November 23, 2024

สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) และธนาคาร เอชเอสบีซี ประเทศไทย ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือเพื่อผลักดันประเทศไทยสู่ศูนย์กลางการลงทุนของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และส่งเสริมการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) เพื่อเสริมสร้างขีดความสามารถของทั้งสององค์กร ผ่านการให้คำปรึกษาด้านการลงทุนในไทยอย่างครบวงจร โดยอาศัยความแข็งแกร่งของเครือข่ายธุรกิจของธนาคารเอชเอสบีซีใน 62 ประเทศและเขตการปกครอง ความเชี่ยวชาญในการสนับสนุนองค์กรข้ามชาติในการขยายธุรกิจระหว่างประเทศ พร้อมทั้งแพลตฟอร์มด้านการเงินดิจิทัลของธนาคารเอชเอสบีซี เข้ามาช่วยอำนวยความสะดวกให้นักลงทุนต่างชาติเข้าถึงโอกาสในการลงทุนและขยายธุรกิจในประเทศไทย

นายนฤตม์ เทอดสถีรศักดิ์ เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) กล่าวว่า “ประเทศไทยถือเป็นประเทศที่มีความโดดเด่นมากที่สุดแห่งหนึ่งของภูมิภาคอาเซียน ด้วยศักยภาพและความพร้อมหลายด้านที่เอื้อต่อการลงทุน ทั้งด้านโครงสร้างพื้นฐานที่ดี บุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญและทักษะขั้นสูง รวมทั้งมีมาตรการสนับสนุนเชิงรุกจากภาครัฐ ซึ่งถือเป็นปัจจัยที่ช่วยดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศ โดยที่ผ่านมารัฐบาลและบีโอไอได้เดินหน้าออกมาตรการส่งเสริมการลงทุนด้านต่างๆ รวมถึงกิจกรรมชักจูงการลงทุนอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้เกิดการลงทุนในโครงการสำคัญของบริษัทรายใหญ่จากต่างประเทศอย่างมีนัยสำคัญ

โดยในปี 2566 ที่ผ่านมา ประเทศไทยมีตัวเลขการลงทุนทำสถิติสูงสุดในรอบ 9 ปี ด้วยมูลค่าการขอรับการส่งเสริมการลงทุนกว่า 8.48 แสนล้านบาท เติบโตร้อยละ 43 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เป็นการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) กว่า 6.63 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้นกว่าร้อยละ 72 ทั้งนี้ บีโอไอเชื่อว่ากระแสการลงทุนจากต่างประเทศจะยังเติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยไตรมาสแรก ปี 2567 มียอดขอรับส่งเสริมการลงทุน จำนวน 724 โครงการ เพิ่มขึ้นร้อยละ 94 มูลค่าเงินลงทุนรวม 228,207 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 31 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2566 สะท้อนถึงความเชื่อมั่นของนักลงทุนต่างชาติที่มีต่อประเทศไทย ซึ่งบีโอไอมั่นใจว่าการลงนามเป็นพันธมิตรกับธนาคารเอชเอสบีซีในครั้งนี้จะช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการเข้าถึง เข้าใจ และความสามารถในการประสานงานกับนักลงทุนจากต่างประเทศ เพื่อเร่งการดึงดูดการลงทุนเข้าสู่ประเทศไทยให้มากยิ่งขึ้นในอนาคต

”ความร่วมมือครั้งนี้ธนาคารเอชเอสบีซีจะใช้เครือข่ายลูกค้าธุรกิจระดับโลก และข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับการลงทุนในประเทศไทย เพื่อยกระดับความสามารถในการแข่งขันและสภาพแวดล้อมในการทำธุรกิจ ผ่านการสนับสนุนบริษัทต่าง ๆ ที่ต้องการขยายธุรกิจมาสู่ประเทศไทย ทั้งในรูปแบบของโซลูชันทางการเงินและการให้คำปรึกษา นอกจากนี้ ธนาคารเอชเอสบีซีจะจัดกิจกรรมโรดโชว์ในตลาดสำคัญ เช่น จีน ฮ่องกง อินเดีย ซาอุดิอาระเบีย อาเซียน ยุโรป และสหราชอาณาจักร เป็นต้น เพื่อส่งเสริมประเทศให้เป็นศูนย์กลางการลงทุนของภูมิภาค 

ความร่วมมือระหว่างบีโอไอและธนาคารเอชเอสบีซีจะเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยขับเคลื่อนการลงทุนจากต่างประเทศ โดยเฉพาะในสถานการณ์ปัจจุบันที่บริษัทรายใหญ่ระดับโลกมีความต้องการที่จะขยายธุรกิจและมองหาโอกาสใหม่ ๆ ซึ่งวันนี้อาเซียนถือเป็นภูมิภาคที่มีความโดดเด่น และไทยเป็นหนึ่งในประเทศอาเซียนที่มีความเหมาะสมจะเป็นฐานลงทุนแห่งใหม่ของตลาดโลก บีโอไอมั่นใจว่าเครือข่ายระดับโลกของธนาคารเอชเอสบีซี จะช่วยเสริมความแข็งแกร่งและเร่งการลงทุนใน 5 กลุ่มอุตสาหกรรมตามยุทธศาสตร์ของบีโอไอ ได้แก่ ยานยนต์ไฟฟ้า เซมิคอนดักเตอร์ ดิจิทัล อุตสาหกรรมชีวภาพและพลังงานสะอาด และสนับสนุนการตั้งสำนักงานภูมิภาคในประเทศไทย เพื่อขยายการเข้าถึงกลุ่มนักลงทุนกว้างขึ้น โดยบีโอไอและธนาคารเอชเอสบีซีจะทำงานร่วมกันอย่างใกล้ชิดเพื่อผลักดันการลงทุนผ่านกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้ร่วมกัน” นายนฤตม์ กล่าว

 

นายจอร์โจ กัมบา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคารเอชเอสบีซี ประเทศไทย

นายจอร์โจ กัมบา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคารเอชเอสบีซี ประเทศไทย กล่าวว่า “ประเทศไทยเป็นหนึ่งในตลาดสำคัญที่ธุรกิจระหว่างประเทศต้องการลงทุน โดยบทวิจัย HSBC Global Connections ระบุว่า ร้อยละ 37 ของบริษัทที่เป็นกลุ่มตัวอย่างมีการดำเนินธุรกิจในประเทศไทยแล้วในปัจจุบัน ซึ่งแรงงานที่มีทักษะเป็นปัจจัยที่ทำให้ไทยเป็นตลาดที่น่าสนใจ ตามมาด้วยเศรษฐกิจดิจิทัลที่กำลังเติบโตและจำนวนประชากรที่มีรายได้ปานกลาง นอกจากนี้ ประเทศไทยยังเป็นฐานการผลิตที่สำคัญของภูมิภาคมาอย่างยาวนาน และยังคงเป็นส่วนสำคัญของซัพพลายเชนของโลก ทั้งนี้ ปัจจุบันไทยถือเป็นผู้ผลิตยานยนต์ที่ใหญ่ที่สุดของอาเซียน โดยมียอดการผลิตคิดเป็นสัดส่วนถึงร้อยละ 50 ของประเทศทั้งหมดในภูมิภาค ส่งผลให้ไทยเป็นจุดหมายปลายทางที่มีศักยภาพสำหรับการลงทุนขนาดใหญ่จากประเทศเศรษฐกิจสำคัญทั้งในภูมิภาคและทั่วโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้า (อีวี)”

“ธนาคารเอชเอสบีซีเป็นหนึ่งในธนาคารระหว่างประเทศที่ใหญ่ที่สุดในโลก ซึ่งดำเนินธุรกิจอยู่ใน 62 ประเทศและเขตการปกครอง และเป็นธนาคารพาณิชย์แห่งแรกของไทยซึ่งมีประสบการณ์ในการธุรกิจในประเทศไทยมากว่า 135 ปี เราจึงเชื่อมั่นในศักยภาพขององค์กรในการเชื่อมโยงประเทศไทยกับนักลงทุนทั่วโลก ผ่านการนำเสนอ โซลูชันด้านการเงินที่ครบวงจรและแพลตฟอร์มนวัตกรรมด้านการเงินดิจิทัล โดยธนาคารฯ พร้อมให้การสนับสนุนบีโอไอในกิจกรรมโรดโชว์ต่าง ๆ และพัฒนาความร่วมมือด้านการค้าและการลงทุนใหม่ ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในอุตสาหกรรมเป้าหมาย เช่น อิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ และเศรษฐกิจดิจิทัล”

รายงานของธนาคารเอชเอสบีซียังชี้ให้เห็นว่า ธุรกิจระหว่างประเทศร้อยละ 18 ที่ยังไม่ได้ดำเนินธุรกิจในไทยมีแผนจะขยายธุรกิจเข้ามาในประเทศไทยภายใน 2 ปีข้างหน้า สะท้อนให้เห็นว่าประเทศไทยยังคงเป็นตลาดนักลงทุนทั่วโลกให้ความสนใจและมองว่ามีศักยภาพในการเป็นศูนย์กลางการลงทุนของภูมิภาค เราเชื่อว่าความร่วมมือครั้งนี้และโซลูชันด้านการเงินระหว่างประเทศชั้นนำของเอชเอสบีซีจะช่วยให้เราบรรลุเป้าหมายในการร่วมปลดล็อคโอกาสการลงทุน เพื่อขับเคลื่อนการเติบโตของการลงทุนจากต่างประเทศได้อย่างมั่นคง” นายกัมบา กล่าวปิดท้าย

นายนฤตม์ เทอดสถีรศักดิ์ เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) (ที่ 2 จากขวา),

นายจอร์โจ กัมบา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคารเอชเอสบีซี ประเทศไทย (ที่ 3 จากขวา), นางสาวฐนิตา ศิริทรัพย์ ผู้อำนวยการกองส่งเสริมการลงทุนจากต่างประเทศ บีโอไอ (ที่ 1 จากขวา) และนายกฤษฎา แพทย์เจริญ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มลูกค้าธุรกิจ ธนาคารเอชเอสบีซี ประเทศไทย (ที่ 4 จากขวา)

 

ภายหลังพิธีการลงนามข้อตกลงความร่วมมือ ยังมีการเสวนาในหัวข้อ “ปลดล็อคโอกาสการลงทุนในไทย” โดยมีตัวแทนจากภาครัฐและเอกชนเข้าร่วม ได้แก่ นางสาวฐนิตา ศิริทรัพย์ ผู้อำนวยการกองส่งเสริมการลงทุนจากต่างประเทศ บีโอไอ, นายกฤษฎา แพทย์เจริญ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มลูกค้าธุรกิจ ธนาคารเอชเอสบีซี ประเทศไทย, นายแฟรงค์ คอนสแตนต์ ผู้ร่วมก่อตั้ง คอนสแตนท์ เอนเจอร์จี ผู้ให้บริการโซลูชันพลังงานหมุนเวียน และนายยี่ เสี่ยวผิง รองประธาน ไฮเซ่นส์ อาเซียน โดยผู้ร่วมเสวนาได้แลกเปลี่ยนมุมมองเกี่ยวกับโอกาสของประเทศไทยในการดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศ เพื่อเจาะตลาดไทยควบคู่ไปกับการตั้งฐานการผลิตในไทยเพื่อส่งออกไปยังตลาดอื่น ๆ ในอาเซียน โดยการสนับสนุน อาทิ ฟรีวีซ่าและความตกลงการค้าเสรี ถือเป็นปัจจัยสำคัญที่จะยกระดับความสามารถในการแข่งขันของไทย นอกเหนือไปจากสิทธิประโยชน์ทางภาษี

ภายในงานยังมีบุคคลสำคัญและผู้แทนจากสถานทูตและหอการค้าระหว่างประเทศเข้าร่วมงาน เช่น สถานเอกอัครราชทูตอังกฤษประจำประเทศไทย สถานเอกอัครราชทูตเวียดนาม องค์กรส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน สถานเอกอัครราชทูตออสเตรเลีย สถานเอกอัครราชทูตฝรั่งเศสประจำประเทศไทย สำนักงานเศรษฐกิจและการค้าฮ่องกง หอการค้าอเมริกันในประเทศไทย หอการค้าเกาหลี – ไทย และหอการค้าอังกฤษ-ไทย

ปีใหม่เป็นช่วงเวลาที่ดีสำหรับนักลงทุนในการประเมินกลยุทธ์การลงทุนของตนเองใหม่ โดยพิจารณาจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นทั่วโลก เหตุผลหลักสามประการที่ทำให้นักลงทุนรู้สึกถึงปัจจัยบวก ประการแรกคืออัตราเงินเฟ้อที่คาดว่าจะมีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่องในปีนี้ ประการที่สองสืบเนื่องจากอัตราเงินเฟ้อที่จะลดลง ธนาคารกลางอาจลดอัตราดอกเบี้ยประมาณกลางปี สุดท้ายนี้คือความเป็นไปได้ที่จะไม่มีภาวะเศรษฐกิจถดถอยครั้งใหญ่จากการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกเป็นไปในทิศทางที่ดีขึ้น

อย่างไรก็ตาม ยังมีปัจจัยเสี่ยงที่นักลงทุนต้องระมัดระวัง อาทิ ความตึงเครียดทางภูมิรัฐศาสตร์ที่ยืดเยื้อซึ่งอาจกระตุ้นให้เกิดอัตราเงินเฟ้อ ข้อกังวลอีกประการหนึ่งคือธนาคารกลางอาจยังคงอัตราดอกเบี้ยที่สูงเอาไว้ เพื่อต่อสู้กับภาวะเงินเฟ้อ โดยไม่ได้คำนึงถึงผลกระทบด้านลบต่อเศรษฐกิจ ปัจจัยเหล่านี้อาจนำไปสู่การชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกต่อเนื่อง

สำหรับประเทศไทย เศรษฐกิจไทยคาดว่าน่าจะเติบโตร้อยละ 2.8 ในปีนี้ โดยมีแรงหนุนจากการใช้จ่ายของผู้บริโภคและการท่องเที่ยว รัฐบาลตั้งเป้าที่จะดึงดูดนักท่องเที่ยวต่างชาติจำนวน 40 ล้านคน และสร้างรายได้จากการท่องเที่ยวให้ได้ 3.5 ล้านล้านบาทภายในปี 2567 แม้จะมีความท้าทายจากปัจจัยภายนอกอย่างต่อเนื่อง เช่น อัตราเงินเฟ้อที่สูง และความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอย ความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์ยังก่อให้เกิดความเสี่ยงจากต่างประเทศซึ่งนักลงทุนจะต้องจับตาดูอย่างระมัดระวัง

นายกิดอน เจอโรม เคสเซล ได้แบ่งปันกลยุทธ์การลงทุนเพื่อให้นักลงทุนรับมือกับปีที่เต็มไปด้วยความไม่แน่นอนอีกครั้ง “ปี 2567 เป็นปีที่มีทั้งปัจจัยบวกและปัจจัยเสี่ยง สิ่งสำคัญสำหรับนักลงทุนคือต้องคำนึงถึงวงจรของตลาด เหตุการณ์การเมืองและความเสี่ยงที่เกี่ยวข้อง ยูโอบีแนะนำให้กระจายพอร์ตการลงทุนเพื่อลดความผันผวนที่อาจเกิดขึ้นและมองหารายได้ที่มั่นคงด้วยการลงทุนในสินทรัพย์ที่หลากหลาย” เขากล่าว

หลักการลงทุนโดยคำนึงถึงความเสี่ยงของธนาคารยูโอบี (Risk-First Approach) เน้นการลงทุนพื้นฐานเป็นรากฐานสำหรับการวางแผนความมั่งคั่ง (Core Allocation) กลยุทธ์นี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อปกป้องความมั่งคั่งของนักลงทุนด้วยการลงทุนในสินทรัพย์ต่างๆ ที่มีความผันผวนต่ำ และสร้างรายได้อย่างต่อเนื่อง ตอบสนองความต้องการทางการเงินในระยะยาว ก่อนที่จะเพิ่มพูนความมั่งคั่งผ่าน Tactical Allocation ลงทุนโดยดูภาวะตลาดเพื่อคว้าโอกาสทางการตลาดที่เกิดขึ้น

 

กลยุทธ์การลงทุนในหลากหลายสินทรัพย์ (Multi-asset) และตราสารหนี้ระดับลงทุน (Investment grade) เป็นองค์ประกอบสำคัญของ Core Allocation เพราะมีการลงทุนในสินทรัพย์ที่หลากหลาย ช่วยลดความเสี่ยง และมีศักยภาพในการจ่ายเงินปันผลเป็นประจำทุกเดือน การลงทุนในสินทรัพย์ที่หลากหลายช่วยให้นักลงทุนมั่นใจถึงผลตอบแทนที่สม่ำเสมอตลอดระยะเวลาโดยมีความผันผวนน้อยที่สุด เราแนะนำการลงทุน (tactical call) ในตราสารหนี้ที่มีระยะเวลายาวขึ้น (duration plays) ซึ่งเป็นโอกาสและมีแนวโน้มที่จะทำผลตอบแทนได้ดีเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงของทิศทางดอกเบี้ย

ตราสารหนี้ระดับลงทุนมีแนวโน้มว่าจะมีผลการดำเนินงานที่แข็งแกร่งในปีนี้จากการเติบโตทางเศรษฐกิจและอัตราเงินเฟ้อชะลอตัว และคาดว่าธนาคารกลางจะปรับลดอัตราดอกเบี้ย ยูโอบีคาดว่าธนาคารกลางสหรัฐฯ จะเริ่มลดอัตราดอกเบี้ยในกลางปี 2567 นอกจากได้รับผลตอบแทนจากดอกเบี้ยที่น่าสนใจในปัจจุบัน ยังมีโอกาสได้รับผลตอบแทนส่วนเพิ่ม (capital gain) จากการลงทุนในตราสารหนี้ได้ นักลงทุนควรลงทุนในตราสารหนี้ระยะสั้นถึงระยะกลางในช่วงต้นปี ก่อนที่จะเปลี่ยนไปลงทุนในตราสารหนี้ระยะยาวเมื่อตลาดคลายความกังวลเกี่ยวกับการออกตราสารหนี้ลง

สำหรับนักลงทุนที่สามารถรับความเสี่ยงได้ การลงทุนใน Tactical Allocation ตามอุตสาหกรรมต่างๆ เช่น กลุ่มสุขภาพทั่วโลกและภูมิภาคต่างๆ เช่น เอเชียไม่รวมญี่ปุ่น และอาเซียน, หุ้นกลุ่มสุขภาพทั่วโลก (Global Healthcare) ที่มีความอ่อนไหวต่อเศรษฐกิจต่ำ และโอกาสในการเติบโต บวกกับแรงหนุนจากการเติบโตของรายได้จากการพัฒนาด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมทางการแพทย์ในระยะยาว ผลประกอบการทางเศรษฐกิจของเอเชีย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในอาเซียน ซึ่งคาดว่าจะโดดเด่นกว่าของสหรัฐอเมริกาและยุโรป ด้วยการจ่ายเงินปันผลและการประเมินมูลค่าหุ้นในอัตราที่น่าดึงดูด

ฟีเจอร์ Wealth ใหม่ที่เพิ่งเปิดตัวใน UOB TMRW จะช่วยให้นักลงทุนสามารถซื้อ-ขาย-สับเปลี่ยนกองทุนรวมได้สะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น สามารถจัดการความมั่งคั่งผ่านโทรศัพท์มือถือได้ง่ายแค่ปลายนิ้ว และตั้งแต่ไตรมาสที่ 2 เป็นต้นไป นักลงทุนจะสามารถเข้าถึงกองทุนต่างประเทศได้โดยตรง ทำให้สามารถลงทุนโดยตรงในกองทุนรวมที่เป็นสกุลเงินต่างประเทศจากบริษัทจัดการกองทุนที่มีชื่อเสียงถึง 14 แห่ง อาทิ Blackrock, PIMCO, JPMorgan และ Fidelity สามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับการซื้อ-ขาย-สับเปลี่ยนกองทุนรวมผ่านแอป UOB TMRW ได้ที่นี่

 

บทความ   นายกิดอน  เจอโรม เคสเซล  ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ ผลิตภัณธ์ เงินฝากและบริหารการลงทุนบุคคลธนกิจ  ธนาคารยูโอบี

 

X

Right Click

No right click