January 22, 2025

ทรูมันนี่ ผู้นำด้านการให้บริการทางการเงินแบบดิจิทัลชั้นนำในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จับมือ ‘อีโวลท์’ (Evolt) ผู้นำในการให้บริการสถานีชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าแบบครบวงจรรายแรกในประเทศไทย ยกระดับประสบการณ์การชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า (EV) เมื่อชำระเงินด้วยแอปทรูมันนี่ ณ จุดให้บริการสถานีชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าของอีโวลท์ รับทันที! Welcome Points ถึง 100 คะแนนเมื่อสมัครสมาชิก พร้อมเลือกซื้อดีลสุดพิเศษและสะสมแต้มทุกครั้งที่ชาร์จรถยนต์ไฟฟ้ากับอีโวลท์   

นายสุทธิพัฒน์ จันทร์สว่าง ผู้อำนวยการฝ่ายโซลูชันทางธุรกิจ บริษัท ทรูมันนี่ จำกัด กล่าวว่า “ทรูมันนี่มุ่งมั่นในการช่วยยกระดับแพลตฟอร์มการให้บริการแก่ธุรกิจด้วยโซลูชันการตลาดแบบครบวงจรด้วยTrueMoney for Business ที่เน้นช่วยเหลือร้านค้า ผู้ให้บริการ และพาร์ทเนอร์ทางธุรกิจให้ได้ประโยชน์สูงสุดจากการร่วมเป็นพันธมิตรกับทรูมันนี่ พร้อมช่วยให้เข้าถึงกลุ่มลูกค้าของทรูมันนี่ที่มีมากกว่า 30 ล้านรายทั่วประเทศ โดยก่อนหน้านี้ ร้านค้าบนแพลตฟอร์ม ShopReward+ ของทรูมันนี่ส่วนใหญ่เป็นร้านค้าในหมวดหมู่อาหารและเครื่องดื่ม แต่เริ่มจากในปีที่ผ่านมา ทรูมันนี่ได้ร่วมมือกับธุรกิจแบบบริการตนเอง หรือ Self Service ผ่านคู่ค้าที่เป็นผู้ให้บริการในกลุ่มธุรกิจซักรีดที่กำลังเป็นที่นิยมและได้ผลตอบรับเป็นอย่างดี ซึ่งอีโวลท์ถือเป็นอีกหนึ่งธุรกิจ Self Service ที่กำลังมาแรงอยู่ในขณะนี้ การจับมือผ่าน ShopReward+ แพลตฟอร์มให้บริการระบบสมาชิกแบบครบวงจร (CRM) สามารถเป็นอีกหนึ่งตัวช่วยสำคัญในการทำการตลาด เพราะทำให้ธุรกิจสามารถบริหารจัดการระบบสมาชิกพร้อมกระตุ้นยอดขายด้วยการส่งโปรโมชัน ดีลพิเศษ และส่วนลดต่าง ๆ ให้กับลูกค้าโดยตรงผ่านแอปพลิเคชันทรูมันนี่ ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจร้านอาหาร เครื่องดื่ม ไลฟ์สไตล์ สุขภาพและความงาม หรือ Self Service ก็สามารถเข้าร่วม ShopReward+ เพื่อส่งเสริมยอดขายได้เช่นเดียวกัน” 

นายธนกร คติวิชชา ผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนาธุรกิจ บริษัท อีโวลท์ เทคโนโลยี จำกัด กล่าวว่า “ตลาดรถยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทยในช่วงปี พ.ศ. 2567 - 2569 มีแนวโน้มที่จะเติบโตอย่างต่อเนื่องตามการเพิ่มขึ้นของอุปสงค์และอุปทานภายในประเทศ โดยคาดว่าจะมียอดจดทะเบียนใหม่ของรถยนต์นั่งไฟฟ้าโดยรวมเฉลี่ยปีละ 190,000 คัน และมีกำลังการผลิตรถยนต์ไฟฟ้าโดยรวมอย่างน้อยประมาณ 400,000– 500,000 คันต่อปี ส่งผลให้ธุรกิจที่สนับสนุนตลาดรถยนต์ไฟฟ้าอย่างจุดให้บริการชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าจำเป็นที่จะต้องเร่งขยายจุดให้บริการ พร้อมยกระดับประสบการณ์ให้เข้าถึงและตอบโจทย์ผู้บริโภคมากยิ่งขึ้น ซึ่งในปัจจุบัน อีโวลท์ ได้มีการเปิดให้บริการระบบอัดประจุยานยนต์ไฟฟ้าที่ครบวงจรที่สุดในประเทศไทย ครอบคลุมสถานีให้บริการมากกว่า 200 สาขาทั่วประเทศเพื่อรองรับความต้องการของผู้ขับขี่รถยนต์ไฟฟ้าได้อย่างทั่วถึงและมีการวางแผนในการขยายจุดให้บริการอย่างต่อเนื่อง ซึ่งความร่วมมือกับ ทรูมันนี่ ในครั้งนี้จะสามารถเพิ่มการเข้าถึงผู้บริโภคให้มากยิ่งขึ้นด้วยฐานผู้ใช้บริการของทรูมันนี่ที่ครอบคลุมทั่วประเทศ อีกทั้งยังช่วยตอบรับไลฟ์สไตล์การใช้จ่ายไร้เงินสดของผู้บริโภคได้อย่างไร้รอยต่อ” 

ผู้ที่สนใจสมัครสมาชิกหรือรับดีลสุดพิเศษจากอีโวลท์ใน ShopReward+ สามารถดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน 
ทรูมันนี่ และเข้าไปที่เมนูสมาชิกร้านค้าหรือ ShopReward+ และเลือกรับสิทธิ์จากอีโวลท์ได้ทันที โดยทุก การชาร์จ 10 บาทจะได้รับ 100 คะเเนน เเละรับ Welcome Point 100 คะแนนทันทีเมื่อสมัครสมาชิก อีโวลท์ ใน ShopReward+ พิเศษ! ซื้อคูปองเงินสดมูลค่า 200 บาทสำหรับใช้จ่ายในการชาร์จรถยนต์ไฟฟ้ากับ อีโวลท์ ผ่าน ShopReward+ ได้ในราคาเพียง 179 บาท ตั้งแต่วันนี้จนถึง 31 สิงหาคม 2567 

ผู้ที่สนใจบริการ ShopReward+ และโซลูชัน TrueMoney for Business สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://www.truemoney.com/business-partner/shoprewardplus-crm/  

ซีบร้า เทคโนโลยีส์ คอร์ปอเรชั่น (NASDAQ: ZBRA) ผู้ให้บริการโซลูชันดิจิทัลชั้นนำที่ช่วยให้ธุรกิจต่าง ๆ สามารถเชื่อมต่อข้อมูล สินทรัพย์ และผู้คนได้อย่างชาญฉลาดมากขึ้น รายงานผลการสำรวจ 2024 Manufacturing Vision Study ซึ่งแสดงให้เห็นว่า 61% ของผู้ผลิตทั่วโลกคาดหวังว่าปัญญาประดิษฐ์ (AI) จะผลักดันการเติบโตของธุรกิจมากขึ้นภายในปี 2029 เพิ่มขึ้นจาก 41% ในปี 2024

เมื่อมองลึกลงมาในระดับภูมิภาค 68% ของผู้ผลิตในเอเชีย-แปซิฟิกคาดหวังว่า AI จะผลักดันการเติบโตของธุรกิจมากขึ้นภายในปี 2029 เพิ่มขึ้นจาก 46% ในปี 2024 ทั้งนี้การนำ AI มาปรับใช้ที่เพิ่มขึ้น รวมไปถึง 92% ของผู้ตอบแบบสำรวจทั่วโลก และ 87% ของผู้ตอบแบบสำรวจในเอเชีย-แปซิฟิกที่ให้ความสำคัญกับการพัฒนาธุรกิจด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล (digital transformation) มากที่สุด ตอกย้ำให้เห็นถึงความตั้งใจของผู้ผลิตที่จะปรับปรุงการจัดการข้อมูล และใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีใหม่ ๆ ที่เพิ่มทัศนวิสัยในซัพพลายเชน (visibility) รวมถึงคุณภาพ ตลอดกระบวนการผลิต 

 

แม้ว่า digital transformation จะเป็นสิ่งสำคัญที่สุดสำหรับผู้ผลิต แต่ 30% ของผู้ตอบแบบสำรวจทั่วโลก และ 40% ของผู้ตอบแบบสำรวจในเอเชีย-แปซิฟิกทราบดีว่าเส้นทางสู่ digital transformation นั้นเต็มไปด้วยอุปสรรค เช่น ต้นทุนแรงงาน จำนวนแรงงานที่ใช้งานได้ การนำโซลูชันเทคโนโลยีมาปรับใช้ และการรวมเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ากับเทคโนโลยีด้านการดำเนินงาน (IT/OT convergence) 

Visibility เป็นก้าวแรกสู่การเปลี่ยนแปลง โดยการนำ AI และเทคโนโลยีใหม่ ๆ มาปรับใช้ ซึ่งจะช่วยให้ผู้ผลิตสามารถใช้ประโยชน์จากข้อมูลเพื่อระบุ ตอบสนองต่อ และจัดลำดับความสำคัญของปัญหา และโครงการได้ดียิ่งขึ้น เป็นการเพิ่มประสิทธิภาพตลอดกระบวนการผลิต เพื่อที่ผลลัพธ์จะได้ออกมาดีที่สุด 

นายศิวัจน์ โรจนเต็มศักดิ์, ผู้จัดการประจำประเทศไทย, ซีบร้า เทคโนโลยีส์ กล่าวว่า “ผู้ผลิตหลายรายกำลังเผชิญกับปัญหาในการใช้ข้อมูลของตัวเองให้เกิดประโยชน์สูงสุด ซึ่งพวกเขาทราบดีว่าต้องนำ AI และโซลูชันเทคโนโลยีดิจิทัลต่าง ๆ มาปรับใช้ เพื่อเพิ่มความรวดเร็ว และประสิทธิภาพในกระบวนการผลิต ซีบร้าช่วยให้ผู้ผลิตดำเนินงานได้ง่ายขึ้นด้วยเครื่องมือที่มาพร้อมเทคโนโลยีที่ทันสมัย เช่น Fixed Industrial Scanning และ Machine Vision FX90 ultra-rugged fixed RFID readers และ ATR7000 RTLS readers ซึ่งจะยกระดับขั้นตอนการทำงานให้มีความเป็นอัตโนมัติมากขึ้น ส่งผลให้แรงงาน และเทคโนโลยีดำเนินงานไปด้วยกันได้อย่างราบรื่นยิ่งขึ้น” 

ปิดช่องว่างทางทัศนวิสัยในซัพพลายเชน 

ถึงแม้ว่าผู้ผลิตส่วนมากบอกว่า digital transformation เป็นเรื่องสำคัญ แต่การทำให้การทำงานในโรงงานเชื่อมโยงกันอย่างสมบูรณ์นั้นยังคงเป็นเรื่องที่ท้าทาย Visibility ถือเป็นกุญแจสำคัญในการเพิ่มประสิทธิภาพ และคุณภาพในกระบวนการผลิต อย่างไรก็ปัญหาช่องว่างทางทัศนวิสัยในซัพพลายเชน (visibility gap) ก็ยังคงมีอยู่ มีเพียง 16% ของผู้นำด้านการผลิตทั่วโลกที่สามารถติดตามการดำเนินงานตลอดกระบวนการผลิตแบบเรียลไทม์ได้ ส่วนในเอเชีย-แปซิฟิกมี 25% ของผู้นำด้านการผลิตที่ทำได้ 

ผู้นำด้านการผลิตเกือบ 6 ใน 10 (57% ทั่วโลก, 63% ในเอเชีย-แปซิฟิก) คาดว่าจะสามารถเพิ่ม visibility ในทุกขั้นตอนการผลิต และในซัพพลายเชนได้ภายในปี 2029 แต่ประมาณ 1 ใน 3 (33% ทั่วโลก, 38% ในเอเชีย-แปซิฟิก) บอกว่าความไม่ลงรอยกันระหว่าง IT และ OT เป็นอุปสรรคที่สำคัญในเส้นทางสู่ digital transformation นอกจากนี้ 86% ของผู้นำการผลิตทั่วโลกยอมรับว่ากำลังเผชิญปัญหาในการตามนวัตกรรมทางเทคโนโลยีใหม่ ๆ ให้ทัน รวมไปถึงการนำอุปกรณ์ เซ็นเซอร์ และเทคโนโลยีรวมเข้ากับโรงงาน/สำนักงานและซัพพลายเชน ซึ่ง 82% ของผู้นำด้านการผลิตในเอเชีย-แปซิฟิกก็กำลังเผชิญปัญหาเดียวกัน ทั้งนี้บริษัท และองค์กรต่าง ๆ สามารถนำโซลูชันของซีบร้าไปพัฒนาการใช้ข้อมูลอย่างมีประสิทธิภาพได้ เพิ่มการรักษาความปลอดภัยและการจัดการให้ดียิ่งขึ้น พร้อมทั้งนำข้อมูลจากการวิเคราะห์มาใช้ยกระดับธุรกิจต่อ 

เสริมทักษะแรงงาน พร้อมยกระดับคุณค่า และประสิทธิภาพ 

ผลการสำรวจของซีบร้าเผยให้เห็นว่า ผู้ผลิตกำลังปรับกลยุทธ์สำหรับการเติบโต ด้วยการนำ AI และเทคโนโลยีอื่น ๆ มาปรับใช้ เพื่อปรับโฉมการผลิต พร้อมสร้างเสริมทักษะของแรงงานภายใน 5 ปี ข้างหน้า เกือบ 3 ใน 4 (73%) ของผู้นำด้านการผลิตทั่วโลกวางแผนที่จะฝึกแรงงานใหม่ให้มีทักษะด้านการใช้ข้อมูลและเทคโนโลยีที่ดีขึ้น ส่วนใน ขณะที่ 7 ใน 10 คาดว่าจะนำเทคโนโลยีที่เน้นความคล้องตัวในการใช้งานเป็นหลักมาช่วยพัฒนาแรงงาน ส่วนในเอเชีย-แปซิฟิกมี 76% ของผู้นำด้านการผลิตที่วางแผน และคาดการณ์เช่นเดียวกัน 

 

เครื่องมือทางเทคโนโลยีที่ผู้นำด้านการผลิตทั่วโลกกำลังปรับใช้ มีทั้งแท็บเล็ต (51% ทั่วโลก, 52% ในเอเชีย-แปซิฟิก), คอมพิวเตอร์พกพา (55% ทั่วโลก, 53% ในเอเชีย-แปซิฟิก) และซอฟต์แวร์สำหรับจัดการแรงงาน (56% ทั่วโลก, 62% ในเอเชีย-แปซิฟิก) นอกจากนี้ 6 ใน 10 ของผู้นำการผลิต (61% ทั่วโลก, 65% ในเอเชีย-แปซิฟิก) ก็วางแผนที่จะนำคอมพิวเตอร์พกพาแบบสวมได้มาใช้เสริมประสิทธิภาพการทำงานของแรงงานด้วย 

ผู้นำด้านการผลิตที่เป็นผู้บริหารระดับสูง รวมไปถึงในสาย IT และ OT ทราบดีว่าการพัฒนาแรงงานต้องทำมากกว่าแค่นำเทคโนโลยีมาใช้เพิ่มประสิทธิภาพ 6 ใน 10 ของผู้นำด้านการผลิตทั่วโลก และ 66% ของผู้นำด้านการผลิตในเอเชีย-แปซิฟิก ให้ความสำคัญกับการพัฒนาแรงงานอย่างต่อเนื่อง การสร้างเสริมทักษะใหม่ให้พนักงาน (69% ในเอเชีย-แปซิฟิก) และการพัฒนาสานอาชีพ (56% ในเอเชีย-แปซิฟิก) เพื่อดึงดูดแรงงานที่มีความสามารถสูงในอนาคตมากที่สุด 

นำ automation มาช่วยเพิ่มคุณภาพให้ถึงขั้นสุด 

ปัจจุบันผู้ผลิตในแต่ละภาคส่วนให้ความสำคัญกับจัดการคุณภาพมาก แต่ต้องเผชิญกับปัญหาทรัพยากรที่ลดลง ผลสำรวจของซีบร้าชี้ให้เห็นว่า ปัญหาหลักในด้านการจัดการคุณภาพที่ผู้นำด้านการผลิตต้องเผชิญ ประกอบไปด้วยการติดตามการดำเนินงานในซัพพลายเชนได้แบบเรียลไทม์ (33% ทั่วโลก, 40% ในเอเชีย-แปซิฟิก), การปฏิบัติตามมาตรฐาน และกฎระเบียบใหม่ (29% ทั่วโลก, 30% ในเอเชีย-แปซิฟิก), การผสานรวมข้อมูล (27% ทั่วโลก, 31% ในเอเชีย-แปซิฟิก), และการรักษาสถานะของการตรวจสอบย้อนกลับให้คงที่ (27% ทั่วโลก และในเอเชีย-แปซิฟิก) 

ในอีก 5 ปีข้างหน้า แผนการนำเทคโนโลยีต่าง ๆ มาปรับใช้ของผู้นำด้านการผลิตจะสามารถรับมือกับความท้าทายเหล่านี้ได้ เช่น วิทยาการหุ่นยนต์ (65% ทั่วโลก, 72% ในเอเชีย-แปซิฟิก) ระบบตรวจสอบคุณภาพการผลิต หรือ machine vision (66% ทั้งทั่วโลก และในเอเชีย-แปซิฟิก) RFID (66% ทั่วโลก, 72% ในเอเชีย-แปซิฟิก) และ fixed industrial scanners (57% ทั่วโลก, 62% ในเอเชีย-แปซิฟิก) ผู้นำด้านการผลิตส่วนมากเห็นตรงกันว่าการโซลูชัน automation เหล่านี้มีหลายปัจจัยเป็นตัวขับเคลื่อน ไม่ว่าจะเป็นการมอบหมายงานที่ต้องใช้ทักษะสูงให้กับแรงงาน (70% ทั่วโลก, 75% ในเอเชีย-แปซิฟิก) การบรรลุข้อตกลงด้านระดับการบริการ (69% ทั่วโลก, 70% ในเอเชีย-แปซิฟิก) และการเพิ่มความยืดหยุ่นพื้นที่ (64% ทั่วโลก, 66% ในเอเชีย-แปซิฟิก) 

ผลการสำรวจที่สำคัญของแต่ละภูมิภาค เอเชีย-แปซิฟิก (APAC) 

  • แม้ตอนนี้มีเพียง 30% ของผู้นำด้านการผลิตในเอเชีย-แปซิฟิกที่ใช้ machine vision ในพื้นที่ผลิต แต่ในอีก 5 ปี ข้างหน้า 67% ของผู้ผลิตนั้นกำลังปรับใช้ machine vision หรือวางแผนที่จะนำเทคโนโลยีนี้มาปรับใช้ 

ยุโรป, ตะวันออกกลาง, แอฟริกา (EMEA) 

  • การเสริมทักษะการใช้ข้อมูล และเทคโนโลยีให้ดีขึ้นให้แรงงาน คือกลยุทธ์ขับเคลื่อนการเติบโตอันดับหนึ่งที่ 46% ของผู้นำด้านการผลิตใช้ในปัจจุบัน และ 71% ของผู้นำด้านการผลิตจะค่อย ๆ ใช้ในอีก 5 ปี ข้างหน้า 

ละตินอเมริกา (LATAM) 

  • ในปัจจุบันมีเพียงแค่ 24% ของผู้นำด้านการผลิตที่ใช้เทคโนโลยีระบบติดตามสินค้า อย่างไรก็ตาม 74% ของผู้นำด้านการผลิตกำลังปรับใช้ หรือวางแผนที่จะนำเทคโนโลยีนี้มาปรับใช้ในอีก 5 ปี ข้างหน้า 

อเมริกาเหนือ 

  • 68% ของผู้นำด้านการผลิตให้ความสำคัญกับโปรแกรมพัฒนาทักษะแรงงานมากที่สุด 

พลิกโฉมอุตสาหกรรมไทยในการถ่ายทอดองค์ความรู้และยกระดับความสามารถทางการแข่งขันด้านเศรษฐกิจและสร้างเครือข่ายทางธุรกิจ ในงานนี้เต็มไปด้วยเหล่า Speakers คุณภาพที่มีประสบการณ์และมุมมองทางด้านธุรกิจในการเสวนาแลกเปลี่ยนความรู้กันและกัน

กลุ่มเป้าหมาย

ผู้บริหารจากองค์กรภาครัฐและเอกชนหรือผู้ที่สนใจในการสร้างเครือข่ายทางธุรกิจ

การพูดคุยหัวข้อสำคัญ

  1. ทิศทางเศรษฐกิจ 2025 กับความสามารถทางการแข่งขันของประเทศไทย
  2. ยกระดับอุตสาหกรรมไทยเพื่อเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันอย่างยั่งยืน
  3. เทคโนโลยีและนวัตกรรมกับการเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันของประเทศไทย
  4. การยกระดับความสามารถทางการแข่งขันสู่องค์กรแห่งความยั่งยืนด้วย STECO’s Enterprise Mix

วันพฤหัสบดีที่ 6 มิถุนายน 2567

ณ ห้อง Auditorium ชั้น 7 อาคาร KX Knowledge Xchange ถ.กรุงธนบุรี

เวลา 12.00 – 17.00 น.

ลงทะเบียนร่วมงานฟรี ได้ที่

https://forms.gle/rfuNdNVWjCis2uLMA 

รายละเอียดเพิ่มเติม

Facebook : ศูนย์กลยุทธ์และความสามารถทางการแข่งขันองค์กร มจธ.

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม

โทร. 064-749-9629 , 02-470-9643 คุณดลฤทัย

E mail: This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

 

 นักเศรษฐศาสตร์คาดการณ์ว่าในปีพ.ศ. 2567 นักท่องเที่ยวกำลังมองหาการท่องเที่ยวระดับพรีเมียม ที่ผนวกรวมทริปเดินทางเชิงธุรกิจ (Business) และการพักผ่อน (Leisure) เพื่อต่อยอดการเข้าพักในกลุ่มธุรกิจโรงแรมที่ยาวนานขึ้น พร้อมทั้งเฟ้นหาอาหารและเครื่องดื่ม (F&B) ระดับพรีเมียม ตอบโจทย์แนวโน้มเพื่อฟื้นฟูภาคการท่องเที่ยวของไทย

เทรนด์การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมโดยเฉพาะวัฒนธรรมท้องถิ่น คือ สิ่งที่น่าจับตามอง อ้างอิงจากข้อมูลของ Skyscanner นักท่องเที่ยวจำนวนมากให้ความสำคัญกับการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม โดยเฉพาะวัฒนธรรมท้องถิ่น การมีส่วนร่วมกับชุมชนท้องถิ่น เข้าเยี่ยมชมสถานที่ที่ได้รับแรงบันดาลใจจากรายการโทรทัศน์ และการลิ้มลองรสชาติอาหารท้องถิ่นแท้ๆ คือ ปัจจัยสำคัญที่นักท่องเที่ยวมองหานอกเหนือจากการเที่ยวชมสถานที่ท่องเที่ยวยอดนิยมทั่วไป นอกจากนี้ ทาง Skift ยังแชร์ข้อมูลเพิ่มเติมว่านักท่องเที่ยวชาวจีนให้ความสนใจกับการท่องเที่ยวที่ยกระดับหรือสร้างประสบการณ์ที่แปลกใหม่ โดยให้ความสำคัญของโปรแกรมการท่องเที่ยวเชิงลึกที่มีคุณภาพ โดยมีเวลาดื่มด่ำในวัฒนธรรมและสถานที่ สามารถใช้เวลาในการท่องเที่ยวแต่ละจุดยาวนานมากขึ้น เมื่อเปรียบเทียบกับจำนวนสถานที่หรือร้านต่างๆ ที่ต้องแวะชมหรือเช็คอินในปริมาณมากๆ หลายๆจุด การให้ความสำคัญกับการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมสอดคล้องกับวิสัยทัศน์ของนายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี ในการส่งเสริมวัฒนธรรมอันเป็นเอกลักษณ์ของประเทศผ่านซอฟต์พาวเวอร์ ซึ่งรวมถึงการยกระดับเทศกาลมหาสงกรานต์ตลอดเดือนเมษายนนี้สู่สายตาโลก

เทรนด์การท่องเที่ยวแบบ "BLEISURE" คือ เทรนด์ที่กำลังมาแรง โดยเป็นการผสมผสานระหว่างทริปเดินทางเชิงธุรกิจ (Business) และการพักผ่อน (Leisure) หรือที่เรียกว่า เนื่องจากผู้คนจำนวนมากขึ้นหันมาใช้ชีวิตแบบดิจิทัล โนแมด และหลายๆ บริษัทจำนวนก็เปิดโอกาสให้ทำงานจากที่ไหนก็ได้ ทำให้นักท่องเที่ยวโดยเฉพาะคนรุ่น Gen Z กำลังได้รับการจับตามองส่งผลให้เกิดการจองห้องพักในรูปแบบของลองเสต์ หรือการเข้าพักที่ยาวนานขึ้น เพื่อสัมผัสและสนุกสนานกับการท่องเที่ยวที่มีความหมายมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งการยกระดับไลฟ์สไตล์และการลิ้มลองอาหารและเครื่องดื่ม (F&B) โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงเวลาแฮปปี้ อาวร์หรือช่วงเวลาหลังเลิกงาน

คุณมาริสา สุโกศล หนุนภักดี นายกสมาคมโรงแรมไทย (ทีเอชเอ) กล่าวว่า “ขณะที่ประเทศไทยยังคงเดินหน้าเปิดประตูต้อนรับนักท่องเที่ยว โดยโปรโมทและดึงดูดให้นักท่องเที่ยวมาใช้จ่ายที่ไทยเพิ่มมากขึ้น ประเทศไทยจำเป็นต้องปรับตัวเพื่อเข้าใจความต้องการใหม่ๆ ของผู้บริโภค เราสังเกตเห็นว่านักท่องเที่ยวที่พักอยู่ในประเทศไทยเป็นระยะเวลานานขึ้น โดยยกระดับประสบการณ์การรับประทานอาหารและวัฒนธรรมของอาหารไทยสู่การรับประทานอาหารในระดับพรีเมี่ยม มองหาตัวเลือกด้านอาหารและเครื่องดื่มที่มีคุณภาพสูงขึ้น ไม่ใช่การดื่มแบบหักโหม ทำให้เราจำเป็นต้องรักษามาตราฐานด้านอาหารและเครื่องดื่ม (F&B) ของเราอย่างต่อเนื่องเพื่อดึงดูดนักเดินทางที่กำลังมองหาคุณภาพการใช้ชีวิตในระดีบพรีเมียม

ดร.ญาณี เลยวานิชเจริญ เลขาสมาคมธุรกิจร้านอาหารกลางคืน กล่าวว่า “เราเห็นว่าผู้บริโภครุ่นใหม่ กำลังเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคเนื่องจากมีรายได้ที่เพิ่มขึ้น ตัวอย่างเช่น การดื่มไวน์มากขึ้นซึ่งเหมาะสำหรับการดื่มร่วมกันในสังคมและจับคู่กับอาหาร เราเชื่อว่าประเทศไทยสามารถเดินหน้าโปรโมทด้านสถานบันเทิงยามค่ำคืนที่มีชีวิตชีวาเพื่อมอบประสบการณ์ที่หลากหลายและมีคุณภาพให้กับนักท่องเที่ยวในขณะที่พวกเขาใช้เวลาในการพักผ่อนได้ยาวนานที่ประเทศไทยมากขึ้น”

เทรนด์การท้องเที่ยวอันดับ 3 คือ “เที่ยวแบบพรีเมียม” โดยความต้องการของนักท่องเที่ยวมีความหลากหลายและซับซ้อนมากขึ้น โดยให้ความสำคัญกับการซื้อสินค้าคุณภาพสูงในระดับพรีเมียม รวมถึงเครื่องดื่มไวน์และสุราจากต่างประเทศ ตามรายงานการวิจัยฉบับใหม่โดย Oxford Economics ซึ่งเปิดตัวในประเทศไทยเมื่อเดือนที่แล้ว

โดยอ้างอิงจากรายงานที่ชื่อว่า "International Wine and Spirits in ASEAN: The Economic Contribution of the International Wine and Spirits Value Chain in Thailand and Vietnam" จัดทำโดย Oxford Economics และได้รับมอบหมายจาก Asia Pacific International Spirits and Wine Alliance (APISWA) เพื่อประเมินผลกระทบทางเศรษฐกิจของการขายและจัดจำหน่ายไวน์และสุราต่างประเทศในสองประเทศเศรษฐกิจสำคัญของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้แก่ ไทยและเวียดนาม

ปฏิเสธไม่ได้ว่าอุณหภูมิเฉลี่ยของโลกที่เพิ่มสูงขึ้นในปัจจุบัน เกิดขึ้นจากกิจกรรมต่าง ๆ ของมนุษย์อย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็น จากการใช้พลังงาน การเกษตร การพัฒนาและขยายตัวของภาคอุตสาหกรรม การขนส่ง รวมถึงการตัดไม้ทำลายป่า และการทำลายสิ่งแวดล้อมในรูปแบบอื่น ๆ หรือที่เรียกว่าคาร์บอนฟุตพริ้นท์ (Carbon Footprint) ได้ส่งผลกระทบอย่างร้ายแรงต่อการดำรงชีพของมนุษย์ สิ่งมีชีวิต และสิ่งแวดล้อม ก่อให้เกิดการสูญเสียสมดุลของระบบนิเวศ ความอุดมสมบูรณ์ต่างๆ ของธรรมชาติ และสิ่งมีชีวิต รวมถึงการก่อให้เกิดปัญหาด้านสุขภาพ โรคภัยไข้เจ็บ และอื่นๆ อีกมากมาย ซึ่งหากมนุษย์ยังไม่เริ่มที่จะเปลี่ยนแปลงความคิดและวิถีปฏิบัติในการดำเนินชีวิตรวมถึงการดำเนินธุรกิจ เพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และมุ่งสู่เป้าหมาย Net Zero หรือการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ อนาคตอันน่าเศร้าของโลกคงหนีไม่พ้น ในขณะเดียวกัน คาดการณ์ว่าโอกาสในการลงทุนเพื่อความยั่งยืนด้วยเม็ดเงินมูลค่ามหาศาลถึง 34 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ (หรือกว่า 1.2 พันล้านล้านบาท) ภายในปี 2030 จะเกิดขึ้น นักลงทุนจำเป็นต้องปรับตัวให้ทันและเตรียมรับโอกาสจากการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว

ธนาคารกสิกรไทย โดย เคแบงก์ ไพรเวทแบงก์กิ้ง และลอมบาร์ด โอเดียร์ ในฐานะสถาบันการเงินและผู้ให้คำแนะนำการลงทุนได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของการลงมือทำ เพื่อพาประเทศไทยมุ่งสู่เป้าหมาย Net Zero จัดงานเสวนาด้านความยั่งยืนแห่งปี ภายใต้หัวข้อ RETHINK SUSTAINABILITY : A CALL TO ACTION FOR THAILAND พร้อมความร่วมมือจากตัวแทนองค์กรใน 4 อุตสาหกรรมของไทย ครอบคลุมทั้งอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว อาหารและการเกษตร ปิโตรเคมี และพลังงานหมุนเวียน รวมถึงหน่วยงานระดับโลกอย่าง Systemiq และ The Alliance to End Plastic Waste ที่มาร่วมแบ่งปัน แลกเปลี่ยนมุมมอง แนวคิด ตลอดจนบทบาทและแนวทางปฏิบัติ เพื่อหารือร่วมกันในการขับเคลื่อนให้เกิดการลงมือทำ เพื่อปฏิวัติเศรษฐกิจไทยสู่ความยั่งยืน ด้วยการดำเนินธุรกิจตามแนวทางของระบบเศรษฐกิจใหม่อย่าง CLIC® คือเศรษฐกิจแบบหมุนเวียน (Circular) ใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า (Lean) ทุกคนสามารถเข้าถึงได้ (Inclusive) และเป็นธุรกิจที่ช่วยสร้างสิ่งแวดล้อมที่สะอาด (Clean) พร้อมโอกาสการลงทุนที่น่าสนใจจากการเปลี่ยนผ่านไปสู่ความยั่งยืนนี้ด้วย

สร้างอนาคตที่ยั่งยืนแก่อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและบริการ

(Building Through a Sustainable Future in Tourism and Service Industry)

 

อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวในประเทศไทยเป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมหลักที่สร้างรายได้มหาศาล และมีแนวโน้มที่จะเติบโตขึ้นเรื่อยๆ ในปัจจุบัน ความยั่งยืนเป็นสิ่งที่นักท่องเที่ยวให้ความสนใจกันมากขึ้น กระแสของการท่องเที่ยวและการเดินทางอย่างยั่งยืนส่งเสริมให้ผู้ประกอบการลงทุนในเรื่องหลักๆ ที่ช่วยลดคาร์บอนฟุตพรินท์ส่วนเกินได้ เช่น อุตสาหกรรมการบิน การฟื้นฟูและปกป้องระบบนิเวศทางทะเล และการปรับปรุงระบบทำความร้อนและเย็นในโรงแรม เป็นต้น นอกจากนี้ ความสำคัญของการลงมือทำ ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงไปสู่การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนที่ผู้ประกอบการไทยควรคำนึงถึง มี 3 แกนหลัก ได้แก่ ผลกระทบทางเศรษฐกิจ (Economic Impact) การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม (Protect Environment) และ การรักษาวิถีชีวิต วัฒนธรรมและอัตลักษณ์ของสังคมให้ยั่งยืน (Save Social) ซึ่งเป็นตัวชี้วัดที่อยู่บนบรรทัดฐานของความยั่งยืนอย่างแท้จริง จะเห็นได้ว่าแนวคิดดังกล่าวได้ถูกนำไปปรับใช้ โดยเริ่มมีบริษัทผู้ให้บริการด้านการจองที่พัก (Online Travel Agency: OTAs) ยักษ์ใหญ่บางเจ้า เริ่มจำแนกประเภทที่พักหรือบริการการเข้าพักแบบยั่งยืน ทำให้ผู้ประกอบการโรงแรมทั้งรายเล็ก และใหญ่ต้องปรับตัว ในประเทศไทย การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยก็มีการริเริ่มจัดโครงการยกระดับผู้ประกอบการสู่มาตรฐาน การท่องเที่ยวยั่งยืน โดยการให้มาตรฐานดาวแห่งความยั่งยืน กับผู้ประกอบการ มากกว่า 10 ประเภทกิจการ ภายใต้ STGs (Sustainable Tourism Goals) หรือ STAR : (Sustainable Tourism Acceleration Rating) ที่ครอบคลุมทั้ง 17 เป้าหมายที่สะท้อนความยั่งยืน ซึ่งถอดมาจาก SDGs ของ UNWTO ปัจจุบันมีผู้ประกอบการเข้าร่วมแล้วกว่า 555 แห่ง โดยผู้ประกอบการประเภทโรงแรมที่พักเข้าร่วมมากที่สุด โดยภาครัฐจะผลักดันอย่างต่อเนื่อง ซึ่งแสดงให้เห็นถึงก้าวสำคัญของการส่งเสริมเพื่อให้เกิดเปลี่ยนแปลงและพัฒนารูปแบบธุรกิจในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวไทยอย่างยั่งยืนอย่างเป็นรูปธรรม

อาหารแห่งอนาคต บริโภคอย่างยั่งยืน เพื่อโลกที่ยั่งยืน

(New Food System that Feed the World and Nourish the Planet)

ปัจจุบันทั่วโลกมีการเปลี่ยนแปลงของจำนวนประชากรเพิ่มขึ้น คาดว่าภายในปี พ.ศ. 2593 จะมีจำนวนประชากรเพิ่มราว 1 หมื่นล้านคน นำไปสู่ความต้องการด้านอุปโภคบริโภคเพิ่มขึ้นร้อยละ 60-100 ฉะนั้นการปรับรูปแบบการผลิตอาหารโดยใช้แนวทางการเกษตรยั่งยืน อย่าง Regenerative Agriculture ที่นอกจากจะช่วยเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ของดิน เป็นแหล่งช่วยกักเก็บคาร์บอน ยังช่วยเพิ่มผลผลิต และลดการใช้ปุ๋ยเคมีและยาฆ่าแมลง กำลังเป็นที่น่าจับตามองอย่างยิ่ง ในประเทศไทยเองก็เริ่มมีการพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมในอุตสาหกรรมอาหารและนำมาใช้ปฏิบัติเพื่อมุ่งสู่เป้าหมาย Net zero เช่น เริ่มมีการพัฒนานวัตกรรมโดยเปลี่ยนมาใช้บรรจุภัณฑ์ถาดกระดาษ (Paper Tray) ในผลิตภัณฑ์เนื้อหมูและเนื้อไก่เพิ่มขึ้น ซึ่งช่วยลดการใช้พลาสติกได้ถึง 80% ในขณะที่ยังคงรักษาความสด ความสะอาดของผลิตภัณฑ์ได้ นอกจากนั้นยังมีการพัฒนาผลิตภัณฑ์โปรตีนทางเลือกจากพึช (Plant-based protein) ซึ่งใช้ทรัพยากรน้อยกว่าการผลิตเนื้อสัตว์มาก ทั้งยังช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ลดมลพิษทางน้ำ และลดการใช้พื้นที่ อีกทั้งมีการใช้พลังงานแสงอาทิตย์ซึ่งเป็นพลังงานสะอาดมาผลิตไฟฟ้าเพื่อใช้ในโรงงานมากขึ้นซึ่งช่วยลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนได้อย่างเป็นรูปธรรม ดังนั้นนักลงทุนควรเลือกลงทุนในธุรกิจอาหารที่พร้อมปรับตัวและพัฒนาสู่ความยั่งยืน ตั้งแต่เรื่องของกระบวนการผลิต การใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีในการผลิตอาหารที่มีคุณภาพ อร่อย ปลอดภัย และมีราคาที่สมเหตุสมผล

พลาสติกหมุนเวียน: อุตสาหกรรมเคมีแห่งอนาคต

(Plastic Circularity: Chemistry Shaping the Future)

 

ปัญหาขยะพลาสติกเป็นหนึ่งในปัญหาสิ่งแวดล้อมที่เร่งด่วนที่สุดของทุกประเทศรวมถึงในประเทศไทยซึ่งเกิดจากการจัดการที่ไม่ถูกต้องทำให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม หนึ่งในแนวทางการแก้ปัญหานี้ที่ผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์มองหาคือการลงทุนในธุรกิจที่ผลักดันแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียนเข้ามาเป็นแกนหลักในการจัดการช่วยให้พลาสติกถูกนำกลับมาใช้ใหม่ได้อย่างยั่งยืนมากขึ้น เน้นหลักการ 3Rs ได้แก่ Reduce Reuse Recycle ซึ่งจะช่วยลดปริมาณขยะ ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก สร้างโอกาสทางเศรษฐกิจจากการจัดการขยะและออกแบบผลิตภัณฑ์ เช่น การลงทุนในพลาสติกชีวภาพ การวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีอย่างต่อเนื่องที่ช่วยในการผลิตพลาสติกให้มีคุณภาพดีขึ้น ใช้ได้นานขึ้น รวมถึงการนำขวดพลาสติกใช้แล้วมาผลิตเป็นเม็ดพลาสติก เป็นต้น นอกจากนี้ ยังแสวงหาโอกาส ลงทุนในเทคโนโลยีดักจับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ให้สามารถกักเก็บไว้ได้ใต้ดิน และนำออกมาใช้ประโยชน์ใหม่ได้ สอดคล้องกับเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero)

อนาคตพลังงานทางเลือกของประเทศไทยกับโอกาสในการลงทุนด้านพลังงาน

(Carbon Opportunities and Future Electrification)

 

ปัจจุบัน ก๊าซเรือนกระจกประมาณร้อยละ 70 มาจากภาคขนส่งและพลังงาน ซึ่งเป็นอีกหนึ่งสาเหตุหลักที่ก่อให้เกิดปัญหามลพิษและภาวะโลกเดือด ดังนั้น หากธุรกิจสามารถปรับเปลี่ยนรูปแบบการใช้พลังงานดังกล่าวมาเป็นพลังงานไฟฟ้าจะมีส่วนช่วยลดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้อย่างมาก รวมทั้งยังเป็นการส่งเสริมการใช้พลังงานทางเลือกเพื่อลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ในระดับโลกได้ตระหนักถึงปัญหาที่เกิดขึ้นจึงเกิดการเปลี่ยนแปลงด้านการคมนาคมขนส่งอย่างชัดเจน ในระดับการขนส่งสาธารณะก็ได้มีการนำพลังงานไฟฟ้ามาใช้สำหรับรถบัส เรือโดยสาร รวมไปถึงรถไฟ นอกจากนี้ ในระดับบุคคลทั้งต่างประเทศและประเทศไทยได้เปลี่ยนจากการใช้รถยนต์น้ำมัน มาเป็นการใช้รถยนต์ไฟฟ้า ซึ่งมีจำนวนเพิ่มมากขึ้น เท่าตัว ถือเป็นการเปลี่ยนแปลงที่สอดคล้องกับเป้าหมายการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ที่ทั่วโลกต่างมีเป้าหมายดำเนินการร่วมกัน การเปลี่ยนแปลงนี้ส่งผลให้เกิดการพัฒนาของ ตลาดคาร์บอนเครดิต ซึ่งเป็นอีกหนึ่งทางเลือกในการลงทุนต่อยอดในธุรกิจพลังงานทางเลือกของนักลงทุน

กลยุทธ์การลงทุนในธุรกิจที่ยั่งยืน

(Investment-led Sustainability)

 

KBank Private Banking ในฐานะผู้เชี่ยวชาญและผู้ให้คำแนะนำการลงทุน เล็งเห็นว่านักลงทุนเป็นหนึ่งในผู้ที่มีบทบาทสำคัญในการเปลี่ยนแปลงเศรษฐกิจไปสู่ความยั่งยืน จึงต้องการให้นักลงทุน ผู้ที่สนใจการลงทุน เตรียมพร้อมรับมือกับโอกาสทั้งทางเศรษฐกิจและการลงทุน ซึ่งคาดว่าในอนาคตจะเกิดเม็ดเงินการลงทุนด้านความยั่งยืนมูลค่ามหาศาลถึง 34 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ (หรือกว่า 1.2 พันล้านล้านบาท) ภายในปี พ.ศ. 2573 ในระหว่างการเปลี่ยนผ่านไปสู่ Net Zero นักลงทุนจึงต้องก้าวให้ทันการเปลี่ยนแปลง เปลี่ยนการรับรู้ (Awareness) เป็นการลงมือทำ (Action) เน้นลงทุนในธุรกิจที่ยั่งยืน ไม่ว่าองค์กรเหล่านั้นจะเป็นกลุ่มธุรกิจที่นำเสนอแนวทางและผลิตภัณฑ์ที่ช่วยแก้ปัญหาการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้แล้ว (Solution Providers) หรือกลุ่มธุรกิจที่อยู่ในระหว่างการปรับเปลี่ยนกระบวนการผลิต และ/หรือ รูปแบบการดำเนินธุรกิจเพื่อลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ มีเป้าหมายเปลี่ยนผ่านสู่ Net Zero (Transition Candidates) ทั้ง 2 กลุ่มนี้เป็นกุญแจสำคัญที่ช่วยขับเคลื่อนเปลี่ยนแปลงเศรษฐกิจไปสู่ความยั่งยืนได้ KBank Private Banking เชื่อมั่นในบทบาทของการลงทุน ว่าสามารถยกระดับองค์ความรู้และความเข้าใจในการดำเนินธุรกิจที่พยายามสร้างความเปลี่ยนแปลง เพื่อนำไปสู่การลงทุนเพื่อให้เกิดความยั่งยืนของทุกภาคส่วนได้จริง

 

งานเสวนา “RETHINK SUSTAINABILITY: A Call to Action for Thailand" เป็นงานเสวนาด้านความยั่งยืนแห่งปี ภายใต้ความร่วมมือ ระหว่างธนาคารกสิกรไทย โดย เคแบงก์ ไพรเวทแบงก์กิ้ง บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน กสิกรไทย จำกัด และลอมบาร์ด โอเดียร์ เพื่อร่วมกันผลักดันประเทศไทยให้เปลี่ยนแปลงไปสู่สังคมแห่งความยั่งยืนในอนาคต สามารถติดตามรับชมวิดีโอย้อนหลังได้ที่ www.youtube.com/@KBankPrivateBanking

Page 1 of 4
X

Right Click

No right click