กระแสของกัญชากลับมาเป็นที่พูดถึงอีกครั้ง หลังจากที่มีแนวโน้มว่าโฉมหน้ารัฐบาลชุดใหม่จะมีพรรคภูมิใจไทยรวมอยู่ในสมการนั้นด้วย หลังจากที่ชะงักไปบ้างเมื่อครั้งการจัดตั้งรัฐบาลของพรรคก้าวไกล ที่ใน MOU ระบุจะนำกัญชากลับไปอยู่ในบัญชียาเสพติดให้โทษโดยมีกฎหมายควบคุมและรองรับการใช้ประโยชน์จากกัญชา ซึ่งเท่ากับว่านโยบายกัญชาเสรี ของรัฐบาลชุดที่แล้วซึ่งผลักดันโดยพรรคภูมิใจไทยมีแนวโน้มว่าจะได้ไปต่อ
ทั้งนี้ ต้องยอมรับว่า นโยบายการเปิดเสรีกัญชามีทั้งคุณและโทษ หลายเรื่องยังเป็นข้อถกเถียงที่ยังไม่ได้ข้อสรุปในสังคมไทย โดยเฉพาะประเด็นทางด้านสังคมและระบบสาธารณสุขที่ได้รับผลกระทบจากการปลดล็อกกัญชาโดยไม่มีการควบคุมและยังไม่มีมาตรการรองรับอย่างรอบด้าน แต่หากพิจารณาในด้านเศรษฐกิจแล้ว กัญชาเป็นพืชที่สามารถทำรายได้ได้จริง จากข้อมูลของศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ซึ่งมีการประเมินมูลค่าตลาดของอุตสาหกรรมกัญชา-กัญชง ณ ปี 2565 นับตั้งแต่ต้นน้ำถึงผลิตภัณฑ์ปลายน้ำ มีมูลค่ารวมถึงกว่า 28,000 ล้านบาท แบ่งเป็นผลิตภัณฑ์ต้นน้ำมูลค่า 9,615 ล้านบาท ผลิตภัณฑ์กลางน้ำ 14,690 ล้านบาท ส่วนผลิตภัณฑ์ปลายน้ำ 3,750 ล้านบาท แบ่งเป็น ยารักษาโรคและอาหารเสริม มูลค่า 1,500 ล้านบาท อาหารและเครื่องดื่ม 1,200 ล้านบาท เครื่องสำอางและผลิตภัณฑ์ส่วนบุคคล 800 ล้านบาท เครื่องนุ่งห่มและของใช้ส่วนตัว 250 ล้านบาท และยังมีการคาดการณ์ว่ามูลค่าตลาดในอีก 2 ปีข้างหน้า จะโตได้ 10-15% คิดเป็นมูลค่าสูงถึง 42,800 ล้านบาท
และจากการเก็บรวบรวมข้อมูลในสังคมออนไลน์โดยใช้เครื่องมือ DXT360 ของ บริษัท ดาต้าเซ็ต จำกัด ที่มีการกล่าวถึงผลิตภัณฑ์ปลายน้ำของอุตสาหกรรมกัญชา-กัญชง ในช่วงวันที่ 1 กรกฎาคม – 8 สิงหาคม 2566 พบว่ามีการพูดถึงทั้งหมด 902 ข้อความ และได้รับการมีส่วนร่วม หรือ Engagement ถึง 12,358 ครั้ง ซึ่งเห็นได้ว่าผู้คนบนสังคมออนไลน์ให้ความสนใจกับผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวกับกัญชา-กัญชงไม่น้อย และถ้าดูจากสัดส่วนการโพสต์ลงบนโซเชียล แยกตามกลุ่มผลิตภัณฑ์ ดังนี้
· ผลิตภัณฑ์เครื่องแต่งกาย มีการโพสต์ขายสินค้าที่เป็นผลิตภัณฑ์ภายในประเทศและต่างประเทศ ที่ใช้ส่วนประกอบอย่างเส้นใยของกัญชามาช่วยปรับปรุงคุณภาพของสินค้าให้มีความแข็งแรงขึ้น โดยพบว่าผลิตภัณฑ์กลุ่มนี้มีสัดส่วนการโพสต์บนโลกออนไลน์มากที่สุดคิดเป็น 57.43%
· ผลิตภัณฑ์ยา/การแพทย์ มีการโพสต์ส่วนใหญ่เป็นการใช้สารสกัดจากน้ำมันกัญชามาใช้เป็นส่วนประกอบของยาเพื่อการรักษาต่าง ๆ เช่น ประกอบการรักษาในผู้ป่วยโรคมะเร็ง รักษาอาการปวดท้อง และรักษาอาการปวดเรื้อรัง เป็นต้น โดยสัดส่วนการโพสต์สินค้าประเภทนี้มีถึง 27.05%
· ผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง มีการโพสต์ขายผลิตภัณฑ์เพื่อความงามและการทำความสะอาดโดยใช้ส่วนประกอบเป็นสารสกัดน้ำมันจากเมล็ดกัญชง เช่น ผลิตภัณฑ์บำรุงผิว สบู่ และยาสระผม เป็นต้น ซึ่งสัดส่วนการโพสต์สินค้าประเภทนี้มีมากที่สุดคิดเป็น 8.43%
· ผลิตภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่ม พบว่ามีการนำกัญชามาเป็นส่วนผสมของอาหารและเครื่องดื่ม ไม่ว่าจะเป็นขนม ผงเครื่องดื่ม และเครื่องดื่มบรรจุขวด ซึ่งส่วนผสมที่ใช้ส่วนใหญ่จะเป็นสารสกัดน้ำมันกัญชาและใบกัญชา โดยสัดส่วนการโพสต์สินค้าประเภทนี้มีมากที่สุดคิดเป็น 6.54%
· ผลิตภัณฑ์อื่น ๆ นอกจากผลิตภัณฑ์ทั้ง 4 ข้างต้น พบว่ามีการโพสต์ผลิตภัณฑ์อื่น ๆ 0.55% เช่น สินค้าประเภทวัสดุก่อสร้าง คือ อิฐ และ เฮมป์พาร์ทิเคิลบอร์ด หรือแผ่นกั้นผนังห้อง เป็นต้น ซึ่งในอนาคตอาจมีแนวโน้มว่าจะมีการนำสารสกัดจากกัญชาและกัญชงมาใช้แปรรูปหรือพัฒนาเป็นสินค้าหรือนวัตกรรมที่มีความหลากหลายในด้านของรูปแบบสินค้าและประเภทของสินค้ามากขึ้น
นอกจากนี้ เมื่อดูความคิดเห็นบนโซเชียล พบประเด็นที่น่าสนใจ ดังนี้
จากข้อมูลพบว่าผู้ใช้งานแพลตฟอร์มออนไลน์จะมีความคิดเห็นเชิงบวกต่อผลิตภัณฑ์ยา/การแพทย์ โดยมีการพูดถึงในเรื่องของการยอมรับการใช้กัญชามาประกอบการรักษามากขึ้นด้วย โดยเฉพาะการรักษาหรือบำบัดผู้ป่วยโรคมะเร็ง ถึงแม้ในความเป็นจริงจะยังไม่มีหลักฐานพิสูจน์ทางด้านวิทยาศาสตร์รองรับว่าสามารถรักษาผู้ป่วยโรคมะเร็งได้
แต่หากมองในมุมของผลิตภัณฑ์ประเภทอาหารและเครื่องดื่มพบว่า ผู้คนบนโซเชียลได้มีการแสดงความคิดเห็นที่สื่อถึงความกังวลและความคิดเห็นไปในทิศทางเชิงลบ โดยเฉพาะความกังวลในเรื่องการบริโภคอาหารหรือเครื่องดื่มที่มีสารสกัดจากกัญชา-กัญชง ที่อาจได้รับเกินปริมาณที่กำหนดจนทำให้เกิดผลเสียร้ายแรงต่อสุขภาพ หรือนำไปสู่การเสพติดไปจนถึงทำให้เกิดการเสียชีวิตได้
กล่าวได้ว่า นับแต่มีการปลดล็อกกัญชาออกจากบัญชียาเสพติดให้โทษ ตั้งแต่วันที่ 9 มิ.ย. 2565 และแนวโน้มการจัดตั้งรัฐบาลใหม่ที่น่าจะมีพรรคภูมิใจไทยเป็นหนึ่งในพรรคร่วมรัฐบาล การใช้กัญชาจึงยังคงอยู่ในสถานะที่ถูกเปิดช่องให้ใช้ได้อย่างเสรี โดยไม่ได้ถูกจำกัดเพียงการใช้ทางการแพทย์ ไปจนกว่า
จะมีการออกมาตรการเพื่อควบคุมการเข้าถึงและการใช้อย่างเหมาะสม เรื่องของกัญชาจึงได้กลายเป็นวาระในการถกเถียงของคนทุกระดับในสังคมไทย
CR : Inforquest
กรุงเทพฯ 13 ตุลาคม 2565 - บริษัท 88 แคนนาเทค จำกัด ผู้นำธุรกิจกัญชง-กัญชาทางด้านการแพทย์และสุขภาพอย่างครบวงจร (ตามที่กฎหมายกำหนด) เดินหน้ายกระดับโมเดลธุรกิจ “เราปลูกสุขภาพ” ที่เป็นมากกว่า ‘การปลูก-สกัด-แปรรูป’ ปูพรมดันผลิตภัณฑ์ที่ผสมสารสกัด CBD จากช่อดอกกัญชง ภายใต้แบรนด์ CannBE และคลินิก CannaHealth คลินิกการแพทย์ที่ใช้กัญชงและกัญชา ร่วมกับการรักษาของแพทย์แผนไทยประยุกต์แห่งแรกที่ครบวงจร ทั้งด้านสุขภาพและความงาม ตอบโจทย์ผู้บริโภคด้วยสมุนไพรทางเลือก เตรียมรองรับตลาด Wellness และกลุ่มลูกค้าคนไทย-ต่างชาติ เดินหน้าขยายการลงทุนพร้อมตั้งเป้าทำรายได้ 1,000 ล้านบาทในปี 2566
นายพรประสิทธิ์ สีบุญเรือง กรรมการผู้จัดการ บริษัท 88 แคนนาเทค จำกัด เปิดเผยว่า “หลังจากที่ประเทศไทยปลดล็อกเรื่องกัญชา กัญชงให้พ้นจากยาเสพติดให้โทษ ทำให้เรามองเห็น โอกาส ในเรื่องการลงทุนทางสุขภาพในระยะยาว โดยธุรกิจกัญชา กัญชง เป็นเทรนด์ต่างประเทศที่มีการใช้กัญชาทางการแพทย์และกัญชงเชิงพาณิชย์มานาน เราเล็งเห็นโอกาสจึงได้รุกเข้าสู่ธุรกิจนี้ และจดทะเบียนตั้งบริษัทตั้งแต่ปี 2562 ภายใต้แนวคิด เราปลูกสุขภาพ”
“สำหรับ 88 แคนนาเทค เราได้ทำการวิจัยและพัฒนาอุตสาหกรรมกัญชงเป็นรายแรกๆ ในประเทศไทย ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากบริษัทพันธมิตรระดับโลกจากหลากหลายประเทศ จนก่อเกิดเป็นโมเดลธุรกิจที่ครบวงจรตั้งแต่ การปลูก-สกัด-แปรรูป โดยในส่วนของต้นน้ำ เรามีพันธมิตร คือ บริษัทไฟลอส ไบโอซาย ซึ่งเป็นบริษัทผลิตเมล็ดพันธุ์กัญชา กัญชง ใหญ่เป็นอันดับ 1 ใน 5 ของอเมริกา โดยทางบริษัทนำเข้าเมล็ดพันธุ์กัญชงสำหรับปี 2565 ประมาณ 1 แสนเมล็ด เพื่อปลูกในพื้นที่โรงเรือน (Green House) ของบริษัท ซึ่งตั้งอยู่ที่ จ.เชียงราย จำนวน 2 หมื่นเมล็ด และที่เหลือก็ส่งให้กับทาง Contract Framing ของเราอีกหลายแห่ง เช่น MDX Green Energy สุพรรณ กรีนเทค และโชคอนันต์ ฟาร์ม เป็นต้น โดยการปลูกของ Contract Farming เราต้องปลูกในโรงเรือน และต้องได้รับมาตรฐาน GAP ของกรมวิชาการเกษตร เท่านั้น สำหรับฟาร์มที่เชียงราย เราได้เก็บผลผลิตชุดแรกไปเมื่อเดือนเมษายนที่ผ่านมา” นายพรประสิทธิ์ กล่าว
“มาสู่เรื่องกลางน้ำหรือการสกัด เดิมทีเราตั้งใจทำโรงสกัดในฐานะภาคเอกชนเต็มตัว แต่หลังจากร่วมงานกับกรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก ซึ่งมีโรงสกัดกัญชาเพื่อนำไปทำยา เมตตาโอสถ ซึ่งต้องใช้วัตถุดิบจากกัญชา และขณะเดียวกันก็มีภารกิจในการทำยา การุณโอสถ โดยใช้ผลผลิตของกัญชง คือ สาร CBD เราจึงตัดสินใจทำโรงสกัดร่วมกัน โดยบริษัทสนับสนุนในเรื่องของเครื่องจักรทั้งหมด และทำงานร่วมกันในลักษณะของโรงสกัดกลาง ซึ่งกรมแพทย์แผนไทยและ 88 แคนนาเทค สามารถนำกัญชงมาสกัดที่นี่ ในขณะเดียวกันเกษตรกรก็สามารถที่จะนำกัญชงเข้ามาจ้างเราสกัดได้” นายพรประสิทธิ์ กล่าวเสริม
“ในส่วนของปลายน้ำ เนื่องจากสารสกัดในกัญชงนั้นมีสารที่เรียกว่า Cannabidiol หรือ CBD เป็นสารสำคัญ ซึ่งไม่มีฤทธิ์กระตุ้นประสาท มีคุณสมบัติทางยาที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย เช่น ลดความวิตกกังวล เพิ่มความอยากอาหาร ช่วยให้นอนหลับสบาย และลดการอักเสบ มีสารต้านอนุมูลอิสระช่วยลดเลือนริ้วรอย เป็นต้น จากคุณสมบัติดังกล่าว เราจึงนำมาเป็นสารสกัดใน
ผลิตภัณฑ์ ที่วันนี้เราพร้อมเปิดตัวผลิตภัณฑ์ดูแลผิวหน้า เป็นกลุ่มแรก ภายใต้แบรนด์ CannBE ซึ่งในช่วงแรกจะออกวางตลาด 3 ชนิด ประกอบด้วย CBD anti acne serum ขนาด 30 มล. ในราคา 1,390 บาท CBD anti acne cream ขนาด 10 กรัม ในราคา 490 บาท โดยโฟกัสที่กลุ่มวัยรุ่น คนหนุ่มสาว ที่มีปัญหาเรื่องการดูแลผิวหน้าและมีความกังวลเรื่องสิว และ CBD anti aging serum ขนาด 30 มล. ในราคา 1,490 บาท โดยกลุ่มเป้าหมาย คือผู้ที่ต้องการดูแลผิวหน้าเพื่อป้องกันและลดเลือนริ้วรอยที่มาก่อนวัย นอกจากนี้ เราได้ต่อยอดสู่เรื่องของ Wellness โดยพร้อมเปิดตัวคลินิก CannaHealth คลินิกการแพทย์และการดูแลสุขภาพองค์รวมที่ใช้กัญชงและกัญชาร่วมกับการรักษาของแพทย์แผนไทยประยุกต์แห่งแรกที่ครบวงจร ซึ่งคลินิก CannaHealth สามารถจ่ายยากัญชาและกัญชง จากองค์การเภสัชกรรม และกรมแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือกได้ ตอบโจทย์ผู้บริโภคด้วยสมุนไพรทางเลือก”
“สำหรับผลิตภัณฑ์ดูแลผิวหน้า ภายใต้แบรนด์ CannBE เราวางแผนการจำหน่าย โดยเน้นปูพรมทางออนไลน์ของ CannBE เอง ไม่ว่าจะเป็น Facebook, IG, Line หรือ TikTok และผ่านตัวแทนจำหน่าย โดยได้มีการประสานความร่วมมือกับแพลตฟอร์มต่างๆ เช่น Deelife ของ Happy Shopping เป็นต้น และอีกหลายพันธมิตรที่เป็นทั้งร้านค้าออนไลน์ และออฟไลน์ พร้อมทั้งกำลังเจรจากับช่องทางจำหน่ายระดับต้นๆ ทั้งในระดับประเทศและระดับนานาชาติ นอกจากนี้ เรายังตั้งเป้าขยายจุดจำหน่ายผ่านระบบตัวแทน โดยสามารถติดตามและสมัครเป็นตัวแทนได้ที่ Facebook: CannBE และ Line: @cannbe
“ทาง 88 แคนนาเทค วางแผนการตลาดไว้สำหรับในประเทศในสัดส่วน 40% และตลาดส่งออกในสัดส่วน 60% ทั้งในรูปของวัตถุดิบ น้ำมัน CBD Oil จากช่อดอกกัญชง และผลิตภัณฑ์ทั้งเครื่องสำอาง สมุนไพร อาหารเสริม ซึ่งตอนนี้ได้รับการติดต่อซื้อจากลูกค้าใน 7 -8 ประเทศ เช่น นิวซีแลนด์ อังกฤษ เยอรมัน เวียดนาม มาเลเซีย ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา และตุรกี เป็นต้น ทั้งนี้ บริษัทเริ่มรับรู้รายได้จากช่อดอกกัญชง และการขายเมล็ดพันธุ์บางส่วนให้กับ Contract Farming รวมทั้งบริษัทกำลังมีการระดมทุนเพื่อขยายเฟส 2 ผ่านบริษัท สินวัฒนา คราวด์ฟันดิง จำกัด ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มที่ได้รับอนุญาตถูกต้องตามกฎหมาย จากสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย โดยประมาณการว่าภายใน ปี 2566 บริษัทจะมีรายได้ 1,000ล้านบาท จากผลิตภัณฑ์กว่า 1.2 ล้านยูนิต ที่จะทยอยออกสู่ตลาดในไตรมาส 4 นี้” นายพรประสิทธิ์ กล่าวปิดท้าย ติดตามข้อมูลเพิ่มเติมของคลินิก CannaHealth ได้ที่ https://www.facebook.com/cannahealthclinicth/ รวมทั้งอัพเดทข้อมูลด้านผลิตภัณฑ์ภายใต้แบรนด์ CannBE ได้ที่ Facebook: CannBE และ Line: @cannbe
กัญชงและกัญชา กลายเป็นกระแสร้อนแรงทั้งในประเทศไทย และหลายประเทศทั่วโลก ด้วยความที่เป็นพืชที่มีมูลค่าสูงมากที่สุดชนิดหนึ่งของโลก