December 22, 2024
×

Warning

JUser: :_load: Unable to load user with ID: 7636

เอฟดับบลิวดี กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ (“กลุ่มเอฟดับบลิวดี” หรือ “เอฟดับบลิวดี”) เปิดเผยว่า บริษัทฯ ได้ประกาศขยายความร่วมมือกับไมโครซอฟท์ภายใต้ข้อตกลงระยะเวลา 4 ปี ในการเข้าถึงนวัตกรรมปัญญาประดิษฐ์เชิงสร้างสรรค์ (Generative AI) รุ่นล่าสุด เพื่อเสริมความต่อเนื่องในการดำเนินกลยุทธ์เทคโนโลยีคลาวด์-เฟิร์สของกลุ่มเอฟดับบลิวดี

กลุ่มเอฟดับบลิวดีมีแผนที่จะขับเคลื่อนโครงการ Generative AI  โดยใช้เทคโนโลยี Azure OpenAI Service และนวัตกรรมระดับโลกอื่นๆ ของไมโครซอฟท์ โดยบริษัทฯ คาดว่าจะได้รับประโยชน์จากฟีเจอร์ต่างๆ อาทิ เครือข่ายส่วนองค์กร ความสามารถด้านการตรวจสอบและความปลอดภัยของ Microsoft Azure รวมถึงโมเดล AI ขั้นสูง

ไรอัน คิม (Ryan Kim) ประธานเจ้าหน้าที่สายงานดิจิทัลของกลุ่มเอฟดับบลิวดี กล่าวว่า "นวัตกรรมดิจิทัลเป็นสิ่งสำคัญที่จะทำให้บริษัทบรรลุวิสัยทัศน์ในการเปลี่ยนมุมมองของผู้คนที่มีต่อการประกันชีวิต การทำงานร่วมกันครั้งนี้เป็นการรวมความมุ่งมั่นในการเป็นผู้บุกเบิกของ FWD ในตลาดเอเชีย ซึ่งเป็นตลาดประกันภัยที่เติบโตอย่างรวดเร็วที่สุดแห่งหนึ่งของโลก เข้ากับมาตรฐานและทักษะระดับโลกของ Microsoft ในด้านวิศวกรรมและ AI”

"เรารู้สึกตื่นเต้นที่จะได้สร้างประโยชน์จากการนำนวัตกรรมรุ่นใหม่ๆ มาพัฒนาสู่การใช้งานจริงในอุตสาหกรรม และสร้างมาตรฐานใหม่ให้กับอุตสาหกรรม ซึ่งเราเชื่อว่าจะเป็นการวางทิศทางด้านการประกันภัยต่อไปในอนาคต"

กลุ่มเอฟดับบลิวดีทำงานอย่างต่อเนื่องเพื่อยกระดับประสบการณ์ของลูกค้า รวมไปถึงงานในส่วนอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นการเพิ่มผู้ใช้งานในส่วนของดิจิทัล การตลาด ประสิทธิภาพของช่องทางจัดจำหน่ายและตัวแทน การรับประกันภัย การเรียกร้องค่าสินไหมทดแทน และการบริการลูกค้า นอกจากนี้ บริษัทฯ ถือเป็นผู้ใช้งานกลุ่มแรกๆในโปรแกรม Copilot ของ Microsoft 365 ซึ่งเป็นการนำ AI มาทำหน้าที่ผู้ช่วยสนับสนุนการทำงานในแต่ละวันของพนักงาน

บิล บอร์เดน (Bill Borden) รองประธานบริษัทฝ่ายบริการทางการเงินของไมโครซอฟท์ กล่าวว่า "AI กำลังขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงในอุตสาหกรรมบริการทางการเงิน โดยเป็นนวัตกรรมที่ช่วยเปิดโอกาสให้ธุรกิจเติบโตด้วยความคล่องตัวและขยายตัวมากขึ้น เรารู้สึกยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้สร้างความร่วมมือที่แข็งแกร่งด้าน AI กับกลุ่มเอฟดับบลิวดี ผ่านความสามารถของข Azure OpenAI Service และ Copilot for Microsoft 365 เพื่อยกระดับประสบการณ์ของลูกค้า พร้อมสนับสนุนกระบวนการทำงานให้มีความปลอดภัยและรัดกุมยิ่งขึ้น”

“ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกมีบทบาทสำคัญในวงการการเงินระดับโลก และยังมีความโดดเด่นในการขับเคลื่อนความเปลี่ยนแปลงและการปรับตัว ซึ่งจะเป็นปัจจัยที่จะทำให้เกิดการเติบโตและสร้างสรรค์นวัตกรรมอย่างต่อเนื่อง เรามุ่งมั่นที่จะเพิ่มศักยภาพให้กับลูกค้าทั่วภูมิภาคโดยนำ Generative AI มาใช้อย่างมีความรับผิดชอบ และด้วยความเป็นผู้นำด้าน AI ในระดับโลกของไมโครซอฟท์ เราเป็นหนึ่งในผู้ที่มีส่วนร่วมสนับสนุน ecosystem ด้านนวัตกรรมให้กับอุตสาหกรรมทางการเงิน  เพื่อยกระดับประสิทธิภาพการดำเนินงานและสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับลูกค้า”

ทั้งนี้ กลุ่มเอฟดับบลิวดีได้ริเริ่มนำนวัตกรรม AI มาใช้ตั้งแต่ปี 2562 ปัจจุบันกลุ่มเอฟดับบลิวดีมีการใช้งานโมเดล AI อยู่เกือบ 200 โมเดล และมีตัวอย่างการใช้งานจริงมากกว่า 600 เคส

 

ไมโครซอฟท์ และ ซีเมนส์ ผนึกความร่วมมือต่อเนื่อง นำประสิทธิภาพ Generative AI มาสู่ภาคอุตสาหกรรมทั่วโลก โดยทั้งสองบริษัทฯ เตรียมเปิดตัว Siemens Industrial Copilot ซึ่งเป็นผู้ช่วยปัญญาประดิษฐ์ (AI) ที่พัฒนาร่วมกัน มีเป้าหมายเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพการทำงานร่วมกันระหว่างมนุษย์และเครื่องจักรในภาคการผลิต

นอกจากนี้การผนวกซอฟต์แวร์ Teamcenter ของซีเมนส์ที่ใช้สำหรับการบริหารจัดการวงจรชีวิตผลิตภัณฑ์ (หรือ PLM) เข้ากับ Microsoft Teams ยังสนับสนุนการสร้างเมตาเวิร์สในภาคอุตสาหกรรม ลดความซับซ้อนในการทำงานร่วมกันแบบเสมือนจริงให้แก่วิศวกรออกแบบ ผู้ปฏิบัติงานหน้างานและทีมอื่น ๆ ตลอดสายงานธุรกิจ

สัตยา นาเดลลา ประธานและซีอีโอของไมโครซอฟท์ กล่าวว่า “ด้วยศักยภาพของปัญญาประดิษฐ์ยุคใหม่นี้ เรามีโอกาสพิเศษในการเร่งสร้างนวัตกรรมให้กับภาคอุตสาหกรรมทั้งหมด เรากำลังพัฒนาต่อยอดจากความร่วมมือที่ยาวนานกับซีเมนส์ รวบรวมความก้าวหน้าด้าน AI ใน Microsoft Cloud มาผนวกรวมกับความเชี่ยวชาญทางด้านอุตสาหกรรมของซีเมนส์ เพื่อเสริมศักยภาพให้แก่ผู้ปฏิบัติงานหน้างานและพนักงานที่มีทักษะเฉพาะทาง ด้วยเครื่องมือใหม่ ๆ ที่ขับเคลื่อนด้วยขุมพลังปัญญาประดิษฐ์ โดยเริ่มต้นด้วยโครงการ Siemens Industrial Copilot

 

โรแลนด์ บุช ซีอีโอของซีเมนส์ กล่าวว่า “เราและไมโครซอฟท์มีวิสัยทัศน์ร่วมกันในการส่งเสริมศักยภาพของลูกค้าด้วยการนำ Generative AI มาใช้งาน เทคโนโลยีนี้มีศักยภาพมหาศาลที่จะปฏิวัติวิธีการที่บริษัทต่าง ๆ ใช้ออกแบบ พัฒนา ผลิตและดำเนินการ ด้วยการส่งเสริมการทำงานร่วมกันระหว่างมนุษย์กับเครื่องจักรที่เชื่อมต่อกันในวงกว้างมากขึ้น ช่วยให้เหล่าวิศวกรสามารถเร่งพัฒนาโค้ด เพิ่มนวัตกรรม และรับมือกับปัญหาการขาดแคลนแรงงานที่มีทักษะได้

ยุคใหม่ของการทำงานร่วมกันของมนุษย์และเครื่องจักร

Siemens Industrial Copilot จะช่วยให้ผู้ใช้งานสามารถสร้าง เพิ่มประสิทธิภาพ และแก้ไขโค้ดอัตโนมัติที่ซับซ้อนได้อย่างรวดเร็ว พร้อมลดระยะเวลาการจำลองสถานการณ์ลงอย่างมาก ซึ่งวิธีการนี้จะช่วยลดงานที่ก่อนหน้านี้ต้องใช้เวลาหลายสัปดาห์ให้เหลือเป็นหน่วยนาที โดย Copilot จะนำข้อมูลของระบบอัตโนมัติและกระบวนการการจำลองจากแพลตฟอร์ม Siemens Xcelerator ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มธุรกิจดิจิทัลแบบเปิดของซีเมนส์ และเพิ่มประสิทธิภาพด้วย Azure OpenAI Service ของไมโครซอฟท์ โดยลูกค้ายังคงควบคุมข้อมูลตนเองได้ทั้งหมด ระบบจะไม่มีการนำข้อมูลไปใช้กับการฝึกโมเดล AI พื้นฐาน

Siemens Industrial Copilot มีความสามารถเพิ่มผลผลิตและเพิ่มประสิทธิภาพครบวงจรในอุตสาหกรรม โดยเจ้าหน้าที่ซ่อมบำรุงจะได้รับคำแนะนำการซ่อมแซมอย่างละเอียดด้วยภาษาปกติอย่างเป็นธรรมชาติ ขณะที่วิศวกรจะสามารถเข้าถึงเครื่องมือแบบจำลองได้อย่างรวดเร็ว

Copilots สำหรับทุกอุตสาหกรรม

ทั้งซีเมนส์และไมโครซอฟท์ต่างเล็งเห็นว่า AI Copilots มีความสามารถในการช่วยเหลือผู้เชี่ยวชาญในอุตสาหกรรมต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น อุตสาหกรรมการผลิต โครงสร้างพื้นฐาน การขนส่ง และการดูแลสุขภาพ โดย Copilot จำนวนมากกำลังถูกวางแผนที่จะนำมาใช้ในภาคการผลิต เช่น ยานยนต์ สินค้าอุปโภคบริโภค และการผลิตเครื่องจักร Schaeffler AG ซัพพลายเออร์ยานยนต์ชั้นนำเป็นหนึ่งในบริษัทรายแรก ๆ ของอุตสาหกรรมยานยนต์ที่นำ Generative AI ไปใช้ในงานด้านวิศวกรรม ช่วยให้ทีมวิศวกรสามารถพัฒนาโค้ดที่มีความน่าเชื่อถือสำหรับการโปรแกรมระบบอัตโนมัติในอุตสาหกรรม เช่น หุ่นยนต์ นอกจากนี้ บริษัทฯ เตรียมนำ Siemens Industrial Copilot มาใช้ในระบบการดำเนินงาน โดยวางเป้าหมายเพื่อลดการหยุดชะงักของ

การทำงาน (Downtime) ของเครื่องจักรอย่างมีนัยสำคัญ และเตรียมพัฒนาขั้นต่อไปสำหรับลูกค้าในภายหลัง

เคลาส์ โรเซนเฟลด์ ซีอีโอของกลุ่มแชฟฟ์เลอร์ กล่าวว่า “เรากำลังก้าวสู่ยุคใหม่ของการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและนวัตกรรมในโครงการนำร่องร่วมกันนี้ ซึ่ง Siemens Industrial Copilot จะช่วยให้ทีมงานของเราทำงานอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ทั้งยังลดภาระงานซ้ำซ้อน และเพิ่มไอเดียสร้างสรรค์ใหม่ ๆ เรารู้สึกตื่นเต้นที่ได้ร่วมมือกับซีเมนส์และไมโครซอฟท์ในโครงการนี้”

Generative AI เพิ่มความสะดวกการทำงานร่วมกันในแบบเสมือน

เพื่อยกระดับการทำงานร่วมกันแบบเสมือนระหว่างทีม ซอฟต์แวร์ Teamcenter ของซีเมนส์ สำหรับ Microsoft Teams พร้อมเปิดให้ใช้งานได้โดยทั่วไปตั้งแต่เดือนธันวาคมปีนี้ โดยแอปพลิเคชันนี้จะใช้ศักยภาพล่าสุดของ Generative AI เชื่อมต่อฟังก์ชั่นการทำงานต่าง ๆ ของวงจรการออกแบบผลิตภัณฑ์และวงจรการผลิต ตั้งแต่ผู้ปฏิบัติงานหน้างานไปจนถึงทีมวิศวกร โดยจะเชื่อมต่อซอฟต์แวร์ Teamcenter ของซีเมนส์ที่ใช้สำหรับการบริหารจัดการวงจรชีวิตผลิตภัณฑ์ (หรือ PLM) เข้ากับ Microsoft Teams ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มการทำงานร่วมกันของไมโครซอฟท์ เพื่อให้พนักงานในโรงงานและพนักงานภาคสนามสามารถเข้าถึงข้อมูลได้ สิ่งนี้จะช่วยให้พนักงานหลายล้านคนที่เข้าไม่ถึงเครื่องมือ PLM ในปัจจุบันสามารถมีส่วนร่วมในกระบวนการออกแบบและผลิตได้ง่ายยิ่งขึ้นเสมือนเป็นส่วนหนึ่งของงานประจำวัน

ซีเมนส์จะแบ่งปันรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับ Siemens Industrial Copilot ที่งาน SPS expo ที่จะจัดขึ้น ณ เมืองนูเรมเบิร์ก ประเทศเยอรมนี ในเดือนพฤศจิกายน ปี 2566

การเปิดตัวโครงการ “1st JobberHack Challenge ติดอาวุธเสริมทักษะด้านดิจิทัล” จัดขึ้นที่บริษัทเอไอเอส เมื่อวันที่ 17 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเตรียมพร้อมเยาวชนระดับชั้นอุดมศึกษาด้วย

ทักษะเชิงดิจิทัลที่จำเป็นต่อการทำงานในศตวรรษที่ 21 พร้อมสนับสนุนการนำทฤษฎีมาประยุกต์ใช้ในชีวิตจริงผ่านการนำเสนอไอเดียโซลูชั่นเทคโนโลยีที่ช่วยแก้ไขปัญหาต่างๆ ให้กับธุรกิจได้จริง โดยต่อยอดจากการฝึกอบรมผ่านช่องทางออนไลน์ผ่าน Microsoft Teams ซึ่งครอบคลุมหัวข้อพื้นฐาน ได้แก่ การประมวลผลของชุดคำสั่ง (documenting) การสื่อสาร (communication) การเก็บข้อมูลและเว็บไซต์ (data collecting and website) การจินตนาการภาพจากข้อมูล (data visualization) ระบบควบคุมอัตโนมัติและการสร้างแอปพลิเคชัน (automation and building application) และการสร้างแอปพลิเคชันผลิตภัณฑ์ (create product application) 

ในงานเปิดตัวโครงการที่ผ่านมา มีนิสิตนักศึกษาให้ความสนใจและเข้าร่วมกิจกรรมทั้งหมด 29 ทีม จาก 9 มหาวิทยาลัยทั่วประเทศ ได้แก่ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล มหาวิทยาลัยศิลปากร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี และมหาวิทยาลัยขอนแก่น โดยนอกจากนิสิตนักศึกษาเหล่านี้จะได้รับความรู้จากเวิร์คช็อปการออกแบบความคิดและนำเสนอไอเดีย พร้อมคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญในอุตสาหกรรมในงานเปิดตัวที่ผ่านมาแล้ว พวกเขายังได้รับโอกาสในการฝึกอบรมทักษะเชิงดิจิทัลที่จำเป็นและมีประโยชน์ ผ่านช่องทางออนไลน์ Microsoft Teams เป็นระยะเวลา 1 เดือน จนถึงวันที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2563 ด้วย

 Image preview

นายสุกฤษ ฉัตรไชยเดช นักศึกษาชั้นปีที่ 4 จากคณะวิศวกรรมศาสตร์ ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ มหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์ กล่าวว่า “ผมรู้สึกว่าโครงการ 1st JobberHack Challenge มีความน่าสนใจตรงที่เป็นโครงการที่เกิดความร่วมมือจากบริษัทยักษ์ใหญ่ 2 แห่งอย่างไมโครซอฟท์และเอไอเอส ผมจึงเชื่อว่าโครงการนี้จะเป็นโอกาสที่ดีที่จะทำให้ผมได้รับประสบการณ์ที่เป็นประโยชน์จากทั้งสองบริษัทที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญและได้รับการยอมรับในอุตสาหกรรม จากการเรียนรู้ทักษะความรู้ระดับพื้นฐานที่สำคัญในการจัดกระบวนการคิดเพื่อการสร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่เพื่อพัฒนาโซลูชั่นสำหรับธุรกิจต่าง ๆ”

 Image preview

นางสาวยุภาภรณ์ วันนา นักศึกษาชั้นปีที่ 4 จากคณะวิทยาศาสตร์ ภาควิชาสารสนเทศสถิติ มหาวิทยาลัยขอนแก่น กล่าวว่า “ตอนนี้กำลังศึกษาอยู่ชั้นปีที่ 4 จึงรู้สึกว่าโครงการนี้เป็นโอกาสที่ดีที่จะได้ลองนำความรู้เชิงทฤษฎีที่ได้เรียนมาประยุกต์ใช้ รวมถึงทดสอบศักยภาพของตนเอง ก่อนที่จะออกไปเจอกับสนามแข่งจริง หนูเชื่อว่าทักษะและความรู้ที่ได้จากการเข้าร่วมโครงการนี้จะเป็นประโยชน์ในการเตรียมความพร้อมก่อนเริ่มชีวิตการทำงานในอนาคต ทั้งจากการแบ่งปันประสบการณ์และคำแนะนำโดยผู้บริหารและผู้เชี่ยวชาญที่ประสบความสำเร็จ และจากการฝึกคิดสร้างสรรค์นวัตกรรมเพื่อแก้ไขปัญหาให้กับธุรกิจร่วมกับเพื่อนๆ ในกลุ่ม”

 

หลังจากการฝึกอบรมทางออนไลน์แล้ว ทีมนิสิตนักศึกษาที่เข้าร่วมโครงการจะนำเสนอไอเดียโซลูชั่นเพื่อแก้ไขปัญหาให้กับธุรกิจในรูปแบบวิดีโอที่มีความยาว 1-2 นาที และทีมผู้ชนะเลิศของการแข่งขันจะถูกประกาศขึ้นในวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2563 หลังจากการนำเสนอผลงานต่อหน้าคณะกรรมการซึ่งล้วนแต่เป็นผู้เชี่ยวชาญในอุตสาหกรรม โดยทีมนักศึกษาที่ได้รับรางวัลชนะเลิศจะได้รับ Surface Go จำนวน 3 เครื่อง รางวัลละ 25,900 บาท บาท พร้อมการฝึกอบรมการใช้งาน PowerApp และ PowerPlatform สำหรับนักศึกษาจำนวน 50 คนจากมหาวิทยาลัยนั้นๆ ในขณะที่ทีมนักศึกษาที่ได้รับรางวัลรองชนะเลิศอันดับที่ 1 จะได้รับรางวัลเป็น Surface Go จำนวน 3 รางวัล มูลค่ารวมกว่า 50,000 บาท และทีมนักศึกษาที่ได้รับรางวัลรองชนะเลิศอันดับที่ 1 จะได้รับรางวัลเป็นหูฟัง Logitech G933s จำนวน 3 รางวัล มูลค่า กว่า 6,000 บาท นอกจากนี้มหาวิทยาลัยที่ชนะเลิศจะได้รับคอร์สสอนการใช้งาน Office 365 จำนวน 50 ที่นั่งฟรี

X

Right Click

No right click