December 24, 2024

ทรู คอร์ปอเรชั่น ภายใต้เป้าหมายต้องการอยู่คู่การศึกษาไทย ล่าสุดเผยอีกหนึ่งโครงการ คือ CONNEXT ED ที่ทรู เป็นหนึ่งใน 12 องค์กรเอกชน ผู้ก่อตั้งมูลนิธิสานอนาคตการศึกษา คอนเน็กซ์อีดี ภายใต้ความร่วมมือ 3 ภาคส่วน ทั้งภาครัฐ ภาคประชาสังคม และภาคเอกชน สานต่อความมุ่งมั่นในการเป็นเทคคอมปานีไทย นำศักยภาพด้านเทคโนโลยีดิจิทัล มาร่วมสนับสนุนการศึกษา ดูแลโรงเรียนคอนเน็กซ์อีดีของทรู 1,101 แห่ง ครอบคลุม 70 จังหวัดทั่วประเทศ สร้างผู้นำด้านเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา (ICT Talent) กว่า 80 คน พร้อมด้วยผู้นำรุ่นใหม่ (School Partner) อีก 250 คน ที่พร้อมเคียงบ่าเคียงไหล่ ทำงานร่วมกับผู้บริหาร ครู นักเรียน และชุมชน เพื่อวางแผนพัฒนาโรงเรียนให้เกิดขึ้นจริงอย่างยั่งยืน

นายศุภชัย เจียรวนนท์ ประธานคณะผู้บริหาร เครือเจริญโภคภัณฑ์ และประธานกรรมการ บมจ. ทรู คอร์ปอเรชั่น และประธานคณะกรรมการบริหารมูลนิธิสานอนาคตการศึกษา คอนเน็กซ์อีดี กล่าวว่า “โลกเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา เราจำเป็นต้องปรับตัวให้ทัน รวมถึงด้านการศึกษา ที่ไม่ใช่มุ่งเน้นกระบวนการเรียนรู้เพียงแค่ “จำให้ได้ สอบให้ผ่าน ทำการบ้านให้เสร็จ” แต่ควรเป็นการเรียนรู้ผ่านการปฏิบัติและลงมือทำเพื่อให้ได้ประสบการณ์จริง โดยบทบาทของครู จะกลายเป็นโค้ชออกแบบการสอนให้ผู้เรียนได้เพิ่มพูนประสบการณ์และสนุกไปกับการเรียนที่ให้เด็กเป็นศูนย์กลาง ซึ่งแม้ประเทศของเราอาจจะยังไม่มีพิพิธภัณฑ์ที่ครอบคลุมด้านต่างๆ มากมาย ให้เด็กได้เลือกเรียนตามความสนใจ แต่ถ้าภาคเอกชน สามารถทำให้มีศูนย์ Learning Center เกิดขึ้น และปรับหลักสูตรร่วมกับภาคการศึกษา ก็จะทำให้องค์ความรู้จากภาคเอกชนเชื่อมโยงเข้าไปพัฒนาระบบทรัพยากรมนุษย์ได้”

ดึงศักยภาพทรู บุกเบิกโครงการ ร่วมพลิกโฉมการศึกษาไทย

ทรู คอร์ปอเรชั่น ได้ริเริ่มโครงการต่างๆ เพื่อร่วมขับเคลื่อนภารกิจยกระดับการศึกษาไทย ผ่านความร่วมมือมูลนิธิฯ ซึ่งภายหลังได้กลายเป็นโมเดลต้นแบบให้ภาครัฐและองค์กรเอกชนอื่นๆ ได้นำไปประยุกต์ใช้ เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ของเยาวชนไทยยุคดิจิทัล ไม่ว่าจะเป็น นำร่องสร้างศูนย์การเรียนรู้ชุมชน (Learning Center) ตั้งแต่ปี 2560 เพื่อสร้างระบบนิเวศและเสริมกระบวนการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง อีกทั้งสนับสนุนการมีส่วนร่วมของชุมชน โดยจากเดิมมี 9 แห่ง ขยายเพิ่มขึ้นเป็น 20 แห่งทั่วประเทศ หรือโครงการผู้นำด้านเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา (ICT Talent) ที่ทำหน้าที่ผลักดันให้ครูและนักเรียนใช้สื่อไอซีทีอย่างสร้างสรรค์และเกิดประโยชน์สูงสุด

 

นายมนัสส์ มานะวุฒิเวช ประธานคณะผู้บริหาร บมจ. ทรู คอร์ปอเรชั่น กล่าวว่า “ทรู คอร์ปอเรชั่น พร้อมให้การสนับสนุนการดำเนินงานของมูลนิธิสานอนาคตการศึกษา คอนเน็กซ์อีดี สอดคล้องตามแนวทาง 5 ยุทธศาสตร์หลักมาอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะยุทธศาสตร์ที่ 5 (Digital Infrastructures) นำโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัล รวมถึงความเชี่ยวชาญด้านไอซีทีและเทคโนโลยีที่มีอยู่ของทรู เข้าไปร่วมสนับสนุนภาคการศึกษา แต่ขณะเดียวกัน ต้องปลูกฝังเยาวชนเรื่องการใช้เทคโนโลยีอย่างสร้างสรรค์และปลอดภัย โดยเฉพาะในยุคที่เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ หรือ AI กำลังเข้ามามีบทบาทอย่างยิ่งในทุกด้าน ดังนั้นการให้ความรู้ สร้างความเข้าใจเรื่องการใช้เทคโนโลยีและ AI อย่างมีจริยธรรม มีความรับผิดชอบ จึงเป็นเรื่องที่สำคัญอย่างยิ่ง”

ส่อง ร.ร.บ้านตำหรุ (วิงประชาสงเคราะห์) จ.ประจวบฯ สู่โรงเรียนต้นแบบคอนเน็กซ์อีดี

หนึ่งในโรงเรียนคอนเน็กซ์อีดีต้นแบบ คือ โรงเรียนบ้านตำหรุ (วิงประชาสงเคราะห์) จ.ประจวบคีรีขันธ์ ซึ่งอยู่ภายใต้การดูแลของทรู นับเป็นอีกหนึ่งตัวอย่างโมเดลโรงเรียนที่สะท้อนให้เห็นชัดถึงการทำงานร่วมกันอย่างเข้มแข็งระหว่างผู้บริหารสถานศึกษา คุณครู นักเรียน ICT Talent และ School Partner ที่สามารถนำแนวทางยุทธศาสตร์ 5 หลัก ไปประยุกต์ใช้จนเกิดผลและสร้างการเปลี่ยนแปลงอย่างเป็นรูปธรรม

1. ยุทธศาสตร์ที่ 1 : การเปิดเผยข้อมูลสถานศึกษาสู่สาธารณะ (Transparency) นำระบบ School Management System (SMS) มาใช้ พร้อมกรอกข้อมูล และตรวจสอบข้อมูลอย่างสม่ำเสมอ เพื่อเรียนรู้จุดอ่อนจุดแข็ง มาวางแผนพัฒนาโรงเรียนต่อไป

2. ยุทธศาสตร์ที่ 2 : กลไกตลาดและวัฒนธรรมการมีส่วนร่วม (Market Mechanisms) โรงเรียนแห่งนี้ทำงานร่วมกับชุมชนอย่างเข้มแข็ง องค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) ให้การสนับสนุน เช่น คอมพิวเตอร์ งบประมาณ และองค์ความรู้จากชาวบ้าน มีกรรมการสถานศึกษาร่วมติดตามในทุกด้าน รวมถึงมี SP ร่วมคิดพัฒนา ทำงานกันอย่างใกล้ชิด

3. ยุทธศาสตร์ที่ 3 : การพัฒนาผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอน (High Quality Principals & Teachers) ICT Talent ผลักดันให้ครูมีทักษะดิจิทัล และผลักดันครูทุกคนมี Blog ของตนเองในเว็บไซต์โรงเรียน เพื่ออัปโหลดคลิปวิดีโอ สื่อการสอน และกิจกรรมต่างๆ เพื่อให้นักเรียนสามารถเข้าไปทบทวนบทเรียนได้ทุกที่ ทุกเวลา ผู้ปกครองยังสามารถเข้ามาดูบรรยากาศในห้องเรียนของบุตรหลานได้ด้วย ครูบางส่วน สามารถใช้ AI ทำสื่อการสอนให้เด็กๆ อีกทั้งยังสามารถต่อยอดทักษะการใช้อุปกรณ์บอร์ด Micro:bit มาสร้างนวัตกรรมการเรียนรู้ภาษาอังกฤษ เป็นต้น ล่าสุด โรงเรียนได้รับการประเมินจากสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาประจวบคีรีขันธ์ เขต 2 ให้เป็นโรงเรียน Digital Platform ต้นแบบ นอกจากนี้ ICT Talent ยังทำงานร่วมกับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา และ ICT Talent ภาครัฐ อบรมให้ความรู้ด้านเทคโนโลยีแก่บุคลากรการศึกษาในพื้นที่อีกด้วย

4. ยุทธศาสตร์ที่ 4 : เด็กเป็นศูนย์กลาง เสริมสร้างคุณธรรมและความมั่นใจ (Child Centric & Curriculum) จัดการเรียนการสอนแบบ Active Learning เด็กนักเรียนสามารถนำเทคโนโลยี AI มาใช้ในการเรียนรู้ เพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันระดับประเทศ เช่น นำ AI มาใช้ในการแต่งและเล่านิทาน ความสามารถด้านวิทยาศาสตร์ ซึ่งกำลังมีแผนนำห้องสมุดมาปรับเป็นศูนย์ Learning Center โดยสามารถระดมทุนและจัดหางบประมาณได้ด้วยตนเองจากการจัดกิจกรรมฟุตบอล ผ่านความร่วมแรงร่วมใจกับคนในชุมชน

5. ยุทธศาสตร์ที่ 5 : การเข้าถึงโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลของสถานศึกษา (Digital Infrastructures) เข้าถึงสื่ออุปกรณ์การเรียนรู้คอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ก เด็กนักเรียนมีห้องคอมพิวเตอร์ ห้องวิทยาศาสตร์ และห้องออกอากาศ เพื่อการเรียนรู้และอัปเดตข่าวสารของโรงเรียน

นางบุษบา มณีวงศ์ ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านตำหรุ (วิงประชาสงเคราะห์) จ.ประจวบคีรีขันธ์ เปิดเผยว่า “โรงเรียนบ้านตำหรุ (วิงประชาสงเคราะห์) พัฒนาในทางที่ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง ด้วยนำ 5 ยุทธศาสตร์หลักของคอนเน็กซ์อีดีมาปรับใช้ และที่สำคัญมี ICT Talent และ School Partner จากทรู ที่เปรียบเสมือนเพื่อนคู่คิด ทำให้โรงเรียนเกิดการเปลี่ยนแปลงด้านบวกในหลากหลายด้าน โดยเฉพาะการพัฒนาทักษะด้านดิจิทัลของครูและนักเรียน รวมถึงการสนับสนุนที่เข้มแข็งจากชุมชน ทั้งนี้ เชื่อว่ากระบวนการเรียนรู้ที่ได้จากการเป็นโรงเรียนคอนเน็กซ์อีดี จะช่วยส่งเสริมระบบการศึกษาของโรงเรียนอย่างแน่นอน”

เดินหน้าสร้าง “ผู้ประกอบการจิ๋ว”  6 ภูมิภาคสร้างโอกาสเยาวชนนำสินค้าขายร้านเซเว่นฯ

X

Right Click

No right click