December 21, 2024

 

LINE Corporation ประกาศได้รับการผ่านการรับรองมาตรฐาน OpenChain ISO/IEC 5230 ซึ่งเป็นมาตรฐานสากลในการปฏิบัติตามกฎข้อกำหนดด้านซอฟต์แวร์บนระบบโอเพนซอร์ส โดยโครงการ OpenChain เป็นหนึ่งในแคมเปญที่พัฒนาขึ้นโดย Linux Foundation ซึ่งเป็นองค์กรไม่แสวงหาผลกําไรชั้นนําที่มุ่งเน้นการส่งเสริมนวัตกรรมผ่านโอเพนซอร์สและเพื่อร่วมพัฒนาแนวทางปฏิบัติที่ดีที่สุด รวมถึงกำหนดมาตรฐานต่าง ๆ สําหรับซอฟต์แวร์โอเพนซอร์ส ฮาร์ดแวร์ เกณฑ์มาตรฐาน และการจัดการข้อมูล

จากการได้รับการรับรองมาตรฐาน ISO/IEC 5230 ทำให้ LINE ได้รับการยอมรับทั่วโลกว่ามีการใช้งานที่มีการจัดการที่เป็นระบบและน่าเชื่อถือ โดยนักพัฒนาของ LINE จำนวนหลายพันคนทั่วโลก ที่ทำงานอยู่ในเกาหลีใต้ ญี่ปุ่น ไต้หวัน ไทย และเวียดนาม ต่างใช้งานและพัฒนาระบบโอเพนซอร์สตามมาตรฐานสากล นอกจากนี้ ทีมงานโอเพนซอร์สของ LINE ยังยึดหลักปฏิบัติงานตามกฎระเบียบหลักในการจัดการด้านโอเพนซอร์สอย่างเคร่งครัด

ก่อนหน้านี้ LINE ยังเคยนำเอาเทคโนโลยีที่พัฒนาเองภายในมาออกเป็นซอฟต์แวร์โอเพนซอร์สให้นักพัฒนาภายนอกได้ใช้งานอย่างเช่น Armeria ซอฟต์แวร์เฟรมเวิร์คที่ทำงานแบบ Asynchronous (ทำงานแบบไม่เป็นลำดับ) ซึ่งเป็น

เทคโนโลยีหลักของระบบแชทของ LINE นอกจากนี้ LINE ยังเป็นผู้สนับสนุนระดับซิลเวอร์ของ Apache Software Foundation ซึ่งเป็นองค์กรไม่แสวงหาผลกําไรของอเมริกาที่สนับสนุนด้านการพัฒนาโอเพนซอร์สตั้งแต่ปี 2022 โดยตั้งแต่ปี 2021 LINE ได้จัดงาน LINE Open Source Sprint ซึ่งเป็นกิจกรรมภายในที่นักพัฒนาระบบของ LINE สามารถเข้าร่วมในโครงการโอเพนซอร์สต่าง ๆ ได้เป็นเวลาถึงหนึ่งเดือน การจัดกิจกรรมเช่นนี้ไม่เพียงช่วยให้ LINE ได้มีโอกาสสนับสนุนการเติบโตของนักพัฒนาแบบรายบุคคล แต่ยังช่วยตอกย้ำความมุ่งมั่นที่จะสร้างวัฒนธรรมด้านโอเพนซอร์สที่เต็มไปด้วยความร่วมมือกับผู้ให้บริการระบบนิเวศโอเพนซอร์สต่าง ๆ ในทั่วโลก

สโนว์ ควอน CTO แห่ง LINE Plus กล่าวว่า “LINE มีประวัติความสำเร็จอันยาวนานในการบุกเบิกเทรนด์เทคโนโลยีที่ล้ำสมัยในทุกสาขา ได้แก่ ด้าน การส่งข้อความ, ปัญญาประดิษฐ์, บล็อกเชน และฟินเทค ในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการนี้ เราจึงรักษามาตรฐานสูงสุดในการปฏิบัติตามข้อกําหนดและกฎเกณฑ์ของโอเพนซอร์สอย่างเคร่งครัด โดยการผ่านการรับรอง OpenChain ในครั้งนี้ เป็นสิ่งที่แสดงถึงการยอมรับในความสามารถที่เรามีมาอย่างยาวนานในด้านนี้ และยังเป็นสัญญาณความมุ่งมั่นของเราในการก้าวไปข้างหน้าสู่การพัฒนาระบบโอเพนซอร์สที่ดียิ่งขึ้น”

การก้าวสู่เป้าหมายเป็นศูนย์กลางสุขภาพนานาชาติหรือเมดิคัลฮับ และพัฒนาอุตสาหกรรมเครื่องมือแพทย์หรือผลิตภัณฑ์ ไม่ว่าจะเป็นน้ำยา ซอฟท์แวร์ เครื่องมือ เครื่องกล หรือวัตถุที่จะใช้ใส่เข้าไปในร่างกายมนุษย์ จำเป็นต้องแสดงคุณภาพมาตรฐานก่อนจำหน่ายหรือส่งออกตามที่กฎหมายกำหนด เมื่อเร็วๆนี้ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เปิด ห้องปฏิบัติการทดสอบความเข้ากันได้ทางชีวภาพของเครื่องมือทางการแพทย์ (Laboratory for Biocompatibility Testing of Medical Devices) โดยได้รับการรับรองมาตรฐานโลก ISO/IEC 17025:2017 จากสำนักมาตรฐานห้องปฏิบัติการกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข เพื่อเปิดบริการทดสอบผลิตภัณฑ์การแพทย์อย่างครบวงจรแก่นักวิจัย นวัตกรและผู้ประกอบการ

 

รศ.ดร.จักรกฤษณ์ ศุทธากรณ์ คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า ประเทศไทยได้รับการยกย่องจากองค์การอนามัยโลก (WHO) ทางด้านการแพทย์ และเป็นอันดับ 6 ของโลกในด้านความมั่นคงทางสุขภาพ ซึ่งแสดงถึงศักยภาพ ความเชี่ยวชาญ และคุณภาพบริการ สอดคล้องกับนโยบายรัฐบาลที่มุ่งพัฒนาตามแนวยุทธศาสตร์ให้ประเทศไทยเป็น ‘ศูนย์กลางสุขภาพนานาชาติ’ (Medical Hub) ของภูมิภาคโลก ในการขับเคลื่อนดิจิทัลเฮลท์แคร์ การแพทย์สาธารณสุขและนวัตกรรมเฮลท์เทคของไทยให้เป็นที่ยอมรับทั้งคุณภาพและมาตรฐานในระดับสากล จึงจำเป็นที่ประเทศเราต้องมีห้องแล็บทดสอบที่ทันสมัยครบครันด้วยเทคโนโลยี การบริหารจัดการ และผู้เชี่ยวชาญตามมาตรฐาน ISO/IEC 17025 เพื่อยกระดับงานวิจัยพัฒนาและการผลิตเครื่องมือแพทย์ของไทยสู่ระดับสากลผ่านการทดสอบคุณภาพและความปลอดภัยของอุปกรณ์หรือเวชภัณฑ์

รศ.ดร.นรเศรษฐ์ ณ สงขลา รองคณบดีฝ่ายวิจัย คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล มุ่งมั่นในการพัฒนาหลักสูตรการเรียนการสอน และคิดค้นวิจัยพัฒนานวัตกรรมทางการแพทย์ เพื่อตอบสนองต่อความเปลี่ยนแปลง และสร้างคุณประโยชน์ให้แก่วงการสาธารณสุขไทยและประชาคมโลก นับเป็นเรื่องที่น่ายินดีอย่างยิ่ง ห้องปฏิบัติการทดสอบความเข้ากันได้ทางชีวภาพของเครื่องมือทางการแพทย์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล (Laboratory for Biocompatibility Testing of Medical Devices) ได้รับการรับรองมาตรฐาน ISO/IEC 17025:2017 โดยแสดงให้เห็นถึงการมีประสิทธิภาพของห้องปฏิบัติการนั้น ผู้ใช้บริการสามารถมั่นใจได้ทั้งด้านคุณภาพและผลการทดสอบ (Certificate) ครบวงจรและน่าเชื่อถือ ถูกต้องตามหลักวิชาการซึ่งเป็นที่ยอมรับในระดับสากล นับเป็นประโยชน์ยิ่งต่อนักวิจัย นวัตกร วิศวกร และผู้ประกอบการ ช่วยส่งเสริมการวิจัยพัฒนาด้านเครื่องมือทางการแพทย์ รวมถึงพัฒนาคุณภาพบุคลากรป้อนสู่อุตสาหกรรมเครื่องมือแพทย์และเฮลท์แคร์อีกด้วย

โดยมาตรฐาน ISO/IEC 17025 มีความสำคัญต่อนักวิจัย นวัตกร และผู้ประกอบการอุตสาหกรรมเครื่องมือแพทย์ อาทิ เช่น 1. ใช้เป็นเกณฑ์สำหรับห้องปฏิบัติการทดสอบและห้องปฏิบัติการสอบเทียบ ที่ต้องการแสดงให้เห็นว่าห้องปฏิบัติการมีการดำเนินงานด้านระบบคุณภาพ มีความสามารถทางวิชาการ ผลการทดสอบหรือสอบเทียบที่ออกโดยห้องปฏิบัติการเป็นที่เชื่อถือได้ว่าถูกต้องตามหลักวิชาการ 2.ใช้เป็นเกณฑ์สำหรับการรับรองความสามารถห้องปฏิบัติการทดสอบและสอบเทียบของหน่วยรับรอง 3.ใช้ในการยืนยันและยอมรับความสามารถของห้องปฏิบัติการโดยผู้ใช้บริการห้องปฏิบัติการ หรือองค์กรที่มีอำนาจตามกฎหมาย

สำหรับบริการครบวงจรของห้องปฏิบัติการทดสอบความเข้ากันได้ทางชีวภาพของเครื่องมือทางการแพทย์ (Laboratory for Biocompatibility Testing of Medical Devices) ที่ก้าวหน้าระดับโลกนี้ ครบครันด้วยเทคโนโลยีเครื่องมือทันสมัยและผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์ ตั้งอยู่ที่ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา ถนนพุทธมณฑล สาย 4 เปิดบริการทดสอบเครื่องมือแพทย์ตามข้อกำหนดของมาตรฐานสากล ได้แก่ 1. Cytotoxicity Testing ทดสอบความเป็นพิษต่อเซลล์ 2. Hemolysis Testing ทดสอบปฏิกริยาที่มีต่อโลหิตการแตกตัวของเม็ดเลือดแดง 3. Bioburden Testing การทดสอบหาการมีอยู่ของจุลินทรีย์ 4. Sterility Testing การทดสอบหาความปราศจากเชื้อของอุปกรณ์ หรือตัวอย่าง 5. Antibacterial Testing การทดสอบวิเคราะห์หาประสิทธิภาพการยับยั้งการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์

 

ดร.สมพร สืบถวิลกุล กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ทิพยประกันภัย จำกัด(มหาชน)  รับมอบใบรับรองระบบมาตรฐาน ISO/IEC 27001:2013 จาก United Kingdom Accreditation Service (UKAS) ซึ่งเป็นองค์กรตรวจรับรองมาตรฐานระดับโลกของประเทศอังกฤษ ภายใต้ขอบเขต “The provision of IT operation which support insurance service (E-policy and E-Claim) , core insurance processing system , financial and accounting system , data center , system and network management”  โดยทิพยประกันภัยเป็นบริษัทประกันวินาศภัยแห่งแรกของไทย ที่ได้รับการรับรอง ISO/IEC 27001:2013 ทุกระบบด้าน IT สารสนเทศในองค์กร ในการดำเนินธุรกิจประกันภัย เพื่อรองรับการเข้าสู่การเป็น Digital Insurance อย่างเต็มรูปแบบ

 ดร.สมพรกล่าวว่า เนื่องจากบริษัทฯ ได้ให้ความสำคัญเป็นอย่างยิ่งในการปกป้องข้อมูลของลูกค้าจากภัยคุกคามทาง  ไซเบอร์อย่างจริงจัง และยังสอดคล้องกับประกาศฉบับใหม่ของคปภ. เรื่อง “หลักเกณฑ์ วิธีการออกกรมธรรม์ประกันภัย การเสนอขายกรมธรรม์ประกันภัย และการชดใช้เงิน หรือค่าสินไหมทดแทนตามสัญญาประกันภัย โดยใช้วิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2560” เพื่อให้เห็นถึงความพร้อมในทุกๆด้านโดยเฉพาะด้านการรักษาความปลอดภัยทางเทคโนโลยีสารสนเทศ

 นอกจากนี้บริษัทฯ ยังมีความมุ่งมั่นในการพัฒนาคุณภาพการบริการอย่างต่อเนื่อง จากเมื่อปี 2542 เราเป็นบริษัทประกันวินาศภัยแห่งแรกของไทยที่ได้รับการรับรองระบบบริหารคุณภาพ ISO 9002 ทุกระบบขององค์กร จวบจนปัจจุบันเรายังมุ่งพัฒนามาตรฐานอย่างต่อเนื่อง จนได้รับการรับรองระบบบริหารคุณภาพ ISO 9001:2015 ซึ่งเป็นเวอร์ชั่นล่าสุดของ ISO9001  โดยมุ่งเน้นการบริหารจัดการด้านความเสี่ยงในธุรกิจประกันภัย และคำนึงถึงผู้มีส่วนได้ ส่วนเสียที่นอกเหนือจากลูกค้า อาทิเช่น ผู้ถือหุ้น คู่ค้า พันธมิตรต่างๆ

เป็นต้น เพื่อยกระดับความพึงพอใจต่อลูกค้า และสร้างโอกาสทางธุรกิจและความเชื่อมั่นต่อคู่ค้า, พันธมิตรทางธุรกิจทั้งในประเทศและต่างประเทศ ทำให้เห็นว่า ทิพยประกันภัยยังคงรักษาระบบการบริหารงานและกระบวนการทำงานอย่างมีประสิทธิภาพและมีคุณภาพ เป็นไปตามมาตรฐานสากลเพิ่มศักยภาพของบุคลากรให้มีประสิทธิภาพสูงสุด เพื่อที่จะสามารถให้บริการลูกค้าได้รับความพึงพอใจในทุกๆด้าน

 

ดร.สมพร กล่าวเพิ่มเติมว่า  การที่บริษัทฯได้รับการรับรองมาตรฐานทั้ง 2 ระบบมาตรฐานสากลนี้  ถือเป็นสิ่งสำคัญที่ช่วยเพิ่มศักยภาพทางธุรกิจให้องค์กร ในยุค Digital ที่คนส่วนใหญ่หันมาทำธุรกรรมผ่านทางโซเชียลมีเดีย มากขึ้น ทำให้เราต้องยิ่งพัฒนาในด้านการให้บริการเพื่อสามารถรองรับการเชื่อมต่อกับหน่วยงานอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นลูกค้า คู่ค้า กลุ่มธุรกิจ Start up หรือนวัตกรรมด้านการบริการต่างๆ  โดยสามารถยกระดับมาตรฐานของคุณภาพการบริการอย่างต่อเนื่อง พร้อมกับให้ความสำคัญ เพื่อสร้างความเชื่อมั่นในด้านความปลอดภัยของข้อมูล ผ่านระบบสารสนเทศหลักของธุรกิจที่มีความมั่นคง ปลอดภัยต่อความเสี่ยงหรือวิกฤตต่างๆได้อย่างเป็นระบบและมีประสิทธิภาพ

 "การนำระบบทั้งสองมาประยุกต์ใช้ในทุกรูปแบบจะสร้างความได้เปรียบทางด้านธุรกิจ ทั้งด้านคุณภาพการบริการ, การจัดการความเสี่ยงและความปลอดภัยของข้อมูล, สร้างโอกาสทางธุรกิจ, สามารถตอบสนองการเปลี่ยนแปลงต่างๆได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งจะทำให้–ทิพยประกันภัย ก้าวไปสู่การเป็นผู้นำทางธุรกิจได้อย่างมั่นคงและยั่งยืน" ดร.สมพร กล่าวสรุป

 

X

Right Click

No right click