโครซอฟท์ยังได้ร่วมมือกับ ควอนทินิวอัม (Quantinuum) บริษัทควอนตัมคอมพิวติ้งครบวงจรรายใหญ่ที่สุดของโลก และอะตอมคอมพิวติ้ง (Atom Computing) บริษัทเทคโนโลยีชั้นนำ เพื่อสร้างความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมบนคิวบิตยุคปัจจุบัน รวมถึงการประกาศเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ควอนตัมที่เชื่อถือได้เครื่องแรกของอุตสาหกรรมไปเมื่อปีที่แล้วอีกด้วย เครื่องมือประเภทนี้เปิดโอกาสสำคัญในการพัฒนาทักษะด้านควอนตัม สร้างแอปพลิเคชันไฮบริด และขับเคลื่อนการค้นพบใหม่ ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อนำ AI มาผสานกับระบบควอนตัมแบบใหม่ที่ใช้คิวบิตที่เชื่อถือได้ในจำนวนมากขึ้น Azure Quantum ในปัจจุบันได้นำเสนอโซลูชันครบวงจร ที่ช่วยให้ลูกค้าใช้ประโยชน์จากแพลตฟอร์ม AI, การประมวลผลสมรรถนะสูง (High Performance Computing: HPC) และควอนตัมบน Azure เพื่อเร่งความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์
อย่างไรก็ตาม การไปให้ถึงขอบเขตใหม่ของการประมวลผลควอนตัม จำเป็นต้องมีสถาปัตยกรรมที่ได้รับการออกแบบให้สามารถรองรับคิวบิตระดับล้านขึ้นไป และดำเนินการหลายล้านล้านครั้งอย่างรวดเร็วและแม่นยำ ซึ่งการประกาศในวันนี้ของไมโครซอฟท์แสดงให้เห็นว่าเป้าหมายดังกล่าวอาจเกิดขึ้นได้ภายในเวลาเพียงไม่กี่ปี ไม่ใช่หลายทศวรรษตามที่เคยคาดการณ์กันไว้อีกต่อไป" ไมโครซอฟท์ กล่าว
เนื่องจากเครื่องควอนตัมคอมพิวเตอร์ที่มีคิวบิตนับล้าน สามารถแก้ปัญหาบางอย่างที่คอมพิวเตอร์ทั่วไปในปัจจุบันไม่สามารถคำนวณได้อย่างแม่นยำ โดยเฉพาะในด้านเคมี วัสดุศาสตร์ และอุตสาหกรรมอื่นๆ เพราะเครื่องเหล่านี้ใช้หลักกลศาสตร์ควอนตัมในการสร้างแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ที่อธิบายพฤติกรรมของธรรมชาติได้อย่างแม่นยำสูง ไม่ว่าจะเป็นปฏิกิริยาเคมี การทำงานร่วมกันของโมเลกุล หรือพลังงานของเอนไซม์
· กรณีที่พบได้คือ เครื่องควอนตัมคอมพิวเตอร์สามารถช่วยไขปริศนาทางเคมีที่ซับซ้อน เกี่ยวกับสาเหตุที่ทำให้วัสดุเกิดการกัดกร่อนหรือแตกร้าว ความรู้นี้อาจนำไปสู่การพัฒนาวัสดุที่สามารถซ่อมแซมตัวเองได้ เช่น ซ่อมรอยแตกบนสะพาน ชิ้นส่วนเครื่องบิน หน้าจอโทรศัพท์ที่แตก หรือแม้แต่รอยขีดข่วนบนประตูรถยนต์
· นอกจากนี้ การมีพลาสติกหลากหลายประเภท ทำให้ในปัจจุบันยังไม่สามารถค้นพบตัวเร่งปฏิกิริยา (Catalyst) รูปแบบที่ใช้ได้กับทุกกรณี เพื่อย่อยสลายพลาสติกทั้งหมดได้ ซึ่งเรื่องนี้สำคัญมากโดยเฉพาะในการกำจัดไมโครพลาสติกหรือแก้ปัญหามลพิษคาร์บอน ควอนตัมคอมพิวเตอร์สามารถช่วยคำนวณคุณสมบัติของตัวเร่งปฏิกิริยา (Catalyst) ที่จะย่อยสลายสารมลพิษให้กลายเป็นสิ่งที่มีคุณค่า หรือช่วยพัฒนาวัสดุทางเลือกที่ไม่เป็นพิษตั้งแต่ต้น
· ตัวเร่งปฏิกิริยาทางชีวภาพชนิดหนึ่ง เช่น เอนไซม์ สามารถนำมาใช้ประโยชน์ในด้านการแพทย์และการเกษตรได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ด้วยการคำนวณพฤติกรรมของเอนไซม์อย่างแม่นยำ ซึ่งทำได้เฉพาะด้วยควอนตัมคอมพิวเตอร์เท่านั้น สิ่งนี้อาจนำไปสู่การค้นพบครั้งสำคัญที่จะช่วยขจัดปัญหาความหิวโหยของโลก เช่น การเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ของดินเพื่อเพิ่มผลผลิต หรือการส่งเสริมการเพาะปลูกอาหารอย่างยั่งยืนในสภาพอากาศที่มีความรุนแรง
สิ่งที่สำคัญที่สุดคือ ควอนตัมคอมพิวเตอร์จะช่วยให้วิศวกร นักวิทยาศาสตร์ บริษัท และอื่น ๆ สามารถออกแบบ สิ่งต่าง ๆ ได้อย่างถูกต้องตั้งแต่ครั้งแรก ซึ่งจะสร้างการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ในทุกวงการ ตั้งแต่การดูแลสุขภาพไปจนถึง การพัฒนาผลิตภัณฑ์ เมื่อนำพลังของควอนตัมคอมพิวเตอร์มาผนวกกับเทคโนโลยี AI แล้ว ทุกคนจะสามารถอธิบาย ความต้องการเกี่ยวกับวัสดุใหม่หรือโมเลกุลที่ต้องการสร้างด้วยภาษาธรรมดา ๆ และได้คำตอบที่ต้องการทันที โดยไม่ต้องคาดเดาหรือใช้เวลาหลายปีในการลองผิดลองถูก
"บริษัทใดก็ตามที่ผลิตสินค้า จะสามารถออกแบบผลิตภัณฑ์ได้อย่างสมบูรณ์แบบตั้งแต่ครั้งแรก เพราะเครื่องจะให้คำตอบที่ถูกต้องมาเลย โดยควอนตัมคอมพิวเตอร์จะสอนให้ AI เข้าใจ 'ภาษา' ดังนั้น AI จะสามารถบอกสูตรหรือวิธีการสร้างสิ่งที่คุณต้องการได้โดยตรง" ทรอยเออร์ กล่าวเสริม
การยกระดับควอนตัมคอมพิวเตอร์ด้วยแนวคิดใหม่
โลกของควอนตัมทำงานตามกฎของกลศาสตร์ควอนตัม แตกต่างจากที่เราเข้าใจเรื่องกฎฟิสิกส์ อนุภาคในโลกควอนตัมเรียกว่า คิวบิต (qubits) หรือ หน่วยข้อมูลควอนตัม ซึ่งเทียบได้กับ บิต (bits) หรือเลข 0 และ 1 ที่คอมพิวเตอร์ทั่วไปใช้งานอยู่ในปัจจุบัน
คิวบิตมีความบอบบางและไวต่อสิ่งรบกวนมาก จึงเป็นการง่ายที่จะเกิดข้อผิดพลาดจากสิ่งแวดล้อมรอบตัว ทำให้คิวบิตสลายตัวและสูญเสียข้อมูลไป นอกจากนี้สถานะของคิวบิตยังอาจเปลี่ยนแปลงได้เมื่อมีการวัดค่า ซึ่งเป็นปัญหาสำคัญ เพราะการวัดค่าเป็นสิ่งจำเป็นในการคำนวณ ความท้าทายจึงอยู่ที่การพัฒนาคิวบิตที่สามารถวัดค่าและควบคุมได้ ในขณะเดียวกันก็ต้องป้องกันให้ปลอดภัยจากสัญญาณรบกวนจากสิ่งแวดล้อมที่จะทำให้คิวบิตเสียหาย
เราสามารถสร้างคิวบิตได้ด้วยวิธีการที่หลากหลาย ซึ่งแต่ละวิธีก็มีข้อดีและข้อเสียแตกต่างกัน เมื่อเกือบ 20 ปี ที่แล้ว ไมโครซอฟท์ตัดสินใจเลือกแนวทางที่แตกต่าง นั่นคือการพัฒนา "คิวบิตโทโพโลยี" ซึ่งบริษัทเชื่อว่าจะให้คิวบิตที่เสถียรกว่าและต้องการการแก้ไขข้อผิดพลาดน้อยกว่า ทำให้ได้เปรียบในด้านความเร็ว ขนาด และการควบคุม แม้ว่าแนวทางนี้จะใช้เวลาในการเรียนรู้และพัฒนาอย่างมาก เพราะต้องการการค้นพบทางวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมที่ไม่เคยมีใครทำมาก่อน แต่ก็เป็นเส้นทางที่มีความหวังมากที่สุดในการสร้างคิวบิตที่สามารถขยายขนาดและควบคุมได้ ซึ่งจะสามารถนำไปใช้งานในเชิงพาณิชย์ได้จริง
ข้อเสียของแนวทางนี้ หรือกล่าวได้ว่าเคยเป็นข้อเสีย เนื่องจากไม่นานมานี้ อนุภาคพิเศษที่ไมโครซอฟท์พยายามนำมาใช้ ซึ่งเรียกว่า “มาโจรานา” นั้น ไม่เคยมีใครเคยพบเห็นหรือสร้างขึ้นได้มาก่อน ไม่มีอยู่ตามธรรมชาติและสามารถสร้างขึ้นได้โดยอาศัยสนามแม่เหล็กและตัวนำยิ่งยวดเท่านั้น ความยากลำบากในการพัฒนาวัสดุที่เหมาะสมเพื่อสร้างอนุภาคพิเศษเหล่านี้และสถานะของสสารในรูปแบบโทโพโลยี เป็นเหตุผลที่ทำให้ความพยายามด้านควอนตัมส่วนใหญ่ก่อนหน้านี้มุ่งเน้นไปที่คิวบิทประเภทอื่นแทน
บทความวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสาร Nature ได้รับการตรวจสอบจากผู้เชี่ยวชาญ และยืนยันว่า ไมโครซอฟท์ไม่เพียงแต่สามารถสร้างอนุภาคมาโจรานาได้เท่านั้น แต่ยังสามารถวัดข้อมูลควอนตัมจากมันได้อย่างแม่นยำโดยใช้ไมโครเวฟอีกด้วย
อนุภาคมาโจรานาสามารถปกปิดข้อมูลควอนตัมไว้ ทำให้มีความเสถียรมากขึ้น แต่ในขณะเดียวกันก็ทำให้วัดค่าได้ยากขึ้นด้วย อย่างไรก็ตาม วิธีการวัดใหม่ของทีมไมโครซอฟท์มีความแม่นยำที่สูงมาก ถึงขั้นสามารถตรวจจับความแตกต่างระหว่างอิเล็กตรอนหนึ่งพันล้านตัว กับหนึ่งพันล้านตัวบวกหนึ่ง ในเส้นลวดตัวนำยิ่งยวดได้ ซึ่งข้อมูลนี้เป็นสิ่งที่บอกคอมพิวเตอร์ว่าตอนนี้ คิวบิตอยู่ในสถานะใด และเป็นพื้นฐานของการคำนวณควอนตัม
วิธีการวัดนี้สามารถเปิดและปิดได้ด้วยพัลส์แรงดันไฟฟ้า เหมือนกับการเปิด-ปิดสวิตช์ไฟ แทนที่จะต้องปรับค่าปุ่มหมุนอย่างละเอียดสำหรับแต่ละคิวบิต วิธีการที่ง่ายขึ้นนี้ช่วยให้สามารถควบคุมด้วยระบบดิจิทัล ซึ่งช่วยลดความซับซ้อนของกระบวนการประมวลผลควอนตัม และลดความต้องการทางกายภาพในการสร้างเครื่องคอมพิวเตอร์ควอนตัมที่สามารถขยายขนาดได้
นอกจากนี้ คิวบิตโทโพโลยีของไมโครซอฟท์มีข้อได้เปรียบด้านขนาด เมื่อเทียบกับคิวบิตประเภทอื่น ๆ แม้จะเป็นอุปกรณ์ ที่เล็กมาก แต่ก็มี "โซนที่เหมาะสม" (Goldilocks zone) ซึ่งหมายถึง ถ้าคิวบิตมีขนาดเล็กเกินไป ก็จะควบคุมได้ยาก แต่ถ้าขนาดใหญ่เกินไป ก็จะต้องใช้เครื่องจักรขนาดมหึมา ทรอยเออร์ กล่าวว่า “หากต้องเพิ่มเทคโนโลยีการควบคุมเฉพาะตัว
สำหรับคิวบิตเหล่านี้ จะต้องสร้างเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีขนาดเท่ากับโรงเก็บเครื่องบินหรือสนามฟุตบอล ซึ่งไม่สามารถทำได้จริง”
มาโจรานา 1 ซึ่งเป็นชิปควอนตัมของไมโครซอฟท์ ที่มีทั้งคิวบิตและอุปกรณ์ควบคุมในตัว สามารถถือได้ในมือ และติดตั้งในคอมพิวเตอร์ควอนตัมที่พร้อมใช้งานในศูนย์ข้อมูล Azure
นายัค กล่าวว่า “การค้นพบสถานะใหม่ของสสารเป็นสิ่งหนึ่ง แต่อีกสิ่งที่สำคัญไม่แพ้กันคือ การนำมันมาใช้ให้เกิดประโยชน์ เพื่อปรับแนวคิดและขยายขอบเขตของการประมวลผลควอนตัม”
การออกแบบวัสดุควอนตัมระดับอะตอมต่ออะตอม
สถาปัตยกรรมคิวบิตโทโพโลยีของไมโครซอฟท์ประกอบด้วยนาโนไวร์อะลูมิเนียมที่เชื่อมต่อกัน เพื่อสร้างรูปตัว H โดยแต่ละตัว H จะมีอนุภาคมาโจรานาควบคุมได้สี่ตัว ซึ่งรวมกันเป็นหนึ่งคิวบิต โครงสร้างเหล่านี้สามารถเชื่อมต่อกันและเรียงบนชิปได้เหมือนกระเบื้องโมเสก
"มันเป็นเรื่องที่ซับซ้อน เพราะเราต้องพิสูจน์สถานะของสสารแบบใหม่ให้ได้ก่อน แต่เมื่อเราพิสูจน์ได้แล้ว มันก็กลายเป็นเรื่องง่ายขึ้นมาก โครงสร้างนี้สามารถขยายออกไปได้ และมีสถาปัตยกรรมที่เรียบง่ายกว่ามาก ซึ่งช่วยให้เราสามารถขยายขนาดระบบได้เร็วขึ้น" คริสตา สวอร์ ผู้เชี่ยวชาญทางเทคนิคของไมโครซอฟท์กล่าว "ชิปควอนตัมไม่สามารถทำงานโดยลำพัง แต่ต้องทำงานร่วมกับอีโคซิสเต็มที่ประกอบด้วยระบบควบคุมเชิงตรรกะ ระบบทำความเย็นแบบไดลูชัน (dilution refrigerator) ที่รักษาอุณหภูมิของคิวบิตให้เย็นกว่าอวกาศ และชุดซอฟต์แวร์ที่สามารถทำงานร่วมกับ AI และคอมพิวเตอร์แบบดั้งเดิมได้ ซึ่งองค์ประกอบทั้งหมดนี้ถูกพัฒนาหรือดัดแปลงขึ้นภายในบริษัทไมโครซอฟท์เองทั้งสิ้น"
“เพื่อให้ชัดเจนมากยิ่งขึ้น การปรับปรุงกระบวนการเหล่านี้อย่างต่อเนื่อง และการทำให้องค์ประกอบทุกส่วนสามารถทำงานร่วมกันได้ในระดับที่สามารถขยายตัวอย่างรวดเร็ว ยังคงต้องใช้เวลาอีกหลายปีในการพัฒนาด้านวิศวกรรม แต่ความท้าทายทางวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมที่ยากลำบากหลายอย่างได้ถูกแก้ไขสำเร็จแล้ว” ไมโครซอฟท์กล่าว
สวอร์กล่าวเสริมว่า การพัฒนาโครงสร้างวัสดุที่เหมาะสมเพื่อสร้างสถานะสสารเชิงโทโพโลยีนั้นเป็นหนึ่งในความท้าทายที่ยากที่สุด แทนที่จะใช้ซิลิคอน ไมโครซอฟท์เลือกใช้อินเดียมอาร์เซไนด์ในการผลิตตัวนำโทโพโลยี ซึ่งเป็นวัสดุที่ปัจจุบันใช้ในอุปกรณ์ตรวจจับอินฟราเรดและมีคุณสมบัติพิเศษ วัสดุกึ่งตัวนำนี้ถูกผสานกับภาวะตัวนำยิ่งยวดภายใต้อุณหภูมิที่เย็นจัด เพื่อสร้างเป็นวัสดุลูกผสม
“เรากำลังพ่นอะตอมทีละตัวอย่างแม่นยำ วัสดุเหล่านี้ต้องเรียงตัวกันอย่างสมบูรณ์แบบ หากมีข้อบกพร่องในชั้นวัสดุมากเกินไป มันจะทำลายคิวบิตทันที เราจำเป็นต้องใช้คอมพิวเตอร์ควอนตัมในการศึกษาวัสดุเหล่านี้ เพราะการทำความเข้าใจคุณสมบัติของมันเป็นเรื่องที่ยากอย่างไม่น่าเชื่อ เมื่อเรามีคอมพิวเตอร์ควอนตัมที่มีขนาดใหญ่เพียงพอ เราจะสามารถคาดการณ์วัสดุที่มีคุณสมบัติดียิ่งขึ้นสำหรับการสร้างคอมพิวเตอร์ควอนตัมรุ่นต่อไปที่มีศักยภาพสูงกว่าเดิม" สวอร์กล่าว ทิ้งท้าย
ไมโครซอฟท์ นำเสนอประสบการณ์ใหม่บนระบบปฏิบัติการ Windows 11 สำหรับพีซี ที่ไม่เพียงแต่จะช่วยให้การทำงานในชีวิตประจำวันสะดวกมากยิ่งขึ้นเท่านั้น แต่ยังเสริมศักยภาพให้ผู้ใช้งานได้สัมผัสถึงความสามารถใหม่ ๆ ที่ช่วยในการรับมือกับความท้าทายที่ซับซ้อน โดยฟีเจอร์ใหม่เหล่านี้จะช่วยให้การทำงานบนคอมพิวเตอร์เร็วขึ้น ง่ายขึ้น และตอบโจทย์ความต้องการของแต่ละคนได้มากยิ่งขึ้น
ในยุคแห่ง AI นี้ ไมโครซอฟท์มุ่งมั่นที่จะก้าวข้ามข้อจำกัดและนำไปสู่ยุคแห่งการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีที่ไม่เคยมีมาก่อน ซึ่งในปัจจุบัน นวัตกรรมไม่ได้เป็นเพียงแค่การสร้างผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ ขึ้นมาเท่านั้น แต่ยังเกี่ยวกับการเปิดโอกาสให้ผู้ใช้งานได้จินตนาการถึงวิธีการแก้ปัญหาในชีวิตประจำวันอีกด้วย
นอกจากนี้ ผู้ใช้งานยังสามารถค้นหาสิ่งที่ต้องการได้อย่างรวดเร็วและง่ายดายผ่านการใช้คำพูดของผู้ใช้งานเอง เพื่อเรียกหาแอปพลิเคชันที่ต้องการ ช่วยให้การทำงานเป็นไปอย่างลื่นไหล ไมโครซอฟท์มีเป้าหมายในการพัฒนาระบบปฏิบัติการ Windows 11 ด้วยเทคโนโลยี AI เพื่อให้ลูกค้าสามารถสร้างสรรค์ทุกผลงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น และประสบความสำเร็จในทุกสิ่งที่ทำได้โดยไม่ยุ่งยากซับซ้อน
ทั้งนี้ ไมโครซอฟท์ไม่เพียงแต่พูดถึงนวัตกรรม AI หรือแสดงให้เห็นถึงสิ่งที่อาจเกิดขึ้นในอนาคตเท่านั้น เพราะในเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา ไมโครซอฟท์ได้ประกาศเปิดตัว Copilot+ PC ซึ่งเป็นคอมพิวเตอร์รุ่นใหม่ที่นำเสนอประสบการณ์จากขุมพลัง AI ให้กับลูกค้าที่ใช้งาน Windows
เร็วๆ นี้ ลูกค้าที่ใช้ Copilot+ PC และ Windows 11 จะสามารถเข้าถึงฟีเจอร์ใหม่ ๆ มากมายที่ออกแบบมาเพื่อทำให้คอมพิวเตอร์ฉลาดขึ้น มีประโยชน์มากขึ้น และปลอดภัยยิ่งขึ้น
Copilot+ PC ได้รับเสียงตอบรับที่ดีมากจากตลาด เพราะได้รับการออกแบบมาให้ใช้งาน AI ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้เป็นคอมพิวเตอร์ Windows ที่เร็ว ฉลาด และปลอดภัยที่สุดเท่าที่เคยมีมา โดยผู้เชี่ยวชาญในวงการเทคโนโลยีแนะนำว่าเป็นสินค้าที่ "ควรซื้อ" และหลายร้านค้าพบว่าลูกค้าให้ความสนใจมากขึ้น ไมโครซอฟท์จึงพร้อมที่จะพัฒนาต่อยอด โดยเพิ่มความสามารถพิเศษด้วยชิปประมวลผล AI ที่มีประสิทธิภาพสูง
คอมพิวเตอร์ Windows 11 รุ่นใหม่ที่มี Copilot+ จะได้รับการจำหน่ายจากแบรนด์ชั้นนำหลากหลายแบรนด์ เช่น Acer, Asus, Dell, HP, Lenovo, Samsung และ Microsoft Surface โดยใช้ชิปประมวลผลจาก Qualcomm, Intel และ AMD ซึ่งจะมีระดับราคาเริ่มต้นประมาณ 699 ดอลลาร์สหรัฐ จะเปลี่ยนมุมมองของคุณที่มีต่อคอมพิวเตอร์รุ่นต่อไปอย่างแน่นอน
ตั้งแต่เดือนตุลาคมนี้เป็นต้นไป ผู้ใช้ที่เป็นสมาชิกในคอมมูนิตี้ Windows Insider จะได้ลองใช้งานฟีเจอร์ใหม่ก่อนใคร หลังจากนั้นในวันที่ 1 พฤศจิกายนนี้ ไมโครซอฟท์จะทยอยเปิดให้ผู้ใช้ทั่วไปได้ใช้งานในเครื่องคอมพิวเตอร์ของตนเอง
Recall เป็นฟีเจอร์ใหม่ล่าสุดที่ช่วยให้ผู้ใช้งานค้นหาข้อมูลบนคอมพิวเตอร์ได้อย่างรวดเร็ว หลังจากที่ไมโครซอฟท์ประกาศเปิดตัว Recall ในเดือนพฤษภาคม ผู้ใช้งานของเราได้แสดงความกังวลเกี่ยวกับเรื่องความปลอดภัย ไมโครซอฟท์จึงได้ทุ่มเทเวลาในการปรับปรุงพัฒนา Recall ให้มีความปลอดภัยมากขึ้น เพื่อให้มั่นใจว่าข้อมูลของผู้ใช้จะได้รับการปกป้องอย่างเต็มที่
ในการใช้งานฟีเจอร์ Recall ผู้ใช้สามารถเลือกได้ว่าจะให้บันทึกภาพหน้าจอหรือไม่ หากเลือกให้บันทึก จะต้องเปิด Windows Hello เพื่อยืนยันตัวตนก่อนใช้งาน นอกจากนี้ Recall ยังมีระบบกรองข้อมูลสำคัญ เช่น หมายเลขบัตรเครดิตหรือเลขประจำตัวบัตรประชาชน เพื่อปกป้องข้อมูลส่วนตัว ทำให้สามารถใช้งานได้อย่างสบายใจ
หากต้องการทราบข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับความปลอดภัยและความเป็นส่วนตัวของ Recall สามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่นี่
ไมโครซอฟท์กำลังเตรียมเปิดตัวฟีเจอร์ Recall ให้ผู้ใช้ได้ทดลองใช้ โดยจะเริ่มในเดือนตุลาคมสำหรับผู้ใช้งานกลุ่ม Windows Insider ที่มีคอมพิวเตอร์ Copilot+ ซึ่งใช้ชิป Qualcomm ตามด้วยเดือนพฤศจิกายนสำหรับผู้ใช้งาน Windows Insider ที่มีคอมพิวเตอร์ Copilot+ ซึ่งใช้ชิป Intel หรือ AMD สำหรับผู้ใช้งานทั่วไป โดยไมโครซอฟท์จะประกาศวันเปิดให้บริการ Recall อย่างเป็นทางการในเร็ว ๆ นี้
Click to Do เป็นฟีเจอร์ใหม่ที่ได้รับการออกแบบมาเพื่อช่วยให้ทำงานบนคอมพิวเตอร์ได้สะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น โดยจะแสดงผลตัวเลือกการทำงานต่าง ๆ (Interactive Overlay) ขึ้นมาบนหน้าจอทันทีที่ต้องการใช้งาน ไม่ว่าจะเป็นการทำงานกับรูปภาพหรือข้อความ เช่น การค้นหารูปภาพด้วย Bing, แก้ไขรูปภาพโดยเบลอพื้นหลังหรือลบวัตถุที่ไม่ต้องการ, ลบพื้นหลังของรูปภาพด้วย Paint รวมถึงการจัดการกับข้อความ เช่น เขียนใหม่ สรุป หรืออธิบายข้อความ
การใช้งานฟีเจอร์ Click to Do ทำได้ง่าย ๆ เพียงกดปุ่ม Windows และคลิกเมาส์ คุณก็จะเห็นตัวเลือก Click to Do ในเครื่องมือ Snipping Tool หรือ Print Screen นอกจากนี้ คุณยังสามารถใช้งาน Click to Do เพื่อเปิดโปรแกรมแก้ไขข้อความ ส่งอีเมล หรือเปิดเว็บไซต์ (ที่มี URL ที่เชื่อถือได้) ได้ทันทีอีกด้วย
เร็ว ๆ นี้ เรามีแผนที่จะเพิ่มความสามารถใหม่ ๆ ที่หลากหลายให้กับฟีเจอร์ Click to Do อย่างต่อเนื่องในอนาคต โดยมีจุดมุ่งหมายสำคัญเพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน
การค้นหาไฟล์ที่ถูกต้อง ซึ่งรวมถึงเอกสาร การตั้งค่า หรือรูปภาพ บนคอมพิวเตอร์ Copilot+ PCs จะกลายเป็นเรื่องง่ายยิ่งกว่าเดิม ด้วยการค้นหาด้วยเสียง เหมือนกับการพูดว่า "ปาร์ตี้บาร์บีคิว" วันนี้คุณสามารถอธิบายสิ่งที่คุณต้องการค้นหาบน Windows ได้แล้ว โดยคุณไม่จำเป็นต้องจดจำชื่อไฟล์ ตำแหน่งการตั้งค่า หรือแม้แต่กังวลเรื่องการสะกดคำอีกต่อไป ขอเพียงพิมพ์สิ่งที่อยู่ในใจคุณเพื่อค้นหาบน Copilot+ PC ซึ่งคุณยังสามารถค้นหารูปภาพใน OneDrive ด้วยการอธิบายเนื้อหาในลักษณะเดียวกันได้ จากขุมพลังการประมวลผลที่มีประสิทธิภาพติด 40 อันดับแรกบน Copilot+ PC ที่สามารถทำงานได้แบบออฟไลน์ การค้นหาที่ได้รับการเพิ่มประสิทธิภาพนี้จะเปิดให้ใช้งานเป็นครั้งแรกใน File Explorer และจะขยายไปยัง Windows Search รวมถึงการตั้งค่าต่าง ๆ ในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้า
ลองจินตนาการว่า หากสามารถเพิ่มความคมชัดให้กับรูปภาพความละเอียดต่ำและรูปภาพเก่าให้กลายเป็นรูปภาพที่มีความคมชัดสูงได้ โดยไม่ต้องกังวลว่าภาพจะดูเบลอหรือแตกเป็นพิกเซล และยังไม่จำเป็นต้องจัดการกับรูปภาพที่ผิดอัตราส่วนหรือแตกเป็นพิกเซลหลังจากเพิ่มขนาดอีกต่อไป ด้วยการใช้ AI ประสิทธิภาพสูงบนเครื่อง ฟีเจอร์ super resolution ใน Photos จะเปลี่ยนรูปภาพเก่าหรือรูปภาพความละเอียดต่ำ ให้กลายเป็นความทรงจำครั้งใหม่ โดยเลือกปรับเพิ่มความละเอียดได้สูงสุดถึง 8 เท่า พร้อมทั้งสามารถปรับแต่งรูปภาพได้อย่างครอบคลุมและตรงจุด ด้วยขุมพลังของการประมวลผลที่มีประสิทธิภาพติด 40 อันดับแรก ทำให้ฟีเจอร์เยี่ยมใน Photos สามารถเพิ่มขนาดรูปภาพได้สูงสุดถึงระดับ 4K ได้ภายในเวลาไม่กี่วินาที และทั้งหมดนี้สามารถทำได้ฟรี! ไม่เสียค่าใช้จ่ายใด ๆ
โปรแกรม Paint คือเพื่อนที่รู้ใจในงานสร้างสรรค์ ช่วยให้สามารถนำจินตนาการออกมาโลดแล่นในรูปแบบของภาพวาด ด้วยการใช้เครื่องมือ AI ที่เปิดตัวไปเมื่อเดือนพฤษภาคม ผู้สร้างสรรค์สามารถออกคำสั่งด้วยเสียงหรือใช้การปัดพู่กันเพียงไม่กี่ครั้ง เพื่อสร้างภาพที่น่าทึ่งได้ทั้งหมด โดยไม่มีค่าใช้จ่ายและไม่จำเป็นต้องสมัครสมาชิก
นอกจากนี้ ไมโครซอฟท์ยังได้เพิ่มฟีเจอร์ Generative Fill และ Generative Erase สามารถแก้ไขและเปลี่ยนแปลงรูปภาพได้อย่างแม่นยำและมีอิสระในการสร้างสรรค์มากขึ้น โดยใช้แปรงที่ปรับขนาดได้ สามารถลบองค์ประกอบที่ไม่ต้องการหรือรบกวนสายตาในรูปภาพ หรือเพิ่มองค์ประกอบใหม่ได้ตรงจุดที่ต้องการ เราได้ปรับปรุงโมเดลพื้นฐานที่ใช้เทคนิคการแพร่กระจาย (diffusion-based model) เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีขึ้นและเร็วขึ้น และด้วยระบบการช่วยปรับแต่งที่มีอยู่ มอบประสบการณ์การสร้างสรรค์ผลงานที่มั่นใจได้
Copilot+ PC มาพร้อมสถาปัตยกรรม Arm ได้เพิ่มแอปพลิเคชันใหม่ ๆ จากนักพัฒนาชั้นนำ เรายังคงเพิ่มรายการแอปพลิเคชันและประสบการณ์การใช้งานที่ยอดเยี่ยมใน Copilot+ PCs ที่ใช้สถาปัตยกรรม Arm อย่างต่อเนื่อง ด้วยแอปพลิเคชันใหม่ ๆ ที่ได้รับการเปิดตัวทุกวัน ไมโครซอฟท์รู้สึกตื่นเต้นที่ได้เห็นนักพัฒนาใช้ประโยชน์จากขุมพลังของการประมวลผลชั้นนำในอุตสาหกรรม เพื่อมานำเสนอประสบการณ์และประสิทธิภาพที่เป็นเอกลักษณ์ในด้านต่าง ๆ เช่น ด้านประสิทธิภาพการทำงาน ด้านความความบันเทิง VPN และด้านความปลอดภัย
แอปพลิเคชันยอดนิยมจำนวนมากที่มีให้บริการสำหรับระบบปฏิบัติการ Windows ที่ใช้สถาปัตยกรรม Arm แล้ว คุณสามารถเพลิดเพลินกับโปรแกรมต่าง ๆ เช่น Chrome, Zoom, Brave, Opera, Slack, Spotify, Adobe (InDesign, Illustrator และ Premiere), Davinci Resolve, Algoriddim djayPro, Libre Office, 1Password และ Todoist ได้แล้ว วันนี้เรามีแอปพลิเคชันใหม่ ๆ ที่กำลังจะมาถึง อาทิ Vegas Pro, Fantastical, Sketchbook Pro, Arc Browser, Google Drive และอื่น ๆ อีกมากมาย
เรายังเห็นความต้องการใช้งานเป็นอย่างมากในกลุ่ม VPN และเครื่องพิมพ์ แอปพลิเคชันยอดนิยม เช่น ExpressVPN, Private Internet Access, Surfshark และ Windscribe พร้อมให้บริการแล้ว โดย NordVPN จะตามมาในเร็ว ๆ นี้ และการที่เครื่องพิมพ์มากกว่า 90% ที่ผู้ใช้ซื้อใช้งานในช่วง 7 ปีที่ผ่านมา สามารถทำงานได้อย่างราบรื่นกับ Copilot+ PC ลูกค้าของเราสามารถเข้าถึงแอปพลิเคชันและประสิทธิภาพที่พวกเขาคาดหวังบนคอมพิวเตอร์ Windows PC ได้
ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป อัปเดต Windows 11 24H2 จะเริ่มทยอยปล่อยออกมาให้ลูกค้า Windows 11 การอัพเดตรวมถึงฟีเจอร์ใหม่ ๆ เช่น Energy Saver ที่ได้รับการออกแบบมาเพื่อยืดอายุการใช้งานของแบตเตอรี่และลดการใช้พลังงาน แม้ในขณะที่อุปกรณ์กำลังชาร์จอยู่ ซึ่งเราตื่นเต้นที่จะประกาศการสนับสนุนเครื่องช่วยฟัง Hearing Aid ที่ได้รับการปรับปรุงด้วยเทคโนโลยี Bluetooth LE Audio พร้อมความสามารถใหม่ในการควบคุมค่าเสียงที่ตั้งไว้ล่วงหน้า เสียงรอบข้าง และการเพิ่มประสิทธิภาพประสบการณ์การใช้งาน เรายังแนะนำให้ใช้งานบนเครือข่าย Wi-Fi 7 ซึ่งมอบความเร็ว ความน่าเชื่อถือ และประสิทธิภาพในการเชื่อมต่อในแบบที่ไม่เคยมีมาก่อน นอกจากนี้ Windows 11 24H2 ยังรองรับภาพพื้นหลังที่ใช้ช่วงสีไดนามิกสูงแบบ HDR อีกด้วย
นอกจากนี้ ไมโครซอฟท์ยังได้ปรับปรุงแถบ taskbar, system tray, File Explorer และการตั้งค่า (Settings) เพื่อให้การทำสิ่งต่าง ๆ ใน Windows บน PC ง่ายขึ้นและใช้งานได้อย่างเป็นธรรมชาติมากขึ้น เรียนรู้ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับวิธีการที่ฟีเจอร์เหล่านี้ได้ที่นี่ สำหรับลูกค้าองค์กร สามารถเรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับเครื่องมือด้านไอทีที่เกี่ยวข้องกับการอัปเดตนี้ได้ ที่นี่
ไมโครซอฟท์ ภูมิใจที่ได้เป็นผู้นำในการเดินทางครั้งนี้ และขับเคลื่อนนวัตกรรมของ Windows 11 บน Copilot+ PCs ความสำเร็จเหล่านี้ไม่เพียงแต่ยกระดับประสบการณ์การใช้เท่านั้น แต่ยังเสริมพลังให้ลูกค้าของเราสามารถทำให้แนวคิดของพวกเขาเป็นจริงด้วยโซลูชันจาก Windows 11 ที่ทั้งปลอดภัยและล้ำสมัย
ในขณะที่วิธีการใช้งานเทคโนโลยีของเรายังคงพัฒนาต่อไป ไมโครซอฟท์มุ่งมั่นที่จะทำให้นวัตกรรมของเราไม่เพียงแต่ล้ำสมัย แต่ยังมีความปลอดภัยและให้ความสำคัญกับเรื่องความเป็นส่วนตัว เราตระหนักดีว่าในยุคดิจิทัล การปกป้องข้อมูลของผู้ใช้เป็นสิ่งสำคัญที่สุด นั่นคือเหตุผลที่ไมโครซอฟท์ได้ผสานการป้องกันความปลอดภัยขั้นสูงและมาตรการความเป็นส่วนตัวเข้ากับผลิตภัณฑ์ของเรา เพื่อให้มั่นใจว่า AI มีประโยชน์และปลอดภัยในชีวิตประจำวัน Copilot+ PCs มาพร้อมกับคุณสมบัติอัจฉริยะที่เพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน พร้อมกับรักษาระดับความปลอดภัยสูงสุด ไม่ว่ากำลังทำงานกับเอกสารที่มีความละเอียดอ่อน สื่อสารกับเพื่อนร่วมงาน หรือจัดการข้อมูลส่วนบุคคล ก็สามารถไว้วางใจได้ว่าข้อมูลจะได้รับการปกป้องอย่างปลอดภัย
สัมผัสนวัตกรรมและขีดความสามารถใหม่ๆ ของ Windows และ Copilot+ PCs ได้เร็ว ๆ นี้ และสามารถติดตามข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการอัปเดตใหม่ ๆ ได้ที่ aka.ms/copilotpluspcs
บทความโดย Pavan Davuluri, Corporate Vice President, Windows + Devices
ไมโครซอฟท์ ประเทศไทย ประกาศวิสัยทัศน์ “AI for All Thais” ตอกย้ำความมุ่งมั่นเสริมศักยภาพให้กับทุกคนและทุกองค์กรในประเทศไทยด้วยพลังแห่ง Generative AI อันล้ำสมัย ผ่านกลยุทธ์หลัก 3 ด้าน ได้แก่ สร้างทักษะ เสริมขีดความสามารถ และสานต่อความมั่นคง ตอกย้ำพันธกิจของไมโครซอฟท์ในการร่วมพัฒนาเศรษฐกิจดิจิทัล เพื่อสร้างการเติบโตและชีวิตที่ดีให้กับคนไทยและประเทศไทย
12 เดือนที่ผ่านมา นับเป็นประวัติศาสตร์หน้าใหม่ของไมโครซอฟท์ในประเทศไทย จากการมาเยือนของนายสัตยา นาเดลลา ที่ได้ประกาศพันธสัญญาเพื่อขับเคลื่อนประเทศไทยสู่อนาคตในยุค AI และคลาวด์ ผสานความร่วมมือกับภาครัฐและเอกชนในโครงการใหม่ๆ เพื่อยกระดับประเทศไทย และการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน Datacenter region เพื่อขยายการให้บริการคลาวด์จากไมโครซอฟท์ให้กว้างขวางและทั่วถึงยิ่งขึ้น มอบเสถียรภาพและสมรรถนะที่ตอบโจทย์ผู้ใช้งานระดับองค์กรมากยิ่งขึ้น ทั้งยังรองรับมาตรฐานของประเทศไทยด้านการจัดเก็บและรักษาความปลอดภัยของข้อมูลอย่างครบถ้วน
นายธนวัฒน์ สุธรรมพันธุ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ไมโครซอฟท์ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า “ไมโครซอฟท์ เห็นโอกาสที่ AI และคลาวด์จะเข้ามายกระดับและสร้างการเปลี่ยนแปลงเชิงบวกให้กับคนไทยและประเทศไทย ทั้งภาคการศึกษา
การท่องเที่ยว เกษตร อุตสาหกรรม เป็นต้น พันธกิจที่เราได้ประกาศออกไปเกี่ยวกับการลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน AI และคลาวด์
ดาต้าเซ็นเตอร์ เป็นกุญแจสำคัญที่เข้ามาสร้างโอกาสให้คนไทย บริษัทไทย และประเทศไทย ประสบความสำเร็จในเวทีโลก จึงเป็นที่มาของการประกาศวิสัยทัศน์ “AI for All Thais” ด้วยเจตนารมณ์ที่จะมอบพลังและศักยภาพของ AI ให้คนไทย ผ่าน 3 กลยุทธ์หลัก คือ สร้างทักษะ AI เสริมขีดความสามารถให้เกิดการนำ AI ไปใช้ในวงกว้าง และสานต่อความมั่นคงเพื่อให้ทุกคนใช้งานได้อย่างมั่นใจ รวมทั้งส่งเสริมอีโคซิสเท็มของ AI ที่ปลอดภัยและเชื่อถือได้”
สร้างทักษะ
เพื่อตอกย้ำความตั้งใจในการพัฒนาทักษะด้าน AI ให้กับคนไทยอย่างยั่งยืน ผ่านความร่วมมือกับพันธมิตรในภาคส่วนต่างๆ ไมโครซอฟท์ เตรียมเปิดตัวโครงการ ‘AI National Skill Initiative’ ซึ่งมีเป้าหมายเพื่อสนับสนุนทักษะ AI ที่จำเป็นให้กับคนไทย 1 ล้านคนภายในปีหน้า ผ่านหลากหลายหลักสูตรฝึกอบรมที่เป็นหลักสูตรภาษาไทยกว่า 80% ซึ่งออกแบบให้ครอบคลุมผู้ใช้งานทุกระดับ ไม่ว่าจะเป็น ผู้ใช้งานทั่วไป ผู้บริหาร และนักพัฒนา เพื่อนำศักยภาพของ AI ไปประยุกต์ใช้เพิ่มความสะดวกในการใช้ชีวิตประจำวัน การทำงาน ตลอดจนการสร้างสรรค์นวัตกรรม AI ด้วยฝีมือคนไทย
เสริมขีดความสามารถ
ไมโครซอฟท์ มุ่งมั่นเสริมศักยภาพให้กับคนไทยและองค์กรไทยได้รับประโยชน์จากขุมพลังอันไร้ขีดจำกัดของ AI เพื่อนำไปประยุกต์ใช้งานในวงกว้างทั้งระดับบุคคลและองค์กร โดยในระดับบุคคล ไมโครซอฟท์ พร้อมขับเคลื่อนการใช้งาน AI ให้กับผู้ใช้ทุกกลุ่ม ไม่ว่าจะเป็น บุคคลทั่วไป นักเรียนนักศึกษา ครูอาจารย์ นักสร้างสรรค์คอนเทนต์ ข้าราชการ และอีกมากมาย โดยเปิดให้ผู้ใช้เข้าถึงเครื่องมือและประสิทธิภาพของเครื่องมือและบริการที่ขับเคลื่อนด้วย AI อันหลากหลาย เช่น Copilot บน Windows และ Edge, Microsoft Designer บนแอปพลิเคชันและผ่านเว็บ, Cocreator และ Paint บน Windows 11, ฟีเจอร์ Reading progress ใน Microsoft Teams และ Reading immersive ใน Microsoft Words, GitHub Copilot รวมถึง Copilot+ PC ยุคใหม่ของพีซีที่มอบสมรรถนะสูงสุดและคุณสมบัติการใช้งานที่ชาญฉลาดที่สุดบนแพลตฟอร์ม Windows
ในระดับองค์กร ไมโครซอฟท์ ขับเคลื่อนการนำศักยภาพของ AI ที่มีการพัฒนาไปอย่างก้าวกระโดดในระดับโลก จนกลายเป็นผู้ช่วยที่มีบทบาทสำคัญในการยกระดับการดำเนินงานให้กับองค์กรยุคใหม่ และช่วยรับมือความท้าทายต่างๆ ในปัจจุบันที่เกิดขึ้นรวดเร็วและคาดเดาได้ยาก ด้วยนวัตกรรมโซลูชันที่ช่วยเสริมประสิทธิภาพ ความคิดสร้างสรรค์ และความคล่องตัว เพื่อให้ทุกภารกิจสำเร็จได้อย่างราบรื่น โดยทำงานอย่างใกล้ชิดกับองค์กรทั้งภาครัฐและเอกชน และครอบคลุมในทุกอุตสาหกรรม
สานต่อความมั่นคง
ไมโครซอฟท์ เชื่อว่าความปลอดภัยคือประเด็นสำคัญอันดับหนึ่งที่ทุกผลิตภัณฑ์ ทุกบริการด้านเทคโนโลยีจะต้องมี เพราะผู้ใช้ต้องเกิดความไว้วางใจก่อน จึงจะสามารถได้รับประโยชน์จากเทคโนโลยีนั้นๆ ซึ่งการทำงานด้านความปลอดภัยเป็นความรับผิดชอบร่วมกันของทุกภาคส่วน โดยไมโครซอฟท์จะขยายความร่วมมือกับภาครัฐและเอกชนอย่างต่อเนื่อง ทั้งเสริมสร้างความแข็งแกร่งด้านความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ของประเทศ เสริมทักษะด้านการใช้ AI เพื่อความปลอดภัยไซเบอร์ และแนวทางการใช้งาน AI อย่างถูกต้อง ปลอดภัย และมีความรับผิดชอบ
ไมโครซอฟท์ ประเทศไทย พร้อมร่วมมือกับทุกภาคส่วนเพื่อขับเคลื่อนอนาคตดิจิทัลของประเทศไทย โดยส่งเสริมทักษะ AI และขยายการเข้าถึงเทคโนโลยี และสร้างระบบนิเวศดิจิทัลที่ปลอดภัย เพื่อให้คนไทยได้รับประโยชน์จากศักยภาพ AI ที่พัฒนาไปอย่างก้าวล้ำในระดับโลก และสนับสนุนทุกคนและทุกองค์กรในประเทศไทยให้บรรลุเป้าหมายที่ยิ่งใหญ่ไปพร้อมกัน
ไมโครซอฟท์ ประเทศไทย ร่วมกับ LinkedIn เผยผลงานวิจัย Work Trend Index 2024 เปิดข้อมูลล่าสุดเกี่ยวกับสถานะความคืบหน้าของคนทำงานในประเทศไทยและทั่วโลก ในการนำนวัตกรรม AI มาใช้ในที่ทำงาน
รายงาน Work Trend Index 2024 รวบรวมข้อมูลจากการสำรวจพนักงานและผู้บริหารกว่า 31,000 คน ใน 31 ประเทศทั่วโลก* รวมถึงประเทศไทย พร้อมด้วยแนวโน้มตลาดแรงงานและเทรนด์การจ้างงานผ่านทาง LinkedIn รวมถึงข้อมูลที่เก็บรวบรวมมานับล้านล้านรายการจากการใช้งาน Microsoft 365 และการศึกษาวิจัยลูกค้าของบริษัทที่อยู่ใน Fortune 500 เพื่อแสดงให้เห็นว่า ในช่วงระยะเวลาเพียง 1 ปีที่ผ่านมา นวัตกรรม AI ได้มีอิทธิพลต่อรูปแบบการทำงาน การบริหาร และการจ้างงานของผู้คนทั่วโลก
ปี 2024 ถือเป็นปีของ AI เพื่อการทำงานอย่างแท้จริง หลังจากที่มีพนักงานทั่วโลกนำ Generative AI มาใช้ทำงานเพิ่มขึ้นเกือบเท่าตัวในช่วง 6 เดือนที่ผ่านมา ขณะที่ผู้ใช้ LinkedIn จำนวนไม่น้อยได้นำเอาทักษะความสามารถที่เกี่ยวกับ AI มาเพิ่มเติมลงในเรซูเม่ของตนมากขึ้น ทางด้านผู้บริหาร ส่วนใหญ่มีมุมมองว่าจะไม่จ้างผู้สมัครที่ไม่มีทักษะด้าน AI แต่ขณะเดียวกัน ผู้บริหารจำนวนมาก ทั้งในเอเชียและทั่วโลก ยังคงกังวลเกี่ยวกับการขาดวิสัยทัศน์ด้าน AI ของบริษัท และการที่พนักงานนำเครื่องมือ AI ส่วนตัวมาใช้ในสถานที่ทำงาน ด้วยเหตุนี้ ผู้บริหารในหลายองค์กรจึงต้องเผชิญความยากลำบากกับการปรับตัว เมื่อการนำเทคโนโลยีมาปรับใช้ต้องเปลี่ยนผ่านจากช่วงการทดลองใช้งาน ไปสู่การสร้างผลลัพธ์ทางธุรกิจที่เป็นรูปธรรมมากขึ้น
นายธนวัฒน์ สุธรรมพันธุ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ ไมโครซอฟท์ ประเทศไทย กล่าวว่า “ในปัจจุบัน Generative AI เป็นเครื่องมือที่ได้รับการยอมรับและนำไปใช้งานอย่างแพร่หลายในที่ทำงาน จะเห็นได้ว่าพนักงานส่วนใหญ่เลือกนำ AI มาช่วยสะสางภาระงานในแต่ละวัน โดยที่ไม่ได้รอดูว่าองค์กรจะมีเครื่องมือ บริการ วิสัยทัศน์หรือแนวทางการใช้งานอย่างไร ดังนั้น จึงเป็นเรื่องจำเป็นอย่างยิ่งที่ผู้บริหารจะต้องเร่งตอบสนองต่อปรากฎการณ์นี้ เพื่อให้องค์กรและพนักงานได้รับประโยชน์สูงสุดจากการใช้งาน AI ทั้งในเชิงประสิทธิภาพที่เพิ่มขึ้น และการพัฒนาขีดความสามารถใหม่ๆ ควบคู่ไปกับความปลอดภัยที่เพิ่มสูงขึ้นจากแนวทางและนโยบายด้านการใช้ AI ที่ชัดเจน”
ทั้งนี้ รายงานการสำรวจ Work Trend Index 2024 ได้สรุปข้อมูลเชิงลึกใน 3 ประเด็นที่มีความสำคัญอย่างมากต่อทั้งผู้บริหารและพนักงานในประเทศไทย และสะท้อนถึงผลกระทบของ AI ที่มีต่อการทำงานและตลาดแรงงานตลอดทั้งปีนี้
ผลสำรวจ Work Trend Index เผยว่าพนักงานคนไทยกว่า 92% นำนวัตกรรม AI มาใช้ในการทำงานแล้ว ซึ่งสูงกว่าค่าเฉลี่ยทั่วโลกที่ 75% โดยในกลุ่มผู้ใช้งาน AI ยังพบอีกว่า 81% เลือกนำเครื่องมือ AI ของตนเองมาใช้งาน จนเกิดเป็นกระแสที่เรียกได้ว่า Bring Your Own AI (BYOAI) ซึ่งอาจทำให้บริษัทได้รับประโยชน์จากการใช้งาน AI อย่างไม่เต็มที่ เนื่องจากยังขาดทิศทางและกลยุทธ์ในระดับองค์กร และยังเสี่ยงต่อการรั่วไหลของข้อมูล
แนวโน้มการนำ AI มาใช้ในที่ทำงานนี้ อาจเป็นผลมาจากภาระงานที่พนักงานแต่ละคนต้องแบกรับ โดย 68% ของพนักงานทั่วโลกระบุว่าพวกเขาต้องเจอกับปัญหาในการทำงานจำนวนมากให้เสร็จทันเวลา ดังนั้น AI จึงเป็นตัวช่วยประหยัดเวลา เสริมความคิดสร้างสรรค์ รวมทั้งทำให้มีเวลาจดจ่อกับเนื้องานในส่วนที่สำคัญที่สุดได้มากขึ้น
ทางด้านผู้บริหาร พบว่า 91% ของผู้บริหารในประเทศไทยเชื่อว่าบริษัทของตนจำเป็นต้องนำนวัตกรรม AI มาใช้เพื่อรักษาความสามารถในการแข่งขันกับตลาด ซึ่งสูงกว่าค่าเฉลี่ยทั่วโลกที่ 79% แต่ยังมีผู้บริหารในประเทศไทยกว่า 64% ที่มีความกังวลว่าองค์กรของตนยังขาดแผนงานและวิสัยทัศน์ที่ชัดเจนในด้านการนำ AI มาใช้ ซึ่งสูงกว่าค่าเฉลี่ยทั่วโลกเล็กน้อยที่ 60% นอกจากนี้ ผู้บริหารจำนวนไม่น้อยยังพบกับอุปสรรคในการประเมินผลลัพธ์ที่ได้รับจากการใช้ AI ออกมาเป็นตัวเลขหรือตัวเงิน ซึ่งเป็นหนึ่งในโจทย์ที่ผู้บริหารและองค์กรยังต้องก้าวผ่านไปให้ได้
ผลสำรวจได้เผยให้เห็นถึงความแตกต่างในพฤติกรรม AI ของกลุ่มพนักงานที่เป็น AI Power Users หรือผู้ใช้งาน AI ระดับสูง มักจะนำเครื่องมือและบริการ AI ต่างๆ มาปรับเปลี่ยนแนวทางการทำงานในแต่ละวัน และสามารถลดเวลาที่ใช้ทำงานที่มีอยู่เดิมลงได้วันละ 30 นาที หรือเฉลี่ยออกมาเป็น 10 ชั่วโมงต่อเดือน
ในประเทศไทย กว่า 86% ของพนักงานกลุ่มนี้เลือกที่จะเริ่มและจบวันทำงานด้วย AI สอดคล้องกับค่าเฉลี่ยของ AI Power Users ทั่วโลกที่ 85% แต่ในทางกลับกัน ผู้ใช้ AI ระดับสูงในประเทศไทยมีแนวโน้มที่จะทดลองใช้ AI ในรูปแบบหรือวิธีการใหม่ๆ เพียง 45% ซึ่งต่ำกว่าค่าเฉลี่ยในระดับโลกที่ 68%
นอกจากนี้ โครงสร้างในการสนับสนุนการใช้งาน AI ในองค์กรไทยมีความแตกต่างอย่างชัดเจนเมื่อเปรียบเทียบกับข้อมูลจากทั่วโลก โดยกลุ่ม AI Power Users ในไทย มีเพียง 28% เท่านั้นที่มีโอกาสได้ฟังเนื้อหาสาระหรือความเคลื่อนไหวเกี่ยวกับบทบาทของ AI ในการทำงานจากแผนกหรือฝ่ายที่ตนเองทำงานอยู่ ซึ่งต่ำกว่าค่าเฉลี่ยทั่วโลกที่ 40% ขณะที่ด้านการเรียนรู้และฝึกอบรมทักษะเพิ่มเติม พบว่ามีผู้ใช้งาน AI ระดับสูงในประเทศไทยเพียง 22% เท่านั้นที่ได้รับโอกาสจากองค์กรให้ฝึกฝนทักษะด้าน AI เพิ่มเติม เทียบกับค่าเฉลี่ยทั่วโลกที่ 42%
ทักษะการใช้งาน AI ได้กลายเป็นปัจจัยสำคัญในตลาดแรงงานไปแล้ว ทั้งในประเทศไทยและในระดับโลก โดยผู้บริหารในไทยกว่า 74% ไม่ต้องการจ้างพนักงานที่ไม่มีทักษะทางด้าน AI ซึ่งสูงกว่าค่าเฉลี่ยทั่วโลกที่ 66% นอกจากนี้ หากต้องเลือกระหว่างทักษะ AI กับประสบการณ์การทำงาน ผู้บริหารไทยกว่า 90% ก็เลือกที่จะจ้างพนักงานที่มีประสบการณ์น้อย แต่มีทักษะด้านการใช้ AI แทนที่จะเลือกพนักงานที่มีประสบการณ์สูงกว่า แต่ขาดทักษะในด้านนี้ ซึ่งสูงกว่าค่าเฉลี่ยทั่วโลกที่ 71%
ในด้านแนวโน้มการจ้างงาน ผลสำรวจระบุว่าผู้บริหารทั่วโลกราว 55% มีความกังวลว่าจะเผชิญสภาวะการขาดแคลนแรงงานที่มีความสามารถในปีนี้ โดยเฉพาะในสาขาความปลอดภัยทางไซเบอร์ วิศวกรรม และการออกแบบเชิงสร้างสรรค์ ซึ่งเป็นสาขาที่กังวลว่าจะขาดแคลนมากที่สุด
ข้อมูลจากผู้ใช้ LinkedIn ทั้งในระดับองค์กรและคนทำงาน ยังเผยอีกว่า
นายธนวัฒน์ กล่าวเสริมอีกว่า “เราต้องเริ่มที่จะนำ AI เข้ามาเป็นตัวช่วยในการทำงานและใช้ชีวิตประจำวัน ไม่ว่าจะเป็นการค้นหาข้อมูลหรือไอเดียต่างๆ ได้อย่างรวดเร็ว เพิ่มผลิตภาพ และความคิดสร้างสรรค์ ให้ AI เป็นหนึ่งในผู้ช่วยของเรา ดังนั้น องค์กรจึงควรที่จะตั้งเป้าหมายที่ชัดเจนในการนำ AI มาใช้ช่วยแก้ปัญหาและปลดล็อคอุปสรรคต่างๆ ในการทำงานของพนักงาน ในขณะเดียวกัน ผู้บริหารจะต้องคิดว่าควรทำอย่างไรที่จะช่วยเพิ่มทักษะด้าน AI ให้กับบุคลากรของเรา และเตรียมความพร้อมในการจัดหาเครื่องมือ AI ที่มีประสิทธิภาพและปลอดภัยในการใช้งาน รวมถึงให้ผู้บริหารและพนักงานทุกระดับทำงานร่วมกันในการกำหนดนโยบายหรือทิศทางการใช้งาน AI ในองค์กรเพื่อให้เกิดความชัดเจนและเห็นผลสำเร็จได้จริงในทุกตำแหน่งและสายงาน”
ในโอกาสนี้ ไมโครซอฟท์ยังได้เผยคุณสมบัติใหม่ๆ ในบริการ Copilot for Microsoft 365 ซึ่งออกแบบมาเพื่อช่วยสนับสนุนการเริ่มต้นใช้งาน AI ในที่ทำงาน
ขณะเดียวกัน LinkedIn ก็นำเสนอคอร์สอบรมเกี่ยวกับ AI กว่า 600 รายการ เพื่อให้คนทำงานสามารถก้าวต่อไปบนเส้นทางในสายอาชีพได้อย่างมั่นใจ โดยล่าสุดได้เปิดให้ผู้ใช้ LinkedIn ทุกคนสามารถร่วมเรียนรู้จากคอร์สเกี่ยวกับ AI จำนวน 50 หลักสูตรโดยไม่มีค่าใช้จ่าย นับตั้งแต่วันนี้จนถึงวันที่ 8 กรกฎาคมนี้
ผู้สนใจสามารถค้นหาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับรายงาน Work Trend Index 2024 ได้ที่บล็อกของไมโครซอฟท์ พร้อมด้วยบทความสรุปรายงานฉบับเต็ม หรือพบกับบทวิเคราะห์เพิ่มเติม จาก LinkedIn โดย คาริน คิมเบรอ หัวหน้าฝ่ายเศรษฐศาสตร์
*การสำรวจครั้งนี้ครอบคลุมประเทศและเขตปกครองพิเศษต่างๆ ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกดังนี้: ออสเตรเลีย จีน ฮ่องกง อินเดีย อินโดนีเซีย ญี่ปุ่น มาเลเซีย นิวซีแลนด์ ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ เกาหลีใต้ ไต้หวัน ไทย และเวียดนาม
ไมโครซอฟท์ ประเทศไทย ร่วมกับ LinkedIn เผยผลงานวิจัย Work Trend Index 2024 เปิดข้อมูลล่าสุดเกี่ยวกับสถานะความคืบหน้าของคนทำงานในประเทศไทยและทั่วโลก ในการนำนวัตกรรม AI มาใช้ในที่ทำงาน
รายงาน Work Trend Index 2024 รวบรวมข้อมูลจากการสำรวจพนักงานและผู้บริหารกว่า 31,000 คน ใน 31 ประเทศทั่วโลก* รวมถึงประเทศไทย พร้อมด้วยแนวโน้มตลาดแรงงานและเทรนด์การจ้างงานผ่านทาง LinkedIn รวมถึงข้อมูลที่เก็บรวบรวมมานับล้านล้านรายการจากการใช้งาน Microsoft 365 และการศึกษาวิจัยลูกค้าของบริษัทที่อยู่ใน Fortune 500 เพื่อแสดงให้เห็นว่า ในช่วงระยะเวลาเพียง 1 ปีที่ผ่านมา นวัตกรรม AI ได้มีอิทธิพลต่อรูปแบบการทำงาน การบริหาร และการจ้างงานของผู้คนทั่วโลก
ปี 2024 ถือเป็นปีของ AI เพื่อการทำงานอย่างแท้จริง หลังจากที่มีพนักงานทั่วโลกนำ Generative AI มาใช้ทำงานเพิ่มขึ้นเกือบเท่าตัวในช่วง 6 เดือนที่ผ่านมา ขณะที่ผู้ใช้ LinkedIn จำนวนไม่น้อยได้นำเอาทักษะความสามารถที่เกี่ยวกับ AI มาเพิ่มเติมลงในเรซูเม่ของตนมากขึ้น ทางด้านผู้บริหาร ส่วนใหญ่มีมุมมองว่าจะไม่จ้างผู้สมัครที่ไม่มีทักษะด้าน AI แต่ขณะเดียวกัน ผู้บริหารจำนวนมาก ทั้งในเอเชียและทั่วโลก ยังคงกังวลเกี่ยวกับการขาดวิสัยทัศน์ด้าน AI ของบริษัท และการที่พนักงานนำเครื่องมือ AI ส่วนตัวมาใช้ในสถานที่ทำงาน ด้วยเหตุนี้ ผู้บริหารในหลายองค์กรจึงต้องเผชิญความยากลำบากกับการปรับตัว เมื่อการนำเทคโนโลยีมาปรับใช้ต้องเปลี่ยนผ่านจากช่วงการทดลองใช้งาน ไปสู่การสร้างผลลัพธ์ทางธุรกิจที่เป็นรูปธรรมมากขึ้น
นายธนวัฒน์ สุธรรมพันธุ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ ไมโครซอฟท์ ประเทศไทย กล่าวว่า “ในปัจจุบัน Generative AI เป็นเครื่องมือที่ได้รับการยอมรับและนำไปใช้งานอย่างแพร่หลายในที่ทำงาน จะเห็นได้ว่าพนักงานส่วนใหญ่เลือกนำ AI มาช่วยสะสางภาระงานในแต่ละวัน โดยที่ไม่ได้รอดูว่าองค์กรจะมีเครื่องมือ บริการ วิสัยทัศน์หรือแนวทางการใช้งานอย่างไร ดังนั้น จึงเป็นเรื่องจำเป็นอย่างยิ่งที่ผู้บริหารจะต้องเร่งตอบสนองต่อปรากฎการณ์นี้ เพื่อให้องค์กรและพนักงานได้รับประโยชน์สูงสุดจากการใช้งาน AI ทั้งในเชิงประสิทธิภาพที่เพิ่มขึ้น และการพัฒนาขีดความสามารถใหม่ๆ ควบคู่ไปกับความปลอดภัยที่เพิ่มสูงขึ้นจากแนวทางและนโยบายด้านการใช้ AI ที่ชัดเจน”
ทั้งนี้ รายงานการสำรวจ Work Trend Index 2024 ได้สรุปข้อมูลเชิงลึกใน 3 ประเด็นที่มีความสำคัญอย่างมากต่อทั้งผู้บริหารและพนักงานในประเทศไทย และสะท้อนถึงผลกระทบของ AI ที่มีต่อการทำงานและตลาดแรงงานตลอดทั้งปีนี้
1. พนักงานต้องการนำนวัตกรรม AI มาช่วยในการทำงาน โดยไม่รอให้บริษัทมีความพร้อม
ผลสำรวจ Work Trend Index เผยว่าพนักงานคนไทยกว่า 92% นำนวัตกรรม AI มาใช้ในการทำงานแล้ว ซึ่งสูงกว่าค่าเฉลี่ยทั่วโลกที่ 75% โดยในกลุ่มผู้ใช้งาน AI ยังพบอีกว่า 81% เลือกนำเครื่องมือ AI ของตนเองมาใช้งาน จนเกิดเป็นกระแสที่เรียกได้ว่า Bring Your Own AI (BYOAI) ซึ่งอาจทำให้บริษัทได้รับประโยชน์จากการใช้งาน AI อย่างไม่เต็มที่ เนื่องจากยังขาดทิศทางและกลยุทธ์ในระดับองค์กร และยังเสี่ยงต่อการรั่วไหลของข้อมูล
แนวโน้มการนำ AI มาใช้ในที่ทำงานนี้ อาจเป็นผลมาจากภาระงานที่พนักงานแต่ละคนต้องแบกรับ โดย 68% ของพนักงานทั่วโลกระบุว่าพวกเขาต้องเจอกับปัญหาในการทำงานจำนวนมากให้เสร็จทันเวลา ดังนั้น AI จึงเป็นตัวช่วยประหยัดเวลา เสริมความคิดสร้างสรรค์ รวมทั้งทำให้มีเวลาจดจ่อกับเนื้องานในส่วนที่สำคัญที่สุดได้มากขึ้น
ทางด้านผู้บริหาร พบว่า 91% ของผู้บริหารในประเทศไทยเชื่อว่าบริษัทของตนจำเป็นต้องนำนวัตกรรม AI มาใช้เพื่อรักษาความสามารถในการแข่งขันกับตลาด ซึ่งสูงกว่าค่าเฉลี่ยทั่วโลกที่ 79% แต่ยังมีผู้บริหารในประเทศไทยกว่า 64% ที่มีความกังวลว่าองค์กรของตนยังขาดแผนงานและวิสัยทัศน์ที่ชัดเจนในด้านการนำ AI มาใช้ ซึ่งสูงกว่าค่าเฉลี่ยทั่วโลกเล็กน้อยที่ 60% นอกจากนี้ ผู้บริหารจำนวนไม่น้อยยังพบกับอุปสรรคในการประเมินผลลัพธ์ที่ได้รับจากการใช้ AI ออกมาเป็นตัวเลขหรือตัวเงิน ซึ่งเป็นหนึ่งในโจทย์ที่ผู้บริหารและองค์กรยังต้องก้าวผ่านไปให้ได้
2. ผู้ใช้งาน AI ในระดับ Power Users มีเพิ่มมากขึ้น และอาจช่วยปลดล็อกเส้นทางสู่ความเปลี่ยนแปลงในอนาคต
ผลสำรวจได้เผยให้เห็นถึงความแตกต่างในพฤติกรรม AI ของกลุ่มพนักงานที่เป็น AI Power Users หรือผู้ใช้งาน AI ระดับสูง มักจะนำเครื่องมือและบริการ AI ต่างๆ มาปรับเปลี่ยนแนวทางการทำงานในแต่ละวัน และสามารถลดเวลาที่ใช้ทำงานที่มีอยู่เดิมลงได้วันละ 30 นาที หรือเฉลี่ยออกมาเป็น 10 ชั่วโมงต่อเดือน ในประเทศไทย กว่า 86% ของพนักงานกลุ่มนี้เลือกที่จะเริ่มและจบวันทำงานด้วย AI สอดคล้องกับค่าเฉลี่ยของ AI Power Users ทั่วโลกที่ 85% แต่ในทางกลับกัน ผู้ใช้ AI ระดับสูงในประเทศไทยมีแนวโน้มที่จะทดลองใช้ AI ในรูปแบบหรือวิธีการใหม่ๆ เพียง 45% ซึ่งต่ำกว่าค่าเฉลี่ยในระดับโลกที่ 68%
นอกจากนี้ โครงสร้างในการสนับสนุนการใช้งาน AI ในองค์กรไทยมีความแตกต่างอย่างชัดเจนเมื่อเปรียบเทียบกับข้อมูลจากทั่วโลก โดยกลุ่ม AI Power Users ในไทย มีเพียง 28% เท่านั้นที่มีโอกาสได้ฟังเนื้อหาสาระหรือความเคลื่อนไหวเกี่ยวกับบทบาทของ AI ในการทำงานจากแผนกหรือฝ่ายที่ตนเองทำงานอยู่ ซึ่งต่ำกว่าค่าเฉลี่ยทั่วโลกที่ 40% ขณะที่ด้านการเรียนรู้และฝึกอบรมทักษะเพิ่มเติม พบว่ามีผู้ใช้งาน AI ระดับสูงในประเทศไทยเพียง 22% เท่านั้นที่ได้รับโอกาสจากองค์กรให้ฝึกฝนทักษะด้าน AI เพิ่มเติม เทียบกับค่าเฉลี่ยทั่วโลกที่ 42%
3. AI กลายเป็นมาตรฐานใหม่ด้านทักษะ และช่วยทำลายขีดจำกัดในสายอาชีพ
ทักษะการใช้งาน AI ได้กลายเป็นปัจจัยสำคัญในตลาดแรงงานไปแล้ว ทั้งในประเทศไทยและในระดับโลก โดยผู้บริหารในไทยกว่า 74% ไม่ต้องการจ้างพนักงานที่ไม่มีทักษะทางด้าน AI ซึ่งสูงกว่าค่าเฉลี่ยทั่วโลกที่ 66% นอกจากนี้ หากต้องเลือกระหว่างทักษะ AI กับประสบการณ์การทำงาน ผู้บริหารไทยกว่า 90% ก็เลือกที่จะจ้างพนักงานที่มีประสบการณ์น้อย แต่มีทักษะด้านการใช้ AI แทนที่จะเลือกพนักงานที่มีประสบการณ์สูงกว่า แต่ขาดทักษะในด้านนี้ ซึ่งสูงกว่าค่าเฉลี่ยทั่วโลกที่ 71%
ในด้านแนวโน้มการจ้างงาน ผลสำรวจระบุว่าผู้บริหารทั่วโลกราว 55% มีความกังวลว่าจะเผชิญสภาวะการขาดแคลนแรงงานที่มีความสามารถในปีนี้ โดยเฉพาะในสาขาความปลอดภัยทางไซเบอร์ วิศวกรรม และการออกแบบเชิงสร้างสรรค์ ซึ่งเป็นสาขาที่กังวลว่าจะขาดแคลนมากที่สุด
ข้อมูลจากผู้ใช้ LinkedIn ทั้งในระดับองค์กรและคนทำงาน ยังเผยอีกว่า
· ข้อมูลจากช่วงปลายปีที่แล้ว พบว่า จำนวนของสมาชิก LinkedIn ทั่วโลกที่ใส่ข้อมูลเกี่ยวกับทักษะการใช้งาน AI อย่าง ChatGPT และ Copilot ในโปรไฟล์ของตนเอง มีมากขึ้นถึง 142 เท่าตัว
· ในช่วง 2 ที่ผ่านมา พบว่า ตำแหน่งงานที่เปิดรับสมัครทาง LinkedIn หากมีการระบุถึงทักษะการทำงานที่เกี่ยวกับ AI ด้วย จะมีผู้สมัครเพิ่มขึ้นถึง 17%
· ในกลุ่ม 10 ตำแหน่งงานที่เพิ่มข้อมูลเกี่ยวกับทักษะด้าน AI มากที่สุดนั้น พบว่าเป็นตำแหน่งในสายงานด้านเทคโนโลยีโดยตรงเพียง 2 ตำแหน่ง (นักพัฒนา ระบบ Front-End และนักพัฒนาเว็บ) ขณะที่ 3 อันดับแรกเป็นตำแหน่งงานด้านการเขียนคอนเทนต์ กราฟฟิกดีไซน์ และการตลาด
นายธนวัฒน์ กล่าวเสริมอีกว่า “เราต้องเริ่มที่จะนำ AI เข้ามาเป็นตัวช่วยในการทำงานและใช้ชีวิตประจำวัน ไม่ว่าจะเป็นการค้นหาข้อมูลหรือไอเดียต่างๆ ได้อย่างรวดเร็ว เพิ่มผลิตภาพ และความคิดสร้างสรรค์ ให้ AI เป็นหนึ่งในผู้ช่วยของเรา ดังนั้น องค์กรจึงควรที่จะตั้งเป้าหมายที่ชัดเจนในการนำ AI มาใช้ช่วยแก้ปัญหาและปลดล็อคอุปสรรคต่างๆ ในการทำงานของพนักงาน ในขณะเดียวกัน ผู้บริหารจะต้องคิดว่าควรทำอย่างไรที่จะช่วยเพิ่มทักษะด้าน AI ให้กับบุคลากรของเรา และเตรียมความพร้อมในการจัดหาเครื่องมือ AI ที่มีประสิทธิภาพและปลอดภัยในการใช้งาน รวมถึงให้ผู้บริหารและพนักงานทุกระดับทำงานร่วมกันในการกำหนดนโยบายหรือทิศทางการใช้งาน AI ในองค์กรเพื่อให้เกิดความชัดเจนและเห็นผลสำเร็จได้จริงในทุกตำแหน่งและสายงาน”
ในโอกาสนี้ ไมโครซอฟท์ยังได้เผยคุณสมบัติใหม่ๆ ในบริการ Copilot for Microsoft 365 ซึ่งออกแบบมาเพื่อช่วยสนับสนุนการเริ่มต้นใช้งาน AI ในที่ทำงาน
· Copilot จะโต้ตอบกับผู้ใช้งานมากขึ้น โดยระบบจะแนะนำชุดคำสั่งถัดไปหรือถามคำถามเพิ่มเติม เพื่อให้สามารถตอบสนองคำสั่งของผู้ใช้งานและสร้างผลงานให้ออกมาดีที่สุด
· หน้าจอแชทแบบใหม่ของ Copilot จะเสนอคำแนะนำตามสถานการณ์ปัจจุบันหรือกิจกรรมล่าสุดของผู้ใช้งาน เช่น อาจมีข้อความแจ้งเตือนว่า “คุณพลาดการประชุมของทีมฝ่ายขายเมื่อวันอังคารนะ อ่านสรุปการประชุมนี้ได้ที่นี่” รวมถึงคัดเลือกอีเมลที่สำคัญมาให้ผู้ใช้งานติดตามอ่าน
· ช่องพิมพ์คำสั่งของ Copilot จะมีระบบเติมคำอัตโนมัติ (auto complete) เพื่อให้ผู้ใช้งานได้รับผลลัพธ์ที่ดีกว่าเดิมในการป้อนคำสั่ง นอกจากนี้ ยังมีฟีเจอร์สำหรับช่วยเขียนคำสั่งที่พร้อมขยายคำสั่งพื้นฐานทั่วไปให้สมบูรณ์และมีรายละเอียดมากขึ้น โดยเขียนขึ้นใหม่ด้วยข้อมูลจากการประชุม เอกสาร และอีเมลของผู้ใช้แต่ละคน
· อัปเดตใหม่สำหรับ Copilot Lab เปิดให้พนักงานสามารถเขียน แชร์ และจัดการกับคำสั่งสำเร็จรูปที่เขียนขึ้นเพื่อตอบโจทย์เฉพาะทางของแต่ละทีม
ขณะเดียวกัน LinkedIn ก็นำเสนอคอร์สอบรมเกี่ยวกับ AI กว่า 600 รายการ เพื่อให้คนทำงานสามารถก้าวต่อไปบนเส้นทางในสายอาชีพได้อย่างมั่นใจ โดยล่าสุดได้เปิดให้ผู้ใช้ LinkedIn ทุกคนสามารถร่วมเรียนรู้จากคอร์สเกี่ยวกับ AI จำนวน 50 หลักสูตรโดยไม่มีค่าใช้จ่าย นับตั้งแต่วันนี้จนถึงวันที่ 8 กรกฎาคมนี้
· นอกจากนี้ LinkedIn ยังมีบริการแนะนำหลักสูตรด้วย AI ที่สามารถคัดเลือกและนำเสนอคอนเทนต์ที่ตรงกับความสนใจและสายงานของผู้ใช้แต่ละคน พร้อมด้วยการเรียนรู้ผ่านบทสนทนากับ AI
· สำหรับผู้ใช้งาน LinkedIn Premium ยังมีฟีเจอร์ AI สรุปใจความสำคัญใน LinkedIn Feed ที่ช่วยเผยข้อมูล แนะนำไอเดียใหม่ๆ และกิจกรรมที่น่าสนใจ
· เครื่องมือ AI ของ LinkedIn ช่วยให้คุณสามารถประเมินความเหมาะสมของตนเองเมื่อเทียบกับตำแหน่งงานได้ภายในเวลาไม่กี่วินาที โดยอ้างอิงจากข้อมูลประสบการณ์และทักษะของคุณ นอกจากนี้ คุณยังสามารถขอคำแนะนำในการเขียนโปรไฟล์ให้โดดเด่น และช่องทางในการพัฒนาทักษะที่สำคัญอีกด้วย ผู้สนใจสามารถค้นหาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับรายงาน Work Trend Index 2024 ได้ที่บล็อกของไมโครซอฟท์ พร้อมด้วยบทความสรุปรายงานฉบับเต็ม หรือพบกับบทวิเคราะห์เพิ่มเติม จาก LinkedIn โดย คาริน คิมเบรอ หัวหน้าฝ่ายเศรษฐศาสตร์