January 22, 2025

บริษัท ศุภาลัย จำกัด (มหาชน) ผู้นำด้านพัฒนาอสังหาริมทรัพย์อย่างยั่งยืน ผนึกกำลังร่วมกับพันธมิตร “วินด์เซอร์” (WINDSOR) ผู้นำตลาดประตูหน้าต่างไวนิล จากบริษัท นวพลาสติกอุตสาหกรรม จำกัด ในกลุ่มธุรกิจเอสซีจี เคมิคอลส์ หรือ SCGC ชูนวัตกรรมวัสดุก่อสร้างรักษ์โลกจากไวนิล ปูพรมกว่า 78 โครงการบ้านของศุภาลัยทั่วประเทศ จับมือเดินหน้าลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกด้วยวัสดุที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และประหยัดพลังงาน พร้อมยกระดับบ้านอยู่สบาย ตอบโจทย์ทั้งฟังก์ชันและดีไซน์ด้วย “Ultimate Protection” ที่มีคุณสมบัติป้องกันความร้อน ฝุ่น เสียง และการรั่วซึมได้มากขึ้น พร้อมก้าวสู่สังคมคาร์บอนต่ำอย่างยั่งยืน

นายกิตติพงษ์ ศิริลักษณ์ตระกูล รองกรรมการผู้จัดการ บริษัท ศุภาลัย จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า “ศุภาลัย ประกาศความมุ่งมั่นในการพัฒนาโครงการที่อยู่อาศัยโดยให้ความสำคัญกับการคัดสรรวัสดุและอุปกรณ์ที่มีคุณภาพสูง มาตรฐานดี และมีความปลอดภัย ตอบโจทย์ทุกไลฟ์สไตล์ของลูกค้า อีกทั้งยังสร้างสรรค์นวัตกรรมที่อยู่อาศัยใหม่ ๆ อย่างต่อเนื่อง เพื่ออำนวยความสะดวกสบายให้แก่ผู้อยู่อาศัย นอกจากนี้ บริษัทฯ ยังมีเป้าหมายในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก 40% ภายในปี 2573 โดยเน้นการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน การออกแบบที่อยู่อาศัยที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม การเลือกใช้วัสดุ Green Product รวมไปถึงการพัฒนานวัตกรรมที่เกี่ยวข้องกับการก่อสร้าง รวมถึงการบริหารจัดการของเสียอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อสร้างที่อยู่อาศัยสีเขียวและก้าวสู่การเป็นองค์กร Zero Waste แบบครบวงจร”

ทั้งนี้ ศุภาลัย ยังได้ร่วมกับพันธมิตรทางธุรกิจ เพื่อสร้างนวัตกรรมที่อยู่อาศัยร่วมกัน โดยการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ ศึกษา และพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ที่มีคุณภาพ สามารถนำไปใช้จริง โดยร่วมกับ “วินด์เซอร์” (WINDSOR) ผู้นำตลาดประตูหน้าต่างไวนิล ในกลุ่มธุรกิจ SCGC เพื่อพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการประกอบประตูและหน้าต่าง สามารถลดการใช้พลังงานในการผลิต ส่งผลให้การปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ลดลงไปด้วย นอกจากนี้ ยังช่วยลดการเกิดเศษวัสดุเหลือจากกระบวนการประกอบ โดย ศุภาลัยได้คัดสรรเลือกใช้ประตูหน้าต่างไวนิลวินด์เซอร์ ตั้งแต่แรกจนถึงปัจจุบัน ยาวนานนับหลายสิบปีที่ ผ่านมา จึงมั่นใจได้ว่าบ้านทั่วประเทศของศุภาลัยที่มีการใช้ผลิตภัณฑ์จาก “วินด์เซอร์” นั้นเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ตอกย้ำความมุ่งมั่นของศุภาลัยในการสร้างสรรค์สภาพแวดล้อมที่ดีและอนาคตที่ยั่งยืนสำหรับทุกคน

 

นายอภิชาติ พรวรนันท์ ผู้จัดการฝ่ายขายโครงการ และ Profiles Business Sponsor บริษัท  นวพลาสติกอุตสาหกรรม จำกัด ในกลุ่มธุรกิจ SCGC กล่าวว่า “จากสภาวะโลกเดือดที่เป็นปัญหาสำคัญของโลกในขณะนี้ ทุกภาคส่วนต่างตระหนักและร่วมมือกันเพื่อรับมือกับความท้าทายดังกล่าว สำหรับวินด์เซอร์ ซึ่งดำเนินธุรกิจภายใต้แนวทาง ESG จาก SCGC  ได้มุ่งส่งเสริมความยั่งยืนด้วยวัสดุประตูหน้าต่างไวนิลที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ภายใต้วิสัยทัศน์ “WINDSOR for Sustainability” โดยเดินหน้าพัฒนากระบวนการผลิตประตูหน้าต่างไวนิล ในรูปแบบ “Pre-cut” ที่มีเฉพาะในแบรนด์วินด์เซอร์ ทำให้ไม่เกิดเศษเหลือในกระบวนการประกอบ (Zero Waste) ผ่านการรับรองจาก SCG Green Choice  รวมทั้งได้รับการรับรองฉลากคาร์บอนฟุต พริ้นท์ผลิตภัณฑ์ (CFP) และฉลากลดโลกร้อน (CFR) จึงช่วยลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากการใช้พลังงานในการผลิตที่ลดลงได้เป็นอย่างดี สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ของ SCGC ที่มุ่งเน้นเรื่อง Low Waste, Low Carbon พร้อมทั้งตอบโจทย์แนวทางการสร้างบ้านของศุภาลัยที่มุ่งมั่นเลือกใช้สินค้าคุณภาพ เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีของลูกบ้าน ควบคู่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน”

 

ทั้งนี้ ทุก ๆ การใช้ประตูหน้าต่างไวนิลวินด์เซอร์ในบ้าน 1 หลังของโครงการศุภาลัย ด้วยการใช้กระบวนการประกอบในรูปแบบ Pre-cut สามารถลดปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้ประมาณ 39 กิโลกรัมคาร์บอนไดออกไซด์ (kgCO2) เทียบเท่ากับการปลูกต้นไม้ 5 ต้น ตอบโจทย์เจ้าของบ้านสายกรีนที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อม ซึ่งในระยะเวลา 1 ปีที่ผ่านมา ทางศุภาลัยได้เลือกใช้ผลิตภัณฑ์กรอบประตูหน้าต่างของวินด์เซอร์ในโครงการต่าง ๆ กว่า 78 แห่งทั่วประเทศ รวมพื้นที่หน้าต่างโครงการคิดเป็นปริมาณ CO2 ที่ลดลงกว่า 194,062 กิโลกรัมคาร์บอนไดออกไซด์ (kgCO2) เทียบเท่าการปลูกต้นไม้ 22,612 ต้น

นอกจากการพัฒนานวัตกรรมเพื่อสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืนแล้ว วินด์เซอร์ยังพัฒนานวัตกรรมเพื่อยกระดับบ้านอยู่สบาย ด้วยคุณสมบัติ “Ultimate Protection” ที่พัฒนาให้มีคุณสมบัติเพื่อปกป้องบ้านและผู้อยู่อาศัยจากสิ่งรบกวน ตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์คนรุ่นใหม่ ทั้งในแง่ฟังก์ชันและดีไซน์ ให้บ้าน “เงียบกว่า” เมื่อเทียบกับการใช้บานอลูมิเนียมทั่วไปถึง 40% โดยสามารถลดทอนเสียงรบกวนจากภายนอกสู่ภายในบ้านได้ถึง 32 เดซิเบล  นอกจากนี้ ยัง “เย็นกว่า” ด้วยประสิทธิภาพการป้องกันความร้อน จึงช่วยประหยัดการใช้พลังงานในระยะยาว ช่วยลดค่าไฟฟ้าได้สูงสุดถึง 9,144 บาทต่อปี  “ปลอดฝุ่นกว่า” สามารถป้องกันมลภาวะและฝุ่น PM2.5 จากภายนอกเข้าสู่ตัวบ้านได้ถึง 3 เท่า เพื่อสุขภาวะที่ดี และ “มั่นใจกว่า” ป้องกันการรั่วซึมของน้ำและอากาศ ต้านทานแรงลมได้ดี ด้วยโครงสร้างที่แข็งแรงทนทาน พร้อมรองรับทั้งบ้านพักอาศัยและงานอาคารสูง

เอสซีจี เคมิคอลส์ หรือ SCGC ผู้นำธุรกิจพอลิเมอร์ครบวงจรเพื่อความยั่งยืน พลิกเกมช่วงธุรกิจปิโตรเคมีขาลง เชื่อมั่นในการเติบโตของอุตสาหกรรมปิโตรเคมีในภูมิภาค เดินหน้าเสริมแกร่งธุรกิจด้วยการลงทุนโครงการเพิ่มวัตถุดิบก๊าซอีเทนในบริษัท ลองเซิน ปิโตรเคมิคอลส์ (Long Son Petrochemicals – LSP) ด้วยงบประมาณลงทุนรวมประมาณ 700 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 23,000 ล้านบาท ซึ่งจะช่วยให้โรงงาน LSP สามารถรับวัตถุดิบก๊าซอีเทนจากสหรัฐอเมริกาเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน โดยมีต้นทุนวัตถุดิบที่ต่ำลง และเพิ่มความยืดหยุ่นในการรับวัตถุดิบในการผลิตได้มากขึ้น พร้อมทั้งยังช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก คาดว่าโครงการจะแล้วเสร็จ ปลายปี 2570

นายศักดิ์ชัย ปฏิภาณปรีชาวุฒิ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ SCGC เผยว่า “กระบวนการผลิตโอเลฟินส์ของโรงงาน LSP ได้รับการออกแบบให้มีความยืดหยุ่นในการใช้วัตถุดิบตั้งต้นประเภทก๊าซมากขึ้น งบประมาณลงทุนส่วนใหญ่จะนำไปใช้สำหรับการสร้างระบบการจัดการและถังจัดเก็บวัตถุดิบก๊าซอีเทน ซึ่งต้องอยู่ภายใต้อุณหภูมิต่ำประมาณ -90 องศาเซลเซียส รวมทั้งสาธารณูปโภคการรับวัตถุดิบ (supporting facilities) เมื่อโครงการแล้วเสร็จ โรงงาน LSP จะสามารถรับก๊าซอีเทนได้มากถึงสองในสามของปริมาณวัตถุดิบทั้งหมด โดยส่วนที่เหลือจะเป็นก๊าซโพรเพนและแนฟทา”

ทั้งนี้ โรงงาน LSP ได้เริ่มดำเนินการเชิงพาณิชย์ เมื่อวันที่ 30 กันยายน 2567 สามารถผลิตและจำหน่ายพอลิเมอร์คุณภาพสูงเพื่อป้อนตลาดในประเทศเวียดนามและส่งออกไปยังต่างประเทศ โดยผลิตภัณฑ์จากโรงงาน LSP ได้รับการยอมรับในด้านคุณภาพและมาตรฐานระดับสากล

“อย่างไรก็ตาม ในช่วงธุรกิจปิโตรเคมีขาลง SCGC มีแนวทางบริหารจัดการการผลิตของโรงงานทั้ง 3 แห่ง ได้แก่  โรงงานระยองโอเลฟินส์ (ROC) โรงงานมาบตาพุดโอเลฟินส์ (MOC) และโรงงาน LSP ให้เหมาะสมกับราคาวัตถุดิบ ผลิตภัณฑ์ และสถานการณ์เศรษฐกิจโลก เพื่อให้มีศักยภาพการแข่งขันสูงสุด ซึ่งขณะนี้ โรงงาน LSP ได้หยุดการเดินเครื่องชั่วคราว เพื่อบริหารต้นทุนธุรกิจโดยภาพรวม ทั้งนี้ SCGC จะประเมินการกลับมาเดินเครื่องอีกครั้งเมื่อสถานการณ์เหมาะสม โดยระหว่างนี้ โรงงาน LSP จะมุ่งเน้นการยกระดับประสิทธิภาพ (Operational Excellence) และการบำรุงรักษาเครื่องจักรต่าง ๆ เพื่อให้พร้อมผลิตในทันทีที่สภาวะตลาดโลกฟื้นตัว” นายศักดิ์ชัย กล่าวทิ้งท้าย

เอสซีจี เคมิคอลส์ หรือ SCGC ผู้นำธุรกิจพอลิเมอร์ครบวงจรเพื่อความยั่งยืน ร่วมกับ บริษัท คาโอ อินดัสเตรียล (ประเทศไทย) จำกัด ผู้ผลิตสินค้าอุปโภคและเคมีภัณฑ์ชั้นนำจากประเทศญี่ปุ่น ภายใต้แบรนด์สินค้า อาทิ แอทแทค บิโอเร ไฮเตอร์ มาจิคลีน ลอรีเอะ แฟซ่า ฯลฯ พัฒนาบรรจุภัณฑ์รีไซเคิลรักษ์โลกสำหรับผลิตภัณฑ์ดูแลเส้นผม “แฟซ่า” (Feather) ผลิตจากเม็ดพลาสติกรีไซเคิลคุณภาพสูง SCGC GREEN POLYMERTM ด้วยเทคโนโลยีรีไซเคิลจาก SCGC เพื่อผลิตเป็น บรรจุภัณฑ์ที่มีคาร์บอนฟุตพริ้นท์ต่ำ และสามารถรีไซเคิลได้ 100% มุ่งใช้ทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุดตามหลักเศรษฐกิจหมุนเวียน ช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก สู่วิถีสังคมคาร์บอนต่ำอย่างเป็นรูปธรรม โดยยังคงรักษาคุณภาพของผลิตภัณฑ์ที่อยู่ภายในและให้ความสะดวกกับผู้บริโภคได้เช่นเดิม  

นายยูจิ ชิมิซึ ประธานกรรมการ บริษัท คาโอ อินดัสเตรียล (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า “หากพูดถึงคาโอ หนึ่งในสินค้าที่ทุกคนต้องรู้จักคือ แชมพูแบรนด์ “แฟซ่า” ที่อยู่คู่คนไทยมานานกว่า 60 ปี ซึ่งแฟซ่าเป็นสินค้าแรกที่คาโอจำหน่ายในประเทศไทย โดยมีวิวัฒนาการมาตั้งแต่แฟซ่าแบบซองซึ่งอยู่ในรูปแบบผง และได้พัฒนามาตามยุคสมัยจนกลายมาเป็นรูปแบบปัจจุบัน ซึ่งนอกจากการพัฒนาสูตรเองแล้ว คาโอยังไม่หยุดยั้งในการพัฒนาบรรจุภัณฑ์เพื่อตอบโจทย์ด้านสิ่งแวดล้อม โดยในปี 2024 นี้ คาโอได้ปรับโฉมบรรจุภัณฑ์ใหม่โดยร่วมมือกับ SCGC ซึ่งมีความเชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีพลาสติกรีไซเคิลครบวงจร เพื่อพัฒนาขวดบรรจุภัณฑ์รักษ์โลกสำหรับผลิตภัณฑ์ดูแลเส้นผม “แฟซ่า” โดยเลือกใช้เม็ดพลาสติกรีไซเคิลประเภทพอลิเอทิลีนชนิดความหนาแน่นสูง (High Quality PCR HDPE Resin) นับเป็นการชุบชีวิตพลาสติกใช้แล้วให้กลับมามีคุณค่าใหม่อีกครั้ง”  

นายศักดิ์ชัย ปฏิภาณปรีชาวุฒิ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ SCGC กล่าวว่า “SCGC มีความเชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีรีไซเคิล และมีโซลูชันด้าน Green Polymer ที่หลากหลายเพื่อตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าที่แตกต่างกันในแต่ละกลุ่มอุตสาหกรรม เช่น บรรจุภัณฑ์  เครื่องใช้ไฟฟ้า เป็นต้น โดย SCGC จะพัฒนาสูตรการผลิตและเทคโนโลยีให้เหมาะกับความต้องการโดยคำนึงถึงคุณภาพและสิ่งแวดล้อมควบคู่กัน สำหรับความร่วมมือกับคาโอนั้น SCGC ได้พัฒนาสูตรเม็ดพลาสติกรีไซเคิลคุณภาพสูงประเภทพอลิเอทิลีนชนิดความหนาแน่นสูง (High Quality PCR HDPE Resin) จาก SCGC GREEN POLYMERTM ให้กับขวดแชมพูแฟซ่า เพื่อผลิตเป็นบรรจุภัณฑ์ที่มีคาร์บอนฟุตพริ้นท์ต่ำ สามารถนำกลับมารีไซเคิลได้ 100% และมีความปลอดภัย สามารถสัมผัสกับเนื้อผลิตภัณฑ์ภายในได้โดยไม่ส่งผลต่อคุณสมบัติของผลิตภัณฑ์”  

ทั้งนี้ “ขวดแชมพูรักษ์โลกของแฟซ่า” เป็นดีไซน์ซึ่งสอดคล้องกับวิถีสังคมคาร์บอนต่ำ สามารถนำกลับมารีไซเคิลใหม่ได้ทุกชิ้นส่วน 100% เนื่องจากไม่มีการเติมแต่งสีในเนื้อพลาสติก นอกจากนี้ ในส่วนของฉลากยังออกแบบให้สามารถฉีกแยกออกได้ง่ายตามรอยประ เพื่อเข้าสู่กระบวนการรีไซเคิลได้ง่ายยิ่งขึ้น ช่วยลดปริมาณขยะพลาสติก และลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่ส่งผลต่อภาวะโลกร้อนและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

ยกระดับโรงงานด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล ให้อุตสาหกรรมและชุมชนอยู่ร่วมกันอย่างยั่งยืน

Page 1 of 15
X

Right Click

No right click