December 03, 2024

บริษัท ซีพี แอ็กซ์ตร้า จำกัด (มหาชน) ซึ่งเป็นผู้ดำเนินธุรกิจค้าส่งค้าปลีก แม็คโคร-โลตัส ได้ลงนามบันทึกความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยขอนแก่น และสำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ (BEDO) สังกัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เพื่อเดินหน้านโยบายสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน ภายใต้โครงการ “เปลี่ยนขยะเป็นประโยชน์” โดยนำอาหารส่วนเกินจากสาขาแม็คโครและโลตัสทั่วประเทศ มอบให้เกษตรกรเพื่อนำไปใช้เพาะเลี้ยงแมลงโปรตีน (Black Soldier Fly – BSF) ในการลดขยะอาหารสู่เป้าหมาย Zero Food Waste ภายในปี 2573

โครงการนี้มีความมุ่งมั่นที่จะลดการสูญเสียอาหารและลดปริมาณขยะอาหารตั้งแต่ต้นทางจนถึงปลายทาง นางศิริพร เดชสิงห์ รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ซีพี แอ็กซ์ตร้า กล่าวถึงความร่วมมือในครั้งนี้ว่า “ซีพี แอ็กซ์ตร้า มุ่งเน้นการพัฒนาที่ยั่งยืนในทุกมิติ ทั้งด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และการกำกับดูแลกิจการ (ESG) เราร่วมกับพันธมิตรอย่างมหาวิทยาลัยขอนแก่นและ BEDO เพื่อนำอาหารส่วนเกินจากสาขากว่า 230 แห่งไปให้เกษตรกรเพาะเลี้ยงแมลงโปรตีน ซึ่งช่วยลดต้นทุนอาหารสัตว์ได้ถึง 50% อีกทั้งยังได้ประโยชน์จากปุ๋ยที่ได้จากมูลหนอนและซากแมลงอีกด้วย”

นอกจากนี้ ความร่วมมือนี้ยังเป็นการแก้ปัญหาขยะอาหารที่ยั่งยืน ช่วยเกษตรกรลดต้นทุน และส่งเสริมเทคโนโลยีสีเขียวเพื่ออนาคตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ภายในพิธีมีบุคคลสำคัญจากมหาวิทยาลัยขอนแก่นและ BEDO ร่วมงานด้วย

ซีพี แอ็กซ์ตร้าคาดหวังว่าโครงการนี้จะไม่เพียงลดขยะอาหารเท่านั้น แต่ยังสามารถขยายโอกาสทางธุรกิจและสร้างความยั่งยืนให้กับชุมชนและเกษตรกรทั่วประเทศอีกด้วย

สำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ (องค์การมหาชน) กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็นหน่วยงานที่มีภารกิจการพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานทรัพยากรความหลากหลายทางชีวภาพให้เกิดการบริหารจัดการการนำทรัพยากรความหลากหลายทางชีวภาพมาใช้ประโยชน์ทางเศรษฐกิจ ควบคู่ไปกับการ อนุรักษ์อย่างยั่งยืน BEDO ได้ขับเคลื่อนการทำงานด้านทรัพยากรความหลากหลายทางชีวภาพ ควบคู่กับการ บริหารจัดการข้อมูลทรัพยากรความหลากหลายทางชีวภาพในรูปแบบของระบบฐานข้อมูลความหลากหลายทาง ชีวภาพ โดยเริ่มต้นจากการค้นหาของดีจากความหลากหลายทางชีวภาพ และได้รับการสนับส นุนข้อมูลจาก นักวิชาการที่ร่วมกันจัดทำข้อมูลบัญชีรายการทรัพยากรชีวภาพ ข้อมูลภูมิปัญญาท้องถิ่น ข้อมูลเศรษฐกิจ ข้อมูล องค์ความรู้ออนไลน์ และข้อมูลผู้เชี่ยวชาญ เพื่อนำเข้าข้อมูลเข้าสู่ระบบฐานข้อมูลความหลากหลายทางชีวภาพ ตลอดจน สพภ. ยังได้พัฒนาเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อเป็นเครื่องมือในการจัดเก็บและประมวลผลข้อมูลด้วย ปัญญาประดิษฐ์ เพื่อนำใช้ในเชิงเศรษฐกิจและสังคม ตอบโจทย์ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ไม่ว่าจะเป็นวิสาหกิจชุมชน ภาคอุตสาหกรรม ภาครัฐ ภาคการศึกษา ไปต่อยอดเชิงคุณค่าเชื่อมโยงกับวัฒนธรรม การสั่งสมความรู้ของสังคม  เทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อใช้ในการพัฒนาธุรกิจ การผลิตสินค้าและบริการในรูปแบบใหม่จากความหลากหลาย ทางชีวภาพ ที่ถือเป็น “วัตถุดิบในเชิงเศรษฐกิจ” นำไปสู่การพัฒนาเป็น Soft Power สร้างฐานรายได้ใหม่เป็น  

New Engine of Growth ในอนาคต 

เมื่อวันที่ 12 กันยายน 2567สพภ. ได้จัดประชุมเผยแพร่ความหลากหลายทางชีวภาพกับการสร้างโอกาส ทางธุรกิจด้วยระบบปัญญาประดิษฐ์ ในหัวข้อ “AI กับโอกาสทางธุรกิจชีวภาพ” ณ โรงแรมมิราเคิล แกรนด์ คอน เวนชั่น โดยมีนางสุวรรณา เตียรถ์สุวรรณ ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ เป็นประธานใน พิธีพร้อมด้วยคณะกรรมการ สพภ. คณะผู้บริหาร สพภ. และวิทยากรทุก ๆ ท่าน และมีผู้เข้าร่วมที่มีความสนใจ เป็นจำนวนมากกว่า 100 คน โดยภายในงานได้มีการแนะนำระบบของ สพภ. และให้ความรู้ต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับ หัวข้อ“AI กับโอกาสทางธุรกิจชีวภาพ”คือ 

1) แนะนำระบบงานบริการของ สพภ. โดย ดร.ธนิต ชังถาวร รองผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจ จากฐานชีวภาพ 

2) แนะนำระบบฐานงานบริการข้อมูลฐานชีวภาพด้วยระบบปัญญาประดิษฐ์ (AI) และการนำไปใช้ ประโยชน์โดย นายสัณห์ อุทยารัตน์ ที่ปรึกษาโครงการบริษัท เกรซ เทคโนโลยี แอนด์ คอนซัลแตนท์ 3) ให้ความรู้เกี่ยวกับ AI กับเศรษฐกิจชีวภาพ (BCG) โดย ดร.วาริน รัชนานุสรณ์ ผู้อำนวยการสถาบัน ส่งเสริมวิสาหกิจดิจิทัลเริ่มต้น สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล 

4) ให้ความรู้เกี่ยวกับ AI กับ เศรษฐกิจ โดยนายสืบศักดิ์ สืบภัคดี กรรมการบริหารและเลขาธิการ สมาคม โทรคมนาคมแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ 

5) ให้ความรู้เกี่ยวกับ AI กับ เกษตรที่ยังยืน โดย รศ.ดร.มงคล รักษาพัชรวงศ์ผู้อำนวยการสถานี  รับสัญญาณดาวเทียมจุฬาภรณ์คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 

6) ให้ความรู้เกี่ยวกับ AI กับ สิ่งแวดล้อม โดย ดร.ไชยวัฒน์ กล่ำพล ภาควิชาวิศวกรรมการบินและอวกาศ  คณะวิศวกรรมศาสตร์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 

สพภ. จัดประชุมเผยแพร่ “AI กับโอกาสทางธุรกิจชีวภาพ” เพื่อเผยแพร่ข้อมูลฐานชีวภาพเพื่อนำ ความหลากหลายทางชีวภาพไปสู่การสร้างมูลค่าเพิ่มในเชิงเศรษฐกิจและสังคม โดยอาศัยข้อมูลเชิงนิเวศ  ข้อมูลภูมิปัญญา ข้อมูลการนำไปใช้ประโยชน์ และส่งเสริมความรู้การพัฒนาศักยภาพของข้อมูลฐานชีวภาพ ด้วยการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเข้ามาช่วยในการประมวลผลข้อมูลในเชิงเศรษฐกิจและสังคม ซึ่งนำไปสู่การพัฒนา เป็น Soft Power สร้างฐานรายได้ใหม่เป็น New Engine of Growth 

X

Right Click

No right click