November 23, 2024

ด้วยปัญหาการขาดแคลนบุคลากรบวกกับปริมาณงานที่เพิ่มมากขึ้น และความผันผวนทางเศรษฐกิจล้วนเป็นปัจจัยสำคัญที่ท้าทายผู้ให้บริการทางสาธารณสุขทั่วโลกในการพัฒนาประสิทธิภาพในการดำเนินงานและคิดค้นรูปแบบการดูแลรักษาผู้ป่วยใหม่ๆ ในขณะเดียวกัน ผู้บริหารแถวหน้าในวงการสาธารณสุขยังตระหนักถึงความรับผิดชอบต่อสังคมมากขึ้น ด้วยการหันมาให้ความสำคัญกับการยกระดับความเท่าเทียมด้านการเข้าถึงระบบสาธารณสุข ตลอดจนความจำเป็นในการลดก๊าซคาร์บอนในอุตสาหกรรมเพื่อการรักษาสุขภาพของโลกเช่นเดียวกัน

เพื่อเป็นการตอบสนองต่อความท้าทายดังกล่าว ฟิลิปส์จึงได้รวบรวม 10 เทรนด์เทคโนโลยีสาธารณสุขที่คาดว่าจะมาแรงในปี ค.ศ. 2024 นี้

 

1.การเพิ่มประสิทธิภาพระบบการทำงานอัตโนมัติ (Workflow Automation) ด้วยปัญญาประดิษฐ์ (AI)

ปัจจุบันองค์กรด้านสาธารณสุขต้องเผชิญกับภาวะการขาดแคลนบุคลากรอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้องค์กรเหล่านี้ต้องปรับกลยุทธ์การทำงาน เพื่อดึงดูดบุคลากรใหม่ๆ และดูแลบุคลากรเดิมในองค์กร ด้วยการเพิ่มความยืดหยุ่นให้แก่บุคลากรทางการแพทย์ที่มองหาสมดุลระหว่างชีวิตการทำงานที่ดีขึ้น นอกจากนี้ภายในองค์กรยังหันมาใช้ระบบการทำงานอัตโนมัติและ AI เพิ่มขึ้น เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานและแบ่งเบาภาระงานของบุคลากรทางการแพทย์

ยกตัวอย่างเช่น ในด้านรังสีวินิจฉัย (Diagnostic Imaging) การบูรณาการ AI ให้เข้ากับระบบเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT) จะช่วยลดเวลาการทำงานในขั้นตอนที่ใช้เวลามากที่สุดของนักรังสีการแพทย์ เพื่อให้พวกเขาได้ใช้เวลากับผู้ป่วยมากขึ้น ด้วยการใช้ AI สร้างภาพถ่ายรังสีที่มีคุณภาพสูง เพื่อช่วยในการวินิจฉัยได้อย่างแม่นยำขึ้น นอกจากนี้ AI ยังช่วยลดความซับซ้อนของ การอัลตราซาวด์หัวใจ ด้วยการจำลองภาพหัวใจแบบ 3 มิติรวมถึงการประเมินแบบอัตโนมัติในอวัยวะอื่นๆ ซึ่งจะช่วยให้นักรังสีการแพทย์สามารถวิเคราะห์ภาพถ่ายได้อย่างแม่นยำ รวมถึงช่วยให้แพทย์มีแนวทางการดูแลรักษาหัวใจได้ดียิ่งขึ้น และในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า ระบบอัตโนมัติจะได้รับการส่งเสริมเพิ่มเติมจากการเพิ่มขึ้นของ Generative AI ในด้านสาธารณสุข

 

2. การทำงานร่วมกันแบบเสมือนเพื่อจัดการกับปัญหาการขาดแคลนบุคลากรและทักษะความรู้ความเชี่ยวชาญ

เทรนด์ของเทคโนโลยีด้านสาธารณสุขที่ควบคู่ไปกับระบบอัตโนมัติคือการทำงานร่วมกันแบบเสมือนเพื่อลดผลกระทบของการขาดแคลนบุคลากรและทักษะความรู้ความเชี่ยวชาญ การเติบโตที่คาดหวังในด้านนี้มีประโยชน์เพิ่มเติมในการปรับปรุงการเข้าถึงการดูแลในพื้นที่ห่างไกลและในชนบท ที่ซึ่งบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านมีแนวโน้มที่จะขาดแคลนเป็นพิเศษ

ระบบ Tele-ICU (เทเล-ไอซียู) จะยังคงถูกนำมาใช้งานอย่างต่อเนื่อง โดยผู้ให้บริการด้านสาธารณสุขจะยิ่งมองหาระบบบูรณาการเพื่อดูแลผู้ป่วยข้างเตียงแบบเสมือนจริงที่ไร้รอยต่อ เจ้าหน้าที่และพยาบาลสามารถดูแลผู้ป่วยวิกฤติแบบทางไกลได้ โดยมีระบบเฝ้าระวังและแจ้งเตือนอัตโนมัติที่ทำงานด้วย AI สามารถลดภาระงานของเจ้าหน้าที่ในพื้นที่ได้ แม้ว่าบุคลากรทางการแพทย์จะมีอายุมากขึ้น แต่รูปแบบการทำงานเสมือนจริงนี้จะช่วยให้พวกเขาสามารถถ่ายทอดประสบการณ์และความเชี่ยวชาญต่างๆให้แก่บุคลากรทางการแพทย์รุ่นน้องได้เป็นอย่างดี ซึ่งถือเป็นการรักษาองค์ความรู้ความเชี่ยวชาญให้คงอยู่ต่อไป เนื่องด้วยสถานการณ์ที่แพทย์จำนวนมากเลือกที่จะเกษียณอายุก่อนกำหนดมากขึ้น รวมถึงกลุ่มพยาบาลเองก็มีแผนที่จะลาออกจากระบบสาธารณสุข อีกด้วย

3. ารทำงานร่วมกันแบการวินิจฉัยแบบบูรณาการที่สนับสนุนกบสหวิทยาการ ความก้าวหน้าในการวินิจฉัยแบบบูรณาการจะช่วยให้ผู้เชี่ยวชาญด้านสาธารณสุขในต่างสาขาสามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลผู้ป่วยได้ง่ายขึ้น เพื่อช่วยให้พวกเขาทำงานร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพและมีประสิทธิผลมากขึ้น เปรียบเหมือนกับเป็นการสร้าง 'ห้องนักบิน' ที่ใช้ทำงานร่วมกัน เป็นที่ซึ่งรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องกันจากโดเมนต่างๆ ในสภาพแวดล้อมดิจิทัลของ Vendor-agnostic เพื่อสนับสนุนการวินิจฉัยที่รวดเร็วและแม่นยำสำหรับผู้ป่วยยกตัวอย่างเช่น ในเคสผู้ป่วยโรคมะเร็งการได้รับการวินิจฉัยที่ตรงจุดแต่เนิ่นๆ จะช่วยให้การรักษาเห็นผลลัพธ์ที่ดีมากขึ้น ทั้งนี้ผู้เชี่ยวชาญในสาขาต่างๆ ยังได้รับข้อมูลเชิงลึกเพิ่มเติมว่าการค้นพบของพวกเขามีความสอดคล้องกันมากเพียงใด ทำให้เกิดวงจรความคิดเห็นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งสามารถช่วยเพิ่มประสิทธิภาพกระบวนการวินิจฉัยให้ดียิ่งขึ้นได้

4. ยกระดับการทำงานร่วมกัน เพื่อการติดตามและการประสานการดูแลที่ดียิ่งขึ้น

ความสามารถในการทำงานร่วมกันเป็นความท้าทายที่เกิดขึ้นในด้านสาธารณสุขมาอย่างยาวนาน โดยเกิดจากความซับซ้อนและกระจัดกระจายของเทคโนโลยีสารสนเทศด้านสุขภาพและโครงสร้างพื้นฐานข้อมูลด้านการดูแลสุขภาพส่วนใหญ่ ผู้บริหารในวงการสาธารณสุข บนรายงาน Future Health Index (FHI) ของฟิลิปส์ปี 2023 ระบุว่ารายงานนี้เป็นหนึ่งในสี่ปัจจัยแห่งความสำเร็จอันดับต้นๆ ในการมอบแนวทางใหม่ๆในการดูแลที่ผสมผสานการดูแลแบบตัวต่อตัวและแบบเสมือนจริงในทุกสภาพแวดล้อม

ความสามารถในการทำงานร่วมกันแบบใหม่สามารถรวบรวมอุปกรณ์และระบบทางการแพทย์ที่แตกต่างกันมาไว้ในอินเทอร์เฟซเดียวกันเพื่อสร้างมุมมองภาพรวมที่ครอบคลุมเกี่ยวกับอาการของผู้ป่วย ซึ่งจะช่วยให้ผู้ดูแลสามารถให้คำแนะนำการรักษาได้อย่างมั่นใจได้จากทุกที่ในโรงพยาบาล ช่วยลดความผันผวนที่เกิดจากภาวะข้อมูลที่มีมากเกินไป โดยนวัตกรรมล่าสุดอย่างภาพเสมือนของผู้ป่วยแบบอวตาร สามารถให้ข้อมูลเชิงลึกเพิ่มเติม โดยการแปลข้อมูลผู้ป่วยที่สำคัญแต่ซับซ้อนให้เป็นจอแสดงผลที่เข้าใจง่าย

5. การตรวจจับความเสี่ยงตั้งแต่เนิ่นๆ และการแทรกแซงโดยอาศัยการวิเคราะห์เชิงคาดการณ์

การวิเคราะห์เชิงคาดการณ์ถือเป็นหนึ่งในเทรนด์ของเทคโนโลยีด้านสาธารณสุขในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา โดยการได้รับข้อมูลเชิงลึกด้านการปฏิบัติงานและทางคลินิกจากข้อมูลแบบเรียลไทม์และข้อมูลในอดีต การวิเคราะห์เชิงคาดการณ์สามารถช่วยให้ผู้ให้บริการด้านสาธารณสุขปรับปรุงประสิทธิภาพและดำเนินการเตรียมรับมือล่วงหน้าได้ รายงาน Future Health Index (FHI) ของฟิลิปส์ปี 2023 แสดงให้เห็นว่าผู้บริหารในวงการสาธารณสุข 39% วางแผนอย่างไรที่จะลงทุนใน AI เพื่อคาดการณ์ผลลัพธ์ซึ่งเพิ่มขึ้นจาก 30% ในปี 2021

ในปัจจุบัน การวิเคราะห์เชิงคาดการณ์ช่วยให้ผู้ให้บริการด้านสาธารณสุขคาดการณ์และบริหารจัดการกระบวนการไหลของผู้ป่วยในแต่ละจุดบริการภายในสถานบริการ ซึ่งช่วยให้พวกเขาสามารถบริหารทรัพยากรบุคลากรในตำแหน่งที่ต้องการมากที่สุดได้ ความสามารถเหล่านี้ได้รับการพิสูจน์แล้วว่ามีความสำคัญโดยเฉพาะในช่วงที่เกิดวิกฤต (เช่น การแพร่ระบาดของโควิด-19) และตอนนี้กำลังกลายเป็นส่วนสำคัญในการดำเนินงานของโรงพยาบาล ที่ขับเคลื่อนด้วยข้อมูล ด้วยการตรวจสอบอุปกรณ์ทางการแพทย์อย่างต่อเนื่อง เช่น เครื่องสแกน MR การวิเคราะห์เชิงคาดการณ์ยังช่วยระบุได้อีกด้วยว่า อุปกรณ์ฮาร์ดแวร์บางอย่างถึงเวลาที่ต้องตรวจเช็คบำรุงหรือเปลี่ยนใหม่แล้ว ซึ่งทำให้ 30% ของเคสการให้บริการ สามารถแก้ไขได้และยังช่วยป้องกันเหตุไม่คาดฝันจากกรณีที่อุปกรณ์หยุดทำงานในระหว่างการตรวจได้เช่นเดียวกันกับในทางด้านคลินิก การวิเคราะห์เชิงคาดการณ์สามารถรองรับการตรวจหาความเสี่ยงด้านสุขภาพของผู้ป่วยได้ตั้งแต่เนิ่นๆ โดยพิจารณาจากสัญญาณชีพและข้อมูลผู้ป่วยรายอื่นประกอบกัน ความสามารถเหล่านี้เป็นประโยชน์อย่างยิ่งในการดูแลผู้ป่วยระยะเฉียบพลัน ซึ่งอาจเกิดโรคแทรกซ้อนได้ในระยะนี้ การวิเคราะห์เชิงคาดการณ์ยังสามารถช่วยดูแลผู้ป่วยที่บ้านผ่านการระบบทางไกล ตัวอย่างเช่น ในการศึกษาหนึ่งแสดงให้เห็นว่า ระบบนี้สามารถใช้เพื่อช่วยทำนายภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะที่อาจทำให้เสียชีวิตได้ ด้วยการตรวจจับความเสี่ยงตั้งแต่เนิ่นๆ การวิเคราะห์เชิงคาดการณ์สามารถเปลี่ยนจากการดูแลเชิงรับเป็นการดูแลเชิงป้องกัน ซึ่งท้ายที่สุดแล้วส่งผลให้อาการของผู้ป่วยดีขึ้นได้

6. การใช้เทคโนโลยีจัดการปัญหาความเหลื่อมล้ำด้านสุขภาพ

ยังคงมีประชากรหลายพันล้านคนทั่วโลกที่ไม่สามารถเข้าถึงการให้บริการทางสาธารณะสุขที่พวกเขาต้องการได้ แม้กระทั่งในประเทศที่มีทุนสนับสนุนเครื่องมือแพทย์เป็นอย่างดี ความเหลื่อมล้ำด้านสุขภาพยังคงเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ ความต้องการในเรื่องของ ระบบสาธารณสุขที่เท่าเทียมและยั่งยืน ไม่เคยกลายมาเป็นเรื่องเร่งด่วนมากเท่านี้มาก่อน ด้วยความร่วมมือกับองค์กร Heart of Australia ภายใต้โครงการโรงพยาบาลเคลื่อนที่ (Hospital on wheels) ได้นำ การถ่ายภาพรังสีวินิจฉัย เช่น X-ray และ เอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT) ให้เข้าถึงในพื้นที่ห่างไกลได้มากขึ้น

7. เทคโนโลยีอัจฉริยะที่ช่วยสร้างกิจวัตรประจำวันที่ดีต่อสุขภาพ

เป็นเวลามากกว่า 15 ปีแล้วที่เทคโนโลยีอย่างสมาร์ทวอทช์ทำให้การออกกำลังกายเป็นกิจวัตรเพื่อสุขภาพที่ได้รับความนิยมมากขึ้นอย่างแพร่หลาย และยังก่อให้เกิดอุปกรณ์อัจฉริยะเพื่อสุขภาพที่มีความหลากหลายมากขึ้นตามมา อีกทั้งอุปกรณ์เหล่านี้ยังสามารถตรวจจับสัญญาณชีพจรได้อีกด้วย[1,2]- ซึ่ง แสดงให้เห็นว่าผู้คนมีความต้องการเทคโนโลยีด้านสาธารณสุขที่สามารถเข้ากับการใช้ชีวิตประจำวันได้อย่างลงตัวและสามารถปรับแต่งตามความชอบและความต้องการของผู้ใช้งานได้ ในปี 2024 นี้มีคาดการณ์ว่าแนวโน้มเทรนด์ของเทคโนโลยีด้านเฮทล์แคร์ยังคงขยายตัวขึ้นเรื่อยๆและผลักดันพฤติกรรมที่ดีต่อสุขภาพมากขึ้น เช่น ส่งเสริมให้ผู้คนดูแลสุขภาพช่องปากเป็นประจำ เป็นที่ทราบกันดีว่า [3] สุขภาพช่องปากมีความสำคัญต่อสุขภาพโดยรวม ในขณะที่ผู้คนต้องการที่จะดูแลสุขภาพความเป็นอยู่ของตนเองให้ดีขึ้น แต่ยังคงขาดความเข้าใจและความมุ่งมั่นในการดูแลสุขอนามัยของช่องปากในแต่ละวัน จึงต้องมีการให้คำแนะนำในเรื่องนี้โดย แปรงสีฟันไฟฟ้าใช้งานผ่านAIที่เชื่อมต่อบนแอปพลิเคชั่น สามารถรวบรวมข้อมูลการแปรงฟันและเสนอคำแนะนำส่วนบุคคลเพื่อที่ผู้ใช้งานสามารถนำไปปรับใช้ได้

8. จัดการกับผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมของไอทีด้านการดูแลสุขภาพ

จากเทรนด์เทคโนโลยีด้านสาธารณสุขที่กล่าวมาทั้งหมดแสดงให้เห็นว่า การเปลี่ยนแปลงเข้าสู่ระบบดิจิทัลได้สร้างพื้นที่มหาศาลสำหรับการส่งมอบการดูแลที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลมากขึ้นด้วยการใช้การตัดสินใจทางคลินิกแบบอัลกอริธึมและการวิเคราะห์เชิงคาดการณ์ เช่น เราสามารถใช้ข้อมูลเพื่อส่งมอบข้อมูลเชิงลึกเฉพาะบุคคล ที่สามารถนำไปปฏิบัติได้ เช่น การแจ้งเตือนทีมดูแลผู้ป่วยฉุกเฉินถึงปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้น หรือ สอนการส่งเสริมพฤติกรรมที่ดีต่อสุขภาพผ่านแอปพลิเคชั่น

วิธีแก้ปัญหาแบบดิจิทัลสามารถปรับขยายได้อย่างชัดเจน ดังนั้นจึงช่วยสนับสนุนการป้องกันในวงกว้างขึ้น รวมถึงช่วยปรับค่าใช้จ่ายในการตรวจคัดกรองและการดูแลให้ลดลงได้ และยังช่วยปรับรูปแบบการดูแลเช่นเดียวกับสถานพยาบาลขนาดใหญ่ให้เข้ากับการดูแลภายในบ้านได้ซึ่งช่วยลดค่าใช้จ่ายบางส่วนลงได้ เพราะในปัจจุบันยังมีผู้คนจำนวนว่า 3.5 พันล้านคนทั่วโลกที่ยังไม่สามารถเข้าถึงระบบสาธารณสุขได้ ดังนั้นเทคโนโลยีการดูแลสุขภาพแบบดิจิทัลจึงมีส่วนช่วยขยายการเข้าถึงโมเดลการดูแลสุขภาพที่ยั่งยืนซึ่งเป็นที่ต้องการอย่างมากได้ เป็นเรื่องที่น่ายินดีอย่างยิ่งที่ได้เห็นถึงแนวโน้มของการเติบโตของบริษัทเทคโนโลยีเพื่อสุขภาพ เครื่องมือแพทย์ ซัพพลายเออร์และผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียอื่นๆทำงานร่วมกันเพื่อให้แน่ใจว่าได้ตัดสินใจถูกต้องเพื่อลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมของไอทีด้านการดูแลสุขภาพที่กำลังดำเนินอยู่ในปี 2024 และในปีต่อๆไป

9. การปรับเปลี่ยนภูมิทัศน์ของระบบซัพพลายด์ด้านสาธารณสุขที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

เพื่อตอบสนองความเร่งด่วนในการลดการปล่อยคาร์บอนในด้านสาธารณสุข เรามองเห็นแนวโน้มที่เป็นไปได้มากขึ้นของบริษัทเทคโนโลยีเพื่อสุขภาพ ระบบสาธารณสุขและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอื่นๆที่ร่วมกันขับเคลื่อนการทำงานที่ยั่งยืนในทุกภาคส่วนของระบบสาธารณสุข รวมไปถึงด้านการจัดการ นวัตกรรม การบริการและการส่งมอบ โดยการเปลี่ยนแปลงด้านความยั่งยืนที่มีผลกระทบมากที่สุดประการหนึ่งกำลังเกิดขึ้นในด้านการจัดซื้อจัดจ้าง ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากการขยายข้อกำหนดการเปิดเผยข้อมูล ESG ทั่วโลกอย่างมีนัยสำคัญ การจัดซื้อที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมจะเปลี่ยนภูมิทัศน์ด้านการจัดหา การดูแลสุขภาพจะเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า โดยคาดหวังว่าฝ่ายจัดซื้อจะใช้เกณฑ์การประเมินลำดับความสําคัญในการจัดหาอุปกรณ์ทางการแพทย์และวิธีการแก้ปัญหาของเทคโนโลยีด้านสาธารณสุข เช่น อุปกรณ์ที่พัฒนาโดยPhilips

1. ตรวจสอบให้แน่ใจว่าซัพพลายเออร์มีการรายงานผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมและวางแผนการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก

2. มุ่งเน้นการหมุนเวียนอุปกรณ์เทคโนโลยีด้านสาธารณสุขและด้านโซลูชั่น

3. กำหนดให้ซัพพลายเออร์มีความโปร่งใสเกี่ยวกับประสิทธิภาพของผลิตภัณฑ์และEcoDesignสำหรับผลิตภัณฑ์และอุปกรณ์

4. กำหนดให้ซัพพลายเออร์สาธิตวิธีที่ข้อเสนอดิจิทัลสนับสนุนการลดคาร์บอนและการลดการใช้วัสดุวัตถุโดยการเพิ่มประสิทธิภาพทรัพยากรและประสิทธิภาพเวิร์กโฟลว์

5. กําหนดให้ซัพพลายเออร์รายงานผลกระทบทางสังคมต่อสาธารณะ

นับจากนี้เป็นต้นไป การใช้มาตรฐานการจัดซื้อที่ยั่งยืนเช่นนี้จะเป็นกลยุทธ์ที่จำเป็นสำหรับบริษัทเครื่องมือแพทย์และรัฐบาลที่ต้องการบรรเทาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ ควบคู่ไปกับการปกป้องสุขภาพของมนุษย์และส่งเสริมความเสมอภาคด้านการดูแลสุขภาพ

10. ร่วมมือกันเพื่อลดผลกระทบด้านสาธารณสุขบนโลก

ระบบสาธารณสุขเป็นส่วนหนึ่งของห่วงโซ่คุณค่าที่กว้างขึ้น-เริ่มตั้งแต่อุตสาหกรรมต้นน้ำไปจนถึงการดำเนินงาน, โลจิสติกส์ ระยะการใช้งานและสิ้นสุดระยะการใช้งานที่ปลายน้ำ ซึ่งมีผลกระทบอย่างมากต่อ ความหลากหลายทางชีวภาพ ผ่านการใช้ประโยชน์จากที่ดิน มลพิษ การบริโภคและการปล่อยก๊าซเรือนกระจก  เนื่องจากมีการตระหนักอย่างเป็นวงกว้างถึงผลกระทบต่อสุขภาพของสิ่งแวดล้อมที่มีต่อสุขภาพของผู้คน จึงจะเห็นแนวโน้มอย่างต่อเนื่องของระบบสาธารณสุขที่นำกลยุทธ์มาใช้อย่างแข็งขันในการลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม เช่น การเปลี่ยนมาใช้เทคโนโลยีด้านสาธารณสุขที่ใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพและวิธีแก้ปัญหาดิจิทัลอัจฉริยะหรือการปรับใช้เป้าหมายตามหลักวิทยาศาสตร์ในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก-เป้าหมายบังคับสําหรับบริษัททั้งหมดในแคลิฟอร์เนียที่มีมูลค่ามากกว่า1พันล้านเหรียญสหรัฐภายในปี 2025

อย่างไรก็ตามความเสี่ยงทางธรรมชาติที่ขยายเพิ่มมากขึ้นอาจถูกมองข้ามเนื่องจากองค์กรเชื่อว่าผลกระทบทางการเงินของความเสี่ยงด้านสภาพภูมิอากาศมีมากกว่าความเสี่ยงเช่น การตัดไม้ทําลายป่าหรือการสูบน้ำ ซึ่งอย่างหลังมีผลกระทบร้ายแรงต่อสุขภาพของประชากร ดังนั้นจึงมีการคาดหวังที่จะเห็นแนวโน้มที่เพิ่มขึ้นในการนำ ‘การประเมินต้นทุนทางธรรมชาติ’ มาใช้เพื่อสนับสนุนการตัดสินใจให้ดีขึ้นเกี่ยวกับการจัดการการใช้ทรัพยากรและบริษัทต่างๆที่ทุ่มเทเพื่อให้บรรลุเป้าหมายตามหลักวิทยาศาสตร์เพื่อธรรมชาติที่ฟิลิปส์ได้มีการพัฒนาโปรแกรมเพื่อเพิ่มมูลค่าทางนิเวศวิทยาของร่องรอยผลกระทบจากการผลิต

ในเดือนกุมภาพันธ์ 2022 Morgan Stanley รายงานไว้ว่า ‘ไม่ต้องสงสัยเลยว่าวิกฤตปัญหาน้ำที่เพิ่มขึ้นจำเป็นต่อทุกอุตสาหกรรมที่ควรต้องทบทวนเกี่ยวกับการใช้น้ำ’ ฟิลิปส์ไม่ใช่บริษัทที่มีการใช้น้ำมาก อย่างไรก็ตามเนื่องจากโรงงานผลิตหลายแห่งของเราตั้งอยู่ในภูมิภาคที่มีปัญหาเรื่องน้ำจึงได้ริเริ่มโครงการลดปริมาณการใช้น้ำทั้งหมดลง 5% จากระดับปริมาณน้ำในปี 2019

 มุมมองจากทั่วโลก รอยเท้าความหลากหลายทางชีวภาพขององค์กรเดียวอาจไม่ใหญ่มากนัก แต่แตกต่างจากการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่เมื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเพียงอย่างเดียวจะมีผลโดยตรงและการฟื้นฟูระบบนิเวศจะมีประสิทธิภาพมากขึ้นหากเริ่มการกระจายตัวของพื้นที่รวมเข้าด้วยกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านนี้ การทํางานร่วมกันตลอดห่วงโซ่คุณค่าเป็นสิ่งสําคัญ

กรุงเทพฯ 17 มกราคม 2567 – โรงพยาบาลวิมุต โรงพยาบาลเอกชนชั้นนำใจกลางกรุงเทพฯ เปิดศักราชใหม่ปี 2567 ประกาศเดินหน้ายกระดับการดูแลรักษาสุขภาพแบบองค์รวมเพื่อช่วยแก้ปัญหาด้านสุขภาพอย่างมีประสิทธิภาพ และครอบคลุม ภายใต้กลยุทธ์ “Outside In” มุ่งเน้นการขับเคลื่อนธุรกิจเฮลท์แคร์ที่ตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์และความต้องการของผู้ใช้บริการยิ่งขึ้น ตลอดจนเทรนด์สุขภาพยุคใหม่อย่างต่อเนื่อง ล่าสุดประกาศความร่วมมือครั้งสำคัญกับ “แอมิลิ (AMILI)” บริษัทเทคโนโลยีชีวภาพด้านจุลชีพในลำไส้ จากความร่วมมือครั้งนี้ รพ.วิมุต พร้อมนำนวัตกรรมในการตรวจ “ไมโครไบโอมในระบบทางเดินอาหาร” มาใช้ในโรงพยาบาล ซึ่งถือเป็นอีกหนึ่งเทคโนโลยีการดูแลเชิงป้องกันที่กำลังมาแรงและเป็นความหวังใหม่ในการป้องกันโรคร้ายในอนาคต นอกจากนี้ รพ. วิมุต ยังเผยตัวเลขการเติบโตของตลาดไมโครไบโอม มั่นใจนวัตกรรมใหม่ช่วยยกระดับบริการทางการแพทย์ให้ครอบคลุมยิ่งขึ้น พร้อมร่วมเป็นหนึ่งกลไกขับเคลื่อนเศรษฐกิจสุขภาพของไทย คาดรายได้ปี 2567 ของศูนย์ทางเดินอาหารและตับ โรงพยาบาลวิมุตจะเติบโตกว่า 30% จากการเดินหน้าพัฒนาธุรกิจให้บริการสุขภาพแบบองค์รวมที่ครอบคลุมทั้งการป้องกัน รักษา และฟื้นฟู

ไมโครไบโอม (Microbiome) คือชื่อเรียกระบบนิเวศของจุลินทรีย์ที่อาศัยอยู่ในระบบทางเดินอาหาร ซึ่งเป็นแหล่งรวม โพรไบโอติกทั้งตัวดีและไม่ดีที่ใหญ่ที่สุดในร่างกาย โดยหากไมโครไบโอมในระบบทางเดินอาหาร (Gut Microbiome) มีความสมดุล กล่าวคือ มีจุลินทรีย์ดีหลากหลายสายพันธุ์ในจำนวนมากพอ ก็จะช่วยทำหน้าที่ย่อยอาหาร เสริมการเผาผลาญ ดูแลระบบภูมิคุ้มกัน สังเคราะห์วิตามิน และช่วยปรับสมดุลให้ร่างกาย สมอง และอารมณ์ได้ โดยไมโครไบโอมได้รับการศึกษาวิจัยมาอย่างต่อเนื่องและพบว่าการรักษาสมดุลของไมโครไบโอมในลำไส้ เป็นวิธีที่ช่วยเสริมภูมิคุ้มกันโดยรวมเพื่อป้องกันโรคร้ายและสร้างสุขภาพกายและใจที่ดีในระยะยาว ปัจจุบัน วงการแพทย์ วิทยาศาสตร์ และความงามทั่วโลกให้ความสนใจการดูแลสุขภาพด้วยการปรับสมดุลจุลินทรีย์ให้ร่างกายทั้งภายในและภายนอก

 

นายแพทย์พิชิต กังวลกิจ รองประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่ม บริษัท พฤกษา โฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน) และรักษาการประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท โรงพยาบาลวิมุต จำกัด กล่าวว่า “ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา รพ. วิมุต เล็งเห็นถึงการตื่นตัวของคนไทยและทั่วโลกในเรื่องการดูแลสุขภาพก่อนล้มป่วย ปัจจุบันการใช้เทคโนโลยีที่ช่วยวิเคราะห์ไมโครไบโอมในลำไส้กำลังเป็นเทรนด์สุขภาพมาแรง โดย Research Reports World (RRW) เผยว่าตลาดไมโครไบโอมทั่วโลกมีมูลค่าถึง 743.21 ล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2565 และจะแตะ 3,523.63 ล้านดอลลาร์สหรัฐภายในปี 2571 ซึ่งเป็นอัตราการเติบโตแบบทบต้น (CAGR) ที่ 29.61%

“รพ. วิมุต มุ่งเสาะหานวัตกรรมใหม่ ๆ มาเสริมทัพบริการด้านสุขภาพให้ตอบโจทย์ความต้องการของตลาดภายใต้กลยุทธ์ Outside-In เดินหน้าพัฒนาธุรกิจจากมุมมองของผู้ใช้บริการ เราได้ลงนามร่วมทุนกับแอมิลิ (AMILI) บริษัทเฮลท์เทคชั้นนำจากสิงคโปร์ที่พัฒนาเทคโนโลยีด้านจุลชีพในลำไส้ เพื่อเปิดตัว Gut Microbiome Test โปรแกรมตรวจสมดุลจุลินทรีย์ในลำไส้เฉพาะบุคคลที่โรงพยาบาล พร้อมมุ่งช่วยให้คนไทยเข้าถึงการตรวจวินิจฉัยและการรักษาอย่างตรงจุด ช่วยให้แพทย์สามารถแนะนำการปรับสมดุลจุลินทรีย์ให้เหมาะกับแต่ละคนได้อย่างมีประสิทธิภาพ ในอนาคต รพ. วิมุต มีแผนจัดตั้งห้องปฏิบัติการวิจัย

ด้านไมโครไบโอมในระบบทางเดินอาหารแห่งแรกในไทยร่วมกับ AMILI ช่วยยกระดับการศึกษาไมโครไบโอมในระบบทางเดินอาหารจากกลุ่มตัวอย่างคนไทยเพื่อนำข้อมูลไปใช้พัฒนาการรักษาโรคและผลิตภัณฑ์ที่เหมาะกับคนไทยโดยเฉพาะ ซึ่งปัจจุบันอยู่ระหว่างพัฒนาอาหารเสริมโพรไบโอติกส์เพื่อเสริมการรักษาโรคทางเดินอาหาร ลำไส้แปรปรวน และโรคอ้วน” นายแพทย์พิชิต กังวลกิจ กล่าวเสริม

 

นายแพทย์เจเรมี ลิมป์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและผู้ก่อตั้ง AMILI กล่าวว่า “AMILI มีฐานข้อมูลและตัวอย่างไมโคร ไบโอมจากคนหลากหลายเชื้อชาติ ทั้งยังเป็นธนาคารไมโครไบโอมแห่งแรกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เราได้พัฒนา "AMILI PRIME" เครื่องมือวิเคราะห์ที่เป็นกรรมสิทธิ์ของบริษัท ที่ทำการทดสอบ วินิจฉัย ทำนายอัลกอริธึม และปรับเปลี่ยนไมโครไบโอมได้อย่างแม่นยำ ความร่วมมือครั้งนี้แสดงถึงความมุ่งมั่นของ รพ.วิมุตในการยกระดับบริการสุขภาพขึ้นไป อีกขั้นผ่านนวัตกรรมการตรวจไมโครไบโอม เราจะร่วมกันนำเสนอการตรวจสอบสุขภาพลำไส้และการนำวิธีปลูกถ่ายเชื้อจุลินทรีย์ในอุจจาระ (Fecal Microbiota Transplantation: FMT) เข้าสู่ตลาดประเทศไทย AMILI พร้อมทำงานร่วมกับโรงพยาบาลเพื่อส่งเสริมความเป็นอยู่ที่ดีผ่านนวัตกรรมและเทคโนโลยีขั้นสูง ตามความตั้งใจของ รพ. วิมุตในการดูแลให้คนไทยมีสุขภาพที่ดีอย่างยั่งยืน”

 

นายแพทย์กุลเทพ รัตนโกวิท แพทย์ผู้ชำนาญการโรคระบบทางเดินอาหารและตับระบบประสาทและการเคลื่อนไหวทางเดินอาหาร หัวหน้าศูนย์ทางเดินอาหารและตับ กล่าวว่า “หลายคนอาจไม่ทราบว่าการดูแลสมดุลจุลินทรีย์ในลำไส้เป็นอีกหนึ่งหัวใจสำคัญของการทำงานที่เป็นปกติของระบบต่าง ๆ ในร่างกาย หากจุลินทรีย์ในลำไส้เกิดภาวะไม่สมดุล เราอาจเผชิญกับอาการเจ็บป่วยต่างๆ อาทิ ลำไส้แปรปรวน ท้องผูก ท้องเสียเป็นประจำ ระบบการเผาผลาญไม่ดี อาจทำให้เสี่ยงเป็นโรคอ้วนได้ง่าย ๆหรือมีปัญหาเรื่องระบบภูมิคุ้มกันโดยไม่ทราบสาเหตุ Gut Microbiome Test ที่ รพ.วิมุต ช่วยตรวจจุลินทรีย์ในลำไส้ผ่านการตรวจอุจจาระ เพื่อให้แพทย์สามารถวิเคราะห์ความสมดุล (Balance) และความหลากหลาย (Diversity) ของจุลินทรีย์ในลำไส้ และวางแผนการปรับสมดุลในลำไส้ ซึ่งรวมถึงการปรับการรับประทานอาหารและปรับเปลี่ยนไลฟ์สไตล์ให้คนไข้แต่ละคนได้อย่างตรงจุด นอกจากนี้ อาจแนะนำให้รับประทานโพรไบโอติกส์ที่มีสูตรและสายพันธุ์จุลินทรีย์ที่เหมาะกับสุขภาพลำไส้ตามผลการตรวจจุลินทรีย์เฉพาะบุคคล เพื่อให้ได้ประโยชน์สูงสุดจากโพรไบโอติกส์”

สำหรับผู้ที่สนใจโปรแกรม Gut Microbiome Test ตรวจสมดุลจุลินทรีย์ในลำไส้ สามารถติดต่อศูนย์ทางเดินอาหารและตับ ชั้น 5 โรงพยาบาลวิมุต ถนนพหลโยธิน พร้อมพบกับโปรโมชันพิเศษช่วงเปิดตัวโปรแกรม ในราคาเริ่มต้น 18,000 บาท สามารถโทรนัดหมาย 02-079-0034 เวลา 07.00-17.00 น. หรือใช้บริการ Telemedicine ปรึกษาแพทย์ออนไลน์ผ่าน ViMUT App คลิก https://bit.ly/372qexX

การ์ทเนอร์ ประกาศ 10 เทรนด์เทคโนโลยีเชิงกลยุทธ์ที่องค์กรต้องจับตาและศึกษาในปี 2567

บาร์ท วิลเลมเซ่น รองประธานฝ่ายวิจัยการ์ทเนอร์ กล่าวว่า “การรับมือกับความปั่นป่วนทางเทคโนโลยีและความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจและสังคมต้องอาศัยความกล้าที่จะมุ่งมั่นอย่างตรงไปตรงมาและเพิ่มความยืดหยุ่นในการตอบสนองอย่างเฉพาะเจาะจง ผู้นำไอทีอยู่ในสถานะที่ต่างจากผู้อื่นในการวางโรดแมปเชิงกลยุทธ์ โดยการลงทุนเทคโนโลยีจะช่วยให้ธุรกิจยังคงประสบความสำเร็จได้ ท่ามกลางความไม่แน่นอนและแรงกดดันเหล่านี้”

คริส ฮาวเวิร์ด รองประธานและหัวหน้าฝ่ายวิจัยของการ์ทเนอร์ กล่าวว่า “ผู้นำไอทีและผู้บริหารในส่วนงานอื่น ๆ ต้องประเมินผลกระทบและประโยชน์จากเทรนด์เทคโนโลยีเชิงกลยุทธ์ แต่ไม่ใช่เรื่องง่ายเมื่อพิจารณาจากจำนวนนวัตกรรมทางเทคโนโลยีที่เพิ่มขึ้น ตัวอย่างเช่น Generative AI และ AI ประเภทอื่น ๆ ที่นำเสนอโอกาสและขับเคลื่อนเทรนด์ต่าง ๆ แต่การจะได้มาซึ่งคุณค่าทางธุรกิจจากการใช้ AI อย่างต่อเนื่องนั้น ต้องมีแนวทางที่เป็นขั้นเป็นตอนเพื่อการนำไปใช้ได้อย่างครอบคลุม ควบคู่กับการใส่ใจในความเสี่ยง”

10 เทรนด์เทคโนโลยีเชิงกลยุทธ์ในปี 2567 ได้แก่

 

Democratized Generative AI

Generative AI (หรือ GenAI) กำลังกลายเป็นเทคโนโลยีสาธารณะด้วยการผสานรวมรูปแบบจำลองที่ได้รับการฝึกฝนล่วงหน้าไว้จำนวนมาก เข้ากับการประมวลผลคลาวด์และระบบโอเพ่นซอร์ส ทำให้ผู้ใช้งานทั่วโลกสามารถเข้าถึงโมเดลเหล่านี้ได้ การ์ทเนอร์คาดว่าภายในปี 2569 องค์กรมากกว่า 80% จะใช้ GenAI API และโมเดลต่าง ๆ และ/หรือปรับใช้แอปพลิเคชันที่เปิดใช้งาน GenAI ในสภาพแวดล้อมการผลิต เพิ่มขึ้นจากช่วงต้นปี 2566 ที่น้อยกว่า 5%

แอปพลิเคชัน GenAI ต่าง ๆ ช่วยให้ผู้ใช้เข้าถึงแหล่งข้อมูลมากมายจากภายในและภายนอกองค์กรเพื่อใช้ในทางธุรกิจได้ ซี่งหมายความว่าการนำ GenAI มาใช้อย่างรวดเร็วจะทำให้เกิดองค์ความรู้และทักษะในองค์กรอย่างเสรีและมีนัยสำคัญ โดยโมเดลภาษาขนาดใหญ่ (LLM) จะช่วยให้องค์กรเชื่อมโยงพนักงานกับความรู้ในรูปแบบการสนทนาพร้อมเข้าใจความหมายที่หลากหลาย

AI Trust, Risk and Security Management การเข้าถึง AI แบบเสรีทำให้ต้องมีการกำหนดกลยุทธ์สำหรับจัดการด้านความน่าเชื่อถือ ความเสี่ยง และการรักษาความปลอดภัย (หรือ TRiSM) อย่างเร่งด่วนและชัดเจนมากยิ่งขึ้น หากไม่มีกลยุทธ์ที่ตีกรอบโมเดลการใช้ AI จะสร้างผลลบแบบทบต้นที่ควบคุมไม่ได้ บดบังประสิทธิภาพเชิงบวกและประโยชน์ที่สังคมควรได้รับจาก AI ทั้งนี้ AI TRiSM มอบเครื่องมือสำหรับ ModelOps, การป้องกันข้อมูลเชิงรุก, ความปลอดภัยเฉพาะของ AI, การมอนิเตอร์โมเดล (รวมถึงการตรวจสอบการเปลี่ยนแปลงของข้อมูล - Data Drift หรือของโมเดล - Model Drift และ/หรือผลลัพธ์โดยไม่ได้ตั้งใจ) และการควบคุมความเสี่ยงของการอินพุตและเอาต์พุตไปยังโมเดลและแอปพลิเคชันของผู้ให้บริการรายอื่น ๆ

 

การ์ทเนอร์คาดการณ์ว่า ภายในปี 2569 องค์กรที่ใช้การควบคุม AI TRiSM จะเพิ่มความแม่นยำในการตัดสินใจ โดยกำจัดข้อมูลผิดพลาดและผิดกฎหมายได้มากถึง 80%

AI-Augmented Development

การพัฒนาเสริมด้วย AI คือการใช้เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ เช่น GenAI และ Machine Learning เพื่อช่วยในการออกแบบ เขียนโค้ด และทดสอบแอปพลิเคชันให้กับวิศวกรซอฟต์แวร์ โดยการทำวิศวกรรมซอฟต์แวร์ที่ใช้ AI มาช่วย (AI-assisted Software Engineering) จะปรับปรุงประสิทธิภาพการทำงานของนักพัฒนา และช่วยให้ทีมพัฒนาตอบสนองความต้องการซอฟต์แวร์ที่เพิ่มขึ้นสำหรับการดำเนินธุรกิจ เครื่องมือที่พัฒนาขึ้นโดยใช้ AI (AI-Infused Development Tools) เหล่านี้ช่วยให้วิศวกรซอฟต์แวร์ใช้เวลาเขียนโค้ดน้อยลง จึงสามารถใช้เวลามากขึ้นกับงานเชิงกลยุทธ์มากขึ้นเช่นการออกแบบและจัดวางองค์ประกอบของแอปพลิเคชันทางธุรกิจที่น่าสนใจ

Intelligent Applications

การ์ทเนอร์ให้คำจำกัดความของแอปพลิเคชันอัจฉริยะที่มีความชาญฉลาด ว่าเป็นความสามารถในการเรียนรู้ปรับตัวให้ตอบสนองอัตโนมัติอย่างเหมาะสม โดยข้อมูลอัจฉริยะนี้สามารถนำไปใช้ในหลายเคสการใช้งานเพื่อเพิ่มหรือทำงานอัตโนมัติได้ดียิ่งขึ้น เนื่องจากความสามารถพื้นฐาน ความชาญฉลาดในแอปพลิเคชันประกอบด้วยบริการต่าง ๆ ที่ใช้ AI เช่น การเรียนรู้ของเครื่อง การเก็บเวกเตอร์และข้อมูลที่เชื่อมต่อ ด้วยเหตุนี้แอปพลิเคชันอัจฉริยะจึงมอบประสบการณ์ที่ปรับเข้ากับผู้ใช้แบบไดนามิก

ความต้องการใช้งานแอปพลิเคชันอัจฉริยะนั้นมีอยู่ โดย 26% ของผู้บริหารระดับซีอีโอ จากการสำรวจของการ์ทเนอร์ 2023 Gartner CEO and Senior Business Executive Survey ระบุว่าการขาดแคลนบุคลากรที่มีทักษะความสามารถเป็นความเสี่ยงที่สร้างความเสียหายมากที่สุดต่อองค์กร โดยการดึงดูดและรักษาผู้มีความสามารถเป็นสิ่งสำคัญอันดับแรกในด้านบุคลากรของผู้บริหาร ขณะที่ AI ได้รับเลือกให้เป็นเทคโนโลยีที่จะส่งผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญต่ออุตสาหกรรมในช่วงสามปีข้างหน้า

Augmented-Connected Workforce

Augmented-Connected Workforce (ACWF) เป็นกลยุทธ์ในการเพิ่มมูลค่าที่ได้รับจากแรงงานมนุษย์ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ความจำเป็นในการเร่งและขยายทีมบุคลากรที่มีทักษะและความสามารถกำลังขับเคลื่อนกระแส ACWF กลยุทธ์ ACWF ใช้แอปพลิเคชันอัจฉริยะและการวิเคราะห์ประสิทธิภาพของบุคลากรเพื่อสร้างบริบทและแนวทางการทำงานทุกวันเพื่อสนับสนุนประสบการณ์ ความเป็นอยู่ที่ดี และความสามารถในการพัฒนาทักษะของตนเองของทีมงาน ขณะเดียวกัน ACWF ยังใช้ขับเคลื่อนผลลัพธ์ทางธุรกิจและผลกระทบเชิงบวกต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสียหลัก

 

ในปี 2570 ผู้บริหารไอที (CIOs) 25% จะริเริ่มการเชื่อมโยงพนักงานให้ทำงานร่วมกันมากขึ้น (Augmented-Connected Workforce) เพื่อลดเวลาการทำงานในบทบาทสำคัญลง 50%

Continuous Threat Exposure Management

การจัดการความเสี่ยงต่อภัยคุกคามอย่างต่อเนื่อง (Continuous Threat Exposure Management หรือ CTEM) เป็นแนวทางเชิงปฏิบัติและเป็นระบบที่ช่วยให้องค์กรประเมินการเข้าถึง ความเสี่ยง และการใช้ประโยชน์จากสินทรัพย์ดิจิทัลและสินทรัพย์ที่จับต้องได้ขององค์กรได้อย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ การจัดวางขอบเขตการประเมินและการแก้ไข CTEM ให้สอดคล้องกับวิธีการสร้างภัยคุกคามหรือโครงการทางธุรกิจ แทนที่จะเป็นส่วนประกอบในโครงสร้างพื้นฐาน ไม่เพียงแต่จะเผยให้เห็นช่องโหว่เท่านั้น แต่ยังรวมถึงภัยคุกคามที่ไม่สามารถแก้ไขได้ด้วย

ภายในปี 2569 การ์ทเนอร์คาดการณ์ว่าองค์กรที่จัดลำดับความสำคัญการลงทุนด้านความปลอดภัยตามโปรแกรม CTEM จะพบว่าการละเมิดลดลง 2 ใน 3

Machine Customers

ลูกค้าที่เป็นเครื่องจักร (Machine Customers หรือที่เรียกว่า 'คัสโตบอท') จะเป็นผู้มีบทบาททางเศรษฐกิจในแบบที่ไม่ใช่มนุษย์ มีความสามารถเจรจา ซื้อสินค้าและบริการเพื่อให้เกิดเป็นการชำระเงิน ภายในปี 2571 ผลิตภัณฑ์ที่เชื่อมต่อกัน 15 พันล้านชิ้นจะมีศักยภาพแสดงตนเป็นลูกค้าได้และจะมีผลิตภัณฑ์อื่น ๆ อีกนับพันล้านชิ้นตามมาในปีต่อไป โดยแนวโน้มการเติบโตนี้สร้างรายได้นับล้านล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ภายในปี 2573 และในที่สุดจะมีความสำคัญมากกว่าเมื่อตอนเกิด Digital Commerce ทั้งนี้ผู้บริหารควรพิจารณากลยุทธ์รวมถึงโอกาสในการอำนวยความสะดวกให้กับอัลกอริธึมและอุปกรณ์เหล่านี้ หรือแม้แต่สร้างคัสโตบอทใหม่ ๆ

Sustainable Technology

เทคโนโลยีที่ยั่งยืน (Sustainable Technology) เป็นกรอบการทำงานของโซลูชันดิจิทัลที่ใช้เพื่อสร้างผลลัพธ์ด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล (ESG) สนับสนุนสมดุลของระบบนิเวศและสิทธิมนุษยชนในระยะยาว ซึ่งการใช้เทคโนโลยี อย่าง AI, Cryptocurrency, Internet of Things และ Cloud Computing กำลังผลักดันให้เกิดข้อถกเถียงด้านการใช้พลังงานที่เกี่ยวข้องและส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ทำให้จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมั่นใจว่าการใช้ไอทีจะมีประสิทธิภาพ มีการหมุนเวียน และมีความยั่งยืนมากขึ้น การ์ทเนอร์คาดการณ์ว่า ภายในปี 2570 ผู้บริหารซีไอโอ 25% จะเห็นการเชื่อมโยงของค่าตอบแทนส่วนบุคคลกับผลกระทบทางเทคโนโลยีที่ยั่งยืน

Platform Engineering

วิศวกรรมแพลตฟอร์ม (Platform Engineering) เป็นหลักการสร้างและดำเนินการแพลตฟอร์มเพื่อการพัฒนาภายในด้วยตนเอง แต่ละแพลตฟอร์มเป็นชั้น ๆ ที่ถูกสร้างและดูแลโดยทีมงานผลิตภัณฑ์เฉพาะ โดยได้รับการออกแบบมาเพื่อรองรับความต้องการของผู้ใช้ผ่านการเชื่อมต่อเครื่องมือและกระบวนการต่าง ๆ ซึ่งเป้าหมายของ Platform Engineering คือการเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน เพิ่มประสบการณ์ผู้ใช้ และเร่งการส่งมอบมูลค่าทางธุรกิจ

Industry Cloud Platforms

ภายในปี 2570 การ์ทเนอร์คาดการณ์ว่าองค์กรมากกว่า 70% จะใช้แพลตฟอร์มคลาวด์อุตสาหกรรม (ICP) เพื่อเร่งโครงการใหม่ ๆ ทางธุรกิจของตน เพิ่มขึ้นจากน้อยกว่า 15% ในปี 2566 ICP จัดการกับผลลัพธ์ทางธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมโดยการรวมบริการ SaaS, PaaS และ IaaS พื้นฐานเข้าด้วยกัน ไปสู่การนำเสนอผลิตภัณฑ์ทั้งหมดที่มีความสามารถในการประกอบเข้ากันได้ โดยทั่วไปจะรวมถึงโครงสร้างข้อมูลอุตสาหกรรม คลังความสามารถทางธุรกิจแบบแพ็คเกจ เครื่องมือจัดองค์ประกอบ และนวัตกรรมแพลตฟอร์มอื่น ๆ ICP ได้รับการปรับแต่งข้อเสนอระบบคลาวด์โดยเฉพาะสำหรับอุตสาหกรรมและสามารถปรับแต่งเพิ่มเติมให้ตรงกับความ

ตลาดอีคอมเมิร์ซได้รับแรงกระตุ้นจากสถานการณ์โควิด ทำให้เกิดการเปลี่ยนผ่านไปสู่ยุคการช้อปปิ้งออนไลน์อย่างรวดเร็ว และมีการขยายตัวอย่างไม่หยุดยั้ง เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภค บริษัทอีคอมเมิร์ซจำเป็นต้องก้าวนำเทรนด์เสมอ ด้วยการพัฒนารูปแบบอุตสาหกรรมให้ทันยุคทันสมัย

แนวโน้มการพัฒนาของอุตสาหกรรมอีคอมเมิร์ซในปี 2024 เป็นการนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยอำนวยความสะดวก อาทิ การบูรณาการปัญญาประดิษฐ์ (AI) มาใช้วิเคราะห์พฤติกรรมผู้บริโภค เพื่อนำเสนอสินค้าและแคมเปญการตลาดที่เหมาะสม สร้างประสบการณ์การช้อปปิ้งออนไลน์ที่แตกต่างและกระตุ้นยอดขาย การเติบโตของการค้าด้วยเสียง เมื่อลำโพงอัจฉริยะแพร่หลาย ผู้บริโภคมักจะใช้ผู้ช่วยเสียงมากขึ้นในการซื้อ สั่งของชำ และค้นหาสินค้าออนไลน์ ทำให้เป็นที่นิยมโดยเฉพาะกับผู้บริโภคยุคใหม่ที่ต้องการประหยัดเวลา ปัจจุบันได้มีการพัฒนาการชำระเงินแบบใหม่ที่หลากหลาย อย่างการชำระเงินผ่านมือถือและกระเป๋าเงินดิจิทัล หรือสกุลเงิน cryptocurrency โดยบริษัทอีคอมเมิร์ซจะต้องหาวิธีรองรับการชำระเงินให้ครอบคลุมทุกรูปแบบ สร้างความยืดหยุ่นและความสะดวกสบายแก่ผู้บริโภคมากที่สุด

BEST SOFTWARE (เบสท์ ซอฟต์แวร์) ผู้ให้บริการซอฟท์แวร์โซลูชันด้านธุรกิจอีคอมเมิร์ซ และการจัดการคลังสินค้าแบบครบวงจร ตั้งแต่ต้นทางจนถึงปลายทาง โดยเชื่อมต่อกับระบบขนส่งพัสดุ เบสท์ เอ็กซ์เพรส (BEST Express) หรือบริษัทขนส่งทางเลือกอื่น ๆ ที่พร้อมให้บริการสำหรับธุรกิจทุกขนาด (เล็ก กลาง ใหญ่) ในประเทศไทย ภายใต้การดูแลของ BEST Inc. (เบสท์) ที่มากพร้อมด้วยประสบการณ์และความเชี่ยวชาญในอุตสาหกรรมอีคอมเมิร์ซมากว่า 10 ปี และเป็นผู้ให้บริการร้านค้าออนไลน์อีคอมเมิร์ซทั่วโลกจำนวนกว่า 1 ล้านร้านค้า

บริการ BEST SOFTWARE (เบสท์ ซอฟต์แวร์) บริการโซลูชันดิจิทัลแบบครบวงจร ได้แก่

- ezOrder (อีซี่ออเดอร์) ซอฟต์แวร์จัดการคำสั่งซื้อสินค้า ในการพิมพ์ใบจัดส่งแบบอัจฉริยะ เชื่อมต่อโดยตรงกับแพลตฟอร์มหลักอย่าง Shopee, Lazada, Facebook live และอื่น ๆ

- ezShop (อีซี่ช้อป) เป็น ERP ที่ช่วยจัดการคำสั่งซื้อหลายช่องทางแบบครบวงจรในที่เดียวแบบ One-Stop Service เหมาะสำหรับกลุ่มอีคอมเมิร์ซร้านค้าออนไลน์ทุกขนาด ที่มีที่มีหลายแพลตฟอร์ม หลายร้านค้าออนไลน์ หลายช่องทาง หรือมีคลังสินค้าที่มากมาย และใช้บริการหลายโลจิสติกส์

- QuickWMS เป็นระบบการจัดการคลังสินค้าอีคอมเมิร์ซ ช่วยจัดการคลังสินค้า แก้ปัญหาความสับสนวุ่นวายของคลังสินค้าและลดข้อผิดพลาดในการจัดส่งได้ถึง 90% แก้ปัญหาการกระจายของ

สินค้า รายการที่ไม่เป็นระเบียบและการสูญหายที่เกิดขึ้นบ่อย สามารถเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการคลังสินค้าได้มากถึง 50%

นอกจากนี้ การเติบโตของอีคอมเมิร์ซข้ามพรมแดน เป็นอีกหนึ่งเทรนด์ที่น่าสนใจ ด้วยจำนวนผู้บริโภคที่ต้องการซื้อสินค้าจากตลาดต่างประเทศมากขึ้น อีคอมเมิร์ซข้ามพรมแดนจึงคาดว่าจะเติบโตอย่างทวีคูณ แพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซที่ให้ความสำคัญกับอีคอมเมิร์ซข้ามพรมแดนมีแนวโน้มที่จะเติบโตอย่างมากในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า BEST Express มีบริการ BEST Cross border ที่มีเครือข่ายเชื่อมต่อในภูมิภาคเอาเชียตะวันออกเฉียงใต้และครอบคลุมทั่วเอเชีย ที่พร้อมให้บริการจัดส่งสินค้าจากประเทศจีนมาประเทศไทยโดยให้บริการในรูปแบบของธุรกิจ B2B และ B2C

เบสท์ (BEST Inc.) ที่เดียวจบครบทุกความต้องการด้านโลจิสติกส์และอีคอมเมิร์ซ สำหรับพ่อค้าแม่ค้าออนไลน์ที่สนใจ สามารถเยี่ยมชมเว็บไซต์ได้ที่ https://www.best-inc.co.th/ หรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมโทร 02-108-8000

บทเรียนสำคัญที่เราได้รับในช่วงสองสามปีที่ผ่านมาก็คือ อนาคตเป็นสิ่งที่คาดเดาไม่ได้

เราได้เห็นหลายๆ องค์กรในภูมิภาคนี้ปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไปภายหลังการแพร่ระบาด และสามารถขยายธุรกิจให้เติบโตท่ามกลางปัจจัยภายนอกที่ผลมาจากความตึงเครียดทางภูมิรัฐศาสตร์ที่เพิ่มขึ้น และความเสี่ยงของภาวะเศรษฐกิจถดถอยทั่วโลก สำหรับปี 2566 องค์กรธุรกิจต่างๆ จะต้องตอบสนองความคาดหวังที่เปลี่ยนแปลงไปของพนักงาน ท่ามกลางสภาพแวดล้อมแบบไฮบริดที่มุ่งเน้นดิจิทัลและมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เทรนด์ธุรกิจและเทคโนโลยีที่สำคัญในปีใหม่นี้มีอะไรบ้าง และองค์กรธุรกิจต่างๆ จะรับมือกับการเปลี่ยนแปลงใหม่ๆ เหล่านี้ได้อย่างไร?

1. ธุรกิจจำเป็นต้องปรับปรุงเรื่องไซเบอร์ซีเคียวริตี้และโครงสร้างพื้นฐานด้านไอที เพื่อให้ทันกับแลนด์สเคปที่เปลี่ยนแปลงไป

การเชื่อมต่อระหว่างผู้คน อุปกรณ์ และข้อมูลมีการขยายตัวอยู่ตลอดเวลา โดยมีจุดเชื่อมต่อที่เปิดกว้าง รองรับการใช้งานร่วมกัน และเข้าถึงได้นับพันล้านจุด และมีจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในการทำงานแบบไฮบริดที่ใช้ระบบคลาวด์ “เครือข่าย” เปรียบเสมือนระบบประสาทที่ทำให้ทุกสิ่งสามารถทำงานร่วมกัน และแม้ว่าเครือข่ายจะรองรับความเป็นไปได้อย่างไร้ขีดจำกัด แต่ขณะเดียวกันก็ทำให้เกิดความซับซ้อนเพิ่มขึ้นด้วยเช่นกัน เนื่องจากองค์กรและผู้ใช้กระจัดกระจายมากขึ้น อีกทั้งยังมีความต้องการในการเข้าถึงแอปพลิเคชันได้ทุกที่ทุกเวลา ดังนั้นจึงจำเป็นที่จะต้องดำเนินการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงเครือข่าย เพื่อรองรับการเชื่อมต่ออย่างราบรื่น ควบคู่ไปกับการรักษาความปลอดภัย จากการสำรวจพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถาม 7 ใน 10 คนในอาเซียนเชื่อว่าปัญหาการเชื่อมต่อที่เกิดขึ้นบ่อยครั้งคือข้อจำกัดที่สำคัญสำหรับบุคลากรที่ทำงานนอกสถานที่ อย่างไรก็ดี 27% ระบุว่าบริษัทของพวกเขายังคงต้องการโครงสร้างพื้นฐานเครือข่ายที่เหมาะสม ธุรกิจต่างๆ ยังต้องปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานด้านไอทีให้ทันสมัยโดยใช้เทคโนโลยี SD-WAN ซึ่งจะช่วยให้สามารถเชื่อมต่อผู้ใช้ อุปกรณ์ต่างๆ และอุปกรณ์ IoT เข้ากับระบบ แอป และข้อมูลได้อย่างปลอดภัย ด้วยการจัดการแบบรวมศูนย์และการบริหารนโยบายด้านความปลอดภัย นอกจากนี้ ยังต้องเปลี่ยนย้ายจากระบบรักษาความปลอดภัยแบบสแตนด์อโลน ไปสู่กลยุทธ์แพลตฟอร์มที่เชื่อมต่อที่มุ่งเน้นไปที่การตรวจจับ การตอบสนอง และการกู้คืน

 

2. ยุคใหม่ของเครือข่ายที่ “รองรับการคาดการณ์” ได้มาถึงแล้ว และจะเปลี่ยนความคล่องตัวของธุรกิจ

การแข่งขันในโลกดิจิทัลปัจจุบันมีความมุ่งหมายเดียว นั่นคือ อะไรก็ตามที่สามารถส่งมอบในรูปแบบดิจิทัลได้ต้องพร้อมใช้งานอยู่เสมอ แอปพลิเคชันเป็นเพียงประตูที่เปิดไปสู่โลกดิจิทัลที่มีการเปลี่ยนแปลงและเติบโตอย่างต่อเนื่อง ทั้งในแง่ของขนาดและความซับซ้อน ทั้งนี้มีการคาดการณ์ว่าตลาด Super App ในอาเซียนจะมีรายได้สูงถึง 23 พันล้านดอลลาร์สหรัฐภายในปี 25681 กุญแจสำคัญในการส่งมอบประสบการณ์ดิจิทัลที่ดีเยี่ยมก็คือ ความสามารถในการตรวจสอบทั่วทุกจุด ทั้งในส่วนของข้อมูล การโต้ตอบกับระบบ ความเชื่อมโยงระหว่างกัน และดัชนีชี้วัดทางธุรกิจที่เกิดขึ้นแบบเรียลไทม์ผ่านอินเทอร์เฟซดิจิทัล โดยเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพในการดำเนินการในส่วนนี้ก็คือ เอนจิ้นเครือข่ายสำหรับการคาดการณ์ซึ่งทำหน้าที่เก็บรวบรวมข้อมูลจากแหล่งข้อมูลการตรวจวัดทางไกลจำนวนมาก และผสานรวมเข้ากับโมเดลต่างๆ เพื่อคาดการณ์ปัญหาเกี่ยวกับประสบการณ์ของผู้ใช้ เทคโนโลยีที่ว่านี้จะช่วยลดช่องว่างระหว่างทีมงานฝ่ายไอทีและฝ่ายธุรกิจ โดยผู้บริหารฝ่ายไอทีจะสามารถแก้ไขปัญหาได้ล่วงหน้าก่อนที่ปัญหาจะเกิดขึ้นจริง ขณะที่ทีมงานฝ่ายธุรกิจสามารถโฟกัสไปที่ความคล่องตัวและการสร้างสรรค์นวัตกรรมเพื่อให้โดนใจลูกค้า

3. Physical spaces หรือพื้นที่ทางกายภาพ เช่น ออฟฟิศ และสถานพยาบาล จะถูกพลิกโฉมเพื่อรองรับการทำงานแบบไฮบริดสำหรับทุกคน

ผลการสำรวจล่าสุดเปิดเผยว่า พนักงานที่ทำงานจากที่บ้านมีจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างมากในตอนนี้ ซึ่งนั่นหมายความว่า 98%2 ของการประชุมจะมีผู้เข้าร่วมผ่านรีโมทอย่างน้อยหนึ่งคน อย่างไรก็ตาม ทั่วโลกมีห้องประชุมและห้องเรียนเพียง 6% เท่านั้นที่รองรับวิดีโอ และในปีใหม่นี้ การทำงานแบบไฮบริดจะก่อให้เกิดผลกระทบต่อพื้นที่ทำงานทางกายภาพ โดยองค์กรต่างๆ ในทุกกลุ่มอุตสาหกรรมจะต้องคิดใหม่ทำใหม่เกี่ยวกับพื้นที่ทำงานขององค์กร ไม่ว่าจะเป็นออฟฟิศหรือสถานพยาบาล เพื่อขับเคลื่อนสภาพแวดล้อมที่เอื้อประโยชน์แก่ทุกคน สิ่งนี้จะเกิดขึ้นผ่านการทำงานร่วมกันที่ใกล้ชิดยิ่งระหว่างฝ่ายไอที ฝ่ายทรัพยากรบุคคล และฝ่ายอาคารสถานที่ เพื่อขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลง ตั้งแต่การผสานรวมฟีเจอร์ต่างๆ เช่น ระบบเสียงอัจฉริยะที่ขับเคลื่อนด้วย AI/การตัดเสียงรบกวนรอบข้าง ไปจนถึงการจัดเตรียมพื้นที่ทางกายภาพโดยใช้อุปกรณ์การประชุมทางวิดีโอที่เหมาะสม เพื่อรองรับการทำงานร่วมกันแบบไฮบริดที่ราบรื่นและปลอดภัย รวมถึงการปรับปรุงนโยบายเกี่ยวกับพนักงานและแนวทางปฏิบัติของบริษัท เพื่อให้แน่ใจว่าพนักงานทุกคนจะได้รับผลตอบแทนที่เป็นธรรมในระยะยาว ไม่ว่าพวกเขาจะทำงานจากที่ใดก็ตาม

 

4. Private 5G พร้อมด้วย Wi-Fi6 จะปฏิวัตินวัตกรรมคลาวด์, เอดจ์ (Edge) และ IoT

เนื่องจากองค์กรธุรกิจจำนวนมากในเอเชีย-แปซิฟิกเริ่มตระหนักถึงประโยชน์ของการปรับเปลี่ยนสู่ดิจิทัลเพิ่มมากขึ้น รวมถึงการใช้เทคโนโลยีแห่งอนาคต เราจึงคาดการณ์ว่าจะมีการปรับใช้ 5G เพิ่มขึ้น ซึ่งจะช่วยให้รายได้รวมของ 5G ในภูมิภาคนี้เพิ่มขึ้นจาก 2.13 พันล้านดอลลาร์ในปี 2563 เป็น 23.89 พันล้านดอลลาร์ในปี 25683 นอกจากนี้ การรวมกันของ Wi-Fi 6 และ 5G จะเป็นตัวเปลี่ยนเกมที่สำคัญ และจะปูทางสู่อนาคตใหม่ของการเชื่อมต่อสำหรับเกือบทุกอุตสาหกรรม โดยจะให้แบนด์วิธเพิ่มขึ้นสามเท่า และความเร็วเพิ่มขึ้นห้าเท่าเมื่อเทียบกับ Wi-Fi 5 เทคโนโลยีนี้สำคัญอย่างยิ่งสำหรับบริษัทในภาคอุตสาหกรรมเช่น ภาคการผลิต ซึ่งต้องการความสามารถทางวิศวกรรมที่มีความแม่นยำสูง เพื่อใช้แอปพลิเคชันใหม่ๆ ที่ขับเคลื่อนการปรับเปลี่ยนสู่ดิจิทัล ระบบโรงงานอัจฉริยะ และระบบอัตโนมัติภายในกระบวนการต่างๆ เพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพ พลังของเทคโนโลยีมาจากความสามารถในการตรวจสอบและจัดการทรัพย์สินหลายพันรายการ และความสามารถในการปรับขนาดจะช่วยรองรับการใช้งานหุ่นยนต์เคลื่อนที่ในวงกว้าง รวมไปถึงยานยนต์ไร้คนขับ และด้วยเหตุนี้ เราจึงคาดการณ์ว่าบริษัทต่างๆ จะมองหาหนทางในการปรับใช้เทคโนโลยีดังกล่าว เมื่อมีการกำหนดคลื่นความถี่และจัดเตรียมโครงสร้างพื้นฐานที่เกี่ยวข้อง

5. Purpose หรือจุดมุ่งหมายจะเชื่อมโยงทุกสิ่งที่ธุรกิจทำ ขณะที่ ESG จะเป็นวาระการประชุมของคณะกรรมการบริหาร

Purpose หรือจุดมุ่งหมาย จะมีความเกี่ยวข้องมากขึ้นและมีความสำคัญอย่างมากต่อบริษัทต่างๆ ในปีใหม่นี้ ซึ่งนับเป็นสิ่งที่ดีสำหรับธุรกิจ โดยจากผลการศึกษาของ Harvard Business Review พบว่ามากกว่า 50%ของบริษัทที่ขับเคลื่อนด้วยจุดมุ่งหมายมีการเติบโตทางธุรกิจ 10% เมื่อเทียบกับ 42% ของบริษัทที่ไม่ได้ขับเคลื่อนด้วยจุดมุ่งหมาย นอกจากนี้ ยังนับเป็นเรื่องดีสำหรับบุคลากร เพราะจากการศึกษาวิจัยพบว่า “จุดมุ่งหมายที่ชัดเจน” คือกุญแจสำคัญในการดึงดูดและรักษาบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถ และสุดท้าย นับเป็นสิ่งที่ดีสำหรับโลกของเรา กล่าวคือ แทนที่จะเป็นแบบฝึกหัดที่กาเครื่องหมายในช่องตัวเลือก การวัดผลกระทบของการดำเนินงานตามจุดมุ่งหมายของแต่ละบริษัท โดยเฉพาะอย่างยิ่งผลกระทบทางสังคมและสิ่งแวดล้อม จะกลายเป็นเวทีกลางสำหรับการตัดสินใจขององค์กรมากขึ้น และเราจะเห็นองค์กรภาครัฐและภาคเอกชนร่วมมือกันมากขึ้นเพื่อกำหนดกรอบการรายงานด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล (ESG) และมาตรฐานการเปิดเผยข้อมูล รวมถึงการกำหนดกฎระเบียบและเป้าหมายด้านความยั่งยืน

โดย: นายทวีวัฒน์ จันทรเสโน, กรรมการผู้จัดการ ซิสโก้ ประเทศไทยและพม่า

X

Right Click

No right click