November 21, 2024

“Run For the Healthy World” อนุรักษ์มรดกไทย ใส่ใจสิ่งแวดล้อม ณ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

อลิอันซ์เปิดรายงานการวิเคราะห์แนวโน้มเศรษฐกิจโลกอย่างรอบด้านสำหรับปี 2567-2569 โดยคาดการณ์ว่าเศรษฐกิจโลกจะเติบโตในระดับปานกลางแต่จะมีเสถียรภาพท่ามกลางปัญหาที่ยังคงดำเนินต่อไป และคาดว่าจะเติบโตในอัตราเฉลี่ย 2.8% ต่อปี โดยเศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกาจะเป็นกำลังสำคัญของการเติบโตในปี 2567 แม้จะยังคงมีความเสี่ยงที่เศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกาจะถดถอย เศรษฐกิจโลกจะไม่ได้รับผลกระทบมากนัก และยุโรปจะมีการเติบโตที่ช้าแต่คงที่ มาตรการรัดเข็มขัด การขึ้นภาษี และกลยุทธ์ลดต้นทุนในทั้งสองภูมิภาคจะส่งผลต่อจีดีพี

มีการคาดการณ์ว่าเงินเฟ้อจะชะลอตัวลง ซึ่งทำให้ธนาคารกลางของประเทศต่างๆ สามารถผ่อนปรนนโยบายการเงินได้อย่างค่อยเป็นค่อยไป นโยบายเช่นนี้จะช่วยกระตุ้นการใช้จ่ายของผู้บริโภค การขึ้นค่าจ้างจะช่วยกระตุ้นการบริโภคมากขึ้น แม้ว่าเงินเฟ้อในระดับสูงในบางภาคส่วนจะยังคงส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นของผู้บริโภค ภาคธุรกิจยังฟื้นตัวไม่สม่ำเสมอ โดยมีสัญญาณของการเพิ่มการลงทุน แต่มีความกังวลเรื่องการล้มละลายในภาคธุรกิจ นโยบายของธนาคารกลางจะทำให้เกิดข้อจำกัดในตลาดการเงินโลก ซึ่งจะได้รับผลกระทบจากความเสี่ยงด้านภูมิรัฐศาสตร์และความไม่แน่นอนทางการเมือง เช่น ความตึงเครียดระหว่างสหรัฐฯ และจีน และความขัดแย้งระหว่างรัสเซียและยูเครน

การเติบโตและความท้าทายของเอเชียแปซิฟิก

เศรษฐกิจจีนในปี 2567 คาดว่าจะเติบโตในอัตราประมาณ 5% แม้จะยังคงมีความเสี่ยงยังคงอยู่ ปัญหาของภาคอสังหาริมทรัพย์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งปริมาณสินค้าคงคลังจำนวนมากและราคาบ้านที่ลดลง ยังคงส่งผลต่อการบริโภคในภาคเอกชน อย่างไรก็ตาม ภาคการส่งออกของจีนยังคงมีแนวโน้มที่ดีซึ่งส่งแรงหนุนให้ภาคการผลิตของประเทศ ธนาคารกลางจีนผ่อนปรนนโยบายและคาดว่าจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยเพิ่มเติมในปี 2568 อย่างไรก็ตาม นโยบายนี้อาจช่วยบรรเทาภาวะเศรษฐกิจชะลอตัว แต่อาจจะไม่ได้ช่วยกอบกู้สถานการณ์

ในทางกลับกัน เศรษฐกิจของเอเชียแปซิฟิกในภาพรวมจะเติบโตอย่างรวดเร็ว โดยคาดการณ์ว่าจีดีพีจะเพิ่มขึ้น 4.2% ในปี 2567 จากการเติบโตที่แข็งแกร่งของอินเดียและประเทศในกลุ่มอาเซียน การผ่อนคลายนโยบายการเงิน อัตราเงินเฟ้อที่เป็นไปตามเป้าหมายของธนาคารกลาง และการค้าโลกที่ฟื้นตัวเป็นปัจจัยสำคัญที่ขับเคลื่อนการเติบโตของเศรษฐกิจของภูมิภาค ธนาคารกลางของเศรษฐกิจเกิดใหม่ในเอเชียจะยังคงปรับลดอัตราดอกเบี้ยต่อไปเนื่องจากอัตราเงินเฟ้อลดลง ซึ่งจะส่งผลดีต่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจ

เศรษฐกิจกำลังพัฒนาในเอเชียจะได้ประโยชน์จากพลวัตที่เปลี่ยนไปของโลกาภิวัตน์และการปฏิรูปนโยบายในประเทศ เศรษฐกิจของประเทศต่างๆ เช่น เวียดนาม ไทย และไต้หวัน จะได้ประโยชน์จากการเปลี่ยนแปลงของความต้องการในภาคการส่งออก โดยเฉพาะในตลาดอย่างสหรัฐอเมริกา ประเทศต่างๆ หลายประเทศในเอเชียใต้และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จะยังสามารถดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศจากการกระจายความเสี่ยงของห่วงโซ่อุปทานทั่วโลก

ความเสี่ยงด้านภูมิศาสตร์การเมืองและสภาพแวดล้อมทางธุรกิจ

ความตึงเครียดทางภูมิรัฐศาสตร์ยังคงเป็นความเสี่ยงที่สำคัญต่อเสถียรภาพของเศรษฐกิจโลกและเศรษฐกิจภูมิภาค สงครามระหว่างรัสเซียและยูเครนที่ยังคงดำเนินต่อไป รวมถึงความตึงเครียดที่มากขึ้นในทะเลจีนใต้และไต้หวันยังคงสร้างความไม่แน่นอนให้กับนักลงทุน แม้จะมีความท้าทายเหล่านี้ เอเชียยังคงเป็นภูมิภาคที่เอื้ออำนวยต่อการทำธุรกิจ โดยมีความโดดเด่นในด้านต่างๆ เช่น เทคโนโลยีดิจิทัล โครงสร้างพื้นฐาน และทรัพยากรมนุษย์ ประเทศต่างๆ เช่น สิงคโปร์และจีนเป็นผู้นำในแง่ของความสะดวกในการทำธุรกิจและการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน แม้จะยังคงมีปัญหาในด้านต่างๆ เช่น การมีส่วนร่วมในตลาดแรงงานและทรัพย์สินทางปัญญา

ประเทศไทย: ความเข้มแข็งของเศรษฐกิจและความท้าทาย

เศรษฐกิจไทยคาดว่าจะเติบโตถึง 2.7% ในปี 2567 และ 3.1% ในปี 2568 เมื่อเทียบกับการเติบโตเพียง 1.9% ในปี 2566 ความต้องการภายในประเทศยังสามารถฟื้นตัวกลับมาได้ โดยได้รับแรงสนับสนุนจากตลาดงานที่กำลังปรับตัวดีขึ้น ยอดค้าปลีกที่แข็งแกร่ง และกิจกรรมการผลิต ในภาคบริการโดยเฉพาะการท่องเที่ยวเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ โดยมีจำนวนนักท่องเที่ยวเพิ่มขึ้นใกล้เคียงกับระดับก่อนการแพร่ระบาดของโควิด 19

นโยบายแบบผสมผสานของไทยคาดว่าจะช่วยสนับสนุนการเติบโตนี้ โดยธนาคารแห่งประเทศไทยผ่อนปรนนโยบายการเงินด้วยความระมัดระวังในขณะที่อัตราเงินเฟ้ออยู่ในระดับต่ำ อย่างไรก็ตาม รัฐบาลจะต้องหาจุดสมดุลระหว่างการผ่อนคลายมาตรการและการรักษาวินัยทางการคลัง

แม้ว่าสินทรัพย์ในภาคครัวเรือนจะเติบโต แต่ประเทศไทยเผชิญกับความท้าทายทางด้านการเงินที่ไม่เหมือนประเทศอื่นๆ โดยสินทรัพย์ทางการเงินรวมลดลง 1.9% ในปี 2566 ถือเป็นการลดลงครั้งแรกนับตั้งแต่เกิดวิกฤตการณ์ทางการเงินโลกในปี 2551 การลดลงของหลักทรัพย์และเงินฝากธนาคารเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อการลดลงนี้ อย่างไรก็ตาม สินทรัพย์ประเภทประกันและเงินบำนาญมีการเติบโตเล็กน้อย แม้จะต่ำกว่าค่าเฉลี่ยในอดีตก็ตาม อัตราหนี้สินที่สูงของประเทศไทย ซึ่งอยู่ที่ 91% ของจีดีพีที่เป็นตัวเงิน ยังคงเป็นหนึ่งในอัตราที่สูงที่สุดในภูมิภาค

นอกจากนี้ การกระจายความมั่งคั่งในประเทศยังคงไม่สมดุลอย่างมาก โดยประชากรกลุ่มมั่งคั่งเพียง 10% เป็นเจ้าของสินทรัพย์ทางการเงิน 76% ของสินทรัพย์ทางการเงินรวมสุทธิของประเทศ ความไม่เท่าเทียมนี้เกิดขึ้นเป็นเวลากว่าสองทศวรรษแล้ว โดยสถานการณ์แทบไม่ดีขึ้นเลย ตอกย้ำถึงความจำเป็นในการดำเนินนโยบายเศรษฐกิจที่ครอบคลุมทุกกลุ่มประชากรมากขึ้นในอนาคต

นายลูโดวิค เซอร์บราน หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ ของกลุ่มอลิอันซ์ กล่าวว่า "แนวโน้มเศรษฐกิจที่อลิอันซ์คาดการณ์สะท้อนถึงการมองโลกในแง่ดีอย่างระมัดระวังของเราท่ามกลางความท้าทายทั้งในระดับโลกและระดับภูมิภาค แม้ว่าการเติบโตคาดว่าจะคงที่ในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า เรายังคงต้องเฝ้าระวังต่อไป ความตึงเครียดทางภูมิรัฐศาสตร์ วินัยทางการเงิน และความเหลื่อมล้ำระหว่างคนรวยและคนจนที่ยังคงมีอยู่ จะยังคงเป็นปัญหาสำคัญที่เราต้องแก้ไขเพื่อให้มั่นใจว่าเศรษฐกิจจะฟื้นตัวอย่างยั่งยืนและเข้มแข็งในระยะยาว"

อลิอันซ์ได้รับการเสนอชื่อให้เป็นบริษัทประกันภัยอันดับหนึ่งของโลกในการจัดอันดับแบรนด์ระดับโลกที่ดีที่สุดประจำปี 2567 โดย บริษัทที่ปรึกษาชั้นนำ Interbrand ติดต่อกันเป็นปีที่ 6 ด้วยอัตราการเติบโตเพิ่มขึ้น 13% จาก 20.9 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เป็น 23.56 พันล้าน ดอลลาร์สหรัฐฯ  และเติบโตเพิ่มขึ้นในกลุ่มการเงิน 7% จากความสำเร็จนี้ทำให้อลิอันซ์ก้าวขึ้นมาเป็นหนึ่งในสามแบรนด์ด้านบริการการเงินที่ดีที่สุดในโลก

ด้วยรายได้ที่สูงขึ้นและกำไรที่เติบโตอย่างแข็งแกร่ง รากฐานที่สำคัญของแบรนด์ จากความไว้วางใจของลูกค้ากว่า 124 ล้านคนในตลาด 70 ประเทศทั่วโลก รวมถึงพนักงานกว่า 157,000 คน และตัวแทนและโบรกเกอร์กว่า 120,000 คน ทั่วโลก ทำให้อลิอันซ์ไม่เพียงมีการเติบโตที่เหนือคู่แข่ง แต่ยังเติบโตสูงกว่าอุตสาหกรรมประกันโดยรวมอีกด้วย

ในปีนี้ อลิอันซ์ ได้ร่วมสนับสนุนงานระดับโลกอย่างโอลิมปิกเกมส์ 2024 และพาราลิมปิกเกมส์ 2024 กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส แสดงถึงความสามารถในการสนับสนุนนักกีฬา พร้อมทุกความท้าทายและความพยายามของนักกีฬาจากกว่า 200 ประเทศ และถ่ายทอดให้ผู้ชมทั่วโลกได้เห็น นอกจากนี้ ยังได้รับการยอมรับว่าเป็นหนึ่งใน Fortune Top 100 บริษัทที่ดีที่สุดในการทำงานในยุโรป ประจำปี 2024 อีกด้วย

การจัดอันดับครั้งนี้ จัดทำขึ้นโดยองค์กร Interbrands ผู้นำด้านการประเมินมูลค่าแบรนด์ตั้งแต่ปี 2531 โดยเป็นบริษัทแรกที่ได้รับการรับรอง ISO10668 สำหรับวิธีการประเมินมูลค่าแบรนด์ (กฎระเบียบสำหรับการประเมินมูลค่าแบรนด์เป็นตัวเงิน) นอกจากนี้ยังมีบทบาทสำคัญในการพัฒนามาตรฐานแบรนด์ ตั้งแต่ปี 2543 การจัดลำดับและรายงาน Best Global Brands ได้รับการตีพิมพ์ทุกปีและเป็นหนึ่งในการจัดลำดับที่ได้รับความไว้วางใจมากที่สุดด้านการบริหารแบรนด์

 

อลิอันซ์ อยุธยา ประกันชีวิต ร่วมยินดี ทัพตัวแทนไทย 31 คน ได้รับคัดเลือกร่วมโครงการ Allianz Pinnacle Excellence Program เดินหน้าพัฒนาความเป็นมืออาชีพในหลักสูตรพัฒนาตัวแทนระดับเวิร์ดคลาสกับสถาบัน INSEAD จัดโดยความร่วมมือของ อลิอันซ์ เอเชีย แปซิฟิก และ INSEAD สถาบันการศึกษาด้านธุรกิจระดับท๊อปของโลก มุ่งเพิ่มทักษะและสร้างการเปลี่ยนแปลงให้กับวงการตัวแทนประกันชีวิตและสุขภาพให้สอดรับกับการเปลี่ยนแปลงของโลกในวันนี้และอนาคต

นายวิรงค์ พัฒนกำจร รองกรรมการผู้จัดการใหญ่สายงานบริหารตัวแทน อลิอันซ์ อยุธยา ประกันชีวิต กล่าวว่า บริษัทฯมีความภาคภูมิใจกับความเป็นมืออาชีพของตัวแทนของเรา โดยเฉพาะอย่างยิ่ง 31 ตัวแทน ประกอบด้วย AVP ใหม่ปี 2567 จำนวน 10 คน ผู้บริหารตัวแทนระดับ Elite จำนวน 16 คน Elite Builder จำนวน 5 คนที่ได้ผ่านกระบวนการคัดเลือกที่เข้มข้นและมีการแข่งขันสูง ทั้ง 31 คนจะได้เข้าร่วมการอบรมร่วมกับตัวแทนที่มีผลงานยอดเยี่ยมกว่า 200 คนจาก 7 ตลาดทั่วเอเชีย โดยกลุ่มผู้เข้าร่วมประกอบด้วยผู้นำและตัวแทนที่มีประสบการณ์ทั้งใหม่และเก่า ถือเป็นโอกาสดีของตัวแทนคุณภาพของเราที่ได้เข้าร่วมเพื่อรับความรู้ใหม่ในการพัฒนาตนเองในฐานะตัวแทน และจะสามารถนำความรู้อันมีค่าเหล่านี้กลับมาพัฒนาทีม และตัวแทนรุ่นใหม่ต่อไปในอนาคต

โครงการอบรมนี้ประกอบด้วย 4 โมดูลหลัก ได้แก่ การสื่อสาร จิตวิทยาลูกค้า ภาวะการเป็นผู้นำ และแนวคิดกลยุทธ์ทางธุรกิจ โดยช่วยให้ผู้เข้าร่วมสามารถนำความรู้ที่ได้รับไปปรับประยุกต์ใช้โดยตรงผ่านโครงการ Action Learning Projects ซึ่งเป็นส่วนสำคัญในการจบโครงการและการเติบโตในสายอาชีพ ผู้ที่จบการศึกษาจะได้รับการสนับสนุนให้แบ่งปันแนวปฏิบัติที่ดีที่สุดกับทีมของพวกเขา ช่วยขยายผลจากการฝึกอบรมให้สามารถพัฒนาตนเองและทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยโครงการมีระยะเวลา 6 เดือน และจะเริ่มต้นด้วยหลักสูตรแบบตัวต่อตัวเป็นเวลา 2 วัน ที่ INSEAD Asia Campus ในสิงคโปร์ และจะสิ้นสุดด้วยพิธีจบการศึกษาที่สถานที่เดียวกันในเดือนกุมภาพันธ์ 2568

มร.โมหิด บาโฮเรีย ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายตัวแทน การตลาดและการจัดจำหน่ายดิจิทัลประจำภูมิภาค กล่าว "โครงการ Pinnacle Excellence Program เป็นตัวอย่างที่แสดงถึงความมุ่งมั่นของอลิอันซ์ ในการเตรียมความพร้อมและเสริมสร้างความเชี่ยวชาญให้กับตัวแทนของเรา เพื่อให้พวกเขามีทักษะและความรู้ที่จำเป็นในการรับมือกับการ เปลี่ยนแปลงและความท้าทายในอนาคต ด้วยความริเริ่มนี้ เราไม่เพียงแต่เสริมสร้างเครือข่ายการขายของเราเท่านั้น แต่ยังมั่นใจว่าลูกค้าของเราจะได้รับการบริการที่ดีที่สุด"

มร.เจมส์ คอสตันนินิ ศาสตราจารย์ผู้ช่วยอาวุโสด้านกลยุทธ์ของ INSEAD และผู้อำนวยการโครงการ Allianz Pinnacle Excellence Program กล่าวเพิ่มเติมว่า "เส้นทางการเรียนรู้ของโครงการถูกออกแบบอย่างพิถีพิถันเพื่อสนับสนุนตัวแทนชั้นนำให้ไปถึงจุดสูงสุดของพวกเขา โดยเน้นการผสมผสานระหว่างความรู้ทางวิชาการและประสบการณ์ของผู้เชี่ยวชาญชั้นนำเพื่อสร้างแนวปฏิบัติผ่านการประยุกต์ใช้ความรู้ โดยในโมดูลแรก เรามุ่งเน้นการศึกษาและทำความเข้าใจปัจจัยที่ทำให้การสื่อสารมีอิทธิพลและผลกระทบมีความสำคัญอย่างไรต่อตัวแทน และวิธีการนำความรู้นี้ไปปฏิบัติ"

 

อลิอันซ์ อยุธยา ประกันชีวิต ร่วมกับ อลิอันซ์ โกลบอล อินเวสเตอร์ส บริษัทจัดการสินทรัพย์และการลงทุนชั้นนำระดับโลก และบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน กรุงศรี จำกัด ตอกย้ำความเชี่ยวชาญระดับโลก เปิดตัว 2 กองทุนรวมใหม่ Allianz Dynamic Multi Asset Strategy SRI (DMAS SRI) 75 และ (DMAS SRI) 50 กองทุนรวมเพื่อความยั่งยืน บริหารโดย อลิอันซ์ โกลบอล อินเวสเตอร์ส เพิ่มทางเลือกการลงทุนใหม่สำหรับลูกค้า 'ยูนิต ลิงค์’' ได้เข้าถึงการลงทุนในบริษัทระดับโลกด้วยหลากหลายสินทรัพย์ ภายใต้ธีมความยั่งยืน มุ่งสร้างโอกาสเพิ่มผลตอบแทนบนความเสี่ยงที่รับได้ ตอบโจทย์กลุ่มลูกค้าที่ต้องการความคุ้มครองชีวิตควบคู่ไปกับการลงทุน โดย อลิอันซ์ อยุธยา ประกันชีวิต เชื่อมั่นว่าจะช่วยสร้างความโดดเด่นให้กับผลิตภัณฑ์ และสนับสนุนการเติบโตของเบี้ยประกันยูนิต ลิงค์ตามเป้าหมาย 40%

นายวิรงค์ พัฒนกำจร รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายงานบริหารตัวแทน บมจ.อลิอันซ์ อยุธยา ประกันชีวิต กล่าวว่า ผลิตภัณฑ์ยูนิต ลิงค์ได้รับความนิยมมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะกลุ่มผู้ที่สนใจเกี่ยวกับการวางแผนการเงินส่วนบุคคลที่มีเพิ่มขึ้นในยุคนี้ ด้วยการตอบโจทย์ในเรื่องของความยืดหยุ่นในการให้ความคุ้มครอง การจ่ายเบี้ย และยังมีโอกาสได้รับผลตอบแทนจากการลงทุนตามความเสี่ยงที่ผู้เอาประกันภัยยอมรับได้ เพื่อโอกาสในการสร้างผลตอบแทนที่ดีในระยะยาว อลิอันซ์ อยุธยา ได้พัฒนาผลิตภัณฑ์และเลือกกองทุนรวมที่น่าสนใจ หลากหลายประเภท ตั้งแต่ กองทุนรวมตลาดเงิน กองทุนรวมตราสารหนี้ กองทุนรวมตราสารทุน และล่าสุด กองทุนรวมที่มีกลยุทธ์การลงทุนในหลากหลายสินทรัพย์ เพื่อเป็นทางเลือกในการกระจายความเสี่ยงให้กับลูกค้า โดยได้ผสานความเชี่ยวชาญระดับโลก จาก อลิอันซ์ โกลบอล อินเวสเตอร์ส บริษัทจัดการสินทรัพย์และการลงทุนชั้นนำภายใต้กลุ่มอลิอันซ์ นำเสนอกองทุนรวมใหม่ Allianz Dynamic Multi Asset Strategy SRI (DMAS SRI) กองทุนรวมเพื่อความยั่งยืน มีกลยุทธ์ที่สร้างผลตอบแทนเฉลี่ยต่อปีที่โดดเด่น เพื่อเป็นทางเลือกสุดเอกซคลูซีฟให้กับลูกค้ายูนิต ลิงค์ของเรา โดยลูกค้าสามารถลงทุนได้ผ่านกองทุนเปิดกรุงศรีโกลบอลไดนามิค บริหาร โดย บลจ. กรุงศรีฯ

กองทุนเปิดกรุงศรีโกลบอลไดนามิค แบ่งเป็น 2 กองทุนเพื่อเป็นทางเลือกให้ลูกค้าตามความเสี่ยงที่รับได้ คือ กองทุนเปิดกรุงศรีโกลบอลไดนามิคแอกเกรสซีฟอโลเคชั่นเอสอาร์ไอ-ผู้ลงทุนสถาบัน (KFGDA-I) ลงทุนในหุ้นตั้งแต่ 0%-125% โดยมีเป้าหมายระดับความผันผวนที่ 10%-16%  ในขณะที่อีกกองทุน คือ กองทุนเปิดกรุงศรีโกลบอลไดนามิคบาลานซ์อโลเคชั่นเอสอาร์ไอ-ผู้ลงทุนสถาบัน (KFGDB-I) ลงทุนในหุ้นตั้งแต่ 0%-100% โดยมีเป้าหมายระดับความผันผวนที่ 6%-12% ทั้งนี้ ทั้ง 2 กองทุนเป็นพอร์ตการลงทุนภายใต้กลยุทธ์ Dynamic Multi Asset กระจายการลงทุนในหลากหลายสินทรัพย์ทั่วโลก เพื่อสร้างผลตอบแทนที่มั่นคงในระยะยาว และมีการปรับสัดส่วนที่เหมาะสมต่อสถานการณ์ทางเศรษฐกิจทั่วโลกอยู่ตลอดเวลา มีการจัดการผ่านกระบวนการวิเคราะห์ที่ซับซ้อน และการบริหารจัดการความเสี่ยงที่เคร่งครัด จากทีมผู้เชี่ยวชาญกว่า 80 ท่านที่มีประสบการณ์ทั้งในด้านการวิเคราะห์และการลงทุนและคัดเลือกหลักทรัพย์ที่ผ่านการประเมินทั้งด้านปัจจัยพื้นฐานและความยั่งยืน โดยให้ความสำคัญกับหลักทรัพย์ที่มีคะแนนด้าน สิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล Socially Responsible Investing (SRI) ที่เหนือกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับธุรกิจในอุตสาหกรรมเดียวกัน ขณะเดียวกันก็จะคัดหลักทรัพย์ที่มีผลการดำเนินงานแย่ที่สุดในกลุ่มออกจากพอร์ตการลงทุน เพื่อให้มั่นใจได้ว่าการลงทุนทั้งหมดเป็นไปตามมาตรฐานสูงสุดในด้านความยั่งยืน

กองทุน DMAS SRI บริหารโดย อลิอันซ์ โกลบอล อินเวสเตอร์ส ซึ่งเป็นบริษัทจัดการสินทรัพย์ชั้นนำระดับโลกที่มีความเชี่ยวชาญในการลงทุนมุ่งเน้นการเติบโตที่ยั่งยืนมากว่า 20 ปี โดยมีสินทรัพย์ภายใต้การบริหารมูลค่ากว่า 555 พันล้านยูโร มีสำนักงานกว่า 20 ประเทศทั่วโลก พร้อมทีมงานผู้เชี่ยวชาญด้านการลงทุนมากกว่า 600 คน ที่ทำงานร่วมกันเพื่อยกระดับประสบการณ์การลงทุนของลูกค้า ผ่านการร่วมมือเชิงกลยุทธ์ การตอบสนองต่อความต้องการที่หลากหลายด้วยผลิตภัณฑ์การลงทุนที่ครอบคลุม โดยคำนึงถึงปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล Socially Responsible Investing (SRI) บริษัทได้รับการยอมรับจากผลงานการบริหารสินทรัพย์หลายประเภท (Multi-Asset Strategies) โดยได้รับรางวัลจากองค์กรชั้นนำอย่าง Citywire, BENCHMARK และ Scope Investment อีกทั้งยังให้ความสำคัญกับการกระจายการลงทุนไปทั่วโลก เพื่อเพิ่มผลตอบแทนระยะยาว เปิดโอกาสให้เข้าถึงการเติบโตของตลาดโลก เพื่อกระจายความเสี่ยง และเพิ่มโอกาสในการสร้างผลลัพธ์ทางการเงินที่มั่นคงและยั่งยืน

“อลิอันซ์ อยุธยา ประกันชีวิต ยืนหยัดในฐานะผู้นำที่ได้รับความไว้วางใจในผลิตภัณฑ์ยูนิต ลิงค์ ด้วยความมุ่งมั่นที่จะตอบสนองความต้องการของลูกค้าที่ต้องการทั้งการคุ้มครองชีวิตและการลงทุนที่ยั่งยืน เราเชื่อว่าการเปิดตัวกองทุนใหม่ 2 กองทุนในครั้งนี้ จะเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่ช่วยเพิ่มโอกาสในการสร้างผลตอบแทนระยะยาวที่ดีตามระดับความเสี่ยงที่ลูกค้ารับได้ พร้อมทั้งยกระดับประสบการณ์ความคุ้มครองควบการลงทุนให้กับลูกค้าทุกกลุ่ม บริษัทยังคงมุ่งพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการที่สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของตลาดและความต้องการของผู้บริโภคอย่างต่อเนื่อง ด้วยความมุ่งหวังที่จะเป็นทางเลือกแรกของลูกค้าเมื่อมองหาแบบประกันยูนิต ลิงค์ และพิชิตเบี้ยประกันจากผลิตภัณฑ์ยูนิต ลิงค์เติบโตได้ 40% ตามเป้าหมายที่วางไว้” นายวิรงค์ กล่าวทิ้งท้าย

Page 1 of 31
X

Right Click

No right click