January 09, 2025

เมื่อโลกของการทำงานและการเรียนรู้เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว การมีพื้นที่สำหรับการเรียน การทำงาน และพบปะสร้างสรรค์กิจกรรมจึงกลายเป็นสิ่งสำคัญอย่างมาก ตอนหนึ่งในบทความของ Harvard Business Review ระบุว่า แม้การพบปะกันเพียงช่วงสั้นๆ ก็สามารถช่วยส่งเสริมให้เกิดนวัตกรรมได้ ดังนั้นพื้นที่จึงไม่ได้เป็นเพียงสถานที่ทางกายภาพ แต่ยังเป็นการสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการร่วมมือและทำภารกิจยิ่งใหญ่ได้สำเร็จ ที่ผ่านมา True Space ซึ่งเป็นพื้นที่หนึ่งใน Ecosystem ของทรู ไม่ได้เป็นเพียงแค่ Co-working space ทั่วไป แต่ยังเป็นพื้นที่ที่เปิดโอกาสการเรียนรู้ พัฒนาทักษะ และการเติบโตของทั้งนักเรียนนักศึกษา และสตาร์ทอัพและ SME ไทยในมิติต่างๆ

บทความนี้จะพาไปทำความรู้จัก True Space ให้มากขึ้นผ่านแนวคิด จุดมุ่งหมาย รวมไปถึงประสบการณ์ของน้องๆ ชมรม SWU Sandbox ที่เริ่มต้นและเติบโตขึ้นจากพื้นที่เล็กๆ ของ True Space สาขาอโศก และต่อยอดสู่ภารกิจปั้นสตาร์ทอัพหน้าใหม่ในรั้วมหาวิทยาลัย พร้อมชี้ให้เห็นถึงก้าวต่อไปของ True Space ในการเป็น Ecosystem ที่สำคัญสำหรับสตาร์ทอัพและ SME ไทย

จุดเริ่มต้นของการเป็นพื้นที่สำหรับนักเรียนนักศึกษา

“แรกเริ่มนั้น True Space เกิดขึ้นในปี 2562 เพื่อเป็นพื้นที่ทำงานให้นักเรียนนักศึกษา เพื่อให้พวกเขามีพื้นที่มานั่งทำงาน ติวหนังสือ หรือแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน” นวลพรรณ บุญเผื่อน หัวหน้าสายงานทรูสเปซ บริษัท ทรูสเปซ จำกัด เริ่มเล่าที่มา

ไม่น่าแปลกใจที่จะได้เห็น True Space ทั้ง 7 สาขามีโลเคชั่นอยู่ในมหาวิทยาลัย หรือใกล้กับมหาวิทยาลัย ได้แก่ มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา, มหาวิทยาลัยรังสิต, สยามสแควร์ ซอย 2, สยามสแควร์ ซอย 3, อโศก, ไอคอนสยาม และวายสแควร์ อุบลราชธานี เพื่อให้นักเรียนนักศึกษาซึ่งเป็นกลุ่มเป้าหมายเข้ามาใช้พื้นที่ได้อย่างสะดวกสบาย

“แต่ละสาขาเราจัดพื้นที่และสิ่งอำนวยความสะดวกไว้ครบ ทั้งที่นั่งทำงานแบบ Hot Desk ห้องประชุม และพื้นที่จัด Event ซึ่งมีการปรับเปลี่ยนรูปแบบได้ นอกจากนี้เราเองยังมีการจัดกิจกรรมต่างๆ เป็นเวิร์กชอปพัฒนาทักษะเสริมทั้งด้านความรู้และประสบการณ์ที่น้องๆ นักศึกษาสามารถนำไปใช้ในอนาคต การมีกิจกรรมเหล่านี้ก็เป็นการสร้างคอมมูนิตี้ของเราให้เกิดขึ้นด้วย และเชื่อว่าเมื่อก้าวสู่วัยทำงาน พวกเขาก็จะยังเข้ามาใช้บริการของเราเช่นกัน” นวลพรรณ อธิบาย

การเข้าใช้บริการ True Space เป็นหนึ่งในสิทธิประโยชน์ที่ทรูจัดไว้ให้ลูกค้าได้ใช้ Ecosystem อย่างเต็มที่ หรือหากต้องการสมัครสมาชิกก็ได้ในราคาที่คุ้มค่า รวมถึงการเป็นพาร์ทเนอร์กับมหาวิทยาลัยต่างๆ จะเห็นได้ว่าแต่ละสาขาจะมีน้องๆ นักเรียนนักศึกษามานั่งทำงาน อ่านหนังสือ หรือติวหนังสือกันเป็นประจำ

True Space สาขาอโศก กับการก่อร่างชมรม SWU Sandbox ให้เกิดขึ้นจริง

True Space สาขาอโศก ซึ่งตั้งอยู่ตรงข้ามมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร เป็นหนึ่งในพื้นที่ที่นักศึกษามารวมตัวกันทำกิจกรรมนอกห้องเรียน และเป็นจุดเริ่มต้นของชมรม SWU Sandbox ซึ่งก่อตั้งโดยนิสิตคณะเศรษฐศาสตร์ มศว ที่มี

ประสบการณ์ผ่านเข้ารอบ Demo Day ในการแข่งขัน Startup Thailand League 2023 ครั้งนั้นพวกเขาเห็นศักยภาพไอเดียของเพื่อนร่วมมหาวิทยาลัยที่นำไปต่อยอดได้ จึงอยากมีส่วนร่วมในการพัฒนาความรู้ บ่มเพาะ และสนับสนุนการเกิดสตาร์ทอัพหน้าใหม่จากรั้วมหาลัยของตัวเอง

“จริงๆ ชมรม SWU Sandbox เพิ่งเกิดขึ้นเมื่อต้นปี 67 ค่ะ ในช่วงการวางแผนก่อตั้งชมรม พวกเรา 8-9 คนยังมือใหม่มากและขาดพื้นที่สำหรับประชุมและวางแผนงาน เพื่อนที่เป็นประธานชมรมจึงลองติดต่อเข้ามาที่ True Space เพื่อขอให้พื้นที่ทำงาน เพราะทราบมาว่าเป็นพันธมิตรกับมหาวิทยาลัย ซึ่งเราก็ได้รับการสนับสนุนอย่างดีตั้งแต่เริ่มแรกจนถึงตอนนี้” เสาวลักษณ์ ชอบสอน นิสิตปี 4 คณะเศรษฐศาสตร์ มศว เลขาชมรมเล่าถึงที่มา

แม้ก่อตั้งชมรมได้ภายในเวลาไม่ถึงปี แต่ SWU Sandbox สามารถขยายขอบเขตการทำงานเป็นชุมชนนักศึกษาที่มีสมาชิกมากกว่า 100 คน และได้ร่วมงานกับฝ่ายกิจการนักศึกษาของมหาวิทยาลัยผลักดันให้เกิดกิจกรรมต่างๆ ตั้งแต่การให้ความรู้ธุรกิจเบื้องต้น จัดค่ายพัฒนาโปรเจกต์ จนถึงการ Pitching เสนอไอเดียที่เปิดกว้างทั้งมหาวิทยาลัย คัดจนผ่านเข้ารอบ 10 ทีม โดยอีกไม่นานมีการจัด Showcase ที่เปิดให้บริษัทภายนอกเข้ามาชมงานและสนับสนุน

“การที่มีชมรมนี้เกิดขึ้นมาได้จริง พวกเราภูมิใจมาก ที่ได้มีส่วนร่วมพัฒนาศักยภาพนิสิตของเรา ซึ่งต่อไปอาจเกิดเป็นสตาร์ทอัพจริงๆ ก็ได้ และส่งต่อให้รุ่นน้องได้สานต่อกิจกรรมไปด้วย” ณัชชา พรมสุริย์ ฝ่ายดูแลกิจกรรมของชมรมกล่าว

พื้นที่ทางเลือกที่ตอบโจทย์การเรียนรู้ยุคใหม่

ในยุคห้องสมุดไม่ใช่เพียงแหล่งหาข้อมูลสำคัญแห่งเดียวอีกต่อไป นักเรียนนักศึกษาต่างใช้แท็บเล็ตแทนสมุดและหนังสือ พวกเขามีทางเลือกในการแสวงหาความรู้อย่างเป็นอิสระในทุกที่ สิ่งสำคัญในเวลานี้คือ พื้นที่และสิ่งอำนวยความสะดวกที่ตอบโจทย์วิถีการเรียนแบบใหม่ ซึ่งดูเหมือนว่า True Space เป็นหนึ่งในทางเลือกที่ตอบโจทย์เหล่านี้

“ชอบมานั่งทำงานที่นี่ เพราะมีปลั๊กไฟอยู่บนโต๊ะ ใช้งานสะดวกมาก โต๊ะก็ความสูงพอดี เก้าอี้นั่งสบาย พื้นที่เปิดโล่ง สว่าง ไม่อึดอัด เวลาพักสายตาก็มองไปนอกหน้าต่างได้” น้องๆ นักศึกษาที่เข้ามานั่งทำงานใน True Space สาขาอโศกบอกเล่าถึงเหตุผลที่เลือกเข้ามาที่นี่เป็นประจำ

ภิรมย์สุรางค์ สิงหนาท หนึ่งในนักศึกษากลุ่มนี้อธิบายเพิ่มเติมว่า “การมาที่ True Space ไม่เหมือนกับไปนั่งห้องสมุดหรือร้านกาแฟ เพราะที่ห้องสมุดเราต้องเงียบ จะคุยปรึกษาหรือติวหนังสือไม่ได้ ส่วนร้านกาแฟมีเสียงบรรยากาศค่อนข้างดัง ทำให้ไม่มีสมาธิอ่านหนังสือ การมาที่นี่มีทั้งโต๊ะแยกให้เราได้โฟกัสงาน และมีโต๊ะนั่งรวมที่ติวหนังสือหรือประชุมงานกันได้ด้วย”

Startup Ecosystem และ Community ที่เต็มไปด้วยโอกาส

นอกเหนือจากกลุ่มเป้าหมายที่เป็นนักเรียนนักศึกษาแล้ว เวลานี้ True Space มีการวางกลยุทธ์ขยายไปสู่ผู้ประกอบการ SME และสตาร์ทอัพ เพื่อเป็นโอกาสในการพัฒนาธุรกิจ การมีเครือข่ายธุรกิจที่เข้มแข็งจากความร่วมมือกับพาร์ทเนอร์ต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน เช่น สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) และสมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย เป็นการดึงดูดให้ผู้ประกอบการเข้ามาเช่าพื้นที่เป็น Private Office หรือใช้งาน Co-working Space ที่ช่วยลดต้นทุนได้ รวมถึงการใช้พื้นที่ในการจัดกิจกรรมส่งเสริมธุรกิจต่างๆ ซึ่งนับเป็นบทบาทสำคัญของการเป็น Startup Ecosystem ของไทย

“เรามีผู้ประกอบการ SME และสตาร์ทอัพเข้ามาเช่าพื้นที่หรือเป็นสมาชิกอยู่หลายรายตามสาขาต่างๆ ซึ่งพวกเขาก็ได้ใช้สิ่งอำนวยความสะดวกได้ครบครัน ช่วยในการดำเนินงานได้ รวมถึงมีการจัดพื้นที่ทำ Event รองรับคนได้จำนวนหนึ่ง ล่าสุดก็มีจัดพื้นที่สำหรับทำ Business Deal ให้กับสตาร์ทอัพได้สำเร็จไปอีกหนึ่งราย” หัวหน้าสายงานทรูสเปซกล่าว

การปรับตัวในยุคของการเปลี่ยนแปลง

ท่ามกลางความต้องการเช่าพื้นที่สำนักงานแบบดั้งเดิมลดลง เนื่องจากรูปแบบการทำงานที่เปลี่ยนไป เช่น การทำงานแบบรีโมตและไฮบริด รวมถึงเทรนด์ของ Co-working space ที่มีการแข่งขันเพิ่มขึ้นทั้งจากคาเฟ่และศูนย์การค้า แต่ True Space ยังคงสามารถปรับตัวและเติบโตได้อย่างมั่นคง ด้วยจุดเด่นและกลยุทธ์ดังต่อไปนี้

· Flexible Work Solutions: มีพื้นที่ทำงานที่ออกแบบมาอย่างทันสมัย รองรับการทำงานที่ยืดหยุ่นหลากหลายรูปแบบ

· Community Building: จัดกิจกรรมที่หลากหลายสำหรับนักศึกษาและผู้ประกอบการ พร้อมกับสร้างคอมมูนิตี้ที่เชื่อมโยงพาร์ตเนอร์และผู้ใช้บริการไว้อย่างแข็งแกร่ง

· Exclusive Discounts and Member Benefits: สมาชิกจะได้รับสิทธิพิเศษต่างๆ เช่น ส่วนลดบริการในเครือ True ช่วยเพิ่มมูลค่าให้กับการเป็นสมาชิก และสร้างประสบการณ์การใช้งานที่ครบครัน

“เชื่อไหมว่า ชั้นสองของ True Space สาขาอโศกตรงนี้ทั้งหมด เคยเป็นแผนกคอลเซ็นเตอร์ให้กับสายการบินระดับโลกแห่งหนึ่ง” นวลพรรณ เริ่มเล่าถึงจุดเด่นของพื้นที่แห่งนี้

“ช่วงที่สายการบินแห่งนี้มีการปรับปรุงสำนักงานและมาเช่าพื้นที่ของเรา เราก็สามารถจัดเป็นพื้นที่ทำงานได้อย่างตอบโจทย์ ต่อมาจึงกลายมาเป็นลูกค้าประจำ ในขณะเดียวกันพื้นที่เดียวกันนี้ก็เคยปรับให้เป็นงาน Event หรืองานเลี้ยง ซึ่งเราจัดให้ได้ วางแพลนโต๊ะเก้าอี้กันใหม่ พร้อมด้วยสิ่งอำนวยความสะดวกและเทคโนโลยีที่เรามีพร้อม นี่คือจุดเด่นของ True Space ที่มีความยืดหยุ่นสูงมาก และตอบโจทย์ความต้องการได้เสมอ” เธอเน้นย้ำทิ้งท้าย

สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) (NIA) ร่วมกับ บริษัท ไทยยูเนี่ยนกรุ๊ป จำกัด (มหาชน) มหาวิทยาลัยมหิดล บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) บริษัท ดีลอยท์ ประเทศไทย และบริษัท ล็อตเต้ ไฟน์ เคมิคอล จำกัด นำ 8 สตาร์ทอัพด้านเทคโนโลยีอาหารในโปรแกรมเร่งการเติบโต ภายใต้โครงการ SPACE-F Accelerator รุ่นที่ 4 ร่วมนำเสนอผลงานแก่นักลงทุน และผู้ที่สนใจในนวัตกรรมด้าน FoodTech บนเวที SPACE-F Batch 4 Accelerator Demo Day ในงาน Startup x Innovation Thailand Expo 2023 (SITE2023) ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์

สตาร์ทอัพภายใต้โครงการ SPACE-F Accelerator รุ่นที่ 4 นั้นได้เข้าร่วมโปรแกรมเร่งการเติบโตเป็นระยะเวลา 4 เดือน โดยมุ่งเน้นไปที่การสร้างโอกาสทางธุรกิจและพัฒนานวัตกรรมร่วมกับบริษัทคู่ค้า สร้างความร่วมมือและเพิ่มศักยภาพของอุตสาหกรรมอาหารในประเทศไทย

โดย ดร.พันธุ์อาจ ชัยรัตน์ ผู้อำนวยการสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ NIA กล่าวเปิดงาน SPACE-F Batch 4 Accelerator Demo Day ว่า “โครงการ SPACE-F เป็นโครงการที่สนับสนุนสตาร์ทอัพด้านนวัตกรรมอาหารในระดับนานาชาติ พร้อมส่งเสริมความร่วมมือกันของเครือข่ายและระบบนิเวศของสตาร์ทอัพให้แข็งแกร่ง โดยมีจุดประสงค์ที่จะเปลี่ยนประเทศไทยให้เป็นศูนย์กลางด้านนวัตกรรมอาหารของโลก สตาร์ทอัพทั้ง 8 ในโปรแกรม Accelerator ของ SPACE-F รุ่นที่ 4 จะเป็นผู้นำเสนอเทคโนโลยีสมัยใหม่ที่จะมาช่วยแก้ไขปัญหาและเปลี่ยนแปลงอนาคตของอุตสาหกรรมอาหารที่ส่งผลกระทบต่อผู้คนบนโลก โดย SPACE-F เป็นผู้นำของโลกยุคใหม่ด้านนวัตกรรมอาหาร ทั้งการเป็นผู้ประกอบการ การสร้างนวัตกรรม และการสร้างการร่วมมือกันของทุกภาคส่วนมาบรรจบกันเพื่อเปลี่ยนโลกของเราให้ดียิ่งขึ้น ความสำเร็จของสตาร์ทอัพเหล่านี้เป็นสิ่งยืนยันถึงศักยภาพอันไร้ขีดจำกัดที่อยู่ในภาคส่วนเทคโนโลยีอาหาร”

ดร. ธัญญวัฒน์ เกษมสุวรรณ ผู้อำนวยการกลุ่มด้านนวัตกรรม บริษัท ไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) กล่าวถึงความร่วมมือระหว่างผู้สนับสนุนของโครงการตั้งแต่เริ่มต้นและการให้ความร่วมมือกับสตาร์ทอัพเพื่อพัฒนานวัตกรรมอาหารว่า “โครงการ SPACE-F ก่อตั้งขึ้นมาเพื่อสร้างเครือข่ายและระบบนิเวศด้านเทคโนโลยีอาหารให้แข็งแกร่ง พร้อมทั้งสนับสนุนการเติบโตของสตาร์ทอัพในโครงการตลอดจนต่อยอดโอกาสด้านธุรกิจสู่ระดับสากล และด้วยเครือข่ายของ SPACE-F ที่เข้มแข็งขึ้นทำให้สตาร์ทอัพที่เคยร่วมโครงการมีโอกาสเข้าถึงแหล่งเงินทุน นักลงทุน พันธมิตร รวมถึงโอกาสต่างๆ ในการขยายธุรกิจในเวทีโลก

ทั้งนี้ สตาร์ทอัพที่นำเสนอผลงานได้รับการคัดเลือกโดยพันธมิตรจากทั้งภาครัฐและเอกชน เพื่อให้ได้รับโอกาสในการสร้างนวัตกรรมอาหาร ไทยยูเนี่ยนจึงได้ถือโอกาสนี้ในการเข้าไปสนับสนุนและทำงานร่วมกับสตาร์ทอัพที่ผ่านการคัดเลือกเพื่อเร่งสปีดความสำเร็จ โดยเราคาดหวังว่าจะได้สนับสนุนและทำงานร่วมกันอย่างต่อเนื่องกับสตาร์ทอัพเหล่านี้ในอนาคตแม้หลังจากจบโครงการแล้ว”

คุณต้องใจ ธนะชานันท์ รองกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ ผู้บริหารสูงสุด กลุ่มงานความยั่งยืนและกลยุทธ์ บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) ผู้สนับสนุนหลักของโครงการ SPACE-F Batch 4 ได้เสริมอีกว่า “ความหลากหลายของสตาร์ทอัพด้านเทคโนโลยีอาหารในรุ่นที่ 4 นี้ ครอบคลุมไปในส่วนของนวัตกรรมอาหารและเครื่องดื่ม ซึ่งเรามองเห็นความสามารถและศักยภาพของสตาร์ทอัพในรุ่นนี้ที่มาจากนานาประเทศ พวกเขาทำให้เรามั่นใจว่า SPACE-F จะกลายเป็นตัวกลางในการสนับสนุนนวัตกรรมที่โดดเด่นเพื่อขับเคลื่อนประเทศไทยให้กลายเป็นศูนย์กลางระดับโลกสำหรับนวัตกรรมอาหารและเครื่องดื่มอย่างแน่นอน

ไทยเบฟเวอเรจ ภูมิใจที่ได้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการ SPACE-F ในตลอด 3 ปีที่ผ่านมา และเรามองว่า SPACE-F จะเป็นเวทีสำคัญในการผลักดันวาระความยั่งยืนในระดับโลก”

ทำความรู้จักกับ 8 สตาร์ทอัพที่ร่วมโชว์ผลงาน

· AlgaHealth (อิสราเอล): ผู้คิดค้นและผลิตอาหารเสริมสารสกัด Fucoxanthin จากสาหร่าย ซึ่งมีส่วนช่วยในการลดไขมันในเลือด

· AmbrosiaBio (อิสราเอล): ผู้พัฒนาและออกแบบสารทดแทนน้ำตาลที่ไม่ก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพ เช่น โรคอ้วน หรือเบาหวาน โดยไม่ทำให้รสชาติเปลี่ยนแปลง

· Lypid (สหรัฐอเมริกา): ไขมันจากพืชสำหรับการผลิตโปรตีนทดแทนที่มีคุณภาพเทียบเท่ากับเนื้อสัตว์

· MOA (สเปน): ผู้พัฒนาและผลิตแหล่งโปรตีนใหม่ ๆ อย่างยั่งยืนจากการ Upcycling วัตถุดิบจากกลุ่มอุตสาหกรรมอาหาร

· Pullulo (สิงคโปร์): ผู้ผลิตโปรตีนทดแทน จากการ Upcycling วัตถุดิบจากภาคการเกษตรโดยใช้เทคโนโลยีการหมัก (Fermentation technology)

· Seadling (มาเลเซีย): ผลิตภัณฑ์อาหารและอาหารเสริมสำหรับสัตว์เลี้ยงผลิตจากสาหร่าย

· TeOra (สิงคโปร์): ผู้คิดค้นเทคโนโลยีที่ช่วยป้องกันโรคและส่งเสริมการเจริญเติบโตของการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ

· The Leaf Protein Co. (ออสเตรเลีย): ผู้สร้างและผลิตโปรตีนทดแทนจากใบไม้ด้วยกรรมวิธีที่ยั่งยืน

สตาร์ทอัพผู้เข้าร่วมโครงการได้ให้สัมภาษณ์ และกล่าวถึงความรู้สึกเกี่ยวกับการเข้าร่วมโครงการ และกิจกรรม SPACE-F Batch 4 Accelerator Demo Day ว่า พวกเขารู้สึกตื่นเต้นที่ได้เป็นส่วนหนึ่งของโปรแกรม SPACE-F โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการเข้าร่วมวัน Accelerator Demo Day นี้ พวกเขาได้พบกับผู้ที่มีความสามารถอันหลากหลาย พร้อมได้สร้างเสริมสัมพันธ์กับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียจากภายในงานอันเป็นส่วนหนึ่งของระบบนิเวศน์ด้านเทคโนโลยีอาหาร โปรแกรมนี้เป็นโอกาสที่ดีสำหรับพวกเขาในการร่วมมือกับพันธมิตรองค์กรและทุก ๆ ภาคส่วน พวกเขาได้เรียนรู้หลายอย่างจากประสบการณ์ต่าง ๆ จากผู้เชี่ยวชาญในโครงการ พร้อมทั้งได้รับข้อมูลและข้อเสนอแนะมากมายที่พวกเขาสามารถนำไปใช้กับแผนการนำร่องนวัตกรรมของตัวเองได้

ศาสตราจารย์ นพ.บรรจง มไหสวริยะ อธิการบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ปิดท้ายงาน SPACE-F Batch 4 Accelerator Demo Day ว่า รู้สึกยินดีที่ได้เป็นส่วนหนึ่งของงานที่ประสบความสำเร็จ จากที่มีผู้เข้าร่วมจำนวนมากให้ความสนใจนวัตกรรมด้านอาหาร และอยู่ร่วมกิจกรรมตั้งแต่ต้นจนจบช่วง Pitching “มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นผู้สนับสนุนในด้านสิ่งอำนวยความสะดวกและอุปกรณ์การวิจัยด้านเทคโนโลยีอาหาร พร้อมด้วยผู้เชี่ยวชาญในสาขาต่าง ๆ ที่พร้อมให้การสนับสนุนและอำนวยความสะดวกแก่ผู้ประกอบการด้านเทคโนโลยีอาหาร ซึ่งในโครงการ SPACE-F รุ่นต่อ ๆ ไป ทางคณะวิทยาศาสตร์ และสถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรม มหาวิทยาลัยมหิดล ได้ทุ่มเทและพยายามอย่างเต็มที่เพื่อที่จะบรรลุเป้าหมายการขับเคลื่อนนวัตกรรมตามวิสัยทัศน์และพันธกิจของโครงการ SPACE-F เพื่อช่วยส่งเสริมสตาร์ทอัพและสร้าง “ระบบนิเวศน์ด้านเทคโนโลยีอาหาร ทั้งในมหาวิทยาลัยของไทยและในระดับประเทศ”

คุณแจโฮ ลี หัวหน้าทีมพัฒนาอาหารและยา บริษัท ล็อตเต้ ไฟน์ เคมิคอล จำกัด ในฐานะตัวแทนจากบริษัทที่ล่าสุดได้เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของผู้สนับสนุนของโครงการ ได้เสริมอีกว่า “สำหรับโครงการ SPACE-F ทางล็อตเต้ได้ให้การสนับสนุนในเรื่องของการลงทุนและได้ให้ความร่วมมือกับองค์กรทุกภาคส่วนในโครงการ ตั้งแต่รุ่นที่ 3 เป็นต้นมา โดยล็อตเต้วางแผนที่จะลงทุนในสตาร์ทอัพอย่างต่อเนื่องรวมถึงการแบ่งปันความรู้ของล็อตเต้ให้กับสตาร์ทอัพ โดยเรามีจุดประสงค์เพื่อสร้างรากฐานความยั่งยืนของนวัตกรรมอาหารเพื่อเด็ก ๆ มนุษยชาติ และโลกของเราที่สวยงาม มาร่วมสร้างการเดินทางสู่ความสำเร็จครั้งใหม่ไปด้วยกัน”

ด้วยผู้เข้าร่วมที่มากกว่า 200 คน ซึ่งประกอบไปด้วยผู้บริหาร และพนักงานจากหน่วยงานภาครัฐ และภาคเอกชน นักลงทุน ผู้ประกอบธุรกิจ ทั้งไทย และต่างประเทศ และผู้เข้าร่วมอื่น ๆ ที่ให้ความสนใจ นับเป็นความสำเร็จของ SPACE-F Batch 4 Accelerator Demo Day ที่เปิดโอกาสให้สตาร์ทอัพภายใต้โครงการได้เปิดตัวต่อเครือข่ายคู่ค้า เพื่อเชื่อมโยงความเป็นไปได้ และโอกาสทางธุรกิจ ซึ่งนับเป็นก้าวสำคัญของการสร้างระบบนิเวศนวัตกรรมในประเทศไทยให้เติบโตอย่างยั่งยืน

สถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจ ศศินทร์ แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (Sasin School of Management) และ บริษัท เอสซีจี เคมิคอลส์ จำกัด (มหาชน) หรือ SCGC ธุรกิจเคมีภัณฑ์เพื่อความยั่งยืน เฟ้นหาสุดยอดทีมพัฒนาแผนธุรกิจสตาร์ตอัปที่มุ่งเน้นความยั่งยืน SCG Bangkok Business Challenge @ Sasin 2023 ในรอบ Global Competition เปิดรับสมัครนิสิต-นักศึกษาระดับปริญญาตรี โท เอก ทุกสาขาจากมหาวิทยาลัยทั่วโลก ที่มีไอเดียทางด้านนวัตกรรมและสุดยอดแผนธุรกิจเพื่อตอบโจทย์สังคมและความยั่งยืน ชิงถ้วยรางวัลพร้อมเงินสดรวมมูลค่ากว่า 42,000 เหรียญสหรัฐ หรือกว่า 1,400,000 บาท

ทั้งนี้ SCG Bangkok Business Challenge @ Sasin เป็นการแข่งขันวางแผนธุรกิจสตาร์ตอัปภาคภาษาอังกฤษที่จัดขึ้นมาต่อเนื่องยาวนานที่สุดในเอเชีย โดยเปิดโอกาสให้นิสิต-นักศึกษาทั่วโลกมาแสดงความสามารถในการวางแผนธุรกิจของตนเอง และในปีนี้ได้จัดขึ้นภายใต้แนวคิด “Growing Impactful Ventures” เน้นให้เกิดผลงานที่มีความสร้างสรรค์ในมุมมองใหม่ ๆ และผลักดันให้ทีมผู้เข้าแข่งขันทำธุรกิจที่เกิดความยั่งยืน ตลอดจนมีความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม

ผู้สนใจสามารถสมัครเข้าร่วมการแข่งขัน Global Competition ได้ตั้งแต่วันนี้ถึง 30 เมษายน 2566 โดยงานแข่งขันรอบ Semi-final ถึงรอบ Final จะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 22 – 24 มิถุนายน 2566 ที่ ศศินทร์ ร่วมชิงถ้วยรางวัลพร้อมเงินสด รวมทั้งโอกาสในการ networking กับทีมต่าง ๆ ทั่วโลก

มาร่วมเป็นหนึ่งในทีมนิสิต-นักศึกษาไทยที่ก้าวไกลสู่เวทีระดับโลก ด้วยไอเดียและนวัตกรรมสุดสร้างสรรค์ สมัครได้แล้ววันนี้ที่ https://bit.ly/apply2bbcgl2023 สนใจข้อมูลเพิ่มเติม https://bbc.sasin.edu/2023/ หรือ Facebook page: bangkokbusinesschallenge

C-Lab ทำลายสถิติคว้า 29 รางวัลจากงาน CES 2023 Innovation Awards

ซัมซุงกับความสำเร็จในการพัฒนาสตาร์ทอัพและโครงการมากกว่า 500 รายการในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา

ซัมซุงประกาศเปิดนิทรรศการแสดงสุดยอดนวัตกรรมที่พัฒนาผ่านโครงการ C-Lab ในงาน CES 2023 ที่จัดขึ้นสำหรับประชาชนทั่วไป โดยซัมซุงวางแผนเปิดตัว 4 โครงการล่าสุดที่พัฒนาโดย C-Lab Inside ซึ่งเป็นโครงการเพื่อขับเคลื่อนองค์กร รวมไปถึงโครงการจากสตาร์ทอัพ 8 แห่งที่ได้รับการสนับสนุนจาก C-Lab Outside ซึ่งเป็นอีกหนึ่งโปรแกรมในการสนับสนุนสตาร์ทอัพในการคิดค้นนวัตกรรมไปสู่จุดหมาย โดยผู้เข้าชมสามารถเยี่ยชมโครงการนวัตกรรมได้ที่ Eureka Park ในลาสเวกัส สหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นพื้นที่จัดแสดงหลักสำหรับสตาร์ทอัพมากมายจากทั่วโลก ตั้งแต่วันที่ 5-8 มกราคม 2566 ทั้งนี้สตาร์ทอัพที่ได้รับการสนับสนุนจาก C-Lab จะร่วมเป็นส่วนหนึ่งในตลาดโลกด้วยการแสดงผลงานผ่านนิทรรศการ CES เพื่อเสริมสร้างความเป็นไปได้ทางธุรกิจ และพบปะกับนักลงทุนที่มีศักยภาพ

C-Lab Inside: โครงการ Metaverse และโครงการสร้างสรรค์ไลฟ์สไตล์โดยพนักงานของซัมซุง พร้อมสู่เวทีโลก

ตั้งแต่ปี 2559 เป็นต้นมา ซัมซุงได้จัดงาน C-Lab Inside เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของนิทรรศการ CES โดยโครงการที่นำมาเสนอในปี 2566 เป็น 4 โครงการที่ได้รับการประเมินในระดับสูงทางด้านนวัตกรรมและความสามารถในการสร้างการเติบโตทางการตลาดได้ ดังนี้

• Meta-Running แพลตฟอร์ม metaverse เพื่อการเรียนรู้รูปแบบในการวิ่งที่เหมาะสม

• Porkamix แพลตฟอร์ม metaverse ที่จัดเตรียมงานคอนเสิร์ตในรูปแบบอินเตอร์แอคทีฟ

• Soom ประสบการณ์การทำสมาธิพร้อมคำแนะนำแบบเรียลไทม์

• Falette การจำลองรูปแบบ 3D สำหรับผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ในบ้านที่ทำจากผ้าผ่านระบบดิจิทัล

C-Lab Outside: สตาร์ทอัพพร้อมโชว์ เทคโนโลยี AI และอีกมากมาย ฉายแสงสู้ในงาน CES

C-Lab Outside จัดตั้งขึ้นตั้งแต่เดือนตุลาคม 2561 เพื่อสนับสนุนสตาร์ทอัพในการพัฒนาโครงการต่างๆ อย่างรวดเร็ว และกระตุ้นให้เกิดความเคลื่อนไหวในวงการสตาร์ทอัพในประเทศเกาหลีใต้ สตาร์ทอัพที่ลงทะเบียนในโปรแกรม C-Lab Outside จะได้รับการจัดสรรพื้นที่สำนักงาน พร้อมรับคำปรึกษาจากผู้เชี่ยวชาญจากพนักงานของ ซัมซุง รวมไปถึงการให้คำปรึกษาด้านการตลาดดิจิทัลและการเงิน การสนับสนุนเพิ่มเติมรวมไปถึงความร่วมมืออย่างมีศักยภาพกับ ซัมซุง และโอกาสในการเข้าร่วมนิทรรศการด้านไอทีที่ทรงอิทธิพล อย่าง CES และ KES (Korea Electronics Show)

ในปีที่ผ่านมา ซัมซุง Daegu Center และ Gyeong-buk Center for Creative Economy & Innovation ซึ่งเป็นหน่วยงานหนึ่งของโครงการ C-Lab Outside ได้บ่มเพาะสตาร์ทอัพเหล่านี้เพื่อพัฒนาเทคโนโลยีของตนและพร้อมที่จะแสดงผลงานในเวทีโลก ณ งาน CES 2023 โดย 8 สตาร์ทอัพที่ได้รับการคัดเลือก ได้แก่

• NdotLight โซลูชันสำหรับงานออกแบบ 3 มิติผ่านเว็บไซต์

• NEUBILITY บริการจัดส่งในพื้นที่เมืองผ่านหุ่นยนต์ไร้คนขับ

• 40FY แอปพลิเคชันการให้การบริการดูแลสุขภาพจิต ตั้งแต่การประเมินไปสู่การรักษาผ่านระบบ

ดิจิทัล CELLICO การฝังดวงตาเทียมแบบอิเลคโทรนิคส์ สำหรับผู้ป่วยโรคจอประสาทตาเสื่อม

• Plask ระบบ AI และเครื่องมือจับการเคลื่อนไหวและแก้ไขภาพเคลื่อนไหวผ่านเบราว์เซอร์

• Wrn Technologies บริการฝึกการเขียนและสร้างคอนเทนต์ผ่านเทคโนโลยี Generative AI

• Catius หุ่นยนต์ AI เพื่อนสนทนาโต้ตอบสำหรับเด็ก

• Erangtek เครื่องขยายสัญญาณในการควบคุมระบบ IoT ภายในบ้านเพื่อปรับปรุงคุณภาพ

สัญญาณโทรศัพท์

สตาร์ทอัพ C-Lab ทำลายสถิติคว้า 29 รางวัลจากงาน CES 2023 Innovation Awards

ในเดือนพฤศจิกายน 2022 สมาคม Consumer Technology Association (CTA) ได้ประกาศรายชื่อผู้ที่ได้รับรางวัล CES 2023 Innovation Awards สำหรับผลิตภัณฑ์ใน 28 หมวดหมู่ รวมไปถึง Best of Innovation โดยโครงการจากสตาร์ทอัพของโครงการ C-Lab คว้ารางวัล Best of Innovation Awards ไปถึง 2 รางวัล และได้รับรางวัล Innovation Awards อีก 27 รางวัล ส่งผลให้ C-Lab ได้สร้างเกียรติประวัติให้ประเทศด้วยการคว้ารางวั ลInnovation Awards มากถึง 22 รางวัลในปี 2565 และอีก 7 รางวัลในปี 2566 สำหรับเทคโนโลยีที่โดดเด่น

ซัมซุงเผยถึงกุญแจแห่งความสำเร็จในการคว้ารางวัลอันมากมายจากเวที CES Innovation Award และการก้าวเข้าสู่ตลาดโลกโดย Hark Kyu Park ประธานและประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายการเงินของ บริษัท ซัมซุง อิเลคโทรนิคส์ จำกัด กล่าวว่า "เป็นเรื่องน่ายินดีอย่างยิ่งที่สตาร์ทอัพที่ได้รับการสนับสนุนจาก C-Lab ได้พิสูจน์ความสามารถทางเทคโนโลยีของตนในเวทีระดับโลก พิสูจน์ได้จากรางวัลด้านนวัตกรรมที่มากที่สุดเท่าที่เคยมีมาในงาน CES เราหวังว่าสตาร์ทอัพ C-Lab จะมุ่งมั่นในการบุกตลาดโลกอย่างแข็งขันมากขึ้น และแสดงให้เห็นถึงความเป็นเลิศของสตาร์ทอัพในเกาหลีใต้"

หนึ่งในบริษัทที่โดดเด่นอย่าง Dot Inc. ซึ่งเป็นผู้พัฒนาอุปกรณ์และซอฟต์แวร์สำหรับผู้พิการทางสายตา ได้รับการเสนอชื่อให้เป็นผู้ชนะรางวัล CES 2022 Best of Innovation Award ในหมวดความช่วยเหลือเพื่อเข้าถึงระบบการทำงาน และยังได้รับการเสนอชื่อให้เป็นผู้ได้รับรางวัล CES Innovation Awards อีก 2 รางวัล

และบริษัท Verses ผู้พัฒนาระบบ Meta Music สำหรับการสตรีมได้รับการเสนอชื่อให้เป็นผู้ชนะรางวัล CES 2023 Best of Innovation Award ในหมวดการสตรีมอีกด้วย

ทั้งนี้ สตาร์อัพ 7 ใน 8 บริษัทที่ได้เข้าร่วมเปิดบูธในงานนิทรรศการ C-Lab ได้แก่ NEUBILITY, 40FY, NdotLight, CELLICO, Plask, Catius, และ Wrtn Technologies สามารถคว้ารางวัล Innovation Awards ในปีนี้ไปครอง

นอกจากนี้ สตาร์ทอัพที่แจ้งเกิดจาก C-Lab Inside ที่ปัจจุบันมีการดำเนินธุรกิจเป็นของตนเอง ได้คว้ารางวัลไปถึง 7 รายการ และสตาร์ทอัพศิษย์เก่าจาก C-Lab Outside 11 บริษัท ได้รับรางวัล Best of Innovation Awards จำนวน 2 รางวัล และรางวัล Innovation Awards จำนวน 20 รางวัล

ซัมซุงบรรลุเป้าหมายในการบ่มเพาะสตาร์ทอัพและโปรเจ็กต์ 500 รายการในระยะเวลาเพียง 5 ปี

ในปี 2561 ซัมซุง ประกาศเป้าหมายในการพัฒนาสตาร์ทอัพเกาหลีใต้ 300 โครงการ ผ่าน โปรแกรม C-Lab Outside และ อีก 200 โครงการผ่าน C-Lab Inside โดยภายในระยะเวลา 5 ปี บริษัทมุ่งมั่นที่จะบ่มเพาะสตาร์ทอัพและโครงการทั้งหมด 506 รายการ (304 จาก C-Lab Outside และ 202 จาก C-Lab Inside)

นอกจากนี้ ซัมซุงได้จัดตั้งโครงการ C-Lab Family ซึ่งเป็นเครือข่ายมืออาชีพอันโดดเด่น จัดตั้งขึ้นเพื่อเป็นการรวมตัวของศิษย์เก่าสตาร์ทอัพที่ยินดีทำงานร่วมกับซัมซุงแม้ว่าจะจบการศึกษาจากโครงการ C-Lab Outside ไปแล้ว หรือปัจจุบันได้ดำเนินธุรกิจของตัวเอง นอกจากนี้ยังได้จัดตั้ง C-Lab Scale-Up Committee และวางแผนที่จะค่อยๆ ขยายความร่วมมือและการลงทุนสำหรับ C-Lab Family ในอนาคต

 

 กันยายน 2565 – ไมโครซอฟท์ ประเทศไทย ตอกย้ำความมุ่งมั่นในการสนับสนุนสตาร์ทอัพทั่วไทยในกิจกรรม “Microsoft Founders Society” ที่เชิญชวนผู้ประกอบการสตาร์ทอัพ B2B (Business-to-Business) มาตามติดความเคลื่อนไหวล่าสุดจากไมโครซอฟท์ ต่อยอดจากโครงการ “Microsoft Founders Program for Startups” โครงการสนับสนุนสตาร์ทอัพของไมโครซอฟท์ ที่มุ่งยกระดับสตาร์ทอัพไทย พร้อมช่วยสร้างโอกาสในการเข้าถึงทรัพยากรที่จำเป็นมากมาย อาทิ โอกาสในการเข้าถึงเงินทุน ความรู้ความเชี่ยวชาญจากที่ปรึกษามืออาชีพ ตลอดจนข้อมูลเชิงลึกที่สำคัญ เพื่อผลักดันผู้ก่อตั้งสตาร์ทอัพและทีมงานให้เดินหน้าไปได้อย่างเต็มกำลัง ภายใต้ความเชื่อที่ว่าทุกคน ทุกแนวคิด ควรได้รับโอกาสให้สร้างสรรค์และเติบโต พร้อมแนะนำโครงการ Microsoft for Corporate Venture Building และ M12 กองทุน Venture Capital ระดับโลกของไมโครซอฟท์ นอกจากนี้ยังได้รับเกียรติจาก คุณชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เข้าร่วมพูดคุยเกี่ยวกับอนาคตของสตาร์ทอัพไทยในตลาดโลก ความร่วมมือระหว่างสตาร์ทอัพและหน่วยงานภาครัฐ รวมถึงมองหาโอกาสในการสร้างความร่วมมือในการพัฒนาเมืองร่วมกันในอนาคต

คุณธนวัฒน์ สุธรรมพันธุ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ ไมโครซอฟท์ ประเทศไทย กล่าวว่า “ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา ไมโครซอฟท์ได้มองเห็นศักยภาพของสตาร์ทอัพไทยที่จะเข้ามามีบทบาทและเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยกันสร้างเศรษฐกิจและสังคมในหลายภาคส่วน ดังนั้นเพื่อยกระดับและขับเคลื่อนศักยภาพของสตาร์ทอัพไทยให้เดินหน้าอย่างเต็มกำลังความสามารถ เราจึงขอร่วมเป็นฟันเฟืองหนึ่งในการผลักดันและส่งเสริมสตาร์ทอัพในประเทศเดินหน้าสร้างสรรค์ธุรกิจไปพร้อมๆ กับเปลี่ยนแปลงสังคมให้ดีขึ้น ด้วยการผสานความรู้ความเชี่ยวชาญ ขยายความสามารถในการเข้าถึงทรัพยากรทางเทคโนโลยี พร้อมมอบโอกาสในการเข้าถึงตลาดร่วมกับพันธมิตรที่หลากหลาย เพื่อปลดล็อคสตาร์ทอัพไทยให้เติบโตได้อย่างมีประสิทธิภาพต่อไป”

สตาร์ทอัพที่เข้าร่วมโครงการ “Microsoft Founders Program for Startups” จะได้รับการสนับสนุนทรัพยากรด้านเทคโนโลยี การเข้าถึงแหล่งเงินทุน รวมถึงสิทธิประโยชน์ในสองด้านหลักๆ ดังต่อไปนี้

· เทคโนโลยีที่ขับเคลื่อนการสรรสร้างนวัตกรรมและดำเนินธุรกิจ

o ได้รับเครดิตสำหรับใช้งานคลาวด์ Azure (มูลค่าตามระดับของสตาร์ทอัพแต่ละราย)

o สามารถใช้งานโซลูชันจากไมโครซอฟท์อย่าง Microsoft 365 Business Standard, Power BI Pro, GitHub Enterprise, Dynamics และ Power Platform เพื่อดำเนินธุรกิจและสร้างสรรค์ผลงานต่อไป

o ร่วมเป็นส่วนหนึ่งของเครือข่ายนักพัฒนาและสตาร์ทอัพของไมโครซอฟท์

o ร่วมเรียนรู้การใช้งาน Azure และสอบรับ certificate ระดับมืออาชีพแบบฟรีๆ

· โอกาสในการเข้าถึงลูกค้าและพัฒนาธุรกิจ พร้อมคำปรึกษาแบบเฉพาะตัว

o ได้รับคำปรึกษาจากผู้เชี่ยวชาญของไมโครซอฟท์ 12 ชั่วโมงเต็มในปีแรกที่เข้าร่วมโครงการ

o ได้รับงบการตลาดสูงสุดเป็นมูลค่า 2,000 USD ต่อไตรมาส

o มีโอกาสในการร่วมงานสัมมนาออนไลน์ของไมโครซอฟท์ในประเทศไทยและทั่วภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก เพื่อนำเสนอโซลูชันให้ลูกค้าได้สัมผัส

o โซลูชันที่ผ่านเกณฑ์ด้านความปลอดภัยจะรับตรารับรองในด้านดังกล่าวจากไมโครซอฟท์

o มีโอกาสในการร่วมกันเสนอขายโซลูชันออกสู่ตลาดร่วมกับไมโครซอฟท์และเครือข่ายพันธมิตร

ทางไมโครซอฟท์ยังมี Microsoft for Corporate Venture Building ซึ่งเป็นโครงการใหม่ที่มุ่งให้การสนับสนุนกลุ่มธุรกิจใหม่ในเครือขององค์กรขนาดใหญ่ ซึ่งอาจมีคุณสมบัติไม่ตรงกับโครงการสนับสนุนธุรกิจในระดับสตาร์ทอัพ โดยโครงการนี้ให้การสนับสนุนทั้งในเชิงความเชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยี กระบวนการสร้างสรรค์นวัตกรรม การเข้าถึงเครือข่ายพันธมิตร การลงทุน และช่องทางการทำตลาด ซึ่งธุรกิจที่เข้าร่วมโครงการจะได้รับการสนับสนุนมากมาย อาทิ

· เทคโนโลยีที่ขับเคลื่อนการพัฒนาโซลูชัน อย่าง คลาวด์ Azure และ GitHub ตามมาด้วยนวัตกรรมด้านความปลอดภัยอย่าง Azure Confidential Computing ครอบคลุมการใช้งาน หรือแบ่งปันข้อมูลโดยที่เข้ารหัสเพื่อรักษาข้อมูลให้เป็นความลับจากบุคคลภายนอก และอื่นๆ อีกมากมาย

· การดำเนินธุรกิจแบบวันต่อวันด้วยแรงสนับสนุนจากเครือข่ายพาร์ทเนอร์ของไมโครซอฟท์ พร้อมด้วยตัวช่วยอย่าง LinkedIn เพื่อการเฟ้นหาบุคลากร นวัตกรรมด้านความปลอดภัยของไมโครซอฟท์ เพื่อบริหารจัดการอุปกรณ์ต่างๆ ในองค์กร และ Microsoft 365 เพื่อการทำงานเอกสารและติดต่อประสานงาน เป็นต้น

 

นอกจากนี้ ภายในงานยังมีการแนะนำ M12 กองทุน Venture Capital ของไมโครซอฟท์ให้กับเหล่าบรรดาสตาร์ทอัพได้รู้จักกัน โดย M12 เฟ้นหาธุรกิจและสตาร์ทอัพเฉพาะในกลุ่ม B2B (Business to Business) หรือ B2B2C (Business to Business to Consumer) ที่มีศักยภาพ เพื่อร่วมลงทุนและสนับสนุนให้เติบโตสู่ตลาดโลก โดยปัจจุบัน M12 มีบริษัทที่ลงทุนไปในพอร์ทโฟลิโอรวมทั้งสิ้น 120 บริษัท ซึ่งในจำนวนนี้ มีสตาร์ทอัพที่เข้าตลาดหลักทรัพย์หรือขายกิจการ (exit) รวมแล้วเกินกว่า 20 ราย และมีสตาร์ทอัพในระดับยูนิคอร์นเกินกว่า 15 ราย ขณะที่ M12 มุ่งลงทุนกับสตาร์ทอัพที่พัฒนาเทคโนโลยีใน 7 ด้านใหญ่ๆ ได้แก่

1. Vertical Software-as-a-Service เช่น โซลูชัน Fintech, Supply chain หรือ Commerce

2. โครงสร้างพื้นฐานบนคลาวด์

3. ความปลอดภัยและการยืนยันตัวตนในโลกดิจิทัล

4. Web3, Metaverse และเกม

5. DevOps และเครื่องมือเพื่อการพัฒนาซอฟต์แวร์

6. โซลูชันด้านสุขภาพและร่างกาย

7. ระบบอัตโนมัติต่างๆ

การรวมตัวของคอมมูนิตี้สตาร์ทอัพในครั้งนี้ ปิดท้ายด้วยการพูดคุยพิเศษระหว่าง คุณธนวัฒน์ สุธรรมพันธุ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ ไมโครซอฟท์ ประเทศไทย และคุณชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ในหัวข้อ “อนาคตของสตาร์ทอัพไทยในตลาดโลก” สะท้อนมุมมองการทำงานร่วมกันระหว่างสตาร์ทอัพและหน่วยงานภาครัฐ มองหาโอกาสในการสร้างความร่วมมือร่วมกัน ตลอดจนการดึงดูดสตาร์ทอัพและบุคคลที่มีความสามารถจากทั้งในไทย และทั่วโลกให้เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาเมือง

คุณชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร กล่าวว่า “ผู้บริหารต้องมีความชื่อมั่นในเทคโนโลยีว่าจะสามารถแก้ปัญหาเมืองได้ รวมถึงมั่นใจในสตาร์ทอัพว่าจะเข้ามาช่วยได้เช่นกัน ส่วนตัวเชื่อว่า การดิสรัปโมเดลธุรกิจเดิม กับ การสเกล คือหัวใจของการแก้ไขปัญหาเมืองที่แท้จริง เพราะสิ่งเหล่านี้จะเข้าไปช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของเมืองอย่างมหาศาล เช่น โครงการนวัตกรรมโรงเรียนของกทม. ที่ตอนนี้มีโรงเรียนกว่า 54 โรงนำร่องเข้าร่วม Sandbox โดยการนำเอา EdTech (Education Technology) เทคโนโลยีการศึกษาเข้าไปช่วยยกระดับการศึกษาให้ทันสมัยและกว้างไกลยิ่งขึ้น ตลอดจนช่วยลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา ขณะที่กรุงเทพมหนครพร้อมเป็น Sandbox ขนาดใหญ่เปิดรับสตาร์ทอัพที่สนใจ มีแนวทางการแก้ไข และแผนงานรองรับเข้ามาพูดคุยและแก้ไขปัญหาเมืองร่วมกัน”

คุณชัชชาติย้ำถึงพื้นฐานในการแก้ปัญหาเมืองของสตาร์ทอัพอีกว่าต้องยึดแนวคิด People Centric หรือมอง

ประชาชนเป็นที่ตั้ง ถือเป็นหลักในการคิดโซลูชันต่างๆ เพื่อตอบโจทย์ผู้คน ขณะเดียวกันตัวสตาร์ทอัพเองก็ต้องอยู่รอดให้ได้ ซึ่งมีด้วยกัน 3 องค์ประกอบหลัก คือ

1. เทคโนโลยีต้องเป็นไปได้: Technology → Possible

2. ธุรกิจเปลี่ยนแปลงได้: Business → Variable

3. ผู้คนออกแบบการใช้ชีวิตของตัวเองได้: People → Designable

โดยจุดร่วมของทั้ง 3 วงนั้นคือคำตอบในการแก้ไขปัญหาของเมือง ส่วนการดึงดูดคนที่มีความสามารถและศักยภาพ รวมถึงสตาร์ทอัพเข้ามาตั้งถิ่นฐานในกรุงเทพมหานครนั้น สามารถดำเนินการได้ทางอ้อมด้วยการ “สร้างคุณภาพชีวิตที่ดี ให้เป็นเมืองที่น่าอยู่” ผ่านนโยบายและกิจกรรมต่างๆ อาทิ ดนตรีในสวนเพื่อสร้างความรู้สึกร่วม (Sense of Belonging) สร้างพื้นที่ให้ผู้คนได้มีกิจกรรมทำร่วมกัน ตลอดจนจัดกิจกรรมให้หลากหลายมากขึ้นเพื่อเปิดโอกาสให้ผู้คนได้เลือกสรรกิจกรรมตามความชอบ และมีกิจกรรมอื่นทำนอกเหนือจากการเดินห้าง เป็นต้น

สตาร์ทอัพที่สนใจเข้าร่วมโครงการ Microsoft Founders Program for Startups สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://www.microsoft.com/th-th/smb/isv

Page 1 of 2
X

Right Click

No right click