November 23, 2024

บริษัท เวอร์ซุนิ (ประเทศไทย) จำกัด ผู้นำเข้า และจำหน่ายหม้อทอดฟิลิปส์อย่างเป็น ทางการ จัดงาน “ฟิลิปส์หม้อทอดที่ใช่ เหมือนเจอคู่ใจที่ชอบ” RapidAir Technology สิทธิบัตรเฉพาะของฟิลิปส์ ชวนพิสูจน์เทคโนโลยีแห่งความกรอบนอกนุ่มในที่มีเฉพาะในหม้อทอดฟิลิปส์ เทคโนโลยี RapidAir สิทธิบัตรแผ่นกระจายความร้อนดีไซน์รูปปลาดาว ที่ช่วยให้อาหารกรอบนอกนุ่มใน สุกทั่วถึง ลดน้ำมันได้สูงสุดถึง 90% (เทียบกับการทอดมันฝรั่งสดในน้ำมันท่วม) ทำให้การทำอาหารอร่อยเป็นเรื่องง่าย กรอบ อร่อย แต่ดีต่อสุขภาพกว่า ภายในงานพบกับแขกรับเชิญพิเศษ "แอฟ ทักษอร ภักดิ์สุขเจริญ" และ "นนกุล ชานน สันตินธรกุล" ที่มาร่วมพูดคุยเกี่ยวกับไลฟ์สไตล์ในการทำอาหาร พร้อมลงมือทำเมนูสุดพิเศษให้กับคนพิเศษ ร่วมพิสูจน์ความกรอบฟินในแบบหม้อทอดฟิลิปส์ ที่สามย่านมิตรทาวน์

นายวุฒิชัย รัตนสุมาวงศ์ Country Manager, Versuni (Thailand) Co, Ltd. กล่าวว่า “ฟิลิปส์ เป็นแบรนด์ผู้นำในการริเริ่มทำตลาดหม้อทอดไร้น้ำมัน ภายใต้ชื่อ Philips Airfryer โดยเริ่มวางขายในประเทศไทยตั้งแต่ปี 2554 โดยปัจจุบันผู้บริโภคคนไทยหันมาสนใจในเรื่องสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี ผ่านการออกกำลังกาย รับประทานอาหารเพื่อสุขภาพ และทำอาหารเองมากขึ้น ส่งผลให้ยอดขายของหม้อทอดฟิลิปส์เติบโตอย่างต่อเนื่อง ซึ่งหม้อทอดฟิลิปส์ยังได้รับความนิยมไปทั่วโลกในฐานะเครื่องทอดอาหารไขมันต่ำอันดับ 1 ของโลก (ที่มา Euromonitor International Ltd. หมวดสินค้าหม้อทอดไร้น้ำมัน มูลค่าการขายปลีกข้อมูลปี 2566 จากการวิจัยที่ ดำเนินการในเดือนกุมภาพันธ์ 2567) ด้วยเทคโนโลยี RapidAir สิทธิบัตรเฉพาะของเฉพาะของฟิลิปส์ ที่ทำให้อาหารอร่อย กรอบนอกนุ่มใน สุกทั่วถึงโดยไม่ต้องใส่น้ำมัน ทำให้อาหารที่ได้อร่อยและดีต่อสุขภาพกว่า นอกจากนี้ยังใช้วัสดุ ที่ทนทาน ปลอดภัยกับอาหาร ผ่านมาตรฐานความปลอดภัยกับอาหารระดับโลกทั้งในยุโรป อเมริกา และแคนาดา เป็นการสะท้อนให้เห็นว่าเราใส่ใจในทุกรายละเอียด พร้อมฟังก์ชันที่ครบครันทำได้มากกว่าหม้อทอดสูงสุด 22 ฟังก์ชัน เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคในทุกกลุ่ม ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มที่เป็น Serious Cooker หรือเป็น Casual Cooker รวมถึงผู้บริโภคที่สนใจหม้อทอดในระดับราคาที่แตกต่างกันให้เหมาะสมกับการใช้งานของแต่ละท่าน ซึ่งจะเห็นได้จากการพัฒนาสินค้าและผลิตภัณฑ์ของเราตลอดระยะเวลา 14 ปีที่ผ่านมา และเราจะยึดหลักการนี้ในการดำเนินธุรกิจต่อไป  เพื่อให้สอดคล้องและตอบสนองวิสัยทัศน์ของบริษัทคือ Turn Houses into Homes  หรือ เปลี่ยน บ้านของผู้บริโภคทุกท่านให้เป็นบ้านที่เปี่ยมด้วยความสุขทั้งร่างกายหรือจิตใจ เป็นบ้านที่อบอุ่น เป็นบ้านที่เต็มไปด้วย ความรัก”

สำหรับ RapidAir Technology เป็นสิทธิบัตรเฉพาะของหม้อทอดฟิลิปส์ โดยมีลักษณะเฉพาะเป็นแผ่นกระจาย ความร้อนที่มีฐานเป็นรูปปลาดาวซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่ช่วยทำให้ร้อนเร็วและอาหารสุกอย่างทั่วถึง รสชาติอร่อยเหมือน ทอดในน้ำมัน กรอบนอกฉ่ำใน รวมไปถึงยังรีดไขมันส่วนเกินออกจากอาหารได้ สูงสุด 90% ช่วยให้คุณทำอาหารได้เร็วขึ้น 50% และประหยัดพลังงานสูงสุด 70% และยังใช้วัสดุที่ทนทาน ปลอดภัยกับ อาหาร โดยเฉพาะเมื่ออาหารโดนความร้อน ซึ่งต้องคำนึงถึงความปลอดภัยเป็นสำคัญ ถือว่าหม้อทอดเป็นหนึ่งใน นวัตกรรมที่โดดเด่นของฟิลิปส์ เพื่อช่วยดูแลด้านสุขภาพ นอกจากนี้ยังสร้างแรงบันดาลใจในการทำอาหารอร่อย ได้ง่ายๆแค่ ปลายนิ้วผ่านแอปพลิเคชัน HomeID (https://link.home.id/adKhtRDSGHb) มีสูตรอาหารกว่า 1,000 สูตรที่อร่อยและดีต่อสุขภาพจากเชฟและนักโภชนาการทั่วโลก รวมทั้ง เคล็ดลับการทำอาหาร และอื่นๆ อีกมากมายที่เหมาะกับหม้อทอดของคุณโดยเฉพาะ ใครๆก็สามารถทำอาหารอร่อยได้ง่ายๆ แม้ไม่เคยใช้หม้อทอดมาก่อน

ภายในงานพบไฮไลท์พิเศษจากนางเอกสาวสายหวาน "แอฟ ทักษอร ภักดิ์สุขเจริญ" ที่ควงคู่มากับพระเอกรุ่นน้องคนสนิท "นนกุล ชานน สันตินธรกุล" ที่มาร่วมแชร์ทริค และประสบการณ์ในการทำอาหาร พร้อมโชว์ลีลาการเข้าครัวด้วยหม้อทอดไร้น้ำมัน Philips AirFryer หม้อทอด 2 ตะกร้า ให้ทั้งคู่ร่วมกันรังสรรค์สุดยอดเมนูกรอบอร่อยทั้งอาหารคาวและอาหารหวานได้ในเวลาเดียวกัน ไม่ว่าจะเป็น ข้าวมันไก่ทอด และพายสตรอเบอรี่ ให้กับแฟนๆ ผู้โชคดีภายในงานขึ้นมาร่วมพิสูจน์ความอร่อย กรอบนอกนุ่มใน ชิมรสชาติ รับความสุข ความอร่อย และความฟิน กลับบ้าน

ที่สุดแห่งความกรอบ อร่อยกรอบนอก นุ่มใน สุกทั่วถึง ได้ง่ายๆทุกมื้อ หม้อทอดตัวจบต้องหม้อทอด Philips AirFryer ที่มี RapidAir Technology เท่านั้น นวัตกรรมสุดล้ำแบบนี้ เป็นเจ้าของก่อนใครได้ที่ Central, Robinson, Homepro, Powerbuy ช่องทางออนไลน์ Lazada, Shopee และร้านค้าตัวแทนอย่างเป็นทางการ สามารถดูข้อมูลเพิ่มเติมที่เว็บไซต์ www.philips.co.th และ Facebook: Philips Home Living

บริษัท เวอร์ซุนิ (ประเทศไทย) จำกัด ผู้จัดจำหน่ายหม้อทอดฟิลิปส์อย่างเป็นทางการ ขอเชิญร่วมสัมผัสเทคโนโลยีแห่งความกรอบของหม้อทอด Philips Airfryer ในงาน “ฟิลิปส์หม้อทอดที่ใช่ เหมือนเจอคู่ใจที่ชอบ” RapidAir Technology สิทธิบัตรเฉพาะของฟิลิปส์ ที่ทำให้อาหารกรอบนอก นุ่มใน สุกทั่วถึง ลดไขมันได้สูงสุดถึง 90%* ใช้งานง่าย สะดวกรวดเร็ว ตอบโจทย์ทุกไลฟ์สไตล์ ภายในงานพบกับแขกรับเชิญพิเศษคู่รักสุดฮอตที่ยังไม่ใช้สถานะแฟนอย่าง นางเอกสาวสายหวาน "แอฟ ทักษอร ภักดิ์สุขเจริญ" กับพระเอกรุ่นน้องคนสนิท "นนกุล ชานน สันตินธรกุล" ที่มาร่วมพูดคุยเกี่ยวกับการทำอาหาร พร้อมโชว์ทำเมนูสุดพิเศษทั้งคาวและหวาน ให้เหล่าคนพิเศษที่มาร่วมในงานได้ลิ้มรสชาติของความอร่อยรับความ
ฟินกลับบ้าน

ร่วมสัมผัสประสบการณ์ความกรอบเฉพาะของหม้อทอดฟิลิปส์ ที่อร่อย ดีต่อสุขภาพ สะดวกรวดเร็ว ในงาน “ฟิลิปส์หม้อทอดที่ใช่ เหมือนเจอคู่ใจที่ชอบ” RapidAir Technology สิทธิบัตรเฉพาะของฟิลิปส์ ในวันพุธที่ 31 กรกฎาคม 2567 ตั้งแต่เวลา 10.00 น. เป็นต้นไป บริเวณชั้น G ศูนย์การค้าสามย่านมิตรทาวน์ พร้อมลุ้นเป็นหนึ่งในผู้โชคดี เพียงซื้อสินค้าแบรนด์ฟิลิปส์ รับ 1 สิทธิ์ทุก 1,000 บาท, กดติดตามเฟสบุ๊กแฟนเพจ Philips Home Living พร้อมโพสต์ภาพลงใน Social Media พร้อมติดแฮชแท็ก #ฟิลิปส์หม้อทอดที่ใช่เหมือนเจอคู่ใจที่ชอบ #PhilipsAirFryer #หม้อทอดฟิลิปส์ยืน1เรื่องรสชาติ และดาวน์โหลด Home ID application เพียงเท่านี้ก็ลุ้นเป็น 1 ใน 5 คน ที่ได้รับรางวัลสุดเซอร์ไพรส์พิเศษเฉพาะงานนี้เท่านั้น และสำหรับผู้ชมทางบ้านสามารถติดตาม Live Streaming รับชมความฟินได้ที่ Facebook: Philips Home Living

 บริษัท ฟิลิปส์ (ประเทศไทย) จำกัด ผู้นำด้านเทคโนโลยีเพื่อการดูแลสุขภาพระดับโลก เปิดตัว Philips Zenition Series (ฟิลิปส์ เซนนิชั่น ซีรี่ย์) เครื่องเอกซเรย์ฟลูโอโรสโคปเคลื่อนที่แบบ ซีอาร์ม (Mobile C-arm) 5 รุ่นล่าสุด ได้แก่ Philips Zenition 90 Motorized, Philips Zenition 70, Philips Zenition 50, Philips Zenition 30 และ Philips Zenition 10 เสริมทัพพอร์ทโฟลิโอในกลุ่มผลิตภัณฑ์ Philips Image Guided Therapy ชูจุดเด่นให้ภาพคมชัด ใช้งานง่าย และตอบโจทย์ทางการแพทย์ด้านศัลยกรรมที่หลากหลาย

นายวิโรจน์ วิทยาเวโรจน์ ประธานและกรรมการผู้จัดการ บริษัท ฟิลิปส์ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า “ฟิลิปส์ เรามุ่งมั่นที่จะนำเสนอนวัตกรรมอันทรงคุณค่า เพื่อมาช่วยสนับสนุนการทำงานของบุคลากรทางการแพทย์ และเพิ่มประสิทธิภาพในการดูแลรักษาผู้ป่วย โดยในครั้งนี้ เราได้นำเสนอเครื่อง Mobile C-arm ในตระกูล Zenition ถึง 5 รุ่น เพื่อตอบโจทย์ความต้องการที่หลากหลายด้านการศัลยกรรม ไม่ว่าจะเป็นการผ่าตัดทางหัวใจ, หลอดเลือด, ระบบประสาท, กระดูกและข้อ และการผ่าตัดอื่นๆ โดยเฉพาะรุ่น Philips Zenition 90 Motorized ที่เป็นตัวชูโรง ถูกออกแบบมาสำหรับการตรวจวินิจฉัยด้านหลอดเลือดที่ซับซ้อนได้ดี ในขณะที่ Philips Zenition 10 หรือ 30 จะมาพร้อมจุดเด่นด้านความทนทาน ความคุ้มค่า และความสะดวกในการเคลื่อนย้ายเครื่อง ซึ่งการนำเสนอนวัตกรรมที่ตอบโจทย์ได้หลากหลายของตระกูล Zenition นี้จะช่วยให้ฟิลิปส์สามารถรักษาตำแหน่งผู้นำตลาดอันดับ 1 ในกลุ่มเครื่อง Mobile C-arm ไว้ได้”

Philips Zenition 90 Motorized เป็นเครื่องเอกซเรย์ฟลูโอโรสโคปเคลื่อนที่แบบซีอาร์มที่ขับเคลื่อนด้วยพลังมอเตอร์ โดดเด่นด้านการทำงานได้อย่างรวดเร็ว ถูกออกแบบมาใหม่ล่าสุดให้สามารถควบคุมการเคลื่อนไหวของซีอาร์มผ่านปุ่มกดข้างเตียงได้ ช่วยเพิ่มความยืดหยุ่นและอิสระในใช้งานให้กับศัลยแพทย์ การขับเคลื่อนด้วยมอเตอร์ 4 แกนอย่างรวดเร็วช่วยป้องกันภาวะการติดเชื้อ และการควบคุมโดยใช้ปุ่มบังคับไร้ทิศทางเพียงตัวเดียว สามารถช่วยควบคุมการเคลื่อนไหว หมุน เอียง ได้ตามต้องการ และมีความเร็วในการหมุนสูงสุดถึง 15 องศาต่อวินาที ซึ่ง 90% ของผู้ใช้งานเชื่อว่าการขับเคลื่อนด้วยมอเตอร์นี้สามารถช่วยประหยัดเวลาในระหว่างกระบวนการทำงานได้1 นอกจากนี้ Philips Zenition 90 Motorized ยังมาพร้อมเทคโนโลยีสุดล้ำในการสร้างภาพ ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพทางคลินิกได้มากขึ้นด้วยการทำงานอัตโนมัติ การควบคุมภาพผ่านโมดูลจอสัมผัสและซอฟต์แวร์ขั้นสูง

สำหรับนวัตกรรมในกลุ่ม Philips Zenition Series นี้ ได้รับการออกแบบที่เน้นด้านความละเอียดของภาพที่คมชัดยิ่งขึ้น มาพร้อมฟังก์ชั่นการใช้งานง่ายขึ้น หน้าจอแสดงผลที่มาพร้อมคำแนะนำในแต่ละขั้นตอน การกำหนดจุดถ่ายภาพที่แม่นยำ และมีระบบบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ Philips Zenition ยังถูกออกแบบให้สามารถรองรับการใช้งานในอนาคต และรองรับการทำหัตถการที่หลากหลายได้ นอกจากนี้ Philips Zenition ยังมาพร้อมเทคโนโลยี Philips BodySmart ซึ่งสามารถกำหนดการปล่อยรังสีในปริมาณที่เหมาะสมกับผู้ป่วยแต่ละคน ทั้งผู้ป่วยที่มีดัชนีมวลกายสูง ผู้ป่วยสูงอายุ หรือจะเป็นโหมดการทำงานรังสีต่ำ เพื่อความปลอดภัยของผู้ป่วยเด็ก และยังสามารถให้คำแนะนำที่แม่นยำแก่ผู้ใช้งาน เพื่อลดขั้นตอนของการสื่อสารและเวลาในการจัดตำแหน่งผู้ป่วยได้

“นวัตกรรมในกลุ่ม Mobile C-arm เป็นส่วนหนึ่งของในพอร์ทโฟลิโอกลุ่มผลิตภัณฑ์ Philips Image Guided Therapy โดยในปี 2023 ภาพรวมตลาดกลุ่ม Mobile C-arm มีมูลค่ากว่า 390 ล้านบาท และเติบโตกว่า 11% ในขณะที่ฟิลิปส์มีส่วนแบ่งการตลาดเป็นอันดับ 1 และเติบโต 2.5% และเราเชื่อว่าหลังจากการผลักดันนวัตกรรมใหม่ในตระกูล Zenition Series พร้อมกลยุทธ์ทางการตลาดและการบริการหลังการขายที่มี

ประสิทธิภาพ เราจะสามารถผลักดันยอดขายในกลุ่ม Mobile C-arm นี้ให้เติบโตได้กว่า 5%” นายวิโรจน์กล่าวทิ้งท้าย

นายจาร์กันนาธาน ศรีนิวาสัน กรรมการผู้จัดการ บริษัท ซิกนิฟาย คอมเมอร์เชียล (ประเทศไทย) จำกัด ผู้นำธุรกิจระบบไฟ และอุปกรณ์แสงสว่างระดับโลก ผู้บริหารจัดการแบรนด์ฟิลิปส์ (Philips) เข้ารับรางวัล 2024 Thailand’s Most Admired Brand” ในสาขาแบรนด์ที่น่าเชื่อถือที่สุด หมวดเครื่องใช้ไฟฟ้า ในกลุ่มผลิตภัณฑ์หลอดไฟฟ้า ซึ่งจัดขึ้นโดยนิตยสารแบรนด์เอจ โดยภายในปีนี้ ยังได้รับรางวัลพิเศษ Innovation Brand Award แบรนด์ผู้นำด้านนวัตกรรม จากผลิตภัณฑ์ Philips Hue สุดยอดระบบไฟแสงสว่างอัจฉริยะเพื่อบ้าน เพื่อ Home Entertainment และหลอดไฟ LED Bulb รุ่น Ultra Efficient ตอกย้ำความผู้นำอันดับหนึ่ง แบรนด์อุปกรณ์ไฟฟ้าและแสงสว่างระดับโลก ที่อยู่คู่คนไทยมายาวนานกว่า 72 ปี ณ โรงแรมพูลแมน คิงเพาเวอร์ กรุงเทพฯ

สำหรับรางวัล “2024 Thailand’s Most Admired Brand” นิตยสารแบรนด์เอจได้จัดทำการสำรวจขึ้นมาอย่างต่อเนื่องถึง 24 ปี ตามลักษณะตลาดที่มีความเป็นเซ็กเม้นต์มากยิ่งขึ้น โดยเป็นการสำรวจและวิจัยการรับรู้ในเรื่องของแบรนด์และพฤติกรรมการบริโภคในกลุ่มสินค้า 11 หมวด ซึ่ง “ฟิลิปส์” ยังสามารถคว้ารางวัลนี้ได้ต่อเนื่องเป็นปีที่ 24 ด้วยคะแนนโหวตสูงสุดในการเป็น   แบรนด์ที่มีความน่าเชื่อถือ และได้รับความไว้วางใจที่สุดของผู้บริโภคคนไทยทั่วประเทศ

นายจาร์กันนาธาน ศรีนิวาสัน กรรมการผู้จัดการ บริษัท ซิกนิฟาย คอมเมอร์เชียล (ประเทศไทย) จำกัด เผยว่าสำหรับปีนี้ถือเป็นเรื่องน่ายินดีอย่างยิ่งที่ “ฟิลิปส์” ได้เข้ารับรางวัล Thailand’s Most Admired Brand อย่างต่อเนื่องเป็นปีที่ 24 และยังได้รับรางวัลพิเศษ Innovation Brand Award แบรนด์ผู้นำด้านนวัตกรรม เพื่อตอกย้ำความสำเร็จของแบรนด์เหนือคู่แข่งทางการตลาดในด้านการใช้เทคโนโลยี และนวัตกรรม สำหรับผลิตภัณฑ์ Philips Hue และหลอดไฟ LED Bulb รุ่น Ultra Efficient ถือเป็นนวัตกรรมแสงสว่างที่รักษ์โลก ให้ความสว่างมากแต่กินไฟน้อยกว่า LED ปกติถึง 50% พร้อมมีอายุการใช้งานยาวนานถึง 50,000 ชม.  ซึ่งเป็นหลอดไฟที่มีประสิทธิภาพที่ดีที่สุดในตลาดปัจจุบัน และขอขอบคุณผู้บริโภคทั่วประเทศ ที่ไว้วางใจในแบรนด์ สินค้า และนวัตกรรมไฟส่องสว่างของ “ฟิลิปส์” และขอบคุณพนักงานทุกคน พันธมิตรทางการค้า และร้านค้าไฟฟ้าที่ได้ร่วมส่งมอบผลิตภัณฑ์คุณภาพให้ถึงมือผู้บริโภคทั่วประเทศ รวมทั้งนิตยสารแบรนด์เอจ สำหรับผลงานวิจัย ที่ช่วยตอกย้ำความเป็นผู้นำอันดับ 1 แบรนด์อุปกรณ์ไฟฟ้าและแสงสว่างระดับโลกให้แก่เรา”

โดยล่าสุด ฟิลิปส์ ได้เปิดตัวผลิตภัณฑ์ใหม่ในกลุ่มฟิลิปส์ ฮิว “Philips Hue” นวัตกรรมและเทคโนโลยีสุดล้ำของอุปกรณ์แสงสว่าง IoT อัจฉริยะ ที่เข้ามาเติมเต็ม และช่วยยกระดับภาพ เสียง และแสงแบบ Seamless & Dynamic เต็มรูปแบบครั้งแรกในประเทศไทย เพื่อตอบโจทย์ทุกไลฟ์สไตล์ความบันเทิงภายในบ้าน เพิ่มสีสัน ความสนุก รวมถึงสร้างแรงบันดาลใจส่วนบุคคล ทั้งคอ ซีรีส์ คอหนัง แฟนกีฬา สายฟังเพลง สายเกม Console สาย PC gaming/E-sport หรือแม้แต่สายทำ Content  ด้วยระบบไฟ IoT อัจฉริยะที่เปลี่ยนแสงได้ถึง 16 ล้านเฉดสีรุ่นใหม่เน้นด้าน Home entertainment และ PC gaming ที่มาพร้อมฟีเจอร์สุดล้ำ เข้ามาช่วย Upgrade กลุ่มลูกค้าที่มี Philips Hue อยู่แล้วที่บ้าน และสร้างประสบการณ์แสงเหนือระดับให้กับกลุ่มลูกค้าใหม่ที่ต้องการเพิ่มอรรถรสความบันเทิงภายในบ้าน หรือคอนโดสุดหรู ได้แก่ Philips hue Play HDMI Sync Box กล่องอัจฉริยะสำคัญ ที่จะปลดล็อกประสบการณ์ Entertainment ซึ่งจะทำหน้าที่ sync ภาพ และเสียงจากแหล่งภาพ Philips hue Play Gradient Strip for TV ไฟเส้นอัจฉริยะ 16 ล้านเฉดสีที่สามารถไล่หลายเฉดสีในเส้นเดียวสำหรับติดกับหลัง TV ทั่วไป Philips hue Play Gradient Strip for PC ไฟเส้นอัจฉริยะ 16 ล้านเฉดสีที่สามารถไล่หลายเฉดสีในเส้นเดียวสำหรับติดกับหลังจอมอนิเตอร์ PC ทั่วไป และ Philips hue Play Light Bar ไฟแท่งอัจฉริยะ 16 ล้านเฉดสีที่ปรับใช้ได้ทั้งแนวตั้ง แนวนอน และยึดติดหลัง TV เสริม Ambience การดูหนังฟังเพลงเล่นเกมในจุดที่คุณต้องการได้ตามจินตนาการคุณ

สามารถติดตามรายละเอียดผลิตภัณฑ์ต่างๆ ของทางฟิลิปส์เพิ่มเติมได้ที่ www.lighting.philips.co.th หรือที่ Facebook : PhilipsLightingThailand

ด้วยปัญหาการขาดแคลนบุคลากรบวกกับปริมาณงานที่เพิ่มมากขึ้น และความผันผวนทางเศรษฐกิจล้วนเป็นปัจจัยสำคัญที่ท้าทายผู้ให้บริการทางสาธารณสุขทั่วโลกในการพัฒนาประสิทธิภาพในการดำเนินงานและคิดค้นรูปแบบการดูแลรักษาผู้ป่วยใหม่ๆ ในขณะเดียวกัน ผู้บริหารแถวหน้าในวงการสาธารณสุขยังตระหนักถึงความรับผิดชอบต่อสังคมมากขึ้น ด้วยการหันมาให้ความสำคัญกับการยกระดับความเท่าเทียมด้านการเข้าถึงระบบสาธารณสุข ตลอดจนความจำเป็นในการลดก๊าซคาร์บอนในอุตสาหกรรมเพื่อการรักษาสุขภาพของโลกเช่นเดียวกัน

เพื่อเป็นการตอบสนองต่อความท้าทายดังกล่าว ฟิลิปส์จึงได้รวบรวม 10 เทรนด์เทคโนโลยีสาธารณสุขที่คาดว่าจะมาแรงในปี ค.ศ. 2024 นี้

 

1.การเพิ่มประสิทธิภาพระบบการทำงานอัตโนมัติ (Workflow Automation) ด้วยปัญญาประดิษฐ์ (AI)

ปัจจุบันองค์กรด้านสาธารณสุขต้องเผชิญกับภาวะการขาดแคลนบุคลากรอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้องค์กรเหล่านี้ต้องปรับกลยุทธ์การทำงาน เพื่อดึงดูดบุคลากรใหม่ๆ และดูแลบุคลากรเดิมในองค์กร ด้วยการเพิ่มความยืดหยุ่นให้แก่บุคลากรทางการแพทย์ที่มองหาสมดุลระหว่างชีวิตการทำงานที่ดีขึ้น นอกจากนี้ภายในองค์กรยังหันมาใช้ระบบการทำงานอัตโนมัติและ AI เพิ่มขึ้น เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานและแบ่งเบาภาระงานของบุคลากรทางการแพทย์

ยกตัวอย่างเช่น ในด้านรังสีวินิจฉัย (Diagnostic Imaging) การบูรณาการ AI ให้เข้ากับระบบเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT) จะช่วยลดเวลาการทำงานในขั้นตอนที่ใช้เวลามากที่สุดของนักรังสีการแพทย์ เพื่อให้พวกเขาได้ใช้เวลากับผู้ป่วยมากขึ้น ด้วยการใช้ AI สร้างภาพถ่ายรังสีที่มีคุณภาพสูง เพื่อช่วยในการวินิจฉัยได้อย่างแม่นยำขึ้น นอกจากนี้ AI ยังช่วยลดความซับซ้อนของ การอัลตราซาวด์หัวใจ ด้วยการจำลองภาพหัวใจแบบ 3 มิติรวมถึงการประเมินแบบอัตโนมัติในอวัยวะอื่นๆ ซึ่งจะช่วยให้นักรังสีการแพทย์สามารถวิเคราะห์ภาพถ่ายได้อย่างแม่นยำ รวมถึงช่วยให้แพทย์มีแนวทางการดูแลรักษาหัวใจได้ดียิ่งขึ้น และในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า ระบบอัตโนมัติจะได้รับการส่งเสริมเพิ่มเติมจากการเพิ่มขึ้นของ Generative AI ในด้านสาธารณสุข

 

2. การทำงานร่วมกันแบบเสมือนเพื่อจัดการกับปัญหาการขาดแคลนบุคลากรและทักษะความรู้ความเชี่ยวชาญ

เทรนด์ของเทคโนโลยีด้านสาธารณสุขที่ควบคู่ไปกับระบบอัตโนมัติคือการทำงานร่วมกันแบบเสมือนเพื่อลดผลกระทบของการขาดแคลนบุคลากรและทักษะความรู้ความเชี่ยวชาญ การเติบโตที่คาดหวังในด้านนี้มีประโยชน์เพิ่มเติมในการปรับปรุงการเข้าถึงการดูแลในพื้นที่ห่างไกลและในชนบท ที่ซึ่งบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านมีแนวโน้มที่จะขาดแคลนเป็นพิเศษ

ระบบ Tele-ICU (เทเล-ไอซียู) จะยังคงถูกนำมาใช้งานอย่างต่อเนื่อง โดยผู้ให้บริการด้านสาธารณสุขจะยิ่งมองหาระบบบูรณาการเพื่อดูแลผู้ป่วยข้างเตียงแบบเสมือนจริงที่ไร้รอยต่อ เจ้าหน้าที่และพยาบาลสามารถดูแลผู้ป่วยวิกฤติแบบทางไกลได้ โดยมีระบบเฝ้าระวังและแจ้งเตือนอัตโนมัติที่ทำงานด้วย AI สามารถลดภาระงานของเจ้าหน้าที่ในพื้นที่ได้ แม้ว่าบุคลากรทางการแพทย์จะมีอายุมากขึ้น แต่รูปแบบการทำงานเสมือนจริงนี้จะช่วยให้พวกเขาสามารถถ่ายทอดประสบการณ์และความเชี่ยวชาญต่างๆให้แก่บุคลากรทางการแพทย์รุ่นน้องได้เป็นอย่างดี ซึ่งถือเป็นการรักษาองค์ความรู้ความเชี่ยวชาญให้คงอยู่ต่อไป เนื่องด้วยสถานการณ์ที่แพทย์จำนวนมากเลือกที่จะเกษียณอายุก่อนกำหนดมากขึ้น รวมถึงกลุ่มพยาบาลเองก็มีแผนที่จะลาออกจากระบบสาธารณสุข อีกด้วย

3. ารทำงานร่วมกันแบการวินิจฉัยแบบบูรณาการที่สนับสนุนกบสหวิทยาการ ความก้าวหน้าในการวินิจฉัยแบบบูรณาการจะช่วยให้ผู้เชี่ยวชาญด้านสาธารณสุขในต่างสาขาสามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลผู้ป่วยได้ง่ายขึ้น เพื่อช่วยให้พวกเขาทำงานร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพและมีประสิทธิผลมากขึ้น เปรียบเหมือนกับเป็นการสร้าง 'ห้องนักบิน' ที่ใช้ทำงานร่วมกัน เป็นที่ซึ่งรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องกันจากโดเมนต่างๆ ในสภาพแวดล้อมดิจิทัลของ Vendor-agnostic เพื่อสนับสนุนการวินิจฉัยที่รวดเร็วและแม่นยำสำหรับผู้ป่วยยกตัวอย่างเช่น ในเคสผู้ป่วยโรคมะเร็งการได้รับการวินิจฉัยที่ตรงจุดแต่เนิ่นๆ จะช่วยให้การรักษาเห็นผลลัพธ์ที่ดีมากขึ้น ทั้งนี้ผู้เชี่ยวชาญในสาขาต่างๆ ยังได้รับข้อมูลเชิงลึกเพิ่มเติมว่าการค้นพบของพวกเขามีความสอดคล้องกันมากเพียงใด ทำให้เกิดวงจรความคิดเห็นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งสามารถช่วยเพิ่มประสิทธิภาพกระบวนการวินิจฉัยให้ดียิ่งขึ้นได้

4. ยกระดับการทำงานร่วมกัน เพื่อการติดตามและการประสานการดูแลที่ดียิ่งขึ้น

ความสามารถในการทำงานร่วมกันเป็นความท้าทายที่เกิดขึ้นในด้านสาธารณสุขมาอย่างยาวนาน โดยเกิดจากความซับซ้อนและกระจัดกระจายของเทคโนโลยีสารสนเทศด้านสุขภาพและโครงสร้างพื้นฐานข้อมูลด้านการดูแลสุขภาพส่วนใหญ่ ผู้บริหารในวงการสาธารณสุข บนรายงาน Future Health Index (FHI) ของฟิลิปส์ปี 2023 ระบุว่ารายงานนี้เป็นหนึ่งในสี่ปัจจัยแห่งความสำเร็จอันดับต้นๆ ในการมอบแนวทางใหม่ๆในการดูแลที่ผสมผสานการดูแลแบบตัวต่อตัวและแบบเสมือนจริงในทุกสภาพแวดล้อม

ความสามารถในการทำงานร่วมกันแบบใหม่สามารถรวบรวมอุปกรณ์และระบบทางการแพทย์ที่แตกต่างกันมาไว้ในอินเทอร์เฟซเดียวกันเพื่อสร้างมุมมองภาพรวมที่ครอบคลุมเกี่ยวกับอาการของผู้ป่วย ซึ่งจะช่วยให้ผู้ดูแลสามารถให้คำแนะนำการรักษาได้อย่างมั่นใจได้จากทุกที่ในโรงพยาบาล ช่วยลดความผันผวนที่เกิดจากภาวะข้อมูลที่มีมากเกินไป โดยนวัตกรรมล่าสุดอย่างภาพเสมือนของผู้ป่วยแบบอวตาร สามารถให้ข้อมูลเชิงลึกเพิ่มเติม โดยการแปลข้อมูลผู้ป่วยที่สำคัญแต่ซับซ้อนให้เป็นจอแสดงผลที่เข้าใจง่าย

5. การตรวจจับความเสี่ยงตั้งแต่เนิ่นๆ และการแทรกแซงโดยอาศัยการวิเคราะห์เชิงคาดการณ์

การวิเคราะห์เชิงคาดการณ์ถือเป็นหนึ่งในเทรนด์ของเทคโนโลยีด้านสาธารณสุขในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา โดยการได้รับข้อมูลเชิงลึกด้านการปฏิบัติงานและทางคลินิกจากข้อมูลแบบเรียลไทม์และข้อมูลในอดีต การวิเคราะห์เชิงคาดการณ์สามารถช่วยให้ผู้ให้บริการด้านสาธารณสุขปรับปรุงประสิทธิภาพและดำเนินการเตรียมรับมือล่วงหน้าได้ รายงาน Future Health Index (FHI) ของฟิลิปส์ปี 2023 แสดงให้เห็นว่าผู้บริหารในวงการสาธารณสุข 39% วางแผนอย่างไรที่จะลงทุนใน AI เพื่อคาดการณ์ผลลัพธ์ซึ่งเพิ่มขึ้นจาก 30% ในปี 2021

ในปัจจุบัน การวิเคราะห์เชิงคาดการณ์ช่วยให้ผู้ให้บริการด้านสาธารณสุขคาดการณ์และบริหารจัดการกระบวนการไหลของผู้ป่วยในแต่ละจุดบริการภายในสถานบริการ ซึ่งช่วยให้พวกเขาสามารถบริหารทรัพยากรบุคลากรในตำแหน่งที่ต้องการมากที่สุดได้ ความสามารถเหล่านี้ได้รับการพิสูจน์แล้วว่ามีความสำคัญโดยเฉพาะในช่วงที่เกิดวิกฤต (เช่น การแพร่ระบาดของโควิด-19) และตอนนี้กำลังกลายเป็นส่วนสำคัญในการดำเนินงานของโรงพยาบาล ที่ขับเคลื่อนด้วยข้อมูล ด้วยการตรวจสอบอุปกรณ์ทางการแพทย์อย่างต่อเนื่อง เช่น เครื่องสแกน MR การวิเคราะห์เชิงคาดการณ์ยังช่วยระบุได้อีกด้วยว่า อุปกรณ์ฮาร์ดแวร์บางอย่างถึงเวลาที่ต้องตรวจเช็คบำรุงหรือเปลี่ยนใหม่แล้ว ซึ่งทำให้ 30% ของเคสการให้บริการ สามารถแก้ไขได้และยังช่วยป้องกันเหตุไม่คาดฝันจากกรณีที่อุปกรณ์หยุดทำงานในระหว่างการตรวจได้เช่นเดียวกันกับในทางด้านคลินิก การวิเคราะห์เชิงคาดการณ์สามารถรองรับการตรวจหาความเสี่ยงด้านสุขภาพของผู้ป่วยได้ตั้งแต่เนิ่นๆ โดยพิจารณาจากสัญญาณชีพและข้อมูลผู้ป่วยรายอื่นประกอบกัน ความสามารถเหล่านี้เป็นประโยชน์อย่างยิ่งในการดูแลผู้ป่วยระยะเฉียบพลัน ซึ่งอาจเกิดโรคแทรกซ้อนได้ในระยะนี้ การวิเคราะห์เชิงคาดการณ์ยังสามารถช่วยดูแลผู้ป่วยที่บ้านผ่านการระบบทางไกล ตัวอย่างเช่น ในการศึกษาหนึ่งแสดงให้เห็นว่า ระบบนี้สามารถใช้เพื่อช่วยทำนายภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะที่อาจทำให้เสียชีวิตได้ ด้วยการตรวจจับความเสี่ยงตั้งแต่เนิ่นๆ การวิเคราะห์เชิงคาดการณ์สามารถเปลี่ยนจากการดูแลเชิงรับเป็นการดูแลเชิงป้องกัน ซึ่งท้ายที่สุดแล้วส่งผลให้อาการของผู้ป่วยดีขึ้นได้

6. การใช้เทคโนโลยีจัดการปัญหาความเหลื่อมล้ำด้านสุขภาพ

ยังคงมีประชากรหลายพันล้านคนทั่วโลกที่ไม่สามารถเข้าถึงการให้บริการทางสาธารณะสุขที่พวกเขาต้องการได้ แม้กระทั่งในประเทศที่มีทุนสนับสนุนเครื่องมือแพทย์เป็นอย่างดี ความเหลื่อมล้ำด้านสุขภาพยังคงเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ ความต้องการในเรื่องของ ระบบสาธารณสุขที่เท่าเทียมและยั่งยืน ไม่เคยกลายมาเป็นเรื่องเร่งด่วนมากเท่านี้มาก่อน ด้วยความร่วมมือกับองค์กร Heart of Australia ภายใต้โครงการโรงพยาบาลเคลื่อนที่ (Hospital on wheels) ได้นำ การถ่ายภาพรังสีวินิจฉัย เช่น X-ray และ เอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT) ให้เข้าถึงในพื้นที่ห่างไกลได้มากขึ้น

7. เทคโนโลยีอัจฉริยะที่ช่วยสร้างกิจวัตรประจำวันที่ดีต่อสุขภาพ

เป็นเวลามากกว่า 15 ปีแล้วที่เทคโนโลยีอย่างสมาร์ทวอทช์ทำให้การออกกำลังกายเป็นกิจวัตรเพื่อสุขภาพที่ได้รับความนิยมมากขึ้นอย่างแพร่หลาย และยังก่อให้เกิดอุปกรณ์อัจฉริยะเพื่อสุขภาพที่มีความหลากหลายมากขึ้นตามมา อีกทั้งอุปกรณ์เหล่านี้ยังสามารถตรวจจับสัญญาณชีพจรได้อีกด้วย[1,2]- ซึ่ง แสดงให้เห็นว่าผู้คนมีความต้องการเทคโนโลยีด้านสาธารณสุขที่สามารถเข้ากับการใช้ชีวิตประจำวันได้อย่างลงตัวและสามารถปรับแต่งตามความชอบและความต้องการของผู้ใช้งานได้ ในปี 2024 นี้มีคาดการณ์ว่าแนวโน้มเทรนด์ของเทคโนโลยีด้านเฮทล์แคร์ยังคงขยายตัวขึ้นเรื่อยๆและผลักดันพฤติกรรมที่ดีต่อสุขภาพมากขึ้น เช่น ส่งเสริมให้ผู้คนดูแลสุขภาพช่องปากเป็นประจำ เป็นที่ทราบกันดีว่า [3] สุขภาพช่องปากมีความสำคัญต่อสุขภาพโดยรวม ในขณะที่ผู้คนต้องการที่จะดูแลสุขภาพความเป็นอยู่ของตนเองให้ดีขึ้น แต่ยังคงขาดความเข้าใจและความมุ่งมั่นในการดูแลสุขอนามัยของช่องปากในแต่ละวัน จึงต้องมีการให้คำแนะนำในเรื่องนี้โดย แปรงสีฟันไฟฟ้าใช้งานผ่านAIที่เชื่อมต่อบนแอปพลิเคชั่น สามารถรวบรวมข้อมูลการแปรงฟันและเสนอคำแนะนำส่วนบุคคลเพื่อที่ผู้ใช้งานสามารถนำไปปรับใช้ได้

8. จัดการกับผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมของไอทีด้านการดูแลสุขภาพ

จากเทรนด์เทคโนโลยีด้านสาธารณสุขที่กล่าวมาทั้งหมดแสดงให้เห็นว่า การเปลี่ยนแปลงเข้าสู่ระบบดิจิทัลได้สร้างพื้นที่มหาศาลสำหรับการส่งมอบการดูแลที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลมากขึ้นด้วยการใช้การตัดสินใจทางคลินิกแบบอัลกอริธึมและการวิเคราะห์เชิงคาดการณ์ เช่น เราสามารถใช้ข้อมูลเพื่อส่งมอบข้อมูลเชิงลึกเฉพาะบุคคล ที่สามารถนำไปปฏิบัติได้ เช่น การแจ้งเตือนทีมดูแลผู้ป่วยฉุกเฉินถึงปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้น หรือ สอนการส่งเสริมพฤติกรรมที่ดีต่อสุขภาพผ่านแอปพลิเคชั่น

วิธีแก้ปัญหาแบบดิจิทัลสามารถปรับขยายได้อย่างชัดเจน ดังนั้นจึงช่วยสนับสนุนการป้องกันในวงกว้างขึ้น รวมถึงช่วยปรับค่าใช้จ่ายในการตรวจคัดกรองและการดูแลให้ลดลงได้ และยังช่วยปรับรูปแบบการดูแลเช่นเดียวกับสถานพยาบาลขนาดใหญ่ให้เข้ากับการดูแลภายในบ้านได้ซึ่งช่วยลดค่าใช้จ่ายบางส่วนลงได้ เพราะในปัจจุบันยังมีผู้คนจำนวนว่า 3.5 พันล้านคนทั่วโลกที่ยังไม่สามารถเข้าถึงระบบสาธารณสุขได้ ดังนั้นเทคโนโลยีการดูแลสุขภาพแบบดิจิทัลจึงมีส่วนช่วยขยายการเข้าถึงโมเดลการดูแลสุขภาพที่ยั่งยืนซึ่งเป็นที่ต้องการอย่างมากได้ เป็นเรื่องที่น่ายินดีอย่างยิ่งที่ได้เห็นถึงแนวโน้มของการเติบโตของบริษัทเทคโนโลยีเพื่อสุขภาพ เครื่องมือแพทย์ ซัพพลายเออร์และผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียอื่นๆทำงานร่วมกันเพื่อให้แน่ใจว่าได้ตัดสินใจถูกต้องเพื่อลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมของไอทีด้านการดูแลสุขภาพที่กำลังดำเนินอยู่ในปี 2024 และในปีต่อๆไป

9. การปรับเปลี่ยนภูมิทัศน์ของระบบซัพพลายด์ด้านสาธารณสุขที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

เพื่อตอบสนองความเร่งด่วนในการลดการปล่อยคาร์บอนในด้านสาธารณสุข เรามองเห็นแนวโน้มที่เป็นไปได้มากขึ้นของบริษัทเทคโนโลยีเพื่อสุขภาพ ระบบสาธารณสุขและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอื่นๆที่ร่วมกันขับเคลื่อนการทำงานที่ยั่งยืนในทุกภาคส่วนของระบบสาธารณสุข รวมไปถึงด้านการจัดการ นวัตกรรม การบริการและการส่งมอบ โดยการเปลี่ยนแปลงด้านความยั่งยืนที่มีผลกระทบมากที่สุดประการหนึ่งกำลังเกิดขึ้นในด้านการจัดซื้อจัดจ้าง ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากการขยายข้อกำหนดการเปิดเผยข้อมูล ESG ทั่วโลกอย่างมีนัยสำคัญ การจัดซื้อที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมจะเปลี่ยนภูมิทัศน์ด้านการจัดหา การดูแลสุขภาพจะเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า โดยคาดหวังว่าฝ่ายจัดซื้อจะใช้เกณฑ์การประเมินลำดับความสําคัญในการจัดหาอุปกรณ์ทางการแพทย์และวิธีการแก้ปัญหาของเทคโนโลยีด้านสาธารณสุข เช่น อุปกรณ์ที่พัฒนาโดยPhilips

1. ตรวจสอบให้แน่ใจว่าซัพพลายเออร์มีการรายงานผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมและวางแผนการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก

2. มุ่งเน้นการหมุนเวียนอุปกรณ์เทคโนโลยีด้านสาธารณสุขและด้านโซลูชั่น

3. กำหนดให้ซัพพลายเออร์มีความโปร่งใสเกี่ยวกับประสิทธิภาพของผลิตภัณฑ์และEcoDesignสำหรับผลิตภัณฑ์และอุปกรณ์

4. กำหนดให้ซัพพลายเออร์สาธิตวิธีที่ข้อเสนอดิจิทัลสนับสนุนการลดคาร์บอนและการลดการใช้วัสดุวัตถุโดยการเพิ่มประสิทธิภาพทรัพยากรและประสิทธิภาพเวิร์กโฟลว์

5. กําหนดให้ซัพพลายเออร์รายงานผลกระทบทางสังคมต่อสาธารณะ

นับจากนี้เป็นต้นไป การใช้มาตรฐานการจัดซื้อที่ยั่งยืนเช่นนี้จะเป็นกลยุทธ์ที่จำเป็นสำหรับบริษัทเครื่องมือแพทย์และรัฐบาลที่ต้องการบรรเทาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ ควบคู่ไปกับการปกป้องสุขภาพของมนุษย์และส่งเสริมความเสมอภาคด้านการดูแลสุขภาพ

10. ร่วมมือกันเพื่อลดผลกระทบด้านสาธารณสุขบนโลก

ระบบสาธารณสุขเป็นส่วนหนึ่งของห่วงโซ่คุณค่าที่กว้างขึ้น-เริ่มตั้งแต่อุตสาหกรรมต้นน้ำไปจนถึงการดำเนินงาน, โลจิสติกส์ ระยะการใช้งานและสิ้นสุดระยะการใช้งานที่ปลายน้ำ ซึ่งมีผลกระทบอย่างมากต่อ ความหลากหลายทางชีวภาพ ผ่านการใช้ประโยชน์จากที่ดิน มลพิษ การบริโภคและการปล่อยก๊าซเรือนกระจก  เนื่องจากมีการตระหนักอย่างเป็นวงกว้างถึงผลกระทบต่อสุขภาพของสิ่งแวดล้อมที่มีต่อสุขภาพของผู้คน จึงจะเห็นแนวโน้มอย่างต่อเนื่องของระบบสาธารณสุขที่นำกลยุทธ์มาใช้อย่างแข็งขันในการลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม เช่น การเปลี่ยนมาใช้เทคโนโลยีด้านสาธารณสุขที่ใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพและวิธีแก้ปัญหาดิจิทัลอัจฉริยะหรือการปรับใช้เป้าหมายตามหลักวิทยาศาสตร์ในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก-เป้าหมายบังคับสําหรับบริษัททั้งหมดในแคลิฟอร์เนียที่มีมูลค่ามากกว่า1พันล้านเหรียญสหรัฐภายในปี 2025

อย่างไรก็ตามความเสี่ยงทางธรรมชาติที่ขยายเพิ่มมากขึ้นอาจถูกมองข้ามเนื่องจากองค์กรเชื่อว่าผลกระทบทางการเงินของความเสี่ยงด้านสภาพภูมิอากาศมีมากกว่าความเสี่ยงเช่น การตัดไม้ทําลายป่าหรือการสูบน้ำ ซึ่งอย่างหลังมีผลกระทบร้ายแรงต่อสุขภาพของประชากร ดังนั้นจึงมีการคาดหวังที่จะเห็นแนวโน้มที่เพิ่มขึ้นในการนำ ‘การประเมินต้นทุนทางธรรมชาติ’ มาใช้เพื่อสนับสนุนการตัดสินใจให้ดีขึ้นเกี่ยวกับการจัดการการใช้ทรัพยากรและบริษัทต่างๆที่ทุ่มเทเพื่อให้บรรลุเป้าหมายตามหลักวิทยาศาสตร์เพื่อธรรมชาติที่ฟิลิปส์ได้มีการพัฒนาโปรแกรมเพื่อเพิ่มมูลค่าทางนิเวศวิทยาของร่องรอยผลกระทบจากการผลิต

ในเดือนกุมภาพันธ์ 2022 Morgan Stanley รายงานไว้ว่า ‘ไม่ต้องสงสัยเลยว่าวิกฤตปัญหาน้ำที่เพิ่มขึ้นจำเป็นต่อทุกอุตสาหกรรมที่ควรต้องทบทวนเกี่ยวกับการใช้น้ำ’ ฟิลิปส์ไม่ใช่บริษัทที่มีการใช้น้ำมาก อย่างไรก็ตามเนื่องจากโรงงานผลิตหลายแห่งของเราตั้งอยู่ในภูมิภาคที่มีปัญหาเรื่องน้ำจึงได้ริเริ่มโครงการลดปริมาณการใช้น้ำทั้งหมดลง 5% จากระดับปริมาณน้ำในปี 2019

 มุมมองจากทั่วโลก รอยเท้าความหลากหลายทางชีวภาพขององค์กรเดียวอาจไม่ใหญ่มากนัก แต่แตกต่างจากการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่เมื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเพียงอย่างเดียวจะมีผลโดยตรงและการฟื้นฟูระบบนิเวศจะมีประสิทธิภาพมากขึ้นหากเริ่มการกระจายตัวของพื้นที่รวมเข้าด้วยกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านนี้ การทํางานร่วมกันตลอดห่วงโซ่คุณค่าเป็นสิ่งสําคัญ

Page 1 of 2
X

Right Click

No right click