November 24, 2024

ในฐานะตัวแทนเจ้าภาพในประเทศไทย โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ ได้รับเกียรติจากศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านระบบประสาทและการเคลื่อนไหวของระบบทางเดินอาหาร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ให้เป็นโรงพยาบาลเอกชนแห่งแรกและแห่งเดียวในประเทศไทย ที่ร่วมเป็นผู้สนับสนุนหลักในการจัดงานประชุม ซึ่งเป็นเวทีสำคัญในการแลกเปลี่ยนความรู้และสร้างเครือข่ายของนักวิจัยและแพทย์จากทั่วโลกกว่า 600 คน โดยประเทศไทยมีส่วนสำคัญในการก่อตั้งสหพันธ์ และได้รับเลือกให้เป็นผู้จัดงานในครั้งนี้ ระหว่างวันที่ 5-8 พฤศจิกายน 2567 ซึ่งเป็นครั้งแรกที่จัดขึ้นในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แสดงให้เห็นถึงศักยภาพและการยอมรับด้านวิชาการ การวิจัย และบุคลากรทางการแพทย์ของไทย ที่เป็นองค์ประกอบสำคัญในการผลักดันประเทศไทยสู่การเป็น Medical Hub พร้อมยกระดับระบบสาธารณสุขไทย ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ กรุงเทพฯ

อีกทั้ง ยังได้รับเกียรติให้เป็นเจ้าภาพจัดงาน “FNM 2024 Thai Touch Party by Bumrungrad” เพื่อเฉลิมฉลองความสำเร็จของงานประชุมดังกล่าว ซึ่งบรรยากาศภายในงานเต็มไปด้วยความเพลิดเพลิน และมีเอกลักษณ์ของความเป็นไทยที่น่าประทับใจ โดยมีการแสดงเปิดจากหุ่นละครเล็กโจหลุยส์ รวมถึงการขับร้องและบรรเลงเพลงโดย คุณจิรพรรณ อังศวานนท์ และวงดนตรี ซึ่งเป็นหนึ่งในผู้ก่อตั้งและสมาชิกรุ่นแรกของวง บัตเตอร์ฟลาย วงดนตรีชั้นนำของเมืองไทย เมื่อเร็ว ๆ นี้ ณ โรงแรม Waldorf Astoria Bangkok

 

ดร. อาทิรัตน์ จารุกิจพิพัฒน์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ กล่าวว่า นับเป็นเกียรติอย่างยิ่งที่โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ได้มีโอกาสต้อนรับผู้ทรงคุณวุฒิด้านระบบประสาทและการเคลื่อนไหวของระบบทางเดินอาหารกว่า 600 ท่านจากทั่วโลก ซึ่งเป็นเวทีสำคัญที่สนับสนุนให้บุคลากรทางการแพทย์ได้เรียนรู้และสร้างเครือข่ายกับนักวิชาการและผู้เชี่ยวชาญระดับโลก เพื่อสร้างโอกาสในการพัฒนาองค์ความรู้ ตลอดจนนวัตกรรมทางการแพทย์ใหม่ ๆ ด้วยความมุ่งหวังที่จะส่งมอบการบริบาลทางการแพทย์ที่ดีที่สุด เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตที่ดียิ่งขึ้นให้กับผู้ป่วย

ศ.นพ. สุเทพ กลชาญวิทย์ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านระบบประสาทและการเคลื่อนไหวของระบบทางเดินอาหาร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ หัวหน้าศูนย์เฉพาะทางด้านการทำงานระบบทางเดินอาหาร โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ ประธานจัดงานและเจ้าภาพงาน FNM 2024 กล่าวว่า การที่ประเทศไทยได้รับเกียรติให้เป็นเจ้าภาพจัดงานประชุม FNM ในปีนี้ ซึ่งเป็นครั้งแรกที่จัดขึ้นในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แสดงให้เห็นถึงศักยภาพและการยอมรับด้านวิชาการ การวิจัย และบุคลากรทางการแพทย์ของไทย ที่เป็นองค์ประกอบสำคัญในการผลักดันประเทศไทยสู่การเป็น Medical Hub พร้อมยกระดับระบบสาธารณสุขไทย จึงขอถือโอกาสนี้ ขอบคุณโรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ ที่ให้การสนับสนุนเป็นอย่างดี และขอบคุณในความร่วมมือจาก Professor Doctor Xiaohua Hou, PhD, President of Asian Neurogastroenterology and Motility Association เจ้าภาพร่วมงาน FNM 2024 และ Professor Doctor Max Schmulson, the Sociedad Latinoamericana de Neurogastroenterología (SLNG) เจ้าภาพงาน FNM ครั้งถัดไป ที่จะเกิดขึ้นในปี 2026

งานในครั้งนี้ นับเป็นความภาคภูมิใจของวงการแพทย์ไทย ที่สามารถสร้างชื่อเสียงให้กับประเทศในฐานะเจ้าภาพจัดงานประชุม รวมถึงยังส่งเสริมให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางความเป็นเลิศทางการแพทย์ที่ได้รับการยอมรับในระดับสากล

มะเร็งต่อมลูกหมากเป็นมะเร็งที่พบได้บ่อยในผู้ชายสูงวัยและมีแนวโน้มว่าจะพบมากขึ้นเรื่อย ๆ จากการที่ประเทศไทยได้เข้าสู่สังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์ อย่างไรก็ตาม เทคโนโลยีทางการแพทย์ในการวินิจฉัยและรักษาโรคเกี่ยวกับมะเร็งต่อมลูกหมากมีความก้าวหน้าอย่างต่อเนื่อง นอกจากทำให้การวินิจฉัยมีความแม่นยำมากขึ้นแล้ว ยังทำให้การรักษามีความปลอดภัย ลดภาวะแทรกซ้อน และช่วยให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีหลังการรักษา

ปัจจุบัน มีทางเลือกการรักษามะเร็งต่อมลูกหมากหลายหลายวิธี ซึ่งเหมาะสมกับอาการของผู้ป่วยที่แตกต่างกันไป ได้แก่

  1. การเฝ้าระวังเชิงรุก (Active Surveillance) เหมาะสำหรับผู้ป่วยที่มะเร็งเติบโตช้าและยังไม่แพร่กระจายไปยังอวัยวะอื่น แต่ต้องติดตามอย่างต่อเนื่อง
  2. การผ่าตัด (Radical Prostatectomy) มี 3 วิธี คือ การผ่าตัดแบบเปิด (Open Radical Prostatectomy), การผ่าตัดโดยใช้วิธีส่องกล้อง (Laparoscopic Radical Prostatectomy) และการผ่าตัดโดยใช้หุ่นยนต์ช่วยผ่าตัด (Robotic-Assisted Da Vinci Surgery)
  3. การใช้รังสีรักษา (Radiation Therapy) มี 2 รูปแบบ คือ การฉายรังสีและการฝังแร่ มักใช้ในมะเร็งต่อมลูกหมากระยะที่ยังไม่ลุกลามออกนอกต่อมลูกหมาก (Localized Prostate Cancer) ซึ่งในขณะฉายรังสีอาจทำให้แสงไปโดนอวัยวะที่อยู่รอบต่อมลูกหมาก เช่น ลำไส้ตรง (Rectum) ซึ่งกว่าร้อยละ 10 ของผู้ป่วยจะเกิดอาการแทรกซ้อนค่อนข้างมาก คือท้องเสียหรือปวดหน่วงทวารจนต้องใช้ยา และอาจพบลำไส้ทะลุหรือมีเลือดออก ทำให้ต้องผ่าตัดแก้ไขหรือให้เลือด

ไฮโดรเจล (Hydrogel) เป็นนวัตกรรมที่ผลิตจากสารโพลีเอธิลีน ไกลคอล (Polyethylene Glycol: PEG) ช่วยลดผลแทรกซ้อนจากการรักษาด้วยการฉายรังสีและการฝังแร่ ซึ่งได้รับการรับรองจากองค์การอาหารและยาสหรัฐ (FDA) และสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) แล้วว่ามีความปลอดภัย ร่างกายสามารถดูดซึมและย่อยสลายได้ โดยโรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ ได้นำนวัตกรรมไฮโดรเจลเข้ามาใช้ในการรักษาผู้ป่วยมะเร็งต่อมลูกหมากเป็นครั้งแรกในประเทศไทย เมื่อเดือนมีนาคม 2566

ทั้งนี้ ไฮโดรเจลจะทำหน้าที่เหมือนเป็นหมอนคั่นระหว่างต่อมลูกหมากและลำไส้ตรง ด้วยการเพิ่มช่องว่างระหว่างอวัยวะทั้งสอง ซึ่งปกติอยู่ห่างกันประมาณ 2-3 มม. ให้มีระยะห่างเพิ่มขึ้นประมาณ 1 ซม. ทำให้ลำไส้ตรงไม่ได้รับรังสีหรือได้รับรังสีน้อยมาก

โดยก่อนการทำหัตถการ แพทย์จะฉีดยาชาหรือยานอนหลับให้กับผู้ป่วย แล้วจึงใช้น้ำเกลือฉีดเข้าไปในช่องว่างระหว่างต่อมลูกหมากกับลำไส้ตรงเพื่อตรวจสอบความถูกต้องของตำแหน่ง จากนั้นแพทย์จะฉีดสารไฮโดรเจลซึ่งอยู่ในรูปแบบน้ำเข้าไปที่ช่องว่างนั้น เมื่อไฮโดรเจลเข้าสู่ร่างกาย จะเปลี่ยนสภาพเป็นเจลและช่วยขยายช่องว่างระหว่างต่อมลูกหมากกับลำไส้ตรงให้มีขนาดกว้างยิ่งขึ้น ซึ่งกระบวนการดังกล่าวจะใช้เวลาเพียง 10-20 นาที ผู้ป่วยสามารถกลับบ้านได้หลังจากทำหัตถการ โดยร่างกายจะดูดซึมไฮโดรเจลไปตามธรรมชาติจนหมดภายในเวลา 6 เดือน

นพ. ธีระพล อมรเวชสุกิจ แพทย์เฉพาะทางด้านศัลยศาสตร์ยูโรวิทยา โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ กล่าวว่า ศูนย์ทางเดินปัสสาวะ เป็นหนึ่งในศูนย์ความเป็นเลิศทางการแพทย์ที่มีทีมแพทย์เฉพาะทางและทีมสหสาขาวิชาชีพที่มีประสบการณ์สูง ซึ่งปัจจุบัน ได้ให้การรักษาผู้ป่วยโรคมะเร็งในระบบทางเดินปัสสาวะไปแล้วกว่า 1,500 รายต่อปี และประมาณ 300 รายในนั้น คือผู้ป่วยโรคมะเร็งต่อมลูกหมาก ที่รักษาด้วยการใช้รังสีรักษา เรามุ่งมั่นและไม่หยุดพัฒนาที่จะนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีที่ทันสมัยเข้ามาใช้ในการดูแลรักษาโรคเฉพาะทางได้อย่างครอบคลุม เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการรักษา ตลอดจนยกระดับคุณภาพชีวิตที่ดียิ่งขึ้นให้กับผู้ป่วย

โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ ขอแสดงความยินดีกับ รศ.คลินิก นพ. ทศพล เกิดศิริชัยรัตน์, FASGE แพทย์ผู้ชำนาญการด้านอายุรศาสตร์โรคระบบทางเดินอาหารและตับ โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ ในโอกาสที่ได้รับเลือกให้เป็นหนึ่งในคณะกรรมการการประชุม Digestive Disease Week (DDW) ระหว่างปี 2563-2567 โดยเป็นแพทย์ไทยคนแรกที่ได้รับเลือกให้เป็นประธานการประชุมเสวนาทางวิชาการด้านการตรวจระบบทางเดินอาหารโดยการส่องกล้องติดอัลตราซาวด์ หรือ Endoscopic Ultrasound (EUS) ของสมาคม American Society for Gastrointestinal Endoscopy (ASGE)

รศ.คลินิก นพ. ทศพล มีบทบาทสำคัญในการคัดเลือกและทบทวนงานวิจัยจากทั่วโลกสำหรับนำเสนอในการประชุมดังกล่าว โดยได้ดำเนินงานร่วมกับคณะผู้บริหารสมาคม ASGE อย่างใกล้ชิด ในการนำเสนอหัวข้อในเวทีสำคัญ ได้แก่

  1. Pancreatic EUS: Navigating Genomic Frontiers
  2. Pioneering Therapeutic EUS Techniques in Pancreatic and Small Bowel
  3. Effective Biliary Drainage - EUS is the New Kid in Town

ยิ่งไปกว่านั้น รศ.คลินิก นพ. ทศพล ยังได้รับเชิญให้เข้าร่วมงานประกาศรางวัล Crystal Awards Night ซึ่งเป็นงานสำหรับผู้นำและผู้เชี่ยวชาญด้านการส่องกล้องระบบทางเดินอาหารเท่านั้น โดยได้ร่วมแสดงความยินดีกับ ศ. นพ. มาร์ติน แอล. ฟรีแมน ผู้รับรางวัล ซึ่งเป็นอาจารย์ที่ปรึกษา (mentor) ของ รศ.คลินิก นพ. ทศพล ขณะศึกษาอยู่ที่สหรัฐอเมริกา และเป็นผู้ที่มีส่วนสำคัญในการผลักดันให้ รศ.คลินิก นพ. ทศพล ได้รับการตอบรับเข้าฝึกอบรมการส่องกล้องขั้นสูงที่ Johns Hopkins University

นอกจากนี้ รศ.คลินิก นพ. ทศพล ยังได้ร่วมแสดงความยินดีกับลูกศิษย์ ในฐานะที่ปรึกษาที่สามารถผลักดันลูกศิษย์ให้ได้รับการตอบรับเข้าฝึกอบรมการส่องกล้องขั้นสูงที่ Johns Hopkins University ได้ โดยเป็นอาจารย์ที่ปรึกษาเพียงคนเดียวที่อาศัยอยู่นอกสหรัฐอเมริกาของสมาคม ASGE และสมาคม American College of Gastroenterology (ACG)

การได้รับเกียรติในครั้งนี้ แสดงให้เห็นถึงการมีส่วนร่วมและความทุ่มเทของ รศ.คลินิก นพ. ทศพล ในการพัฒนาองค์ความรู้และการปฏิบัติทางการแพทย์ในระดับโลก 

ชูความพร้อมการรักษาโรคยากและซับซ้อนในเด็ก ร่วมด้วยแขกรับเชิญสุดพิเศษ “ลีเดีย ศรัณย์รัชต์”

ปัจจุบัน ประชากรผู้สูงอายุมีจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทำให้วงการสาธารณสุขทั่วโลกมีความกังวลเกี่ยวกับปัญหาสุขภาพโดยเฉพาะในผู้สูงวัย หนึ่งในโรคที่พบบ่อยที่สุดในชายสูงวัย คือ โรคต่อมลูกหมากโต ซึ่งพบมากในผู้ชายอายุ 60 ปีขึ้นไป ประมาณ 50% และในผู้ชายอายุ 70 ปีขึ้นไป กว่า 80% ทั้งนี้ โรคต่อมลูกหมากโต ถึงแม้จะเป็นโรคที่ไม่อันตรายถึงชีวิต แต่มีผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตอย่างมาก

ดร. อาทิรัตน์ จารุกิจพิพัฒน์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ กล่าวว่า โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ เราได้ตระหนักถึงปัญหาและมุ่งหวังที่จะทำให้ผู้ป่วยหายจากภาวะเจ็บป่วยและมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น โดยโรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ มีศูนย์ทางเดินปัสสาวะ ซึ่งเป็นหนึ่งในศูนย์ความเป็นเลิศทางการแพทย์ที่มีทีมแพทย์เฉพาะทางที่มีประสบการณ์สูง รวมถึงมีการนำเทคโนโลยีที่ทันสมัยและมีประสิทธิภาพเข้ามาใช้ ซึ่งสามารถให้การดูแลรักษาผู้ป่วยโรคต่อมลูกหมากโตและโรคที่เกี่ยวกับต่อมลูกหมากอื่น ๆ ได้อย่างครอบคลุม ไม่ว่าจะเป็นเคสยากหรือซับซ้อน งานแถลงข่าวในครั้งนี้ จึงนับเป็นการตอกย้ำถึงความมุ่งมั่นของบำรุงราษฎร์ในการพัฒนาการรักษาอย่างต่อเนื่องและนำเอาเทคโนโลยีทางการแพทย์มาใช้อย่างเหมาะสม เพื่อส่งมอบทางเลือกของการรักษาที่มีประสิทธิภาพ ปลอดภัย และได้มาตรฐาน

นพ. วิโรจน์ ชดช้อย หัวหน้าศูนย์ทางเดินปัสสาวะ และแพทย์ผู้ชำนาญการเฉพาะทางด้านศัลยศาสตร์ยูโรวิทยา โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ อธิบายว่า โรคต่อมลูกหมากโต คือ ภาวะที่ต่อมลูกหมากที่อยู่ล้อมรอบท่อปัสสาวะมีขนาดใหญ่ผิดปกติจนไปเบียดท่อปัสสาวะให้แคบลง ส่งผลให้ผู้ป่วยมีปัญหาในการปัสสาวะ อาการแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มแรก จะมีอาการปัสสาวะบ่อยร่วมกับอาการแสบขัด ส่วนกลุ่มที่ 2 จะมีอาการปัสสาวะลำบาก ปัสสาวะไม่พุ่ง หรือต้องใช้เวลาในการเบ่ง

ศูนย์ทางเดินปัสสาวะ โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ เรามุ่งมั่นที่จะคืนคุณภาพชีวิตที่ดี เพื่อให้ผู้ป่วยใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขโดยการให้การดูแลรักษาแบบเฉพาะบุคคล แนะนำวิธีการรักษาที่เหมาะสมกับผู้ป่วยแต่ละราย โดยแพทย์ของเรามีความชำนาญการและมีประสบการณ์สูง ซึ่งให้การดูแลรักษาผู้ป่วยต่อมลูกหมากโตกว่า 5,000 รายในแต่ละปี โดยในจำนวนนั้นมีผู้ป่วยกว่า 4,000 รายที่รับการรักษาโดยไม่ต้องผ่าตัด และกว่า 500 รายเข้ารับการผ่าตัดหลากหลายวิธี เช่น การผ่าตัดส่องกล้อง (TURP), การผ่าตัดต่อมลูกหมากโตด้วยเลเซอร์ HoLEP หรือเลเซอร์ PVP เพื่อกำจัดเนื้อเยื่อส่วนเกิน, การรักษาต่อมลูกหมากโตด้วยไอน้ำโดยใช้เทคโนโลยี Rezum โดยฉีดไอน้ำเข้าไปเพื่อกำจัดเซลล์ที่อุดตัน และการรักษาด้วยเทคนิค UROLIFT โดยใช้อุปกรณ์ขนาดจิ๋วยึดติดกับต่อมลูกหมากถาวร เพื่อดึงเนื้อเยื่อให้ถ่างออกจากท่อปัสสาวะ เป็นต้น

นพ. ธีระพล อมรเวชสุกิจ แพทย์ผู้ชำนาญการเฉพาะทางด้านศัลยศาสตร์ยูโรวิทยา โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ กล่าวว่า ในกรณีที่ผู้ป่วยรับประทานยาแล้วอาการไม่ดีขึ้น หรือมีอาการข้างเคียงจากยามาก หรือยังมีอาการแทรกซ้อนที่ทางเดินปัสสาวะซ้ำ ๆ เช่น การอักเสบติดเชื้อเรื้อรัง ปัสสาวะไม่ออก ปัสสาวะเหลือค้างในกระเพาะปัสสาวะมากหลังจากปัสสาวะสุดไปแล้ว นิ่วในกระเพาะปัสสาวะ การทำงานของไตแย่ลง หรือมีเลือดออกปนในปัสสาวะ แพทย์จะพิจารณาเลือกวิธีการผ่าตัดรักษาที่เหมาะสม โดยวิธีที่นิยม คือ การส่องกล้องผ่านทางท่อปัสสาวะ และใช้พลังงานในรูปแบบต่าง ๆ เช่น ไฟฟ้าหรือความร้อน เพื่อเอาเนื้อเยื่อต่อมลูกหมากออกจนปัสสาวะสามารถไหลผ่านได้สะดวก

การรักษาโรคต่อมลูกหมากโตด้วยเลเซอร์ เป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่มีประสิทธิภาพสูงสำหรับผู้ป่วยที่จำเป็นต้องได้รับการรักษาด้วยการผ่าตัด ที่นำเอาการพัฒนาด้านเทคโนโลยีมาปรับใช้ โดยในปัจจุบันมีการนำเอา Holminum laser หรือ HoLEP (Holmium laser enucleation of the prostate) เข้ามาประยุกต์ใช้ในการผ่าตัดต่อมลูกหมากได้ทุกขนาดอย่างแพร่หลาย ซึ่งได้มีการพัฒนาเทคนิคมาอย่างต่อเนื่องจนมีประสิทธิภาพและความปลอดภัย โดยใช้พลังงานเลเซอร์ในการเลาะเนื้อเยื่อต่อมลูกหมากที่ขวางท่อทางเดินปัสสาวะออกทั้งหมด หลังจากที่เนื้อเยื่อต่อมลูกหมากหลุดออกและถูกดันเข้าไปในกระเพาะปัสสาวะแล้ว แพทย์จะใช้เครื่องมือเข้าไปปั่นเอาเนื้อเยื่อต่อมลูกหมากออก ซึ่งจะสามารถนำเนื้อเยื่อดังกล่าวไปส่งตรวจทางพยาธิวิทยาได้ด้วย ข้อดีของการรักษาด้วยวิธีนี้ คือ ช่วยลดโอกาสในการสูญเสียเลือดในขณะผ่าตัดได้ดี ให้ผลลัพธ์การรักษาที่น่าพึงพอใจอย่างมาก และมีโอกาสกลับมาเป็นซ้ำภายในช่วงระยะเวลา 10 ปีเพียง 0.7% เทคนิคดังกล่าวเหมาะสำหรับผู้ป่วยที่ไม่มีความกังวลในเรื่องปริมาณน้ำอสุจิภายหลังการผ่าตัด

นพ. จักร์กฤษณ์ อิศญาณุวัฒน์ แพทย์ผู้ชำนาญการเฉพาะทางด้านศัลยศาสตร์ยูโรวิทยา โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ กล่าวว่า โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ได้นำเทคโนโลยีในการรักษาโรคต่อมลูกหมากโตด้วยไอน้ำ (Water Vapor Therapy) เข้ามาใช้เป็นแห่งแรกในประเทศไทย ในปี 2564 ซึ่งเป็นวิธีการรักษาผู้ป่วยที่มีอาการปัสสาวะลำบาก ที่เกิดจากโรคต่อมลูกหมากโตที่มีความสะดวก รวดเร็ว และปลอดภัย โดยเทคโนโลยีการรักษาต่อมลูกหมากโตด้วยไอน้ำ มีผลงานวิจัยรองรับว่ามีประสิทธิภาพและได้รับการรับรองจากองค์การอาหารและยาของสหรัฐอเมริกา ตั้งแต่ปี 2558 และได้รับการรับรองจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาของประเทศไทย ในช่วงต้นปี 2564 โดยที่ผ่านมา ศูนย์ทางเดินปัสสาวะ โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ ได้ทำการรักษาผู้ป่วยต่อมลูกหมากโตด้วยเทคโนโลยีไอน้ำสำเร็จแล้ว 276 ราย ซึ่งคิดเป็น 30% ของจำนวนผู้ป่วยทั้งประเทศที่รักษาด้วยวิธีนี้ และศูนย์ทางเดินปัสสาวะ โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ ยังได้รับการรับรองจาก Boston Scientific ของประเทศสหรัฐอเมริกาให้เป็น “ศูนย์ความเป็นเลิศ” ด้านการรักษาต่อมลูกหมากโตด้วยไอน้ำแห่งแรกในเอเชีย นับเป็นการตอกย้ำความเป็นผู้นำอันดับ 1 ในเรื่องของการรักษาต่อมลูกหมากโตด้วยทีมแพทย์เฉพาะทางที่มีประสบการณ์สูง

การรักษาด้วยวิธีนี้ใช้เวลารักษาเพียง 10-15 นาที โดยใช้การส่องกล้องเข้าไปในท่อปัสสาวะและฉีดไอน้ำเข้าไปในต่อมลูกหมาก ทำให้เซลล์ต่อมลูกหมากที่อุดตันท่อทางเดินปัสสาวะตาย หลังจากนั้นร่างกายจะกำจัดเซลล์ที่ตายออกไปตามธรรมชาติ ทำให้ท่อปัสสาวะกว้างขึ้น ปัสสาวะได้คล่องขึ้น เป็นวิธีที่สะดวก ไม่ส่งผลต่อสุขภาพทางเพศหรือส่งผลน้อยมาก และภาวะแทรกซ้อนน้อย ผู้ป่วยสามารถกลับบ้านได้โดยไม่ต้องนอนโรงพยาบาล

นพ. อธิป ฉัตรสุทธิพงษ์ แพทย์ผู้ชำนาญการเฉพาะทางด้านศัลยศาสตร์ยูโรวิทยา โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ กล่าวว่า ล่าสุดศูนย์ทางเดินปัสสาวะ โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ ได้นำเทคโนโลยียูโรลิฟต์ (UROLIFT) เข้ามาใช้กับผู้ป่วยต่อมลูกหมากโตเป็นครั้งแรกในประเทศไทย โดย UROLIFT เป็นหนึ่งในวิธีการในการรักษาโรคต่อมลูกหมากโตในประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งได้รับการอนุมัติจากองค์การอาหารและยาของสหรัฐอเมริกา (FDA) มาตั้งแต่ปี 2556 และสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาของไทยเมื่อ 5 กุมภาพันธ์ 2567 

เทคโนโลยี UROLIFT เป็นการรักษาโรคต่อมลูกหมากโตแบบรุกล้ำน้อยเพื่อขยายท่อปัสสาวะที่ต่อมลูกหมากกดทับให้กว้างขึ้น โดยก่อนการทำหัตถการ แพทย์จะให้ยาสงบประสาทแบบอ่อน ๆ หลังจากนั้นแพทย์จะใช้เครื่องมือและส่องกล้องเพื่อนำอุปกรณ์ขนาดจิ๋วที่ทำจากสแตนเลสสตีลเกรดการแพทย์ และโลหะพิเศษนิทินอลที่มีความยืดหยุ่นสูง ผ่านทางท่อปัสสาวะเข้าไปยังต่อมลูกหมาก หลังจากนั้นแพทย์จะใส่อุปกรณ์ขนาดจิ๋วประมาณ 4-6 ตัว ขึ้นอยู่กับขนาดและความรุนแรงของโรค เข้าไปยังต่อมลูกหมากเพื่อดึงเนื้อเยื่อต่อมลูกหมากให้ถ่างออกจากท่อปัสสาวะ เป็นหัตถการที่ไม่มีการตัดหรือเจาะที่อวัยวะใด ๆ ทั้งสิ้น และใช้เวลาเพียง 30 นาทีถึงหนึ่งชั่วโมง

ทั้งนี้ แพทย์จะเป็นผู้ประเมินอาการและให้คำแนะนำเกี่ยวกับทางเลือกในการรักษาให้เหมาะสมกับผู้ป่วยแต่ละราย โดยปัจจัยของผู้ที่เหมาะกับการรักษาด้วยเทคโนโลยี UROLIFT นั้น ควรจะเป็นผู้ที่ต่อมลูกหมากโตปานกลางถึงใหญ่ แต่มีขนาดไม่เกิน 100 กรัม, ผู้ที่ยังปัสสาวะได้หรือปัสสาวะแล้ว ยังมีปัสสาวะเหลือค้างไม่เกิน 350 ซีซี, ผู้ที่อายุมากหรือมีสุขภาพไม่แข็งแรง ที่ไม่เหมาะกับการผ่าตัดใหญ่ หรือผู้ที่ต้องการหลีกเลี่ยงปัญหาสุขภาพทางเพศ เป็นต้น

โรคต่อมลูกหมากโตถึงแม้จะป้องกันไม่ได้ แต่สามารถรักษาได้หลากหลายวิธี ดังนั้น คุณผู้ชายที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไป ควรมาพบแพทย์เพื่อตรวจต่อมลูกหมากเป็นประจำทุกปี และหากมีอาการปัสสาวะผิดปกติ ควรรีบมาปรึกษาแพทย์ เพื่อหาแนวทางรักษาแต่เนิ่น ๆ เพื่อผลลัพธ์การรักษาสูงสุดและป้องกันไม่ให้เกิดภาวะแทรกซ้อน

ศูนย์ทางเดินปัสสาวะ โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ มีทีมแพทย์ที่มีประสบการณ์สูงและมีความชำนาญเฉพาะทางครอบคลุมทุกสาขา พร้อมส่งมอบการดูแลและผลลัพธ์การรักษาที่ดีที่สุดให้แก่ผู้ป่วย เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

Page 1 of 9
X

Right Click

No right click