November 08, 2024

เมื่อเร็วๆนี้นักศึกษาทุนโครงการ “คมส่งฝัน” โครงการทุนการศึกษาให้เปล่าสำหรับเยาวชนไทยที่ขาดโอกาสทางการศึกษา โดยนายคมสันต์ ลี เจ้าของธุรกิจ แฟลช เอ็กซ์เพรส ที่ก่อตั้งขึ้น เมื่อปี 2565 พร้อมด้วยคณะทำงานโครงการ นำโดย นางสาวปรินทร์ทิพย์ อิสริยเมธา ผู้ช่วยรองกรรมการผู้อำนวยการสื่อสารองค์กร และรัฐกิจสัมพันธ์ บริษัท แฟลช เอ็กซ์เพรส จำกัด ได้นำหนังสือเสียงระบบเดซี่ และหนังสือเบรลล์ ที่จัดทำขึ้นจากการนำเอาเนื้อหาของพ๊อคเก็ตบุ๊ค “คมเขี้ยว Startup” เรื่องราวชีวิต และเส้นทางการดำเนินธุรกิจของคุณคมสันต์ ลี มาถ่ายทอดในรูปแบบหนังสือสำหรับผู้บกพร่องทางสายตา

นางสาวปรินทร์ทิพย์ เปิดเผยว่า ผู้ก่อตั้งโครงการฯ เล็งเห็นถึงความสำคัญด้านการศึกษามาโดยตลอด เพราะมีความเชื่อว่าโอกาสทางการศึกษาจะสามารถเปลี่ยนแปลงชีวิตคน นายคมสันต์ ลี จึงได้มีโอกาสช่วยเหลือสังคมในด้านการศึกษามาตลอดระยะเวลา 6 ปี ที่ทำธุรกิจจนกระทั่งปี 2565 จึงได้ก่อตั้งโครงการคมส่งฝันขึ้น และเปิดโอกาสให้เยาวชนที่เรียนดีแต่ขาดแคลนทุนทรัพย์จำนวน 11 คน ได้เข้ามาเป็นนักศึกษาทุนของโครงการฯ

“คุณคมสันต์ มีความตั้งใจมาโดยตลอดว่าอยากเป็นส่วนหนึ่งในการสร้างสังคมไทยให้เป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ และมีการศึกษาที่เท่าเทียม ไม่ว่าบุคคลนั้นจะมาจากไหน หรือมีต้นทุนทางชีวิตมากน้อยแค่ไหน แต่หากมีความใฝ่ดีในการเรียนก็ไม่ยากที่จะสร้างชีวิตให้ประสบความสำเร็จได้ ซึ่งนอกจากการศึกษาจะเป็นเรื่องที่สำคัญอันดับแรก การที่เยาวชนกลุ่มนี้ได้รับโอกาสจากโครงการฯ ก็ควรมีส่วนร่วมส่งต่อโอกาสเหล่านี้ให้แก่ผู้ด้อยโอกาสกลุ่มอื่นของสังคมเช่นกัน หลังจากวันนั้นน้องๆ ในโครงการจึงได้มีการร่วมทำกิจกรรมเพื่อสังคมมาโดยตลอด รวมถึงโครงการล่าสุด โครงการจัดทำหนังสือ2 รูปแบบ คือ หนังสือเสียงระบบเดซี่ผ่านแอปพลิเคชัน Read for the Blind สำหรับผู้บกพร่องทางสายตาที่ไม่สามารถอ่านอักษรเบรลล์ได้ และหนังสือเบรลล์ สำหรับผู้บกพร่องทางสายตาที่สามารถอ่านอักษรเบรลล์ได้ทซึ่งทีมงานได้ร่วมบันทึกเสียง และจัดทำเพื่อส่งมอบแก่ มูลนิธิคนตาบอด เพื่อกระจายไปยังโรงเรียนสอนคนตาบอด 15 แห่ง ทั่วประเทศ โดยความตั้งใจส่วนหนึ่งของการจัดทำ คืออยากสร้างแรงบันดาลใจให้ผู้อ่านได้ใช้ชีวิตอย่างมีความสุข แม้จะต้องเจออุปสรรคหรือปัญหามากแค่ไหน ซึ่งอีกมุมของหนังสือคมเขี้ยวสตาร์ทอัพที่ถูกจัดทำ จะสะท้อนให้ผู้อ่านมองเห็นคุณค่าของชีวิตมากขึ้นด้วย” นางสาวปรินทร์ทิพย์ กล่าว

ด้าน นายกิติพงศ์ สุทธิ ผู้อำนวยการห้องสมุดคนตาบอดและผู้พิการทางสื่อสิ่งพิมพ์แห่งชาติ กล่าวว่า ทางมูลนิธิขอขอบคุณ โครงการคมส่งฝัน และคุณคมสันต์ ลี ที่เล็งเห็นความสำคัญของกลุ่มผู้พิการทางสายตา และให้นักศึกษาทุนฯ มาร่วมทำโปรเจกต์นี้กับมูลนิธิคนตาบอด

ปัจจุบันมีจำนวนผู้พิการทางสายตาที่อยู่ในสมาคมคนตาบอดแห่งประเทศไทยประมาณ 15,000 คนทั่วประเทศ แต่มีกลุ่มผู้พิการทางสายตาที่ลงทะเบียนกับรัฐมากถึง 200,000 คน ในขณะที่จำนวนหนังสือเสียง และหนังสือเบรลล์ที่มีอยู่ในระบบสำหรับคนกลุ่มนี้มีสัดส่วนไม่ถึง 5% และกว่า 95% ของหนังสือเสียงผลิตขึ้นได้ด้วยอาสาสมัครที่เข้ามาช่วยสนับสนุน เนื่องจากเจ้าหน้าที่ของมูลนิธิมีจำนวนไม่เพียงพอที่จะสนับสนุนงานในส่วนนี้อีกทั้งข้อจำกัดในส่วนห้องอ่านหนังสือเสียงทั้งส่วนของพื้นที่ และอุปกรณ์ ทางมูลนิธิจึงต้องอาศัยอาสาสมัครเข้ามาช่วยอ่านหนังสือเสียงผ่านช่องทางแอปพลิเคชัน ซึ่งทางมูลนิธิคนตาบอดจะส่งมอบหนังสือที่ทางโครงการคมส่งฝันได้จัดทำ กระจายต่อไปยังโรงเรียนสอนคนตาบอดทั่วประเทศทั้ง 15 แห่งต่อไป

จากแนวโน้มและศักยภาพของคนรุ่นใหม่ที่มีความคิดสร้างสรรค์ในการทำธุรกิจ แต่ไม่มีเงินทุนและศูนย์บ่มเพาะที่จะช่วยสนับสนุนให้เติบโตได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้ Startup เกิดใหม่น้อยลง และ Startup ใหญ่ๆที่มีคุณภาพก็ลดน้อยลงเช่นกัน งานนี้ "Krungsri Finnovate (กรุงศรี ฟินโนเวต)" โดย "คุณแซม ตันสกุล" กรรมการผู้จัดการ บริษัท กรุงศรี ฟินโนเวต จำกัด ได้จับมือกับ "คุณป้อม - ภาวุธ พงษ์วิทยภานุ" นักธุรกิจและนักลงทุนสตาร์ทอัพแนวหน้าของไทย เปิด "Accelerator program" โรงเรียนสอน Startup เพื่อติดสปีดให้ธุรกิจ ระดับ Seed ถึง Pre-series A เติบโตสู่ Series A ได้อย่างมีคุณภาพ ในชื่อ “Finno Efra Accelerator  (FINE Accelerator)” 

ซึ่งโปรแกรมนี้จะเปิดรับ 10 ทีม โดยมองหาสตาร์ทอัพไทยที่มีรายได้แล้ว และอยู่ในธุรกิจเกี่ยวกับ Impact และ Digital Transformation พร้อมกับความพิเศษที่ "คุณแซม ตันสกุล" และ "คุณป้อม ภาวุธ" จะรับบทบาทเป็น Director พร้อมกับคว้า "คุณทิวา ยอร์ค" อดีต CEO, Kaidee ที่ Exit ไปเป็นที่เรียบร้อย และ "คุณบอย - สุวัฒน์ ปฐมภควันต์" อดีต Co-founder, Skootar ที่ได้ Exit ไปแล้วเช่นกัน โดยทั้ง 2 ท่านจะมานั่งแท่นเป็นครูใหญ่ เพื่อให้คำแนะนำเหล่า Startup พร้อมกับ Mentor ผู้คร่ำหวอดในการทำธุรกิจ อีก 10 ท่าน ได้แก่ 

  1. คุณอริยะ พนมยงค์ Founder & CEO, Transformational 
  1. คุณโปษะกฤษณะ ถิระพัฒน์ Partner, UTC & Creative Ventures 
  1. คุณณัฐวุฒิ อมรวิวัฒน์ Board Director, True Corporation  
  1. คุณธีระชาติ ก่อตระกูล CEO, Stockradars 
  1. คุณแชนนอน กัลยาณมิตร CEO, 5G Catalyst Technologies  
  1. คุณเจษฎา สุขทิศ Co-founder & CEO, Finnomena 
  1. คุณอรนุช เลิศสุวรรณกิจ Co-founder & CEO, Techsauce 
  1. คุณกล้า ตั้งสุวรรณ CEO, Wisesight 
  1. คุณอภิชัย สกุลสุรียเดช CEO, Radiant1   
  2. คุณเอเดรียน สจ๊วต CEO, Sokochan  

โดยแต่ละท่านจะเลือก Startup 1 ทีม เข้าทีมตัวเองพร้อมให้คำแนะนำอย่างใกล้ชิด และทั้ง 10 ทีมนี้จะได้เข้าร่วม Bootcamp  เข้มข้นเป็นเวลา 4 เดือน ซึ่งนอกจากการให้คำแนะนำอย่างใกล้ชิดของ Mentor ประจำทีมตัวเองแล้ว ใน Bootcamp ทุกทีมจะได้เข้าร่วม Workshop และ Sharing session จากผู้สอนที่เป็น Top Tech Leader ในประเทศไทย ที่จะมาสอนตั้งแต่เรื่อง Mindset ความเป็นผู้นำ, การทำให้ธุรกิจโตอย่างรวดเร็ว, การพัฒนาโปรดักส์, การตลาด, การระดมทุน และอีกหลากหลายประเด็นที่คนทำธุรกิจควรรู้  ซึ่งทั้ง 10 ทีมต้องเข้าร่วม Session ทุกสัปดาห์ๆ ละ 1 ครั้ง นอกจากนี้ทางโปรแกรมยังได้รวบรวมโค้ชผู้เชี่ยวชาญในแต่ละด้านกว่า 100 คน มาให้ Startup ทั้ง 10 ทีมสามารถลงเวลาเพื่อขอคำปรึกษาและคำแนะนำจากประสบการณ์ของผู้ที่เรียกว่าประสบความสำเร็จ ได้ครั้งละ 1 ชั่วโมงด้วย  

ปิดท้ายด้วยวัน Demo day ที่ทุกทีมจะต้องขึ้น Pitching เพื่อนำเสนอธุรกิจของตนเองให้เข้าตานักลงทุนที่มาร่วมงาน พร้อมชิงรางวัลไป Innovation Trip ที่ต่างประเทศด้วย และนอกจากรางวัลใหญ่ๆ แล้ว ทางโปรแกรมยังสนับสนุนทั้งเรื่องของ Co-working space ให้นั่งทำงานได้ตลอดปี รวมทั้ง Technology perks ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น Cloud system, HR, Accounting และ Marketing Tool นอกจากนี้เรายังมีในส่วนของ Legal สนับสนุนด้านกฎหมาย และ PR ให้ธุรกิจของทั้ง 10 ทีมเป็นที่รู้จักในวงกว้าง เพื่อช่วยเพิ่มฐานลูกค้ากลุ่มใหม่ๆ สร้างแบรนด์และเพิ่มโอกาสในการทำงานมากขึ้นตลอดโปรแกรม โดยในส่วนนี้ทุกทีมจะได้รับการสนับสนุนตั้งแต่เริ่มเข้าโปรแกรม และที่สำคัญเมื่อทุกทีมผ่าน Finno Efra Accelerator  เป็นที่เรียบร้อยแล้ว ก็มีโอกาสได้รับเงินทุนสูงสุด 40 ล้านบาท จากกองทุน "Finno Efra Private Equity Trust"  พร้อมทั้ง Fast track เพื่อรับ grant จากทั้ง NIA และ Depa ด้วย หากเข้าเงื่อนไขตามที่กองทุนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องประกาศกำหนด 

 "คุณแซม ตันสกุล" เผยว่า "กรุงศรี ฟินโนเวต มีความยินดีที่ได้ร่วมส่งเสริมความแข็งแกร่งให้กับ Startup รุ่นใหม่ ซึ่งเรามีความมุ่งมั่นในการสนับสนุนให้ธุรกิจ Startup เติบโตประสบความสำเร็จ ด้วยการเร่งผลักดันพัฒนาในหลากหลาย Stage อย่างการเปิด Accelerator program กับ Finno Efra Accelerator ที่จะบ่มเพาะ Startup และช่วยติดสปีดให้ธุรกิจช่วง Seed ถึง Pre-series A โดยหัวใจหลักที่เป็นจุดมุ่งหมายของโปรแกรมคือ การมอบเครื่องมือและถ่ายทอดประสบการณ์ในการทำธุรกิจให้แก่ Startup เพื่อให้อยู่รอดเอาชนะอุปสรรคที่ท้าทาย และมีศักยภาพเติบโตได้ย่างมีประสิทธิภาพและรวดเร็ว ซึ่งเชื่อมั่นว่าครั้งนี้จะช่วยสนับสนุนการเติบโตของเศรษฐกิจได้เป็นอย่างดี สู่การเติบโตในระดับภูมิภาคอย่างมั่นคงและยั่งยืนต่อไป" 

"แน่นอนสำหรับ Startup ตอนนี้เตรียมตัวได้เลย ถ้าท่านทำธุรกิจเกี่ยวกับ Impact และ Digital Transformation ที่อยู่ในระดับ Seed Stage ถึง Pre-Series Aและมี Traction กับรายได้แล้ว สามารถเตรียมพร้อมที่จะสมัครได้เลย ซึ่งถือเป็นเป็นเรื่องดี ที่ Startup ไทยจะได้เติบโต เพราะได้ทั้งความรู้, Connection และโอกาสได้เงินทุน เพื่อสร้างความแข็งแกร่งให้กับธุรกิจของตัวเองต่อไป" 

ผู้สนใจสมัครเข้าร่วมโปรแกรมติดสปีดให้ธุรกิจ Startup กับ “Finno Efra Accelerator”  ได้ตั้งแต่วันที่ 15 กรกฎาคม - 15 กันยายน 2567 ทาง https://www.finnoefraaccelerator.com/  

การศึกษาฉบับใหม่ “อนาคตของไทยสตาร์ทอัพ และ Venture Capital”โดยดีลอยท์ คอนซัลติ้ง (“ดีลอยท์”) ชี้ว่า Startup ไทยจำนวนมากเผชิญความยากลำบากในการแข่งขันและดำเนินธุรกิจในปัจจุบัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อ Startup ในไทยยังคงประสบปัญหาในการเข้าถึงเงินทุนระยะเริ่มต้นจากแหล่งเงินทุนอย่างเช่น Venture Capital Firm (VC) ส่งผลให้ Startup ในไทยขาดแคลนเงินทุนที่ต้องการเพื่อนำมาใช้ในการดำเนินธุรกิจ

การศึกษาครั้งนี้จัดทำขึ้นโดยอ้างอิงข้อมูลจากการสัมภาษณ์ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับระบบนิเวศ Startup ไม่ว่าจะเป็น ผู้ก่อตั้ง Startup VC และหน่วยงานภาครัฐมากกว่า 20 ราย ทั้งในประเทศไทยและประเทศอื่นๆในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมไปถึงอ้างอิงผลการวิจัยจากสถาบันต่างๆ ทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศ โดยการศึกษาฉบับนี้มีเป้าหมายเพื่อชี้ให้เห็นถึงแนวทางที่เป็นไปได้ในการพัฒนาสตาร์ทอัพและ Venture Capital ในประเทศไทย

 

ปัญหาหลักของระบบนิเวศในประเทศไทยที่จำเป็นต้องได้รับการแก้ไข

จากการศึกษาระบบนิเวศในประเทศไทย เราพบว่าระบบนิเวศในประเทศไทยนั้นประสบปัญหาในหลายๆ ด้าน โดยปัญหาหลักที่ขัดขวางการเติบโตของระบบนิเวศนั้น มีตั้งแต่ปัญหาการเข้าถึงเงินทุน จนไปถึงความยากลำบากในการหาผู้ประกอบกิจการที่มีความสามารถ ยกตัวอย่างเช่น

· Startup ในไทยประสบปัญหาในการเข้าถึงเงินทุน (โดยเฉพาะอย่างยิ่งเงินทุนในระยะเริ่มต้น หรือ Seed Stage) จำนวนรอบระดมทุนของ Startup ในระยะเริ่มต้น หรือ Seed Stage ลดลงตั้งแต่ปี 2562 จากเดิมจำนวนรอบระดมทุน 33 รอบ ลดลงไปกว่าครึ่งในปี 2563 ตามข้อมูลจาก Innovation Club Thailand หนึ่งในสาเหตุของการลดจำนวนลง เกิดจากการที่ Accelerator แบบไม่เฉพาะเจาะจงประเภทธุรกิจของ Startup ระยะเริ่มต้นนั้นมีจำนวนลดลง นอกจากนั้น พื้นฐานของตลาด VC ในไทยยังมี VC จากบริษัทใหญ่ หรือ Corporate VCs (CVCs) ถือครองอยู่ ที่มักจะเน้นลงทุนใน Startup ระยะท้าย หรือ Later Stage

· โครงการสนับสนุน Startup จากหน่วยงานภาครัฐนั้นยังไม่เพียงพอที่จะตอบโจทย์ความต้องการของ Startup อันเนื่องมาจากมูลค่าเงินทุนสนับสนุนของโครงการนั้นยังไม่เพียงพอต่อความต้องการของ Startup การออกแบบโครงการที่ยังไม่ตอบโจทย์ความต้องการของ Startup ยกตัวอย่างเช่น การที่โครงการให้การสนับสนุน Startup ด้วยเงินทุนจำนวน 20,000 ถึง 150,000 ดอลลาร์สหรัฐ โดยที่แท้จริงแล้ว Startup ต้องการเงินทุนขั้นต่ำ 500,000 ดอลลาร์สหรัฐ เพื่อใช้ดำเนินการสำหรับ 1-2 ปี นอกจากนั้น จากการสัมภาษณ์ Startup เกี่ยวกับการเข้าร่วมโครงการของหน่วยงานภาครัฐ Startup หลายๆ ที่ยังประสบปัญหาเกี่ยวกับการทำเอกสาร และการเบิกจ่ายเงินสนับสนุน ซึ่งมีความยุ่งยากและใช้เวลานาน ความลำบากในการเบิกจ่ายเงินสนับสนุนนั้น ยังได้เพิ่มความกดดันให้กับผู้ประกอบกิจการในการบริหารเงินสะพัดของ Startups อีกด้วย

· Startup ไทยประสบปัญหาในการเข้าถึงที่ปรึกษาในประเทศเนื่องจากจำนวนที่ปรึกษาในประเทศไทยนั้นมีจำนวนจำกัด โดยปัญหานี้เกิดขึ้นจากการที่ประเทศไทย ไม่ได้มีจำนวนผู้ประกอบการ Startup เกิดขึ้นภายในประเทศเยอะ ส่งผลให้จำนวนปรึกษาที่สามารถให้คำปรึกษาแก่ Startup รุ่นใหม่นั้น มีจำนวนน้อยตาม ถึงแม้ว่าปัญหานี้จะสามารถแก้ไขได้ในอนาคตโดยอาศัยเวลาและประสบการณ์ แต่ปัญหาดังกล่าวทำให้ผู้ก่อตั้ง Startup ในไทย มีปัญหาในการเปิดรับแนวคิดความกล้ายอมรับความเสี่ยง และวิสัยทัศน์การขยายธุรกิจออกสู่สากล ซึ่งมีความจำเป็นต่อการสร้าง Unicorn Startups ในไทย

“ปัญหาที่ Startup ไทยเผชิญอยู่นั้นเป็นปัญหาที่มีความซับซ้อนและเกี่ยวข้องกับหลายภาคส่วน” ดร.เมธินี จงสฤษดิ์หวัง กรรมการผู้จัดการ ดีลอยท์ คอนซัลติ้ง กล่าว “เงินทุนระยะเริ่มต้นนั้นเป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างยิ่งต่อ Startup ในการดำเนินธุรกิจ แต่ในขณะเดียวกันนั้นเอง VC หลายๆ เจ้ายังคงมองว่าระบบนิเวศ Startup ในประเทศไทยนั้นยังมีขนาดเล็กและยังไม่ได้พัฒนามากนัก รวมถึง Startup ไทยที่ประสบความสำเร็จยังมีจำนวนน้อย ส่งผลให้ VC ยังไม่กล้าที่จะลงทุนใน Startup ไทยซักเท่าไหร่”

“มีคำกล่าวที่ว่า It takes a village to raise a startup ในกรณีของประเทศไทยเราเชื่อว่าระบบนิเวศที่สนับสนุน Startup นั้นเป็นสิ่งที่ประเทศไทยจำเป็นต้องพัฒนาเป็นอย่างแรก” ดร.เมธินี กล่าว

 

แนวทางในการพัฒนาระบบนิเวศในประเทศไทย:

จากการศึกษาระบบนิเวศในประเทศต่างๆ เราพบว่าระบบนิเวศที่ประสบความสำเร็จนั้น เกิดจากการร่วมมือกันของหน่วยงานภาครัฐ และเอกชน รวมไปถึงความเพียงพอของช่องทางในการรับแหล่งเงินทุน โดยเราเห็นว่า หน่วยงานภาครัฐในประเทศไทยสามารถทำหน้าที่เป็นผู้นำในการแก้ปัญหาต่างๆ ในระบบนิเวศและส่งเสริมการพัฒนาระบบนิเวศในประเทศผ่านแนวทางต่อไปนี้

1) จัดตั้งโครงการร่วมลงทุนระหว่างหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชน เหมือนอย่างในประเทศต่างๆ ยกตัวอย่างเช่น โครงการ SEEDS Capital ในประเทศสิงคโปร์ โครงการ London Co-Investment Fund

ในสหราชอาณาจักร เป็นต้น เพื่อเป็นการดึงดูด VC ให้เข้าร่วมโครงการ หน่วยงานภาครัฐสามารถที่จะพิจารณาออกแบบโครงการร่วมลงทุนนี้ให้ช่วยลดความเสี่ยงที่ VC ต้องแบกรับในการลงทุนใน Startup และนำเสนอโอกาสสร้างผลตอบแทนส่วนเพิ่ม (Upside Return) แก่ VC โดยโครงการเหล่านี้ ไม่เพียงแต่สนับสนุนด้านการเงินแก่ Startup แต่ยังช่วยให้ Startup ได้ความรู้ความสามารถในการดำเนินการธุรกิจ ความเข้าใจตลาด และเครือข่ายในการดำเนินธุรกิจ จาก VC อีกด้วย

2) พิจารณาการเพิ่มงบประมาณสำหรับการส่งเสริม Startup และพัฒนาโครงการเงินทุนสนับสนุนจากหน่วยงานภาครัฐให้ดียิ่งขึ้น ยกตัวอย่างเช่น การเพิ่มเงินทุนสนับสนุน Startup สำหรับแต่ละโครงการให้มีมูลค่าเพียงพอต่อการสนับสนุน Startup เป็นระยะเวลาอย่างน้อย 1 ปี (เช่น การให้เงินสนับสนุนจำนวนอย่างน้อย 500,000 ดอลลาร์สหรัฐ ) นอกจากนี้ โครงการควรที่จะลดความยุ่งยากในการรับสมัครผู้เข้าร่วมโครงการ และเบิกจ่ายเงินสนับสนุน (เช่น การเปิดรับสมัครผ่านช่องทางออนไลน์ และการเพิ่มความรวดเร็วในการเบิกจ่ายเงินสนับสนุน)

3) จัดตั้งและมอบหมายอำนาจให้หน่วยงานที่มีหน้าที่ในการกำกับดูแลการพัฒนาระบบนิเวศ โดยหน่วยงานที่ได้รับมอบหมาย จะช่วยพัฒนาและดูแลโครงการส่งเสริม Startup และ VC ในระบบนิเวศ เพื่อเป็นศูนย์กลางในการพัฒนานวัตกรรม กำกับดูแลให้โครงการสนับสนุน Startup จากหน่วยงานต่างๆ ให้เดินไปในทิศทางเดียวกัน และจัดโครงสร้างให้กับโครงการที่มาจากแต่ละภาคส่วน อีกทั้ง หน่วยงานที่ได้รับมอบหมายนั้น จะช่วยพัฒนาการสื่อสาร และร่วมมือ ระหว่าง Startup และหน่วยงานของภาครัฐ นอกจากนั้น ยังสามารถช่วยจัดหาทรัพยากรที่ Startup สามารถเข้าถึงได้ง่ายอีกด้วย

เราได้เห็นแล้วว่า โครงการร่วมลงทุนระหว่างหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนที่ผ่านการออกแบบมาเป็นอย่างดี ยกตัวอย่างเช่น โครงการในประเทศสิงคโปร์ สหราชอาณาจักร และ ประเทศอิสราเอล นั้นมีความสามารถที่จะช่วยผลักดันและส่งเสริมการพัฒนาด้านนวัตกรรมของประเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมไปถึงโครงการเหล่านี้ยังช่วยดึงดูด VC จากทั้งในประเทศและนอกประเทศให้เข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาระบบนิเวศ Startup อีกด้วยดร.เมธินี กล่าว

จากการศึกษาแนวทางในการพัฒนาระบบนิเวศในประเทศต่างๆ เราค้นพบว่าแต่ละประเทศนั้นล้วนมีปัญหาหรือความท้าทายในการพัฒนาระบบนิเวศที่แตกต่างกันไป และประเทศเหล่านั้นมีการพัฒนาแนวทางในการแก้ปัญหาที่แตกต่างกันออกไป การค้นพบครั้งนี้ช่วยยืนยันกับเราว่า โครงการหรือแนวทางแก้ปัญหาแบบ One-size Fits All นั้นไม่มีอยู่จริง และเราควรที่จะทำการศึกษาแนวทางแก้ปัญหาที่แตกต่างกันเหล่านั้นเพื่อเรียนรู้ว่าเราจะสามารถปรับปรุงและนำบทเรียนจากโครงการเหล่านั้นมาประยุกต์ใช้เพื่อพัฒนาระบบนิเวศในประเทศไทยต่อไปได้อย่างไรเคนเนท เทย์ ผู้อำนวยการ ฝ่ายอุตสาหกรรมการเงิน ดีลอยท์ คอนซัลติ้ง กล่าว

“การพัฒนาระบบนิเวศนั้นจำเป็นต้องใช้เวลา” เคนเนท กล่าวเสริม “การพัฒนาความเป็นผู้ประกอบการ การปลูกฝังแนวคิดที่กล้ายอมรับความเสี่ยง รวมไปถึงการค้นพบไอเดียใหม่ๆ ล้วนแต่จำเป็นต้องใช้เวลา สิ่งเหล่านี้ไม่ใช่สิ่งที่สามารถจะพัฒนาหรือสร้างขึ้นได้ชั่วข้ามคืน”

เราเชื่อว่าระบบนิเวศในประเทศไทยนั้นมีโอกาสที่จะพัฒนาเป็นระบบนิเวศที่สมบูรณ์ยิ่งขึ้นในอนาคต เป็นระบบนิเวศที่เต็มไปด้วย Startup ที่ประสบความสำเร็จ เป็นระบบนิเวศที่สามารถดึงดูด VC ทั้งจากในประเทศและต่างประเทศให้มาลงทุนใน Startup ไทย รวมไปถึงเป็นระบบนิเวศที่เต็มไปด้วยที่ปรึกษาที่พร้อมจะให้คำปรึกษาและความช่วยเหลือแก่ Startup หน้าใหม่ สุดท้ายนี้เราเชื่อว่าหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนจะเป็นส่วนสำคัญในการผลักดันการพัฒนาครั้งนี้” ดร.เมธินี กล่าวเสริม

อ่านรายงานฉบับเต็มได้ที่  https://www2.deloitte.com/sg/en/pages/human-capital/articles/venture-capital-ecosystem-thai.html

สตาร์ตอัปภาคการเกษตร เพื่อยกระดับอนาคตที่ดีกว่าของเกษตรกรไทย

กองทุนพัฒนาผู้ประกอบการเทคโนโลยีและนวัตกรรม (TED FUND) กระทรวงอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม จัดงานแถลงข่าวความสำเร็จ “โครงการส่งเสริมการขยายตลาดและธุรกิจของผู้ประกอบการเทคโนโลยีและนวัตกรรม (TED Market Scaling up) ปี 2565” พร้อม Kick Off เปิดรับสมัครผู้ประกอบการเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่สนใจขยายตลาดทั้งในและต่างประเทศในปี 2566 เป็นการสนับสนุนและส่งเสริมผู้ประกอบการให้สามารถเติบโตได้อย่างก้าวกระโดดและต่อเนื่อง พร้อมทั้งเป็นการผลักดันผลงานนวัตกรรมที่พัฒนาแล้วเสร็จภายใต้การสนับสนุนของกองทุนฯ และหน่วยงานสนับสนุนทุนภาครัฐอื่นๆ ให้สามารถขยายผลสู่เชิงพาณิชย์ได้

นายวิเชฐ ตันติวานิช ประธานคณะอนุกรรมการพิจารณากลั่นกรองและคัดเลือกผู้ประกอบการฯ (TED Market Scaling Up) กล่าวว่า TED Fund มีนโยบายภารกิจในการสนับสนุนและส่งเสริมผู้ประกอบการทั้งในด้านการดำเนินธุรกิจ การพัฒนาศักยภาพ และการขยายตลาดอย่างต่อเนื่อง และได้เล็งเห็นถึงความสำคัญในการส่งเสริมให้ผู้ประกอบการเทคโนโลยีและนวัตกรรมสามารถขยายตลาดได้ทั้งในและต่างประเทศ เพื่อเป็นการผลักดันผลงานนวัตกรรมที่พัฒนาแล้วเสร็จภายใต้การสนับสนุนของกองทุนฯ และหน่วยงานภาครัฐอื่นๆ ให้สามารถขยายผลสู่เชิงพาณิชย์ได้ TED Fund จึงได้ริเริ่มโครงการ TED Market Scaling Up ขึ้นในปีที่ผ่านมา โดยความสำเร็จที่เกิดขึ้นนั้น ในปี 2566 นี้ เชิญชวนให้ผู้ประกอบการที่สนใจ สมัครเข้าร่วมโครงการ เพื่อร่วมสร้างผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคมให้แก่ประเทศ โดยหวังเป็นอย่างยิ่ง โครงการที่มีประโยชน์ต่อผู้ประกอบการเช่นนี้ จะสะท้อนให้เห็นถึงความแข็งแกร่งของภาครัฐในการที่จะช่วยสนับสนุนส่งเสริมพัฒนาผู้ประกอบการให้มีศักยภาพ พร้อมรับกับการปรับเปลี่ยนโครงสร้างทางเศรษฐกิจของประเทศไปสู่เศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรมอย่างแท้จริง

ดร.ชาญวิทย์ ตรีเดช ผู้จัดการกองทุนพัฒนาผู้ประกอบการเทคโนโลยีและนวัตกรรม (TED Fund) กล่าวว่า โครงการ TED Market Scaling Up เป็นอีกกลไกหนึ่งของ TED Fund ที่มุ่งสนับสนุนผู้ประกอบการให้สามารถขับเคลื่อนและนำผลงานนวัตกรรมไปสู่การขยายผล เพื่อสร้างผลกระทบทั้งทางเศรษฐกิจและสังคมให้แก่ประเทศได้ และเพื่อให้การสร้างธุรกิจของผู้ประกอบการบรรลุตามวัตถุประสงค์และสามารถเติบโตได้อย่างเข้มแข็งและยั่งยืน โดยขอบเขตการดำเนินงานของโครงการดังกล่าว ประกอบด้วยการจัดสรรเงินสนับสนุนผู้ประกอบการเทคโนโลยีและนวัตกรรม ควบคู่กับการพัฒนาศักยภาพให้แก่ผู้ประกอบการเทคโนโลยีและนวัตกรรมไปพร้อมๆ กัน และผลจากการดำเนินงานโครงการ TED Market Scaling Up ในปี 2565 พบว่า มีผู้ประกอบการที่สนใจยื่นสมัครขอรับการสนับสนุนจำนวนถึง 74 ราย และโครงการที่เสนอเข้ามานั้นล้วนแล้วแต่มีความน่าสนใจและมีศักยภาพค่อนข้างสูง ส่งผลให้กองทุนฯ พิจารณาอนุมัติเงินสนับสนุนทุนจำนวนถึง 23 โครงการ รวมเป็นวงเงินจำนวนมากกว่า 35 ล้านบาท ซึ่งจากการสนับสนุนดังกล่าว คาดว่าจะสามารถสร้างรายได้รวมถึง 566,590,345 บาท หรือประมาณ 15.8 เท่าของวงเงินสนับสนุน

และในปีงบประมาณ 2566 ทางกองทุนฯ ได้เตรียมเปิดรับสมัครผู้ประกอบการเข้าร่วมโครงการส่งเสริมการขยายตลาดและธุรกิจของผู้ประกอบการเทคโนโลยีและนวัตกรรม (TED Market Scaling up) ให้การสนับสนุนทุนไม่เกินมูลค่า 2 ล้านบาท/โครงการ โดยตั้งเป้าจะสนับสนุนจำนวน 30 ราย ในวงเงินงบประมาณ 60 ล้านบาท ซึ่งคาดว่าจากการสนับสนุนในปีนี้จะสามารถสร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจให้แก่ประเทศไทยได้สูงถึง 948 ล้านบาท ซึ่งการเปิดรับสมัครรอบที่ 1 จะอยู่ในระหว่างวันที่ 15 - 30 เดือนพฤศจิกายน 2565 และรอบที่ 2 จะเปิดรับสมัครในเดือนเมษายน 2566 ดร.ชาญวิทย์ฯ กล่าว

สำหรับโครงการส่งเสริมการขยายตลาดและธุรกิจของผู้ประกอบการเทคโนโลยีและนวัตกรรม (TED Market Scaling up) ที่จะเปิดรับสมัครนั้น นอกจากโครงการจะให้การสนับสนุนในด้านเงินทุนอุดหนุนแล้ว โครงการยังได้สนับสนุนการบ่มเพาะองค์ความรู้ทางด้านธุรกิจและการตลาด โดยเพิ่มพูนความรู้และเสริมกลยุทธ์ในการดำเนินธุรกิจแบบเชิงลึก ควบคู่ไปกับการให้คำปรึกษาอย่างใกล้ชิด การเชื่อมโยงและต่อยอดเครือข่ายความร่วมมือทางธุรกิจให้แก่ผู้ประกอบการ เพื่อให้สามารถนำไปปรับใช้ในการดำเนินธุรกิจจริงอีกด้วย โดยผู้ที่สนใจสามารถติดตามข่าวสารการเปิดรับสมัครได้ผ่านเว็บไซต์ www.tedfund.mhesi.go.th หรือแอดไลน์กองทุนฯ ได้ที่ : @tedfund หรือโทร 02 333 3700 ต่อ 4072-4075

Page 1 of 2
X

Right Click

No right click