December 22, 2024

กระแสของกัญชากลับมาเป็นที่พูดถึงอีกครั้ง หลังจากที่มีแนวโน้มว่าโฉมหน้ารัฐบาลชุดใหม่จะมีพรรคภูมิใจไทยรวมอยู่ในสมการนั้นด้วย หลังจากที่ชะงักไปบ้างเมื่อครั้งการจัดตั้งรัฐบาลของพรรคก้าวไกล ที่ใน MOU ระบุจะนำกัญชากลับไปอยู่ในบัญชียาเสพติดให้โทษโดยมีกฎหมายควบคุมและรองรับการใช้ประโยชน์จากกัญชา ซึ่งเท่ากับว่านโยบายกัญชาเสรี ของรัฐบาลชุดที่แล้วซึ่งผลักดันโดยพรรคภูมิใจไทยมีแนวโน้มว่าจะได้ไปต่อ

ทั้งนี้ ต้องยอมรับว่า นโยบายการเปิดเสรีกัญชามีทั้งคุณและโทษ หลายเรื่องยังเป็นข้อถกเถียงที่ยังไม่ได้ข้อสรุปในสังคมไทย โดยเฉพาะประเด็นทางด้านสังคมและระบบสาธารณสุขที่ได้รับผลกระทบจากการปลดล็อกกัญชาโดยไม่มีการควบคุมและยังไม่มีมาตรการรองรับอย่างรอบด้าน  แต่หากพิจารณาในด้านเศรษฐกิจแล้ว กัญชาเป็นพืชที่สามารถทำรายได้ได้จริง จากข้อมูลของศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ซึ่งมีการประเมินมูลค่าตลาดของอุตสาหกรรมกัญชา-กัญชง ณ ปี 2565 นับตั้งแต่ต้นน้ำถึงผลิตภัณฑ์ปลายน้ำ มีมูลค่ารวมถึงกว่า 28,000 ล้านบาท แบ่งเป็นผลิตภัณฑ์ต้นน้ำมูลค่า 9,615 ล้านบาท ผลิตภัณฑ์กลางน้ำ 14,690 ล้านบาท ส่วนผลิตภัณฑ์ปลายน้ำ 3,750 ล้านบาท แบ่งเป็น ยารักษาโรคและอาหารเสริม มูลค่า 1,500 ล้านบาท อาหารและเครื่องดื่ม 1,200 ล้านบาท เครื่องสำอางและผลิตภัณฑ์ส่วนบุคคล 800 ล้านบาท เครื่องนุ่งห่มและของใช้ส่วนตัว 250 ล้านบาท และยังมีการคาดการณ์ว่ามูลค่าตลาดในอีก 2 ปีข้างหน้า จะโตได้ 10-15% คิดเป็นมูลค่าสูงถึง 42,800 ล้านบาท

 

และจากการเก็บรวบรวมข้อมูลในสังคมออนไลน์โดยใช้เครื่องมือ DXT360 ของ บริษัท ดาต้าเซ็ต จำกัด ที่มีการกล่าวถึงผลิตภัณฑ์ปลายน้ำของอุตสาหกรรมกัญชา-กัญชง ในช่วงวันที่ 1 กรกฎาคม – 8 สิงหาคม 2566 พบว่ามีการพูดถึงทั้งหมด 902 ข้อความ และได้รับการมีส่วนร่วม หรือ Engagement ถึง 12,358 ครั้ง ซึ่งเห็นได้ว่าผู้คนบนสังคมออนไลน์ให้ความสนใจกับผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวกับกัญชา-กัญชงไม่น้อย และถ้าดูจากสัดส่วนการโพสต์ลงบนโซเชียล แยกตามกลุ่มผลิตภัณฑ์ ดังนี้

· ผลิตภัณฑ์เครื่องแต่งกาย มีการโพสต์ขายสินค้าที่เป็นผลิตภัณฑ์ภายในประเทศและต่างประเทศ ที่ใช้ส่วนประกอบอย่างเส้นใยของกัญชามาช่วยปรับปรุงคุณภาพของสินค้าให้มีความแข็งแรงขึ้น โดยพบว่าผลิตภัณฑ์กลุ่มนี้มีสัดส่วนการโพสต์บนโลกออนไลน์มากที่สุดคิดเป็น 57.43%

· ผลิตภัณฑ์ยา/การแพทย์ มีการโพสต์ส่วนใหญ่เป็นการใช้สารสกัดจากน้ำมันกัญชามาใช้เป็นส่วนประกอบของยาเพื่อการรักษาต่าง ๆ เช่น ประกอบการรักษาในผู้ป่วยโรคมะเร็ง รักษาอาการปวดท้อง และรักษาอาการปวดเรื้อรัง เป็นต้น โดยสัดส่วนการโพสต์สินค้าประเภทนี้มีถึง 27.05%

· ผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง มีการโพสต์ขายผลิตภัณฑ์เพื่อความงามและการทำความสะอาดโดยใช้ส่วนประกอบเป็นสารสกัดน้ำมันจากเมล็ดกัญชง เช่น ผลิตภัณฑ์บำรุงผิว สบู่ และยาสระผม เป็นต้น ซึ่งสัดส่วนการโพสต์สินค้าประเภทนี้มีมากที่สุดคิดเป็น 8.43%

· ผลิตภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่ม พบว่ามีการนำกัญชามาเป็นส่วนผสมของอาหารและเครื่องดื่ม ไม่ว่าจะเป็นขนม ผงเครื่องดื่ม และเครื่องดื่มบรรจุขวด ซึ่งส่วนผสมที่ใช้ส่วนใหญ่จะเป็นสารสกัดน้ำมันกัญชาและใบกัญชา โดยสัดส่วนการโพสต์สินค้าประเภทนี้มีมากที่สุดคิดเป็น 6.54%

· ผลิตภัณฑ์อื่น ๆ นอกจากผลิตภัณฑ์ทั้ง 4 ข้างต้น พบว่ามีการโพสต์ผลิตภัณฑ์อื่น ๆ 0.55% เช่น สินค้าประเภทวัสดุก่อสร้าง คือ อิฐ และ เฮมป์พาร์ทิเคิลบอร์ด หรือแผ่นกั้นผนังห้อง เป็นต้น ซึ่งในอนาคตอาจมีแนวโน้มว่าจะมีการนำสารสกัดจากกัญชาและกัญชงมาใช้แปรรูปหรือพัฒนาเป็นสินค้าหรือนวัตกรรมที่มีความหลากหลายในด้านของรูปแบบสินค้าและประเภทของสินค้ามากขึ้น

นอกจากนี้ เมื่อดูความคิดเห็นบนโซเชียล พบประเด็นที่น่าสนใจ ดังนี้

 

จากข้อมูลพบว่าผู้ใช้งานแพลตฟอร์มออนไลน์จะมีความคิดเห็นเชิงบวกต่อผลิตภัณฑ์ยา/การแพทย์ โดยมีการพูดถึงในเรื่องของการยอมรับการใช้กัญชามาประกอบการรักษามากขึ้นด้วย โดยเฉพาะการรักษาหรือบำบัดผู้ป่วยโรคมะเร็ง ถึงแม้ในความเป็นจริงจะยังไม่มีหลักฐานพิสูจน์ทางด้านวิทยาศาสตร์รองรับว่าสามารถรักษาผู้ป่วยโรคมะเร็งได้

แต่หากมองในมุมของผลิตภัณฑ์ประเภทอาหารและเครื่องดื่มพบว่า ผู้คนบนโซเชียลได้มีการแสดงความคิดเห็นที่สื่อถึงความกังวลและความคิดเห็นไปในทิศทางเชิงลบ โดยเฉพาะความกังวลในเรื่องการบริโภคอาหารหรือเครื่องดื่มที่มีสารสกัดจากกัญชา-กัญชง ที่อาจได้รับเกินปริมาณที่กำหนดจนทำให้เกิดผลเสียร้ายแรงต่อสุขภาพ หรือนำไปสู่การเสพติดไปจนถึงทำให้เกิดการเสียชีวิตได้

กล่าวได้ว่า นับแต่มีการปลดล็อกกัญชาออกจากบัญชียาเสพติดให้โทษ ตั้งแต่วันที่ 9 มิ.ย. 2565 และแนวโน้มการจัดตั้งรัฐบาลใหม่ที่น่าจะมีพรรคภูมิใจไทยเป็นหนึ่งในพรรคร่วมรัฐบาล การใช้กัญชาจึงยังคงอยู่ในสถานะที่ถูกเปิดช่องให้ใช้ได้อย่างเสรี โดยไม่ได้ถูกจำกัดเพียงการใช้ทางการแพทย์ ไปจนกว่า

จะมีการออกมาตรการเพื่อควบคุมการเข้าถึงและการใช้อย่างเหมาะสม เรื่องของกัญชาจึงได้กลายเป็นวาระในการถกเถียงของคนทุกระดับในสังคมไทย

CR :  Inforquest

เวียดนามเป็นประเทศที่มีอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจสูงที่สุดในอาเซียน ในรอบ 10 ปีที่ผ่านมา

บนการคาดการณ์ที่ยังเติบโตเฉลี่ยต่อเนื่องสูงถึง 6.6% ต่อปีในช่วงปี 2565-2571 ผลจากความสำเร็จในการเป็นฐานการผลิตที่สำคัญของอาเซียน จากการที่เศรษฐกิจขยายตัวเป็นการเพิ่มกำลังซื้อ ขณะที่ภาคผลิตมีความต้องการปัจจัยการผลิต ส่งผลให้เวียดนามมีการนำเข้าสินค้าเพื่อตอบสนองความต้องการดังกล่าวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง จนกลายเป็นตลาดส่งออกหลักอันดับ 4 ของไทยในปี 2565 ด้วยมูลค่า 4.59 แสนล้านบาท อย่างไรก็ตามด้วยโครงสร้างทางเศรษฐกิจของเวียดนามที่พลิกโฉมความท้าทายจากการแข่งขันทางการค้า รวมถึงนโยบายทางเศรษฐกิจของเวียดนามส่งผลให้ตลาดส่งออกของไทยไปเวียดนามคาดว่าจะเผชิญกับแรงกดดันอย่างรุนแรงตั้งแต่ต้นปี 2566 เป็นต้นไป

เวียดนามเป็นประเทศที่มีศักยภาพในการพัฒนาเศรษฐกิจจากการเป็นฐานการผลิตสำคัญของบรรษัทข้ามชาติต่าง ๆ จากข้อได้เปรียบในเรื่องของต้นทุนการผลิต รวมถึงข้อได้เปรียบจากพื้นที่ภูมิศาสตร์ที่เชื่อมโยงกับตลาดใหญ่ในหลากหลายภูมิภาค เช่น การคมนาคมทางทะเลในเส้นทางแปซิฟิก ที่เชื่อมโยงกับตลาดเอเชียตะวันออก เช่น จีน เกาหลีใต้ และ ญี่ปุ่น รวมถึงตลาดใหญ่ของโลก เช่น สหรัฐอเมริกา โดยเฉพาะโครงข่ายคมนาคมทางบกที่เอื้ออำนวยในการเชื่อมโยงของเศรษฐกิจเวียดนามเข้ากับประเทศในกลุ่มอาเซียน ส่งผลให้เวียดนามเป็นแหล่งรับเม็ดเงินการลงทุนโดยตรงระหว่างประเทศ (Foreign Direct Investment) เพิ่มขึ้นต่อเนื่องจนแตะระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ในปี 2565 ที่สูงถึง 22.4 พันล้านเหรียญดอลลาร์สหรัฐ อันเป็นรากฐานการพัฒนาทางเศรษฐกิจของเวียดนามให้มีการขยายตัวต่อเนื่องที่เฉลี่ยสูงถึง 6.6% ในช่วงปี 2566-2571 จากการประมาณการของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF)

ทั้งนี้ เศรษฐกิจเวียดนามได้รับแรงขับเคลื่อนผ่านการลงทุนทางตรงจากต่างประเทศ ทำให้เวียดนามมีการขยายตัวทางเศรษฐกิจด้วยค่าเฉลี่ยสูงถึง 7.3% บนรายได้ต่อหัว (GDP Per Capita) ที่เพิ่มขึ้นถึง 90.1% ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา ส่งผลต่อการนำเข้ากลุ่มสินค้าอุปโภคบริโภคเพิ่มขึ้นต่อเนื่องตามกำลังซื้อที่เพิ่มอย่างก้าวกระโดด ในขณะเดียวกันการเป็นฐานการผลิตสำคัญในภูมิภาคอาเซียน เป็นการเพิ่มความต้องการนำเข้าสินค้าในกลุ่มของปัจจัยการผลิต ส่งผลให้เวียดนามยกระดับการเป็นตลาดส่งออกสำคัญของไทยที่มีมูลค่าอันดับ 9 ในปี 2555 กลายเป็นตลาดส่งออกอันดับ 4 ในปี 2565 ที่มูลค่า 4.59 แสนล้านบาท ซึ่งเติบโตถึง 129% เมื่อเที่ยบกับช่วง 10 ปีที่ผ่านมา อย่างไรก็ดีนับจากปี 2566 ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจ ทีทีบี หรือ ttb analytics ประเมินสถานการณ์ส่งออกไปเวียดนามมีแรงกดดันมากขึ้น โดยคาดว่ามูลค่าส่งออกจะชะลอตัวลงเหลือ 3.97 - 4.02 แสนล้านบาท หรือลดลง 12.3% - 13.4% จากแรงกดดัน 4 ประการดังต่อไปนี้

1) ราคาสินค้าส่งออกหลักหลายรายการมีทิศทางลดลง เช่น เม็ดพลาสติก และ ผลิตภัณฑ์โลหะทองแดงที่มีมูลค่าการส่งออก 3.3 หมื่นล้านบาท และ 1.46 หมื่นล้านบาท ในปี 2565 มีราคาส่งออกต่อหน่วยที่ลดลง 6.5% และ 8.0% ตามลำดับ รวมถึง น้ำมันสำเร็จรูปที่มีมูลค่าส่งออกสูงถึง 4.7 หมื่นล้านบาท มีแรงกดดันจากราคาที่ปรับลดลงเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนที่ 8.7% แต่เมื่อเทียบกับราคาเฉลี่ยทั้งปีอาจปรับลดลงถึง 17.7% นอกจากนี้ ในช่วงครึ่งหลังของปี 2566 การ

ส่งออกไทยยังได้รับแรงกดดันจากอัตราแลกเปลี่ยนที่กดดันให้มูลค่าการส่งออกลดลงจากค่าเงินบาทที่แข็งขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงครึ่งปีหลังของปี 2565 ที่เงินบาทอ่อนค่าทะลุที่ 38 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐในเดือนตุลาคม

2) การผลิตในเวียดนามสามารถรองรับอุปสงค์ในประเทศได้ดีขึ้น จากการยกระดับเป็นฐานการผลิตที่สำคัญ เช่น การสร้างโรงกลั่นน้ำมันที่ใหญ่ที่สุดในเวียดนามที่เริ่มผลิตได้เต็มกำลังการผลิตในปีที่ผ่านมา และการย้ายฐานการผลิตของผู้ผลิตสินค้าอิเล็กทรอนิกส์รายใหญ่ ส่งผลต่อการลดการพึ่งพิงการนำเข้าสินค้าและบริการจากต่างประเทศได้อย่างมีนัยสำคัญ

3) การนำเข้าในตลาดเวียดนามมีการแข่งขันสูงขึ้น เช่น กลุ่มสินค้าน้ำมันสำเร็จรูป ที่เวียดนามมีทิศทางนำเข้าจากเกาหลีใต้เพิ่มสูงขึ้นโดยมีมูลค่า 38% จากมูลค่านำเข้าน้ำมันสำเร็จรูปทั้งหมดจากความสัมพันธ์ทางธุรกิจที่เกาหลีใต้เข้าไปลงทุนในธุรกิจโรงกลั่นน้ำมัน ในขณะที่การนำเข้าจากไทยมีทิศทางลดลงจากที่เคยมีสัดส่วนที่ 16.3% ในปี 2564 ลดลงเหลือเพียง 12.6% ในปี 2565 รวมถึงในกลุ่มสินค้าส่งออกลำดับ 6 เช่น ผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับทองแดงที่มีมูลค่าส่งออกในปี 2565 ที่ 1.46 หมื่นล้านบาท พบทิศทางการนำเข้าของเวียดนามจากประเทศอินโดนีเซียเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง จากปี 2561 ที่เวียดนามนำเข้าทองแดงจากอินโดนีเซียเพียง 8.8% เมื่อเทียบกับการนำเข้าจากไทย เพิ่มสูงขึ้นเป็น 34.8% ในปี 2565 ที่ผ่านมา รวมถึงใน 5 เดือนแรกของปี 2566 พบสัดส่วนดังกล่าวเพิ่มสูงถึง 54% สะท้อนถึงบทบาทการถูกลดบทบาทของไทยในการเป็นคู่ค้าสำคัญของเวียดนามลงเมื่อเทียบกับประเทศอื่น

4) ผลของนโยบายภายในประเทศเวียดนาม ในประเด็นความตื่นตัวของการลดการใช้ถุงพลาสติกในปี 2573 โดยเริ่มมีมาตรการบังคับใช้อย่างจริงจังในร้านละดวกซื้อและห้างสรรพสินค้าในปี 2568 และจะเริ่มมีการปรับเงินเมื่อแจกถุงประเภทใช้แล้วทิ้งในปี 2569 ส่งผลให้เวียดนามเริ่มมีความตื่นตัวและเริ่มปรับกลยุทธ์เพื่อลดการใช้ผลิตภัณฑ์พลาสติก ส่งผลให้ในช่วง 5 เดือนแรกของปี 2566 นี้ มูลค่าการส่งออกเม็ดพลาสติกของไทยไปเวียดนามลดลงถึง 36.5% โดยเป็นการลดลงจากผลของปริมาณส่งออกสูงถึง 28%

โดยสรุป เวียดนามนับเป็นตลาดส่งออกที่มีบทบาทเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องในช่วงเวลามากกว่า 10 ปีที่ผ่านมา แต่อย่างไรก็ตามด้วยเบื้องหลังความสำเร็จของการยกระดับด้านการเป็นฐานการผลิตสำคัญในภูมิภาคอาเซียนของเวียดนามช่วยพัฒนาภาคการผลิตที่สามารถใช้เพื่อตอบสนองความต้องการที่เพิ่มสูงขึ้นได้ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้เวียดนามสามารถลดการพึ่งพิงการนำเข้าสินค้าอุปโภคขั้นสุดท้ายได้ในหลากหลายรายการ รวมถึงบนโมเมนตัมการขยายตัวของเศรษฐกิจและภาคการค้าของเวียดนามเป็นที่ดึงดูงให้เป็นคู่ค้าสำคัญโดยเฉพาะกลุ่มเอเชียตะวันออกที่เป็นพื้นที่เศรษฐกิจใหญ่และได้เปรียบเรื่องการคมนาคมขนส่ง ส่งผลให้การส่งออกของไทยไปเวียดนามนับจากปี 2566 คาดว่าจะเผชิญกับความท้าทายอย่างต่อเนื่อง และเป็นโจทย์ให้รัฐบาลชุดใหม่ในการเร่งเจรจาการค้าเพื่อชดเชยความเสียเปรียบให้กับประเทศคู่ค้าอื่น รวมถึงภาคธุรกิจจำเป็นต้องเร่งปรับตัวเพื่อรักษาศักยภาพส่งออกสินค้าในกลุ่มปัจจัยการผลิตที่สามารถเติบโตได้ตามภาคการผลิตของเวียดนาม เช่น ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ และกลุ่มสินค้าอุปโภคบริโภคที่เติบโตตามกำลังซื้อ เช่น กลุ่มผลิตภัณฑ์ทำความสะอาด และผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพ เป็นต้น

(กรุงเทพฯ ประเทศไทย) กุมภาพันธ์ 2566 – งานวิจัยฉบับใหม่* จากมินเทล ผู้เชี่ยวชาญด้านข้อมูลตลาดระดับโลก ชี้ว่าการใช้เวลาส่วนใหญ่ในชีวิตในช่วงเวลาแห่งความไม่แน่นอนทำให้คน Gen Z** ให้ความสำคัญกับอนาคต หาความรู้ทางการเงินมากขึ้น และตัดสินใจอย่างชาญฉลาดขึ้นในการจับจ่ายใช้สอย

หลังจากต้องประสบกับเหตุการระบาดใหญ่โควิด-19 ส่งผลให้ภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ เงินเฟ้อสูง สภาพภูมิอากาศเปลี่ยนแปลงไป ผู้บริโภคชาวไทยที่มีอายุต่ำกว่า 25 ปี มีความอยากใช้เงินลดลง โดยประมาณ 3 ใน 4 คน (75%) เลือกที่จะเก็บออมเพื่ออนาคตมากกว่าการใช้เงินไปกับการซื้อสิ่งของต่าง ๆ

ปัจจุบันคนรุ่นใหม่คิดก่อนจ่ายเสมอ โดยคนรุ่นใหม่ประมาณ 4 ใน 5 คน (86%) อ่านรีวิวสินค้าก่อนซื้อ พวกเขายังยินดีมากขึ้นที่จะจ่ายเงินไปกับผลิตภัณฑ์ที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ (53%) ผลิตภัณฑ์ที่ได้รับการรับรองที่น่าเชื่อถือ (39%) และผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (36%)

แม้ว่าคน Gen Z ประมาณ 2 ใน 3 คน (60%) มีความพึงพอใจกับชีวิตของพวกเขาในช่วงครึ่งปีที่ผ่านมา (จนถึงเดือนมิถุนายน 2565) งานวิจัยจากมินเทลชี้ว่า ผู้บริโภครุ่นใหม่รู้สึกเครียดและโดดเดี่ยว พวกเขาให้ความสำคัญกับสุขภาพองค์รวมและความเป็นอยู่ที่ดีในการตัดสินใจซื้อสินค้าและบริการ

คน Gen Z มองหาทางออกด้านสุขภาพที่มีคุณภาพและเข้าถึงได้ง่าย แต่มากกว่า 2 ใน 3 คน (38%) จะตัดสินใจซื้อสินค้านั้นๆ ก็ต่อเมื่อพวกเขาสามารถตรวจสอบได้ว่าผลิตภัณฑ์เหล่านั้นเป็นของแท้และน่าเชื่อถือ โดยการกระทำนี้เห็นได้ชัดในการจับจ่ายไปกับผลิตภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่ม ซึ่งคน Gen Z ใช้เงินกับผลิตภัณฑ์กลุ่มนี้มากที่สุด (65%)

แม้ว่าคน Gen Z จะพบเจอความท้าทายมากมาย ความมุ่งมั่นของพวกเขาที่มีต่อความยั่งยืนและประโยชน์ต่อสังคมยังคงไม่เปลี่ยนแปลง และพวกเขายังคาดหวังที่จะเห็นคุณค่าของตนเองสะท้อนออกมาจากแบรนด์ที่พวกเขาเลือก คน Gen Z จำนวนมากกว่า 3 ใน 4 คน (76%) ในประเทศไทย กล่าวว่าพวกเขาใช้ความพยายามมากกว่าเดิมในชีวิตประจำวันเพื่อรักษาสิ่งแวดล้อม และประมาณ 25% คิดว่าการจ่ายเงินเพิ่มขึ้นให้กับผลิตภัณฑ์ที่มีความยั่งยืนนั้นเป็นสิ่งที่คุ้มค่า

ช่องทางออนไลน์ยังคงเป็นช่องทางที่ผู้บริโภครุ่นใหม่ในประเทศไทยใช้งานบ่อยที่สุด โดยมากกว่า 3 ใน 5 คน (65%) ระบุว่าพวกเขาอยากซื้อของผ่านช่องทางออนไลน์มากกว่าออฟไลน์ และจำนวนใกล้เคียงกัน (64%) ระบุว่าพวกเขาเลื่อนดูสิ่งต่าง ๆ บนโซเชียลมีเดียเพื่อการผ่อนคลาย

ดร. วิลาสิณี ศิริบูรณ์พิพัฒนา (ไข่มุก) นักวิเคราะห์ไลฟ์สไตล์อาวุโส มินเทล รีพอร์ทส์ ประเทศไทย กล่าวว่า “ผู้บริโภคอายุ 18-25 ปี มีจำนวนประมาณ 1 ใน 5 ของผู้บริโภคในประเทศไทยทั้งหมด พวกเขาเป็นตัวแทนของอนาคต แบรนด์จำเป็นต้องทำความเข้าใจถึงวิธีการที่จะเข้าหาผู้บริโภคกลุ่มนี้และสร้างความภักดีต่อแบรนด์ตั้งแต่เนิ่น

“แต่แบรนด์จะพบกับความท้าทายเช่นกัน แม้ผู้บริโภค Gen Z ส่วนใหญ่ต้องการใช้เงินมากกว่าการเก็บออม แต่หลายคนก็ยังต้องพึ่งพาผู้ปกครองในด้านการเงินอยู่ และพวกเขาอาจไม่มีอิสระในการเลือกจับจ่ายใช้สอย

“แบรนด์สามารถเชื่อมต่อกับคน Gen Z ได้อย่างสำเร็จและมีประสิทธิภาพโดยการใช้ช่องทางดิจิทัล โดยการเสนอข้อมูลอย่างแท้จริง โปร่งใส และสนับสนุนในสิ่งที่ผู้บริโภค Gen Z ให้ความสนใจมากที่สุด แบรนด์สามารถใช้โอกาสนี้เพื่อช่วยลดความกังวลในการใช้เงิน โดยเพิ่มคุณค่าให้กับการใช้จ่ายของผู้บริโภครุ่นใหม่ และช่วยให้พวกเขาสามารถเก็บออมได้ดีมากขึ้นสำหรับอนาคต”

หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับเทรนด์การตลาดของผู้บริโภค Gen Z และบทสัมภาษณ์นักวิเคราะห์ สามารถส่งคำขอได้ที่ Mintel Press Office

เมื่อเร็วๆ นี้ หน่วยงานกำกับดูแลด้านยาและผลิตภัณฑ์สุขภาพของสหราชอาณาจักร (MHRA) และหน่วยงานกำกับดูแลด้านยาและผลิตภัณฑ์สุขภาพของยุโรป (EMA)

X

Right Click

No right click