ทรู คอร์ปอเรชั่น ลุยเข้มหยุดภัยมิจฉาชีพแก๊งคอลเซ็นเตอร์หลอกลวงประชาชน โดยคณะผู้บริหารระดับสูง นำโดย นายมนัสส์ มานะวุฒิเวช ประธานคณะผู้บริหาร บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) พร้อมด้วย นายชารัด เมห์โรทรา รองประธานคณะผู้บริหาร นายจักรกฤษณ์ อุไรรัตน์ หัวหน้าคณะผู้บริหารด้านกิจการองค์กร และนางสาวทิพยรัตน์ แก้วศรีงาม หัวหน้าคณะผู้บริหารด้านการจัดการระดับภูมิภาค เข้าพบ พล.ต.อ.กิตติ์รัฐ พันธุ์เพ็ชร์ ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ และ พล.ต.อ.ธัชชัย ปิตะนีละบุตร จเรตำรวจแห่งชาติ เพื่อหารือแนวทางความร่วมมือในการป้องกันและปราบปรามแก๊งคอลเซ็นเตอร์ โดยมีแนวคิดตั้ง “วอร์รูม” ร่วมกันที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติ
การปรึกษาหารือครั้งนี้ ทั้งสำนักงานตำรวจแห่งชาติ และทรู คอร์ปอเรชั่น จะร่วมมือกันในแนวทางการจัดตั้ง "วอร์รูม" ณ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ เพื่อบูรณาการข้อมูลเชิงลึกจากทั้งสองฝ่าย นำมาวิเคราะห์เพื่อป้องปรามและจับกุมแก๊งมิจฉาชีพ โดยเฉพาะการทลายเครือข่ายที่ใช้อุปกรณ์ซิมบ็อกซ์ (Simbox) และการตรวจจับพฤติกรรมการโทรหรือส่ง SMS ที่ผิดปกติ เพื่อหยุดยั้งแก๊งคอลเซ็นเตอร์และทลายแหล่งมิจฉาชีพในการสร้างความเสียหายและการสูญเสียทรัพย์สินจากการหลอกลวงประชาชน
นายมนัสส์ มานะวุฒิเวช ประธานคณะผู้บริหาร บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า “ในฐานะผู้นำด้านโทรคมนาคมและเทคโนโลยีของประเทศไทย เราตระหนักถึงความสำคัญของปัญหาอาชญากรรมทางไซเบอร์ที่กำลังสร้างความเดือดร้อนให้กับประชาชนอย่างกว้างขวาง จึงได้มุ่งมั่นดำเนินมาตรการเชิงรุกอย่างเข้มข้น เพื่อต่อต้านภัยคุกคามจากมิจฉาชีพที่สร้างความเสียหายแก่ประชาชน ทั้งในรูปแบบแก๊งคอลเซ็นเตอร์และการส่งข้อความ SMS หลอกลวง โดยบริษัทได้กำหนดมาตรการคุ้มครองความปลอดภัยของลูกค้าและสังคมอย่างเป็นระบบ มีการนำเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) มาช่วยคัดกรองและเฝ้าระวังพฤติกรรมที่ผิดปกติ พร้อมทั้งจัดตั้งทีมงานเฉพาะกิจในการตรวจสอบและป้องกันการกระทำผิดอย่างเข้มงวด ล่าสุด เราได้ยกระดับความร่วมมือกับสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ในการบูรณาการการทำงานเชิงลึก ด้วยการเตรียมจัดตั้งวอร์รูมร่วมกัน เพื่อผสานความเชี่ยวชาญและข้อมูลเชิงลึกจากทั้งสองฝ่าย การร่วมมือครั้งนี้จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมทางไซเบอร์ได้อย่างรวดเร็วและแม่นยำมากขึ้น โดยเฉพาะการนำเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาใช้ยับยั้งและทลายเครือข่ายมิจฉาชีพ เพื่อปกป้องประชาชนไม่ให้ตกเป็นเหยื่อของกลุ่มอาชญากรเหล่านี้”
นับตั้งแต่ปี 2567 บริษัทได้เพิ่มความเข้มงวดในการลงทะเบียนซิมการ์ดและเลขหมาย พร้อมนำเทคโนโลยี AI มาใช้ในการคัดกรอง มีการยกเลิกความร่วมมือกับคู่ค้าที่มีพฤติกรรมน่าสงสัย และระงับการใช้งานซิมการ์ดที่อาจถูกนำไปใช้ในทางมิชอบ รวมถึงจัดตั้งทีมงานเฉพาะกิจด้านการป้องกันการทุจริต (Fraud Team)
นอกจากนี้ ทรู คอร์ปอเรชั่นยังได้พัฒนาบริการ "ทรูไซเบอร์เซฟ" (True CyberSafe) เพื่อเสริมสร้างความปลอดภัยทางไซเบอร์แก่ผู้ใช้บริการ โดยระบบจะแจ้งเตือนเมื่อพบลิงก์ต้องสงสัย ซึ่งลูกค้าทรู-ดีแทค และทรูออนไลน์สามารถใช้งานได้ทันทีโดยไม่ต้องติดตั้งแอปพลิเคชันเพิ่มเติม
ด้านสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ได้นำระบบดิจิทัลและเทคโนโลยีทันสมัยมาใช้ในการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรม โดยล่าสุดได้เปิดตัวแอปพลิเคชัน Cyber Check ที่ช่วยให้ประชาชนสามารถคัดกรองเบอร์โทรศัพท์และตรวจสอบเลขบัญชีธนาคารที่ต้องสงสัยได้ โดยใช้ฐานข้อมูลจากระบบรับแจ้งความออนไลน์ของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ซึ่งเป็นข้อมูลจากการร้องเรียนและการดำเนินคดีจริง
ความร่วมมือครั้งนี้นับเป็นก้าวสำคัญในการยกระดับการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมของแก๊งคอลเซ็นเตอร์ในประเทศไทย เพื่อความปลอดภัยของประชาชนและป้องกันการสูญเสียทรัพย์สินที่ถูกหลอกลวงจากกลุ่มมิจฉาชีพ สอดคล้องกับนโยบายเร่งด่วนของรัฐบาลในการแก้ไขปัญหาการฉ้อโกงประชาชน รวมถึงการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยี
บริษัท ทรู มูฟ เอช ยูนิเวอร์แซล คอมมิวนิเคชั่น จำกัด ผู้ได้รับจัดสรรคลื่นความถี่สำหรับกิจการโทรคมนาคมย่าน 700 MHz ช่วงความถี่ 713-723 MHz คู่กับ 768-778 MHz (เดิมเป็นของบริษัท ดีแทค ไตรเน็ต จำกัด) ได้ดำเนินการชำระค่าใบอนุญาตคลื่น 700 MHz งวดที่ 5 เป็นจำนวนเงิน 1,881,488,000 บาท (รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม) พร้อมยื่นหนังสือค้ำประกันจากสถาบันการเงินสำหรับการชำระเงินค่าคลื่นความถี่ในส่วนที่เหลือ ให้แก่สำนักงาน กสทช. ตามเงื่อนไขที่กำหนด เมื่อวันที่ 8 มกราคม 2568 โดยมีนายนฤพนธ์ รัตนสมาหาร (ที่ 3 จากซ้าย) หัวหน้าสายงานรัฐกิจสัมพันธ์และกำกับดูแล และนางสาววีณา จ่างเจริญ (ขวาสุด) ผู้เชี่ยวชาญสายงานกลยุทธ์กฎระเบียบการกำกับดูแลกิจการ บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) เป็นผู้แทนบริษัทฯ ในการชำระค่าคลื่นความถี่ โดยมีนายสุทธิศักดิ์ ตันตะโยธิน (ที่ 2 จากซ้าย) รองเลขาธิการ กสทช.สายงานกิจการโทรคมนาคม เป็นผู้รับมอบ พร้อมด้วยนางพุธชาด แมนมนตรี (ซ้ายสุด) ผู้อำนวยการสำนัก สำนักการอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคม 1 (ปท.1) ณ สำนักงาน กสทช.
ทรู คอร์ปอเรชั่น มุ่งพัฒนาบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ครอบคลุมทุกย่านคลื่นความถี่ ทั้งคลื่นความถี่ต่ำ กลาง และสูง โดยได้นำคลื่น 700 MHz ซึ่งเป็นคลื่นความถี่ต่ำมาพัฒนาการให้บริการและขยายโครงข่ายอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้สัญญาณครอบคลุมทั่วประเทศ พร้อมนำอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงสู่ผู้ใช้บริการทุกคน เพื่อมอบประสบการณ์การใช้เทคโนโลยี 5G และ 4G ที่มีประสิทธิภาพสูงสุด ส่งผลให้ลูกค้าทั้งทรูและดีแทคได้ใช้บริการที่มีคุณภาพยิ่งขึ้นจากการพัฒนาโครงข่ายอย่างต่อเนื่อง
กรุงเทพฯ 16 ธันวาคม 2567 - ปีใหม่ ทั้งทีต้องไม่ธรรมดา! ทรู คอร์ปอเรชั่น ร่วมเป็นส่วนหนึ่งที่จะเนรมิตมหาปรากฏการณ์งานเคานต์ดาวน์ระดับเวิลด์คลาส “ICONSIAM Amazing Thailand Countdown 2025” ส่งท้ายปีเก่า และต้อนรับปีใหม่แบบยิ่งใหญ่เว่อร์ ว้าวกว่าใคร มอบสิทธิพิเศษสุดเอ็กซ์คลูซีฟให้ลูกค้าทรูแบล็ค ดีแทค PLATINUM BLUE MEMBER ตลอดจนลูกค้าทรู ดีแทค ทรูออนไลน์ ทรูวิชั่นส์ ร่วมเฉลิมฉลองเคานต์ดาวน์สะกดโลก ดื่มด่ำกับการแสดงพลุสุดวิจิตรงดงามอลังการยาวที่สุดในประเทศไทย และโชว์สุดเอ็กคลูซีฟระดับโลก จากศิลปินชั้นนำทั้งไทยและต่างประเทศ พร้อมด้วยการแสดงวัฒนธรรมไทยโดยทัพนักแสดงและโวคัลลิสต์ระดับแชมป์ ที่ร่วมส่งต่อความรุ่งโรจน์แห่งสยามสู่เวทีโลก
โดยมีกระแสการตอบรับดีเยี่ยม ลูกค้าทรูแบล็ค และดีแทค PLATINUM BLUE MEMBER แลกรับบัตรคืนวันเคานต์ดาวน์สุดพิเศษ กับ 2 โซนสุดเอ็กซ์คลูซีฟ ทั้งบัตรนั่งโซน ICONSIAM PARK ชั้น 2 และที่ TrueSphere ICONSIAM ชั้น 4 และ True Branding Shop ที่มาพร้อมรับสิทธิพิเศษ อาหารและเครื่องดื่มฟรีจากทรูคอฟฟี่ และส่วนลดมือถือ 2,000 บาท รอเพียงลูกค้าทรูแบล็ค และดีแทค PLATINUM BLUE MEMBER
มาสัมผัสประสบการณ์สะกดโลกในวันเคานต์ดาวน์สุดอลังการ ส่วนผู้ที่พลาดโอกาสแลกพอยท์ไม่ทันยังสามารถ ร่วมสนุกชิงรางวัลบัตรเข้างานคอนเสิร์ต ในวันที่ 29, 30 และ 31 ธันวาคม 2567 ลูกค้าทรู ดีแทค ร่วมสนุกโดย ใช้ 9 ทรูพอยท์ หรือ 90 ดีแทคคอยน์ รับ 1 สิทธิ์ หรือใช้ 90 ทรูพอยท์ หรือ 900 ดีแทคคอยน์ รับ 10 สิทธิ์ ชิงบัตรเข้างาน ICONSIAM Amazing Thailand Countdown 2025 สุดยิ่งใหญ่อลังการพร้อมสะกดทุกสายตาของชาวโลก
ทรูจัดให้ VIP SEATING ZONE โซนนั่ง สำหรับลูกค้าทรูแบล็ค และดีแทค PLATINUM BLUE และ VIP STANDING ZONE โซนยืนหน้าเวที สำหรับลูกค้าทรู ดีแทค ทรูออนไลน์ และทรูวิชั่นส์ แลกสิทธิ์ ได้ตั้งแต่วันนี้ถึง 20 ธันวาคม 2567 นี้เท่านั้น ผ่านแอปทรูไอดีสำหรับลูกค้าทรู และดีแทคแอปสำหรับลูกค้าดีแทค โดยประกาศผลผู้โชคดี ในวันที่ 25 ธันวาคม 2567 เวลา 16.00 น. ทาง Facebook: TrueYou พิเศษ! ลูกค้าที่ใช้บริการต่อเนื่องยิ่งนาน ยิ่งได้สิทธิ์เพิ่ม รับทันที 1 สิทธิ์ ทุกๆ 12 เดือนที่ใช้บริการ (นับถึงวันที่ 31 ตุลาคม 2567) โดยร่วมสนุกได้ตั้งแต่วันนี้ถึง 20 ธันวาคม 2567 นี้ ผ่านแอปทรูไอดีและดีแทคแอป
สร้างโมเมนต์สุดประทับใจ ส่งท้ายปี 2024 และเริ่มต้นปี 2025 แบบตื่นตาตื่นใจไปด้วยกันกับ ทรู คอร์ปอเรชั่น พร้อมส่งมอบสัญญาณความสุข เร็ว แรงทั่วไทย โดยจัดเตรียมรถขยายสัญญาณจากทรู และดีแทค 5G ให้ชาวไทยไร้กังวล เคานต์ดาวน์แบบหมดห่วง อัปโซเชียล เล่นเน็ตเร็วแรงได้ไม่อั้น ในทุกพื้นที่ทั่วไทยอีกด้วย
ภายหลังจากที่ ทรู คอร์ปอเรชั่น เดินหน้าภารกิจรักษาความปลอดภัยไซเบอร์ ลงทุนพัฒนาและนำ AI ขั้นสูงมาใช้เพื่อยกระดับการปกป้องและเพิ่มความปลอดภัยในการใช้บริการโลกออนไลน์ เปิดระบบป้องกันภัยไซเบอร์อัจฉริยะ "True CyberSafe" ให้บริการโดยไม่มีค่าใช้จ่ายสำหรับ ลูกค้ามือถือทรูและดีแทค รวมทั้งลูกค้าเน็ตบ้านทรูออนไลน์ ทุกราย โดยจะ บล็อก หรือ แจ้งเตือน เมื่อมีการเข้าถึงเว็บไซต์ที่อาจเป็นอันตราย หากลูกค้ากดเข้าไป จาก SMS หรือบราวเซอร์ และเมื่อมีการเข้าถึงเว็บไซต์ที่อาจเป็นอันตราย บนเว็บบราวเซอร์ โดยเริ่มให้บริการไปตั้งแต่วันที่ 3 ธันวาคมนั้น
ล่าสุด ทีมงานทรู คอร์ปอเรชั่นได้เปิดเผยข้อมูลสถิติที่รวบรวมได้ระหว่างการเปิดระบบ True CyberSafe เพียง 7 วัน (ระหว่างวันที่ 3 - 9 ธันวาคม 2567) พบข้อมูลที่น่าสนใจดังนี้
อย่างไรก็ตาม ทรู คอร์ปอเรชั่น ยังคงเคารพสิทธิ์ลูกค้า หากลูกค้ายังยืนยันจะคลิกเข้าลิงก์ที่ได้รับการแจ้งเตือนต่อไป ก็สามารถทำได้ โดยพบว่า ช่วง 7 วันดังกล่าว จำนวนครั้งที่ลูกค้ายืนยันเข้าลิงก์แปลกปลอมอยู่ที่ 400,283 คลิก ( จาก 10,773,877 ล้านคลิก )
โดย 4 ประเภทลิงก์แปลกปลอมที่พบจากระบบ True CyberSafe ในช่วงที่ผ่านมา มีดังนี้
อันดับ 1 : มัลแวร์ – เป็นไวรัสหรือซอฟแวร์เข้ามาฝังตัวในเครื่อง เพื่อเปิดช่องทางเข้ามาควบคุมเครื่องของเรา
อันดับ 2 : ฟิชชิง – เป็นการหลอกให้กรอกข้อมูลส่วนตัวหรือข้อมูลทางการเงิน เช่น รายละเอียดบัตรเครดิต หรือรหัสผ่าน
อันดับ 3: หลอกลงทุน - มีการแสดงผลกำไรที่สูงเกินควร เพื่อดึงดูดความสนใจ รวมไปถึงการลงทุนในสกุลเงินดิจิทัล เช่น คริปโต
อันดับ 4 : สแกม – การหลอกลวงในรูปแบบต่างๆ ทางออนไลน์ เช่น สแกมบัตรเครดิต, สแกมถูกรางวัล, สแกมค่าธรรมเนียมศุลกากร และโรแมนซ์สแกม
หมายเหตุ: พบว่า 1 ลิงก์ มีมากกว่า 1 ประเภทการหลอกลวง
ยิ่งไปกว่านั้น ทรูยังเดินหน้าร่วมกับภาครัฐทุกภาคส่วน ในการตรวจสอบและเพิ่มลิงก์แปลกปลอมในฐานข้อมูลอย่างต่อเนื่อง เพื่อบล๊อคการเข้าถึงเว็บไซต์ที่อาจเป็นอันตรายได้ อีกทั้งยังสร้างความตระหนักรู้เท่าทันกลลวงของมิจฉาชีพทางออนไลน์ เพื่อให้รู้ทันภัยไซเบอร์ ผ่านทาง ทรูปลูกปัญญา “รู้ทันโลกออนไลน์” https://www.trueplookpanya.com/rootanlokonline