November 16, 2024

SCB CIO หนุนผู้ประกอบการและนักลงทุนไทย ตระหนักถึงความสำคัญของ Green Taxonomy พร้อมดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจให้สอดคล้องและมุ่งเน้นสร้างความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม โดยสถาบันการเงินมีแนวโน้มนำเสนออัตราดอกเบี้ยที่จูงใจมากขึ้น สนับสนุนบริษัทที่ออกตราสารหนี้ ที่ทำกิจกรรมเศรษฐกิจสอดคล้องกับ Taxonomy ส่วนนักลงทุนสถาบันมุ่งออกแบบผลิตภัณฑ์การเงิน นำเสนอกองทุนที่คำนึงถึงปัจจัยด้าน ESG ด้านนักลงทุนรายย่อย หันมาเน้นลงทุนกับผลิตภัณฑ์การเงินที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากขึ้น ขานรับเป้าหมายประเทศไทยมุ่งปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero) ภายในปี 2065 ขณะที่ล่าสุด ไทยได้มีการประกาศ Thailand Taxonomy ระยะที่ 1 โดยกิจกรรมเศรษฐกิจเป้าหมายกลุ่มแรก คือ ภาคพลังงานและขนส่งซึ่งก๊าซคาร์บอนรวมกันเกือบ 70% ของทั้งหมด

ดร.กำพล อดิเรกสมบัติ ผู้อำนวยการอาวุโส และหัวหน้าทีม SCB Chief Investment Office (SCB CIO) ธนาคารไทยพาณิชย์ เปิดเผยว่า ภูมิภาคหลักๆ ในโลกได้จัดทำมาตรฐานกลางที่เกี่ยวข้องกับ สิ่งแวดล้อม สังคม และบรรษัทภิบาล(ESG) โดยระบุเงื่อนไขอย่างชัดเจนและโปร่งใสเพื่อนำไปใช้อ้างอิงในการช่วยจัดกลุ่มกิจกรรมทางเศรษฐกิจประเภทต่างๆ โดยเฉพาะหมวดธุรกิจที่มีความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม (Green Taxonomy)

โดยผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในตลาดเงินตลาดทุนไทย ควรทำความเข้าใจและนำไปปรับใช้ เนื่องจากจะช่วยให้ผู้ที่ต้องการลงทุนในโครงการหรือกองทุน ESG รวมทั้งนักลงทุนหรือสถาบันการเงินที่ต้องการปล่อยสินเชื่อให้โครงการ ประเมินได้ว่าควรลงทุนในโครงการไหน ด้วยเม็ดเงินเท่าไหร่ และรู้เท่าทันในการดำเนินการด้าน ESG อย่างแท้จริง ส่วนบริษัทจดทะเบียนที่ต้องการระดมทุนจัดทำโครงการ ก็จะสามารถชี้แจงและส่งสัญญาณให้ผู้ลงทุน หรือ สถาบันการเงินทราบได้ว่าโครงการที่กำลังระดมทุนอยู่ มีการดำเนินการอย่างจริงจังและมีผลต่อการบริหารจัดการทางด้าน ESG อย่างไร

ทั้งนี้ SCB CIO วิเคราะห์มาตรฐานด้าน Green Taxonomy ของกลุ่มประเทศต่างๆ ได้แก่ EU Taxonomy . ASEAN Taxonomy และ Thailand Taxonomy พบว่า EU Taxonomy เป็นต้นแบบกฎหมาย Green Taxonomy ของทั่วโลก ที่เริ่มบังคับใช้ตั้งแต่เดือน ก.ค. 2020 เป็นกฎหมายกำหนดนิยามและจัดหมวดหมู่กิจกรรมเศรษฐกิจที่คำนึงถึงความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม และบรรลุเป้าหมายการปล่อยก๊าซคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์ภายในปี2050เน้นลดปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การปรับตัวให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การใช้และปกป้องทรัพยากรน้ำและทะเลอย่างยั่งยืน การเปลี่ยนผ่านไปสู่เศรษฐกิจหมุนเวียน การป้องกันและควบคุมมลพิษ และการปกป้องและฟื้นฟูความหลากหลายทางชีวภาพและระบบนิเวศ หัวใจสำคัญของ EU Taxonomy คือต้องการจัดการปัญหาการฟอกเขียว (Greenwashing) เพื่อช่วยให้ผู้ที่มีส่วนร่วมในตลาดเงินตลาดทุน ลงทุนในสินทรัพย์ที่ยั่งยืนได้อย่างมั่นใจ ทั้งยังกำหนดหน้าที่การเปิดเผยข้อมูลเชื่อมโยงกับ Taxonomy ไว้ให้บริษัทและผู้มีส่วนร่วมในตลาดเงินต้องปฏิบัติตามด้วย

ส่วน ASEAN Taxonomy ไม่ได้เป็นกฎหมาย แต่มีลักษณะเป็นมาตรฐานกลางเพื่อให้ประเทศสมาชิกในภูมิภาคนำไปปรับใช้และดำเนินการจัดทำกฎหมายหรือข้อบังคับ Taxonomy ของประเทศตัวเอง โดยมีวัตถุประสงค์ใกล้เคียงกับ EU Taxonomy แต่มุ่งเน้นไปที่การสนับสนุนคำมั่นสัญญาของกลุ่มอาเซียน ในการปฏิบัติตามข้อตกลงปารีส (Paris

Agreement) และข้อตกลงในระดับชาติ ซึ่งไม่ได้ระบุชัดเจนในประเด็นปกป้องทรัพยากรน้ำและทะเล และป้องกันควบคุมมลพิษ

สำหรับ Thailand Taxonomy มีวัตถุประสงค์การสร้างความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม 6 ข้อ ได้แก่ 1.การลดปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ 2) การปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ 3) การใช้ทรัพยากรน้ำอย่างยั่งยืน 4) การอนุรักษ์และฟื้นฟูความหลากหลายทางชีวภาพและระบบนิเวศ 5) การป้องกันและควบคุมมลพิษ และ 6) การใช้ทรัพยากรอย่างยั่งยืน และการเปลี่ยนผ่านสู่เศรษฐกิจหมุนเวียน ซึ่ง Thailand Taxonomy มีการระบุกิจกรรมเศรษฐกิจที่นำไปสู่การบรรลุวัตถุประสงค์ด้านสิ่งแวดล้อมที่ชัดเจน คือ หลีกเลี่ยงการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก สนับสนุนการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก โดยเป้าหมายแรกคือ ภาคพลังงานและขนส่ง ซึ่งปล่อยก๊าซคาร์บอนรวมกันเกือบ 70% ของการปล่อยก๊าซคาร์บอนทั้งหมด

ในส่วนของ ประเทศไทย ได้ให้คำมั่นสัญญาในการประชุม UN Climate Change Conference ครั้งที่ 26 ว่า ไทยจะเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) ในปี 2050 และปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero ) ภายในปี 2065 ขณะที่ ธนาคารไทยพาณิชย์ ตั้งเป้าหมายปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ จากการดำเนินงานภายในปี 2030 และจากการให้สินเชื่อ และการลงทุนภายในปี 2050

ทั้งนี้ Green Taxonomy จะทำให้บริษัทจดทะเบียนต้องพยายามปรับเปลี่ยนหรือดำเนินธุรกิจให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของ Taxonomy มากขึ้น ขณะที่สถาบันการเงินขนาดใหญ่มีแนวโน้มต้องมุ่งเน้นนำเสนออัตราดอกเบี้ยที่จูงใจมากขึ้น รวมทั้งสนับสนุนบริษัทที่ออกตราสารหนี้ เพื่อกิจกรรมเศรษฐกิจที่สอดคล้องกับTaxonomyและนักลงทุนสถาบัน จะต้องประยุกต์ใช้Taxonomyกับการออกแบบผลิตภัณฑ์การเงิน เช่น ลงทุนในกิจกรรมที่สอดคล้องกับTaxonomy นำเสนอกองทุนที่คำนึงถึงปัจจัยด้าน ESG เพราะต้องปฏิบัติตามข้อบังคับการเปิดเผยข้อมูลทางการเงินที่ยั่งยืนของสหภาพยุโรป (Sustainable Finance Disclosure Regulation)

ส่วนนักลงทุนรายย่อย เมื่อหันมาเน้นลงทุนกับผลิตภัณฑ์การเงินที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากขึ้น จะเป็นแรงผลักดันให้ผู้ให้บริการต้องแก้ไขข้อกำหนดการบริหารพอร์ตลงทุน และการให้คำแนะนำลงทุนโดยพิจารณาเรื่องความยั่งยืน ควบคู่กับความสามารถในการยอมรับความเสี่ยงมากขึ้น รวมทั้งนำเสนอผลิตภัณฑ์สำหรับนักลงทุนรายย่อย ที่เน้นสร้างผลกระทบเชิงบวกต่อสิ่งแวดล้อมหรือหลีกเลี่ยงการลงทุนที่สร้างผลกระทบในทางตรงกันข้ามกับวัตถุประสงค์ Taxonomy ซึ่งจะนำไปสู่โอกาสของบริษัทที่ดำเนินกิจกรรมเศรษฐกิจสอดคล้องกับ Taxonomy ในการเข้าถึงนักลงทุนรายย่อยได้มากขึ้น

ดร.รักษ์ วรกิจโภคาทร กรรมการผู้จัดการ ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (EXIM BANK) ร่วมเสวนากับ ดร.ชัยชาญ เจริญสุข ประธานสภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย (สรท.) นายชาติชาย พานิชชีวะ รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) นายวิบูลย์ สุภัครพงษ์กุล กรรมการหอการค้าไทย และ ผศ.ดร.นพพร เรืองวานิช ผู้อำนวยการหลักสูตรควบตรี-โท ทางการบัญชีและบริหารธุรกิจ ภาควิชาการตลาดมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ หัวข้อ “ทักษะและคุณสมบัติสำหรับผู้ส่งออก การเป็นผู้ส่งออกที่ประสบความสำเร็จต้องเป็นคนอย่างไร” ในหลักสูตร TOP X Executive Program รุ่นที่ 2 โดย EXIM BANK ร่วมแบ่งปันประสบการณ์และมุมมองเกี่ยวกับปัจจัยแห่งความสำเร็จในการพัฒนาธุรกิจให้เติบโตและขยายสู่ตลาดโลก อาทิ การก้าวข้ามความกลัวและกล้าออกจาก Comfort Zone การสร้างธุรกิจให้แข็งแกร่งด้วยนวัตกรรม การแสวงหาตลาดใหม่ การปรับธุรกิจโดยให้ความสำคัญกับมิติสิ่งแวดล้อม สังคม และการกำกับดูแลที่ดี (Environmental, Social and Governance : ESG) ตลอดจนบทบาทของ EXIM BANK ในการเติมความรู้ เติมโอกาส และเติมเงินทุน เพื่อเสริมสร้างศักยภาพธุรกิจ SMEs ไทยให้แข่งขันได้อย่างยั่งยืนในตลาดการค้าโลกยุคใหม่ ณ โรงแรมโนโวเทล กรุงเทพ สุขุมวิท 20 เมื่อเร็วๆ นี้

ยกระดับความสามารถในการแข่งขันสู่เทรนด์ตลาดโลกสีเขียวอย่างยั่งยืน

นายวิทัย รัตนากร ผู้อ่านวยการธนาคารออมสิน เปิดเผยว่า ปัจจุบันสถานการณ์โควิด-19 ได้ผ่อนคลายลง ส่งผลให้บรรยากาศทางเศรษฐกิจดีขึ้นและกลับมามีกิจกรรมทางธุรกิจมากขึ้น โดยเฉพาะภาคการท่องเที่ยว มี จ านวนนักท ่องเที ่ยวต ่างชาติเดินทางเข้าประเทศไทยเพิ ่มขึ้นอย ่างต ่อเนื ่อง ดังนั้น เพื ่อเป็นการกระตุ้น เศรษฐกิจและเตรียมความพร้อมให้กับผู้ประกอบการธุรกิจท ่องเที ่ยว สามารถด าเนินกิจการและให้บริการ อย่างราบรื่น คล่องตัว ไม่ต้องกังวลเรื่องเงินทุนหรือสภาพคล่อง ธนาคารออมสินจึงขอเชิญชวนผู้ประกอบการ ธุรกิจโรงแรม และ Supply Chain ของโรงแรม ร้านอาหาร และกลุ่มผู้ประกอบการที่มีเอกลักษณ์หรืออัตลักษณ์ ของท้องถิ่น ใช้บริการสินเชื่อ Soft Loan Re-Open อัตราดอกเบี้ยต่ ามาก 1.99% คงที่ 2 ปีแรก และสวนกระแส ของภาวะดอกเบี้ยขาขึ้นในขณะนี้ โดยสามารถรับข้อเสนอและเงื่อนไขพิเศษได้ที่เว็บไซต์ธนาคารออมสิน www.gsb.or.th หรือที่ธนาคารออมสินทุกสาขาทั่วประเทศ ภายในวันที่ 30 มิถุนายน 2566 นี้เท่านั้น สินเชื่อ Soft Loan Re-Open เปิดให้กู้เพื ่อน าเงินไปปรับปรุง ซ่อมแซมสถานประกอบการ จัดซื้อ เครื่องมืออุปกรณ์ หรือเป็นเงินทุนหมุนเวียนในการกลับมาเปิดกิจการอีกครั้ง โดยผู้กู้ต้องเป็นผู้ประกอบการที่เป็น บุคคลธรรมดา และนิติบุคคลที่มีบุคคลสัญชาติไทยถือหุ้นเกินร้อยละ 50 ของทุนจดทะเบียน วงเงินกู้ต่อรายสูงสุด ถึง 5 ล้านบาท และมีระยะเวลากู้ได้นาน 10 ปี สามารถใช้หลักทรัพย์ หรือ บสย. อย่างใดอย่างหนึ่งในการค้ าประกัน ได้เต็มวงเงินกู้ หรือจะเลือกใช้ทั้งหลักทรัพย์และ บสย. ร่วมกันค้ าประกันก็ได้ คิดอัตราดอกเบี้ยคงที่ 2 ปีแรก เพียง 1.99% ต่อปี โดยปีที่ 3-10 คิดอัตราดอกเบี้ยตามประเภทหลักทรัพย์ที่ใช้ค้ าประกัน และได้รับสิทธิพิเศษ ปลอดช าระเงินต้นเป็นเวลานานสูงสุดถึง 2 ปี ทั้งนี้ สามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ GSB SME Call Center โทร. 02-2998899, GSB Contact Center โทร. 1115 และที่ facebook : GSB Society โดยธนาคารออมสินไม่มีนโยบายเชิญชวนให้ยื่นกู้ทางโซเชียล มีเดียหรือลิงก์ส่งทาง SMS แต่อย่างใด

ดร.เบญจรงค์ สุวรรณคีรี (กลาง) รองกรรมการผู้จัดการ ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (EXIM BANK) และนางปาริสา ภัคดุรงค์ (ซ้าย) ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ EXIM BANK ให้การต้อนรับ ดร.ธัชชญาน์พล อภิมนต์เตชบุตร (ที่ 2 จากขวา) รองอธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ และนายนพดล อุเทน (ที่ 2 จากซ้าย) รักษาการในตำแหน่งที่ปรึกษาด้านกฎหมายและพัฒนามาตรการ สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (สำนักงาน ปปง.) และนางสาวสุปราณี สถิตชัยเจริญ (ขวา) ผู้อำนวยการกองความร่วมมือและพัฒนามาตรฐาน สำนักงาน ปปง. ในพิธีเปิดการอบรมเชิงปฏิบัติการภายใต้โครงการภาคีเครือข่ายความร่วมมือระบบงานควบคุมสินค้าภายในองค์กร (ICP Network) และโครงการบ่มเพาะระบบงานควบคุมสินค้าภายในองค์กร (ICP In-house) รุ่นที่ 5 เสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับระบบการควบคุมสินค้าภายในองค์กร โดยเฉพาะสินค้าในกลุ่ม Dual-use Items ให้แก่ผู้ส่งออกและนำเข้ากว่า 100 ราย เพื่อพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการไทยด้านการค้าและการลงทุนระหว่างประเทศ สนับสนุนการขยายธุรกิจไทยสู่ตลาดโลกยุค Next Normal เพิ่มมากขึ้น ณ EXIM BANK สำนักงานใหญ่ เมื่อเร็ว ๆ นี้

Page 1 of 3
X

Right Click

No right click