January 22, 2025

สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) และธนาคาร เอชเอสบีซี ประเทศไทย ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือเพื่อผลักดันประเทศไทยสู่ศูนย์กลางการลงทุนของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และส่งเสริมการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) เพื่อเสริมสร้างขีดความสามารถของทั้งสององค์กร ผ่านการให้คำปรึกษาด้านการลงทุนในไทยอย่างครบวงจร โดยอาศัยความแข็งแกร่งของเครือข่ายธุรกิจของธนาคารเอชเอสบีซีใน 62 ประเทศและเขตการปกครอง ความเชี่ยวชาญในการสนับสนุนองค์กรข้ามชาติในการขยายธุรกิจระหว่างประเทศ พร้อมทั้งแพลตฟอร์มด้านการเงินดิจิทัลของธนาคารเอชเอสบีซี เข้ามาช่วยอำนวยความสะดวกให้นักลงทุนต่างชาติเข้าถึงโอกาสในการลงทุนและขยายธุรกิจในประเทศไทย

นายนฤตม์ เทอดสถีรศักดิ์ เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) กล่าวว่า “ประเทศไทยถือเป็นประเทศที่มีความโดดเด่นมากที่สุดแห่งหนึ่งของภูมิภาคอาเซียน ด้วยศักยภาพและความพร้อมหลายด้านที่เอื้อต่อการลงทุน ทั้งด้านโครงสร้างพื้นฐานที่ดี บุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญและทักษะขั้นสูง รวมทั้งมีมาตรการสนับสนุนเชิงรุกจากภาครัฐ ซึ่งถือเป็นปัจจัยที่ช่วยดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศ โดยที่ผ่านมารัฐบาลและบีโอไอได้เดินหน้าออกมาตรการส่งเสริมการลงทุนด้านต่างๆ รวมถึงกิจกรรมชักจูงการลงทุนอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้เกิดการลงทุนในโครงการสำคัญของบริษัทรายใหญ่จากต่างประเทศอย่างมีนัยสำคัญ

โดยในปี 2566 ที่ผ่านมา ประเทศไทยมีตัวเลขการลงทุนทำสถิติสูงสุดในรอบ 9 ปี ด้วยมูลค่าการขอรับการส่งเสริมการลงทุนกว่า 8.48 แสนล้านบาท เติบโตร้อยละ 43 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เป็นการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) กว่า 6.63 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้นกว่าร้อยละ 72 ทั้งนี้ บีโอไอเชื่อว่ากระแสการลงทุนจากต่างประเทศจะยังเติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยไตรมาสแรก ปี 2567 มียอดขอรับส่งเสริมการลงทุน จำนวน 724 โครงการ เพิ่มขึ้นร้อยละ 94 มูลค่าเงินลงทุนรวม 228,207 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 31 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2566 สะท้อนถึงความเชื่อมั่นของนักลงทุนต่างชาติที่มีต่อประเทศไทย ซึ่งบีโอไอมั่นใจว่าการลงนามเป็นพันธมิตรกับธนาคารเอชเอสบีซีในครั้งนี้จะช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการเข้าถึง เข้าใจ และความสามารถในการประสานงานกับนักลงทุนจากต่างประเทศ เพื่อเร่งการดึงดูดการลงทุนเข้าสู่ประเทศไทยให้มากยิ่งขึ้นในอนาคต

”ความร่วมมือครั้งนี้ธนาคารเอชเอสบีซีจะใช้เครือข่ายลูกค้าธุรกิจระดับโลก และข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับการลงทุนในประเทศไทย เพื่อยกระดับความสามารถในการแข่งขันและสภาพแวดล้อมในการทำธุรกิจ ผ่านการสนับสนุนบริษัทต่าง ๆ ที่ต้องการขยายธุรกิจมาสู่ประเทศไทย ทั้งในรูปแบบของโซลูชันทางการเงินและการให้คำปรึกษา นอกจากนี้ ธนาคารเอชเอสบีซีจะจัดกิจกรรมโรดโชว์ในตลาดสำคัญ เช่น จีน ฮ่องกง อินเดีย ซาอุดิอาระเบีย อาเซียน ยุโรป และสหราชอาณาจักร เป็นต้น เพื่อส่งเสริมประเทศให้เป็นศูนย์กลางการลงทุนของภูมิภาค 

ความร่วมมือระหว่างบีโอไอและธนาคารเอชเอสบีซีจะเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยขับเคลื่อนการลงทุนจากต่างประเทศ โดยเฉพาะในสถานการณ์ปัจจุบันที่บริษัทรายใหญ่ระดับโลกมีความต้องการที่จะขยายธุรกิจและมองหาโอกาสใหม่ ๆ ซึ่งวันนี้อาเซียนถือเป็นภูมิภาคที่มีความโดดเด่น และไทยเป็นหนึ่งในประเทศอาเซียนที่มีความเหมาะสมจะเป็นฐานลงทุนแห่งใหม่ของตลาดโลก บีโอไอมั่นใจว่าเครือข่ายระดับโลกของธนาคารเอชเอสบีซี จะช่วยเสริมความแข็งแกร่งและเร่งการลงทุนใน 5 กลุ่มอุตสาหกรรมตามยุทธศาสตร์ของบีโอไอ ได้แก่ ยานยนต์ไฟฟ้า เซมิคอนดักเตอร์ ดิจิทัล อุตสาหกรรมชีวภาพและพลังงานสะอาด และสนับสนุนการตั้งสำนักงานภูมิภาคในประเทศไทย เพื่อขยายการเข้าถึงกลุ่มนักลงทุนกว้างขึ้น โดยบีโอไอและธนาคารเอชเอสบีซีจะทำงานร่วมกันอย่างใกล้ชิดเพื่อผลักดันการลงทุนผ่านกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้ร่วมกัน” นายนฤตม์ กล่าว

 

นายจอร์โจ กัมบา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคารเอชเอสบีซี ประเทศไทย

นายจอร์โจ กัมบา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคารเอชเอสบีซี ประเทศไทย กล่าวว่า “ประเทศไทยเป็นหนึ่งในตลาดสำคัญที่ธุรกิจระหว่างประเทศต้องการลงทุน โดยบทวิจัย HSBC Global Connections ระบุว่า ร้อยละ 37 ของบริษัทที่เป็นกลุ่มตัวอย่างมีการดำเนินธุรกิจในประเทศไทยแล้วในปัจจุบัน ซึ่งแรงงานที่มีทักษะเป็นปัจจัยที่ทำให้ไทยเป็นตลาดที่น่าสนใจ ตามมาด้วยเศรษฐกิจดิจิทัลที่กำลังเติบโตและจำนวนประชากรที่มีรายได้ปานกลาง นอกจากนี้ ประเทศไทยยังเป็นฐานการผลิตที่สำคัญของภูมิภาคมาอย่างยาวนาน และยังคงเป็นส่วนสำคัญของซัพพลายเชนของโลก ทั้งนี้ ปัจจุบันไทยถือเป็นผู้ผลิตยานยนต์ที่ใหญ่ที่สุดของอาเซียน โดยมียอดการผลิตคิดเป็นสัดส่วนถึงร้อยละ 50 ของประเทศทั้งหมดในภูมิภาค ส่งผลให้ไทยเป็นจุดหมายปลายทางที่มีศักยภาพสำหรับการลงทุนขนาดใหญ่จากประเทศเศรษฐกิจสำคัญทั้งในภูมิภาคและทั่วโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้า (อีวี)”

“ธนาคารเอชเอสบีซีเป็นหนึ่งในธนาคารระหว่างประเทศที่ใหญ่ที่สุดในโลก ซึ่งดำเนินธุรกิจอยู่ใน 62 ประเทศและเขตการปกครอง และเป็นธนาคารพาณิชย์แห่งแรกของไทยซึ่งมีประสบการณ์ในการธุรกิจในประเทศไทยมากว่า 135 ปี เราจึงเชื่อมั่นในศักยภาพขององค์กรในการเชื่อมโยงประเทศไทยกับนักลงทุนทั่วโลก ผ่านการนำเสนอ โซลูชันด้านการเงินที่ครบวงจรและแพลตฟอร์มนวัตกรรมด้านการเงินดิจิทัล โดยธนาคารฯ พร้อมให้การสนับสนุนบีโอไอในกิจกรรมโรดโชว์ต่าง ๆ และพัฒนาความร่วมมือด้านการค้าและการลงทุนใหม่ ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในอุตสาหกรรมเป้าหมาย เช่น อิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ และเศรษฐกิจดิจิทัล”

รายงานของธนาคารเอชเอสบีซียังชี้ให้เห็นว่า ธุรกิจระหว่างประเทศร้อยละ 18 ที่ยังไม่ได้ดำเนินธุรกิจในไทยมีแผนจะขยายธุรกิจเข้ามาในประเทศไทยภายใน 2 ปีข้างหน้า สะท้อนให้เห็นว่าประเทศไทยยังคงเป็นตลาดนักลงทุนทั่วโลกให้ความสนใจและมองว่ามีศักยภาพในการเป็นศูนย์กลางการลงทุนของภูมิภาค เราเชื่อว่าความร่วมมือครั้งนี้และโซลูชันด้านการเงินระหว่างประเทศชั้นนำของเอชเอสบีซีจะช่วยให้เราบรรลุเป้าหมายในการร่วมปลดล็อคโอกาสการลงทุน เพื่อขับเคลื่อนการเติบโตของการลงทุนจากต่างประเทศได้อย่างมั่นคง” นายกัมบา กล่าวปิดท้าย

นายนฤตม์ เทอดสถีรศักดิ์ เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) (ที่ 2 จากขวา),

นายจอร์โจ กัมบา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคารเอชเอสบีซี ประเทศไทย (ที่ 3 จากขวา), นางสาวฐนิตา ศิริทรัพย์ ผู้อำนวยการกองส่งเสริมการลงทุนจากต่างประเทศ บีโอไอ (ที่ 1 จากขวา) และนายกฤษฎา แพทย์เจริญ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มลูกค้าธุรกิจ ธนาคารเอชเอสบีซี ประเทศไทย (ที่ 4 จากขวา)

 

ภายหลังพิธีการลงนามข้อตกลงความร่วมมือ ยังมีการเสวนาในหัวข้อ “ปลดล็อคโอกาสการลงทุนในไทย” โดยมีตัวแทนจากภาครัฐและเอกชนเข้าร่วม ได้แก่ นางสาวฐนิตา ศิริทรัพย์ ผู้อำนวยการกองส่งเสริมการลงทุนจากต่างประเทศ บีโอไอ, นายกฤษฎา แพทย์เจริญ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มลูกค้าธุรกิจ ธนาคารเอชเอสบีซี ประเทศไทย, นายแฟรงค์ คอนสแตนต์ ผู้ร่วมก่อตั้ง คอนสแตนท์ เอนเจอร์จี ผู้ให้บริการโซลูชันพลังงานหมุนเวียน และนายยี่ เสี่ยวผิง รองประธาน ไฮเซ่นส์ อาเซียน โดยผู้ร่วมเสวนาได้แลกเปลี่ยนมุมมองเกี่ยวกับโอกาสของประเทศไทยในการดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศ เพื่อเจาะตลาดไทยควบคู่ไปกับการตั้งฐานการผลิตในไทยเพื่อส่งออกไปยังตลาดอื่น ๆ ในอาเซียน โดยการสนับสนุน อาทิ ฟรีวีซ่าและความตกลงการค้าเสรี ถือเป็นปัจจัยสำคัญที่จะยกระดับความสามารถในการแข่งขันของไทย นอกเหนือไปจากสิทธิประโยชน์ทางภาษี

ภายในงานยังมีบุคคลสำคัญและผู้แทนจากสถานทูตและหอการค้าระหว่างประเทศเข้าร่วมงาน เช่น สถานเอกอัครราชทูตอังกฤษประจำประเทศไทย สถานเอกอัครราชทูตเวียดนาม องค์กรส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน สถานเอกอัครราชทูตออสเตรเลีย สถานเอกอัครราชทูตฝรั่งเศสประจำประเทศไทย สำนักงานเศรษฐกิจและการค้าฮ่องกง หอการค้าอเมริกันในประเทศไทย หอการค้าเกาหลี – ไทย และหอการค้าอังกฤษ-ไทย

สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) และธนาคารเอชเอสบีซี ประเทศไทย ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือเพื่อผลักดันประเทศไทยสู่ศูนย์กลางการลงทุนของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และส่งเสริมการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) เพื่อเสริมสร้างขีดความสามารถของทั้งสององค์กร ผ่านการให้คำปรึกษาด้านการลงทุนในไทยอย่างครบวงจร โดยอาศัยความแข็งแกร่งของเครือข่ายธุรกิจของธนาคารเอชเอสบีซีใน 62 ประเทศและเขตการปกครอง ความเชี่ยวชาญในการสนับสนุนองค์กรข้ามชาติในการขยายธุรกิจระหว่างประเทศ พร้อมทั้งแพลตฟอร์มด้านการเงินดิจิทัลของธนาคารเอชเอสบีซี เข้ามาช่วยอำนวยความสะดวกให้นักลงทุนต่างชาติเข้าถึงโอกาสในการลงทุนและขยายธุรกิจในประเทศไทย

นายนฤตม์ เทอดสถีรศักดิ์ เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) กล่าวว่า “ประเทศไทยถือเป็นประเทศที่มีความโดดเด่นมากที่สุดแห่งหนึ่งของภูมิภาคอาเซียน ด้วยศักยภาพและความพร้อมหลายด้านที่เอื้อต่อการลงทุน ทั้งด้านโครงสร้างพื้นฐานที่ดี บุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญและทักษะขั้นสูง รวมทั้งมีมาตรการสนับสนุนเชิงรุกจากภาครัฐ ซึ่งถือเป็นปัจจัยที่ช่วยดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศ โดยที่ผ่านมารัฐบาลและบีโอไอได้เดินหน้าออกมาตรการส่งเสริมการลงทุนด้านต่างๆ รวมถึงกิจกรรมชักจูงการลงทุนอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้เกิดการลงทุนในโครงการสำคัญของบริษัทรายใหญ่จากต่างประเทศอย่างมีนัยสำคัญ

โดยในปี 2566 ที่ผ่านมา ประเทศไทยมีตัวเลขการลงทุนทำสถิติสูงสุดในรอบ 9 ปี ด้วยมูลค่าการขอรับการส่งเสริมการลงทุนกว่า 8.48 แสนล้านบาท เติบโตร้อยละ 43 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เป็นการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) กว่า 6.63 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้นกว่าร้อยละ 72 ทั้งนี้ บีโอไอเชื่อว่ากระแสการลงทุนจากต่างประเทศจะยังเติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยไตรมาสแรก ปี 2567 มียอดขอรับส่งเสริมการลงทุน จำนวน 724 โครงการ เพิ่มขึ้นร้อยละ 94 มูลค่าเงินลงทุนรวม 228,207 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 31 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2566 สะท้อนถึงความเชื่อมั่นของนักลงทุนต่างชาติที่มีต่อประเทศไทย ซึ่งบีโอไอมั่นใจว่าการลงนามเป็นพันธมิตรกับธนาคารเอชเอสบีซีในครั้งนี้จะช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการเข้าถึง เข้าใจ และความสามารถในการประสานงานกับนักลงทุนจากต่างประเทศ เพื่อเร่งการดึงดูดการลงทุนเข้าสู่ประเทศไทยให้มากยิ่งขึ้นในอนาคต”

ความร่วมมือครั้งนี้ธนาคารเอชเอสบีซีจะใช้เครือข่ายลูกค้าธุรกิจระดับโลก และข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับการลงทุนในประเทศไทย เพื่อยกระดับความสามารถในการแข่งขันและสภาพแวดล้อมในการทำธุรกิจ ผ่านการสนับสนุนบริษัทต่าง ๆ ที่ต้องการขยายธุรกิจมาสู่ประเทศไทย ทั้งในรูปแบบของโซลูชันทางการเงินและการให้คำปรึกษา นอกจากนี้ ธนาคารเอชเอสบีซีจะจัดกิจกรรมโรดโชว์ในตลาดสำคัญ เช่น จีน ฮ่องกง อินเดีย ซาอุดิอาระเบีย อาเซียน ยุโรป และสหราชอาณาจักร เป็นต้น เพื่อส่งเสริมประเทศให้เป็นศูนย์กลางการลงทุนของภูมิภาค

“ความร่วมมือระหว่างบีโอไอและธนาคารเอชเอสบีซีจะเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยขับเคลื่อนการลงทุนจากต่างประเทศ โดยเฉพาะในสถานการณ์ปัจจุบันที่บริษัทรายใหญ่ระดับโลกมีความต้องการที่จะขยายธุรกิจและมองหาโอกาสใหม่ ๆ ซึ่งวันนี้อาเซียนถือเป็นภูมิภาคที่มีความโดดเด่น และไทยเป็นหนึ่งในประเทศอาเซียนที่มีความเหมาะสมจะเป็นฐานลงทุนแห่งใหม่ของตลาดโลก บีโอไอมั่นใจว่าเครือข่ายระดับโลกของธนาคารเอชเอสบีซี จะช่วยเสริมความแข็งแกร่งและเร่งการลงทุนใน 5 กลุ่มอุตสาหกรรมตามยุทธศาสตร์ของบีโอไอ ได้แก่ ยานยนต์ไฟฟ้า เซมิคอนดักเตอร์ ดิจิทัล อุตสาหกรรมชีวภาพและพลังงานสะอาด และสนับสนุนการตั้งสำนักงานภูมิภาคในประเทศไทย เพื่อขยายการเข้าถึงกลุ่มนักลงทุนกว้างขึ้น โดยบีโอไอและธนาคารเอชเอสบีซีจะทำงานร่วมกันอย่างใกล้ชิดเพื่อผลักดันการลงทุนผ่านกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้ร่วมกัน” นายนฤตม์ กล่าว

นายจอร์โจ กัมบา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคารเอชเอสบีซี ประเทศไทย กล่าวว่า “ประเทศไทยเป็นหนึ่งในตลาดสำคัญที่ธุรกิจระหว่างประเทศต้องการลงทุน โดยบทวิจัย HSBC Global Connections ระบุว่า ร้อยละ 37 ของบริษัทที่เป็นกลุ่มตัวอย่างมีการดำเนินธุรกิจในประเทศไทยแล้วในปัจจุบัน ซึ่งแรงงานที่มีทักษะเป็นปัจจัยที่ทำให้ไทยเป็นตลาดที่น่าสนใจ ตามมาด้วยเศรษฐกิจดิจิทัลที่กำลังเติบโตและจำนวนประชากรที่มีรายได้ปานกลาง นอกจากนี้ ประเทศไทยยังเป็นฐานการผลิตที่สำคัญของภูมิภาคมาอย่างยาวนาน และยังคงเป็นส่วนสำคัญของซัพพลายเชนของโลก ทั้งนี้ ปัจจุบันไทยถือเป็นผู้ผลิตยานยนต์ที่ใหญ่ที่สุดของอาเซียน โดยมียอดการผลิตคิดเป็นสัดส่วนถึงร้อยละ 50 ของประเทศทั้งหมดในภูมิภาค ส่งผลให้ไทยเป็นจุดหมายปลายทางที่มีศักยภาพสำหรับการลงทุนขนาดใหญ่จากประเทศเศรษฐกิจสำคัญทั้งในภูมิภาคและทั่วโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้า (อีวี)”

“ธนาคารเอชเอสบีซีเป็นหนึ่งในธนาคารระหว่างประเทศที่ใหญ่ที่สุดในโลก ซึ่งดำเนินธุรกิจอยู่ใน 62 ประเทศและเขตการปกครอง และเป็นธนาคารพาณิชย์แห่งแรกของไทยซึ่งมีประสบการณ์ในการธุรกิจในประเทศไทยมากว่า 135 ปี เราจึงเชื่อมั่นในศักยภาพขององค์กรในการเชื่อมโยงประเทศไทยกับนักลงทุนทั่วโลก ผ่านการนำเสนอโซลูชันด้านการเงินที่ครบวงจรและแพลตฟอร์มนวัตกรรมด้านการเงินดิจิทัล โดยธนาคารฯ พร้อมให้การสนับสนุนบีโอไอในกิจกรรมโรดโชว์ต่าง ๆ และพัฒนาความร่วมมือด้านการค้าและการลงทุนใหม่ ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในอุตสาหกรรมเป้าหมาย เช่น อิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ และเศรษฐกิจดิจิทัล”

“รายงานของธนาคารเอชเอสบีซียังชี้ให้เห็นว่า ธุรกิจระหว่างประเทศร้อยละ 18 ที่ยังไม่ได้ดำเนินธุรกิจในไทยมีแผนจะขยายธุรกิจเข้ามาในประเทศไทยภายใน 2 ปีข้างหน้า สะท้อนให้เห็นว่าประเทศไทยยังคงเป็นตลาดนักลงทุนทั่วโลกให้ความสนใจและมองว่ามีศักยภาพในการเป็นศูนย์กลางการลงทุนของภูมิภาค เราเชื่อว่าความร่วมมือครั้งนี้และโซลูชันด้านการเงินระหว่างประเทศชั้นนำของเอชเอสบีซีจะช่วยให้เราบรรลุเป้าหมายในการร่วมปลดล็อคโอกาสการลงทุน เพื่อขับเคลื่อนการเติบโตของการลงทุนจากต่างประเทศได้อย่างมั่นคง” นายกัมบา กล่าวปิดท้าย

ภายหลังพิธีการลงนามข้อตกลงความร่วมมือ ยังมีการเสวนาในหัวข้อ “ปลดล็อคโอกาสการลงทุนในไทย” โดยมีตัวแทนจากภาครัฐและเอกชนเข้าร่วม ได้แก่ นางสาวฐนิตา ศิริทรัพย์ ผู้อำนวยการกองส่งเสริมการลงทุนจากต่างประเทศ บีโอไอ, นายกฤษฎา แพทย์เจริญ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มลูกค้าธุรกิจ ธนาคารเอชเอสบีซี ประเทศไทย, นายแฟรงค์ คอนสแตนต์ ผู้ร่วมก่อตั้ง คอนสแตนท์ เอนเจอร์จี ผู้ให้บริการโซลูชันพลังงานหมุนเวียน และนายยี่ เสี่ยวผิง รองประธาน ไฮเซ่นส์ อาเซียน โดยผู้ร่วมเสวนาได้แลกเปลี่ยนมุมมองเกี่ยวกับโอกาสของประเทศไทยในการดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศ เพื่อเจาะตลาดไทยควบคู่ไปกับการตั้งฐานการผลิตในไทยเพื่อส่งออกไปยังตลาดอื่น ๆ ในอาเซียน โดยการสนับสนุน อาทิ ฟรีวีซ่าและความตกลงการค้าเสรี ถือเป็นปัจจัยสำคัญที่จะยกระดับความสามารถในการแข่งขันของไทย นอกเหนือไปจากสิทธิประโยชน์ทางภาษี

ภายในงานยังมีบุคคลสำคัญและผู้แทนจากสถานทูตและหอการค้าระหว่างประเทศเข้าร่วมงาน เช่น สถานเอกอัครราชทูตอังกฤษประจำประเทศไทย สถานเอกอัครราชทูตเวียดนาม องค์กรส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน สถานเอกอัครราชทูตออสเตรเลีย สถานเอกอัครราชทูตฝรั่งเศสประจำประเทศไทย สำนักงานเศรษฐกิจและการค้าฮ่องกง หอการค้าอเมริกันในประเทศไทย หอการค้าเกาหลี – ไทย และหอการค้าอังกฤษ-ไทย

สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลง ความร่วมมือกับธนาคารยูโอบี ประเทศไทย ประกาศความร่วมมืออย่างเป็นทางการ ผนึกกำลังสร้างโอกาสทางธุรกิจ ชักจูงการลงทุนในไทยและอาเซียน

บันทึกข้อตกลงนี้เป็นความร่วมมือระหว่างสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) กับธนาคารยูโอบี ประเทศไทย ในการอำนวยความสะดวกและส่งเสริมการลงทุนแก่นักลงทุนต่างชาติที่ต้องการดำเนินธุรกิจใน ประเทศไทยพร้อมสนับสนุนผู้ประกอบการไทยในการขยายการลงทุนไปต่างประเทศโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเชื่อมโยง ความร่วมมือทางเศรษฐกิจและเสริมสร้างความแข็งแกร่งของภาคอุตสาหกรรมมากขึ้น

ผู้ประกอบการที่สนใจจะลงทุนในประเทศไทย หรือผู้ประกอบการไทยที่ต้องการจะไปลงทุนในต่างประเทศ สามารถเข้าถึงบริการทางการเงินที่ตอบโจทย์ตามความต้องการของธุรกิจ และใช้ประโยชน์จากเครือข่ายระดับภูมิภาคของธนาคารเพื่อเชื่อมต่อกับหน่วยงานภาครัฐ สมาคมอุตสาหกรรม และบริการด้านอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องในการขยายธุรกิจทั่วภูมิภาคเอเชีย  ซึ่งบีโอไอพร้อมที่จะทำงานร่วมกับธนาคารยูโอบีในการจัดกิจกรรมต่าง ๆ เช่น งานจับคู่ธุรกิจ นิทรรศการด้านการค้าการลงทุน และงานสัมมนาเพื่อชักจูงการลงทุน

 

นายนฤตม์ เทอดสถีรศักดิ์ เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) เปิดเผยว่า “ปัจจุบันประเทศไทยเป็นแหล่งรองรับการลงทุนที่สำคัญที่สุดแห่งหนึ่งในภูมิภาคอาเซียน โดยในช่วง 1-2 ปีที่ผ่านมา มีบริษัทชั้นนำจากต่างประเทศเดินหน้าเข้ามาลงทุนตั้งฐานการผลิตในหลากหลายอุตสาหกรรมสำคัญ ภาพที่เห็นได้ชัดเจนคือ อุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้า (EV) อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ และอุตสาหกรรมดิจิทัล โดยคำขอรับการส่งเสริมการลงทุนจากต่างประเทศ (Foreign Direct Investment: FDI) ในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2566 (มกราคม - กันยายน 2566) มีจำนวน 910 โครงการ เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 49 คิดเป็นมูลค่าการลงทุน 398,527 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 43 โดยเป็นการลงทุนจีน สิงคโปร์ ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ และสหรัฐอเมริกา ตามลำดับ

การเติบโตของการลงทุนในประเทศไทยนี้ สอดรับกับการประกาศยุทธศาสตร์การส่งเสริมการลงทุนใหม่ของบีโอไอในปีที่ผ่านมา ซึ่งนอกจากจะมีการออกมาตรการส่งเสริมการลงทุนต่างๆ แล้ว ยังรวมถึงการปรับเพิ่มบทบาทของบีโอไอในการชักจูงการลงทุนจากต่างประเทศเชิงรุก ผ่านการทำงานร่วมกับองค์กรพันธมิตร รวมถึงสำนักงานบีโอไอที่ตั้งอยู่ใน 16 ประเทศทั่วโลกในปัจจุบัน และอีก 3 แห่งที่จะจัดตั้งเพิ่มเติมในปีนี้ ได้แก่ กรุงริยาด ประเทศซาอุดีอาระเบีย นครเฉิงตู ประเทศจีน และประเทศสิงคโปร์ 

“การผนึกกำลังระหว่างบีโอไอกับธนาคารยูโอบีครั้งนี้ จะช่วยยกระดับความร่วมมือระหว่างกันในการผลักดันให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางธุรกิจระหว่างประเทศ โดยส่งเสริมการลงทุน 2 ทาง ทั้งการลงทุนในอุตสาหกรรมเป้าหมายในประเทศไทย และการสนับสนุนผู้ประกอบการไทยที่มีศักยภาพให้ออกไปแสวงหาโอกาสและขยายตลาด

ในต่างประเทศ รวมทั้งการอำนวยความสะดวกในการดำเนินธุรกิจให้แก่นักลงทุนทั้งไทยและต่างชาติ การสร้างเครือข่ายพันธมิตรทางธุรกิจ และสร้างโอกาสให้ผู้ประกอบการไทยได้ขยายธุรกิจเข้าไปอยู่ในซัพพลายเชนของอุตสาหกรรมระดับโลก เพื่อตอบโจทย์การเป็นฐานการผลิตสำคัญในภูมิภาค” นายนฤตม์ กล่าว

 

นายตัน ชุน ฮิน กรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารยูโอบี ประเทศไทย กล่าวว่า “ประเทศไทยมีศักยภาพในการดึงดูดเม็ดเงินลงทุนจากต่างประเทศ เนื่องจากโครงสร้างพื้นฐานทางอุตสาหกรรม ซัพพลายเชน และแนวโน้มการเติบโตในระยะยาว ด้วยเครือข่ายของธนาคารยูโอบีที่เข้มแข็งครอบคลุมทั่วภูมิภาค และยังมีหน่วยงานส่งเสริมการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศของธนาคารทั้ง 10 แห่งทั่วเอเชีย เราพร้อมที่จะให้การสนับสนุนธุรกิจทั้งสำหรับบริษัทต่างชาติที่สนใจจะมาตั้งฐานการผลิตในไทย และช่วยเหลือบริษัทไทยที่สนใจไปลงทุนในประเทศเพื่อนบ้านโดยธนาคารจะร่วมมือกับบีโอไอในการเชื่อมโยงภาคธุรกิจ เพื่อสนับสนุนการเติบโตที่ยั่งยืนของอุตสาหกรรมในประเทศไทยและเพิ่มโอกาสในการค้าข้ามพรมแดนทั่วภูมิภาค”

ตั้งแต่ที่ธนาคารยูโอบีได้จัดตั้งหน่วยงานส่งเสริมการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ ในปี 2554 ธนาคารได้สนับสนุนธุรกิจกว่า 4,200 บริษัทในการขยายธุรกิจในภูมิภาค ซึ่งมี 370 บริษัทได้เข้ามาลงทุนในประเทศไทย และนับตั้งแต่ปี 2562 หน่วยงานนี้ได้ช่วยให้เกิดการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศในไทย รวมมูลค่ากว่า 1.6 พันล้านเหรียญสหรัฐและการจ้างงานอีกกว่า 18,000 ตำแหน่งทั่วประเทศไทย นอกจากนี้ ธนาคารยังได้ช่วยเหลือธุรกิจไทยอีกกว่า 210 บริษัทในการออกไปลงทุนในประเทศต่าง ๆ อาเซียน โดยมี สิงคโปร์ มาเลเซีย และเวียดนามเป็นจุดหมายหลัก

ภูมิภาคนอร์ดิก โดยเฉพาะสวีเดน เดนมาร์ก นอร์เวย์ และฟินแลนด์ เป็นที่รู้จักกันดีในระดับโลก

X

Right Click

No right click