January 21, 2025

ทรูบิสิเนส ผู้ให้บริการสื่อสารและดิจิทัลโซลูชันครบวงจรสำหรับลูกค้าธุรกิจชั้นนำ ร่วมกับ อินเทล ผู้นำด้านเทคโนโลยี  ทรานสฟอร์มอุตสาหกรรมสาธารณสุขไทยสู่ดิจิทัลเต็มรูปแบบ ดึงพลังเครือข่ายทรู 5G ผสานเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์สุดล้ำของอินเทล เปิดตัว 7 โซลูชันด้านการดูแลสุขภาพอัจฉริยะ (Smart Healthcare) ครอบคลุมทั้งการวินิจฉัยและรักษา ฟื้นฟูดูแล และการจัดการข้อมูลทางการแพทย์ในโรงพยาบาลและสถานพยาบาลในประเทศไทย พลิกโฉมบริการสาธารณสุขไทยยุคใหม่ เพิ่มประสิทธิภาพและความคุ้มค่า ทั้งยังส่งเสริมความสามารถในการแข่งขันของประเทศ ก้าวสู่ศูนย์กลางทางการแพทย์ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ควบคู่กับการยกระดับคุณภาพชีวิตและสุขภาพที่ดีอย่างยั่งยืนของคนไทย

ความร่วมมือในครั้งนี้ นำไปสู่การพัฒนาโซลูชันด้านสุขภาพที่ใช้เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ในการประมวลผลบนอุปกรณ์ปลายทางผ่านโซลูชันซอฟต์แวร์ของอินเทล เช่น OpenVino ซึ่งช่วยย่นระยะเวลาทั้งในการวินิจฉัยและการรักษา อาทิ โซลูชันสำหรับเพิ่มประสิทธิภาพการดูแลผู้ป่วยและความปลอดภัยด้วยอุปกรณ์ไร้การสัมผัส (Digital Patient Twin - Patient-Management-as-a-Service) ที่เพิ่มขีดความสามารถให้บุคลากรทางการแพทย์สามารถดูแลและเฝ้าระวังผู้ป่วยได้อย่างต่อเนื่องและปลอดภัย โดยใช้เทคโนโลยี 5G และการประมวลผลบนอุปกรณ์ปลายทางอันทรงพลังด้วย Intel Edge AI บน Intel Core Ultra ซึ่งนับได้ว่าเป็นหนึ่งในการผลักดันของ Intel เพื่อการนำ AI ไปใช้อย่างแพร่หลาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งผ่านหลากหลายผลิตภัณฑ์และแพลตฟอร์มของอินเทลที่ออกแบบมาเพื่อการนำ AI ไปใช้ด้วยความปลอดภัยและยั่งยืน ตลอดจนสามารถขยายขอบเขตและทำงานร่วมกันได้ เพื่อช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้คน

โซลูชันด้านการดูแลสุขภาพอัจฉริยะเหล่านี้ ทำงานได้เต็มประสิทธิภาพบนเครือข่ายทรู 5G ที่รองรับการรับ-ส่งข้อมูล ควบคุมและสั่งการได้แบบเรียลไทม์ จึงเอื้อต่อการพัฒนาระบบอัตโนมัติต่างๆ ในการดูแลผู้ป่วย ช่วยลดต้นทุนทั้งอุปกรณ์ทางการแพทย์และขั้นตอนการรักษา รวมถึงแบ่งเบาภาระของบุคลากรทางการแพทย์ ยิ่งไปกว่านั้น โซลูชัน Smart Healthcare ยังมีการบันทึกข้อมูลการรักษาในระบบดิจิทัล เพื่อให้ AI นำไปวิเคราะห์เชิงลึก และทำงานร่วมกับการวินิจฉัยของแพทย์และผู้เชี่ยวชาญ ช่วยเพิ่มศักยภาพในการดูแลรักษาผู้ป่วยได้อย่างรวดเร็วและแม่นยำ รวมถึงการรักษาอาการที่ซับซ้อนและเฉียบพลันมีประสิทธิภาพมากขึ้นและได้ผลลัพธ์ดีขึ้น

นายพิชิต ธันโยดม หัวหน้าคณะผู้บริหารด้านกลุ่มธุรกิจองค์กร บมจ. ทรู คอร์ปอเรชั่น กล่าวว่า “ทรูบิสิเนส เร่งพัฒนานวัตกรรมบริการ ควบคู่กับการนำ AI มาปรับใช้เพื่อเพิ่มศักยภาพขององค์กร โดยการร่วมมือกับผู้นำระดับโลกอย่าง อินเทล ในครั้งนี้ เรามุ่งพัฒนาโซลูชันที่จับต้องได้และใช้งานได้จริง เพื่อสนับสนุนองค์กรธุรกิจไทยเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัล เติมเต็มวิสัยทัศน์ของทรู คอร์ปอเรชั่น ผู้นำโทรคมนาคม-เทคโนโลยี ที่จะเป็นมากกว่าผู้ให้บริการเครือข่าย”

ความร่วมมือในครั้งนี้ มุ่งเน้นการผสมผสานและขับเคลื่อนการทำงานของโซลูชันอัจฉริยะด้านการดูแลสุขภาพที่ครอบคลุมทั้งการวินิจฉัยรักษา การฟื้นฟูดูแล และการจัดการข้อมูลทางการแพทย์ เพื่อยกระดับอุตสาหกรรมการแพทย์และสาธารณสุขของไทยให้ก้าวล้ำไปอีกขั้น อีกทั้งยังช่วยสนับสนุนการทำงานของแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ในโรงพยาบาลต่างๆ ทั่วประเทศ ให้สามารถส่งมอบบริการทางการแพทย์ที่มีคุณภาพ แม่นยำ และรวดเร็วมากยิ่งขึ้น ขณะเดียวกันผู้ป่วยในทุกพื้นที่ทั่วประเทศสามารถเข้าถึงบริการสาธารณสุขได้อย่างทั่วถึง ตลอดจนได้รับประสบการณ์และผลลัพธ์ในการรักษาที่ดียิ่งขึ้น เพื่อคุณภาพชีวิตและสุขภาพที่ดีขึ้นแบบยั่งยืนของคนไทย นอกจากนี้ ทรูบิสิเนส และ อินเทล ยังมุ่งส่งเสริมการค้นคว้าทางวิทยาศาสตร์และเพิ่มประสิทธิผลของบริการด้านการดูแลสุขภาพบนพื้นฐานของการใช้ AI อย่างมีจริยธรรม ปลอดภัย และโปร่งใส

โซลูชันอัจฉริยะด้านการวินิจฉัยและรักษา

· Telemedicine and Tele ICU บริการการแพทย์ทางไกลผ่านเครือข่ายทรู 5G ที่เชื่อมโยงชุดอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่ติดตั้งในท้องถิ่นต่างๆ กับระบบหลักของโรงพยาบาล โดยมีแพลตฟอร์มจัดเก็บข้อมูลและประวัติของผู้ป่วย บันทึกทุกการดำเนินการทางการแพทย์ เช่น การวินิจฉัยและรักษา การนัดพบแพทย์ การผ่าตัด พร้อมแสดงข้อมูลผ่านแดชบอร์ดเพื่อให้แพทย์สามารถให้คำปรึกษาและรักษาผู้ป่วยได้แบบเรียลไทม์จากระยะไกล ช่วยเพิ่มโอกาสการเข้าถึงบริการทางการแพทย์ของผู้ที่อยู่ในพื้นที่ห่างไกลทั่วประเทศ ดูแลสุขภาพได้อย่างต่อเนื่อง ลดความจำเป็นในการเดินทางไปโรงพยาบาล

· Future of Large Language Model (LLM) แพลตฟอร์มสำหรับตรวจสอบประวัติผู้ป่วยและวิเคราะห์อาการเบื้องต้น โดยผู้ป่วยสามารถกรอกข้อมูลส่วนบุคคลและอาการเจ็บป่วย ระบบ AI จะช่วยวิเคราะห์อาการร่วมกับข้อมูลทางการแพทย์ที่ทันสมัยล่าสุด พร้อมให้ข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับสาเหตุและแนวทางการรักษาโรคหรือปัญหาสุขภาพ รวมถึงขั้นตอนถัดไปในการรักษา ช่วยให้ผู้ป่วยได้รับการรักษาที่รวดเร็วมากขึ้น ลดขั้นตอนและเวลาในการพบแพทย์ อีกทั้งยังช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานของแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ด้วย

· Pathology as a Service แพลตฟอร์มที่ใช้เทคโนโลยีสแกนชิ้นเนื้อเพื่อแปลงภาพพยาธิวิทยาเป็นดิจิทัล ซึ่ง AI สามารถวิเคราะห์ได้อย่างรวดเร็ว ช่วยให้กระบวนการทดสอบตัวอย่างชิ้นเนื้อและเลือดมีความรวดเร็วมากขึ้น จึงช่วยให้นักพยาธิวิทยาทำงานได้เร็วขึ้น เพิ่มทั้งประสิทธิภาพและความแม่นยำในการวินิจฉัย การตรวจพบโรคตั้งแต่ระยะแรกจึงทำได้ง่ายขึ้น ทำให้ผู้ป่วยสามารถเข้าถึงการรักษาได้ทันท่วงที เช่น การพยาธิวิทยาดิจิทัลที่ขับเคลื่อนด้วย AI สามารถตรวจพบมะเร็งได้ภายในไม่กี่นาที ซึ่งกระบวนการแบบดั้งเดิมอาจใช้เวลาหลายสัปดาห์ โดยเทคโนโลยีการจัดเก็บข้อมูลบนคลาวด์และระบบเครือข่ายที่ปลอดภัยของทรู คอร์ปอเรชั่น ช่วยให้สถานพยาบาลต่างๆ ทั่วประเทศไทยสามารถนำบริการพยาธิวิทยา (Pathology-as-a-Service) ในระบบดิจิทัลไปใช้ได้อย่างราบรื่น ช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการวินิจฉัย ขณะเดียวกันยังช่วยลดค่าใช้จ่ายต่อการตรวจพบโรค

· Ophthalmology as a Service แพลตฟอร์มที่ให้บริการสำหรับการวิเคราะห์และคัดกรองจักษุวิทยา เช่น จอประสาทตาเสื่อมจากอายุและเบาหวาน โดยใช้กล้องเรตินาที่ขับเคลื่อนด้วย AI และคอมพิวเตอร์วินิจฉัยแบบอัตโนมัติ ใช้เวลาไม่ถึงหนึ่งนาทีในกระบวนการตรวจวิเคราะห์อย่างแม่นยำ โดยไม่ต้องใช้ยาหยอดขยายม่านตาที่ทำให้รู้สึกไม่สบายตา โดยชุดผลิตภัณฑ์ที่รองรับ AI ของอินเทล ช่วยเพิ่มความสามารถในการตรวจพบโรค เช่น เบาหวานขึ้นตา ความหนาแน่นของกระดูกในโรคกระดูกพรุน และพยาธิวิทยาสำหรับมะเร็งเต้านมและมะเร็งไต

โซลูชันอัจฉริยะด้านการฟื้นฟูดูแล

· Digital Patient Twin (Patient Management as a Service - PMaaS) – โซลูชันสำหรับเพิ่มประสิทธิภาพการดูแลผู้ป่วยและความปลอดภัยด้วยอุปกรณ์ไร้การสัมผัส โดยข้อมูลต่างๆ ของผู้ป่วย ไม่ว่าจะเป็น อุณหภูมิร่างกาย อัตราการเต้นของหัวใจ อัตราการหายใจ คุณภาพการนอนหลับ และตำแหน่งของผู้ป่วยบนเตียง จะถูกส่งไปยังอุปกรณ์เซ็นเซอร์ที่ถูกติดตั้งอยู่บนเพดานห้องพักระดับเหนือเตียงผู้ป่วย พร้อมเชื่อมโยงไปยังศูนย์กลางเพื่อรวบรวมและแจ้งเตือนเมื่อพบความผิดปกติ จึงช่วยให้สามารถดูแลและเฝ้าระวังผู้ป่วยได้อย่างใกล้ชิด รวดเร็ว ปลอดภัย และมีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยไม่จำเป็นต้องรบกวนการพักผ่อนของผู้ป่วยในการตรวจวัดค่าต่างๆ เป็นประจำ

· Residential Care Management แพลตฟอร์มสำหรับดูแลผู้สูงอายุ ช่วยให้ผู้สูงอายุหรือผู้ป่วยได้รับการดูแลจากบุคลากรทางการแพทย์อย่างใกล้ชิดและต่อเนื่อง ด้วยอุปกรณ์ Edge IoT และเซ็นเซอร์ที่ติดตั้งบนรถเข็น โทรศัพท์เคลื่อนที่หรือแท็บเล็ต บันทึกข้อมูลในรูปแบบดิจิทัล ส่งผ่านเครือข่ายทรู 5G แบบเรียลไทม์ เพื่อรวบรวมบนแพลตฟอร์มที่ใช้เทคโนโลยี AI ในการวิเคราะห์เพื่อทำความเข้าใจพฤติกรรมและความเสี่ยงด้านสุขภาพ เชื่อมโยงกับระบบของโรงพยาบาล และสามารถแจ้งเตือนทันทีเมื่อพบความเสี่ยงหรือสิ่งผิดปกติ

 

โซลูชันอัจฉริยะด้านการจัดการข้อมูลทางการแพทย์

· Transforming of PACS (Picture Archiving and Communication System) โซลูชันที่จะพลิกโฉมระบบจัดเก็บรูปภาพทางการแพทย์ (Medical Images) หรือภาพถ่ายทางรังสี ผ่านแพลตฟอร์ม AI และประยุกต์ใช้ AI ได้ทุกที่ แม้ในพื้นที่ห่างไกล โดยเชื่อมต่อกับแพลตฟอร์มระบบคลาวด์ได้ทุกรูปแบบ ลดข้อจำกัดและความยุ่งยากเรื่องโครงสร้างพื้นฐานด้านไอทีที่ซับซ้อน

พิสูจน์ผลลัพธ์ กับ 2 กรณีตัวอย่างจากการใช้งานจริง*

· การวิเคราะห์เนื้อเยื่อเพื่อตรวจวินิจฉัยโรคมะเร็งได้เร็วขึ้นกว่าแบบดั้งเดิมถึง 2,000 เท่า

โดยเฉลี่ยนักพยาธิวิทยามักใช้เวลาในการวิเคราะห์เนื้อเยื่อเพื่อตรวจหาโรคต่างๆ โดยเฉพาะโรคมะเร็ง นานถึง 2 สัปดาห์ หรือมากกว่านั้นหากโรงพยาบาลอยู่ในพื้นที่ห่างไกลและขาดแคลนผู้เชี่ยวชาญและเครื่องมือทางการแพทย์ ทำให้ผู้ป่วยไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงทีและเสี่ยงต่อการลุกลามของโรค โซลูชัน Pathology as a Service นำแพลตฟอร์ม AI มาช่วยสำหรับวิเคราะห์ภาพถ่ายพยาธิวิทยา ช่วยประหยัดเวลาในการวิเคราะห์ โดยใช้เวลาเพียง 5 นาทีและเพิ่มความแม่นยำในการศึกษาวิจัย โดยนักพยาธิวิทยาสามารถแบ่งปันภาพพยาธิวิทยากับทีมงานทั่วโลกที่ทำงานจากระยะไกลในการวิเคราะห์สไลด์แบบดิจิทัล เอื้อต่อการร่วมวิเคราะห์และปรึกษาแนวทางการรักษาผู้ป่วยได้แบบเรียลไทม์ จึงช่วยแก้ไขปัญหาความขาดแคลนของนักพยาธิวิทยาทั่วโลก โดยเฉพาะในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่สำคัญ Pathology as a Service ยังเป็นแพลตฟอร์มที่ส่งเสริมความร่วมมือในการพัฒนายาใหม่และความก้าวหน้าด้านพยาธิวิทยาอีกด้วย

· การดูแลผู้ป่วยหรือผู้พักฟื้นด้วยอุปกรณ์ไร้การสัมผัส เพิ่มประสิทธิภาพการดูแลผู้ป่วยสูงขึ้น 30%

ยกระดับประสบการณ์การพักฟื้นของผู้ป่วยจากการได้รับการดูแลและเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิด โดยไม่ต้องถูกรบกวนในช่วงเวลาการพักฟื้น และไม่ต้องติดตั้งอุปกรณ์ทางการแพทย์หลายๆอุปกรณ์ที่สัมผัสกับร่างกายเพื่อติดตามค่าต่างๆ จึงสามารถเคลื่อนไหวร่างกายได้อย่างสะดวกสบาย ขณะเดียวกัน แพทย์และบุคลากรทางการแพทย์สามารถเพิ่มขีดความสามารถในการดูแลผู้ป่วยผ่าน โซลูชัน Digital Patient Twin โดยใช้เครื่องมือตรวจวัดค่าต่างๆ ของร่างกาย และตรวจจับเหตุการณ์ฉุกเฉินที่อาจเกิดขึ้นกับผู้ป่วยที่นอนพักฟื้นบนเตียง ด้วยการดำเนินการทางคลินิกจากอุปกรณ์เซ็นเซอร์ที่ส่งสัญญาณไลฟ์สตรีมและประมวลผลด้วยระบบอัจฉริยะ AI พร้อมแจ้งเตือนเหตุการณ์ฉุกเฉินต่างๆ ที่เกิดขึ้นกับผู้ป่วยบนเตียง นำไปสู่การตัดสินใจที่เหมาะสมอย่างทันท่วงที จึงช่วยแบ่งเบาภาระ ลดขั้นตอน และปริมาณการดำเนินงานในคลินิกหรือหอพักผู้ป่วย อีกทั้งยังช่วยแก้ไขปัญหาการขาดแคลนแพทย์และบุคลากรการแพทย์ โดยเจ้าหน้าที่พยาบาลสามารถดูแลผู้ป่วยได้มากขึ้น บุคลากรทางการแพทย์ 1 คน สามารถดูแลผู้ป่วยได้มากถึง 10 คน จากเดิมที่ต้องใช้เจ้าหน้าที่พยาบาลเฉลี่ย 3 คน ในการดูแลผู้ป่วย 10 คน

นับเป็นเวลาหลายทศวรรษที่อุตสาหกรรมโทรคมนาคมเร่งพัฒนาการให้บริการด้วยแนวคิด "จัดเต็ม" ไม่ว่าจะเป็นพื้นที่ให้บริการที่ครอบคลุมมากขึ้น ความเร็วที่มากขึ้น หรือการเข้าถึงการใช้ดาต้าได้มากขึ้น ในอีกด้านหนึ่ง จากการคาดการณ์ว่าในเอเชียจะมีการใช้งานดาต้ามือถือเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่าภายในปี พ.ศ. 2573 ยิ่งต้องคำนึงถึงประสิทธิภาพของเครือข่ายและพัฒนาสู่ความยั่งยืน ควบคู่ไปกับความท้าทายที่เกิดจากการนำปัญญาประดิษฐ์ (AI) มาใช้อย่างรวดเร็ว 

ประเทศ ตันกุรานันท์ หัวหน้าคณะผู้บริหารด้านเทคโนโลยี บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) บริษัทโทรคมนาคม-เทคโนโลยีผู้ให้บริการที่มีผู้ใช้งานมากสุดในประเทศ ทำให้เข้าใจในมิติของปรากฏการณ์และการรักษาสมดุลการพัฒนาเครือข่ายและความต้องการใช้งานมือถือเป็นอย่างดี อีกทั้ง จากประสบการณ์อันยาวนานในวงการโทรคมนาคม เมื่อครั้งอยู่ที่ดีแทคเขาได้รับประสบการณ์ที่ท้าทาย สู่ภารกิจสำคัญในการเริ่มต้นวางเครือข่ายในเมียนมาตั้งแต่ก้าวแรกกับเทเลนอร์ โดยในวันนี้เขากำลังทุ่มเทกับภารกิจอันยิ่งใหญ่และท้าทายอีกรูปแบบ ด้วยการดำเนินการพัฒนาเครือข่ายของทรู คอร์ปอเรชั่นให้ทันสมัยหลังจากการควบรวมกิจการโทรคมนาคมครั้งใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้  ลุยขับเคลื่อนการใช้งานดิจิทัลเชื่อมต่อเพื่อทุกคน 

"การทำงานในเมียนมาสร้างแรงบันดาลใจให้ผมอย่างมาก ผมได้เห็นพลังของการเปลี่ยนแปลงคุณภาพชีวิตผู้คนผ่านเทคโนโลยีโทรคมนาคมด้วยตาตัวเอง มันสร้างโอกาสใหม่ๆ มากมายให้กับคนในชุมชน สร้างธุรกิจขนาดเล็ก ทุกพื้นที่แม้อยู่ห่างไกลในชนบท การเชื่อมต่อผ่านมือถือพลิกเปลี่ยนชีวิตผู้คนได้จริงๆ" ประเทศ กล่าว 

ทุกวันนี้ ประเทศในฐานะ CTO ทรู คอร์ป ยังคงมุ่งมั่นที่จะลุยไปข้างหน้านำความล้ำสมัยของดิจิทัลไปสู่ทุกคนในประเทศไทย แต่เขาต้องเผชิญกับความท้าทายบทใหม่ที่แตกต่างออกไป ทรูและดีแทคกำลังรวมโครงข่ายที่มีสถานีฐานหลายหมื่นแห่งที่ครอบคลุมทั่วไทยเข้าด้วยกันเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น สำหรับให้บริการประชาชนมากกว่า 50 ล้านเลขหมาย นอกจากนี้ คนไทยยังเป็นหนึ่งในผู้ใช้ข้อมูลที่มากสุดในโลก โดยใช้งานเฉลี่ยราว 30 GBต่อคนต่อเดือน (ข้อมูลไตรมาส 2/2567) 

"นี่เป็นการดำเนินการพัฒนาเครือข่ายให้ทันสมัยครั้งใหญ่ที่สุดในประเทศไทย และอยู่ในระดับต้นๆ ของเอเชีย" ประเทศ เล่าเพิ่มเติม "เราวางแผนที่จะพัฒนาเสาสัญญาณหลายพันแห่ง โดยทำงานร่วมกับทีมขายในพื้นที่ซึ่งรู้จักชุมชนที่พวกเขาให้บริการเป็นอย่างดี" 

ในการประกาศผลประกอบการไตรมาส 2 ปี 2567 ทรู คอร์ปอเรชั่นระบุว่า ได้ดำเนินการพัฒนาเครือข่ายให้ทันสมัยเสร็จสมบูรณ์แล้ว 7,100 แห่ง หรือ 42% ของเป้าหมายทั้งหมด อย่างไรก็ตาม ประเทศยอมรับว่าโครงการนี้เป็นความท้าทายที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของเขา 

"แม้จะมีการทดสอบอย่างหนักและจัดทำโครงการนำร่องในสถานการณ์จริงเพื่อให้มั่นใจว่าการติดตั้งจะราบรื่น แต่การพัฒนาเครือข่ายให้ทันสมัยทั่วประเทศก็ยังคงท้าทายกว่าที่คิดมาก ทีมวิศวกรภาคสนามจำนวนมากต้องได้รับการฝึกอบรมใหม่เพื่อให้แน่ใจว่าพวกเขาปฏิบัติตามมาตรฐานที่เข้มงวดของทรู" ประเทศ กล่าว "สิ่งสำคัญที่สุดคือประสบการณ์ของลูกค้า ที่เป็นเป้าหมายหลักของเรา" 

 

ปัญญาประดิษฐ์ (AI) และการปล่อยคาร์บอน 

นอกเหนือจากประสิทธิภาพของเครือข่าย ประเทศกำลังมองไปยังอนาคตที่ AI จะมีบทบาทสำคัญทั้งในด้านประสบการณ์ผู้ใช้และความยั่งยืน 

"ทรู คอร์ปอเรชั่นตั้งเป้าหมายที่ท้าทายในความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) ภายในปี พ.ศ. 2573 และบรรลุเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero) ภายในปี 2593" เขากล่าว "AI เป็นกุญแจสำคัญในการลดคาร์บอนฟุตพริ้นท์ (Carbon Footprint) ของเรา เราใช้ AI วิเคราะห์รูปแบบและกลยุทธ์การใช้งานและปิดอุปกรณ์ในช่วงที่มีการใช้งานต่ำ ซึ่งช่วยประหยัดพลังงานได้ถึง 15%" 

นอกจาก AI แล้ว ทรูยังใช้ประโยชน์จากการปรับปรุงเครือข่ายเพื่อเปลี่ยนไปใช้อุปกรณ์ที่ประหยัดพลังงานมากขึ้น และเพิ่มจำนวนสถานีฐานที่ใช้พลังงานแสงอาทิตย์อย่างต่อเนื่อง โดยในเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา มีสถานีฐานที่ใช้พลังงานแสงอาทิตย์แล้ว 10,490 แห่ง จากนี้ต่อไปเขาคาดการณ์อย่างมั่นใจว่า AI จะยิ่งเป็นปัจจัยหลักที่นำมาใช้ทั้งในแง่การปรับปรุงประสบการณ์ลูกค้าและการแก้ไขปัญหาต่างๆ 

"ด้วย AI เราจะสามารถตรวจจับปัญหาที่อาจเกิดขึ้นในเครือข่ายได้ก่อนที่จะส่งผลกระทบต่อลูกค้า นี่คือสิ่งที่เรียกว่าเครือข่าย 'self-healing' หรือ 'self-optimizing' AI ยังช่วยปรับปรุงประสบการณ์การบริการลูกค้าอย่างมาก เนื่องจากพนักงานบริการจะยิ่งสามารถใช้ AI co-pilots มากขึ้น เพื่อช่วยเหลือลูกค้าได้เร็วขึ้นและแม่นยำมากขึ้น" ประเทศ กล่าว 

 การเปลี่ยนแปลงบุคลากรสู่ยุค AI 

ความมุ่งมั่นของทรู คอร์ปอเรชั่นในการใช้ AI ไม่ได้จำกัดอยู่แค่การเพิ่มประสิทธิภาพเครือข่าย บริษัทวางแผนที่จะมี "พลเมืองดิจิทัล (Digital Citizens)" 5,000 คนภายในปี 2568 รวมถึงผู้เชี่ยวชาญระดับสูงด้าน AI และ วิทยาการข้อมูล (Data Science) จำนวน 1,000 คน และเมื่อเร็วๆ นี้ได้จัดตั้งศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยี (Center of Technology Excellence) เพื่อทำงานร่วมกับพันธมิตรระดับโลกที่มีความสามารถด้าน AI ขั้นสูง 

"เราให้ความสำคัญกับการนำ AI มาใช้งานแต่ต้องควบคู่กับความปลอดภัย" ประเทศ กล่าว "เราเริ่มโครงการนำร่องการใช้ AI co-pilots ที่เราสามารถบริหารจัดการดาต้า และผลลัพธ์จาก AI ทั้งหมดจะได้รับการตรวจสอบโดยมนุษย์ก่อนนำไปใช้งานจริง" 

ประเทศมองว่า AI จะมาพลิกโฉมรูปแบบคนทำงาน โดยงานบางอย่างอาจล้าสมัย ในขณะที่งานอื่นๆ ต้องการชุดทักษะใหม่ๆ อย่างไรก็ตาม เขาเน้นย้ำถึงความสำคัญของการทำงานคือการพัฒนาตนเองและการเรียนรู้ตลอดชีวิต 

"สิ่งที่คุณเรียนในโรงเรียนอาจไม่เกี่ยวข้องเมื่อคุณได้งานทำ" เขาให้คำแนะนำ "แต่ด้วยการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง คุณจะประสบความสำเร็จได้ อย่างไรก็ตาม AI ยังคงต้องการมนุษย์ในการสร้าง ฝึกฝน และดำเนินการ . . . อย่างน้อยก็ในขณะนี้" 

การรักษาสมดุลระหว่างเทคโนโลยีล้ำสมัยกับความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมเป็นประเด็นสำคัญที่เขาให้ความสำคัญอยู่เสมอ ในขณะที่ทรู คอร์ปอเรชั่นกำลังนำศักยภาพพลังของ AI มาใช้และเผชิญกับความท้าทายด้านความยั่งยืน ความเป็นผู้นำของเขาในฐานะหัวหน้าคณะผู้บริหารด้านเทคโนโลยีจะมีบทบาทสำคัญในการสร้างอนาคตที่ทุกคนยังคงเชื่อมต่อกัน  ไปพร้อมๆ กับการดูแลรักษาโลก 

บางทีนั่นอาจเป็นเหตุผลที่ทำให้นอกเวลางาน ประเทศ CTO ทรู คอร์ป ให้ความสำคัญกับการสร้างสมดุลในชีวิตครอบครัว โดยแบ่งเวลาระหว่างการช่วยเหลือลูกๆ ทำการบ้าน และการใช้เวลาร่วมกันทำกิจกรรมกลางแจ้ง สิ่งนี้สะท้อนให้เห็นถึงวิถีชีวิตที่ผสานความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีเข้ากับการใกล้ชิดธรรมชาติได้อย่างลงตัว อันเป็นแนวทางการดำเนินชีวิตที่มีความหมายในโลกปัจจุบัน 

ทิพยประกันภัย ร่วมกับ ทรูบิสิเนส ผู้นำบริการสื่อสารและโซลูชันครบวงจรสำหรับธุรกิจ ผนึกพลังสนับสนุน SMEs ไทย สู้วิกฤตโควิด-19  

X

Right Click

No right click