จัดห้องสมุดส่วนตัวรอบนี้ ได้พบ Stock Trader’s Almanac สมัยปี 1968 จำได้ว่าประมูลมาจาก eBay นานมาแล้ว


นักลงทุนหรือนักเรียนการเงินรุ่นพวกผมย่อมรู้จัก Newsletter ยี่ห้อนี้ดี เพราะเขามีชื่อเสียงพอๆ กับ Value Line และอุดมไปด้วยสถิติข้อมูล เทรนด์ และแพทเทิร์นซื้อขายจำนวนมาก นับว่ามีประโยชน์ในยุคที่ยังไม่มีอินเทอร์เน็ต


เจ้าของคือ Yale Hirsch เป็นเจ้าของไอเดียที่เรียกว่า “Presidential Cycle” ซึ่งครั้งหนึ่งเคยฮือฮาพอควร และก็น่าจะยังช่วยเสริมวิธีคิดของเราได้ หากจะนำมาจับสังเกตุแพทเทิร์นของตลาดหุ้นในยุคนี้


ลองตามผมมา และเทียบตลาดอเมริกากับของเราในใจเอาเองนะครับ


ไอเดียนี้มีอยู่ว่า ผลตอบแทนของตลาดหุ้นในสหรัฐฯ นั้นมักจะฟอร์มแพทเทิร์นขึ้นตามแต่ละช่วงของ เทอม 4 ปี ของประธานาธิบดีสหรัฐฯ
ตามลำดับก่อนหลังดังนี้


ปีที่ 1 โดยทั่วไปแล้ว ปีแรกหลังจากได้รับเลือกตั้งแล้ว ประธานาธิบดีคนใหม่ มักจะมาพร้อมกับ “ภาระรับมอบ” จากประชาชน (ขอใช้คำของ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช ที่ท่านแปลคำว่า “Mandate”)

ให้มาเปลี่ยนแปลงนโยบายต่างๆ เปลี่ยนแนวไปจากเดิม ซึ่งอาจทำให้เกิดความไม่แน่นอน ของแสลงของนักลงทุน เพราะ “ความไม่แน่นอน” คือความเสี่ยง ดังนั้นหุ้นช่วนปีนี้จึงไม่ค่อยดี


ปีที่ 2 เป็นปีที่สิ่งต่างๆ เริ่มจะเห็นเป็นตัวเป็นตนชัดขึ้น นโยบายที่ทำไปเมื่อเข้ามา เริ่มออกดอกผล รัฐบาลกระชับอำนาจได้มากขึ้น “ความไม่แน่นอน” เริ่มกลายเป็นความแน่นอน

และนโยบานเศรษฐกิจสำคัญๆ ย่อมได้รับการคิดค้นและนำมาใช้ในช่วงนี้เพราะหวังว่าจะได้ผลงานก่อนการเลือกตั้งครั้งต่อไป ดังนั้นผลตอบแทนของตลาดหุ้นในช่วงปีนี้จะเริ่มดีขึ้นจากปีก่อนหน้า


ปีที่ 3 มักจะเป็นปีที่ผลตอบแทนของตลาดหุ้นดีที่สุด เพราะในทางการเมือง มันเป็นปีที่เริ่มเตรียมตัวเลือกตั้งใหม่ รัฐบาลจึงมักมุ่งเน้นไปที่การยกระดับเศรษฐกิจให้ดี เพื่อสร้างแต้มต่อทางการเมือง


ปีที่ 4 ก็จะเป็นปีที่ดีอีกเช่นกัน แต่บางทีก็อาจมีแย่ผสมผสานบ้าง เพราะมันเป็นปีที่ต้องจัดเลือกตั้งใหม่ “ความไม่แน่นอน” จึงกลับมาครอบคลุมเหนือตลาดและอารมณ์ความรู้สึกของนักลงทุน แต่รัฐบาลจะพยายามทุ่มเททุกทางให้เศรษฐกิจดี เพื่อเตรียมรับเลือกตั้ง


ถ้าเราลองใช้ไอเดียนี้มาจับสังเหตุตลาดหุ้นสหรัฐฯ เปรียบกับตลาดหุ้นไทย อาจพูดได้ว่า ตลาดสหรัฐฯ ปีนี้ เป็น “ปีกระทิง” แต่ของไทยเรา เป็น “ปีหมี”


สำหรับท่านที่เอียนการเมือง ผมเข้าใจได้ และสำหรับประเทศที่ไม่มีการเลือกตั้งหรือเลือกตั้งแต่พรรคเดียวผูกขาด อย่างจีนกับเวียดนาม ไอเดียนี้ก็จนปัญญา แต่ไอเดียนี้ก็พอมีประโยชน์อยู่บ้าง เมื่อประกอบกับการวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานอย่างรอบคอบ
โดยเฉาพะในภาวะดอกเบี้ยแพงกระทันหันแบบปัจจุบัน มีกิจการจำนวนเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ที่เริ่มผิดนัดชำระหนี้ และต้องขอเจรจากับเจ้าหนี้


เพื่อเป็นการสกรีนเบื้องต้น ผมขอแนะนำให้ท่านทั้งหลายพิจารณา Ratio ง่ายๆ ตัวหนึ่งที่เรียกว่า “Current Ratio”


คำนวณได้โดยเอา “สินทรัพย์หมุนเวียน” เป็นตัวตั้ง แล้วหารด้วย “หนี้สินหมุนเวียน” (ดูได้จากงบดุลของทุกกิจการ)

ผลลัทธ์ที่ต่ำว่า 1 หมายความว่า กิจการนั้นมีความเสี่ยง (ยิ่งตัวเลขออกมาน้อย ความเสี่ยงยิ่งสูง) เพราะมันหมายความว่ากิจการนั้นจะมีสินทรัพย์ไม่พอใช้หนี้ในปีหน้า
ราคาหุ้นของกิจการแบบนี้ย่อมมีปัญหา

 

ถ้าตัวเลขมากกว่า 1 ยิ่งมากยิ่งดี
ในเวลาแบบนี้ ควรหากิจการที่มีสุขภาวะทางการเงินที่ดีไว้ก่อน

LINE MAN ผู้นำแพลตฟอร์มออนดีมานด์ ขอร่วมเป็นส่วนหนึ่งในปรากฏการณ์ครั้งสำคัญของประเทศไทย กับแคมเปญ “ทุกเสียงมีค่า” ชวนคนไทยออกไปใช้สิทธิ์เลือกตั้งปี 66 พร้อมแจกโค้ดส่วนลดค่าส่งสูงสุด 66 บาท ตลอดเดือนพฤษภาคมนี้ ให้อิ่มฟินสุขคุ้มกับร้านอาหารกว่า 700,000 ร้านทั่วไทย ตั้งแต่วันนี้ ถึง 31 พฤษภาคมนี้

แคมเปญ “ทุกเสียงมีค่า” เกิดจากความตั้งใจที่ต้องการร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการชวนคนไทยออกไปใช้สิทธิ์เลือกตั้ง ในวันอาทิตย์ที่ 14 พฤษภาคมนี้ เพราะ “เสียงของคุณมีค่า” เลือกโหวตพรรคที่ใช่แล้วกลับบ้านพักหาของกินอร่อยที่ชอบบน LINE MAN รับส่วนลดค่าส่งทันที 66 บาท เพียงกรอกโค้ด “LMVOTE” เมื่อสั่งซื้ออาหารขั้นต่ำ 200 บาท ไม่จำกัดร้าน ใช้ได้กับทุกออเดอร์ตลอดเดือนพฤษภาคมนี้

ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://lineman.onelink.me/1N3T/ojjb7px1

Q2/66 หุ้นเทคโนโลยีขนาดใหญ่ NASDAQ เป็นโอกาสของการลงทุน หลังผลประกอบการออกมาดีกว่าคาด บวกกระแสลงทุนเอไอหนุน อีกทั้งนโยบายของ FED ที่เริ่มเข้าสู่ภาวะผ่อนคลายและยังได้รับผลกระทบจากเศรษฐกิจถดถอยน้อย ขณะที่หุ้นเทคโนโลยีขนาดกลางในตลาดหุ้นจีน มีความน่าสนใจระยะยาวจากนโยบายกีดกันเทคโนโลยีจีนของสหรัฐฯ ส่วนตลาดหุ้นไทยแนะรอจังหวะความชัดเจนทางการเมือง จับตาเสถียรภาพของรัฐบาลใหม่ ชี้ชะตาหุ้นไทยเกิดกระแส Election Rally

นายณพวีร์ พุกกะมาน นักลงทุนและผู้ก่อตั้ง Creative Investment Space (CIS) สถาบันให้ความรู้ด้านนวัตกรรมการลงทุนรูปแบบใหม่ เปิดเผยว่า ผลการประชุมธนาคารกลางสหรัฐอเมริกา (FED) ในสัปดาห์ที่ผ่านมา มีมติขึ้นดอกเบี้ย 0.25% ตามที่ตลาดคาดไว้ และประธาน FED ออกมาแถลงการณ์ว่าอาจจะเป็นการขึ้นดอกเบี้ยครั้งสุดท้ายของปีนี้ แต่ยังคงเป้าหมายการปรับลดอัตราเงินเฟ้อที่ระดับ 2% โดยผลที่ออกมาถือว่าไม่มีอะไรที่ส่งผลต่อตลาดอย่างมีนัยสำคัญ

อย่างไรก็ดี ตลาดได้รับปัจจัยบวกจากการประกาศตัวเลขการจ้างงานนอกภาคการเกษตรของสหรัฐฯ (Non-Farm Payrolls) ในคืนวันศุกร์ที่ผ่านมา และอัตราการว่างงานประจำเดือน ต่างออกมาในมุมที่ดีต่อเศรษฐกิจ โดย Non-Farm Payroll ออกมาสูงกว่าที่คาดไว้ค่อนข้างมาก ที่ระดับ 253,000 ตำแหน่ง จากที่คาดไว้ 180,000 ตำแหน่ง และอัตราว่างงานอยู่ที่ 3.4% น้อยกว่าที่ตลาดคาด

ขณะที่ Dollar Index กลับไม่ได้แข็งค่าขึ้นมากนัก บ่งบอกว่าตลาดได้มองข้ามตัวเลขดังกล่าวไปพอสมควร และให้ความสำคัญกับการประกาศตัวเลขเงินเฟ้อ (CPI Index) ในวันพุธนี้ (10 พ.ค.66) โดยตลาดคาดว่าจะทรงตัวในระดับ 5% จากเดือนก่อน

“หากตัวเลข CPI Index ออกมาต่ำกว่าที่คาดจะส่งผลดีต่อตลาด เพราะจะเป็นการเพิ่มโอกาสที่ FED จะคงดอกเบี้ย หรือ ลดดอกเบี้ย ในปีนี้ แต่ถ้าออกมาเพิ่มขึ้นจะสร้างแรงกดดันต่อตลาดที่ FED อาจต้องกลับลำมาเพิ่มดอกเบี้ยอีกครั้ง”

ทั้งนี้ สินทรัพย์ที่มีความน่าสนใจเพิ่มขึ้นในช่วงที่ผ่านมา คือ หุ้นกลุ่มเทคโนโลยีในตลาด NASDAQ โดยหลังการประกาศงบการเงินไตรมาสแรกของหุ้นเทคโนโลยีขนาดใหญ่ ทั้ง APPLE, MICROSOFT, ALPHABET และ META ต่างมีผลประกอบการออกมาดีกว่าที่ตลาดคาดไว้ทั้งหมด โดยเฉพาะ APPLE ที่เป็นผู้นำตลาด

สาเหตุหลักนอกเหนือจากยอดขายที่เพิ่มขึ้นแล้ว ต้นทุนดำเนินการยังลดลงหลังจากบริษัทเทคโนโลยีกลุ่มนี้ต่างปรับลดพนักงานไปรวมกว่าหมื่นตำแหน่งในช่วงปลายปีที่แล้วและต่อเนื่องจนถึงต้นปีนี้ ประกอบกับผลกำไรในปี 2565 เริ่มกลับมาเข้าสู่ภาวะปกติจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิดยุติลง

ที่สำคัญหุ้นเทคโนโลยีขนาดใหญ่กำลังเร่งลงทุนในโปรดักต์เกี่ยวกับปัญญาประดิษฐ์ หรือ เอไอ (AI) โดยเฉพาะ MICROSOFT, ALPHABET และล่าสุด META จึงน่าจะเป็นปัจจัยที่ผลักดันความน่าสนใจของนักลงทุนได้พอสมควร และกระแสน่าจะอยู่ไปตลอดทั้งปีนี้

นายณพวีร์ กล่าวว่า ด้วยเหตุผลทั้งด้านงบการเงิน บวกกับปัจจัยบวกใหม่ และทิศทางนโยบายของ FED ที่เริ่มผ่อนคลายทางการเงิน ทำให้หุ้นในดัชนี NASDAQ มีความน่าสนใจอย่างยิ่ง โดยเฉพาะกลุ่มหุ้นขนาดใหญ่ (Big Cap) ที่ได้รับผลกระทบจากสถาวะเศรษฐกิจถดถอย (Recession) ในวงจำกัด เนื่องจากมีธุรกิจกระจายทั่วโลก ต่างจากหุ้นแบบดั้งเดิมที่อยู่ใน S&P500 ซึ่งอาจได้รับผลกระทบจากเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่อาจจะถดถอย

“ตั้งแต่ต้นปี 2566 ที่ผ่านมา ดัชนี NASDAQ ปรับตัวขึ้นมาแล้ว 21.2% เป็นดัชนีที่โดดเด่นที่สุดของโลก ขณะที่ดัชนี S&P500 สร้างผลตอบแทน 7.73% และดัชนี Dow Jones สร้างผลตอบแทน 1.59% แสดงให้เห็นว่าตลาดให้ความสำคัญกับหุ้นเทคโนโลยีมากกว่าหุ้นแบบดั้งเดิม ขณะที่กราฟเทคนิคดัชนี NASDAQ แนวโน้มกำลังเป็นขาขึ้น มีแนวต้านที่ 13,700 จุด และแนวรับ 12,800 จุด ถือเป็นสินทรัพย์ทางเลือกที่น่าสนใจในไตรมาสสองและต่อเนื่องถึงไตรมาสสาม”

นอกจากนั้น อีกสินทรัพย์ที่น่าสนใจ คือ หุ้นเทคโนโลยีจีน ในดัชนี STAR 50 Index ซึ่งจะเป็นหุ้นขนาดกลางและขนาดเล็ก โดยส่วนใหญ่จะดำเนินธุรกิจผลิตเซมิคอนดัคเตอร์ ซึ่งจะได้ประโยชน์จากนโยบาย CHIPS for America Act ที่จำกัดการสั่งซื้อเซมิคอนดักเตอร์จากจีน ทำให้มีโอกาสสูงที่บริษัทเทคโนโลยีขนาดใหญ่ของจีนจะสั่งซื้ออุปกรณ์จากบริษัทขนาดกลางในประเทศแทน อีกทั้งรัฐบาลจีนยังให้การสนับสนุนอีกด้วย

ทางด้านกลยุทธ์การลงทุน สามารถมองเป็นการลงทุนระยะกลางถึงยาวได้ โดยนักลงทุนสามารถลงทุนผ่านกองทุน ETF KraneShares SSE STAR Market 50 Index (ETF KSTR) เป็นเกณฑ์มาตรฐาน (Benchmark) หรือ ลงทุนผ่านกองทุนรวมของไทยที่มีนโยบายลงทุนในดัชนี STAR50 ของจีน ได้เช่นกัน

สำหรับ ทิศทางตลาดหุ้นไทย (SET Index) มีประเด็นที่ต้องจับตา คือ เสถียรภาพของว่าที่รัฐบาลใหม่ หลังการเลือกตั้ง ถ้าหากไม่มีฝั่งที่ชนะอย่างชัดเจนจนทำให้เกิดรัฐบาลเสียงข้างน้อย ตลาดหุ้นอาจจะตอบสนองในเชิงลบ เพราะธรรมชาติของตลาดหุ้นไทยชอบความชัดเจน และต้องการรัฐบาลที่มีเสถียรภาพ

“ถึงแม้ว่าสัปดาห์นี้ SET Index เริ่มต้นได้ดี แต่ยังมีความเสี่ยงมาก การลงทุนแนะนำว่ารอดูความชัดเจนของการจัดตั้งรัฐบาลใหม่ หลังวันที่ 14 พ.ค.66 โดยมองแนวรับสำคัญอยู่ที่ระดับ 1,500 จุด ถ้าหากหลุดจากระดับนี้ ดัชนีมีโอกาสจะเป็นขาลงในระยะยาว แต่ถ้ามีแนวโน้มสูงที่จะได้รัฐบาลใหม่ที่มีเสถียรภาพ น่าจะได้เห็น Election Rally เหมือนที่เคยเกิดขึ้นในอดีต”

X

Right Click

No right click