กองทุนเพื่อชีวิตแห่งการเรียนรู้ (PIM SMART) จัดงานครบรอบ 12 ปี PIM SMART มอบโล่เชิดชูเกียรติแก่ครูต้นแบบ โรงเรียนต้นแบบ และองค์กรต้นแบบ พร้อมมอบเกียรติบัตรเชิดชูศิษย์เก่าต้นแบบ PIM SMART STAR จำนวน 74 คน ณ ห้อง Auditorium ชั้น 16 อาคาร CP All Academy สถาบันการจัดการปัญญภิวัฒน์ ถ.แจ้งวัฒนะ
กองทุนเพื่อชีวิตแห่งการเรียนรู้ (PIM SMART) เริ่มก่อตั้งขึ้นในปี 2555 กว่า 12 ปี แห่งการให้โอกาส สนับสนุนเงินช่วยเหลือค่าครองชีพ การใช้ชีวิต หางานพิเศษให้นักศึกษามีรายได้เสริม รวมถึงให้คำปรึกษาด้านต่าง ๆ ซึ่งได้รับความร่วมมือจากผู้บริหารสถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ (พีไอเอ็ม) บมจ.ซีพี ออลล์ บริษัทในกลุ่มฯ รวมถึงบริษัทคู่ค้า และโรงเรียนเครือข่ายพันธมิตร เพื่อส่งมอบโอกาสทางการศึกษาร่วมสร้างคนเก่ง คนดี มีความสามารถสู่สังคม
ภายในงาน ดร.มนตรี คงตระกูลเทียน คณบดีคณะเกษตรนวัตและการจัดการ สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ (พีไอเอ็ม) มอบโล่เชิดชูเกียรติแก่ครูต้นแบบ โรงเรียนต้นแบบ องค์กรต้นแบบ ด้านนางปาริชาต บัวขาว รองอธิการบดี ส่วนสื่อสารองค์กรและการตลาด มอบเกียรติบัตรแก่ศิษย์เก่า และนางสาวอัจฉรา พวงแก้ว ผู้อำนวยการกองทุนเพื่อชีวิตแห่งการเรียนรู้ กล่าวต้อนรับผู้ร่วมงาน อีกทั้งได้รับเกียรติจาก พลเรือเอกทักษิณ ฤกษ์สังเกตุ ที่ปรึกษาฝ่ายการศึกษาสงเคราะห์ มูลนิธิราชประชานุเคราะห์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ รวมถึงตัวแทนจากองค์กรพันธมิตร ร่วมแสดงความยินดีกับนักศึกษาในกองทุนฯ
ในงานมีการแสดงร้องเพลงประสานเสียงจากน้อง ๆ ในกองทุนฯ กิจกรรม Home Coming จาก PIM JOY สำนักแนะแนวและรับสมัคร บูธกิจกรรมแจกสินค้า และเกมจากองค์กรพันธมิตร ได้แก่ บริษัท ไบร์มายด์ รีเทล จำกัด, บริษัท ฟอนเทียร่า แบรนด์ส (ประเทศไทย), บริษัท ซี.พี.คอนซูเมอร์โพรดักส์ จำกัด, บริษัท ซีพีเอฟ โกลบอล ฟู้ด โซลูชั่น จำกัด (มหาชน), บริษัท เดอะ โมสท์ บิวตี้ จำกัด และบริษัท ปวีณ์มล จำกัด ปิดท้ายด้วยการแสดงมินิคอนเสิร์ต ศิลปินวงละอองฟองวง PIM RANGER PIM BAND บรรยากาศภายในงานอบอวลไปด้วยความสนุกสนานและอบอุ่น
PIM SMART ถือเป็นหนึ่งในนโยบายสำคัญของซีพี ออลล์ ที่มีความมุ่งมั่นในการ “สร้างคน” สนับสนุนนักศึกษาได้ใช้ชีวิตอย่างเท่าเทียม ได้รับการศึกษาอย่างยั่งยืน เติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพ ยกระดับฐานะของครอบครัวและตนเอง พร้อมส่งมอบโอกาสให้นักศึกษาอย่างต่อเนื่อง ปัจจุบันกองทุนฯ สนับสนุนช่วยเหลือนักศึกษามาแล้ว 1,280 คน ด้วยทุนการศึกษามูลค่ากว่า 46 ล้านบาท และยังคงเป็นกำลังสำคัญส่งมอบโอกาสให้นักศึกษาก้าวเดิน มีอาชีพ และเป็นบุคคลคุณภาพ เพื่อสร้างประโยชน์ให้กับประเทศชาติ สังคม และองค์กร
ในยุคที่มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา เทคโนโลยีก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว ความรู้และทักษะใหม่ๆ เกิดขึ้นอย่างไม่หยุดยั้ง ในมิติของการศึกษา การเรียนรู้การปรับตัวจึงกลายเป็นทักษะจำเป็น ถือเป็นยุคที่ท้าทาย แต่ก็สร้างโอกาสให้กับคนที่พร้อมปรับตัว และปฏิเสธไม่ได้ว่าเมื่อเทคโนโลยีมีความสำคัญ ตลาดแรงงานมีความต้องการบัณฑิตวิศวกรรมที่มีทักษะและความรู้ที่สอดคล้องกับความต้องการของอุตสาหกรรมที่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ
สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ (PIM) หนึ่งในสถาบันการศึกษาที่ปรับหลักสูตรคณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีตอบโจทย์ความต้องการอุตสาหกรรม ได้แก่ หลักสูตรเทคโนโลยีดิจิทัลและสารสนเทศ, หลักสูตรวิศวกรรมคอมพิวเตอร์และปัญญาประดิษฐ์, หลักสูตรวิศวกรรมการผลิตยานยนต์, หลักสูตรวิศวกรรมอุตสาหการและการผลิตอัจฉริยะ, หลักสูตรวิศวกรรมหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ และหลักสูตรการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ (โครงการจัดตั้ง)
ชูจุดแข็งรูปแบบการเรียนการสอนผ่าน Work-based Education (WBE) หรือการเรียนรู้จากประสบการณ์จริง มุ่งเน้นการผลิตวิศวกรผู้เชี่ยวชาญปฏิบัติงานได้จริงและตอบโจทย์เทคโนโลยี อุตสาหกรรมสมัยใหม่ ทั้งด้าน IT, AI, ยานยนต์, หุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ ผ่านการฝึกงานทั้งในและต่างประเทศด้วยเครือข่ายที่แข็งแกร่ง เรียนจบพร้อมทำงานอย่างมืออาชีพทันที (Ready to Work) ตอบโจทย์อุตสาหกรรมเป้าหมายของไทย ทั้ง First S-Curve และ New S-Curve ขยายโอกาสในการสร้างรายได้และการจ้างงานใหม่ๆ เพราะกลุ่มอุตสาหกรรมเหล่านี้เปรียบเสมือนกลไกขับเคลื่อนเศรษฐกิจเพื่ออนาคต (New Engine of Growth)
วิศวกรรมฯ ปัญญาภิวัฒน์ หลักสูตรเจ๋ง ทุนแจ๋ว
ไทเกอร์- วสลักษณ์ พงโศธร บัณฑิตสาขาวิชาวิศวกรรมการผลิตยานยนต์ คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ ปัจจุบันก้าวสู่ วิศวกรเทคนิค บริษัท ICS Sakabe Co.,Ltd. ประเทศญี่ปุ่น เล่าจุดเริ่มต้นของความสำเร็จในสายวิชาชีพนี้ว่า ช่วงใกล้จบม.6 ทีมแนะแนว PIM ได้เข้าไปให้ข้อมูลที่โรงเรียนสายปัญญา รังสิต จึงเกิดความสนใจในสาขาวิชาวิศวกรรมการผลิตยานยนต์ เพราะพ่อแม่ทำงานด้านยานยนต์และสนใจรูปแบบการสอนของที่นี่ ซึ่งตนเองก็สนใจเรื่องเครื่องยนต์และมองเห็นโอกาสจากรูปแบบการเรียนคือฝึกงานไปด้วย เรียนไปด้วย หรือ Work-based Education มีเครือข่ายภาคธุรกิจที่เป็นองค์กรชั้นนำทั้งไทยและต่างประเทศ จึงเกิดความตั้งใจที่จะเรียนที่นี่ พร้อมตั้งเป้าหมายการไปฝึกงานและทำงานที่ต่างประเทศ ที่สำคัญคือได้รับทุนการศึกษา 50%
สำหรับการเรียนตลอด 4 ปีของสาขาวิชาวิศวกรรมการผลิตยานยนต์ จะได้เรียนรู้พื้นฐานทางวิศวกรรม 3 ศาสตร์สำคัญๆ “วิศวกรรมเครื่องกล + วิศวกรรมยานยนต์ + วิศวกรรมการผลิต” โดย 1.วิศวกรรมเครื่องกล เกี่ยวข้องกับการออกแบบ การผลิต และการดูแลรักษาเครื่องจักร รวมถึงการควบคุมและการจัดการการผลิตโดยใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย 2.วิศวกรรมยานยนต์ เกี่ยวข้องกับการออกแบบ การพัฒนา และการผลิตยานพาหนะทั้งรถยนต์ รถบัส รถไฟ รถจักรยานยนต์ และยานอวกาศ เฉพาะเรื่องของระบบการเคลื่อนที่และส่วนประกอบที่เกี่ยวข้อง และ 3.วิศวกรรมการผลิต เกี่ยวข้องกับการออกแบบและการจัดการกระบวนการผลิต เมื่อมีความรู้พื้นฐานที่สำคัญแล้ว จึงต่อยอดไปสู่เทคโนโลยียานยนต์สมัยใหม่ โดยมีการเรียนรู้ในเรื่องของอีโค่คาร์ รถยนต์ไฟฟ้า รถยนต์ไฮบริด รถยนต์ไร้คนขับ ตลอดจนเครื่องยนต์สำหรับยานยนต์สมัยใหม่ นำเทรนด์การเปลี่ยนแปลงในโลกธุรกิจยานยนต์ ด้วยการนำหุ่นยนต์ ระบบออโตเมชั่น และระบบการผลิตอัจฉริยะ มาใช้พัฒนาอุตสาหกรรมยานยนต์ เพื่อให้พร้อมสำหรับการเปลี่ยนผ่านจากอุตสาหกรรมยานยนต์ ไปสู่อุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าอัจฉริยะ
เรียนแล้วเวิร์ค ทำงานแล้วเวิร์ค
ไทเกอร์เล่าต่อว่า ปี 1 ได้ฝึกงานที่ 7-Eleven เป็นแคชเชียร์ เติมของ สั่งของ จัดสต๊อก สิ่งที่ได้คือฝึกความอดทน มนุษยสัมพันธ์ที่ดี และการเข้าใจงานบริการ ปี 2 ฝึกงานที่ บจก.เค้งหงษ์ทอง เป็นการฝึกงานซ่อมบำรุงรถ Mercedes-Benz ทำให้ได้เรียนรู้และทำความเข้าใจวิชาที่เรียนมาใช้ลงมือปฏิบัติจริง ปี 3 – ปี 4 มีโอกาสได้ไปฝึกงานที่ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ MTEC ศึกษาเกี่ยวกับถ่านกัมมันตภาพรังสีที่กักเก็บประจุไฟฟ้าในระบบรถยนต์ 3 เดือน แล้วกลับมาทำโปรเจ็คต์ ก่อนจะเดินทางไปฝึกงานที่คิตะคิวชู ประเทศญี่ปุ่น 4 เดือน ที่บริษัท ICS Sakabe Co.,Ltd.ในตำแหน่งวิศวกรฝ่ายผลิต เพราะสนใจเรื่องการผลิต ระบบไฟฟ้า ระบบอัตโนมัติในโรงงาน ที่เลือกโรงงานนี้เพราะทำเกี่ยวกับหุ่นยนต์และมีรุ่นพี่ไปทำงานที่นี่ อีกทั้งบริษัทมีแพลนมาเปิดสาขาที่เมืองไทย ก่อนฝึกงานจบบริษัทก็รับเข้าทำงานในตำแหน่งวิศวกรเทคนิค ตามเป้าหมายที่วางไว้ โดยไทเกอร์วางแผนทำงานที่ญี่ปุ่นยาว 5 ปี แล้วกลับเมืองไทยตามที่บริษัทแพลนไว้ ถึงตอนนั้นอาจจะทำธุรกิจของครอบครัวควบคู่ไปด้วย
“มาถึงวันนี้ผมคิดว่าเกินเป้าหมายครับ ตั้งแต่เข้ามาเรียนที่ PIM ก็ได้รับโอกาสในการพัฒนาตัวเองผ่านกิจกรรม ผ่านการฝึกงาน เมื่อได้งานที่ ICS Sakabe ประเทศญี่ปุ่น ทั้งครอบครัวก็ดีใจกันมากๆ ขอบคุณซีพี ออลล์ ที่เข้ามาสร้างโอกาสผ่านการศึกษา สนับสนุนความฝันเยาวชน ผมเชื่อว่าบัณฑิตที่จบจาก PIM เป็นคนเก่ง มีความสามารถ พร้อมทำงานได้ทันที” ไทเกอร์บอกเล่าอย่างภูมิใจ
นายยุทธศักดิ์ ภูมิสุรกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) ผู้บริหารร้านเซเว่น อีเลฟเว่น และเซเว่น เดลิเวอรี่ กล่าวว่า ซีพี ออลล์ ให้ความสำคัญกับนโยบาย “สร้างคน” โดยส่งเสริมการศึกษาพัฒนาเยาวชน เพื่อ “สร้างคนเก่ง คนดี มีความสามารถผ่านการศึกษา” ซึ่งเป็นฐานรากที่สำคัญของประเทศ การสร้างคนเป็นเรื่องหนึ่งที่ซีพี ออลล์ มุ่งมั่นดำเนินการอย่างต่อเนื่องผ่านสถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ และอีกหลากหลายช่องทาง ในแต่ละปีจึงมอบทุนการศึกษาให้แก่นักเรียนนักศึกษาจำนวนมาก รวมถึงจับมือพันธมิตรทั้งภาครัฐและภาคเอกชนในสาขาที่เกี่ยวข้อง มาร่วมขับเคลื่อนการสร้างคนอย่างต่อเนื่อง โดยในปี 2568 ซีพี ออลล์ ตั้งเป้ามอบทุนการศึกษามากกว่า 37,000 ทุน คิดเป็นมูลค่ากว่า 1,181 ล้านบาทเพื่อช่วยให้สังคมและเศรษฐกิจของไทยขับเคลื่อนไปข้างหน้าได้อย่างเข้มแข็ง ตามปณิธานองค์กร Giving and Sharing
“นิยามของคำว่า Luxury คืออะไร” คำถามที่ผุดขึ้นมาในความคิดของหลายคน
กลุ่มบริษัทซีดีจี ผู้ให้บริการด้านระบบเทคโนโลยีสารสนเทศแบบครบวงจร แก่องค์กรภาครัฐ รัฐวิสาหกิจและเอกชน