November 23, 2024

บริษัท บ้านปู เพาเวอร์ จำกัด (มหาชน) หรือ BPP ผู้ผลิตพลังงานไฟฟ้าระดับสากล เผยผลการดำเนินงานครึ่งปีแรก ปี 2567 เป็นที่น่าพอใจ โดยบริษัทฯ มีกำไรสุทธิ 1,659 ล้านบาท และมีกำไรก่อนหักดอกเบี้ย ภาษี ค่าเสื่อมราคา และค่าตัดจำหน่าย (EBITDA) รวม 4,030 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 995 ล้านบาท เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน* พร้อมเริ่มต้นธุรกิจพลังงานหมุนเวียนในสหรัฐฯ ด้วยโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ Ponder Solar มีกำหนดเริ่มดำเนินการเดือนสิงหาคมนี้ ทั้งยังลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือกับ Gemeng International Energy เพื่อขยายการเติบโตของพลังงานสะอาดในจีน

 

นายอิศรา นิโรภาส ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท บ้านปู เพาเวอร์ จำกัด (มหาชน) หรือ BPP กล่าวว่า “โรงไฟฟ้าของ BPP สามารถรักษาเสถียรภาพการผลิตและประสิทธิภาพในการบริหารจัดการต้นทุนการผลิต จึงสามารถสร้างกระแสเงินสดได้อย่างมั่นคง ทั้งนี้ บริษัทฯ ยังคงมุ่งมั่นเปลี่ยนผ่านธุรกิจสู่การเป็นบริษัทผู้ผลิตพลังงานที่ยั่งยืน ผ่านการขยายพอร์ตให้ครอบคลุมมากไปกว่าการเพิ่มกำลังผลิตไฟฟ้า ตามแนวทาง ‘Beyond Megawatts Portfolio’ ทั้งการขยายกำลังผลิตจากโรงไฟฟ้าก๊าซธรรมชาติ การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านพลังงาน (Energy Infrastructure) และการพัฒนาธุรกิจแบตเตอรี่และระบบกักเก็บพลังงาน (Battery & Energy Storage System: BESS)”

ภาพรวมครึ่งปีแรก BPP มีผลการดำเนินงานที่ดี ส่วนสำคัญเกิดจากปริมาณการขายไฟฟ้าที่เพิ่มมากขึ้นของโรงไฟฟ้าแฝด Temple l และ Temple ll ในสหรัฐอเมริกา รวมถึงการรับรู้รายได้จากการเดินเครื่องที่มีประสิทธิภาพและมีค่าความพร้อมจ่ายไฟ (Equivalent Availability Factor: EAF) ในระดับสูงอย่างต่อเนื่องของโรงไฟฟ้าเอชพีซี (HPC) ใน สปป.ลาว และโรงไฟฟ้าบีแอลซีพี (BLCP) ในไทย อีกทั้งโรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วมในจีนยังรายงานผลการดำเนินงานที่ดีจากการบริหารต้นทุนเชื้อเพลิงอย่างมีประสิทธิภาพ

*หมายเหตุ: เทียบกับ EBITDA ที่ไม่รวมกำไรจากการวัดมูลค่าเงินลงทุนใหม่ในปี 2566

นอกจากนี้ บริษัทฯ ยังเดินหน้าขยายการลงทุนในธุรกิจพลังงานหมุนเวียนในประเทศยุทธศาสตร์อย่างต่อเนื่อง โดยล่าสุด ได้ติดตั้งโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ Ponder Solar ขนาด 2.5 เมกะวัตต์ ตั้งอยู่ในพื้นที่แหล่งก๊าซธรรมชาติ บาร์เนตต์ในรัฐเท็กซัส สหรัฐอเมริกา มีกำหนดเริ่มดำเนินการเชิงพาณิชย์ในเดือนสิงหาคม 2567 นับเป็นก้าวแรกที่สำคัญในการขยายธุรกิจพลังงานหมุนเวียนของ BPP ในสหรัฐฯ เพื่อการเติบโตอย่างยั่งยืน นอกจากนี้ BPP ยังได้ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) กับ Gemeng International Energy ในการร่วมพัฒนาธุรกิจพลังงานในรูปแบบใหม่ ธุรกิจระบบจัดเก็บพลังงาน และธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับพลังงานสะอาด เพื่อขยายโอกาสการเติบโตของธุรกิจพลังงานหมุนเวียนในประเทศจีน

 

ด้านธุรกิจเทคโนโลยีพลังงานซึ่ง BPP ได้ลงทุนผ่านบ้านปู เน็กซ์ ในสัดส่วนร้อยละ 50 มีความคืบหน้าในช่วงครึ่งปีแรกที่ผ่านมา โดยธุรกิจผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์บนหลังคา ได้ลงนามสัญญาเพื่อผลิตและจ่ายกระแสไฟฟ้าให้กับพันธมิตรในประเทศต่าง ๆ อย่างต่อเนื่อง ปัจจุบันมีกำลังผลิตตามสัดส่วนการลงทุนรวม 100 เมกะวัตต์ ธุรกิจแบตเตอรี่และระบบกักเก็บพลังงาน เริ่มสายการผลิตแบตเตอรี่ลิเธียมไอออนของโรงงาน SVOLT Thailand และส่งมอบแบตเตอรี่ลิเธียมนิกเกิลแมงกานีสโคบอลต์ออกไซด์ (NMC) ชุดแรกให้กับผู้ให้บริการรถบัสรายใหญ่ที่สุดในไทย ขณะที่โครงการแบตเตอรี่ฟาร์มอิวาเตะ โตโนะ (Iwate Tono) ในญี่ปุ่น มีความคืบหน้าในการก่อสร้างถึง 97% ธุรกิจอีโมบิลิตี้ รถตุ๊กตุ๊กไฟฟ้า MuvMi เดินหน้าขยายเส้นทางการให้บริการอย่างต่อเนื่อง ปัจจุบันได้ให้บริการรับส่งแล้วมากกว่า 13 ล้านเที่ยว ธุรกิจการบริหารจัดการพลังงาน ได้ลงนามในสัญญาบริการจำนวน 25 สัญญาให้แก่ SB Design Square ในจังหวัดภูเก็ต และ SB Design Square CDC ในกรุงเทพฯ นอกจากนี้ หน่วยงาน Corporate Venture Capital ยังได้ลงทุนใน enspired ผู้นำในการพัฒนาแพลตฟอร์มให้บริการซื้อ-ขายพลังงานไฟฟ้าแบบเรียลไทม์ ซึ่งจะช่วยพัฒนาศักยภาพด้านเทคโนโลยี AI ที่จะยกระดับการดำเนินงานในธุรกิจแบตเตอรี่และการซื้อขายพลังงานของบ้านปู เน็กซ์

“BPP จะยังคงเดินหน้าขยายกำลังผลิตไฟฟ้าคุณภาพจากโรงไฟฟ้าที่มีก๊าซธรรมชาติที่มีประสิทธิภาพสูงในการผลิตและลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ เพื่อสร้างกระแสเงินสดที่มั่นคง และพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่ ๆ ให้ตอบสนองต่อความต้องการไฟฟ้าที่เพิ่มสูงขึ้นและรูปแบบการใช้พลังงานในอนาคต สะท้อนให้เห็นว่า เราคือพันธมิตรที่แข็งแกร่งในการเปลี่ยนผ่านพลังงาน ควบคู่ไปกับการดำเนินธุรกิจโดยยึดหลัก ESG ให้ความสำคัญกับสิ่งแวดล้อม สังคม และการกำกับดูแลกิจการ ที่มุ่งส่งมอบคุณค่าที่ยั่งยืนแก่ผู้ถือหุ้นและผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่ม” นายอิศรา กล่าวปิดท้าย

ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับธุรกิจ BPP ได้ที่ www.banpupower.com

ในการต่อสู้กับสภาวะเงินเฟ้อ ธนาคารกลางสหรัฐฯ (FED) ได้ขึ้นอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 0.75 ในการประชุมครั้งล่าสุดในเดือนกันยายน ซึ่งนับเป็นการเพิ่มขึ้นมาทั้งหมดร้อยละ 3 ตั้งแต่ต้นปี 2565 อัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้นนั้นส่งผลกระทบกับเศรษฐกิจ ผู้บริโภคลดการใช้จ่ายและส่งผลกระทบต่อผลกำไรที่ลดลงของธุรกิจจำนวนมาก ท่ามกลางสถานการณ์ของอัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้น นายยุทธชัย เตยะราชกุล รองกรรมการผู้จัดการใหญ่บุคคลธนกิจ ธนาคารยูโอบี ประเทศไทย ได้แบ่งปันมุมมองเกี่ยวกับกลยุทธ์การลงทุนที่นักลงทุนสามารถใช้ในช่วงเวลาแห่งความไม่แน่นอนนี้

หลังจากขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีก 75 bps หรือร้อยละ 0.75 เป็นครั้งที่สามจากการขึ้นดอกเบี้ยหลายครั้งในปีนี้ นายเจอโรม พาวเวล ประธานธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) กล่าวว่า “เพื่อควบคุมอัตราเงินเฟ้อโดยไม่เกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอย แต่เฟดได้ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยสู่ระดับ 3 ถึงร้อยละ 3.25 ซึ่งถือเป็นการคุมเข้มทางการเงินครั้งรุนแรงที่สุดของเฟดนับตั้งแต่ทศวรรษ 1980”

อย่างไรก็ตาม เศรษฐกิจของสหรัฐฯ เรียกได้ว่าเข้าสู่ภาวะถดถอยเชิงเทคนิค จากข้อมูลผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ไตรมาสสอง มีรายงานว่าลดลงร้อยละ 0.9 GDP และลดลงร้อยละ 1.6 ในไตรมาสแรก ซึ่งหมายความว่าเศรษฐกิจสหรัฐฯ หดตัวติดต่อกัน 2 ไตรมาส ในมุมมองของธนาคารยูโอบีคาดว่าเศรษฐกิจจะชะลอตัว ตามมาด้วยภาวะเศรษฐกิจถดถอยแบบตื้น (Shallow recession) เนื่องจากงบดุลของภาคครัวเรือนยังแข็งแรง และหนี้สินที่ยังไม่มากเกินไป การเกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอยอาจไม่รุนแรง สิ่งสำคัญที่สุดคือเราอยู่ในช่วงปลายของวัฏจักรเศรษฐกิจพร้อมกับการเติบโตที่ชะลอตัวลง และถึงเวลาที่เราต้องเตรียมรับมือ และกลยุทธ์การลงทุนเมื่อธนาคารกลางแห่งสหรัฐฯ ขึ้นอัตราดอกเบี้ยได้แก่

ลงทุนอย่างต่อเนื่องพร้อมตระหนักถึงเป้าหมายและความเสี่ยงที่รับได้

ขั้นตอนแรกในการลงทุนคือการทำความเข้าใจวัตถุประสงค์ของการลงทุน กำหนดระดับความเสี่ยงที่นักลงทุนยอมรับได้ และประเภทผลิตภัณฑ์ที่เหมาะสมกับความเสี่ยง การมีเป้าหมายทางการเงินที่ชัดเจนสามารถช่วยกำหนดกรอบเวลาการลงทุน และทราบถึงระดับความเสี่ยงที่นักลงทุนสามารถทนต่อความผันผวนของการลงทุน

กระจายแหล่งรายได้ด้วยสินทรัพย์ที่หลากหลาย เช่น ตราสารหนี้ที่มีคุณภาพ, หุ้นปันผล และสินทรัพย์ที่แท้จริง เช่น อสังหาริมทรัพย์

สำหรับการลงทุนในตราสารหนี้ เราคิดว่าตราสารหนี้คุณภาพสูงที่มีการจัดอันดับ BBB ขึ้นไปและออกโดยบริษัทที่มีพื้นฐานที่ดี มีอัตราการกู้ยืมต่ำ และมีแหล่งรายได้จากหลากหลายช่องทางเป็นตัวเลือกที่ดี บริษัทเหล่านี้มีแนวโน้มที่จะมีสถานะกระแสเงินสดที่แข็งแกร่ง มีความสามารถในการชำระคืนที่ดีและให้รายได้ที่มั่นคงสำหรับนักลงทุน สินทรัพย์ประเภท อสังหาริมทรัพย์ เช่น โครงสร้างพื้นฐาน ที่ดิน และทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ (REIT) เป็นวิธีการในการกระจายแหล่งที่มาของรายได้ให้กับนักลงทุน ดังนั้นนักลงทุนสามารถพิจารณาสินทรัพย์เหล่านี้นอกเหนือจากตราสารหนี้และตราสารทุนทั่วไปเพื่อเป็นทางเลือกในการสร้างรายได้

ลงทุนเพื่อรับประโยชน์จากการเปลี่ยนแปลงทางโครงสร้างในระยะยาว และภูมิภาคที่เพิ่งเริ่มฟื้นตัวเพื่อโอกาสในการเติบโต

แม้ว่าเศรษฐกิจโลกอาจได้รับผลกระทบจากความผันผวนในระยะสั้น เช่น การระบาดของโควิด-19 สายพันธุ์ใหม่ๆ หรือความตึงเครียด ความขัดแย้งทางการเมือง นักลงทุนยังสามารถมุ่งเน้นไปที่การลงทุนในโครงสร้างระยะยาวที่มีเสถียรภาพในการเติบโต เราขอแนะนำสามเมกะเทรนด์สำคัญที่ส่งผลกระทบต่อการลงทุนในปัจจุบันและเป็นพลังขับเคลื่อนโลกแห่งอนาคต

เครื่องมือแห่งอนาคต – เครื่องมือแห่งอนาคตประกอบด้วยการพัฒนาพลังงานสะอาด พลังงานหมุนเวียนเพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ รวมถึงเทคโนโลยีที่เร่งการเติบโตของธุรกิจและขับเคลื่อนให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในทุกภาคส่วนของเศรษฐกิจโลก นักลงทุนสามารถพิจารณาลงทุนในเทคโนโลยีที่เข้ามาช่วยจัดการกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และการเปลี่ยนแปลงด้านพลังงาน ตลอดจนบริษัทที่ได้รับประโยชน์จากการนำระบบ AI มาใช้

การบริโภคแห่งอนาคต - การเปลี่ยนแปลงทางประชากรนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงในพฤติกรรมของผู้บริโภค ซึ่งจะส่งผลต่อรูปแบบการใช้จ่ายของคนในรุ่นต่างๆ ปริมาณชนชั้นกลางที่มีความมั่งคั่งเพิ่มมากขึ้นในประเทศกำลังพัฒนาจะนำไปสู่ความต้องการสินค้าและบริการที่มีคุณภาพมากขึ้น ในขณะเดียวกัน บางประเทศกำลังเผชิญกับประชากรสูงอายุ ซึ่งหมายความว่าจะมีการใช้จ่ายสินค้าและบริการที่เกี่ยวข้องกับการดูแลสุขภาพเพิ่มขึ้น เมื่อเกิดการเปลี่ยนแปลงของคนในรุ่นต่างๆ องค์กรจะต้องปรับกลยุทธ์และลำดับความสำคัญใหม่เพื่อตอบสนองความต้องการของคนรุ่นมิลเลนเนียลและเจเนอเรชัน Z ซึ่งเป็นคนยุคดิจิทัลที่ให้ความสำคัญกับความยั่งยืนและความรับผิดชอบต่อสังคม นักลงทุนสามารถพิจารณาลงทุนในธุรกิจที่เข้าถึงดิจิทัลอย่างยั่งยืน เพื่อได้รับประโยชน์จากการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการบริโภคนี้

ผู้นำเศรษฐกิจในอนาคต - การแข่งขันเชิงกลยุทธ์ระหว่างผู้นำเศรษฐกิจที่ทรงอำนาจของศตวรรษนี้ – สหรัฐอเมริกาและจีน – มักจะใช้อิทธิพลเหนือกรอบการกำกับดูแล นโยบายเศรษฐกิจ และการปรับเปลี่ยนตลาดของประเทศอื่นๆ ตลาดการเงินที่มีขนาดใหญ่ของทั้งในสหรัฐอเมริกาและจีน จะสร้างโอกาสให้กับนักลงทุนในการแสวงหาผลตอบแทนจากการลงทุนในทั้ง 2 ประเทศ

นักลงทุนต้องตระหนักถึงความเสี่ยงที่รับได้ของตนเองและรักษาพอร์ตการลงทุนที่หลากหลายเพื่อลดความเสี่ยงอันเนื่องมาจากเหตุการณ์ที่ไม่คาดฝัน ด้วยหลักการ Risk-First ของธนาคารยูโอบี จะช่วยให้การลงทุนของนักลงทุนราบรื่นขึ้น โดยแนะนำกลยุทธ์การลงทุนที่หลากหลาย และเหมาะกับความเสี่ยงของนักลงทุนแต่ละราย ก่อนตัดสินใจลงทุนใดๆ ผู้ลงทุนควรตรวจสอบให้แน่ใจเสมอว่ามีความชัดเจนเกี่ยวกับสิ่งที่พวกเขากำลังลงทุนและได้พิจารณาปัจจัยเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น

X

Right Click

No right click