December 22, 2024

นางสาวกชสร โตเจริญธนาผล รองผู้อำนวยการฝ่ายบริหารโครงการ อินฟอร์มา มาร์เก็ตส์ ประเทศไทย ผู้จัดงาน ProPak Asia 2024 ซึ่งในปีนี้จัดขึ้นในระหว่างวันที่ 12 – 15 มิถุนายน 2567 ณ ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค บางนา จากแนวโน้มการฟื้นตัวของภาคอุตสาหกรรมการผลิตของไทย และข้อมูลประเมิณตัวเลขการส่งออกที่เป็นบวกต่อเนื่องตั้งแต่ปลายปี 2566 เฉพาะในเดือนตุลาคมมีการขยายตัวถึง 8% สูงสุดในรอบ 13 เดือน จะเป็นแรงส่งให้การส่งออกปี 2567 มีการขยายตัวเพิ่มขึ้นได้ประมาณ 2% โดยกลุ่มอาหารยังคงเป็นกลุ่มสำคัญ ซึ่งในปี 2566 ไทยก้าวขึ้นเป็นผู้ส่งออกอาหารอันดับ 12 ของโลก และสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) ประมาณการดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI) GDP ภาคอุตสาหกรรมปี 2567 จะมีขยายตัวอยู่ที่ 2.0-3.0%

โดยกลุ่มสินค้าอาหารที่คาดว่าจะขยายตัวได้ดี อาทิ กลุ่มผลไม้แช่เย็น-แช่แข็ง กลุ่มอาหารทะเล ทูน่ากระป๋อง กุ้งสดแช่แข็ง และสินค้าที่มีแนวโน้มได้รับความนิยมเพิ่มขึ้น เช่น อาหารและเครื่องดื่มสุขภาพ อาหารเฉพาะทาง อาหาร ฮาลาล และ อาหารแปรรูปคุณภาพสูง ทำให้อุตสาหกรรมบรรจุภัณฑ์ก็เติบโตขึ้นเช่นกัน โดยปี 2566 มีมูลค่ารวม 1.10 ล้านล้านดอลลาร์ และจะเพิ่มเป็น 1.33 ล้านล้านดอลลาร์ ในปี 2571 จากการเติบโตของอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม การออกแบบและการเลือกใช้วัตถุดิบที่ต้องเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ย่อยสลายง่าย การเปลี่ยนไปใช้บรรจุภัณฑ์แบบอ่อนตัว สัญญาณดังกล่าวส่งผลดีต่อภาคอุตสาหกรรมการผลิตไทยทั้งระบบ โดยงาน ProPak Asia ยังคงเป็นงานสำคัญที่ช่วยสร้างและเติมเต็มระบบนิเวศทางธุรกิจและอุตสาหกรรมระดับภูมิภาคให้เกิดการเติบโต ซึ่งงาน ProPak Asia 2023 นับว่าเป็นปีที่พลิกฟื้นจากสถานการณ์โควิดได้อย่างรวดเร็ว มีผู้ร่วมจัดแสดงงานถึง 1,800 รายจาก 45 ประเทศ และมีผู้เข้าร่วมชมงานกว่า 58,555 คน จาก 75 ประเทศทั่วโลก

ส่วนงาน ProPak Asia 2024 ยังคงความเป็นงานแสดงเทคโนโลยีด้านกระบวนการผลิต การแปรรูปและบรรจุภัณฑ์ชั้นนำระดับเอเชีย เป็นงานที่จะตอบโจทย์ครบทั้งห่วงโซ่คุณค่า (Value Chain) และห่วยโซ่อุปทาน (Supply Chain)ของเทคโนโลยีกระบวนการแปรรูปอาหาร บรรจุภัณฑ์ การจัดเก็บ และ การขนส่ง เรียกได้ว่าครบตั้งแต่ต้นน้ำไปจนถึงปลายน้ำ สำหรับผู้ประกอบการทุกขนาด ไม่ว่าจะเป็น Start Up, SME, ธุรกิจขนาดเล็ก ธุรกิจขนาดกลาง และขนาดใหญ่ ซึ่งสามารถเข้ามาชมนวัตกรรม เทคโนโลยี อัพเดทเทรนด์ และ ความรู้ใหม่ เพื่อนำไปต่อยอดเพิ่มมูลค่าให้กับสินค้า

สำหรับแนวคิดของการจัดงาน ProPak Asia 2024 จัดขึ้นภายใต้แนวคิด “ยกระดับความสำเร็จในกระบวนการผลิตและบรรจุภัณฑ์อย่างยั่งยืน ด้วยแนวคิด นวัตกรรม และ การลงทุน” (Sustainably Empowering Processing & Packaging Success with Ideation, Innovation and Investment) เพื่อกระตุ้นให้เกิดแรงบัลดาลใจ ความคิดสร้างสรรค์ ผู้ประกอบการจะได้พบนวัตกรรมต่างๆ เทคโนโลยีการผลิต การแปรรูปเพื่อไปถึงการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero Carbon) การเลือกใช้วัสดุ ออกแบบบรรจุภัณฑ์ และอื่นๆ ไปต่อยอดลงทุนให้ธุรกิจประสบ

ความสำเร็จได้อย่างยั่งยืน ส่วนกลุ่มผู้เข้าร่วมงานหลักของ ProPak Asia มาจากกลุ่มผู้ประกอบการอาหาร เครื่องดื่ม ยา เครื่องสำอาง สินค้าอุปโภค บริโภค ที่สนใจเข้ามาชมงานเป็นทางลัดแก่ผู้สนใจไม่ต้องเดินทางไปดูงานถึงยุโรป หรือ อเมริกา แต่สามารถอัพเดทเทรนด์เทคโนโลยี นวัตกรรมใหม่ แลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์จากตัวจริงในอุตสาหกรรม พบปะคู่ค้า สร้างโอกาสและร่วมสร้างเครือข่ายธุรกิจระดับนานาชาติได้ นอกจาก ProPak Asia จะเป็นงานที่จัดขึ้นต่อเนื่องทุกปีแล้ว ProPak Asia 2024 ครั้งนี้เป็นการจัดงานครั้งที่ 31 เป็นจุดหมายปลายทางของผู้ประกอบการที่ต้องเข้าร่วมงานในทุกครั้งของการจัดงานและเป็นงานใหญ่สำคัญของอุตสาหกรรมการผลิตโลก ด้วยการเป็นเวทีเชื่อมโยงเครือข่ายธุรกิจและอุตสาหกรรมทั้งระบบ

งาน ProPak Asia 2024 มีกำหนดจัดขึ้นระหว่างวันที่ 12-15 มิถุนายน 2567 ณ ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค บางนา กรุงเทพฯ

สำหรับงานในครั้งนี้ แบ่งพื้นที่จัดแสดงงานเป็น 8 โซน ประกอบด้วย

1) ProcessingTechAsia เทคโนโลยีเพื่อการแปรรูปอาหารปรุงสุก

2) PackagingTechAsia เทคโนโลยีการบรรจุภัณฑ์ และ กระบวนการบรรจุภัณฑ์

3) DrinkTechAsia เทคโนโลยีสำหรับอุตสาหกรรมเครื่องดื่ม

4) PharmaTechAsia เทคโนโลยีสำหรับอุตสาหกรรมยา

5) Lab&TestAsia เทคโนโลยีการตรวจสอบ และ ควบคุมมาตรฐานการผลิต ผลิตภัณฑ์ และบรรจุภัณฑ์

6) PackagingSolutionAsia เทคโนโลยีการผลิตบรรจุภัณฑ์ และบรรจุภัณฑ์สำเร็จรูป

7) Coding,Marking&LabellingAsia เทคโนโลยีเพื่อการเขียนรหัส, ติดป้าย, และปักหมายเลขบนสินค้าหรือบรรจุภัณฑ์ต่างๆ

8) Coldchain,Logistics,Warehousing&FactoryAsia เทคโนโลยีเพื่อการขนส่ง จัดเก็บสินค้า และ เทคโนโลยีที่สนับสนุนกระบวนการผลิต

โดยใช้พื้นที่จัดงานฯ เต็มพื้นที่ของศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค ภายในงานมีการจัดแสดงพาวิลเลียนนานาชาติถึง 14 กลุ่มประเทศ อาทิ ออสเตรีย บาวาเรีย ฝรั่งเศส อิตาลี สเปน สวิตเซอร์แลนด์ อังกฤษ อเมริกาเหนือ จีน ญี่ปุ่น เกาหลี มาเลเซีย สิงคโปร์ และ ไต้หวัน โดยได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลของแต่ละประเทศในการเข้าร่วมงานฯ เพื่อนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่ๆ มาจัดแสดง นอกจากนั้นยังมีบริษัทชั้นนำของโลกยืนยันเข้าร่วมจัดแสดงงานแล้วกว่า 2,000 แบรนด์ จาก 45 ประเทศ ทำให้คาดว่าในปีนี้จะมีผู้เข้าร่วมชมงานไม่ต่ำกว่า 60,000 คน จึงอยากเชิญชวนให้ผู้ประกอบการและผู้สนใจในอุตสาหกรรมการผลิต แปรรูป และบรรจุภัณฑ์ ไม่พลาดที่จะเข้าร่วมงาน ProPak Asia 2024 ในครั้งนี้

ผู้สนใจรายละเอียดการจัดงานและต้องการลงทะเบียนล่วงหน้าเพื่อเข้าชมงาน ProPak Asia 2024 สามารถลงทะเบียนได้ที่ www.propakasia.com

นายสรรชาย นุ่มบุญนำ ผู้จัดการทั่วไป - ประเทศไทย อินฟอร์มา มาร์เก็ตส์ เผยมุมมองที่มีต่อเศรษฐกิจไทยในปี 67 ว่า เศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มที่ดีขึ้นกว่าปีที่ผ่านมาจากหลายปัจจัย ไม่ว่าจะเป็นเศรษฐกิจโลกที่มีแนวโน้มดีขึ้น อัตราเงินเฟ้อโลกที่ผ่อนคลายลง สัญญาณการส่งออกที่ดีขึ้น การลงทุนจากต่างประเทศที่ให้ความสนใจประเทศไทยเพิ่มมากขึ้น การพัฒนาและการเปลี่ยนของเทคโนโลยีในหลายอุตสาหกรรมทำให้เกิดการลงทุนเครื่องจักรและเครื่องมือในการผลิตใหม่ๆ รวมถึงนโยบายภาครัฐในการกระตุ้นเศรษฐกิจและการท่องเที่ยวที่พร้อมให้การสนับสนุนการจัดงานแสดงสินค้า ซึ่งเป็นกลุ่มที่สร้างรายได้สูงในกลุ่มไมซ์ (MICE)

จากมุมมองที่เป็นบวกดังกล่าวทำให้ อินฟอร์มา มาร์เก็ตส์ ประเทศไทย วางเป้าหมายรายได้รวมในปีนี้น่าจะสูงแตะ 1,180 ล้านบาท จากการเตรียมจัดงานแสดงสินค้าไว้มากถึง 15 งาน ครอบคลุมทุกกลุ่มอุตสาหกรรมสำคัญไม่ว่าจะเป็น กลุ่มอุตสาหกรรมการผลิตและบรรจุภัณฑ์ (ProPak Asia) กลุ่มพลังงานและสิ่งแวดล้อม (ASEAN Sustainable Energy Week) กลุ่มท่องเที่ยว โรงแรม ร้านอาหาร (Food & Hospitality Thailand) กลุ่มเทคโนโลยีเครื่องจักรกลและอุตสาหกรรมรับช่วงการผลิต (INTERMACH, MTA Asia) กลุ่มเครื่องประดับ (Jewellery & Gems ASEAN Bangkok) กลุ่มเครื่องสำอางและอาหารเสริม (Cosmoprof CBE ASEAN) ฯลฯ

ส่วนอีกกลุ่มที่มีศักยภาพสูง คือ กลุ่มอุตสาหกรรมเพื่อสุขภาพ (Health and Wellness) เนื่องจากอุตสาหกรรมกลุ่มนี้ได้กลายเป็นกระแสหลักของโลกอย่างชัดเจนขึ้นตั้งแต่เกิดการแพร่ระบาดของโควิด ที่เป็นตัวเร่งให้การดำเนินชีวิตและพฤติกรรมการดูแลสุขภาพของคนทั่วโลกเกิดการเปลี่ยนแปลง อุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพไม่ว่าจะเป็นอาหารเพื่อสุขภาพ ยา ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร เครื่องมือและอุปกรณ์การแพทย์มีการเติบโตอย่างสูง โดยข้อมูลจาก Global Wellness Institute รายงานว่ามูลค่าของอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพในปี 2022 อยู่ที่ประมาณ 4.5 ล้านล้านดอลลาร์ และคาดว่าตั้งแต่ปี 2022 - 2024 มีแนวโน้มที่จะเติบโตขึ้นได้อีกประมาณ 1.3 ล้านล้านดอลลาร์

ด้านการจัดงานในกลุ่มนี้ อินฟอร์มา มาร์เก็ตส์ ประเทศไทย มีทั้งหมด 4 งาน ประกอบด้วย CPHI South East Asia, Medlab Asia, Vitafoods Asia และ Fi Asia (Food Ingredients Asia) ครอบคลุมตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำ ทั้งส่วนประกอบอาหารสุขภาพ ยา ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร เครื่องมืออุปกรณ์การแพทย์ ซึ่งคาดว่าจะได้รับการตอบรับจากผู้เข้าร่วมจัดแสดงานและผู้เข้าร่วมชมงานเป็นอย่างดี

ด้านนางสาวรุ้งเพชร ชิตานุวัตร์ ผู้อำนวยการกลุ่มโครงการภูมิภาคอาเซียน และ ผู้จัดการทั่วไป - ฟิลิปปินส์ อินฟอร์มา มาร์เก็ตส์ ผู้บริหารการจัดงานในกลุ่มอุตสาหกรรมเพื่อสุขภาพทั้งประเทศไทย เวียดนาม อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์ กล่าวถึงความสำคัญของอุตสาหกรรมเพื่อสุขภาพว่า งานในกลุ่มนี้มีความสำคัญทั้งในด้านเศรษฐกิจและสังคมโลก โดยมีหลายปัจจัยที่ส่งเสริมให้เกิดการเติบโตไม่ว่าจะเป็นการใส่ใจเรื่องสุขภาพ ความ

ต้องการมีสุขภาพที่ดี การมีอายุที่ยืนยาวขึ้น และการเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุในหลายประเทศ ในส่วนของ อินฟอร์มา มาร์เก็ตส์ ประเทศไทย งานในกลุ่มนี้มีอัตราการเติบโตเฉลี่ยประมาณ 10-15% แต่ในกลุ่มอุตสาหกรรมเสริมอาหารยังสามารถเติบโตได้ถึง 100% ทั้งในส่วนของผู้ร่วมจัดแสดงงาน (Exhibitor) และผู้เข้าร่วมชมงาน (Visitor) พื้นที่การจัดแสดงงาน และมูลค่าการค้าการเจรจาธุรกิจ

ในปี 2024 อินฟอร์มา มาร์เก็ตส์ ประเทศไทย ได้มีการเตรียมจัดงานใหญ่ในกลุ่มนี้ไว้ถึง 3 งานคือ

- CPHI South East Asia งานแสดงสินค้าเทคโนโลยีและนวัตกรรม พร้อมการประชุมด้านวัตถุดิบ ส่วนผสม บรรจุภัณฑ์และเทคโนโลยีที่เกี่ยวเนื่องในการผลิตยา

- Medlab Asia งานแสดงเครื่องมืออุปกรณ์ทางการแพทย์และห้องปฏิบัติการทางการแพทย์

- Vitafoods Asia งานแสดงสินค้า เทคโนโลยี และนวัตกรรมส่วนผสมสำหรับผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร และผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพ

ทั้ง 3 งานครอบคลุมทุกส่วนของกลุ่มอุตสาหกรรมเพื่อสุขภาพ ซึ่งนอกจากจะมีส่วนช่วยในการส่งเสริมนโยบายภาครัฐที่ผลักดันให้ไทยเป็นศูนย์กลางด้านสุขภาพ (Medical Hub) และส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ (Medical Tourist) แล้ว ในส่วนของภาคธุรกิจยังช่วยพัฒนาศักยภาพและการลงทุนในอุตสาหกรรมนี้ของไทย เนื่องจากภายในงานฯ มีทั้งการจัดแสดงนวัตกรรมและเทคโนโลยีที่ทันสมัยตลอดทั้งกระบวนการผลิต การแปรรูปวัตถุดิบ และการผลิตผลิตภัณฑ์จากบริษัทชั้นนำของโลก การถ่ายทอดแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์กับผู้ประกอบการ พร้อมมีส่วนในการสร้างโอกาสและแสดงศักยภาพความพร้อมของประเทศไทยให้ผู้ร่วมจัดแสดงงานและผู้เข้าร่วมงานจากทั่วโลกได้เห็น ด้านภาคสังคมนั้น คนไทยจะได้ประโยชน์จากการจัดแสดงงานสินค้าในกลุ่มอุตสาหกรรมนี้เป็นอย่างมาก เพราะเมื่อผู้ประกอบการผลิตยา เวชภัณฑ์ เครื่องมือและอุปกรณ์ทางการแพทย์ในประเทศมีความสามารถในการผลิต การวิจัยและพัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยีด้านยา เวชภัณฑ์ และอุปกรณ์ทางการแพทย์เองแล้ว ก็จะช่วยทดแทนการนำเข้าจากต่างประเทศ ส่งผลให้การเข้าถึงการรักษาและบริการทางการแพทย์ง่ายและดียิ่งขึ้นด้วย

นายสรรชาย นุ่มบุญนำ ผู้จัดการทั่วไป – ประเทศไทย อินฟอร์มา มาร์เก็ตส์ กล่าวถึงภาพรวมของธุรกิจงานแสดงสินค้าและความสำเร็จของบริษัทฯ ในปี 2566 ว่า ปีนี้นับเป็นการฟื้นตัวของธุรกิจงานแสดงสินค้าหลังสถานการณ์โควิดอย่างแท้จริง การกลับมาจัดงานได้อย่างเต็มรูปแบบส่งผลให้การดำเนินงานของ อินฟอร์มา มาร์เก็ตส์ ประเทศไทย กลับมาฟื้นตัวอย่างรวดเร็วและก้าวกระโดด ไม่ว่าจะเป็นรายได้รวมของบริษัทฯ ที่สูงถึง 1,300 ล้านบาท สูงกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้ 900 ล้านบาท และดีกว่าปี 2562 ก่อนสถานการณ์โควิด ซึ่งมีรายได้รวมอยู่ที่ 880 ล้านบาท

ผลสำเร็จดังกล่าวเกิดขึ้นจากการปรับตัว เปลี่ยนแปลงและพัฒนาองค์กรและธุรกิจตลอดเวลา แม้ในช่วงวิกฤตโควิดที่ไม่สามารถจัดงานได้เต็มรูปแบบ เราก็ไม่ได้มีการหยุดนิ่ง เราแทงสวนและสู้ตายกับการเปลี่ยนวิกฤตเป็นโอกาส ทั้งการพัฒนาธุรกิจ การทำงานเชิงลึกด้านข้อมูลและเครื่องมือต่างๆ ร่วมกับบริษัทแม่ที่เป็นเบอร์หนึ่งผู้จัดงานแสดงสินค้าโลก เพื่อสร้างงานที่มีศักยภาพในการเติบโตสูงและเป็นงานที่จับใจคน รวมทั้งเพิ่มจำนวนงานให้ครอบคลุมทุกกลุ่มอุตสาหกรรม ทำให้เกิด 7 งานใหม่ รวมกับ 6 งานเดิม เป็น 13 งานในปี 2566 พร้อมทั้งเร่งพัฒนาบุคลากรเพื่อเตรียมความพร้อมและดึงคนที่มีความสามารถมาทำงานร่วมกับเรา จากปัจจัยและการเตรียมการดังกล่าวทำให้นอกจากจะส่งผลให้เกิดการเติบโตอย่างก้าวกระโดดแล้ว ยังทำให้ อินฟอร์มา มาร์เก็ตส์ ประเทศไทย ขึ้นแท่นเป็นผู้จัดงานแสดงสินค้าอันดับหนึ่งของภูมิภาคอาเซียนทั้งจำนวนโชว์และรายได้

เป้าหมายในปีนี้เราจะไม่ยึดติดกับการแข่งขันด้านอันดับเพียงอย่างเดียว สิ่งที่เราพยายามทำ คือ การผลักดันให้ทุกโชว์ของ อินฟอร์มา มาร์เก็ตส์ ประเทศไทย ก้าวขึ้นเป็นโชว์ระดับภูมิภาค เป็นงานที่ทุกคนในอุตสาหกรรมที่ต้องการดำเนินธุรกิจกับคนในภูมิภาคนี้ต้องเข้าร่วม จำนวนงานแสดงสินค้าของอินฟอร์มา มาร์เก็ตส์ ประเทศไทยในปี 2567 จะมีทั้งหมด 15 งาน ครอบคลุมทุกกลุ่มอุตสาหกรรมสำคัญ โดยมีงานที่เราจัดขึ้นอย่างต่อเนื่องทุกปี อาทิ Intermach, ProPak Asia, ASEAN Sustainable Energy, Thai Water Expo, CPHI, Food & Hospitality Thailand ฯลฯ และการร่วมมือกับบริษัทในเครือ อินฟอร์มา มาร์เก็ตส์ ในหลายประเทศมาจัดงานแบบร่วมทุน (Joint Venture) โดยนำงานแสดงสินค้าที่ประสบความสำเร็จ อาทิ งาน Jewellery & Gem Asean Bangkok, Cosmoprof CBE Asean Bangkok, APLF ASEAN และ Vitafoods Asia มาจัดขึ้นที่ประเทศไทยนอกจากนั้น ยังมีการจับมือกับพันธมิตรรายใหม่และคู่แข่งการจัดงานจากต่างประเทศ ร่วมกันจัดงานใหม่ในปีนี้เพิ่มอีก 3 งาน คือ Plastics & Rubber Thailand, Medlab Asia และ Tyrexpo

การเพิ่มขึ้นของจำนวนโชว์และการผลักดันการจัดงานให้เป็นงานสำคัญของภูมิภาค ส่งผลบวกต่อประเทศไทยทั้งในภาคอุตสาหกรรม การลงทุนและการท่องเที่ยว เนื่องจากจำนวนผู้เข้าร่วมงานทั้งผู้ร่วมจัดแสดงงานและผู้

เยี่ยมชมงานเป็นกลุ่มนักธุรกิจที่มีกำลังซื้อสูง โดยจำนวนผู้เข้าร่วมงานที่จัดขึ้นโดย อินฟอร์มา มาร์เก็ตส์ ประเทศไทย มีอัตราการเติบโตเฉลี่ยรวมกันปีละประมาณ 20% สร้างมูลค่าการเจรจาการค้าและธุรกิจทั้งในการจัดงานและหลังการจัดงานปีละหลายหมื่นล้านบาท และยังส่งผลให้เกิดการจับจ่ายด้านการท่องเที่ยวเชิงธุรกิจอีกจำนวนมาก

ส่วนเป้ารายได้ในปี 2567 นั้น คาดว่าจะอยู่ที่ประมาณ 1,180 ล้าน เนื่องจากบางงานมีการจัด 2 ปีต่อครั้ง และปี 2568 คาดว่ารายได้จะกลับมาพุ่งสูงอีกครั้งประมาณ 1,450 ล้านบาท ด้านปัจจัยบวกที่จะส่งผลดีต่อธุรกิจงานแสดงสินค้าในปีหน้านั้นอยู่ที่การฟื้นตัวของธุรกิจที่เพิ่มขึ้น แนวโน้มอัตราเงินเฟ้อของโลกที่ผ่อนคลายลง การพัฒนาและการเปลี่ยนของเทคโนโลยีในหลายอุตสาหกรรม ทำให้เกิดการลงทุนเครื่องจักรและเครื่องมือในการผลิตใหม่ๆ นโยบายการกระตุ้นการท่องเที่ยวและการสนับสนุนการจัดงานแสดงสินค้าจากภาครัฐ ส่วนปัจจัยลบที่ยังส่งผลอยู่มีทั้งสงครามในบางพื้นที่ที่ยังไม่สงบ เศรษฐกิจโลกที่ยังฟื้นตัวไม่เต็มที่ และความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีที่ทำให้ติดต่อกันง่ายขึ้น

ดังนั้นจึงเป็นเหตุผลว่าทำไมเป้าหมายของเราจึงเป็นการสร้างงานแสดงสินค้านานาชาติระดับภูมิภาค ที่นอกจากจะเป็นการสร้างเคลือข่ายเชื่อมโยงการค้ากันในอาเซียนแล้ว ด้วยกำลังซื้อจำนวนมากของภูมิภาคยังเป็นแรงดึงดูดนักธุรกิจและบริษัทต่างๆ ของโลกให้เข้ามาร่วมงานที่เราจัดขึ้นในประเทศไทย โดยในสายตาผู้จัดงานแสดงสินค้าและนักธุรกิจนั้น เห็นว่าประเทศไทยมีศักยภาพอย่างมากในการเป็น HUB การจัดงานแสดงสินค้านานาชาติของภูมิภาค ไม่ว่าจะเป็นความพร้อมของสถานที่ ค่าใช้จ่ายในการจัดงานและการเดินทางมาร่วมงานไม่สูงมาก เป็นศูนย์กลางของอาเซียน มี Soft Power ที่มีเสน่ห์ทั้งสถานที่ท่องเที่ยว อาหาร และวัฒนธรรม ที่สำคัญคือความเป็นมิตรและรอยยิ้มของคนไทยที่ทำให้ทุกคนอยากมาทำธุรกิจและร่วมงานในประเทศไทย แต่สิ่งที่อยากขอให้ภาครัฐสนับสนุนเพิ่มเติม คือ การปรับปรุงกฎระเบียบที่เป็นข้อจำกัดบางรายการ เช่น ส่วนสมอาหาร เครื่องสำอางค์ อัญมณีและเครื่องประดับ ในมาตรฐานการนำเข้าเพื่อมาจัดแสดง โดย อินฟอร์มา มาร์เก็ตส์ ประเทศไทย พร้อมและยินดีเป็นอย่างยิ่งที่จะเป็นส่วนหนึ่งในการผลักดันให้ประเทศไทยเป็น HUB ของการจัดงานแสดงสินค้านานาชาติของภูมิภาคอย่างแท้จริง

นางมาริสา สุโกศล หนุนภักดี นายกสมาคมโรงแรมไทย (ที่สามจากซ้าย) นายเทียนประสิทธิ์ ไชยภัทรานันท์ อุปนายกสมาคมโรงแรมไทย (ที่สองจากขวา) นายบุญเกิด สุขศรีการ อุปนายกสมาคมโรงแรมไทย (คนแรกซ้าย) นายธรณินทร์ สิริพัฒโนดมสกุล ประธานฝ่ายพัฒนาและอบรมสมาคมโรงแรมไทย (คนแรกขวา) พร้อมด้วยนายสรรชาย นุ่มบุญนำ ผู้จัดการทั่วไป อินฟอร์มา มาร์เก็ตส์ ประเทศไทย (ที่สามจากขวา) นางสาวสุภาภรณ์ อังศรีสุรพร ผู้จัดการฝ่ายบริหารโครงการอาวุโส อินฟอร์มา มาร์เก็ตส์ ประเทศไทย (ที่สองจากซ้าย) ประกาศความร่วมมือเป็นพันธมิตรอย่างต่อเนื่อง พร้อมลงนามสนับสนุนการจัดงาน Food & Hospitality Thailand งานแสดงสินค้าสำหรับธุรกิจโรงแรม ร้านอาหาร และการบริการที่ครบวงจรที่สุดของภูมิภาค อย่างเป็นทางการจนถึงปี 2570 ซึ่งการจัดงาน Food & Hospitality Thailand 2024 จะจัดขึ้นอีกครั้งระหว่างวันที่ 21-24 สิงหาคม 2567 ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ เมื่อเร็วๆ นี้

นายจ่อ มิน ประธานสหพันธ์อุตสาหกรรมกระดาษและเยื่อกระดาษแห่งสาธารณรัฐแห่งสหภาพพม่า(คนแรกขวามือ) นายซาฟี่ อูล่า ชาวดรี รองประธานสมาคมผู้ส่งออกแห่งประเทศบังคลาเทศ (คนแรกซ้ายมือ) นายธีระ กิตติธีรพรชัย เหรัญญิก กลุ่มอุตสาหกรรมการพิมพ์และบรรจุภัณฑ์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ที่สองจากซ้าย) พร้อมด้วยนายวัชชระ ชินเศรษฐวงศ์ นายกสมาคมอุตสาหกรรมเยื่อและกระดาษไทย (ที่สามจากซ้าย) นายพรรธระพี ชินะโชติ ประธานกรรมการร่วม (ที่สามจากขวา) และนายธัชพล วงษ์รักษา รองผู้อำนวยการฝ่ายบริหารโครงการ อินฟอร์มา มาร์เก็ตส์ ประเทศไทย (ที่สองจากขวา) ร่วมกันเปิดงาน ASEAN Paper Bangkok 2023 งานแสดงสินค้าอุตสาหกรรม นวัตกรรม เทคโนโลยี และโซลูชั่นของอุตสาหกรรมกระดาษที่ครบวงจรที่สุดของภูมิภาค พร้อมตั้งเป้าสนับสนุนประเทศไทยให้เป็นศูนย์กลางของอุตสาหกรรมกระดาษอาเซียน เมื่อเร็วๆ นี้

Page 1 of 3
X

Right Click

No right click