December 23, 2024

บริษัท เอไอ แอนด์ โรโบติกส์ เวนเจอร์ส จำกัด หรือ เออาร์วี (ARV) ผู้พัฒนาและให้บริการเทคโนโลยีหุ่นยนต์ และปัญญาประดิษฐ์ของไทย ภายใต้กลุ่มปตท.สผ.

ได้ผนึกความร่วมมือกับกรมทางหลวง ในการนำเทคโนโลยีอากาศยานไร้คนขับอัตโนมัติ “HORRUS” (ฮอรัส) ในรูปแบบ Drone-in-a box-solution เป็นรายแรกในประเทศไทย มาใช้ตรวจสอบและวิเคราะห์สภาพการจราจร และเฝ้าระวังอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นระหว่างวันที่ 30 ธันวาคม 2565 – 2 มกราคม 2566 ซึ่งอยู่ในช่วง 7 วันอันตรายในเทศกาลปีใหม่ บนเส้นทางหลวงขาออกสู่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับเจ้าหน้าที่กรมทางหลวงได้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

ดร. ธนา สราญเวทย์พันธุ์ ผู้จัดการทั่วไป บริษัท เอไอ แอนด์ โรโบติกส์ เวนเจอร์ส จำกัด หรือ เออาร์วี (ARV) กล่าวว่า “ARV ได้เล็งเห็นความสำคัญของการนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่ทันสมัยมาต่อยอด เพื่อยกระดับการบริหารจัดการการจราจร จึงได้มอบหมายให้หน่วยธุรกิจภายใต้การกำกับดูแล ที่ชื่อว่า ‘Bedrock’ (เบดร็อค) ผู้เชี่ยวชาญในการให้บริการและวิเคราะห์ฐานข้อมูลขั้นสูงเชิงตำแหน่งและพื้นที่อัจฉริยะ ด้วยการนำเทคโนโลยีอากาศยานไร้คนขับอัตโนมัติ HORRUS มาสำรวจสภาพการจราจรให้กับกรมทางหลวงเพื่อบริการประชาชนในช่วงเทศกาลปีใหม่ที่ผ่านมา โดยได้นำเทคโนโลยีที่สำคัญ Location Intelligence Platform และเทคโนโลยี AI มาช่วยเพิ่มประสิทธิภาพให้องค์กรหรือหน่วยงาน โดยนำข้อมูลที่มีมาเพิ่มมูลค่าและช่วยในการตัดสินใจในเชิงกลยุทธ์ได้เป็นอย่างดี ซึ่งเป็นความตั้งใจของ ARV และ Bedrock ที่ต้องการนำเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์และหุ่นยนต์มาใช้เพื่อแก้ไขข้อจำกัดด้านการสำรวจและวิเคราะห์สภาพการจราจร พร้อมมอบความสุขให้กับคนไทยที่เดินทางท่องเที่ยวและกลับภูมิลำเนาในช่วงเทศกาลปีใหม่ ด้วยความโดดเด่นของ HORRUS ซึ่งเป็นเทคโนโลยีอากาศยานไร้คนขับอัตโนมัติ ที่ทำงานโดยการตั้งโปรแกรม และควบคุมการทำงานจากระยะไกล ทำให้นอกจากจะสามารถปฏิบัติภารกิจซ้ำแบบเป็นกิจวัตรในเวลาที่กำหนดได้อย่างสมบูรณ์แล้ว ยังช่วยเพิ่มประสิทธิภาพและขอบเขตพื้นที่ในการปฏิบัติงานได้มากขึ้น ลดข้อจำกัดด้านต่าง ๆ ลง อาทิ การพึ่งพานักบินโดรนมืออาชีพ ช่วยลดระยะเวลาการปฏิบัติงานให้สั้นลง ลดความเสี่ยง และลดค่าใช้จ่ายในการปฏิบัติงานโดยเจ้าหน้าที่ รวมถึงยังลดเหตุขัดข้องอันเกิดจากข้อจำกัดของมนุษย์และสภาพอากาศ สามารถสอดส่องเส้นทางที่กำหนดและรายงานสภาพการจราจร รวมถึงจุดที่เกิดอุบัติเหตุไปยังห้องควบคุมของเจ้าหน้าที่กรมทางหลวง ให้สามารถนำข้อมูลดังกล่าวมาวิเคราะห์และประเมินเส้นทางเดินรถ ทั้งยังเข้าปฏิบัติงานในกรณีเกิดอุบัติเหตุ และแจ้งรายงานเหตุไปยังประชาชนได้ทันท่วงที”

คุณพงศกร จุลละโพธิ ผู้อำนวยการสำนักบริหารบำรุงทาง กรมทางหลวง ระบุว่า “ในช่วงเทศกาลส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ของทุกปี ถือเป็นเทศกาลแห่งการเฉลิมฉลอง การท่องเที่ยว และการเดินทางกลับภูมิลำเนา ของคนไทยทั่วประเทศโดยเฉพาะเส้นทางหลวงที่มุ่งหน้าสู่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคเหนืออย่างถนนพหลโยธิน และจุดตัดระหว่างถนนพหลโยธิน และถนนกาญจนาภิเษก (ตะวันออก) ที่มีผู้สัญจรโดยรถยนต์เฉลี่ยมากถึงปีละ 1 ล้านคันในช่วง 7 วันอันตรายในเทศกาลปีใหม่ ซึ่งมีการเดินทางเป็นจำนวนมาก ทางกรมทางหลวงมีความยินดีอย่างยิ่งได้ร่วมมือกับ Bedrock หน่วยธุรกิจภายใต้การกำกับดูแลของ ARV ในการนำเทคโนโลยีอากาศยานไร้คนขับอัตโนมัติ “HORRUS” มาช่วยอำนวยความสะดวกและบริหารจัดการจราจร เพิ่มโอกาสให้เจ้าหน้าที่ได้ปฏิบัติงานอย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น โดยระหว่างวันที่ 30 ธันวาคม 2565 – 2 มกราคม 2566 นอกจากนี้ในกรณีที่เกิดอุบัติเหตุ HORRUS ยังสามารถช่วยลดโอกาสผิดพลาดทางเทคนิคที่อาจเกิดขึ้น ด้วยโดรน เนื่องจากระบบ HORRUS สามารถส่งภาพเคลื่อนไหวให้กับห้องควบคุม ส่งผลให้เจ้าหน้าที่สามารถประเมินสถานการณ์เบื้องต้นได้ และลดความล่าช้าในการเตรียมการอุปกรณ์ซ่อมบำรุง สามารถประหยัดเวลา และต้นทุนในการปฏิบัติงาน ไม่ว่าจะเป็นต้นทุนการเดินทาง รวมถึงต้นทุนในเชิงของจำนวนเจ้าหน้าที่ลงพื้นที่ปฏิบัติงาน สุดท้ายนี้ ทางกรมทางหลวงคาดหวังว่า การร่วมมือกันในครั้งนี้จะนำไปสู่การพัฒนาต่อยอดสำหรับการอำนวยความสะดวกและเพิ่มความปลอดภัยให้แก่ประชาชน และหวังว่าจะได้มีโอกาสได้นำเทคโนโลยีอื่น ๆ มาสร้างประโยชน์ในการจราจรได้เพิ่มเติมในอนาคตอันใกล้”

นายภาคภูมิ เกรียงโกมล หัวหน้าทีมโรโบติกส์ บริษัท เอไอ แอนด์ โรโบติกส์ เวนเจอร์ส จำกัด หรือ เออาร์วี (ARV) เผยถึงกระบวนการทำงานของโครงการนี้ว่า “HORRUS ได้ทำหน้าที่สำรวจตรวจสอบ สภาพการจราจรตามพื้นที่ที่ทาง ARV และกรมทางหลวง ร่วมกันกำหนดและพิจารณาแล้วว่าเป็นจุดที่มีภาวะการจราจรค่อนข้างหนาแน่นมากในช่วงเทศกาลปีใหม่ 3 จุด ได้แก่ ถนนพหลโยธินขาเข้า กม.55+700, ถนนพหลโยธินขาออก กม.55+700, ถนนกาญจนาภิเษก (ตะวันออก) ตัดถนนพหลโยธิน โดยมีการตั้งโปรแกรมการปฏิบัติการล่วงหน้าเพื่อให้ HORRUS ปฏิบัติการบินสำรวจ 5 รอบต่อวัน ตั้งแต่วันที่ 30 ธันวาคม 2565 – 2 มกราคม 2566 โดยใช้เวลาต่อปฏิบัติการเฉลี่ยครั้งละ 30 นาที ในช่วงเวลา 09.00 น., 11.00 น., 13.00 น., 15.00 น., 17.00 น. โดย HORRUS สามารถเก็บข้อมูลรูปภาพ วิดีโอ และข้อมูลอื่น ๆ ที่มีความจำเป็นต่อการวิเคราะห์สภาพการจราจรระหว่างการบินปฏิบัติการ พร้อมจัดเก็บข้อมูลไปยังระบบคลาวด์แบบอัตโนมัติ ทั้งยังสามารถเรียกดูภาพแบบ Live Streaming ให้กับเจ้าหน้าที่ในห้องควบคุมนำไปวิเคราะห์ต่อได้แบบเรียลไทม์ นอกจากนี้ในกรณีที่ต้องการบินออกนอกเส้นทางยังสามารถควบคุมการบินระยะไกลผ่านสัญญาณ 5G และตรวจสอบการทำงานได้ผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์ได้ไม่ว่าอยู่ที่ใดอีกด้วย นอกจากนั้นยังมีระบบแยกแยะวัตถุที่กล้องมองเห็น ที่ใช้การประมวลผลด้วยเทคโนโลยี machine learning ที่สามารถตรวจจับพร้อมประมวลผลภาพการจราจรได้ตั้งแต่ความแตกต่างของชนิดรถ การเคลื่อนไหวของคน รวมถึงสิ่งผิดปกติต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นบนท้องถนนได้ ทั้งยังตรวจจับความเร็วการเคลื่อนตัวจราจร เพื่อช่วยประเมินได้ว่าเส้นทางสายใดที่มีรถติดเป็นพิเศษ หรือทางสะดวกสำหรับเดินทาง เพื่อให้เจ้าหน้าที่ได้แจ้งข้อมูลให้กับประชาชนเพื่อหลีกเลี่ยง หรือใช้งานเส้นทางดังกล่าวได้ ซึ่งในปัจจุบันเราได้ให้ HORRUS ทำหน้าที่ประสานงานภาคสนามผ่านทางเจ้าหน้าที่ของกรมทางหลวง และในกรณีที่เกิดอุบัติเหตุบนท้องถนน HORRUS จะสามารถตรวจพบได้อย่างรวดเร็ว และรู้จุดเกิดเหตุได้ชัดเจนพร้อมทั้งส่งวิดีโอเรียลไทม์จากหน้างานให้เจ้าหน้าที่ ทำให้เจ้าหน้าที่สามารถประเมินสถานการณ์ได้แม่นยำ และสื่อสารข้อมูลขอความช่วยเหลือไปยังหน่วยงานที่รับผิดชอบเพื่อเตรียมอุปกรณ์และความพร้อมในการเข้าถึงจุดเกิดเหตุ และเข้าช่วยเหลือได้รวดเร็วยิ่งขึ้น โดยคาดว่าในอนาคต เทคโนโลยีนี้จะสามารถต่อยอดในเรื่องของการเก็บ Data โดยการสำรวจข้อมูลเส้นทางได้ด้วยตนเอง เพื่อส่งต่อข้อมูลให้กับประชาชนทั่วไปได้อย่างง่ายดายและทั่วถึง ผ่านแพลตฟอร์มของกรมทางหลวง รวมถึงพัฒนาให้เทคโนโลยีอากาศยานไร้คนขับอัตโนมัติ สามารถลงพื้นที่ปฏิบัติการพิเศษบนเส้นทางจราจรในกรณีเกิดอุบัติเหตุ ได้อีกด้วย”

นอกจากนั้น โครงการนี้ยังนับเป็นการดำเนินการเชิง PoC (Proof of Concept) ครั้งแรกในการช่วยบริหารจัดการการจราจรของ HORRUS ซึ่งก็แสดงผลการดำเนินงานเป็นที่น่าพอใจตามที่คาดหวังไว้ ซึ่งทาง ARV และ Bedrock จะนำข้อมูลที่ได้จากการลงพื้นที่จริง ไปพัฒนาต่อยอดเทคโนโลยีให้มีความสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น เพื่อความพร้อมสำหรับเข้าร่วมมือกับหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนอื่น ๆ ที่สนใจนำเทคโนโลยีอากาศยานไร้คนขับอัตโนมัติไปใช้ในการพัฒนาอุตสาหกรรม ภาคธุรกิจ และสาธารณประโยชน์ต่าง ๆ โดยเฉพาะในกลุ่มอุตสาหกรรมสำรวจและผลิตพลังงาน, อุตสาหกรรมพลังงานทดแทน, อุตสาหกรรมการก่อสร้าง, นิคมอุตสาหกรรมการผลิต, อุตสาหกรรมด้านโทรคมนาคม, ธุรกิจภาคการเกษตร, ธุรกิจขนส่ง, การสำรวจสาธารณูปโภคและสิ่งก่อสร้างขนาดใหญ่ ที่ให้ความสำคัญกับการนำเทคโนโลยีสมัยใหม่มาใช้ยกระดับศักยภาพทางธุรกิจ โดยสามารถติดต่อขอรับรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ ARV This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it. หรือ โทร 02-078-4000” นายภาคภูมิ กล่าวสรุป

จากจุดเริ่มต้นเล็ก ๆ ในฐานะชมรมหุ่นยนต์ของ ปตท.สผ.

แต่ด้วย Passion และความมุ่งมั่นในสิ่งที่ทำ ส่งผลให้ในวันนี้ ‘เออาร์วี’ เติบโตขึ้นมาก ทั้งขนาดธุรกิจ และผลประกอบการ นับจากวันที่จดทะเบียนจัดตั้งเป็น บริษัท เอไอ แอนด์ โรโบติกส์ เวนเจอร์ส จำกัด หรือ เออาร์วี โดยพัฒนาและเสริมสร้างความเชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีหุ่นยนต์ และปัญญาประดิษฐ์ นับแต่ปี 2561 และได้สร้างผลงานไว้หลายชิ้น ไม่ว่าจะเป็น การจัดแสดงโดรนแปรอักษรเป็นเจ้าแรกของอาเซียน การร่วมพัฒนา “Nautilus” หุ่นซ่อมบำรุงท่อส่งก๊าซใต้ทะเลสำเร็จเป็นครั้งแรกของโลก รวมถึงได้พัฒนา “Horrus: Fully Automated Drone Solution” โดรนขับเคลื่อนตนเองแบบอิสระเต็มรูปแบบตัวแรกหนึ่งเดียวของประเทศไทย ทำให้ เออาร์วี ได้รับความไว้วางใจจากทั้งหน่วยงานภาครัฐและเอกชนเข้ามาเป็นทั้งพันธมิตรและลูกค้าในหลากหลายอุตสาหกรรม ทั้งในและต่างประเทศ

ล่าสุดปีนี้ 2022 ‘เออาร์วี’ เติบโตขึ้นอีกขั้นพร้อมกับรางวัลการันตีความสำเร็จ ในฐานะ ”องค์กรนวัตกรรมดีเด่น” ประเภทองค์กรเอกชนขนาดกลาง จากเวทีรางวัลนวัตกรรมแห่งชาติที่จัดขึ้นโดยสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ NIA เพื่อประกาศเกียรติคุณและเชิดชูเกียรติให้กับองค์กรไทยที่ริเริ่มสร้างสรรค์ผลงานที่มีความเป็นนวัตกรรมอันโดดเด่นและเกิดคุณค่าที่ชัดเจนต่อประเทศชาติ  ซึ่งในปีนี้ มีผลงานส่งเข้าร่วมประกวดในรางวัลนวัตกรรมแห่งชาติ รวมทั้งสิ้น 504 ผลงาน ใน 5 สาขา ซึ่ง ดร.ธนา สราญเวทย์พันธุ์ ผู้จัดการทั่วไป เออาร์วี และนายสินธู ศตวิริยะ หัวหน้ากลุ่มงานธุรกิจ เออาร์วี เป็นตัวแทนเข้ารับมอบรางวัล ณ รอยัล พารากอน ฮอลล์ ชั้น 5 ศูนย์การค้าสยามพารากอน เมื่อวันที่ 5 ตุลาคม 2565 สร้างความภาคภูมิใจให้คณะผู้บริหารและพนักงานทุกคนเป็นอย่างยิ่ง ต่อ รางวัลการันตีความเป็นองค์กรนวัตกรรม No.1 ในวงการ Tech Company 2565

ดร.ธนา สราญเวทย์พันธุ์ ผู้จัดการทั่วไป บริษัท เอไอ แอนด์ โรโบติกส์ เวนเจอร์ส จำกัด เปิดเผยว่า “วงการ Tech & Startup ของไทยในวันนี้มีแนวโน้มการแข่งขันเพิ่มสูงขึ้นอย่างชัดเจน มีองค์กรนวัตกรรมเปี่ยมศักยภาพมากมายที่คิดค้นนวัตกรรมใหม่ ๆ ขึ้นมาตอบโจทย์ เพื่อแก้ไขปัญหาของธุรกิจในหลากหลายอุตสาหกรรม ซึ่งถือเป็นเรื่องที่น่ายินดี ที่ทำให้แต่ละองค์กร มุ่งเพิ่มประสิทธิภาพของตนเองเพื่อยกระดับศักยภาพให้สามารถแข่งขันได้ในระดับโลก ซึ่งเออาร์วี ในฐานะผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีหุ่นยนต์ และปัญญาประดิษฐ์ วันนี้องค์กรของเรามีการเติบโตขึ้นอย่างมาก ทั้งในด้านของจำนวนบุคลากร ผลประกอบการ และยังมุ่งมั่นในการสร้างสรรค์นวัตกรรมเพื่อตอบโจทย์ธุรกิจทั้งสำหรับภาคอุตสาหกรรมต่างๆ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ซึ่งได้บรรลุวัตถุประสงค์และสอดคล้องกับหลักเกณฑ์การพิจารณารางวัลองค์กรนวัตกรรมดีเด่นแห่งชาติ ในด้านดำเนินงานนวัตกรรมภายในองค์กรตามโมเดลการพัฒนาศักยภาพนวัตกรรมองค์กร (IOM) 8 มิติของ NIA1 จึงสามารถคว้ารางวัลแห่งความภาคภูมิใจนี้มาได้ในที่สุด

ให้ความสำคัญกับ ‘คน’ เพื่อผลงานที่ดีที่สุด

ดร.ธนา กล่าวเพิ่มเติมว่า “เออาร์วี ต้องการผลักดันให้เทคโนโลยีและนวัตกรรมเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยแก้ปัญหา และช่วยให้ชีวิตประจำวันของทุกคนง่ายขึ้น ไม่ว่าจะเป็นบุคคลทั่วไปหรือพันธมิตรทางธุรกิจ ซึ่งภารกิจนี้จะไม่สามารถบรรลุเป้าหมายได้เลยหากขาดทีมงานที่เข้มแข็งและมีศักยภาพ ซึ่งบริษัทฯ ได้ให้ความสำคัญ และสนับสนุนให้พนักงานพัฒนาทักษะต่าง ๆ เพื่อใช้ในการทำงานร่วมกันเป็นทีม ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อนำไปสู่ความสำเร็จตามอุดมการณ์และเป้าหมาย โดยปัจจุบัน เออาร์วี เป็นแหล่งรวมของคนรุ่นใหม่ที่มีความสามารถด้านเทคโนโลยีจากทั่วโลกมากกว่า 400 คนนอกจากนั้นยังเปิดโอกาสให้พนักงานทุกคนได้มีส่วนร่วมในการออกแบบและสร้างวัฒนธรรมองค์กรร่วมกัน เพื่อให้มั่นใจว่าสิ่งที่ได้คือ DNA ที่เป็นอัตลักษณ์ของพนักงานที่มีคุณค่าและเหมาะกับองค์กรของเราอย่างแท้จริง”

โมเดลธุรกิจเพื่อการพัฒนาบริษัทอย่างมั่นคงและยั่งยืน

เออาร์วีมีจุดมุ่งหมายในการสร้างธุรกิจให้เติบโตแบบก้าวกระโดดในทุกมิติ โดยแสดงจุดยืนในการเป็น Venture Builder ตั้งแต่ขั้นการระดมความคิด ไปจนถึงขั้นการขยายขอบเขตธุรกิจ โดยจะมีการประเมินความพร้อมในทุกขั้นตอน ตั้งแต่ความเป็นไปได้ของโครงการ รูปแบบและโอกาสของตลาดที่สอดรับกับโครงการนั้น ตลอดจนประเมินความเหมาะสมด้านทรัพยากร เงินลงทุนและแรงงานคน ปัจจุบัน เออาร์วี มี 4 บริษัทภายใต้การกำกับดูแล ที่สามารถให้บริการด้านเทคโนโลยีครอบคลุมในหลากหลายอุตสาหกรรม ได้แก่ ROVULA (ธุรกิจให้บริการสำรวจ ตรวจสอบและซ่อมบำรุงโครงสร้างพื้นฐานใต้น้ำอย่างครบวงจร) SKYLLER (ธุรกิจแพลตฟอร์มประมวลและแสดงผลข้อมูลการตรวจสอบโครงสร้างพื้นฐานอย่างครบวงจร) VARUNA (ธุรกิจที่พัฒนาเทคโนโลยีทางการเกษตร และป่าไม้อัจฉริยะอย่างครบวงจร) และ CARIVA (ธุรกิจที่รวบรวมพันธมิตรผู้นำเทคโนโลยีโครงข่ายข้อมูลสุขภาพ)

สิ่งที่เออาร์วีให้คุณค่า และผลักดันให้เป็นหนึ่งในค่านิยมขององค์กรเสมอมา คือการตระหนักถึงการเติบโตอย่างยั่งยืน เราดำเนินธุรกิจสอดคล้องตามนโยบาย SDG 13 Climate Action เพื่อก่อให้ประโยชน์ทั้งในแง่เชิงธุรกิจ และยังสามารถช่วยสร้างอนาคตที่ยั่งยืนและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมให้กับโลกของเราอีกด้วย  ผมมองว่าในการพัฒนาทุกระดับคีย์เวิร์ดสำคัญคือ “ความร่วมมือ” หรือ “Collaboration” เพื่อบูรณาการการทำงาน และองค์ความรู้ของทุกภาคส่วนเข้าด้วยกัน นอกจากนั้น เออาร์วี ยังคงแสวงหาความร่วมมือกับพันธมิตรทางธุรกิจใหม่ ๆ รวมถึงสตาร์ทอัพที่มีศักยภาพสูง เพื่อร่วมกันพัฒนาโซลูชั่นและนวัตกรรมต่อไปในอนาคต เพื่อสร้างประโยชน์ในระดับประเทศ ระดับภูมิภาค และระดับโลก” ดร.ธนา กล่าวสรุป

บริษัท แคริว่า (CARIVA) ประเทศไทย จำกัด ผู้นำด้านธุรกิจแพลตฟอร์มด้านเทคโนโลยีเครือข่ายข้อมูลสุขภาพ เทคโนโลยีบล็อกเชนและปัญญาประดิษฐ์

X

Right Click

No right click