November 22, 2024
×

Warning

JUser: :_load: Unable to load user with ID: 840

ในยุคที่หลายคนมองหาทางเลือกใหม่ๆ ในการสร้างรายได้และความมั่นคง การเริ่มต้นทำธุรกิจของตัวเองกลายเป็นหนึ่งในตัวเลือกที่น่าสนใจมากขึ้น เพราะนอกจากจะให้ความอิสระในการบริหารเวลาและแนวทางการทำงานแล้ว ยังเป็นโอกาสในการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ ๆ ตามความถนัดและความสนใจของตัวเอง ซึ่งการเป็นเจ้าของธุรกิจไม่ได้มีแค่ความน่าตื่นเต้นและโอกาสเท่านั้น แต่ยังมาพร้อมกับความท้าทายมากมาย เคอีเอ็กซ์ ขอเป็นเพื่อนคู่คิดที่จะช่วยให้ธุรกิจของคุณประสบความสำเร็จ พร้อมแนะนำ 5 เคล็ดลับสำคัญที่เจ้าของธุรกิจมือใหม่ต้องรู้

สำหรับคนที่เพิ่งเริ่มต้นเป็นผู้ประกอบการหน้าใหม่ จะทำธุรกิจอย่างไรให้ปัง มาฟังคำตอบไปด้วยกัน

1. สร้างแบรนด์ให้โดนใจ

การสร้างแบรนด์เป็นหนึ่งในเครื่องมือสำคัญที่ช่วยให้ธุรกิจของคุณโดดเด่นเหนือคู่แข่ง เนื่องจากทำให้ลูกค้ารู้สึกผูกพันและจดจำแบรนด์ได้ รวมถึงยังเป็นกุญแจสำคัญที่ช่วยสร้างความสำเร็จระยะยาว แบรนด์ที่ดีไม่ใช่แค่โลโก้หรือสีสันสวยงาม แต่คือการบอกเล่าตัวตนและเรื่องราวของธุรกิจ และอย่าลืมสร้างเอกลักษณ์ให้สินค้าหรือบริการที่ไม่เหมือนใคร เพื่อดึงดูดให้ลูกค้าอยากกลับมาใช้บริการอีกครั้ง

2. เลือกทำเลให้ที่ใช่ มีชัยไปกว่าครึ่ง

ไม่ว่าจะเปิดร้านแบบมีหน้าร้านหรือทำธุรกิจออนไลน์ ทำเลที่ตั้งถือเป็นเรื่องที่ต้องคิดให้รอบคอบ หากเป็นร้านค้าที่มีหน้าร้าน อาจต้องมองหาทำเลที่คนพลุกพล่าน หรือมีโอกาสทางการตลาดสูง เช่น ในเขตชุมชนที่มีคนต้องการใช้บริการ หรือ สถานที่ที่ยังไม่มีคู่แข่ง ส่วนถ้าทำธุรกิจออนไลน์ การมีแพลตฟอร์มที่เข้าถึงลูกค้าได้ง่าย สะดวก และมีระบบการจัดส่งที่ดีก็มีความสำคัญเช่นกัน ดังนั้นคำว่า “ทำเลดี” คือสิ่งที่ทำให้ลูกค้าเข้าถึงร้านเราได้ง่ายขึ้น

3. รู้ใจลูกค้า รู้ทันตลาดยุคดิจิทัล

ไม่ว่าจะเป็นเจ้าของธุรกิจหน้าใหม่หรือหน้าเก่า ต้องหมั่นติดตามเทรนด์ สำรวจความต้องการของลูกค้าอยู่เสมอ ซึ่งการทำความเข้าใจให้รอบด้านจะช่วยให้เรามองเห็นโอกาสทางการตลาดและช่องทางสร้างรายได้ ช่วยให้วางแผนได้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น ปัจจุบันธุรกิจค้าขายออนไลน์หรืออีคอมเมิร์ซทั้งเจ้าเล็กเจ้าใหญ่กำลังมาแรง เราอาจไม่จำเป็นต้องไปเปิดร้านขายของออนไลน์แข่งเสมอไป แต่อาจเลือกทำธุรกิจขนส่งสินค้าที่ได้รับผลกระทบเชิงบวกจากร้านค้าออนไลน์ที่มาแรง นอกจากนี้ การใช้โซเชียลมีเดียส่งเสริมการทำการตลาด โปรโมทสินค้า กับลูกค้าผ่านทางออนไลน์เพื่อสร้างฐานลูกค้าและช่วยให้ธุรกิจเข้าถึงกลุ่มลูกค้าได้มากขึ้น

4. สร้างประสบการณ์ที่ดี มัดใจลูกค้า

ลูกค้าคือหัวใจสำคัญของธุรกิจ ดังนั้น การมัดใจลูกค้ารวมไปถึงการใส่ใจในทุกรายละเอียด ตั้งแต่การดูแลทีมงาน การต้อนรับ การให้บริการที่ยืดหยุ่นหลากหลาย ไปจนถึงการแก้ไขปัญหา จะช่วยเพิ่มยอดขายและสร้างความประทับใจให้ลูกค้าอยากกลับมาใช้บริการซ้ำ

5. บริหารเงินเป็น เห็นกำไร

การจัดการด้านการเงินอย่างมีระบบ เป็นอีกหนึ่งในปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จของธุรกิจ โดยให้เริ่มต้นจากการประเมินต้นทุนและทำการประมาณรายรับ-รายจ่าย เพื่อให้รู้ว่าธุรกิจของเราต้องการเงินทุนเท่าไรในช่วงแรก และเมื่อไรเราจะเริ่มเห็นผลตอบแทน รวมทั้งการทำบัญชีที่ดียังช่วยควบคุมการใช้จ่ายได้อย่างมีประสิทธิภาพ และยังช่วยป้องกันปัญหาการเงินที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต โดยเฉพาะในยุคนี้ที่หลายคนมักมองหาวิธีการลงทุนที่ใช้งบน้อย แต่ได้ผลตอบแทนดี

 เปิดโมเดลธุรกิจยุคใหม่ที่น่าจับตา หากคุณเป็นคนหนึ่งที่ยังไม่แน่ใจว่าจะเริ่มต้นทำธุรกิจอะไรดี การเลือกลงทุนในธุรกิจแฟรนไชส์ก็เป็นทางเลือกที่น่าสนใจ เพราะแฟรนไชส์มักจะมีเซ็ตระบบไว้เรียบร้อยแล้ว ช่วยลดความเสี่ยงในการทดลองตลาดใหม่ ซึ่งหนึ่งในแฟรนไชส์ที่น่าสนใจของยุคนี้คือ เคอีเอ็กซ์ ที่มีรูปแบบการลงทุนที่ยืดหยุ่น มีให้เลือกหลายแพ็กเกจตั้งแต่เริ่มต้นธุรกิจขนาดสบายๆ ถึงแพคเกจแบบจัดเต็ม

· เริ่มต้นเบา ๆ เพียง 3,900 บาท (รูปแบบ SHOP IN SHOP) เหมาะสำหรับคนที่มีเงินทุนจำกัดและไม่ต้องการแบกรับความเสี่ยง

· เปิดร้านเล็กลงทุนเบาในราคา 8,900 บาท (รูปแบบ STARTER LITE) เหมาะกับคนที่มีอุปกรณ์รับ-ส่งพัสดุอยู่แล้ว โดยทำเลที่แนะนำคือในเขตชุมชน สำนักงาน หรือตลาด

· ชุดพื้นฐานพร้อมเปิดร้าน ราคา 39,900 บาท (รูปแบบ LITE) เหมาะกับผู้ที่ต้องการรูปแบบร้านมาตรฐาน และมีทักษะในการบริหารร้าน ทำเลที่แนะนำคือในเขตชุมชน สำนักงาน ตลาด ใช้พื้นที่ร้านขนาด 10-35 ตร.ม.

· ร้านใหญ่รองรับลูกค้าแบบจัดเต็ม ราคา 79,900 บาท (รูปแบบ STANDARD) เหมาะกับคนที่ต้องการรูปแบบร้านขนาดใหญ่ และมีพื้นฐานการบริหารธุรกิจอยู่แล้ว แนะนำให้เปิดในทำเลที่โดดเด่นอย่างใจกลางเมือง โดยแพ็กเกจนี้ใช้พื้นที่ร้านขนาด 25-50 ตร.ม.

ECOM Thailand แถลงข่าวเตรียมความพร้อมจัดงาน ECOM Thailand Convergence ภายใต้แนวคิด Scale Up To Global งานมหกรรมอีคอมเมิร์ซแห่งปีที่จัดขึ้นด้วยวัตถุประสงค์หลักเพื่อส่งเสริมและยกระดับผู้ประกอบการไทย ให้สามารถขยายธุรกิจสู่ตลาดออนไลน์ระดับสากลได้อย่างมั่นคงและมีประสิทธิภาพ งานเดียวที่จะทำให้ผู้ประกอบการทุกคนก้าวไปอีกขั้น เสริมสร้างความรู้รอบด้านในการทำธุรกิจ เพิ่มช่องทางการจัดจำหน่ายสำหรับ SMEs ไทย พร้อมเปิดโอกาสในการเป็นตัวแทนจำหน่ายสินค้าที่หลากหลายขึ้น โดยงาน ECOM Thailand Convergence จะจัดขึ้นในวันที่ 29 กันยายน 2567 เวลา 08.00 - 19.00 น. ณ ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค บางนา ห้องภิรัชฮอลล์ 1-3


เนตรประวีณ์ ศักดิ์ศรี CEO - 2T Multimedia and Marketing กล่าวว่า "งาน ECOM Thailand Convergence จะเป็นเวทีสำคัญที่รวบรวมความรู้และประสบการณ์จากผู้เชี่ยวชาญในวงการ E-commerce เพื่อช่วยให้ผู้ประกอบการไทยสามารถพัฒนาธุรกิจของตนเองบนแพลตฟอร์มออนไลน์ได้อย่างครบวงจร เป็นโอกาสสำคัญสำหรับผู้ประกอบการไทยในการเรียนรู้และพัฒนาทักษะที่จำเป็นสำหรับการแข่งขันในตลาดโลก"
อรรณพ สลิดบัว CEO - GDK GROUP เสริมว่า "เรามุ่งหวังให้งานนี้เป็นจุดเริ่มต้นในการสร้างโอกาสทางธุรกิจใหม่ ๆ ให้กับ SMEs ไทย เป็นอีกหนึ่งแรงเสริมที่ช่วยในการเติบโตทางธุรกิจ โดยเฉพาะการเพิ่มช่องทางการขายในรูปแบบตัวแทน ซึ่งจะช่วยขยายฐานลูกค้าและเพิ่มยอดขายได้อย่างมีประสิทธิภาพ"
งาน ECOM Thailand Convergence 2024 ตั้งเป้าผู้เข้าร่วมงานกว่า 10,000 คน ประกอบด้วย ผู้ประกอบการ SMEs, ครีเอเตอร์, นักศึกษา, ประชาชนทั่วไป และผู้ประกอบการจากหลากหลายธุรกิจ ทั้งในกลุ่ม Lifestyle & Bank Financial, Manufacturing & Shipping & Software และ Brand & Celebrity" ภายในงานอัดแน่นด้วยความรู้และแนวทางที่เป็นประโยชน์ต่อทุกธุรกิจ อัปเดตเทรนด์ใหม่ ๆ พร้อมด้วยการบรรยายจากวิทยากรผู้เชี่ยวชาญในด้านต่าง ๆ อาทิ E-commerce, Live Commerce, Creator's World, Branding และ Business & Financial อีกทั้งมีบูธแสดงสินค้าจากแบรนด์เซเลปและแบรนด์ชั้นนำกว่า 100 บูธ พิเศษด้วยการรวมตัวของครีเอเตอร์กว่า 2,000 คน ที่พร้อมมาส่งต่อและแลกเปลี่ยนประสบการณ์ เทคนิค เพื่อต่อยอดธุรกิจบนแพลตฟอร์มออนไลน์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ


ไฮไลท์สำคัญของงานมหกรรม ECOM Thailand Convergence ที่จะช่วยผลักดันและแก้เกมส์ธุรกิจให้กับผู้เข้าร่วมงาน ประกอบด้วย
Conference Stage อัพเดทความรู้สู่เทรนด์การทำธุรกิจสมัยใหม่ ที่จะผสานรวม E-Commerce และ Creator Economy เข้าด้วยกันและต่อยอดสู่การขยายไปตลาดโลก
Business Solutions and Future Direction พบทางออกของทุกปัญหาการทำธุรกิจและทิศทางที่จะทำให้ธุรกิจของคุณเติบโตต่อแบบก้าวกระโดด
New Opportunities ขยายโอกาสทางธุรกิจ พบปะกับผู้ประกอบการ ลูกค้า พาร์ทเนอร์ ครีเอเตอร์ ที่พร้อมทำ business matching กับธุรกิจคุณ
Lessons Learned with Workshop Sessions เรียนรู้และลงมือทำจริงผ่านการเวิร์คชอปแบบเข้มข้นและเน้นผลลัพธ์จริง


นอกจากนี้ ยังได้รับเกียรติจาก อุ้ม ลักขณา วัธนวงส์ศิริ ผู้จัดร่วม งาน ECOM Thailand Convergence 2024 ที่มองเห็นโอกาสและทิศทางการเจริญเติบโตของวงการ E-commerce ที่มีทิศทางและกราฟที่พุ่งขึ้นอย่างต่อเนื่องในโลกยุคปัจจุบัน และไม่ว่าจะเป็นบุคคลที่มีชื่อเสียงหรือไม่มีชื่อเสียงก็ล้วนเข้าสู่วงการออนไลน์กันถ้วนหน้า พร้อมด้วยอดีตนางงามจากหลากหลายเวที อาทิ ชนากานต์ ชัยศรี, อิสริยะ อภิชัย, เมลิสา มหาพล, สิริรัตน เรืองศรี,รินทร์ณฐา อัจฉริยวัฒนกุล, ภัทลดา กุลภัคธนภัทร์ และ กฤชภร หอมบุญญาศักดิ์
ชาวอีคอมเมิร์ซและSME ห้ามพลาด! เตรียมพบกับ 16 Workshop ที่หลากหลาย พร้อมยกทัพวิทยากรแนวหน้าของประเทศไทย การันตีสาระดีทุก sessions ให้ผู้เข้าร่วมงานได้ก้าวข้ามขีดจำกัดเดิม ๆ เพื่อสร้างผลลัพธ์ที่ดีกว่าให้ธุรกิจ Scale up to Global ภายในงานมหกรรม ECOM Thailand Convergence ในวันที่ 29 กันยายน 2567 เวลา 08.00 - 19.00 น. ณ ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค บางนา ห้องภิรัชฮอลล์ 1-3
ผู้ที่สนใจสามารถลงทะเบียนเข้าร่วมงานผ่านทาง https://forms.gle/vBWK45HjZ3Uh1nuq9 เข้าร่วมได้ฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย และสามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับงาน Ecom Thailand Convergence ได้ที่ FB: Ecom Thailand Convergence (https://www.facebook.com/ecomthailandconvergence) หรือ Line: @ecomconvergence (https://lin.ee/KonI8Rh)

บริการ Data center ไทยเติบโตอย่างรวดเร็วในทิศทางเดียวกับเทรนด์โลก ทั้งจากการให้บริการ Public cloud และบริการ Colocation  

ความต้องการบริการ Data center เติบโตตามปริมาณการใช้งานข้อมูลที่เติบโตด้วยนวัตกรรมด้านเทคโนโลยีที่เข้ามามีบทบาทมากขึ้นในยุคดิจิทัล  โดยมูลค่าตลาดให้บริการ Data center ของโลกมีแนวโน้มขยายตัวราว 22%YOY ซึ่งเป็นการขยายตัวของบริการ Public cloud เป็นหลัก เช่นเดียวกับตลาด Data center ของไทย โดย SCB EIC คาดว่า มูลค่าตลาด Data center ของไทยมีแนวโน้มเติบโตราว 24%YOY ในปี 2024 โดยบริการ Public cloud ขยายตัวที่ราว 29%YOY จากปริมาณการใช้งานข้อมูลของผู้บริโภคที่ยังสูงขึ้นและการใช้เทคโนโลยีที่มากขึ้นขององค์กรขนาดใหญ่ SMEs และ Startups ขณะที่การให้บริการ Colocation ซึ่งเป็นบริการรับฝาก Server ที่ผู้ให้บริการจะจัดเตรียมพื้นที่สำหรับจัดวางอุปกรณ์พร้อมโครงข่ายการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต โดยผู้เช่าจะจัดหาอุปกรณ์ต่าง ๆ เองนั้น คาดว่าจะเติบโตราว 14%YOY จากการปรับแผนการจัดเก็บข้อมูลขององค์กรหลายแห่งที่หันมาใช้ระบบ Private cloud มากขึ้น และการขยาย Cloud region ของผู้ให้บริการต่างประเทศในไทย แม้ปัจจุบันการลงทุน Data center ในไทยจะเพิ่มขึ้นมาก แต่การพิจารณานโยบายสนับสนุนเพิ่มเติมจากภาครัฐ จะช่วยเพิ่มโอกาสให้ไทยก้าวสู่การเป็นหนึ่งในผู้นำของอาเซียน 

ปัจจุบันสิงคโปร์ถือเป็นศูนย์กลาง Data center ของอาเซียน แต่ด้วยนโยบายจำกัดการก่อสร้างศูนย์ Data center แห่งใหม่ของภาครัฐทำให้การขยายพื้นที่จัดเก็บข้อมูลไม่ทันต่อความต้องการใช้งาน ผู้ให้บริการ Data center ในสิงคโปร์จึงเริ่มมองหาประเทศใกล้เคียง ได้แก่ มาเลเซีย อินโดนีเซีย และไทย เพื่อลงทุน Data center แห่งใหม่ ทั้งนี้แม้ไทยเป็นอีกหนึ่งพื้นที่ที่น่าสนใจในการลงทุน ทำให้มีการลงทุน Data center ของผู้ให้บริการต่างประเทศเพิ่มขึ้นอย่างมาก แต่การพิจารณาสิทธิประโยชน์และนโยบายเพิ่มเติมของภาครัฐ อาทิ การขยายระยะเวลาการใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษี และการให้สิทธิประโยชน์เพิ่มเติมสำหรับ Data center ที่ตั้งในเขตเศรษฐกิจพิเศษ รวมถึงการสร้างระบบนิเวศที่สอดคล้องตามมาตรฐานสากล และการพัฒนาทักษะบุคลากร จะช่วยเพิ่มโอกาสดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศ และเพิ่มความสามารถในการแข่งขันให้ไทยก้าวสู่การเป็นหนึ่งในผู้นำของอาเซียนได้ 

 Build-to-Suit data center เป็นอีกเทรนด์ของบริการ Colocation ที่ได้รับความสนใจจากองค์กรขนาดใหญ่ที่มีปริมาณข้อมูลเติบโตอย่างรวดเร็ว และผู้ให้บริการ Cloud service ที่ต้องการตั้ง Cloud region  

Build-to-Suit data center เป็นอีกหนึ่งรูปแบบบริการ Colocation ที่ผู้เช่าสามารถกำหนดและออกแบบพื้นที่ให้ตรงกับความต้องการเฉพาะได้ แต่ใช้เม็ดเงินลงทุนที่น้อยกว่าและยังสามารถควบคุมค่าใช้จ่ายภายใต้สัญญาเช่า บริการรูปแบบนี้มีแนวโน้มได้รับความสนใจมากขึ้น โดยเฉพาะองค์กรขนาดใหญ่ที่ต้องการ Data center ที่ได้มาตรฐานเทียบเท่ากับการตั้ง Data center ภายในองค์กร รวมถึงผู้ให้บริการ Cloud service ที่ต้องการขยาย Cloud region ในหลายประเทศ เพื่อให้ทันต่อการรองรับความต้องการใช้งาน Cloud และให้การขยายตลาดทำได้รวดเร็ว อีกทั้ง บริการรูปแบบ Buit-to-Suit data center จะสร้างโอกาสในการได้รับผลตอบแทนจากการลงทุนที่มั่นคงให้แก่ผู้ให้บริการ Data center จากการทำสัญญาเช่าระยะยาวราว 5-10 ปี ซึ่ง ผู้ให้บริการต้องมีความพร้อมในหลาย ๆ ด้าน โดยเฉพาะทักษะและความเชี่ยวชาญของบุคลากรที่จะช่วยสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้ที่จะเข้ามาใช้บริการ  

 การเติบโตของ Data center ยังส่งผลให้การใช้ไฟฟ้าและการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเพิ่มขึ้น จึงทำให้ Sustainability เป็นประเด็นที่ผู้ให้บริการต้องให้ความสำคัญ 

Data center เป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมที่มีปริมาณการใช้ไฟฟ้าและการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสูง ทำให้การบริหารจัดการการใช้ไฟฟ้าพร้อมกับการรักษาเสถียรภาพไฟฟ้าเพื่อรองรับช่วงเวลาที่มีการใช้งานสูงสุด (Peak traffic) เป็นความท้าทายสำคัญของผู้ให้บริการ Data center ควบคู่กับการมุ่งสู่ความยั่งยืน ไม่ว่าจะเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้ไฟฟ้า การลดการใช้พลังงานในระบบปรับอากาศ และการเพิ่มสัดส่วนพลังงานสะอาด อย่างไรก็ดี การผลักดันผู้ให้บริการ Data center ใช้พลังงานให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นนั้น จำเป็นต้องอาศัยการกำหนดนโยบายรัฐควบคู่ด้วย อาทิ การให้สิทธิประโยชน์ทางภาษี การสร้างความร่วมมือจากผู้ให้บริการ Data center และการกำหนดมาตรฐานการใช้พลังงาน ซึ่งจะช่วยส่งเสริมให้ Data center ของไทยเข้าใกล้ความยั่งยืนได้มากขึ้น

ทิศทางการเติบโตของ Data center จากเทรนด์โลกสู่ไทย 

ในช่วงที่ผ่านมา มูลค่าตลาดให้บริการ Data center ของโลกเติบโตอย่างรวดเร็ว และมีแนวโน้มขยายตัวราว 22%YOY ในปี 2024 ทั้งจากการให้บริการ Public cloud และบริการ Colocation ตามปริมาณการใช้งานข้อมูลที่เติบโตทั้งจากผู้บริโภค องค์กรต่าง ๆ และภาคธุรกิจ ด้วยนวัตกรรมด้านเทคโนโลยีที่เข้ามามีบทบาทมากขึ้นในยุคดิจิทัล จึงทำให้เกิดข้อมูลจำนวนมหาศาลและส่วนใหญ่ล้วนถูกจัดเก็บและประมวลผลบน Data center ที่มีพื้นที่จัดเก็บขนาดใหญ่พร้อมทั้งมีระบบการเชื่อมต่อที่สามารถดึงข้อมูลออกมาใช้งานได้ตลอดเวลา โดย International Data Corporation (IDC) ซึ่งเป็นบริษัทที่ปรึกษาและวิจัยข้อมูลการตลาดด้านโทรคมนาคมชั้นนำระดับโลกได้คาดการณ์ปริมาณพื้นที่จัดเก็บข้อมูลทั่วโลกทั้งภายในอุปกรณ์รับ-ส่งข้อมูลผ่านระบบเครือข่ายอย่างโทรศัพท์มือถือ คอมพิวเตอร์ และภายในศูนย์ Data center จะเพิ่มขึ้นจาก 10.1 เซตตะไบต์ (ZB) ในปี 2023 เป็น 21.0 ZB ในปี 2027 หรือราว 18.5% CAGR อีกทั้งยังมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอีกในระยะข้างหน้า 

มูลค่าตลาดการให้บริการ Public cloud ของโลกคาดว่าจะเติบโตที่ราว 23%YOY จากการใช้งานข้อมูลที่เพิ่มขึ้นทั้งในส่วนของผู้บริโภคและภาคธุรกิจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากกระแสการใช้งานด้าน AI ไม่ว่าจะเป็นการใช้งานข้อมูลของผู้บริโภค ทั้งการเก็บข้อมูลส่วนตัวอย่างรูปภาพและเอกสารต่าง ๆ และการใช้งาน Social Media, Video/Music Streaming และแอปพลิเคชัน ซึ่งคาดว่าจะเติบโตราว 21%CAGR ในช่วงปี 2024-2029 ตามรายงานปริมาณการใช้งานข้อมูลผ่านโทรศัพท์มือถือของผู้บริโภคทั่วโลกของ Ericsson รวมถึงการใช้งานในภาคธุรกิจและองค์กรที่ปรับใช้เทคโนโลยีมากขึ้น อย่างเช่น Internet of Things (IoT), Robotic, Smart devices และการเข้ามาของเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence : AI) โดยเฉพาะ Generative AI ซึ่งเป็นกระแสที่พูดถึงอย่างมากในปี 2023 และมีแนวโน้มใช้งานเพิ่มขึ้นอีกในระยะข้างหน้าสะท้อนจากผลสำรวจความคิดเห็นของผู้บริหารบริษัทชั้นนำทั่วโลกกว่า 1,360 รายในช่วง 22 กุมภาพันธ์ – 5 มีนาคม 2024 เกี่ยวกับการใช้งาน AI ในองค์กรของ McKinsey พบว่า บริษัทที่มีการใช้งาน AI มีจำนวนเพิ่มขึ้นเป็น 72% จากการสำรวจในปีก่อนที่ 55% โดยการใช้งาน Generative AI เพิ่มขึ้นเกือบเท่าตัวจาก 33% เป็น 65% อีกทั้ง นักพัฒนาซอฟต์แวร์ยังหันมาพัฒนาแอปพลิเคชันบน Cloud platform มากขึ้น เนื่องจากผู้ให้บริการ Cloud ได้พัฒนาเครื่องมือใหม่ ๆ ที่ช่วยในการตรวจเช็กโค้ดและทดสอบการใช้งานบน Platform ออกมาอย่างสม่ำเสมอ 

ในส่วนของการให้บริการ Colocation จะเติบโตราว 14%YOY จากการปรับกลยุทธ์ขององค์กรขนาดใหญ่หลายแห่งที่หันมาเช่าพื้นที่ฝาก Server ใน Data center ผ่านระบบ Private cloud แทนการเก็บข้อมูลในระบบ Server ภายในองค์กร (On-premise) เพื่อลดต้นทุนในการดำเนินงานทั้งค่าไฟฟ้า ค่าอินเทอร์เน็ต และลดค่าใช้จ่ายในการจ้างผู้ชำนาญการคอยดูแลตลอด 24 ชั่วโมง รวมถึงลดความเสี่ยงจากระบบเชื่อมต่อที่ไม่เสถียรและอุบัติภัยที่อาจเกิดขึ้น อีกทั้ง ยังสามารถปรับขนาดพื้นที่จัดเก็บข้อมูลตามการใช้งานได้ง่าย 

อย่างไรก็ดี ปัจจุบันบริษัททั่วโลกนิยมจัดเก็บข้อมูลในรูปแบบ Hybrid cloud ที่แบ่งการเก็บข้อมูลทั้งในระบบ Public cloud และ Private cloud ในรูปแบบ Colocation และ On-premise มากขึ้นสะท้อนจากรายงาน The Flexera 2024 State of the Cloud ของบริษัทซอฟต์แวร์ Flexera ในสหรัฐอเมริกาที่ได้สำรวจความคิดเห็นผู้บริหารบริษัทชั้นนำทั่วโลกกว่า 750 ราย ในช่วงปลายปี 2023 พบว่า 65% ของบริษัทที่ตอบแบบสำรวจจัดเก็บข้อมูลขององค์กรในรูปแบบ Hybrid cloud โดยใช้ Private cloud สำหรับจัดเก็บข้อมูลที่มีความอ่อนไหว ต้องการความปลอดภัยสูง และมีการใช้งานในความหน่วงที่ต่ำ เช่น ธุรกรรมทางการเงิน ข้อมูลการติดต่อและใช้บริการของลูกค้า และจะเลือกใช้ Public cloud สำหรับจัดเก็บข้อมูลทั่วไป 

 Data center ไทยกับการก้าวสู่การเป็นผู้นำในอาเซียน 

ปัจจุบันสิงคโปร์ถือเป็นศูนย์กลางด้านเทคโนโลยีและดิจิทัลของอาเซียน ซึ่งรวมถึงการเป็นศูนย์กลางด้าน Data center ด้วย แต่การเติบโตมีข้อจำกัดจากนโยบายภาครัฐ โดยในช่วงปี 2016-2019 มูลค่าตลาด Data center ของสิงคโปร์เติบโตสูงต่อเนื่องราว 29%CAGR จากการขยายพื้นที่ของผู้ให้บริการในสิงคโปร์และการเข้ามา 
ของผู้ให้บริการระดับโลกอย่าง Microsoft, AWS และ Apple อย่างไรก็ดี ด้วยพื้นที่ของสิงคโปร์ที่มีจำกัดยากต่อการตั้ง Data center ขนาดใหญ่, ปริมาณการใช้พลังงานไฟฟ้าใน Data center ที่สูง ซึ่งมีโอกาสกระทบต่อเสถียรภาพด้านพลังงานไฟฟ้าของประเทศในอนาคต และอัตราการปล่อย CO2 ต่อตารางเมตรของประเทศที่สูงกว่าค่าเฉลี่ยโลก ทำให้รัฐบาลสิงคโปร์ประกาศใช้นโยบายจำกัดการก่อสร้างศูนย์ Data center แห่งใหม่บนเกาะสิงคโปร์ตั้งแต่ปี 2019 และผ่อนคลายมาตรการดังกล่าวในช่วงปลายปี 2022 โดยอนุญาตให้ก่อสร้างเฉพาะ Data center ที่ให้ความสำคัญด้านสิ่งแวดล้อมและได้รับการรับรองด้านการประหยัดพลังงานจากหน่วยงานภาครัฐ ทำให้การขยายพื้นที่จัดเก็บข้อมูลไม่เพียงพอต่อความต้องการใช้งานที่ยังเติบโตต่อเนื่อง ส่งผลให้อัตราพื้นที่ว่างของ Data center ในสิงคโปร์ลดลงอย่างรวดเร็วเหลือต่ำกว่า 1% ในปี 2024 ตามรายงานของ Cushman & Wakefield ซึ่งเป็นผู้ให้บริการด้านอสังหาริมทรัพย์ที่มีสาขามากกว่า 50 ประเทศทั่วโลก  

ผู้ให้บริการ Data center ในสิงคโปร์เริ่มมองหาประเทศใกล้เคียง เพื่อขยายศูนย์ Data center รองรับความต้องการพื้นที่จัดเก็บข้อมูลที่ขยายตัวในสิงคโปร์ ซึ่งการเลือกพื้นที่ตั้งศูนย์ Data center นอกจาก 
จะพิจารณาด้านต้นทุนและโอกาสในการเติบโตของธุรกิจแล้ว ความสะดวกในการเดินทาง ความปลอดภัย ความพร้อมของโครงสร้างพื้นฐาน และนโยบายส่งเสริมจากภาครัฐก็ถือเป็นปัจจัยที่ผู้ให้บริการให้ความสำคัญ โดยพื้นที่ที่ผู้ให้บริการสนใจพิจารณา ได้แก่  

  1. 1. มาเลเซีย โดยเฉพาะกัวลาลัมเปอร์ และยะโฮร์บาฮ์รูที่อยู่ติดกับสิงคโปร์ จึงมีข้อได้เปรียบทางด้านการเดินทางขนส่งประกอบกับมาเลเซียมีความสะดวกค่อนข้างมากในการเข้าไปประกอบธุรกิจสะท้อนจากตัวชี้วัดหลายตัวที่อยู่ในระดับสูง เช่น อัตราการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต ดัชนีการพัฒนาด้าน ICT และอันดับความยากง่ายในการประกอบธุรกิจ (The Ease of Doing Business ranking) อีกทั้ง ภาครัฐยังออกมาตรการสนับสนุนการลงทุน Data center ทั้งการให้สิทธิประโยชน์ทางภาษี การรับประกันระบบไฟฟ้า และนโยบายสนับสนุน Digital economy ที่ตั้งเป้าให้มาเลเซียเป็นศูนย์กลางโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลในระดับภูมิภาค
  2. 2. อินโดนีเซีย ทั้งในจาการ์ตา และเกาะบาตัมที่อยู่ห่างจากสิงคโปร์ราว 20 กิโลเมตรทางทะเล ด้วยข้อได้เปรียบหลายด้านทั้งอัตราค่าไฟฟ้าที่ต่ำราว 2.5-3 บาท/กิโลวัตต์ชั่วโมง และนโยบายการให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีสำหรับการลงทุน Data center ขนาดใหญ่ ซึ่งแม้อัตราการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตของประชากรอยู่ในระดับไม่สูงมากที่ 67% แต่ด้วยจำนวนประชากรของประเทศที่สูงเป็นอันดับ 1 ของอาเซียน จึงทำให้จำนวนประชาชนที่เข้าถึงบริการอินเทอร์เน็ตสูงถึงราว 180 ล้านคน ซึ่งสูงกว่าจำนวนประชากรของหลายประเทศในอาเซียน สะท้อนถึงโอกาสการเติบโตของผู้ใช้บริการและปริมาณการใช้งานข้อมูลที่สามารถขยายตัวได้อีกมาก 
  3. 3. ไทย เป็นอีกหนึ่งประเทศที่จะได้รับประโยชน์จากนโยบายของสิงคโปร์ ด้วยจุดแข็งด้านความเร็วในการ Download ข้อมูลผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตประจำที่ (FBB) ที่สูงเป็นอันดับ 8 ของโลกและเป็นอันดับ 2 ของอาเซียนรองจากสิงคโปร์ ซื่งเป็นเครือข่ายหลักในการให้บริการ Data center อีกทั้ง ตัวชี้วัดด้านความสะดวกในการเข้าไปประกอบธุรกิจในไทยยังอยู่ในเกณฑ์ที่ดี จึงทำให้ผู้ให้บริการสิงคโปร์สนใจเข้ามาลงทุน Data center ในไทยเพิ่มขึ้น เช่น Singtel ที่ได้ร่วมมือกับ Gulf-AIS และ Evolution Data Centers ที่เป็นพันธมิตรกับกลุ่มเซ็นทรัลพัฒนา

 

 

 

เอเอซีเอสบี อินเตอร์เนชันแนล (AACSB International) เครือข่ายการศึกษาด้านธุรกิจที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก ประกาศยกย่องโรงเรียนธุรกิจ 25 แห่งภายใต้โครงการอินโนเวชันส์ แดท อินสไปร์ (Innovations That Inspire) หรือ นวัตกรรมสร้างแรงบันดาลใจ

โครงการดังกล่าวจัดขึ้นเพื่อยกย่องโรงเรียนธุรกิจจากทั่วโลกที่เป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงภูมิทัศน์การศึกษาด้านธุรกิจ สำหรับปี 2566 นี้ ไฮไลท์สำคัญอยู่ที่ความพยายามในการเปลี่ยนแปลงโรงเรียนธุรกิจในรูปแบบที่เพิ่มมูลค่าให้กับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทั้งหมด ซึ่งรวมถึงผู้เรียน ธุรกิจ และสังคม โดยโรงเรียนธุรกิจเหล่านี้กำหนดนิยามใหม่ให้กับอนาคตของการเรียนรู้ การเป็นผู้นำ และการเชื่อมโยง ซึ่งปูทางไปสู่การนำเสนอคุณค่าเพื่อส่งเสริมการศึกษาด้านธุรกิจ

นวัตกรรมเด่นของโรงเรียนธุรกิจเหล่านี้ช่วยบุกเบิกความร่วมมือในอุตสาหกรรมและชุมชน กำหนดนิยามใหม่ของอิทธิพลด้านการวิจัย และยกระดับประสบการณ์การเรียนรู้ตลอดชีวิต ยกตัวอย่างเช่น

· อนาคตของธุรกิจคือดิจิทัล (The Future of Business Is Digital) โดยโรงเรียนธุรกิจแห่งมหาวิทยาลัยเซาท์ออสเตรเลีย (UniSA Business): ทางสถาบันได้ผนึกกำลังกับเอคเซนเชอร์ (Accenture) บริษัทที่ปรึกษาทางด้านเทคโนโลยีระดับโลก เพื่อพัฒนาหลักสูตรปริญญาตรีสาขาธุรกิจดิจิทัลแบบเรียนออนไลน์ ซึ่งมอบทักษะทางธุรกิจและดิจิทัลระดับสูง และมุ่งเน้นประสบการณ์จริงในอุตสาหกรรม

· ปฏิบัติการด้านสภาพภูมิอากาศ (Act for Climate) โดยโรงเรียนธุรกิจแอมลียง (EMLYON Business School): นำเสนอหลักสูตรที่ผสมผสานความเข้าใจพื้นฐานด้านสภาพภูมิอากาศ คำอธิบายสถานการณ์ด้านสภาพภูมิอากาศอย่างเป็นรูปธรรม และการออกแบบแผนปฏิบัติการที่เหมาะสม เพื่อสอนให้ผู้เรียนพัฒนาทฤษฎีสำหรับรับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่สามารถแก้ปัญหาได้จริง

· ศูนย์ส่งเสริมนวัตกรรมและผู้ประกอบการ (Center for Innovation and Entrepreneurship หรือ iCenter) โดยวิทยาลัยธุรกิจลูวิสแห่งมหาวิทยาลัยมาร์แชลล์ (Marshall University: The Lewis College of Business): จัดตั้งศูนย์ iCenter ที่สร้างแรงบันดาลใจให้เกิดนวัตกรรมทั่วทั้งวิทยาลัย วิทยาเขต และชุมชน ด้วยการเผยแพร่แนวปฏิบัติที่ดีที่สุดด้านการสร้างสรรค์นวัตกรรมผ่านการให้ความรู้และการฝึกอบรม

· การพัฒนากลุ่มวิจัยในโรงเรียนธุรกิจ (Developing Research Groups in Business School) โดยโรงเรียนเศรษฐศาสตร์และธุรกิจเคทียูแห่งมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีคอนาส (Kaunas University of Technology: KTU School of Economics and Business): พัฒนากลุ่มวิจัยแบบสหวิทยาการ 4 กลุ่ม เพื่อขจัดอุปสรรคทางวิชาการ เพิ่มขีดความสามารถด้านการวิจัยของคณาจารย์ ส่งเสริมการถ่ายทอดความรู้ให้แก่ผู้เรียน ตลอดจนเพิ่มโอกาสในการสร้างความร่วมมือและการได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ

"ความต้องการใหม่ ๆ ของบรรดาผู้มีส่วนได้ส่วนเสียนั้น ได้ผลักดันให้ต้องมีการคิดใหม่ทำใหม่ในส่วนของการศึกษาด้านธุรกิจ และนวัตกรรมจากโรงเรียนธุรกิจในโครงการอินโนเวชันส์ แดท อินสไปร์ ประจำปี 2566 นี้ แสดงให้เห็นถึงแนวทางใหม่ ๆ ที่จะเป็นประโยชน์ต่อโรงเรียนธุรกิจในอนาคต" คุณแคริน เบค-ดัดลีย์ (Caryn Beck-Dudley) ประธานและซีอีโอของเอเอซีเอสบี กล่าว "การใช้ประโยชน์จากนวัตกรรมเพื่อร่วมกันสร้างองค์ความรู้ วิธีการเรียนรู้ใหม่ ๆ และขยายการเข้าถึงการศึกษา ส่งผลให้โรงเรียนธุรกิจสามารถตอบสนองความคาดหวังของตลาด ตลอดจนเพิ่มมูลค่าให้กับธุรกิจ ผู้เรียน และสังคม"

โครงการอินโนเวชันส์ แดท อินสไปร์ เข้าสู่ปีที่ 8 แล้ว และได้ยกย่องโรงเรียนธุรกิจรวม 214 แห่งซึ่งเป็นแบบอย่างของแนวทางที่ก้าวหน้าด้านการศึกษา การวิจัย การมีส่วนร่วมกับชุมชน ความเป็นผู้ประกอบการ ความเป็นผู้นำ รวมถึงความหลากหลายและการยอมรับความแตกต่าง ทั้งนี้ โครงการอินโนเวชันส์ แดท อินสไปร์ ประจำปี 2566 ได้รับการสนับสนุนจากโรงเรียนธุรกิจสจ๊วตแห่งสถาบันเทคโนโลยีอิลลินอยส์ (Illinois Institute of Technology's Stuart School of Business) สามารถดูข้อมูลและตัวอย่างเพิ่มเติมได้ที่ aacsb.edu/innovations-that-inspire

ในบทความนี้จะขอกล่าวถึงบทบาทและความสำคัญของเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์และประสาทวิทยาศาสตรที่มีต่อโลกธุรกิจ โดยจะขอเน้นตัวอย่างไปที่การประยุกต์ใช้ทางด้านการเงิน

X

Right Click

No right click