December 22, 2024

ก.ล.ต. นับหนึ่งคำขอ เพชรศรีวิชัย เอ็นเตอร์ไพรส์ หรือ “PCE” ประกอบธุรกิจโดยการถือหุ้นในบริษัทอื่น (Holding Company) กลุ่มธุรกิจหลัก คือ อุตสาหกรรมน้ำมันปาล์มแบบครบวงจร เตรียมเสนอขายหุ้น IPO 750 ล้านหุ้น ระดมทุนเดินหน้าเข้า SET ขึ้นแท่นผู้นำด้านธุรกิจน้ำมันปาล์มและระบบซัพพลายเชนครบวงจร

 

นายสมศักดิ์ ศิริชัยนฤมิตร ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท แอสเซท โปร แมเนจเม้นท์ จำกัด (APM) ในฐานะที่ปรึกษาทางการเงิน บริษัท เพชรศรีวิชัย เอ็นเตอร์ไพรส์ จำกัด (มหาชน) หรือ PCE เปิดเผยว่า สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (สำนักงาน ก.ล.ต.) เริ่มนับหนึ่งแบบแสดงคำขออนุญาตเสนอขายหุ้นสามัญเพิ่มทุนต่อประชาชนทั่วไปเป็นครั้งแรกการเสนอขายหลักทรัพย์ เพื่อเสนอขายหุ้นสามัญเพิ่มทุนครั้งแรกต่อประชาชน (IPO) ของ PCE เมื่อวันที่ 14 มีนาคม 2567 เป็นที่เรียบร้อยแล้ว

ด้วยประสบการณ์ในธุรกิจน้ำมันปาล์มมากกว่า 40 ปี ทำให้ PCE ได้รับการยอมรับในอุตสาหกรรมเป็นอย่างดี และด้วยวิสัยทัศน์ของ PCE ที่มุ่งมั่นและต้องการขยายธุรกิจน้ำมันปาล์มและระบบซัพพลายเชนให้ครบวงจร เพื่อรองรับการเติบในอนาคต จะเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้บริษัทเป็นผู้นำในธุรกิจและอุตสาหกรรม และสร้างความน่าสนใจให้กับนักลงทุน

นายสุพล ค้าพลอยดี กรรมการผู้จัดการ บริษัท แอสเซท โปร แมเนจเม้นท์ จำกัด (APM) ในฐานะที่ปรึกษาทางการเงิน กล่าวเสริมว่า ปัจจุบัน PCE มีทุนจดทะเบียน 2,750 ล้านบาท เป็นทุนชำระแล้ว 2,000 ล้านบาท โดยเตรียมเสนอขายหุ้นเพิ่มทุนให้กับประชาชนเป็นครั้งแรก จำนวน 750 ล้านหุ้น มูลค่าที่ตราไว้ 1 บาท ซึ่งคิดเป็น 27.27% ของจำนวนหุ้นสามัญทั้งหมดที่ออกและจำหน่ายแล้วของบริษัทภายหลังการเสนอขายหุ้นสามัญในครั้งนี้ และจะนำหุ้นสามัญทั้งหมดเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ SET กลุ่มเกษตรและอุตสาหกรรมอาหาร (AGRO) หมวดธุรกิจการเกษตร (AGRI)

นายประกิต ประสิทธิ์ศุภผล ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท เพชรศรีวิชัย เอ็นเตอร์ไพรส์ จำกัด (มหาชน) หรือ PCE เปิดเผยว่า การระดมทุนและเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ SET ถือเป็นการสร้างความเชื่อมั่นและความน่าเชื่อถือให้กับ PCE ในการต่อยอดธุรกิจพร้อมขยายโอกาสทางธุรกิจให้เติบโตต่อเนื่องและยั่งยืน นอกจากนี้ยังมีส่วนสำคัญในการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันและรองรับการขยายตัวของอุตสาหกรรมปาล์มครบวงจรในอนาคต

สำหรับวัตถุประสงค์ในการระดมทุน บริษัทจะนำไปลงทุนในกิจการอื่นที่ประกอบธุรกิจเกี่ยวเนื่องกับธุรกิจโรงงานผลิตน้ำมันไบโอดีเซล (B100) ของบริษัท เช่น โรงสกัดน้ำมันปาล์ม รวมถึงลงทุนในเครื่องจักรและอุปกรณ์ เพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิต และควบคุมต้นทุน อีกทั้งเพื่อต่อยอดหรือสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่ผลิตภัณฑ์ของบริษัท ส่วนที่เหลือใช้เป็นทุนหมุนเวียนในกิจการ

PCE ประกอบธุรกิจโดยการถือหุ้นในบริษัทอื่น (Holding Company) ในธุรกิจอุตสาหกรรมน้ำมันปาล์มแบบครบวงจร ที่มีความพร้อมการจัดการระบบซัพพลายเชน (Supply Chain) โดยแบ่งได้เป็น 1) กลุ่มธุรกิจผลิตและจำหน่ายน้ำมันปาล์ม น้ำมันไบโอดีเซล และน้ำมันปาล์มโอเลอีนเพื่อการบริโภค ซึ่งรวมถึงการซื้อน้ำมันปาล์มและผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้อง เพื่อนำมาจำหน่ายต่อให้กับลูกค้าทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศ 2) กลุ่มธุรกิจให้บริการคลังสินค้าและท่าเทียบเรือ 3) กลุ่มธุรกิจให้บริการขนส่งสินค้าทางรถ และ 4) กลุ่มธุรกิจให้บริการขนส่งสินค้าทางเรือ

“บริษัทตั้งเป้าจะเป็นผู้นำธุรกิจน้ำมันปาล์มและน้ำมันพืชอื่นแบบครบวงจร มีมาตรฐานด้านคุณภาพและบริการเป็นอันดับหนึ่งของประเทศและก้าวสู่ระดับสากล PCE มีความมุ่งมั่นที่จะสร้างการเติบโตและความยั่งยืนทางธุรกิจทั้งในปัจจุบันและอนาคต พร้อมทั้งส่งมอบบริการและสินค้าที่มีคุณภาพได้มาตรฐาน ด้วยนวัตกรรมและเทคโนโลยีที่ทันสมัย และยกระดับการบริหารจัดการองค์กรให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด ภายใต้หลักธรรมาภิบาลและความรับผิดชอบต่อสังคม” นายประกิตกล่าวเพิ่มเติม

ปัจจุบันบริษัทย่อยภายในกลุ่ม PCE ประกอบด้วย

· บริษัท นิว ไบโอดีเซล จำกัด ประกอบธุรกิจผลิตและจำหน่าย น้ำมันไบโอดีเซล น้ำมันปาล์มดิบ น้ำมันปาล์มกึ่งบริสุทธิ์ และน้ำมันพืชสำหรับการบริโภค ภายใต้ตราสินค้า “รินทิพย์”

· บริษัท ปาโก้เทรดดิ้ง จำกัด ประกอบธุรกิจซื้อขายน้ำมันปาล์มดิบ น้ำมันเมล็ดในปาล์ม เมล็ดในปาล์ม และผลิตภัณฑ์อื่นๆ จากปาล์ม โดยจัดจำหน่ายให้กับลูกค้าทั้งในและต่างประเทศ

· บริษัท พี.เค. มารีน เทรดดิ้ง จำกัด ประกอบธุรกิจให้บริการคลังสินค้าและท่าเทียบเรือ มีพื้นให้บริการกว่า 50,000 ตร.ม. และมีคลังน้ำมันจำนวน 58 แทงค์ที่สามารถรองรับปริมาณการจัดเก็บได้ถึง 240,000 ตัน โดยมีท่าเทียบเรือทั้งในจังหวัดสุราษฎร์ธานีและจังหวัดฉะเชิงเทรา (อ.บางปะกง)

· บริษัท เพชรศรีวิชัย จำกัด ประกอบธุรกิจให้บริการขนส่งสินค้าทางบกภายในประเทศซึ่งมีรถให้บริการมากกว่า 150 คัน เพื่อขนส่งน้ำมันปาล์ม รวมถึงสินค้าแห้งและอื่นๆ

· บริษัท พี.ซี. มารีน (1992) จำกัด ประกอบธุรกิจให้บริการขนส่งสินค้าทางเรือ ทั้งในและต่างประเทศ โดยมีขนาดเรือ 1,800 – 3,100 ตัน ซึ่งสามารถขนส่งได้ทั้งของแห้งและของเหลว รวม 13 ลำ

ก.ล.ต. นับหนึ่งคำขอ เพชรศรีวิชัย เอ็นเตอร์ไพรส์ หรือ “PCE” ประกอบธุรกิจโดยการถือหุ้นในบริษัทอื่น (Holding Company) กลุ่มธุรกิจหลัก คือ อุตสาหกรรมน้ำมันปาล์มแบบครบวงจร เตรียมเสนอขายหุ้น IPO 750 ล้านหุ้น ระดมทุนเดินหน้าเข้า SET ขึ้นแท่นผู้นำด้านธุรกิจน้ำมันปาล์มและระบบซัพพลายเชนครบวงจร

 

นายสมศักดิ์ ศิริชัยนฤมิตร ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท แอสเซท โปร แมเนจเม้นท์ จำกัด (APM) ในฐานะที่ปรึกษาทางการเงิน บริษัท เพชรศรีวิชัย เอ็นเตอร์ไพรส์ จำกัด (มหาชน) หรือ PCE เปิดเผยว่า สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (สำนักงาน ก.ล.ต.) เริ่มนับหนึ่งแบบแสดงคำขออนุญาตเสนอขายหุ้นสามัญเพิ่มทุนต่อประชาชนทั่วไปเป็นครั้งแรกการเสนอขายหลักทรัพย์ เพื่อเสนอขายหุ้นสามัญเพิ่มทุนครั้งแรกต่อประชาชน (IPO) ของ PCE เมื่อวันที่ 14 มีนาคม 2567 เป็นที่เรียบร้อยแล้ว

ด้วยประสบการณ์ในธุรกิจน้ำมันปาล์มมากกว่า 40 ปี ทำให้ PCE ได้รับการยอมรับในอุตสาหกรรมเป็นอย่างดี และด้วยวิสัยทัศน์ของ PCE ที่มุ่งมั่นและต้องการขยายธุรกิจน้ำมันปาล์มและระบบซัพพลายเชนให้ครบวงจร เพื่อรองรับการเติบในอนาคต จะเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้บริษัทเป็นผู้นำในธุรกิจและอุตสาหกรรม และสร้างความน่าสนใจให้กับนักลงทุน

นายสุพล ค้าพลอยดี กรรมการผู้จัดการ บริษัท แอสเซท โปร แมเนจเม้นท์ จำกัด (APM) ในฐานะที่ปรึกษาทางการเงิน กล่าวเสริมว่า ปัจจุบัน PCE มีทุนจดทะเบียน 2,750 ล้านบาท เป็นทุนชำระแล้ว 2,000 ล้านบาท โดยเตรียมเสนอขายหุ้นเพิ่มทุนให้กับประชาชนเป็นครั้งแรก จำนวน 750 ล้านหุ้น มูลค่าที่ตราไว้ 1 บาท ซึ่งคิดเป็น 27.27% ของจำนวนหุ้นสามัญทั้งหมดที่ออกและจำหน่ายแล้วของบริษัทภายหลังการเสนอขายหุ้นสามัญในครั้งนี้ และจะนำหุ้นสามัญทั้งหมดเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ SET กลุ่มเกษตรและอุตสาหกรรมอาหาร (AGRO) หมวดธุรกิจการเกษตร (AGRI)

นายประกิต ประสิทธิ์ศุภผล ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท เพชรศรีวิชัย เอ็นเตอร์ไพรส์ จำกัด (มหาชน) หรือ PCE เปิดเผยว่า การระดมทุนและเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ SET ถือเป็นการสร้างความเชื่อมั่นและความน่าเชื่อถือให้กับ PCE ในการต่อยอดธุรกิจพร้อมขยายโอกาสทางธุรกิจให้เติบโตต่อเนื่องและยั่งยืน นอกจากนี้ยังมีส่วนสำคัญในการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันและรองรับการขยายตัวของอุตสาหกรรมปาล์มครบวงจรในอนาคต

สำหรับวัตถุประสงค์ในการระดมทุน บริษัทจะนำไปลงทุนในกิจการอื่นที่ประกอบธุรกิจเกี่ยวเนื่องกับธุรกิจโรงงานผลิตน้ำมันไบโอดีเซล (B100) ของบริษัท เช่น โรงสกัดน้ำมันปาล์ม รวมถึงลงทุนในเครื่องจักรและอุปกรณ์ เพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิต และควบคุมต้นทุน อีกทั้งเพื่อต่อยอดหรือสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่ผลิตภัณฑ์ของบริษัท ส่วนที่เหลือใช้เป็นทุนหมุนเวียนในกิจการ

PCE ประกอบธุรกิจโดยการถือหุ้นในบริษัทอื่น (Holding Company) ในธุรกิจอุตสาหกรรมน้ำมันปาล์มแบบครบวงจร ที่มีความพร้อมการจัดการระบบซัพพลายเชน (Supply Chain) โดยแบ่งได้เป็น 1) กลุ่มธุรกิจผลิตและจำหน่ายน้ำมันปาล์ม น้ำมันไบโอดีเซล และน้ำมันปาล์มโอเลอีนเพื่อการบริโภค ซึ่งรวมถึงการซื้อน้ำมันปาล์มและผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้อง เพื่อนำมาจำหน่ายต่อให้กับลูกค้าทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศ 2) กลุ่มธุรกิจให้บริการคลังสินค้าและท่าเทียบเรือ 3) กลุ่มธุรกิจให้บริการขนส่งสินค้าทางรถ และ 4) กลุ่มธุรกิจให้บริการขนส่งสินค้าทางเรือ

“บริษัทตั้งเป้าจะเป็นผู้นำธุรกิจน้ำมันปาล์มและน้ำมันพืชอื่นแบบครบวงจร มีมาตรฐานด้านคุณภาพและบริการเป็นอันดับหนึ่งของประเทศและก้าวสู่ระดับสากล PCE มีความมุ่งมั่นที่จะสร้างการเติบโตและความยั่งยืนทางธุรกิจทั้งในปัจจุบันและอนาคต พร้อมทั้งส่งมอบบริการและสินค้าที่มีคุณภาพได้มาตรฐาน ด้วยนวัตกรรมและเทคโนโลยีที่ทันสมัย และยกระดับการบริหารจัดการองค์กรให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด ภายใต้หลักธรรมาภิบาลและความรับผิดชอบต่อสังคม” นายประกิตกล่าวเพิ่มเติม

ปัจจุบันบริษัทย่อยภายในกลุ่ม PCE ประกอบด้วย

· บริษัท นิว ไบโอดีเซล จำกัด ประกอบธุรกิจผลิตและจำหน่าย น้ำมันไบโอดีเซล น้ำมันปาล์มดิบ น้ำมันปาล์มกึ่งบริสุทธิ์ และน้ำมันพืชสำหรับการบริโภค ภายใต้ตราสินค้า “รินทิพย์”

· บริษัท ปาโก้เทรดดิ้ง จำกัด ประกอบธุรกิจซื้อขายน้ำมันปาล์มดิบ น้ำมันเมล็ดในปาล์ม เมล็ดในปาล์ม และผลิตภัณฑ์อื่นๆ จากปาล์ม โดยจัดจำหน่ายให้กับลูกค้าทั้งในและต่างประเทศ

· บริษัท พี.เค. มารีน เทรดดิ้ง จำกัด ประกอบธุรกิจให้บริการคลังสินค้าและท่าเทียบเรือ มีพื้นให้บริการกว่า 50,000 ตร.ม. และมีคลังน้ำมันจำนวน 58 แทงค์ที่สามารถรองรับปริมาณการจัดเก็บได้ถึง 240,000 ตัน โดยมีท่าเทียบเรือทั้งในจังหวัดสุราษฎร์ธานีและจังหวัดฉะเชิงเทรา (อ.บางปะกง)

· บริษัท เพชรศรีวิชัย จำกัด ประกอบธุรกิจให้บริการขนส่งสินค้าทางบกภายในประเทศซึ่งมีรถให้บริการมากกว่า 150 คัน เพื่อขนส่งน้ำมันปาล์ม รวมถึงสินค้าแห้งและอื่นๆ

· บริษัท พี.ซี. มารีน (1992) จำกัด ประกอบธุรกิจให้บริการขนส่งสินค้าทางเรือ ทั้งในและต่างประเทศ โดยมีขนาดเรือ 1,800 – 3,100 ตัน ซึ่งสามารถขนส่งได้ทั้งของแห้งและของเหลว รวม 13 ลำ

มูลนิธิรามาธิบดี ในพระราชูปถัมภ์ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ตอกย้ำบทบาทของการเป็นสะพานบุญแห่ง ‘การให้’ สานต่อภารกิจเพื่อสนับสนุนการดำเนินงานของโรงพยาบาลรามาธิบดี เดินหน้าโครงการใหม่ “รามา+1 เพิ่มพื้นที่ บวกความหวัง” ชวนคนไทยร่วมส่งพลังบวก 1 เพื่อเพิ่มพื้นที่รองรับผู้ป่วยและขยายศักยภาพการรักษา พร้อมเปิดตัวภาพยนตร์ประชาสัมพันธ์ชุดใหม่จากเรื่องราวของ “ความหวัง” เดินหน้าระดมทุนให้แก่โครงการอาคารโรงพยาบาลรามาธิบดี และย่านนวัตกรรมโยธี เพื่อเพิ่มพื้นที่และยกระดับศักยภาพการให้บริการทางการแพทย์แก่ประชาชนชาวไทย พร้อมผลักดันระบบสาธารณสุขไทยให้เท่าทันสภาวการณ์แห่งการเปลี่ยนผ่านสู่ยุคดิจิทัล

ศ.คลินิก นพ.อาทิตย์ อังกานนท์’ คณบดีคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี และประธานคณะกรรมการบริหารมูลนิธิรามาธิบดีฯ กล่าวว่า “เกือบ 60 ปีที่คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดีเปิดให้บริการในฐานะโรงพยาบาลที่เปรียบเสมือน ‘ที่พึ่ง’ ของคนไทย พร้อมบทบาทด้านการผลิตบุคลากรทางการแพทย์เข้าสู่ระบบสาธารณสุข และด้านการวิจัยและพัฒนาองค์ความรู้ทางการแพทย์เพื่อการรักษา โดยครอบคลุมทั้งงานวิจัยขั้นพื้นฐานด้านการหาตัวยาใหม่เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพและเพิ่มการเข้าถึงตัวยาได้มากขึ้น ไปจนถึงการคิดค้นแนวทางการรักษารูปแบบใหม่สู่การเป็นต้นแบบของการรักษาโดยเฉพาะการรักษาโรคที่มีความซับซ้อน โครงการอาคารโรงพยาบาลรามาธิบดี และย่านนวัตกรรมโยธี ถือเป็นโครงการที่ไม่เพียงเพิ่มพื้นที่ในการรักษาที่รองรับนวัตกรรมทางการแพทย์ล้ำสมัยเท่านั้น แต่มีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนและสนับสนุนพันธกิจของคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดีอย่างครอบคลุมในทุกมิติ เพื่อผลักดันระบบการแพทย์ไทยให้ก้าวหน้าต่อไป”

 

รศ.นพ.ชูศักดิ์ กิจคุณาเสถียร รองคณบดีฝ่ายนโยบายและแผน คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี กล่าวเสริมว่า “โครงการอาคารโรงพยาบาลรามาธิบดี และย่านนวัตกรรมโยธี จะเอื้อประโยชน์ต่อการบูรณาการและสร้างเครือข่ายความร่วมมือทางการแพทย์และวิทยาศาสตร์สุขภาพเพื่อผลักดันการสร้างสรรค์และต่อยอดนวัตกรรมทางการแพทย์ที่สามารถเพิ่มศักยภาพทางการรักษาต่อไปในอนาคต โดยจะมีการนำนวัตกรรมทางการแพทย์หลากหลายประเภทเข้ามาให้บริการทางการแพทย์รวมถึงพัฒนาด้านระบบภายในโรงพยาบาลเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการให้บริการทางการแพทย์ที่ดียิ่งขึ้น ไม่ว่าจะเป็นเทคโนโลยีดิจิทัลในการบันทึกข้อมูลของผู้ป่วยและการจัดการข้อมูลทางการแพทย์ เครื่องมือช่วยในการรักษาทางการแพทย์ด้วยเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ หรือ AI (Artificial intelligence) เช่น การใช้หุ่นยนต์ช่วยผ่าตัดเพื่อช่วยลดระยะเวลาการทำงานของบุคลากรทางการแพทย์ลงและลดระยะเวลาของการพักฟื้นของผู้ป่วย รวมถึงลดอาการบาดเจ็บและลดโอกาสการเกิดภาวะแทรกซ้อนของการผ่าตัด นอกจากนี้ โรงพยาบาลรามาธิบดีแห่งใหม่ยังให้ความสำคัญกับการลดระยะเวลาในการรอรับบริการของผู้ป่วย เช่น การใช้เทคโนโลยี AI เข้ามาช่วยในการจ่ายยา”

คุณพรรณสิรี คุณากรไพบูลย์ศิริ ผู้จัดการมูลนิธิรามาธิบดีฯ กล่าวว่า “มูลนิธิรามาธิบดีฯ เดินหน้าผลักดันความก้าวหน้าทางการแพทย์ควบคู่ไปกับการสร้างโอกาสให้ประชาชนไทยสามารถเข้าถึงบริการทางการแพทย์ได้อย่างทั่วถึง พร้อมเปิดตัวโครงการ “รามา+1 เพิ่มพื้นที่ บวกความหวัง” และภาพยนตร์ประชาสัมพันธ์ชุดใหม่จากเรื่องราวของ “ความหวัง” เป็นไปเพื่อวัตถุประสงค์ในการช่วยระดมทุนให้แก่โครงการอาคารโรงพยาบาลรามาธิบดี และย่านนวัตกรรมโยธี ซึ่งถือเป็นภารกิจสำคัญในปีนี้และอย่างน้อยอีก 7 ปีข้างหน้า การสื่อสารภายใต้โครงการ “รามา+1 เพิ่ม

พื้นที่ บวกความหวัง” สะท้อนให้เห็นว่า มูลนิธิรามาธิบดีฯ นั้นตระหนักถึงพลังของการให้ และขอบคุณทุกน้ำใจที่ส่งต่อความช่วยเหลือและสร้างความหวังร่วมกันมาโดยตลอด จึงขอเชิญชวนทุกคนมาร่วมเป็นพลังบวกหนึ่งในการสร้างโรงพยาบาลรามาธิบดี และย่านนวัตกรรมโยธี ซึ่งอาคารแห่งนี้จะดูแลผู้ป่วยที่ใช้สิทธิรักษาเบิกจ่ายประกันสังคม และสิทธิพื้นฐานต่าง ๆ”

ภายในงานแถลงข่าว ฐิสา-วริฏฐิสา ลิ้มธรรมมหิศร ตัวแทนนักแสดงจิตอาสาร่วมแบ่งปันมุมมองในเรื่อง “ความหวัง” พร้อมเชิญชวนแฟนคลับร่วมซื้อเสื้อยืดสุขใจ เพื่อระดมทุนเข้าโครงการฯ และสร้างการเปลี่ยนแปลงที่ดีในอนาคตร่วมกัน พร้อมด้วยการเปิดตัวกิจกรรม “#A4SpaceChallenge” ชวนทำคอนเทนต์ที่สะท้อนถึงพื้นที่ที่มีอยู่จำกัดในอาคารเก่าและแสดงให้เห็นถึงความจำเป็นการก่อสร้างอาคารใหม่ของโรงพยาบาลรามาธิบดี โดยวิธีการเล่นคือ จับกลุ่ม 4 คนมายืนด้วยกันบนกระดาษ A4 ให้ครบ 10 วินาที และร่วมกันท้าต่อเพื่อน ๆ ให้เล่นชาเลนจ์นี้ต่อ เพื่อเป็นการประชาสัมพันธ์เชิญชวนบริจาคเงินให้โครงการอาคารโรงพยาบาลรามาธิบดี และย่านนวัตกรรมโยธี โดยทุกคนสามารถร่วมทำชาเลนจ์แล้วโพสต์รูปหรือคลิปลงในโซเชียลมีเดียพร้อมแทค #A4SpaceChallenge ได้แล้วตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป

 

โครงการอาคารโรงพยาบาลรามาธิบดี และย่านนวัตกรรมโยธี ออกแบบภายใต้แนวคิด “เข้าใจเขา เข้าใจเรา เข้าใจทุก(ข์)คน” เพื่อตอบโจทย์ความต้องการทั้งผู้ป่วยและบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงการแก้ไขปัญหาด้านความแออัดของพื้นที่อาคารเดิม โดยตั้งเป้าหมายการระดมทุนเพิ่มเติมจากการสนับสนุนของภาครัฐบาลรวมจำนวน 9,000 ล้านบาท เพื่อนำไปใช้ดำเนินการก่อสร้างอาคารโรงพยาบาลและการจัดซื้อเครื่องมือทางการแพทย์ที่ทันสมัยจำนวนมาก ซึ่งคาดว่าจะแล้วเสร็จในปี 2573

มูลนิธิรามาธิบดีฯ ขอเชิญชวนประชาชนผู้มีจิตศรัทธาร่วมเป็นพลังบวกหนึ่งกับโครงการ “รามา+1 เพิ่มพื้นที่ บวกความหวัง” ด้วยการบริจาคเงินสมทบทุนก่อสร้างโครงการอาคารโรงพยาบาลรามาธิบดี และย่านนวัตกรรมโยธี

cWallet แพลทฟอร์มจัดการคาร์บอน สตาร์ทอัพด้าน Climate tech ปิดรอบการระดม ทุนนำโดย LHM Venture และ Angel investors

จับมือ 2 พาร์ทเนอร์ยักษ์ใหญ่ กรุงศรี ฟินโนเวต และ เทค แมทริกซ์ เร่งพัฒนาโซลูชั่นขยายตลาด มุ่งสู่การเป็นเทคสตาร์ทอัพที่เติบโตอย่างยั่งยืน

X

Right Click

No right click