November 23, 2024

กรุงเทพฯ – (8 พฤศจิกายน 2567) – บริษัท แอสเซนด์ มันนี่ จำกัด ผู้นำบริการทางการเงินรวมทั้งสินเชื่อดิจิทัล และผู้ให้บริการแอปพลิเคชันทรูมันนี่ ประกาศความสำเร็จในการไถ่ถอนหุ้นกู้ไม่ด้อยสิทธิของบริษัทย่อย ได้แก่ บริษัท แอสเซนด์ นาโน จำกัด มูลค่า 392,300,000 บาท ก่อนครบกำหนด ทั้งนี้ หุ้นกู้ดังกล่าวมีกำหนดครบไถ่ถอนในวันที่ 15 พฤศจิกายน 2568 แต่บริษัทฯ สามารถดำเนินการไถ่ถอนหุ้นกู้ก่อนครบกำหนดไถ่ถอนในวันที่ 15 พฤศจิกายน 2567 ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความมั่นคงทางการเงินและการบริหารจัดการทางการเงินที่มีประสิทธิภาพของบริษัทฯ โดยหุ้นกู้ดังกล่าวให้อัตราดอกเบี้ย 6.75% ต่อปี

คุณอชิรา เตาลานนท์ ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายการเงิน บริษัท แอสเซนด์ กรุ๊ป จำกัด กล่าวว่า “การตัดสินใจไถ่ถอนหุ้นกู้ แอสเซนด์ นาโน ก่อนกำหนดในครั้งนี้เป็นส่วนหนึ่งของกลยุทธ์ระยะยาวของบริษัทฯ รวมทั้งสะท้อนให้เห็นถึงความแข็งแกร่งทางการเงิน และความสามารถในการบริหารจัดการทางการเงินได้อย่างมีประสิทธิภาพ สร้างความมั่นใจแก่นักลงทุนในการบริหารจัดการและรักษาผลประโยชน์ของผู้ถือหุ้นกู้ ซึ่งการปรับปรุงโครงสร้างเงินทุน และลดภาระดอกเบี้ยในครั้งนี้ จะช่วยเสริมสร้างความมั่นคงและเตรียมพร้อมสำหรับการขยายธุรกิจของกลุ่มบริษัท แอสเซนด์ มันนี่ ต่อไป ทั้งนี้ บริษัทฯ ขอขอบคุณนักลงทุนที่ให้ความสนใจและเชื่อมั่นในการลงทุนหุ้นกุ้ของกลุ่มบริษัทเสมอมาทั้งหุ้นกู้ แอสเซนด์ นาโน และหุ้นกู้ ทรูมันนี่ ในช่วงที่ผ่านมา”

บริษัท แอสเซนด์ นาโน จำกัด อยู่ภายใต้กลุ่มบริษัท แอสเซนด์ มันนี่ จำกัด และมีบทบาทสำคัญในการขยายบริการและการเข้าถึงสินเชื่อดิจิทัลในประเทศไทย โดยหนึ่งในผลิตภัณฑ์สำคัญของแอสเซนด์ นาโน คือ เพย์เน็กซ์ (Pay Next) ซึ่งเป็นบริการวงเงินและสินเชื่อที่ให้บริการผ่านแอปพลิเคชันทรูมันนี่ (TrueMoney) ที่มีผู้ใช้งานครอบคลุมกว่า 32 ล้านคนในประเทศไทย

 

คุณอชิรา เตาลานนท์ ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายการเงิน บริษัท แอสเซนด์ กรุ๊ป จำกัด

ที่ผ่านมา แอสเซนด์ นาโน ได้มีการนำระบบบริหารความเสี่ยงที่ครอบคลุมมาใช้เพื่อให้มั่นใจว่าการให้สินเชื่อเป็นไปตามนโยบายการให้สินเชื่ออย่างยั่งยืนและมีความรับผิดชอบ โดยบริษัทฯ ได้นำเทคโนโลยีเอไอและการวิเคราะห์ข้อมูลขั้นสูง รวมทั้งการคำนวณความเสี่ยงทางการเงินที่ประเมินจากข้อมูลทางเลือก (Alternative Data) อาทิ พฤติกรรมการเติมเงินและการใช้จ่ายผ่านแอป มาประยุกต์ใช้ในการประเมินสินเชื่อ ซึ่งการประเมินแบบครอบคลุมนี้ ทำให้ แอสเซนด์ นาโน สามารถวิเคราะห์ความสามารถในการชำระหนี้ของผู้ที่สมัครสินเชื่อได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยไม่จำเป็นต้องพึ่งพาข้อมูลเครดิตแห่งชาติเพียงอย่างเดียว ซึ่งช่วยให้ผู้บริโภคและธุรกิจรายย่อยที่แต่ก่อนไม่สามารถเข้าถึงแหล่งเงินกู้จากสถาบันการเงิน สามารถสมัคร รู้ผล และเข้าถึงแหล่งเงินทุนและผลิตภัณฑ์การเงินที่หลากหลายได้อย่างสะดวกรวดเร็วผ่านแอปพลิเคชันทรูมันนี่ โดยการบริการวงเงินและสินเชื่อในรูปแบบดังกล่าวได้เปิดโอกาสให้ผู้บริโภคและผู้ประกอบธุรกิจรายย่อย เช่น พ่อค้า แม่ค้า สามารถเข้าถึงแหล่งเงินฉุกเฉินในเวลาที่จำเป็น ไปพร้อม ๆ กับต่อยอดการเติบโตของธุรกิจของตนได้โดยไม่ต้องพึ่งพาแหล่งเงินกู้นอกระบบ นอกจากนี้ แอสเซนด์ นาโน ยังมีการควบคุมการปล่อยวงเงินและสินเชื่อโดยปรับไปตามพฤติกรรมและความสามารถในการชำระหนี้ของผู้ใช้ เพื่อเสริมสร้างวินัยและการใช้วงเงินอย่างมีความรับผิดชอบ ซึ่งจะนำไปสู่การพัฒนาคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้นของพวกเขาเหล่านี้อย่างยั่งยืน

“บริการและนโยบายต่างๆ ของ แอสเซนด์ นาโน สอดคล้องกับพันธกิจของกลุ่ม แอสเซนด์ มันนี่ ในการสร้างนวัตกรรมทางการเงินที่ช่วยทำให้ทุกคนสามารถเข้าถึงบริการทางการเงินที่หลากหลายและมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น แอสเซนด์ นาโน จะยังคงมุ่งมั่นที่จะขยายบริการสินเชื่อดิจิทัล ไปพร้อม ๆ กับขยายความร่วมมือกับหน่วยงานกำกับดูแล

หน่วยงานภาครัฐ และพันธมิตรที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้นวัตกรรมทางการเงินเป็นเครื่องมือสำคัญในการเสริมสร้างความมั่นคงทางการเงินของคนไทย และสร้างเสถียรภาพทางเศรษฐกิจให้ประเทศไทยต่อไป” คุณอชิรา กล่าวสรุป

 บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) (บริษัทฯ) บริษัทโทรคมนาคม-เทคโนโลยีชั้นนำอันดับ 1 ของไทย และอันดับ 1 ของโลกด้านความยั่งยืน ด้วยคะแนน DJSI 2023 สูงสุดในกลุ่มอุตสาหกรรมโทรคมนาคมเป็นปีที่ 6 ติดต่อกัน เตรียมเสนอขายหุ้นกู้ชุดใหม่ให้แก่ผู้ลงทุนทั่วไป จำนวน 5 ชุด อายุหุ้นกู้ตั้งแต่ 2 ปี ถึง 10 ปี อัตราดอกเบี้ยคงที่ระหว่าง [2.95 - 4.10]% ต่อปี ด้วยอันดับความน่าเชื่อถือ “A+” แนวโน้ม “คงที่” (Stable) จากทริสเรทติ้ง สะท้อนถึงความแข็งแกร่งของบริษัททรู คอร์ปอเรชั่นในธุรกิจโทรคมนาคม และธุรกิจเทคโนโลยีดิจิทัล คาดเปิดให้จองซื้อระหว่างวันที่ 21-22 และ 25 พฤศจิกายน 2567 ผ่าน 7 สถาบันการเงินชั้นนำได้แก่ ธนาคารกรุงเทพ กสิกรไทย ไทยพาณิชย์ ซีไอเอ็มบี ยูโอบี บริษัทหลักทรัพย์เกียรตินาคินภัทร และบริษัทหลักทรัพย์ เอเซีย พลัส รวมถึงการขายผ่านแอปพลิเคชัน TrueMoney Wallet โดยมีธนาคารกรุงศรีอยุธยา เป็นนายทะเบียนหุ้นกู้และผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้

นางสาวยุภา ลีวงศ์เจริญ หัวหน้าคณะผู้บริหารด้านการเงิน (ร่วม) บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน)กล่าวว่า “เรามุ่งมั่นสร้างการเติบโตอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน โดยผลประกอบการไตรมาส 2 ปี 2567 ของทรู คอร์ปอเรชั่นแสดงถึงความสำเร็จต่อเนื่องจากการควบรวมทรูและดีแทค ด้วยกำไรสุทธิ (หลังหักภาษีและหลังปรับปรุงรายการพิเศษ) 2.4 พันล้านบาท และ EBITDA ที่เติบโตเป็นไตรมาสที่ 6 ติดต่อกัน สะท้อนการเติบโตของรายได้จากธุรกิจหลักและการบริหารต้นทุนที่มีประสิทธิภาพ เรายังมุ่งสู่การเป็นผู้นำโทรคมนาคมและเทคโนโลยีที่ยั่งยืน เน้นการใช้ AI และระบบอัตโนมัติเพื่อยกระดับประสบการณ์ลูกค้าและเพิ่มประสิทธิภาพในองค์กร นอกจากนี้ การลงทุนในเครือข่าย 5G ที่ครอบคลุม 92% ของประชากร จะช่วยผลักดันการเติบโตของบริษัทและสร้างคุณค่าแก่ผู้ที่เกี่ยวข้องทุกฝ่ายอย่างยั่งยืน”

บริษัทฯ และหุ้นกู้ได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถือที่ “A+” แนวโน้ม “คงที่” (Stable) จากบริษัท ทริสเรทติ้ง จำกัด เมื่อวันที่ 4 ตุลาคม 2567 ซึ่งสะท้อนถึงสถานะผู้นำทางการตลาด (market position) ในตลาดโทรศัพท์เคลื่อนที่และอินเทอร์เน็ตบรอดแบนด์ เสริมทัพด้วยโครงข่ายทั่วประเทศ ชุดคลื่นความถี่ที่ครอบคลุม และชื่อแบรนด์ที่ผู้บริโภคคุ้นเคย อีกทั้งปัจจัยบวกจากประโยชน์ที่คาดว่า จะเกิดขึ้นจากการควบรวม รวมถึงประสิทธิภาพในการดำเนินงานของบริษัทฯที่คาดว่าน่าจะปรับตัวดีขึ้นในอนาคตอีกด้วย

ทางด้านผู้จัดการการจัดจำหน่ายหุ้นกู้กล่าวเพิ่มเติมว่า “ถือเป็นจังหวะที่ดีสำหรับนักลงทุนที่ต้องการสะสมหุ้นกู้ที่มีคุณภาพก่อนที่อัตราดอกเบี้ยนโยบายจะเริ่มปรับตัวลดลง โดยเมื่อวันที่ 18 กันยายน 2567 ที่ผ่านมาธนาคารกลางสหรัฐฯ ได้ปรับอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงครั้งแรกในรอบ 4 ปี โดยปรับลดลง 0.50% และส่งสัญญาณที่จะปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงอีกในช่วงเวลาที่เหลือของปีนี้ สำหรับประเทศไทย แม้ว่าการประชุมเมื่อวันที่ 21 สิงหาคม 2567 ที่ผ่านมา คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) จะประกาศคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ 2.50% แต่ก็มีโอกาสที่ กนง. จะประกาศปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายได้หลังจากที่ธนาคารกลางสหรัฐฯประกาศลดอัตราดอกเบี้ยต่อเนื่อง โดยการประชุมครั้งต่อไปคือวันที่ 16 ตุลาคม 2567 ช่วงเวลานี้จึงเป็นจังหวะที่ดีสำหรับนักลงทุนในการสะสมหุ้นกู้ เพื่อล็อคผลตอบแทนไว้ล่วงหน้า โดยเฉพาะนักลงทุนที่นิยมลงทุนในหุ้นกู้ที่มีคุณภาพสูง และด้วยอันดับความน่าเชื่อถือที่ระดับ A+ แนวโน้ม “คงที่” ของทรู น่าจะเป็นตัวเลือกที่น่าสนใจสำหรับนักลงทุน”

หุ้นกู้ครั้งนี้จะเสนอขายแก่ผู้ลงทุนทั่วไป (Public Offering) โดยมีอายุหุ้นกู้ระหว่าง 2 ปี ถึง 10 ปี เพื่อรองรับความต้องการของนักลงทุนทุกกลุ่ม ตอบโจทย์ทั้งนักลงทุนที่ต้องการลงทุนระยะสั้น ระยะกลาง และระยะยาว วัตถุประสงค์ในการออกหุ้นกู้ครั้งนี้เพื่อชำระคืนหนี้จากการออกตราสารหนี้ โดยเป็นหุ้นกู้ชนิดระบุชื่อผู้ถือ ประเภทไม่ด้อยสิทธิ ไม่มีประกัน และมีผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ จ่ายดอกเบี้ยทุกๆ 3 เดือนตลอดอายุหุ้นกู้ และคาดว่าจะเปิดให้จองซื้อระหว่างวันที่ 21-22 และ 25 พฤศจิกายน 2567 สำหรับผู้ลงทุนทั่วไป มูลค่าจองซื้อขั้นต่ำ 100,000 บาท และทวีคูณครั้งละ 100,000 บาท ซึ่งบริษัทฯ หวังว่าหุ้นกู้ที่เสนอขายในครั้งนี้จะได้รับการตอบรับจากนักลงทุนเป็นอย่างดีเหมือนหุ้นกู้ทุกชุดที่ผ่านมาของบริษัทฯ โดยหุ้นกู้ทั้ง 5 ชุดที่เสนอขาย มีรายละเอียดดังนี้

1. หุ้นกู้ชุดที่ 1 อายุ 2 ปี อัตราดอกเบี้ยคงที่ [2.95 - 3.10]% ต่อปี

2. หุ้นกู้ชุดที่ 2 อายุ 3 ปี อัตราดอกเบี้ยคงที่ [3.25 - 3.40]% ต่อปี

3. หุ้นกู้ชุดที่ 3 อายุ 5 ปี อัตราดอกเบี้ยคงที่ [3.65 – 3.80]% ต่อปี

4. หุ้นกู้ชุดที่ 4 อายุ 7 ปี อัตราดอกเบี้ยคงที่ [3.80 – 3.95]% ต่อปี

5. หุ้นกู้ชุดที่ 5 อายุ 10 ปี อัตราดอกเบี้ยคงที่ [3.95 – 4.10]% ต่อปี

ซึ่งเฉพาะรุ่นอายุ 10 ปี ผู้ออกหุ้นกู้มีสิทธิไถ่ถอนหุ้นกู้ก่อนวันครบกำหนดได้ตั้งแต่หุ้นกู้ครบปีที่ 5 เป็นต้นไป

ทั้งนี้ บริษัทฯ อยู่ระหว่างการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายตราสารหนี้ และร่างหนังสือชี้ชวนซึ่งยังไม่มีผลบังคับใช้ เนื่องจากอยู่ระหว่างการพิจารณาของสำนักงาน ก.ล.ต. ผู้ลงทุนสามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้จากแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายตราสารหนี้ และร่างหนังสือชี้ชวนที่ www.sec.or.th หรือ สอบถามรายละเอียดที่ผู้จัดการการจัดจำหน่ายหุ้นกู้ทั้ง 7 แห่ง ได้แก่

• ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ทุกสาขา (ยกเว้นสาขาไมโคร) หรือ โทร. 1333 หรือจองซื้อทางออนไลน์ผ่าน Bangkok Bank Mobile Banking

• ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) ทุกสาขา โทร. 02 888 8888 กด 869 หรือจองซื้อทางออนไลน์ผ่าน https://www.kasikornbank.com/kmyinvest (ยกเว้นบุคคลสัญชาติต่างด้าว และนิติบุคคล สามารถจองซื้อผ่านสำนักงานใหญ่และสาขา) และรวมถึงบริษัทหลักทรัพย์ กสิกรไทย จำกัด (มหาชน) ในฐานะหน่วยงานขายของธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน)

• ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) ทุกสาขา หรือ โทร. 02 777 6784 หรือจองซื้อทางออนไลน์ผ่านแอป SCB EASY และรวมถึงบริษัทหลักทรัพย์ อินโนเวสท์ เอกซ์ จำกัด ในฐานะหน่วยงานขายของธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)

• ธนาคารซีไอเอ็มบี ไทย จำกัด (มหาชน) ทุกสาขา หรือ โทร. 02 626 7777 หรือจองซื้อทางออนไลน์ผ่าน แอป CIMB Thai Digital Banking

• ธนาคารยูโอบี จำกัด (มหาชน) ทุกสาขา หรือ โทร. 02 285 1555

• บริษัทหลักทรัพย์ เอเซีย พลัส จำกัด โทร. 02 680 4004

• บริษัทหลักทรัพย์ เกียรตินาคินภัทร จำกัด (มหาชน) โทร. 02 165 5555 หรือจองซื้อทางออนไลน์ผ่านแอปฯ Dime! และรวมถึง ธนาคารเกียรตินาคินภัทร จำกัด (มหาชน) ในฐานะหน่วยงานขายของบริษัทหลักทรัพย์ เกียรตินาคินภัทร จำกัด (มหาชน)

สำหรับผู้สนใจจองซื้อหุ้นกู้ผ่านแอปพลิเคชัน TrueMoney Wallet สามารถศึกษาเพิ่มเติมถึงรายละเอียด ขั้นตอน และวิธีการสมัคร TrueMoney Wallet Application และวิธีการจองซื้อ ได้ที่เว็บไซต์ www.truemoney.com หรือติดต่อขอคำแนะนำจากเจ้าหน้าที่ของ บริษัท ทรู มันนี่ จำกัด โทร. 1240 กด 6

 สององค์กรผู้ให้บริการด้านการเงินชั้นนำ ธนาคาร CIMB THAI ผู้นำหุ้นกู้ตลาดรอง เจ้าของรางวัล Best Bond Dealer และ บริษัท ทรูมันนี่ จำกัด ผู้นำด้านการให้บริการทางการเงินแบบดิจิทัล ร่วมเปิดช่องทางลงทุนหุ้นกู้ตลาดรอง (Secondary Bond) ผ่านแอปทรูมันนี่ เพื่อมอบโอกาสให้คนไทยและผู้ใช้กว่า 34 ล้านคน เข้าถึงการลงทุนในหุ้นกู้คุณภาพดีเพื่อสร้างการเติบโตทางการเงินได้ง่ายกว่าที่เคย เพราะไม่ต้องรอ ไม่ต้องจองล่วงหน้าเหมือนหุ้นกู้ตลาดแรก และเป็นอีกทางเลือกของการออมเพื่อรับผลตอบแทนมากกว่าเงินฝากประจำ

พอล วอง ชี คิน กรรมการผู้จัดการใหญ่และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย กล่าวว่า “เราต้องการให้เกิด Digital Ecosystem ตามวิสัยทัศน์ของการเป็น ‘a Digital – led Bank with ASEAN Reach: ธนาคารอาเซียนขับเคลื่อนด้วยดิจิทัล’ เพื่อส่งมอบบริการอันเป็นเลิศให้ลูกค้า พัฒนาธุรกิจ และเพิ่มศักยภาพการแข่งขัน โดยนำเอาจุดแข็งด้านความเชี่ยวชาญธุรกิจ Wealth Management ของธนาคาร เดินหน้าผนึกกำลังกับพันธมิตรที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านอย่าง บริษัท ทรูมันนี่ จำกัด ซึ่งเป็นผู้นำด้านการให้บริการทางการเงินแบบดิจิทัล ความร่วมมือครั้งนี้ เป็นการใช้เทคโนโลยี เปิดช่องทางใหม่ให้ลูกค้าสามารถเข้าถึงการลงทุนหุ้นกู้คุณภาพดีที่ CIMB THAI คัดสรรมาแล้ว ได้ 24 ชั่วโมง ตลอด 7 วัน ผ่านแอปทรูมันนี่ จากทุกที่ ทุกเวลา ทั่วโลก”

 

นายธัญญพงศ์ ธรรมาวรานุคุปต์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ (ร่วม) บริษัท แอสเซนด์ มันนี่ จำกัด

ธัญญพงศ์ ธรรมาวรานุคุปต์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ (ร่วม) บริษัท แอสเซนด์ มันนี่ จำกัด ผู้ให้บริการแอปพลิเคชันทรูมันนี่ เปิดเผยว่า “แอสเซนด์ มันนี่ และ ทรูมันนี่ มีพันธกิจในการมอบการเข้าถึงบริการทางการเงินและยกระดับชีวิตให้กับผู้คนผ่านการสร้างนวัตกรรมทางการเงิน โดยการจับมือกับ ธนาคารซีไอเอ็มบี ไทย เพื่อเปิดให้ผู้ใช้สามารถซื้อ ‘หุ้นกู้ตลาดรอง’ (Secondary Bond) ผ่านแอปทรูมันนี่ในครั้งนี้ ถือเป็นก้าวสำคัญในการมอบความสะดวกสบายและช่วยขจัดอุปสรรคในการเข้าถึงการลงทุน เนื่องจากปกติแล้ว ‘หุ้นกู้ตลาดแรก’ หรือที่เรียกว่า ‘หุ้นกู้มือหนึ่ง’ นั้นมีจำนวนไม่มากและมีขั้นตอนในการติดต่อขอจองซื้อที่ยุ่งยาก ทำให้ไม่ใช่ทุกคนจะสามารถเข้าถึงได้ ทาง ทรูมันนี่ จึงร่วมกับ ธนาคารซีไอเอ็มบี ไทย ทำให้การลงทุนในหุ้นกู้เป็นเรื่องง่ายยิ่งขึ้นผ่านแพลตฟอร์มและเทคโนโลยีของเรา พร้อมส่งเสริมให้นักลงทุนรายย่อยที่อาจยังไม่คุ้นเคยกับการลงทุนในหุ้นกู้ตลาดรองได้เข้ามาศึกษาและเลือกลงทุน เพราะเป็นทางเลือกที่เหมาะกับผู้ที่ต้องการกระจายการลงทุนไปยังสินทรัพย์ที่ให้ดอกเบี้ยสูงกว่าเงินฝากประจำ โดยหุ้นกู้ตลาดรองสามารถสร้างผลตอบแทนสูงถึง 5% ต่อปี และในครั้งนี้ ทรูมันนี่ จับมือกับธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย ที่มีความเชี่ยวชาญเรื่องของหุ้นกู้ตลาดรอง มีหุ้นกู้ตลาดรองให้เลือกหลากหลาย อัปเดตใหม่ทุกสัปดาห์ และซื้อได้ทุกวันผ่านแอปทรูมันนี่ นอกจากนี้ ผู้ลงทุนยังมั่นใจอุ่นใจได้ในความปลอดภัยเพราะเป็นการร่วมมือกับสถาบันการเงินชั้นนำอย่าง ธ.ซีไอเอ็มบี ไทย เพื่อคัดสรรหุ้นกู้ Investment Grade คุณภาพดี เหมาะสำหรับนักลงทุนมืออาชีพ และนักลงทุนหน้าใหม่ และธนาคารมีเกณฑ์ในพิจารณาเลือกซื้อหุ้นกู้ ซึ่งหนึ่งในนั้นคือ ต้องเป็นบริษัทที่มีพื้นฐานธุรกิจแข็งแกร่ง และแพลตฟอร์มทรูมันนี่ของเราที่มีระบบความปลอดภัยที่ใช้เอไอในการ ตรวจ จับ หยุด ทุกความเสี่ยงและปกป้องบัญชีลูกค้า”

 เพา จาตกานนท์ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ ธุรกิจบริหารเงิน ธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย กล่าวเพิ่มเติมว่า “การบริหารเงินเพื่อสร้างความมั่งคั่งให้ลูกค้า คือเป้าหมายสำคัญของเรา เรามุ่งมั่นผลักดันให้ ‘ตราสารหนี้ตลาดรอง (Secondary Bond)’ เติบโตขึ้น สร้างสภาพคล่องให้สามารถซื้อ – ขายเปลี่ยนมือได้ตลอด เพื่อตอบโจทย์ของนักลงทุนทุกกลุ่ม ทั้งสถาบัน นิติบุคคล รวมถึงนักลงทุนรายย่อย

การร่วมมือครั้งนี้กับบริษัท ทรูมันนี่ จำกัด สอดรับกับกลยุทธ์ของเรา ผ่านการนำเสนอผลิตภัณฑ์ ‘ตราสารหนี้ตลาดรอง (Secondary Bond)’ ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ที่เราเป็นผู้นำตลาดในปัจจุบัน สะท้อนจากรางวัลใหญ่ ‘Best Bond Dealer: ธนาคารที่เป็นที่ยอมรับในความสามารถในการให้บริการกับคู่ค้าในตลาดรองที่ยอดเยี่ยม’ และรางวัล ‘Most Active Bank in Corporate Bond Secondary Market: ธนาคารที่มีมูลค่าซื้อ – ขายหุ้นกู้เอกชนตลาดรองสูงที่สุด’ จาก ThaiBMA ติดต่อกัน 5 ปีซ้อน (2019 – 2023) ซึ่งทั้ง 2 รางวัลเป็นเครื่องการันตีว่า เรามี “พันธบัตรและหุ้นกู้ตลาดรองคุณภาพดี” พร้อมรองรับความต้องการของนักลงทุนตลอดปี การทำงานร่วมกันกับพันธมิตรที่แข็งแกร่ง จะช่วยเสริมให้คนไทยและผู้ใช้งานทรูมันนี่ที่มีไลฟ์สไตล์ดิจิทัล 34 ล้านคน สามารถเข้าถึงโอกาสบริการทางการเงิน ได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว สามารถจัดสรรเงินออม มาลงทุนพันธบัตรและหุ้นกู้คุณภาพดีได้ทุกวัน สร้างโอกาสให้กับนักลงทุนได้เติบโตอย่างมั่งคั่ง และมั่นคง”

 ภูดินันท์ เศรษฐนันท์ ผู้บริหารพัฒนาผลิตภัณฑ์การเงิน ธุรกิจผลิตภัณฑ์การเงินและที่ปรึกษา Equity Derivatives และผู้บริหารการขายลูกค้าบุคคลธนกิจ ธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย เสริมว่า “ ตลาดตราสารหนี้ปัจจุบันมีมูลค่าการซื้อ – ขายอยู่ที่ 5,921,913 ล้านบาท (ข้อมูล: มูลค่าธุรกรรมซื้อขายตราสารหนี้ทุกประเภทที่มีอายุมากกว่า 1 ปี มกราคม – กันยายน 2567 จากสมาคมตลาดตราสารหนี้ไทย ) ซึ่งแม้ว่าจะมีลูกค้าบุคคลเข้ามาเป็นผู้เล่นในตลาดรองเพิ่มขึ้น และมีมูลค่าซื้อขายมีเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จนแตะระดับ 37,089 ล้านบาท ในปัจจุบัน แต่ก็คิดเป็นสัดส่วนไม่ถึง 1% เมื่อเทียบกับมูลค่าการซื้อ – ขายทั้งตลาด ในขณะที่หันกลับมาที่ตลาดหุ้น กลับพบว่า ลูกค้าบุคคลมีสัดส่วนสูงถึง 30% นั่นหมายถึง ‘โอกาส’ และเราเองในฐานะผู้นำ รวมถึงเป็นผู้บุกเบิกตราสารหนี้ตลาดรองของลูกค้าบุคคล เรามุ่งมั่นผลักดันให้ลูกค้าบุคคลเข้าถึงโอกาสของการลงทุนในตราสารหนี้ตลาดรอง เพื่อเข้ามาเป็นผู้เล่นสำคัญที่ทำให้ตลาดตราสารหนี้นี้เติบโตได้อย่างก้าวกระโดด และมีสภาพคล่องทัดเทียมตลาดหุ้น เพื่อให้เป็นอีกแหล่งระดมทุนที่สำคัญของประเทศ

ซึ่งการร่วมมือกับบริษัท ทรูมันนี่ จำกัด ที่มีบริการหลากหลายครอบคลุมไลฟ์สไตล์การใช้ชีวิตของลูกค้าในครั้งนี้ คือหนึ่งในกลยุทธ์สำคัญ ที่ทำให้เราเข้าถึงลูกค้าได้ในวงกว้าง ในขณะเดียวกันก็สามารถพาลูกค้าผู้ใช้งานทรูมันนี่ เข้าถึงการลงทุนตราสารหนี้ โดยเฉพาะในช่วงเวลานี้หลังเฟดลดดอกเบี้ย ซึ่งเปิดโอกาสให้ธนาคารแห่งประเทศไทยปรับลดดอกเบี้ยลงเช่นกัน จึงเป็นจังหวะของการลงทุนพันธบัตรและหุ้นกู้คุณภาพดีเข้าพอร์ต เพื่อล็อคผลตอบแทน สร้าง passive income โดยนักออมเงินหรือนักลงทุนที่สนใจสามารถลงทุนหุ้นกู้ตลาดรองได้ทั้งแอปพลิเคชันทรูมันนี่และแอปพลิเคชั่น CIMB THAI

นอกจากนี้ CIMB THAI ยังเตรียมจัดกิจกรรมดี ๆ ร่วมกับพันธมิตร ที่จะให้ความรู้กับนักลงทุน พร้อมกับการสร้างความสุขและสนุกสนาน เพื่อขยายฐานลูกค้าใหม่และส่งเสริมการสร้างความมั่งคั่งผ่านผลิตภัณฑ์หุ้นกู้คุณภาพดี”

บล.ฟิลลิป (ประเทศไทย) ได้ปรับราคาพื้นฐานของหุ้น WICE ขึ้นเป็น 7 บาท พร้อมคงคำแนะนำ "ซื้อ" เนื่องจากเห็นแนวโน้มการฟื้นตัวของอัตราค่าขนส่งทั้งทางทะเลและทางอากาศ โดยเฉพาะในช่วงครึ่งปีหลังที่คาดว่าจะเติบโตตามเป้า หลังจากอัตราค่าระวางเรือปรับตัวดีขึ้น และปริมาณการขนส่งเพิ่มขึ้น

WICE มีโครงการใหม่ที่น่าสนใจ เช่น การขนส่งเชื้อเพลิงชีวมวลอัดแท่งจาก สปป.ลาวมายังท่าเรือแหลมฉบัง เพื่อนำส่งต่อไปยังญี่ปุ่น ซึ่งคาดว่าจะเริ่มดำเนินการในไตรมาสที่ 4 ของปีนี้ นอกจากนี้ยังมีโครงการขนส่งเมล็ดกาแฟดิบจาก OR ที่ใช้ยานยนต์เชื้อเพลิงไฟฟ้า (EV) ซึ่งจะเริ่มรับรู้รายได้ในไตรมาสที่ 3 ส่งผลให้แนวโน้มธุรกิจในครึ่งปีหลังเติบโตตามเป้าหมาย

นายชูเดช คงสุนทร กรรมการผู้จัดการฝ่ายพัฒนาธุรกิจ WICE เปิดเผยว่า บริษัทได้ผ่านจุดต่ำสุดมาแล้วหลังค่าระวางเรือและปริมาณการขนส่งเริ่มปรับตัวดีขึ้น โดยเฉพาะจากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจในสหรัฐอเมริกาและจีน นอกจากนี้ WICE ยังเดินหน้าขยายธุรกิจผ่านการจัดตั้งบริษัทย่อยในฟิลิปปินส์และจีน ซึ่งจะช่วยเพิ่มฐานลูกค้าและขยายบริการในต่างประเทศ คาดว่ารายได้ทั้งปีนี้จะเติบโตไม่ต่ำกว่า 20% ซึ่งเป็นผลจากการขยายตัวของธุรกิจและการฟื้นตัวของตลาดขนส่ง

นอกจากนี้ นายชูเดช ยังมั่นใจว่า สถานการณ์ธุรกิจขนส่งจะกลับมาสู่ภาวะปกติหลังจากที่ช่วงหลังโควิดค่าระวางเรือปรับขึ้นอย่างรุนแรงและปรับลงในปี 2566 โดยครึ่งปีหลังนี้คาดว่าจะเป็นช่วงไฮซีซั่นของธุรกิจ ส่งผลให้ผลประกอบการของ WICE เติบโตตามเป้าหมายที่วางไว้

SCB CIO มอง Fed ปรับลดอัตราดอกเบี้ย 50 bps มาอยู่ที่ 4.75%-5.00% ต่อปี พร้อมปรับลดต่อเนื่องในปีนี้อีก 50 bps และในปีหน้าอีก 100 bps จากอัตราเงินเฟ้อที่มีแนวโน้มปรับลดลงเข้าใกล้เป้า 2% ของ Fed ขณะที่การจ้างงานที่อ่อนแอลง แต่ยังอยู่ในระดับที่จัดการได้ ผนวกกับภาพรวมของเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่ยังไม่มีสัญญาณบ่งชี้ถึงการเกิด Recession ชี้การปรับลดอัตราดอกเบี้ย ช่วยนโยบายการเงินผ่อนคลายขึ้น ต้นทุนการเงินต่ำลง หนุนกำไรบริษัทจดทะเบียนเพิ่มขึ้น แนะหุ้นสหรัฐฯ ยังให้ผลตอบแทนที่ดี กลุ่ม Quality Growth ประเภท IT รวมทั้งกลุ่ม Defensive เช่น สาธารณูปโภค สุขภาพ และสินค้าจำเป็น ยังคงน่าสนใจ

ส่วนการจัดพอร์ตเน้นกระจายความเสี่ยงโดย Core portfolio แนะลงทุนในหุ้นกู้เอกชนต่างประเทศที่มีคุณภาพสูง (IG) เน้นลงทุนตลาดหุ้นพัฒนาแล้วมากกว่าตลาดเกิดใหม่ ยังให้น้ำหนักส่วนใหญ่บนตลาดหุ้นสหรัฐฯ ด้านพอร์ตเสริม แบ่งเงินลงทุน 15 -25% ในตลาดหุ้นเวียดนามและไทย จากเศรษฐกิจเวียดนามที่มีแนวโน้มเติบโตต่อเนื่อง ส่วนไทยได้รับแรงหนุนจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐที่มีออกมาอย่างต่อเนื่อง

นายศรชัย สุเนต์ตา, CFA รองผู้จัดการใหญ่ ผู้บริหารสายงาน Investment Office and Product กลุ่มธุรกิจ Wealth ธนาคารไทยพาณิชย์ เปิดเผยว่า จากการที่ธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) มีมติปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลง 50 bps มาอยู่ที่ 4.75%-5.00% สอดคล้องกับการคาดการณ์ของตลาด และเป็นการสะท้อนให้เห็นว่า Fed มีความมั่นใจมากขึ้นบนทิศทางอัตราเงินเฟ้อสหรัฐฯ ที่กำลังเข้าสู่เป้าหมายที่ระดับ 2% อย่างยั่งยืน โดย Fed กล่าวว่า ความเสี่ยงในการบรรลุเป้าหมายด้านเงินเฟ้อ และการจ้างงานมีความสมดุลกัน และ Fed แสดงความมุ่งมั่นอย่างเต็มที่ในการสนับสนุนการจ้างงาน ส่วนในการคาดการณ์อัตราดอกเบี้ยนโยบาย หรือ Dot Plot นั้น เจ้าหน้าที่ Fed ส่งสัญญาณปรับลดอัตราดอกเบี้ยอีก 50 bps ภายในสิ้นปีนี้ และปรับลดอัตราดอกเบี้ย 100 bps และ 50 bps ในปี 2568 และ 2569 ตามลำดับ นอกจากนี้ Fed ยังได้ปรับคาดการณ์ต่างๆ โดย Fed ปรับลดคาดการณ์การเติบโตทางเศรษฐกิจในปี 2567 ลงเล็กน้อยอยู่ที่ 2.0% ต่อปี จากเดิมที่คาดไว้ในเดือน มิ.ย.ที่ 2.1% ต่อปี ปรับเพิ่มคาดการณ์อัตราการว่างงานในช่วงสิ้นปี 2567 เป็น 4.4% จากเดิมคาดไว้ที่ 4.0% ขณะที่ปรับลดคาดการณ์ของเงินเฟ้อ PCE ในช่วงสิ้นปี 2567 ลงเหลือ 2.3%YoY จากเดิมคาดไว้ที่ 2.6%YoY โดยอัตราเงินเฟ้อทั้ง PCE และ Core PCE จะเข้าสู่ระดับ 2.0% ในปี 2569 เป็นต้นไป

นายศรชัย มีมุมมองว่า แม้ว่าตลาดแรงงานจะอ่อนแอลง แต่ยังอยู่ในระดับที่จัดการได้ และยังไม่มีสัญญาณว่า เศรษฐกิจสหรัฐฯ กำลังเข้าสู่ภาวะถดถอย (Recession) โดยการปลดพนักงานยังอยู่ในระดับที่ต่ำ ผู้บริโภคยังคงใช้จ่าย อย่างไรก็ตาม มีสัญญาณของการชะลอตัวของเศรษฐกิจแบบ Soft landing ท่ามกลางความไม่แน่นอนที่จะเพิ่มสูงขึ้น ในช่วงการเลือกตั้งประธานาธิบดีของสหรัฐฯ ในเดือน พ.ย. ซึ่งจะมีผลต่อการดำเนินนโยบายการคลัง และการค้าระหว่างประเทศของสหรัฐฯ นอกจากนี้ ยังมีความตึงเครียดทางด้านภูมิรัฐศาสตร์ที่ยังดำเนินอยู่ โดยคาดว่า Fed มีแนวโน้มปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงอย่างค่อยเป็นค่อยไป เมื่อเทียบกับการปรับลดอัตราดอกเบี้ยในอดีต โดยจะปรับลดอัตราดอกเบี้ย Fed fund ลงรวม 50bps ในการประชุมช่วงที่เหลือของปีนี้ อยู่ที่ 4.25%-4.50% และปรับลดรวมอีก 100 bps ในปี 2568 ส่งผลให้อัตราดอกเบี้ย Fed funds สิ้นปี 2568 อยู่ที่ 3.25%-3.50%

การปรับลดอัตราดอกเบี้ยของ Fed ในขณะที่เศรษฐกิจสหรัฐฯ ยังไม่ได้เผชิญกับภาวะ Recession จะช่วยสนับสนุนทั้งการลงทุนในตลาดหุ้นโลก โดยเฉพาะตลาดหุ้นสหรัฐฯ รวมทั้ง ตลาดตราสารหนี้สหรัฐฯ ตามสถิติตั้งแต่ปี 2517การปรับตัวของราคาสินทรัพย์ลงทุนประเภทต่างๆ ในช่วงที่ Fed ปรับลดดอกเบี้ยนโยบายครั้งแรก ในกรณีที่ไม่เกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอย ตลาดหุ้นทั่วโลกและตราสารหนี้ของสหรัฐฯ มักมีผลตอบแทนที่ดี โดยเงินดอลลาร์ สรอ.มักจะอ่อนค่าลงในช่วง 12 เดือนหลังจากการปรับลดดอกเบี้ย ด้าน ราคาสินค้าโภคภัณฑ์ ทองคำ น้ำมัน ล้วนปรับเพิ่มขึ้น

ในส่วนของตราสารหนี้ เส้นอัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐฯ มักปรับเพิ่มความชันขึ้น เมื่อใกล้ช่วงที่ Fed เริ่มจะปรับลดดอกเบี้ยครั้งแรก อย่างไรก็ตาม หากเศรษฐกิจสหรัฐฯ ยังเติบโตได้ และไม่มี Recession การปรับเพิ่มความชันของ Yield Curve หลังจากนี้อาจไม่มากนัก ความชันของเส้นอัตราผลตอบแทนที่เพิ่มขึ้นรอบนี้ แสดงถึงความกังวลด้านเศรษฐกิจ อย่างไรก็ตาม ความเสี่ยงที่จะเกิดเศรษฐกิจถดถอยในปี 2567 ยังคงต่ำ ทำให้คาดว่า Bond Yield สหรัฐฯ จะลดลงไม่มาก และผลตอบแทนของตราสารหนี้สหรัฐฯ น่าจะมาจาก Carry Yield เป็นหลัก ซึ่งเป็นโอกาสในการสร้างกระแสเงินสดสำหรับนักลงทุนที่ต้องการพอร์ตการลงทุนที่มีความผันผวนต่ำ

แนวโน้มของตลาดหุ้น นโยบายการเงินที่ผ่อนคลายมีส่วนช่วยให้ต้นทุนทางการเงินต่ำลง และสนับสนุนให้กำไรของบริษัทจดทะเบียนเพิ่มขึ้น ทั้งนี้ ตามสถิติในอดีต หลัง Fed ปรับลดดอกเบี้ย 12 เดือน ในภาวะที่ไม่เกิด Recession หุ้นขนาดใหญ่ในสหรัฐฯ เช่น S&P 500 มักให้ผลตอบแทนที่ดีกว่าหุ้นขนาดเล็ก เช่น Russell 2000 นอกจากนี้ หุ้นกลุ่ม Quality Growth อย่าง IT และกลุ่ม Defensive เช่น กลุ่มสาธารณูปโภค (Utilities) กลุ่มสุขภาพ (Healthcare) และ กลุ่มสินค้าจำเป็น (Consumer Staples) ยังคงน่าสนใจ โดยเรายังให้น้ำหนักการลงทุนในตลาดพัฒนาแล้วมากกว่าตลาดเกิดใหม่ จากกำไรของตลาดเกิดใหม่ จะเข้าสู่ช่วงชะลอตัวในปี 2568

สำหรับกลยุทธ์การลงทุน SCB CIO ยังคงยึด 3 วัตถุประสงค์หลักที่สามารถสร้างผลตอบแทนได้ดี แม้ในช่วงที่ตลาดมีความผันผวน โดยเน้นกระจายการลงทุนเพื่อลดความเสี่ยง เนื่องจากได้รวบรวมสถิติต่างๆ แล้วพบว่า ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา เดือนกันยายน มีผลตอบแทนแย่ที่สุดในทุกสินทรัพย์ และเดือนตุลาคม มีความผันผวนสูงที่สุดโดยเฉพาะตลาดหุ้นสหรัฐฯ ที่มีการเก็บสถิตินับตั้งแต่ 2527 นอกจากนี้ ความเสี่ยงจากปัจจัยทางการเมือง การเลือกตั้งสหรัฐฯ ที่จะมีขึ้นในเดือนพฤศจิกายนนี้ ความเสี่ยงด้านภูมิรัฐศาสตร์ที่สูงขึ้นทั้งจากสงครามยูเครน -รัสเซีย และความขัดแย้งระหว่างอิสราเอล และฮามาสที่มีการตอบโต้กันเป็นระลอก เราจึงให้ความสำคัญในเรื่องการกระจายการลงทุน เพื่อลดความผันผวนของพอร์ต

โดยพอร์ตลงทุนหลัก ( Core Portfolio) ลงทุนระยะยาว 1 ปีขึ้นไป ควรกระจายลงทุนในสินทรัพย์เพื่อตอบโจทย์ 3 วัตถุประสงค์หลัก ได้แก่ 1) เพื่อสร้างกระแสเงิน แนะนำลงทุนในหุ้นกู้เอกชนต่างประเทศที่มีคุณภาพสูง ( IG) ที่ให้อัตราผลตอบแทนสูงกว่าหุ้นกู้เอกชนในไทย หุ้นกู้ Perpetual ที่มีอันดับความน่าเชื่อถือของผู้ออกตราสารที่สูง และตราสารหนี้นอกตลาด (Private Credit) ที่ให้ผลตอบแทนที่น่าสนใจกว่าหุ้นกู้เอกชนในตลาด ขณะที่ สามารถเลือกคุณสมบัติของผลิตภัณฑ์ที่ช่วยลดความเสี่ยงได้ เช่น มีสิทธิเรียกร้องการชำระหนี้ลำดับแรก และมีหลักประกัน เป็นต้น 2) เพื่อสร้างการเติบโต เน้นน้ำหนักการลงทุนในตลาดหุ้นพัฒนาแล้วมากกว่าตลาดเกิดใหม่ โดยยังให้น้ำหนักอยู่ในตลาดหุ้นสหรัฐฯ ที่เศรษฐกิจยังคงชะลอตัวในระดับปานกลาง กำไรบริษัทยังเร่งตัวสูงขึ้น แต่เศรษฐกิจ และผลกำไรของบริษัทจดทะเบียนยังคงสนับสนุนการเติบโตของตลาดในระยะยาว และ 3) การป้องกันความเสี่ยงของพอร์ต ด้วยการลงทุนในทองคำ ซึ่งช่วยป้องกันความเสี่ยงความขัดแย้งด้านภูมิรัฐศาสตร์ได้เป็นอย่างดี

ส่วนที่เหลืออาจพิจารณาลงทุนในพอร์ตเสริม (Opportunistic Portfolio) กรณีที่รับความเสี่ยงได้ในระดับปานกลาง – สูง โดยแนะนำให้แบ่งเงินลงทุนบางส่วน ประมาณ 15 -25% อาจพิจารณาลงทุนในตลาดหุ้นเวียดนาม และไทย โดยตลาดหุ้นเวียดนามน่าสนใจ เนื่องจากมีแนวโน้มได้แรงหนุนดังนี้ 1) เศรษฐกิจเวียดนามที่มีแนวโน้มเติบโตต่อเนื่อง

โดยดัชนี PMI เดือนสิงหาคม ขยายตัว 53.4 ขณะที่ การส่งออกเดือนสิงหาคม ขยายตัว 14.5% YoY 2) กำไรสุทธิบริษัทจดทะเบียน ใน 2Q2567 ขยายตัว 14%YoY และมีแนวโน้มขยายตัวดีใน 2H2567 3) เงินเฟ้อเดือนสิงหาคม อยู่ที่ 3.5%YoY ลดลงจากเดือนกรกฎาคม และต่ำกว่าเป้าระยะยาวที่ 4.5% ส่งผลให้ความกังวลมบนประเด็นการปรับขึ้นดอกเบี้ยของธนาคารกลางเวียดนามลดลง และ 4) Valuation อยู่ในระดับที่น่าสนใจ 12M Blended Forward P/E อยู่ที่ 10.4 เท่า ต่ำกว่าค่าเฉลี่ย 5 ปี -1 s.d.

ส่วนตลาดหุ้นไทย มองว่า เศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้นในช่วงครึ่งหลังของปี 2567 ต่อเนื่องถึงปี 2568 ได้แรงหนุนจากโครงการกระตุ้นเศรษฐกิจ ปี 2567 ผ่านผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐและคนพิการ โดยภาครัฐจะสนับสนุนเงินจำนวน 10,000 บาทต่อคน ที่จะช่วยกระตุ้นการบริโภคภาคเอกชน จากการเบิกจ่ายงบประมาณลงทุนของภาครัฐ ที่ต่อเนื่องมากขึ้น และ จากภาคการท่องเที่ยวที่มีแนวโน้มฟื้นตัว นอกจากนี้ คาดว่า เศรษฐกิจไทยยังได้แรงหนุนจากการที่ คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) มีแนวโน้มปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ โดยคาดว่า ในเดือน ธันวาคม นี้ กนง.จะปรับลดอัตราดอกเบี้ย 25 bps และลดต่อเนื่องในช่วงต้นปี 2568 ส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยนโยบายอยู่ที่ 2.0%

นอกจากนี้ ตลาดหุ้นไทย ได้แรงหนุนจากผลประกอบการบริษัทจดทะเบียนที่มีแนวโน้มถูกปรับประมาณการดีขึ้น ตามภาพรวมเศรษฐกิจที่ฟื้นตัว ท่ามกลาง Valuation ของดัชนีหุ้นไทย (SET Index) ที่ยังอยู่ในระดับที่ไม่แพง โดย SET Index ซื้อขายอยู่บนระดับ valuation ที่น่าสนใจ โดย 12M Blended Forward P/E อยู่ที่ 14.4 เท่า ต่ำกว่าค่าเฉลี่ย 5 ปี อยู่ประมาณ -1.0 s.d. และมองว่า เม็ดเงินที่ไหลเข้าลงทุนในตลาดหุ้นไทยมีแนวโน้มปรับเพิ่มขึ้น ทั้งจากเม็ดเงินลงทุนของกองทุนรวมวายุภักษ์ รวมทั้งเม็ดเงินที่ไหลเข้าลงทุนผ่านกองทุนรวม Thai ESG จากการปรับปรุงมาตรการภาษีเพื่อส่งเสริมการลงทุนเพื่อความยั่งยืน ซึ่งมีแนวโน้มดึงดูดเม็ดเงินลงทุนของนักลงทุนในประเทศที่ต้องการลดหย่อนภาษี และนักลงทุนต่างประเทศ จากธรรมาภิบาลของบริษัทจดทะเบียน (Governance) ที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ซึ่งจะช่วยเพิ่มสภาพคล่องและมูลค่าการซื้อขายในตลาดหุ้นไทย ประกอบกับ ทิศทางเงินทุนจากต่างประเทศยังมีแนวโน้มไหลเข้าลงทุนในตลาดหุ้นไทย จาก Sentiment ที่ดีขึ้นตามมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจและตลาดทุนที่ออกมา และจากค่าเงินบาทที่มีแนวโน้มแข็งค่าขึ้นในระยะสั้น ตามการปรับลดอัตราดอกเบี้ยของ Fed ซึ่งมากกว่าการปรับลดดอกเบี้ยของกนง.

สำหรับอัตราผลตอบแทนรวมของสินทรัพย์ต่างๆ ทั่วโลก นับตั้งแต่ต้นปี 2567 – YTD (18 กันยายน 2567) ทองคำให้ผลตอบแทนดีที่สุด อยู่ที่ 24.5% โดยได้รับผลบวกจากการที่ Yield ปรับตัวลดลง และธนาคารกลางของประเทศต่างๆมีความต้องการถือครองทองคำมากขึ้น รองลงมาเป็นตลาดหุ้นสหรัฐฯ 19.3% จากการขยายตัวของเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่ยังดีในช่วงครึ่งแรกของปี ประกอบกับ การคาดหวังว่า Fed จะมีการปรับลดอัตราดอกเบี้ย และมีแรงส่งจากหุ้นกลุ่ม Tech ที่มีผลประกอบการที่ค่อนข้างดีในช่วงไตรมาสที่ 1 แม้ในไตรมาสที่ 2 ผลประกอบการจะแผ่วลงแต่ถือว่าอยู่ในทิศทางที่ค่อนข้างดี ต่อมาคือ Global REITs อยู่ที่ 13.8% ได้รับอานิสงค์จากการที่ Bond Yield ปรับตัวลดลง ทำให้ผลตอบแทนของ REITs ดีขึ้น DM Equity ex US อยู่ที่ 10.7% EM Equity อยู่ที่ 9.1% HY Bond อยู่ที่ 8.8% TIPS อยู่ที่ 5.2% IG Bond อยู่ที่ 5.1% Gov Bond อยู่ที่ 2.8% และ Oil อยู่ที่ -1.4% ส่วนการลงทุนในรายประเทศ US large อยู่ที่ 19.3% India อยู่ที่ 18.2% Vietnam อยู่ที่ 12.2% ยุโรปอยู่ที่ 11.8% China offshore 11.3% US Small 9.9% Japan 9.2% Indonesia 7.8% Thai 4.7% และ Korea -3%

Page 1 of 14
X

Right Click

No right click