เพราะกำลังใจและความปลอดภัยสำคัญที่สุด ทรู คอร์ปอเรชั่น จึงจัดเต็มภารกิจสนับสนุนการสื่อสาร เปิดระบบให้ลูกค้าทรูมูฟ เอช และดีแทค ที่อิสราเอล โทรและ SMS ฟรีทั้งภายในอิสราเอล และฟรีกลับมายังครอบครัวในประเทศไทย ตลอด 24 ชม. ตั้งแต่วันนี้ ถึง 31 ตุลาคมนี้ เพิ่มเติมจากมาตรการเร่งด่วนขั้นต้นที่อำนวยความสะดวกให้ลูกค้าทรูมูฟ เอช และดีแทคที่ใช้บริการโรมมิ่งอยู่ในอิสราเอล สามารถโทรติดต่อและขอความช่วยเหลือฉุกเฉินจากสถานทูตไทย ณ กรุงเทลอาวีฟ และ Call Center ทั้งทรูและดีแทคได้ฟรี มาตั้งแต่  7 ตุลาคมที่ผ่านมา อีกทั้งยังพร้อมเป็นสื่อกลางส่งข้อมูลข่าวสารผ่าน SMS Broadcast เพื่อให้ลูกค้าที่อยู่ในอิสราเอลได้รับทราบข้อมูลและความเคลื่อนไหวที่เป็นประโยชน์และมีความจำเป็นสำหรับการตัดสินใจเพื่อความปลอดภัยในสวัสดิภาพของผู้อยู่ในพื้นที่

นายจักรกฤษณ์ อุไรรัตน์ (รักษาการ) หัวหน้าคณะผู้บริหารด้านกิจการองค์กร บมจ.ทรู คอร์ปอเรชั่น กล่าวว่า “ทรู คอร์ปอเรชั่น ขอแสดงความห่วงใยต่อสถานการณ์ความไม่สงบในอิสราเอลที่มีมาต่อเนื่อง โดยเฉพาะคนไทยที่พำนักอยู่ในพื้นที่ที่เกิดเหตุการณ์ดังกล่าว ทรู คอร์ปอเรชั่น ในฐานะผู้ให้บริการสื่อสารโทรคมนาคม ตระหนักเป็นอย่างดีว่ากำลังใจและการสื่อสารในสถานการณ์เช่นนี้เป็นสิ่งสำคัญที่สุด ที่ผ่านมาจึงอำนวยความสะดวกให้ลูกค้าทรูมูฟ เอช และดีแทคที่ใช้บริการโรมมิ่งอยู่ในอิสราเอล สามารถติดต่อสื่อสารและขอความช่วยเหลือฉุกเฉินจากสถานทูตไทย ณ กรุงเทลอาวีฟ และ Call Center ของทั้งทรูและดีแทคได้ฟรี ตั้งแต่  7 ตุลาคมที่ผ่านมา รวมทั้งล่าสุด ยังได้ยกระดับการอำนวยความสะดวกในการติดต่อสื่อสาร โดยเปิดให้ลูกค้าทั้งทรูมูฟ เอช และดีแทค โทรออกและรับสายฟรีทั้งในอิสราเอล รวมทั้งติดต่อสื่อสารกลับมายังครอบครัวในประเทศไทย รวมทั้งส่ง SMS ได้ฟรี ตลอด 24 ชั่วโมง ตั้งแต่วันนี้ จนถึง 31 ตุลาคม 2566 และหากสถานการณ์ยังไม่เข้าสู่ภาวะปกติ ก็จะพิจารณาขยายเวลาอีกครั้ง”

“นอกจากนี้ เราเข้าใจดีว่า ข้อมูลข่าวสารที่ถูกต้องและทันท่วงทีจะเป็นประโยชน์ในการตัดสินใจและช่วยเพิ่มความปลอดภัยในสวัสดิภาพของทุกคนที่อยู่ในเหตุการณ์ จึงได้ประสานสถานทูตไทยในอิสราเอลเพื่อเป็นสื่อกลาง ส่ง SMS Broadcast ให้ข้อมูลข่าวสารที่เป็นประโยชน์แก่ลูกค้าทรูมูฟ เอช และดีแทคที่อยู่ในอิสราเอล สนับสนุนให้การสื่อสารระหว่างภาครัฐและผู้ที่ต้องการอพยพและเคลื่อนย้ายไปยังสถานที่ที่ปลอดภัยสามารถติดต่อประสานงานกันได้อย่างราบรื่นและทันการณ์ ซึ่งการอำนวยความสะดวกด้านการสื่อสารทั้งหมดนี้เป็นเสมือนสิ่งแทนความห่วงใยจากทรู คอร์ปอเรชั่น และหวังเป็นอย่างยิ่งว่า สถานการณ์ทั้งหมดจะคลี่คลายกลับเข้าสู่ภาวะปกติโดยเร็ว” นายจักรกฤษณ์ กล่าวสรุป

คะแนนแทนคูปองรับเงินสด ส่วนลดสูงสุด 50% พร้อมลุ้นโชครางวัลใหญ่ฟรีทุกเดือนที่โลตัสทุกสาขาทั่วประเทศ 

ทรู คอร์ปอเรชั่น กำหนดเป้าหมายเป็นองค์กรจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์ด้วยวิธีฝังกลบเป็นศูนย์ (Zero e-Waste to Landfill) ภายในปี พ.ศ. 2573 เปิดตัวโครงการ “e-Waste ทิ้งถูกที่ ดีต่อใจ” อำนวยความสะดวกให้ประชาชนสามารถนำสมาร์ทโฟนเก่า โทรศัพท์มือถือ อุปกรณ์เสริม และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ขนาดเล็กที่เลิกใช้งาน มาทิ้งได้ที่กล่องจุดรับขยะ e-Waste ทั้งที่ ทรูช้อป ทรูสเฟียร์ และศูนย์บริการดีแทค รวม 154 สาขาทั่วประเทศ พร้อมผนึกพันธมิตรชั้นนำจากหลากหลายกลุ่มธุรกิจ ทั้ง ออลล์ นาว โลจิสติกส์, โทเทิล เอนไวโรเมนทอล โซลูชั่นส์ในการขนส่งและรีไซเคิล รวมถึงทรูคอฟฟี่, PAUL, เต่าบิน, Sukishi Korean Charcoal Grill, NARS, Ultima II และเมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ มอบสิทธิพิเศษให้ลูกค้าเลือก “Drop for Rewards” เพื่อร่วมกันสร้างโลกที่ยั่งยืนเพื่อชีวิตที่ดีกว่าไปด้วยกันได้แล้ววันนี้ ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://bit.ly/TinkTookTee-DTorJai

นายมนัสส์ มานะวุฒิเวช ประธานคณะผู้บริหาร บมจ. ทรู คอร์ปอเรชั่น กล่าวว่า “หนึ่งในพันธกิจเร่งสร้าง ทรู คอร์ป สู่การเป็น Telecom-Tech Company อย่างเต็มรูปแบบ คือการบริหารจัดการผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมอย่างจริงจัง ทั้งแบรนด์ทรูและดีแทคต่างเป็นช่องทางจัดจำหน่ายโทรศัพท์มือถือและดีไวซ์รวมมากกว่าล้านเครื่องต่อปี บริษัทฯ จึงตระหนักในหน้าที่ความรับผิดชอบต่อการจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์อย่างถูกวิธีแบบครบวงจรและเป็นไปตามมาตรฐานสากล เพื่อร่วมลดปริมาณขยะฝังกลบให้เป็นศูนย์ ภายในปี พ.ศ. 2573 ทั้งนี้ โครงการ e-Waste ทิ้งถูกที่ ดีต่อใจ เป็นผลจากการนำจุดแข็งของเราสององค์กรมาสานต่อและยกระดับให้เกิดการจัดการ e-Waste ที่ขยายจุดรับทิ้งขยะให้ครอบคลุมทั่วประเทศ มีการจัดการขนส่งขยะไปสู่ระบบการรีไซเคิลที่ถูกวิธีอย่างปลอดภัยและมีประสิทธิภาพ รวมทั้ง การมอบสิทธิพิเศษที่หลากหลายจากองค์กรพันธมิตรของทั้งทรูและดีแทค นี่คือ พันธกิจสำคัญของเรา ทรู คอร์ปอเรชั่น ในฐานะองค์กรที่ได้รับการจัดอันดับเป็นที่ 1 ดัชนีความยั่งยืนระดับโลก Dow Jones Sustainability Indices ในตลาดเกิดใหม่กลุ่มสื่อสารโทรคมนาคมต่อเนื่อง 5 ปีซ้อน”

ดร.ปิยาภรณ์ ภาสกานนท์ หัวหน้าสายงานด้านการพัฒนาความยั่งยืนองค์กร บมจ. ทรู คอร์ปอเรชั่นกล่าวว่า “โครงการ “e-Waste ทิ้งถูกที่ ดีต่อใจ” ที่เริ่มดำเนินการในเดือนมิถุนายนซึ่งเป็นเดือนแห่งวันสิ่งแวดล้อมโลกนี้ สอดคล้องกับเป้าหมายด้านความยั่งยืนของทรู คอร์ปอเรชั่น ที่มุ่งสู่การเป็นองค์กรที่ปล่อยก๊าชคาร์บอนไดออกไซด์สุทธิเป็นศูนย์ (Carbon Neutral) และการเป็นองค์กรที่จัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์ด้วยวิธีฝังกลบเป็นศูนย์ (Zero e-Waste to Landfill) ภายในปี 2573 รวมถึงเป้าหมายที่ 12 ของการพัฒนาอย่างยั่งยืนขององค์การสหประชาชาติ หรือ SDGs ในการสร้างหลักประกันให้มีรูปแบบการผลิตและการบริโภคที่ยั่งยืน ซึ่งโครงการดังกล่าวต้องการปลูกจิตสำนึกและสร้างการมีส่วนร่วมของคนในสังคม รวมทั้งเพิ่มความมั่นใจแก่ลูกค้าว่าอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ไม่ต้องการใช้แล้วทุกชิ้น จะถูกนำไปคัดแยกและรีไซเคิลอย่างถูกวิธีแน่นอน และครั้งนี้ เป็นที่น่ายินดีที่ได้รับความร่วมมือจากพันธมิตร ทั้ง TES ผู้นำด้านรีไซเคิลขยะอิเล็กทรอนิกส์ตามมาตรฐานสากล ออลล์ นาว โลจิสติกส์ ที่ให้การสนับสนุนการขนส่ง e-Waste จากจุดรับทั่วประเทศ รวมถึงอีกหลากหลายแบรนด์ชั้นนำที่จะมามอบสิทธิพิเศษต่างๆ ให้แก่ลูกค้าที่ร่วมโครงการอีกด้วย”

สำหรับลูกค้าทรู-ดีแทค ที่ทิ้ง e-Waste ถูกที่ ดีต่อใจ สามารถเลือก “Drop for Rewards” กับสิทธิพิเศษต่างๆ ได้แก่ ทรูคอฟฟี่ – อัปไซส์เครื่องดื่มที่ร่วมรายการ PAUL – รับส่วนลด 50% เมนูที่ร่วมรายการ เต่าบิน – รับฟรีเมนูโอริโอ้ปั่น มูลค่า 55 บาท Sukishi Korean Charcoal Grill –  รับฟรีคอร์นด็อกซอสชีส มูลค่า 100 บาท เมื่อรับประทานบุฟเฟ่ต์ Sukishi Overload ขั้นต่ำ Gold tier Gold 699+ บาท หรือ A la carte ขั้นต่ำ 500 บาทขึ้นไป NARS – รับฟรีบริการ Touch Up มูลค่า 800 บาท Ultima II –  รับฟรี ULTIMA II Delicate Translucent Powder With Moisturizer 5g NETRAL TT มูลค่า 199 บาท และ เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ –  ฟรีค่าสมัครสมาชิก M Gen มูลค่า 100 บาท ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://bit.ly/TinkTookTee-DTorJai

ข้อมูลจาก Opensignal แสดงให้เห็นว่าผู้ใช้ได้สัมผัสกับความเร็ว 5G ที่สูงขึ้นพร้อมได้รับประสบการณ์วิดีโอ 5G ที่ดียิ่งขึ้นเมื่อเชื่อมต่อผ่านย่านความถี่ n41 (2.6GHz) และมีผู้ใช้ย่านความถี่นี้กันมากขึ้นซึ่งเป็นความถี่ที่เกิดจากการควบรวมกิจการของ DTAC และ TrueMove H ส่งผลให้ผู้ใช้ได้รับประสบการณ์ดียิ่งขึ้น

การวิเคราะห์ครั้งใหม่นี้ Opensignal ได้เปรียบเทียบประสบการณ์การเชื่อมต่อ 5G ของผู้ใช้สมาร์ทโฟนบนเครือข่ายมือถือของผู้ให้บริการต่าง ๆ ของประเทศไทยในเดือนธันวาคม 2565 และเดือนมีนาคม 2566 ซึ่งเป็นช่วงเวลาก่อนและหลังการสิ้นสุดกระบวนการการควบรวมกิจการระหว่าง DTAC และ TrueMove H ในเดือนมีนาคม 2566

ผู้ใช้เครือข่าย AIS ได้รับประสบการณ์การเชื่อมต่อ 5G ด้วยความเร็วเฉลี่ยสูงสุดด้วยคลื่นความถี่ 42.7 MHz จึงเป็นเครือข่ายที่มีความเร็วในการดาวน์โหลดสูงสุด ขณะเดียวกันเมื่อเดือนธันวาคม 2565 ผู้ใช้เครือข่าย DTAC ได้พบกับความเร็ว 5G ในระดับต่ำมาก เมื่อเปรียบเทียบกับผู้ให้บริการเครือข่ายอีกสองรายในประเทศไทย ทว่าช่วงเวลาของการควบรวมกิจการในเดือนมีนาคม 2566 เราสังเกตเห็นถึงการเปลี่ยนแปลงด้านความเร็วอย่างมีนัยยะของประสบการณ์ต่าง ๆ ของ DTAC เมื่อผู้ใช้เชื่อมต่อผ่านย่านความถี่ 2.6GHz

ผู้ให้บริการเครือข่ายในประเทศไทยใช้ย่านความถี่ 5G อยู่สองประเภทคือย่านความถี่ n28 (700MHz) และย่านความถี่ n41 (2.6 GHz) โดยแบบแรกจะให้ความถี่ครอบคลุมในช่วงกว้างกว่าและแบบที่สองจะให้ความจุข้อมูลสูงกว่า สิ่งนี้เองที่ทำให้มีปริมาณข้อมูลและความเร็วที่เพิ่มขึ้นสำหรับผู้ใช้มือถือ

มีความแตกต่างอย่างมีนัยยะสำคัญของการถือครองคลื่นความถี่ของผู้ให้บริการเครือข่ายทั้งสามรายในประเทศไทย ขณะที่ AIS และ TrueMove H เป็นผู้ถือครองกรรมสิทธิ์ความถี่ 100 MHz และ 90 MHz ในความถี่ 2.6GHz นั้น DTAC กลับไม่ได้ถือครองกรรมสิทธิ์ในคลื่นความถี่ใดในย่านความถี่นี้ใน การประมูลคลื่นความถี่ประจำปี 2563 — จึงเป็นผลทำให้สามารถกระจายสัญญาณ 5G ในย่านความถี่ 700 MHz ได้เท่านั้น โดยข้อมูลนี้เป็นข้อมูลที่เราสังเกตมาตั้งแต่เดือนธันวาคม 2565 และในรายงานประสบการณ์เครือข่ายมือถือประจำประเทศไทยครั้งล่าสุดนี้ ที่ผู้ใช้เครือข่าย DTAC ของเรา ได้พบกับค่าเฉลี่ยความเร็วในการดาวน์โหลด 5G ในระดับต่ำมากเมื่อเปรียบเทียบกับการเชื่อมต่อบน AIS และ TrueMove H ประมาณ 30Mbps 

อย่างไรก็ตาม สถานการณ์ได้เปลี่ยนแปลงไปในเดือนมีนาคม 2566 ในช่วงการสิ้นสุดกระบวนการการควบรวมกิจการระหว่าง DTAC และ TrueMove H  ขณะที่ทั้งสองบริษัทยังไม่ได้ถูกควบรวมให้อยู่ภายใต้เครื่องหมายการค้า True Corp ใหม่อย่างเต็มรูปแบบและการควบรวมเครือข่ายยังคงอยู่ในขั้นตอนการดำเนินงาน เราสังเกตเห็นว่าผู้ใช้ 5G บนเครือข่าย DTAC ในย่านความถี่ 2.6 GHz ที่เป็นกรรมสิทธิ์ของ TrueMove H ในเวลานี้ได้รับประสบการณ์ความเร็วในการดาวน์โหลด 5G เป็น 105.7 Mbps ซึ่งมีความเร็วสูงกว่าย่านความถี่ 700 MHz ถึงสามเท่า ด้วยเหตุนี้จึงทำให้ ในเดือนมีนาคม 2566 ค่าเฉลี่ยโดยรวมในการดาวน์โหลด 5G ของ DTAC เพิ่มขึ้น 2.8 เท่า หากเทียบกับในเดือนธันวาคม 2565 แล้วนับว่ามีความเร็วเพิ่มขึ้นจาก 29.6Mbps เป็น 82.1Mbps สิ่งที่น่าสนใจคือ ความเร็วในการดาวน์โหลด 5G ของ TrueMove H บนความถี่ 2.6GHz นั้นลดลงจากในเดือนธันวาคม 2565 ที่ 102.5Mbps เหลือเพียง 83.9Mbps ในเดือนมีนาคม 2566 ส่วนหนึ่งเป็นผลจากการใช้ย่านความถี่ 2.6GHz ร่วมกันของทั้งสองบริษัท

Opensignal ได้พิจารณาพัฒนาการด้านแบนด์วิธคลื่นความถี่โดยเฉลี่ยของการเชื่อมต่อ 5G บนเครือข่ายของผู้ให้บริการในประเทศไทยระหว่างเดือนธันวาคม 2565 และเดือนมีนาคม 2566 พบว่าแบนด์วิธคลื่นความถี่ 5G โดยเฉลี่ยของเครือข่าย DTAC เพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดดจาก 19.5MHz ในเดือนธันวาคม 2565 เป็น 22.9MHz ในเดือนมีนาคมซึ่งเพิ่มขึ้น 3.4MHz (17.1%) นับตั้งแต่เดือนธันวาคมเป็นต้นมา สำหรับผู้ใช้ที่เชื่อมต่อ 5G บนเครือข่าย AIS และ TrueMove H นั้นยังไม่พบการเปลี่ยนแปลงทางสถิติของค่าเฉลี่ยแบนด์วิธคลื่นความถี่ใด ๆ ในช่วงเดือนดังกล่าว

เมื่อพิจารณาสัดส่วนของการเปลี่ยนแปลงของ 5G ต่อย่านความถี่ในเดือนธันวาคม 2565 และเดือนมีนาคม 2566 ของผู้ให้บริการเครือข่ายต่าง ๆ แล้ว พบว่าเครือข่าย DTAC มีการเปลี่ยนแปลงอย่างมากโดยเปลี่ยนจากความถี่ 700MHz (n28) เป็น 2.6 GHz (n41) ขณะที่ในเดือนธันวาคม 2565 นั้น DTAC ยังคงใช้คลื่นความถี่ 700MHz ให้บริการ 5G แต่ในเดือนมีนาคม 2566 ในการอ่านค่า 5G ของเครือข่าย DTAC พบว่ามีการให้บริการบนคลื่นความถี่ 2.6GHz เพิ่มขึ้นเกือบ 80% ซึ่งเราไม่พบการเปลี่ยนแปลงลักษณะนี้กับเครือข่าย AIS และ TrueMove H ด้วยสัดส่วนของ 5G ในคลื่นความถี่ 700MHz ยังคงเป็นไปอย่างปรกติทั้งในเดือนธันวาคม 2565 และเดือนมีนาคม 2566 ซึ่งอยู่ในช่วง 8.6% และ 15.2% ตามลำดับ

แบนด์วิธความถี่ที่เพิ่มขึ้นไม่เพียงแต่ทำให้ความเร็วในการดาวน์โหลด 5G สูงขึ้นเท่านั้น แต่ยังช่วยพัฒนาคุณภาพการบริการมือถือในด้านอื่น ๆ อีกด้วย Opensignal ได้วิเคราะห์คะแนนด้านประสบการณ์วิดีโอ 5G ตามคลื่นความถี่ 5G ที่ผู้ให้บริการเครือข่ายในประเทศไทยใช้เป็นหลัก พบว่าการเชื่อมต่อ 5G บนย่านความถี่ 2.6MHz ทำให้ผู้ใช้ 5G ชาวไทยได้รับประสบการณ์วิดีโอที่ดีกว่าการเชื่อมต่อบนย่านความถี่ 700MHz ด้วยค่าคะแนนที่แตกต่างกันในเดือนมีนาคม 2566 ในช่วงคะแนน 2.9 และ 3.2 สำหรับ DTAC และ TrueMove H ตามลำดับและ 6 คะแนนสำหรับ AIS

เช่นเดียวกับด้านความเร็วในการดาวน์โหลด 5G ในเดือนธันวาคม 2565 Opensignal ยังไม่พบการให้บริการ 5G บนย่านความถี่ 2.6GHz ของ DTAC แต่เดือนมีนาคม 2566 เราพบว่ามีการเชื่อมต่อ 5G บนเครือข่าย DTAC บนย่านความถี่นี้ และยังได้รับคะแนนประสบการณ์วิดีโอ 5G ที่เพิ่มขึ้นมากกว่าการเชื่อมต่อบนย่านความถี่ 700MHz

ผู้ให้บริการรายใหม่มีศักยภาพเขย่าตลาดมือถือ

​เราพบว่าในประเทศอื่น ๆ ที่มีผู้ให้บริการรายใหม่เกิดขึ้นจากการควบรวมกิจการได้เปลี่ยนตำแหน่งของตนเองไปอย่างสิ้นเชิง จากการวิเคราะห์ล่าสุดถึงแนวโน้มการแข่งขันในอิตาลี แสดงให้เห็นว่าการควบรวมกิจการของ Wind และ Tre ในปี 2563 นำไปสู่การเกิดขึ้นของผู้ให้บริการใหม่ที่พลิกโฉมตลาดอิตาลีได้และยังคว้ารางวัลประสบการณ์เครือข่ายมือถืออีกหลายรางวัลในรายงานของ Opensignal

AIS ครองรางวัลในรายงานประสบการณ์เครือข่ายมือถือของประเทศไทยจาก Opensignal ที่เผยแพร่เมื่อเดือนพฤษภาคม 2565 และ พฤศจิกายน 2565 โดยคว้ารางวัลชนะเลิศด้านความเร็ว 5G และรางวัลด้านประสบการณ์ทั้งหมด ส่วน DTAC และ TrueMove H จากกรณีการควบรวมกิจการที่ทำให้มีกรรมสิทธิ์ในคลื่นความถี่และโครงสร้างพื้นฐาน ตลอดจนฐานผู้ใช้ที่มากขึ้น ทำให้บริษัทกลายเป็นคู่แข่งสำคัญของ AIS ในด้านประสบการณ์เครือข่ายมือถือ


บทความโดย: โรเบิร์ต วิซีคอฟสกี้ นักวิเคราะห์อาวุโส Opensignal

Page 1 of 26
X

Right Click

No right click