December 23, 2024

นายณัฐสิทธิ์  สุนทราณู  ผู้บริหารสูงสุด ฝ่ายการตลาดบัตรเครดิต “เคทีซี” หรือ บริษัท บัตรกรุงไทย จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า “ช้อปออนไลน์เป็นหมวดใช้จ่ายที่คนไทยมีความคุ้นเคยและใช้บริการเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง​    ทำให้มูลค่าตลาดอีคอมเมิร์ซของไทยเติบโตสูงในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และแพลตฟอร์มหลักที่ครองส่วนแบ่งตลาดมากเป็นอันดับหนึ่งในไทย คือ ช้อปปี้ หรือ Shopee ซึ่งเป็นพันธมิตรทางธุรกิจกับ​เคทีซีมายาวนาน​นับตั้งแต่เริ่มเข้ามาทำธุรกิจในประเทศไทย และเติบโตด้วยกลยุทธ์ของการจัดวันมหกรรมแห่งการช้อปปิ้งออนไลน์ 9.9 จนกลายเป็นกระแสความนิยมแบบ​ก้าวกระโดดในหมู่นักช้อปออนไลน์และขยายวงกว้างในกลุ่มผู้บริโภค และธุรกิจอื่นๆ” 

“สำหรับลักษณะการใช้จ่ายออนไลน์ของสมาชิกเคทีซีในช่วง 7 เดือนที่ผ่านมา (มกราคม-กรกฎาคม 2567) เปลี่ยนแปลงจากช่วงเดียวกันของปี 2566 โดยสมาชิกมีพฤติกรรมในการซื้อสินค้าบ่อยครั้งขึ้น ในขณะที่ยอดการซื้อต่อครั้งน้อยลง โดยสังเกตจากจำนวนรายการใช้จ่ายบัตรเครดิตผ่านแพลตฟอร์มอีมาร์เก็ตเพลสยังคงมีการเติบโตอย่างต่อเนื่องเกือบ 40% และทางอีมาร์เก็ตเพลสเอง ก็มีรายการส่งเสริมการขายต่างๆ มากมาย เพื่อจูงใจให้ผู้บริโภคเข้าใช้บริการในแพลตฟอร์มมากขึ้น อาทิ การแจกโค้ดส่วนลดในช่วงเทศกาล Double Date, PAYDAY ต่างๆ รวมถึงการ ไลฟ์ขายสินค้าในราคาพิเศษ เพื่อให้ผู้บริโภคได้เลือกใช้จ่ายในสิ่งที่จำเป็น พร้อมสิทธิประโยชน์ที่คุ้มค่ามากขึ้น” 

เคทีซีได้ร่วมกับช้อปปี้คัดสรร 3 สิทธิพิเศษ สำหรับการใช้จ่ายในสิ่งที่จำเป็น เพื่อร่วมแบ่งเบาภาระใช้จ่ายให้กับสมาชิกบัตรเครดิตเคทีซี​ และสมาชิกบัตรกดเงินสด​  “เคทีซี พราว” ในแคมเปญ 9.9 โดยสิทธิพิเศษที่ 1 รับส่วนลดสูงสุด 2,500 บาท เมื่อช้อปสินค้า 12,000 บาท ที่แอปฯ Shopee และทำรายการผ่อนชำระผ่านบัตรเครดิตเคทีซีทุกประเภท สิทธิพิเศษที่ 2 รับส่วนลดสูงสุด 1,200 บาท เมื่อช้อปผ่านบัตรเครดิตเคทีซีหรือบัตรเคทีซีพราว มาสเตอร์การ์ด เฉพาะวันที่ 9 กันยายน 2567 สิทธิพิเศษที่ 3 ใช้คะแนน KTC FOREVER แลกรับโค้ด Shopee มูลค่าสูงสุด 500 บาท ผ่านแอปฯ KTC Mobile ระหว่างวันที่ 2-16 กันยายน 2567 และใส่นำโค้ดส่วนลดในแอปฯ Shopee ก่อนชำระด้วยบัตรเครดิตเคทีซีที่ร่วมรายการ 

นายการัน อำบานี  ผู้อำนวยการฝ่ายธุรกิจ บริษัท ช้อปปี้ ประเทศไทย กล่าวว่า “จากแนวโน้มการเติบโตของอีคอมเมิร์ซในประเทศไทยที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ผู้บริโภคชาวไทยมีการปรับตัว​ และหันมาใช้ช่องทางออนไลน์ในการจับจ่ายสินค้าและบริการมากขึ้นเป็นอย่างมาก โดยนักช้อปนิยมจับจ่ายสินค้าประเภท Home & Living สูงสุดผ่านบัตรเครดิตเคทีซี บนแอปพลิเคชั่นช้อปปี้ สำหรับกลยุทธ์ที่เรามุ่งมั่นจะเดินหน้าพัฒนาให้ช้อปปี้เป็นมากกว่าแพลตฟอร์ม อีคอมเมิร์ซผ่าน 3 โมเมนต์ (3S Moments) คือ ความเซอร์ไพรส์ (Surprise) ความคุ้มค่า (Saving) และความสำเร็จ (Success) ยังคงเป็นแนวทางที่เราให้ความสำคัญตลอดทั้งปีนี้” 

“ช้อปปี้​ ในฐานะอีคอมเมิร์ซเบอร์หนึ่งครองใจนักช้อปชาวไทย มีความยินดีอย่างยิ่งที่ได้ร่วมงานกับเคทีซีตลอดมา เพื่อสร้างประสบการณ์การช้อปปิ้งออนไลน์ที่สะดวกสบายและเป็นการแบ่งเบาภาระทางการเงิน โดยเฉพาะในช่วงเวลาที่ท้าทายทางเศรษฐกิจอย่างปัจจุบัน เราหวังเป็นอย่างยิ่งว่าความร่วมมือในครั้งนี้ จะช่วยส่งเสริมให้ผู้บริโภคชาวไทยได้รับประสบการณ์การช้อปปิ้งออนไลน์ที่ดียิ่งขึ้น และเราจะพัฒนาบริการของเราต่อไปเพื่อให้ตรงกับความต้องการและความคาดหวังของผู้บริโภคในอนาคต” 

กรุงเทพฯ, ประเทศไทย, วันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2567 – การแสดงความรักกำลังเข้าสู่ความเป็นดิจิทัลเมื่อเกือบ 80 เปอร์เซ็นต์ของคนไทยวางแผนที่จะซื้อของขวัญทางออนไลน์เพื่อมอบให้คนรักในช่วงวาเลนไทน์ อ้างอิงจากผลการศึกษาฉบับล่าสุดที่จัดทำโดย YouGov ในนามของวีซ่า ผู้นำการให้บริการการชำระเงินดิจิทัลระดับโลก โดยการศึกษาฉบับนี้1 มีจุดมุ่งหมายเพื่อวัดพฤติกรรมการใช้จ่ายของผู้บริโภคก่อนวันวาเลนไทน์ รวมถึงปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อ และการกระทำเช่นใดที่ทำให้คนรักใจละลายได้

หนึ่งในสิ่งที่ท้าทายที่สุดคือการอ่านใจว่าคนรักของคุณต้องการอะไร อ้างอิงจากผลการศึกษาฉบับนี้พบว่า เกือบหนึ่งในสาม (59%) ที่เลือกบอกคนรักไปเลยตรงๆ ว่าอยากได้อะไร โดยวิธีที่ได้รับความนิยมเป็นอันดับสองคือการใช้เอไอ หรือ ปัญญาประดิษฐ์เป็นตัวช่วย ซึ่ง 27 เปอร์เซ็นต์ ของผู้ตอบแบบสอบถามวางแผนที่จะบอกสิ่งที่ตนปรารถนาโดยการกระซิบใส่สมาร์ตโฟนของคู่รัก และอีก 22 เปอร์เซ็นต์ เลือกที่จะบอกใบ้คนรักและหวังว่าพวกเขาจะเข้าใจสิ่งที่อยากสื่อไปในที่สุด

เมื่อต้องตัดสินใจว่าจะเลือกซื้อของขวัญแทนใจสำหรับวันวาเลนไทน์จากที่ไหน เกินกว่าครึ่งของของผู้ตอบแบบสอบถาม (57%) วางแผนที่จะซื้อของจากร้านค้าออนไลน์และแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซ ขณะที่เกือบหนึ่งในห้า (20%) ตั้งใจจะซื้อโดยตรงจากร้านค้าบนสื่อโซเชียลอย่าง อินสตาแกรม เฟซบุ๊ก ติ๊กต็อก และไลน์

ความรักปี 2567 มาพร้อมสนนราคา จากการศึกษาชี้ให้เห็นว่า ราคาและส่วนลด (58%) คือปัจจัยสำคัญให้คนเลือกว่าจะซื้อของขวัญวาเลนไทน์จากที่ใด ตามด้วยความหลากหลายและคุณภาพสินค้า (50%) นอกจากนี้ยังเลือกพิจารณาปัจจัยอื่น ๆ เพิ่มเติมไม่ว่าจะเป็นระยะเวลาของโปรโมชันหรือแพ็กเกจ (30%) การมีประสบการณ์ที่ดีในการซื้อครั้งก่อนกับร้านค้า (27%) และชื่อเสียงของแบรนด์ (21%)

นอกจากนี้ การศึกษายังพบอีกว่า เกือบเจ็ดในสิบของผู้ตอบแบบสอบถาม (68%) วางแผนที่จะใช้จ่ายไม่เกิน 1,000 บาท ในขณะที่ 29 เปอร์เซ็นต์ของผู้ตอบแบบสอบถามระบุว่าตั้งใจที่จะใช้จ่ายระหว่าง 1,001 ถึง 10,000 บาท และอีก 3 เปอร์เซ็นต์วางแผนที่จะใช้เงิน 10,000 บาทขึ้นไปกับของขวัญและการฉลองวาเลนไทน์ในปีนี้

เมื่อมาดูในส่วนของประเภทของขวัญที่เลือกซื้อสำหรับวันวาเลนไทน์ พบว่า เกือบหนึ่งในสาม (30%) บอกว่าเครื่องแต่งกาย กระเป๋าถือ และเครื่องประดับแฟชั่นคือตัวเลือกอันดับหนึ่งสำหรับหวานใจของพวกเขา ตามด้วยของขวัญแนวสื่อแทนใจอย่างช็อกโกแลต (25%) และดอกไม้ (12%)

สำหรับหลาย ๆ คน วิธีสื่อความในใจไม่ได้จำกัดเพียงแค่ของขวัญเท่านั้น และความโรแมนติกของจริงยังมีอยู่เมื่อการกระทำที่ชวนให้ใจละลายมากที่สุดคือการได้ใช้เวลาอันมีค่าร่วมกัน (41%) แต่ก็ยังมีอีกหลาย ๆ คู่ที่เลือกซื้อของแทนใจเพื่อแสดงความรักระหว่างกัน โดยของขวัญวาเลนไทน์หรือโปรโมชันที่ได้รับความนิยมที่สุดคือ เซ็ตของขวัญคู่รัก (27%) ซื้อหนึ่งแถมหนึ่ง (22%) ตามมาด้วยบริการแกะสลักชื่อบนสินค้าฟรี (15%) และบัตรกำนัลสปาที่โรงแรม (12%)

หลังจาก ‘ช้อปปี้’ ผู้นำแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และไต้หวัน เปิดตัวโครงการ Certified Shopee Expert Program (CSEP) ประจำปี 2566 ไปในช่วงต้นปีที่ผ่านมา ในเวลานี้ ช้อปปี้ได้คัดสรรผู้ขายช้อปปี้ที่มีความสามารถมากประสบการณ์ทั้ง 8 ท่าน เพื่อมาร่วมส่งต่อความรู้ แลกเปลี่ยนประสบการณ์ และสร้างโลกอีคอมเมิร์ซให้เป็นพื้นที่แห่งโอกาสสำหรับทุกคน

สำหรับผู้ประกอบการที่กำลังดำเนินธุรกิจอยู่บนช้อปปี้และกำลังจะเริ่มทำธุรกิจบนช้อปปี้ ผู้ขายทั้ง 8 ท่านจากโครงการ CSEP ประจำปี 2566 ได้แบ่งปันกลยุทธ์สู่ความสำเร็จไว้ 8 เรื่อง ที่รวบรวมเทคนิคการทำธุรกิจบนแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซให้อย่างครอบคลุม เพื่อเป็นแนวทางให้ผู้ค้าออนไลน์ได้พัฒนาและเพิ่มศักยภาพการแข่งขันให้กับร้านค้าของตนบนโลก อีคอมเมิร์ซที่ยังขยายตัวต่อเนื่อง ในฐานะช่องทางการซื้อสินค้าได้รับความนิยมอย่างต่อเนื่องจากผู้บริโภคยุคดิจิทัล

8 กลยุทธ์ยกระดับเกมการตลาดให้ร้านค้าบนช้อปปี้

1. เลือกสินค้ามาขายแบบไม่มโน ด้วยการดูข้อมูลสถิติบนช้อปปี้

เลือกสินค้าดีมีชัยไปกว่าครึ่ง และการใช้ Data มาประกอบการตัดสินใจจะช่วยให้ร้านตัดสินใจได้ดียิ่งขึ้น ร้านค้าจึงควรเปรียบเทียบความน่าสนใจของสินค้าแต่ละประเภท ด้วยการนำสถิติจากอันดับสินค้าขายดีประจำสัปดาห์ 10 อันดับแรกบนช้อปปี้ มาใช้วิเคราะห์ข้อมูลเหล่านี้

· ประเมินมูลค่าตลาดของสินค้าคร่าว ๆ ผ่านการนำมูลค่ายอดขายต่อเดือนของ 10 อันดับแรกมารวมกัน เพื่อดูว่าตลาดของสินค้านี้มีขนาดใหญ่เท่าไหร่ และนำใช้ตั้งเป้ายอดขายต่อได้ว่าร้านค้าต้องการส่วนแบ่งทางการตลาดกี่เปอร์เซ็นต์

· ประเมินมูลค่ายอดขายต่อเดือนของผู้ที่ได้อันดับ 1 เพื่อดูความแข็งแกร่งของเจ้าตลาดว่าครองส่วนแบ่งทางการตลาดไว้เท่าไหร่ และมีพื้นที่ให้ร้านค้าใหม่ ๆ เข้ามาแข่งขันมากน้อยแค่ไหน

· ประเมินมูลค่าเฉลี่ยต่อชิ้น โดยคำนวณจาก 10 อันดับแรก เพื่อวิเคราะห์ว่าช่วงราคาใดที่เหมาะสม และสอดคล้องกับเป้ายอดขายที่ตั้งไว้

ร้านค้าสามารถเรียนรู้เกี่ยวกับการเข้าถึงสถิติสินค้าขายดีประจำสัปดาห์ วิธีการคำนวณ และตัวอย่างการนำไปใช้จริงได้ที่นี่

2. เทคนิคสร้างแบรนด์บนอีคอมเมิร์ซ เพื่อสร้างความแตกต่างและการจดจำ

เริ่มต้นกำหนดทิศทางของแบรนด์ด้วยหลักการพื้นฐานอย่าง STP หรือ Segmentation, Targeting, และ Positioning เพื่อหา Winning Point ซึ่งเป็นจุดร่วมของ 3 สิ่ง ได้แก่ สิ่งที่แบรนด์เราทำได้ดี สิ่งที่ลูกค้าต้องการ และสิ่งที่แบรนด์คู่แข่งไม่มีนั่นเอง

เมื่อได้ Winning Point เรียบร้อยแล้ว ร้านค้าจะต้องนำมาสร้าง Brand Identity หรืออัตลักษณ์ของแบรนด์เพื่อใช้สื่อสารในแต่ละ Touch Point โดย 3 สิ่งสำคัญที่ต้องคำนึงถึงในการทำแบรนด์บนแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซ คือ การออกแบบหน้าร้าน การใช้คำ และการใช้ภาพ

· การออกแบบหน้าร้าน: การแต่งหน้าร้านออนไลน์ให้มีบรรยากาศที่สะท้อนความเป็นแบรนด์จะช่วยให้ลูกค้าสนใจและอยากเข้าไปดูสินค้าภายในร้านต่อ ภาพที่แบรนด์สามารถนำมาตกแต่งหน้าร้านได้มีมากมาย เช่น ภาพปกที่แสดงความเป็นแบรนด์ได้ชัดเจน ภาพแนะนำสินค้าหรือคอลเลคชั่นสินค้า ภาพให้ความรู้เกี่ยวกับสินค้า เช่น วิธีการใช้งาน คุณสมบัติพิเศษของสินค้า ตลอดจนภาพแนะนำโปรโมชั่นหรือแคมเปญ เป็นต้น

· การใช้คำ: สร้างถ้อยคำอธิบายสินค้าให้โดนใจด้วยหลักการ F-B-A

F – Feature บอกคุณสมบัติของสินค้าให้ครบครัน

B – Benefits บอกประโยชน์ที่ลูกค้าจะได้รับจากคุณสมบัติต่าง ๆ ของสินค้า

A – Advantage บอกจุดเด่นที่ทำให้สินค้าหรือแบรนด์เหนือกว่าหรือต่างจากคู่แข่ง โดยจะน่าสนใจยิ่งขึ้นถ้าจุดเด่นนี้สามารถตอบโจทย์ Pain Point หรือปัญหาของลูกค้าได้อีกด้วย

· การใช้ภาพ: ใช้ภาพที่ลูกค้าดูออกได้ทันทีว่าขายอะไร ไม่ใส่รายละเอียดที่ไม่เกี่ยวข้องเข้าไปให้รกภาพ คุมสีและโทนของภาพให้เป็นไปตามอัตลักษณ์แบรนด์ และใช้ภาพที่ช่วยสะท้อนไลฟ์สไตล์หรือความสนใจของกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย

3. ยิง Ads แบบประหยัดและเห็นผล

สิ่งแรกที่ร้านค้าควรทำเพื่อประสิทธิภาพในการทำโฆษณาหรือการยิง Ads บนช้อปปี้ คือ การสำรวจร้านค้าของตัวเองว่ามีสินค้ามากเพียงพอหรือไม่ เนื่องจากการยิง Ads ที่ทำให้ผู้ซื้อมองเห็นตัวเลือกหลากหลายในคราว

เดียว ทั้งสินค้าหลัก สินค้ารอง และสินค้าเกี่ยวเนื่อง จะช่วยเพิ่มโอกาสการขายได้มาก ทั้งยังควรเลือกใช้สินค้าที่มีกำไรมากพอ และทำควบคู่ไปกับโปรโมชั่นที่ดึงดูดใจลูกค้า เช่น Add-on Deal, Bundle Deal, และ Seller Voucher

นอกจากนี้ ควรตั้งงบยิง Ads เอาไว้อย่างชัดเจน สำหรับมือใหม่และร้านที่งบน้อยควรเริ่มยิง Ads ทีละตัวเพื่อศึกษาการทำงานของโฆษณา พฤติกรรมลูกค้า คอยดูผลและปรับโฆษณาทุก ๆ 7 – 14 วันเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและความคุ้มค่า ที่สำคัญอย่าลืมประหยัดงบยิง Ads ด้วยการใช้ส่วนลดเครดิต Shopee Ads ที่ช้อปปี้มอบให้กับร้านค้า

ร้านค้ายังสามารถประเมินความคุ้มค่าของโฆษณาได้จาก Return on Ads Spend (ROAS) และ Advertising Cost of Sales (ACOS) โดยสามารถเรียนรู้เกี่ยวกับการประเมินผลการยิง Ads เพิ่มเติม ได้ที่นี่

4. การพิชิตอันดับสินค้าขายดีประจำสัปดาห์

การเป็นร้านค้าที่มีสินค้าติดแรงค์ขายดีประจำสัปดาห์ช่วยเพิ่มความน่าเชื่อถือได้มาก เพราะอันดับการันตี, ยอดขายต่อเดือน, และคะแนนรีวิวจะช่วยเพิ่มความมั่นใจให้ลูกค้า นำไปสู่โอกาสการขายที่มากขึ้น โดยมีเช็คลิส 6 ข้อ ที่ผู้ขายควรกลับมาสำรวจและปรับปรุง เพื่อผลักดันสินค้าสู่การเป็นอันดับต้น ๆ ของสินค้าขายดีประจำสัปดาห์

· ภาพสินค้า: ภาพดึงดูดใจ ครบถ้วนและเหมือนสินค้าจริง ทำให้ลูกค้าเห็นการใช้งานในชีวิตประจำวัน

· ชื่อสินค้า: ควรใช้ชื่อที่ลูกค้าใช้เรียกสินค้านั้นจริง ๆ บ่งบอกคุณลักษณะสำคัญให้ครบ และการใส่โปรโมชั่นหรือโค้ดส่วนลดไว้ในวงเล็บ ยังช่วยดึงดูดลูกค้าได้เป็นอย่างดี

· รายละเอียดสินค้า: มีครบถ้วนทั้งคุณสมบัติ การใช้งาน เรื่องราวของสินค้าและแบรนด์ และบริการหลังการขาย โดยข้อมูลที่ครบครันจะช่วยเพิ่มการมองเห็นสินค้า เพิ่มความมั่นใจให้ลูกค้า ลดคำถามเกี่ยวกับสินค้า และลดอัตราการคืนสินค้าได้อีกด้วย

· คะแนนและรีวิว: คะแนนสินค้ามากกว่า 4.5 (เต็ม 5) ช่วยเพิ่มความน่าเชื่อถือและโอกาสการเพิ่มยอดขาย

· Shopee Ads: ใช้โฆษณาภายในแพลตฟอร์มช้อปปี้เพิ่มการมองเห็นสินค้า

· Affiliate Marketing Solution (AMS): โปรโมทผ่านพันธมิตรอินฟลูเอนเซอร์เพื่อเพิ่มการมองเห็นนอกแพลตฟอร์ม

5. ใช้ Shopee Live ให้ปัง ปิดการขายให้เป็น

ฟีเจอร์ที่มาแรงในเวลานี้ต้องยกให้ Shopee Live ซึ่งสามารถช่วยร้านค้าให้เพิ่มจำนวนผู้มองเห็นร้านค้า เพิ่มผู้ติดตามร้านค้า และเพิ่มยอดขายได้เป็นอย่างดี โดยการสร้างไลฟ์ก็มีเพียง 4 ขั้นตอนง่าย ๆ ได้แก่

· เลือกภาพหน้าปก Shopee Live: ขนาด 720*720 pixel

· สร้างหัวข้อไลฟ์ให้น่าสนใจ เช่น การแจกโค้ดลด 50%

· เพิ่มสินค้าที่ต้องการจะขายใน Shopee Live: เพิ่มได้สูงสุดมากถึง 500 SKU

· เรียงลำดับสินค้า: สินค้าขายดีควรอยู่ด้านบนให้เห็นง่าย

สิ่งสำคัญในการไลฟ์ขายสินค้าให้ประสบความสำเร็จ คือ การมีปฏิสัมพันธ์กับผู้ชมและนำเสนอเรื่องราวของสินค้าและแบรนด์ให้น่าสนใจ นอกจากนี้ ช้อปปี้ยังมีเคล็ดลับที่จะช่วยเพิ่มจำนวนผู้ชม เพิ่มการมีส่วนร่วม และช่วยปิดการขาย ได้แก่

· กดแจ้งเตือนไปยังลูกค้าบน Shopee และโปรโมทไลฟ์ไปยัง Social Media ของร้านค้า

· ใช้ฟีเจอร์แจก Coins ช่วยดึงดูดลูกค้า ทั้งนี้ ควรตั้งงบประมาณการแจก Coin ในแต่ละไลฟ์ไว้ก่อน

· ดึงดูดลูกค้าให้อยู่ในไลฟ์นานขึ้น ด้วยการแบ่งทำโปรโมชั่นเป็นช่วง ๆ เอนเตอร์เทนต์ลูกค้าอย่างต่อเนื่อง และให้ลูกค้ามีส่วนร่วมในการเลือกสินค้ามานำเสนอ

· มัดใจด้วยโปรโมชั่นพิเศษเฉพาะในไลฟ์ โดยควรบอกราคาพร้อมส่วนลด เปรียบเทียบส่วนต่างให้ลูกค้าทราบอย่างชัดเจน คำนวณราคาที่ลดแล้วเพื่อแสดงถึงความคุ้มค่า และควรบอกโปรโมชั่นที่ลูกค้าจะได้รับทั้งหมดภายในไลฟ์เป็นระยะ ๆ

· กระตุ้นให้เกิดการตัดสินใจซื้อ ด้วยการแจ้งให้ผู้ชมทราบถึงข้อจำกัดในการรับความคุ้มค่า เช่น ระยะเวลาการกดซื้อเฉพาะในไลฟ์ จำนวนสินค้าที่จะนำมาขายในไลฟ์ รวมถึงแจ้งจำนวนสินค้าที่ขายออกไปแล้วเป็นระยะ ๆ ให้เห็นว่าสินค้าเหล่านั้นกำลังได้รับความนิยม

 6. สร้างวิดีโอขายสินค้าให้น่าสนใจ

วิดีโอนำเสนอสินค้าเป็นอีกเครื่องมือที่สามารถจูงใจให้ลูกค้าตัดสินใจซื้อได้ง่ายขึ้น โดยเฉพาะสำหรับสินค้าที่มีราคาสูง มีอุปกรณ์จำนวนมาก มีคุณสมบัติหรือฟีเจอร์ที่มีความเฉพาะตัวซึ่งร้านค้าต้องการนำเสนอหรือลูกค้าต้องการทราบ หรือมีวิธีการใช้งานที่ลูกค้าต้องศึกษาใหม่เป็นพิเศษ โดยร้านค้าควรให้ความสำคัญกับคุณภาพที่คมชัดของภาพและเสียง เปิดคลิปช่วง 10 วินาทีแรกให้น่าสนใจ และไม่ขายตรงจนเกินไปนั่นเอง

7. ใช้ ‘ส่งฟรีร้านโค้ดคุ้ม’ และ ‘ส่วนลดร้านโค้ดคุ้ม’ ให้มีประสิทธิภาพ

‘ส่งฟรี’ เป็นปัจจัยอันดับ 1 ที่ช่วยกระตุ้นให้เกิดการตัดสินใจซื้อสินค้าออนไลน์ ด้านส่วนลด Cash Back หรือ Coin เป็นปัจจัยที่มีประสิทธิภาพไม่แพ้กัน และเมื่อเข้าร่วมโปรแกรม ‘ส่งฟรีร้านโค้ดคุ้ม’ และ ‘ส่วนลดร้านโค้ดคุ้ม’ แล้ว ร้านและสินค้าจะได้รับการติดป้ายแท็กพิเศษซึ่งช่วยดึงดูดลูกค้าและกระตุ้นยอดขายได้ดีขึ้น นอกจากนี้ ยังช่วยเพิ่มโอกาสการมองเห็นของร้านค้า โอกาสเข้าร่วมแคมเปญ โอกาสรับสล็อต Flash Sale และยังได้รับส่วนลดเครดิตโฆษณา Shopee Ads อีกด้วย

ทั้งนี้ ร้านค้าควรพิจารณาเข้าร่วมแคมเปญต่าง ๆ ตามงบประมาณการทำการตลาดที่กำหนดเอาไว้ และคำนึงถึงการกระตุ้นให้ลูกค้าเพิ่มมูลค่าในการจ่ายเพื่อซื้อสินค้าใน 1 ครั้ง (Basket Size) ร่วมด้วย

8. แนวทางบริหารจัดการร้านค้าออนไลน์ฉบับพนักงานประจำ

หลาย ๆ คนต้องการสร้างรายได้จากหลายช่องทางทั้งเพื่อความมั่นคงและมั่งคั่ง และการขายของออนไลน์ก็เป็นอีก

อาชีพเสริมที่มีความยืดหยุ่นสูงและผู้ขายสามารถบริหารจัดการเวลาให้ไม่กระทบงานหลักได้ โดยสิ่งที่เจ้าของธุรกิจออนไลน์ต้องทำในแต่ละวัน และแต่ละสัปดาห์ มีดังนี้

กิจวัตรประจำวันของเจ้าของธุรกิจออนไลน์:

· จัดการคำสั่งซื้อ: ควรแบ่งเวลาก่อนทำงานและหลังทำงานเพื่อแพ็คสินค้าและนำส่งสินค้าเป็นประจำ

· โปรโมทสินค้า: ใช้เวลาเพียงไม่กี่วินาทีในการกดโปรโมทสินค้า ซึ่งทำได้ทุก ๆ 4 ชั่วโมง

· ตอบแชทลูกค้าและจัดการรีวิว: ในเวลาว่างควรเข้ามามีปฏิสัมพันธ์กับลูกค้าเพื่อสร้างความน่าเชื่อถือและความประทับใจที่ดี ทั้งนี้ หากร้านค้ามีการให้ข้อมูลที่ครบครันอยู่แล้วก็จะลดเวลาที่ร้านใช้ในการถามตอบได้

· ติดตามเป้าหมายประจำวัน: แบ่งเวลาตามความสะดวก เพื่อเข้ามาประเมินยอดขาย ค่าโฆษณา และสถิติต่าง ๆ เพื่อนำมาพัฒนาร้านค้าต่อไป

กิจวัตรประจำสัปดาห์ของเจ้าของธุรกิจออนไลน์:

· จัดการคลังสินค้า: เติมของให้พร้อมขายเสมอ

· ตกแต่งร้านค้าและพัฒนาสินค้า: จัดทำอาร์ตเวิร์กและแคปชั่นต่าง ๆ และอัปเดตร้านค้าให้สวยงามและน่าดึงดูดอยู่เสมอ

· วางแผนการโปรโมท: วางแผนแคมเปญ การทำโปรโมชั่น และการแจกโค้ดส่วนลด

· ติดตามเป้าหมายประจำสัปดาห์: ประเมินยอดขาย ค่าโฆษณา และสถิติต่าง ๆ

นี่เป็นเพียงสรุปประเด็นสำคัญที่ผู้ขายทั้ง 8 ท่านจากโครงการ Certified Shopee Expert Program (CSEP) ประจำปี 2566 นำมาแบ่งปันกับผู้ประกอบการธุรกิจออนไลน์ทุกท่าน ผู้ที่สนใจสามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://seller.shopee.co.th/edu/blog/400

ตลาดอีคอมเมิร์ซในประเทศไทยยังคงเติบโตต่อเนื่อง โดยมีการคาดการณ์ว่าจะขยายตัวเฉลี่ยปีละ 13% ในช่วงปี 2022 - 2025 จนมีมูลค่าราว 32,000 ล้านเหรียญสหรัฐ ส่งผลให้ธุรกิจต่าง ๆ ก้าวเข้าสู่โลกอีคอมเมิร์ซเพื่อหาโอกาสใหม่ ๆ ทั้งยังมีผู้ประกอบการรายใหม่เกิดขึ้นมากมาย ทั้งนี้ ผู้ค้าออนไลน์รายใหม่อาจจะยังขาดความรู้และประสบการณ์ ทั้งด้านการบริหารร้านค้าออนไลน์ การคำนวณต้นทุน การตั้งราคาขาย การบริหารคลังสินค้า และความรู้ด้านภาษี แม้ขายดีก็อาจจะขาดทุนได้

ดังนั้น ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และ Sea (ประเทศไทย) ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตแพลตฟอร์มชั้นนำ ได้แก่ การีนา (Garena) ช้อปปี้ (Shopee) และซีมันนี่ (SeaMoney) จึงผสานความเชี่ยวชาญ จัดทำวิดีโอสั้น (video series) ชุด ‘Smart E-commerce Entrepreneur’ จำนวน 5 ตอน เพื่อเติมเต็มความรู้ เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันให้กับผู้ประกอบการออนไลน์ ผ่านเนื้อหาที่ถูกย่อยให้กระชับ เข้าใจง่าย และนำไปใช้ได้จริง ทั้งด้าน ‘การทำธุรกิจบนอีคอมเมิร์ซ’ และ ‘การเงินเพื่อธุรกิจออนไลน์’ (Financial literacy for online sellers)

นางพรรณวดี ลดาวัลย์ ณ อยุธยา ผู้ช่วยผู้จัดการ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย กล่าวว่า ตลาดหลักทรัพย์ฯ มุ่งส่งเสริมการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืนในทุกมิติ โดยมุ่งมั่นพัฒนาตลาดทุนให้เป็นประโยชน์ต่อทุกภาคส่วน ภายใต้วิสัยทัศน์ “To Make the Capital Market ‘Work’ for Everyone” โดยภารกิจหนึ่งที่สำคัญในด้านการส่งเสริมความรู้ผู้ประกอบการ คือ การพัฒนาองค์ความรู้และทักษะความเป็นผู้ประกอบการ ตลอดจนการเผยแพร่ความรู้เหล่านี้ไปยังกลุ่มเป้าหมาย ภายใต้แบรนด์ “ห้องเรียนผู้ประกอบการ” ผ่านสื่อความรู้ดิจิทัล e-Learning คลิปความรู้ วีดีโอซีรีส์ บทความและ Infographic กว่า 600 ชิ้น ซึ่งการได้ร่วมมือกับ Sea (ประเทศไทย) ในครั้งนี้ จะเป็นการผนึกกำลังความแข็งแกร่งของแต่ละองค์กร มาต่อยอดและขยายผลไปยังกลุ่มเป้าหมายในวงกว้าง โดยเฉพาะกลุ่มผู้ประกอบการออนไลน์ที่เติบโตอย่างต่อเนื่อง”

ดร.ศรุต วานิชพันธุ์ ผู้อำนวยการอาวุโส Sea (ประเทศไทย) กล่าวถึงการยกระดับความสามารถผู้ประกอบการบนแพลตฟอร์มช้อปปี้ (Shopee) ว่า “การเริ่มทำธุรกิจบนอีคอมเมิร์ซเป็นเรื่องง่าย ทั้งยังใช้ต้นทุนต่ำ ทำให้คนไทยหันมาเป็นผู้ประกอบการออนไลน์กันมากในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ดังนั้น Sea (ประเทศไทย) และช้อปปี้ (Shopee) ซึ่งเป็นธุรกิจ อีคอมเมิร์ซภายในเครือ จึงมุ่งให้ความรู้และส่งเสริมทักษะผู้ประกอบการให้กับผู้ค้าช้อปปี้มาโดยตลอด ปฏิเสธไม่ได้ว่า การทำธุรกิจในปัจจุบันมีการแข่งขันสูง และผู้ค้ารายใหม่อาจจะยังขาดความรู้ โดยเฉพาะในด้านการจัดการร้านค้า การคำนวณและบริหารต้นทุน การตั้งราคา การบริหารคลังสินค้า และภาษี ดังนั้น การร่วมมือกับตลาดหลักทรัพย์ฯ ในครั้งนี้ จึงเป็นการผสานความเชี่ยวชาญ เพื่อตอบโจทย์ Pain Point ของผู้ประกอบการออนไลน์อย่างแท้จริง”

เนื้อหา 5 ตอน ประกอบไปด้วย

· EP1 โอกาสการขายผ่าน e-commerce

· EP2 ปัจจัยสำคัญที่ทำให้ธุรกิจ Ecommerce ประสบความสำเร็จ

· EP3 ตั้งราคาสินค้าอย่างไรให้เหมาะสมและไม่ขาดทุน

· EP4 จัดการ Stock สินค้าให้ดีทุนไม่จม

· EP5 ขายออนไลน์ต้องรู้ เสียภาษีอย่างไร

ผู้ประกอบการและบุคคลทั่วไปที่มีความสนใจ สามารถรับชม วิดีโอสั้นชุด ‘Smart E-commerce Entrepreneur’ ทั้ง 5 ตอน ได้ทาง Shopee University, SeaAcademy.co และ LiVE Platform by SET

ตลาดอีคอมเมิร์ซได้รับแรงกระตุ้นจากสถานการณ์โควิด ทำให้เกิดการเปลี่ยนผ่านไปสู่ยุคการช้อปปิ้งออนไลน์อย่างรวดเร็ว และมีการขยายตัวอย่างไม่หยุดยั้ง เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภค บริษัทอีคอมเมิร์ซจำเป็นต้องก้าวนำเทรนด์เสมอ ด้วยการพัฒนารูปแบบอุตสาหกรรมให้ทันยุคทันสมัย

แนวโน้มการพัฒนาของอุตสาหกรรมอีคอมเมิร์ซในปี 2024 เป็นการนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยอำนวยความสะดวก อาทิ การบูรณาการปัญญาประดิษฐ์ (AI) มาใช้วิเคราะห์พฤติกรรมผู้บริโภค เพื่อนำเสนอสินค้าและแคมเปญการตลาดที่เหมาะสม สร้างประสบการณ์การช้อปปิ้งออนไลน์ที่แตกต่างและกระตุ้นยอดขาย การเติบโตของการค้าด้วยเสียง เมื่อลำโพงอัจฉริยะแพร่หลาย ผู้บริโภคมักจะใช้ผู้ช่วยเสียงมากขึ้นในการซื้อ สั่งของชำ และค้นหาสินค้าออนไลน์ ทำให้เป็นที่นิยมโดยเฉพาะกับผู้บริโภคยุคใหม่ที่ต้องการประหยัดเวลา ปัจจุบันได้มีการพัฒนาการชำระเงินแบบใหม่ที่หลากหลาย อย่างการชำระเงินผ่านมือถือและกระเป๋าเงินดิจิทัล หรือสกุลเงิน cryptocurrency โดยบริษัทอีคอมเมิร์ซจะต้องหาวิธีรองรับการชำระเงินให้ครอบคลุมทุกรูปแบบ สร้างความยืดหยุ่นและความสะดวกสบายแก่ผู้บริโภคมากที่สุด

BEST SOFTWARE (เบสท์ ซอฟต์แวร์) ผู้ให้บริการซอฟท์แวร์โซลูชันด้านธุรกิจอีคอมเมิร์ซ และการจัดการคลังสินค้าแบบครบวงจร ตั้งแต่ต้นทางจนถึงปลายทาง โดยเชื่อมต่อกับระบบขนส่งพัสดุ เบสท์ เอ็กซ์เพรส (BEST Express) หรือบริษัทขนส่งทางเลือกอื่น ๆ ที่พร้อมให้บริการสำหรับธุรกิจทุกขนาด (เล็ก กลาง ใหญ่) ในประเทศไทย ภายใต้การดูแลของ BEST Inc. (เบสท์) ที่มากพร้อมด้วยประสบการณ์และความเชี่ยวชาญในอุตสาหกรรมอีคอมเมิร์ซมากว่า 10 ปี และเป็นผู้ให้บริการร้านค้าออนไลน์อีคอมเมิร์ซทั่วโลกจำนวนกว่า 1 ล้านร้านค้า

บริการ BEST SOFTWARE (เบสท์ ซอฟต์แวร์) บริการโซลูชันดิจิทัลแบบครบวงจร ได้แก่

- ezOrder (อีซี่ออเดอร์) ซอฟต์แวร์จัดการคำสั่งซื้อสินค้า ในการพิมพ์ใบจัดส่งแบบอัจฉริยะ เชื่อมต่อโดยตรงกับแพลตฟอร์มหลักอย่าง Shopee, Lazada, Facebook live และอื่น ๆ

- ezShop (อีซี่ช้อป) เป็น ERP ที่ช่วยจัดการคำสั่งซื้อหลายช่องทางแบบครบวงจรในที่เดียวแบบ One-Stop Service เหมาะสำหรับกลุ่มอีคอมเมิร์ซร้านค้าออนไลน์ทุกขนาด ที่มีที่มีหลายแพลตฟอร์ม หลายร้านค้าออนไลน์ หลายช่องทาง หรือมีคลังสินค้าที่มากมาย และใช้บริการหลายโลจิสติกส์

- QuickWMS เป็นระบบการจัดการคลังสินค้าอีคอมเมิร์ซ ช่วยจัดการคลังสินค้า แก้ปัญหาความสับสนวุ่นวายของคลังสินค้าและลดข้อผิดพลาดในการจัดส่งได้ถึง 90% แก้ปัญหาการกระจายของ

สินค้า รายการที่ไม่เป็นระเบียบและการสูญหายที่เกิดขึ้นบ่อย สามารถเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการคลังสินค้าได้มากถึง 50%

นอกจากนี้ การเติบโตของอีคอมเมิร์ซข้ามพรมแดน เป็นอีกหนึ่งเทรนด์ที่น่าสนใจ ด้วยจำนวนผู้บริโภคที่ต้องการซื้อสินค้าจากตลาดต่างประเทศมากขึ้น อีคอมเมิร์ซข้ามพรมแดนจึงคาดว่าจะเติบโตอย่างทวีคูณ แพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซที่ให้ความสำคัญกับอีคอมเมิร์ซข้ามพรมแดนมีแนวโน้มที่จะเติบโตอย่างมากในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า BEST Express มีบริการ BEST Cross border ที่มีเครือข่ายเชื่อมต่อในภูมิภาคเอาเชียตะวันออกเฉียงใต้และครอบคลุมทั่วเอเชีย ที่พร้อมให้บริการจัดส่งสินค้าจากประเทศจีนมาประเทศไทยโดยให้บริการในรูปแบบของธุรกิจ B2B และ B2C

เบสท์ (BEST Inc.) ที่เดียวจบครบทุกความต้องการด้านโลจิสติกส์และอีคอมเมิร์ซ สำหรับพ่อค้าแม่ค้าออนไลน์ที่สนใจ สามารถเยี่ยมชมเว็บไซต์ได้ที่ https://www.best-inc.co.th/ หรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมโทร 02-108-8000

Page 1 of 2
X

Right Click

No right click