December 23, 2024
×

Warning

JUser: :_load: Unable to load user with ID: 840

เรื่ิองโดย ดร.อัจฉรา จุ้ยเจริญ กรรมการผู้จัดการ บริษัท แอคคอมแอนด์อิมเมจ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด และโค้ชผู้บริหารที่ได้รับการรับรองจากสหพันธ์โค้ชนานาชาติ 

ในยุคดิจิทัล องค์กรเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วขึ้น Ray Kurzweil ผู้อำนวยการด้านวิศวกรรมของ Google ซึ่งเป็นทั้งนักประพันธ์ นักประดิษฐ์ และเป็น Futurist ที่มีชื่อเสียงมากคนหนึ่ง การทำนายสิ่งที่จะเกิดขึ้นในอนาคตที่เขาทำนายไว้ ได้เกิดขึ้นจริงหลายประการ เขาได้เคยกล่าวทำนายไว้ว่า ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีที่เราเคยเชื่อว่าจะเกิดขึ้นได้ในอีกสองหมื่นปีข้างหน้า อาจจะมารุมกันเกิดขึ้นภายในร้อยปีข้างหน้านี้ก็เป็นได้

ย้อนกลับไปในอดีต เราคงไม่คาดคิดว่าร้านขายหนังสือที่มีชื่อเสียงอย่างเช่น Barnes & Noble จะปิดสาขาต่างๆ ลงอย่างรวดเร็ว ปัจจุบันเราอยากอ่านหนังสือจากต่างประเทศเล่มใด ก็สั่งซื้อได้ทันทีเพียงปลายนิ้ว อีกทั้งในอดีตเราคงไม่คาดคิดว่า Blackberry ซึ่งเป็นที่นิยมในกลุ่มคนทุกเพศ ทุกวัย จะถูกกลืนหายไปด้วย “WhatsApp” และ “Line” อย่างรวดเร็ว การเปลี่ยนแปลงรอบๆ ตัวเรา ไม่ใช่เพียงเกิดขึ้นเท่านั้น แต่ยังเป็นไปอย่างรวดเร็ว มีทั้งธุรกิจที่หายไป และมีธุรกิจที่เกิดใหม่ ในด้านการเข้าถึงข้อมูลต่างๆ ในปัจจุบันเราสามารถเข้าถึงข้อมูลที่เป็นประโยชน์ แหล่งเงินทุน เข้าถึงเทคโนโลยี และความสามารถ ต่างๆ ได้มากกว่า CEO ของบริษัทยักษ์ใหญ่ของโลกเมื่อ 20 ปี ที่แล้ว ที่สำคัญเข้าถึงด้วยความรวดเร็วกว่าอีกด้วย 

อย่างไรก็ตาม การเปลี่ยนแปลงใดๆ ก็แล้วแต่ หากเราคิดเชิงรุกเพื่อก้าวไปกับการเปลี่ยนแปลง หรือปรับตัวเข้ากับการเปลี่ยนแปลงได้เร็ว เราก็จะยืนหยัดได้อย่างเป็นสุข ดังที่มีคำพูดว่า “ถึงแม้เราจะเปลี่ยนทิศทางลมไม่ได้ แต่เราสามารถปรับเปลี่ยนใบเรือและการเดินเรือของเราได้”

ในการนำ การเปลี่ยนแปลงที่มีประสิทธิผล มีขั้นตอนต่างๆ เช่น ทำให้บุคลากรเข้าใจและเห็นภาพของความจำเป็นเร่งด่วน การสร้างวิสัยทัศน์ของความสำเร็จ เป็นต้น ที่สำคัญ การคิดเชิงรุก เช่น ระบุอุปสรรคที่กีดขวางการเปลี่ยนแปลง เป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้ เพื่อให้เราปรับตัวและจัดการกับอุปสรรคนั้นได้ง่ายขึ้น อุปสรรคที่องค์กรต่างๆ มักเผชิญเมื่อพยายามที่จะบริหารจัดการการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาองค์กรให้ทันกาลคือ

1. ตกหลุมพรางในการใช้เวลามากไปกับผู้ที่ต่อต้านและมองการเปลี่ยนแปลงแต่เพียงด้านลบ

2. ผู้นำทีมขาดทักษะในการโค้ชบุคคลให้ออกจาก Comfort Zone และมุ่งมั่นในการเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ

3. ผู้นำทีมขาดทักษะในการโค้ชทีมให้ยืดหยุ่นและคล่องตัวต่อการ เปลี่ยนแปลง

4. องค์กรเผชิญกับความยากลำบากในการปรับ Mindset ของผู้บริหาร และผู้จัดการจากการควบคุม (Control) มาเป็นการโค้ชและสนับสนุนให้บุคลากรเรียนรู้อย่างรวดเร็ว (Coaching and Facilitation)

5. การบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์ (Human Resource Management) ในองค์กรยังเป็นรูปแบบเดิม ที่ไม่ได้ส่งเสริมกระบวนการที่ยืดหยุ่น คล่องตัว (Agility)

คำ ว่า “Agile” เป็นคำที่เริ่มใช้กันในกลุ่มงานเทคโนโลยี ซึ่งหมายถึงคล่องแคล่ว ว่องไว แต่ในปัจจุบันเป็นสิ่งที่แทบทุกหน่วยงานมองหา ไม่ว่าใน การพัฒนาสินค้าและบริการ ในด้านพัฒนาองค์กร และการบริหารจัดการ ทรัพยากรมนุษย์ นั่นเป็นเพราะความรวดเร็ว (Speed) ของการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นรอบๆ ตัวเรา ทีมหรือองค์กรที่ขาด “Agility” หรือโครงสร้างและ กระบวนการการทำงานที่มีความคล่องตัว จะเสี่ยงในการถูกคลื่นของการเปลี่ยนแปลงกลืนหายไป

เพื่อให้การเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นทันกาล ผู้นำทีมต้องปรับตนเองและทีมได้เร็ว ลักษณะการทำงานจึงจำ เป็นต้องเปลี่ยนจากทีมใหญ่อุ้ยอ้ายให้เป็นทีมเล็กๆ เพื่อให้ขับเคลื่อนได้เร็ว มีการปรับเปลี่ยนบทบาทความรับผิดชอบบ่อยขึ้น เป้าหมายเปลี่ยนไปตามความต้องการของลูกค้า แต่เราจะเห็นว่าการบริหารคน ยังคงใช้รูปแบบเดิม เช่น ประเมินผลงานปีละสองครั้งคือกลางปีและปลายปกว่าลูกน้องจะได้รับ Feedback ในการปฏิบัติงาน ว่าจะต้องปรับปรุงอะไร บางทีก็สายเกินไป อีกทั้งการขึ้นเงินเดือน ไม่ได้สะท้อนผลงานที่ได้ ทุ่มเทต่อเป้าหมายของการเปลี่ยนแปลง เช่น ทีมที่สร้างความสามารถให้องค์กรปรับเปลี่ยนได้อย่างราบรื่น กลับไม่ได้รับผลตอบแทนที่เห็นได้ชัด เพราะ KPI ที่ใช้ในการประเมินผลงานยังเป็นหัวข้อเดิมที่ตั้งไว้เมื่อตอนต้นปี ในขณะที่งานจริงๆ เปลี่ยนแปลงไประหว่างปี

จะเห็นได้ว่า องค์กรที่สามารถสร้างความคล่องแคล่วต่อการเปลี่ยนแปลงได้ จะลงทุนในการพัฒนาทักษะการโค้ชให้กับผู้บริหาร และผู้จัดการ มีองค์กรที่เริ่มใช้การโค้ชเข้ามาแทนที่การประเมินผลงานแบบดั้งเดิม โดยให้ผู้บริหารและผู้จัดการใช้เวลาในการโค้ชเพื่อพัฒนาบุคลากรในทีมและทีมงาน และประเมินบุคลากรในด้านความคืบหน้าของการเรียนรู้ โดยเริ่มจากช่วยให้บุคลากรจัดลำดับความสำคัญของเป้าหมายและงาน ให้ Feedback ในการปฏิบัติ ใช้การสนทนาแบบโค้ชเพื่อดึงศักยภาพในตัวบุคลากรด้านที่สอดคล้องกับความต้องการของธุรกิจ และสอดคล้องกับแผนการเรียนรู้เพื่อสร้างสมรรถนะที่พร้อมต่อการเปลี่ยนแปลง และสร้างให้เขาเป็นผู้นำที่ดี

ไม่ว่าจะเราจะชอบการเปลี่ยนแปลงหรือไม่ก็ตาม ท่ามกลาง VUCA World เราต้องเผชิญกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนไปอย่างรวดเร็ว คาดเดายาก ไม่แน่นอน ซับซ้อน และคลุมเครืออย่างหลีกเลี่ยง ไม่ได้ (VUCA: Volatility พลิกผัน, Uncertainty ความ ไม่แน่นอน, Complexity ความซับซ้อน และ Ambiguity ความคลุมเครือ)

เพื่อเสริมความพร้อมให้กับองค์กรในการเปลี่ยนแปลงได้ทันกาลและมีประสิทธิภาพ การสร้างทักษะการโค้ชให้กับผู้นำทั้งทักษะ การโค้ชบุคคล และการโค้ชทีมให้มีความ คล่องตัวต่อการเปลี่ยนแปลง เป็นหนึ่งใน กลไกที่สำคัญในการสร้างกล้ามเนื้อเพื่อความ พร้อมในการเปลี่ยนแปลง ให้มีทั้งความยืดหยุ่น คล่องตัว (Agility) และศักยภาพในการก้าวไปกับ การเปลี่ยนแปลงเชิงรุกได้ทั้งสามระดับ คือระดับ กระบวนการในองค์กร (Process) ระดับทีม (Team) และระดับบุคคล (Individual) อีกด้วย

X

Right Click

No right click