Investic หนึ่งในผู้ให้บริการด้านการลงทุนด้วย Quant ที่ใช้หลักคณิตศาสตร์และสถิติ ชูโรงใช้ General AI เสริมแกร่งข้อมูลด้านการลงทุนในให้นักลงทุนไทย ด้วยเทคโนโลยีขั้นกว่าของปัญญาประดิษฐ์พร้อมติดอาวุธนักลงทุนไทย เปิดโลกการลงทุนให้ทุกคนสามารถเข้าถึงได้ง่ายและล้ำลึกกว่าเดิม มุ่งเป็น AI Application ด้านการลงทุนเบอร์หนึ่งของไทยทั้งในตลาด ทอง หุ้น และสินทรัพย์ดิจิทัล

ในโลกของการลงทุนวันนี้เทคโนโลยีได้เข้ามามีบทบาทที่ทำให้การเข้าถึงข้อมูลด้านการลงทุนมีความหลากหลาย รวดเร็ว และกระชับมากขึ้น Investic ในฐานะผู้นำด้านการลงทุนที่มุ่งใช้ General AI เกิดจากการความตั้งใจในการผสมผสานระหว่างคำว่า Investment (การลงทุน) กับ Data Analytics (การวิเคราะห์ข้อมูล) ซึ่งทั้งสองส่วน ถือเป็นสิ่งสำคัญในการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อการลงทุน ภายใต้การนำทัพของ “วิธาน มีนาภินันท์” ผู้ก่อตั้ง Investic ที่มีความเชี่ยวชาญด้าน Quant และ AI ที่มุ่งนำประสบการณ์ด้านการลงทุนมาผสานกับความแข็งแกร่งของทีมงานทั้งด้าน Quant และ AI เพื่อพัฒนาโซลูชันที่ง่ายต่อการใช้งาน เพิ่มโอกาสการทำกำไรและลดความเสี่ยงให้นักลงทุนรายย่อย ด้วยข้อมูลในระดับเดียวกับนักลงทุนรายใหญ่และสถาบัน รวมถึงนักลงทุนต่างชาติ

 

นายวิธาน มีนาภินันท์ ผู้ก่อตั้ง Investic เปิดเผยว่า "ปัจจุบัน Artificial Intelligence (AI) หรือปัญญาประดิษฐ์ ไม่ใช่เรื่องไกลตัวอีกต่อไป ด้วยความสามารถในการคิดวิเคราะห์ วางแผน และตัดสินใจได้จากการประมวลผลข้อมูลขนาดใหญ่ ทำให้การใช้ AI ในการลงทุนช่วยให้นักลงทุนสามารถลงทุนได้ง่ายขึ้นจากประสิทธิภาพในหลายๆ ด้าน เช่น การวิเคราะห์ผลกระทบของปัจจัยตลาด การคัดเลือกสินทรัพย์ และการให้น้ำหนักการลงทุน โดยเฉพาะ General AI ที่กำลังพัฒนาอย่างก้าวกระโดด สามารถสร้าง Framework การลงทุนที่แม่นยำขึ้น ลดความเสี่ยง และเพิ่มโอกาสในการทำกำไร

Investic มุ่งเป็น AI Application ด้านการลงทุนเบอร์หนึ่งของไทย แพลตฟอร์มของเราจะทำให้นักลงทุนรายย่อยมีแผนการเทรดที่มีประสิทธิภาพ เข้าถึงคอมมูนิตี้นักลงทุน ลดเวลาในการศึกษา และใช้เป็นเครื่องมือช่วยในการลงทุน ทำให้ไม่เสียเปรียบรายใหญ่และสถาบันการเงิน ด้วยการนำ General AI มาช่วยหาข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูล ไปจนถึงการตัดสินใจ ที่สำคัญยังสามารถประยุกต์ใช้ตามหน้างานได้เพราะไม่เป็นสูตรตายตัว"

นอกจากนี้ Investic ยังได้ผสานความเป็น Tech Company และ Investment Company มาเป็นโซลูชันที่ง่ายต่อการเข้าถึงของเทรดเดอร์รายย่อย แต่ได้คุณภาพระดับเดียวกับสถาบันใช้ โดยมีทีมงานที่มีความเชี่ยวชาญด้านการลงทุนและเข้าใจกลยุทธ์การลงทุนเชิง Quant และ AI ทำให้สามารถสร้าง AI ที่มีความแม่นยำและมีกระบวนการวิเคราะห์เพื่อลงทุนแบบมืออาชีพได้

นายวิธาน กล่าวทิ้งท้ายว่า “ในโลกของการลงทุน ข้อมูลคือสิ่งสำคัญ คนที่มีข้อมูลมากกว่าจะได้เปรียบในการแข่งขัน ซึ่งปัจจุบันการเข้าถึงข้อมูลที่มีคุณภาพไม่ได้ยากอย่างที่คิด แต่สิ่งสำคัญคือการวิเคราะห์และใช้ข้อมูลเหล่านั้นอย่างมีประสิทธิภาพ โดยเราได้จัดตั้ง Investic Academy เพื่อถ่ายทอดความรู้ด้าน Quant Programming และการใช้ AI ด้านการลงทุนให้กับนักลงทุนไทย ทำให้สามารถเข้าถึงข้อมูลเชิงลึกและใช้ประกอบการตัดสินใจลงทุนได้อย่างมีประสิทธิภาพ”

TWZ ประกาศความพร้อม! เตรียมเงินไถ่ถอนหุ้นกู้แปลงสภาพฯ ที่จะครบกำหนดทั้งจำนวน ในวันที่ 21 มิ.ย.2567 วงเงิน 208.88 ล้านบาทเรียบร้อยแล้ว ตอกย้ำความมั่นใจผู้ลงทุน พร้อมเดินหน้าสร้างโอกาสในการเติบโตของธุรกิจ ด้วยการรุกขยายสู่โครงการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ขนาดใหญ่ รวมถึงธุรกิจคลังสินค้า ขนส่ง และโลจิสติกส์ หลังจากประสบความสำเร็จจากการจัดตั้งและบริหารศูนย์ทดสอบความรู้ ที่สร้างรายได้อย่างต่อเนื่อง ขณะที่ธุรกิจสื่อสารโทรคมนาคม ยังคงได้รับความไว้วางใจจากผู้ให้บริการเครือข่ายอันดับหนึ่งอย่าง “เอไอเอส” ที่ให้การสนับสนุนอย่างเหนียวแน่น

นายพุทธชาติ รังคสิริ ประธานกรรมการบริหาร บริษัท ทีดับบลิวแซด คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ TWZ เปิดเผยว่า หลังจากที่บริษัทฯ ได้ออกและเสนอขายหุ้นกู้แปลงสภาพครั้งที่ 1/2564 โดยจัดสรรให้แก่ผู้ถือหุ้นเดิมของบริษัทฯ ทั้งจำนวนตามสัดสัดส่วนการถือหุ้น (Right Offering) นั้น บริษัทฯ ขอแจ้งให้ทราบว่า หุ้นกู้แปลงสภาพชุดดังกล่าวจะครบกำหนดไถ่ถอนในวันที่ 21 มิถุนายน 2567 ซึ่งบริษัทฯ ได้เตรียมเงินสำหรับการไถ่ถอนทั้งจำนวนเป็นวงเงิน 208.88 ล้านบาทไว้เป็นที่เรียบร้อยแล้ว

“ผู้ลงทุนหุ้นกู้แปลงสภาพของ TWZ สามารถมั่นใจได้ว่า บริษัทฯ จะดำเนินการไถ่ถอนหุ้นกู้ที่ครบกำหนดทั้งจำนวนอย่างแน่นอน โดยบริษัทฯ ได้เตรียมวงเงินสำหรับการไถ่ถอนไว้เรียบร้อยแล้ว ทั้งนี้ ที่ผ่านมา บริษัทฯ เดินหน้าขยายธุรกิจและมองหาโอกาสที่จะสร้างการเติบโต เพื่อความแข็งแกร่งให้กับธุรกิจ พร้อมๆ ไปกับความแข็งแกร่งทางการเงิน แม้ว่า จะมีปัจจัยท้าทายหลายประการ แต่ TWZ ยังคงรักษาความสามารถในการเติบโตทั้งในธุรกิจสื่อสารโทรคมนาคม รวมถึงธุรกิจอื่นๆ ที่เราเชื่อว่า มีศักยภาพในการเติบโตไว้ได้” นายพุทธชาติกล่าว

ก่อนหน้านี้ TWZ ได้ขยายธุรกิจไปสู่ธุรกิจจัดตั้งและบริหารจัดการศูนย์เรียนรู้และทดสอบด้วยระบบดิจิทัลและ AI เต็มรูปแบบ โดยร่วมกับ “ดิจิตอล เอ็ดดูเคชั่น” หรือ DE ผู้เชี่ยวชาญในการจัดการเรียนรู้ การจัดสอบรูปแบบดิจิทัลและระบบ AI จัดตั้งและบริหาร “ศูนย์การเรียนรู้และการทดสอบดิจิทัล สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร” หรือ PNRU DLEx Center ซึ่งเป็นศูนย์ปัญญาประดิษฐ์ (AI) ด้านการเรียนรู้และการทดสอบที่ทันสมัยและใหญ่ที่สุดแห่งแรกในประเทศไทย ซึ่งได้รับการตอบรับที่ดีจากหน่วยงานรัฐและเอกชนในการใช้บริการศูนย์สอบ ที่สามารถสร้างรายได้อย่างต่อเนื่อง

ล่าสุด TWZ กำลังเตรียมขยายสู่ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์กับการลงทุนพัฒนาโครงการ “เจ็ท วิลล่า เรสซิเด้นซ์” (Jet Villa Residence) ซึ่งเป็นโครงการเจ็ท วิลล่า ส่วนตัว (Private Jet) บนเนื้อที่ 1,000 ไร่ มูลค่าโครงการ 2,000-3,000 ล้านบาท โดยได้ลงนามในบันทึกความเข้าใจ (เอ็มโอยู) กับผู้ร่วมทุนเรียบร้อยแล้ว พร้อมทั้งกำลังศึกษาการขยายสู่ธุรกิจคลังสินค้า ขนส่ง และโลจิสติกส์ ในอนาคต

ขณะที่ธุรกิจสื่อสารโทรคมนาคม ซึ่งเป็นธุรกิจหลักของ TWZ ยังคงสร้างการเติบโตได้อย่างต่อเนื่อง เพราะเป็นธุรกิจที่อยู่ในกระแส โดยที่บริษัทฯ ยังคงได้รับความไว้วางใจจากผู้ให้บริการเครือข่ายอันดับหนึ่งอย่างบริษัท แอดวานซ์ อินโฟ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือ “เอไอเอส” ที่ให้การสนับสนุนในฐานะพันธมิตรที่สำคัญอย่างเหนียวแน่น

บริษัทหลักทรัพย์ บียอนด์ จำกัด (มหาชน) ผู้สนับสนุนการยื่นไฟลิ่งให้ บริษัท วินด์ เอนเนอร์ยี่ โฮลดิ้ง จำกัด (WEH) ต่อ ก.ล.ต. เตรียมเปิดขายหุ้นกู้ชนิดระบุชื่อผู้ถือ ประเภทไม่ด้อยสิทธิ ไม่มีประกัน และมีผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ อายุ 2 ปี ครบกำหนดไถ่ถอนปี 2569 อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 6.75 ต่อปี ชำระดอกเบี้ยทุก 3 เดือน ตลอดอายุหุ้นกู้ ให้แก่ผู้ลงทุนสถาบัน และ/หรือ ผู้ลงทุนรายใหญ่ วัตถุประสงค์เตรียมขยายกิจการและลงทุนในโครงการใหม่ และเป็นเงินทุนหมุนเวียน คาดกำหนดวันจองซื้อ 11-12 และ 15 กรกฎาคม 2567 และคาดออกขายหุ้นกู้ 16 กรกฎาคม 2567

นายณัฐพศิน เชฎฐ์อุดมลาภ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท วินด์ เอนเนอร์ยี่ โฮลดิ้ง จำกัด หรือ WEH ผู้ผลิตไฟฟ้าจากพลังงานลม ที่มีกำลังการผลิตติดตั้งมากเป็นอันดับ 1 ของไทย เปิดเผยว่า บริษัทได้ยื่นร่างแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายตราสารหนี้ต่อสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) สำหรับการเสนอขายหุ้นกู้ของบริษัท วินด์ เอนเนอร์ยี่ โฮลดิ้ง จำกัด ครั้งที่ 1/2567 อายุ 2 ปี ครบกำหนดไถ่ถอนปี 2569 ชนิดระบุชื่อผู้ถือ ประเภทไม่ด้อยสิทธิ ไม่มีประกัน และมีผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ อัตราดอกเบี้ยคงที่ร้อยละ 6.75 ต่อปี กำหนดชำระดอกเบี้ยทุก 3 เดือน ตลอดอายุหุ้นกู้

สำหรับวัตถุประสงค์ในการเสนอขายหุ้นกู้ครั้งนี้ เพื่อนำเงินที่ได้มาลงทุนขยายกิจการในโครงการพลังงานลม และ พลังงานแสงอาทิตย์ อีกทั้งเตรียมดำเนินการพัฒนาโครงการใหม่ที่มีศักยภาพตามแผนการดำเนินงาน รวมถึงเป็นเงินทุนหมุนเวียนของกิจการ

“ปัจจุบันบริษัทมีขนาดกำลังการผลิตติดตั้งกระแสไฟฟ้ารวมทั้งสิ้น 717 เมกะวัตต์ (MW) โดยมีสัญญาซื้อขายไฟฟ้าระยะยาวกับการไฟฟ้าฝ่ายผลิต (กฟผ.) และจำหน่ายไฟฟ้าเชิงพาณิชย์ (COD) แล้วทุกโครงการ ล่าสุดบริษัทมีโครงการใหม่ ที่ผ่านการคัดเลือกจากคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) อยู่ระหว่างรอลงนามในสัญญาซื้อขายไฟฟ้า(PPA) กับกฟผ. 2 โครงการ คือ โรงไฟฟ้าพลังงานลมกำลังการผลิต 89.7 เมกะวัตต์ และโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์แบบติดตั้งบนพื้นดินร่วมกับระบบกักเก็บพลังงานกำลังการผลิต 30 เมกะวัตต์ นอกจากนี้ ยังมีโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานลมในอีก 2 โครงการ ขนาดกำลังการผลิตโครงการละ 89.7 เมกะวัตต์ ซึ่งผ่านการพิจารณาคุณสมบัติเบื้องต้นจากกกพ. เป็นที่เรียบร้อยแล้ว

ทั้งนี้ บริษัทยังมีแผนงานพัฒนาโครงการพลังงานไฟฟ้าในต่างประเทศ ปัจจุบันอยู่ระหว่างการเจรจาเงื่อนไขการเข้าร่วมโครงการกับพันธมิตรท้องถิ่นใน 3 ประเทศที่ได้สำรวจตลาดแล้ว คือ ฟิลิปปินส์ ไต้หวัน และเวียดนาม รวมถึงศึกษาการพัฒนาโครงการในประเทศอื่นๆ ที่มีศักยภาพ จึงต้องเตรียมเงินทุนรองรับการขยายกิจการ และสร้างการเติบโตของรายได้ตามเป้าหมายที่วางไว้ที่จำนวน 15,000 ล้านบาท โดยมีความสามารถการทำกำไรอยู่ในระดับ 40-50% ทุกปี จากล่าสุดปี 2566 ที่ผ่านมา มีรายได้รวม 11,384 ล้านบาท มีกำไรสุทธิ 5,779 ล้านบาท คิดเป็นอัตรากำไรสุทธิ 52.42%

 

ขณะที่ นายชัยพัชร์ นาคมณฑนาคุ้ม ประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่ม บริษัทหลักทรัพย์ บียอนด์ จำกัด (มหาชน) ผู้สนับสนุนการยื่นไฟลิ่งและหนึ่งในผู้จัดการการจัดจำหน่ายหุ้นกู้ กล่าวว่า บริษัทยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลเพื่อเสนอขายหุ้นกู้บริษัท วินด์ เอนเนอร์ยี่ โฮลดิ้ง จำกัด ต่อ ก.ล.ต. เมื่อวันที่ 10 มิถุนายน 2567 ขณะนี้อยู่ระหว่างขั้นตอนการขออนุมัติจาก ก.ล.ต. โดยคาดว่าจะกำหนดวันจองซื้อในช่วงระหว่างวันที่ 11-12 และ 15 กรกฎาคม 2567 และ คาดว่าจะเสนอขายหุ้นกู้ในวันที่ 16 กรกฎาคม 2567

สำหรับการเสนอขายหุ้นกู้ WEH ในครั้งนี้ มีผู้จัดการการจัดจำหน่ายหุ้นกู้ร่วม จำนวน 8 แห่ง ได้แก่ บริษัทหลักทรัพย์ บียอนด์ จำกัด (มหาชน), บริษัทหลักทรัพย์ ดาโอ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน), บริษัทหลักทรัพย์ โกลเบล็ก จำกัด, บริษัทหลักทรัพย์ เมย์แบงก์ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน), บริษัทหลักทรัพย์ ฟิลลิป (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน), บริษัทหลักทรัพย์ พาย จำกัด (มหาชน), บริษัทหลักทรัพย์ ทรีนีตี้ จำกัด และ บริษัทหลักทรัพย์ ยูโอบี เคย์เฮียน (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) โดยมี ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) เป็นนายทะเบียนหุ้นกู้ และ บริษัทหลักทรัพย์ ดาโอ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) เป็นผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้

สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) และธนาคาร เอชเอสบีซี ประเทศไทย ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือเพื่อผลักดันประเทศไทยสู่ศูนย์กลางการลงทุนของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และส่งเสริมการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) เพื่อเสริมสร้างขีดความสามารถของทั้งสององค์กร ผ่านการให้คำปรึกษาด้านการลงทุนในไทยอย่างครบวงจร โดยอาศัยความแข็งแกร่งของเครือข่ายธุรกิจของธนาคารเอชเอสบีซีใน 62 ประเทศและเขตการปกครอง ความเชี่ยวชาญในการสนับสนุนองค์กรข้ามชาติในการขยายธุรกิจระหว่างประเทศ พร้อมทั้งแพลตฟอร์มด้านการเงินดิจิทัลของธนาคารเอชเอสบีซี เข้ามาช่วยอำนวยความสะดวกให้นักลงทุนต่างชาติเข้าถึงโอกาสในการลงทุนและขยายธุรกิจในประเทศไทย

นายนฤตม์ เทอดสถีรศักดิ์ เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) กล่าวว่า “ประเทศไทยถือเป็นประเทศที่มีความโดดเด่นมากที่สุดแห่งหนึ่งของภูมิภาคอาเซียน ด้วยศักยภาพและความพร้อมหลายด้านที่เอื้อต่อการลงทุน ทั้งด้านโครงสร้างพื้นฐานที่ดี บุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญและทักษะขั้นสูง รวมทั้งมีมาตรการสนับสนุนเชิงรุกจากภาครัฐ ซึ่งถือเป็นปัจจัยที่ช่วยดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศ โดยที่ผ่านมารัฐบาลและบีโอไอได้เดินหน้าออกมาตรการส่งเสริมการลงทุนด้านต่างๆ รวมถึงกิจกรรมชักจูงการลงทุนอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้เกิดการลงทุนในโครงการสำคัญของบริษัทรายใหญ่จากต่างประเทศอย่างมีนัยสำคัญ

โดยในปี 2566 ที่ผ่านมา ประเทศไทยมีตัวเลขการลงทุนทำสถิติสูงสุดในรอบ 9 ปี ด้วยมูลค่าการขอรับการส่งเสริมการลงทุนกว่า 8.48 แสนล้านบาท เติบโตร้อยละ 43 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เป็นการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) กว่า 6.63 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้นกว่าร้อยละ 72 ทั้งนี้ บีโอไอเชื่อว่ากระแสการลงทุนจากต่างประเทศจะยังเติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยไตรมาสแรก ปี 2567 มียอดขอรับส่งเสริมการลงทุน จำนวน 724 โครงการ เพิ่มขึ้นร้อยละ 94 มูลค่าเงินลงทุนรวม 228,207 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 31 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2566 สะท้อนถึงความเชื่อมั่นของนักลงทุนต่างชาติที่มีต่อประเทศไทย ซึ่งบีโอไอมั่นใจว่าการลงนามเป็นพันธมิตรกับธนาคารเอชเอสบีซีในครั้งนี้จะช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการเข้าถึง เข้าใจ และความสามารถในการประสานงานกับนักลงทุนจากต่างประเทศ เพื่อเร่งการดึงดูดการลงทุนเข้าสู่ประเทศไทยให้มากยิ่งขึ้นในอนาคต

”ความร่วมมือครั้งนี้ธนาคารเอชเอสบีซีจะใช้เครือข่ายลูกค้าธุรกิจระดับโลก และข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับการลงทุนในประเทศไทย เพื่อยกระดับความสามารถในการแข่งขันและสภาพแวดล้อมในการทำธุรกิจ ผ่านการสนับสนุนบริษัทต่าง ๆ ที่ต้องการขยายธุรกิจมาสู่ประเทศไทย ทั้งในรูปแบบของโซลูชันทางการเงินและการให้คำปรึกษา นอกจากนี้ ธนาคารเอชเอสบีซีจะจัดกิจกรรมโรดโชว์ในตลาดสำคัญ เช่น จีน ฮ่องกง อินเดีย ซาอุดิอาระเบีย อาเซียน ยุโรป และสหราชอาณาจักร เป็นต้น เพื่อส่งเสริมประเทศให้เป็นศูนย์กลางการลงทุนของภูมิภาค 

ความร่วมมือระหว่างบีโอไอและธนาคารเอชเอสบีซีจะเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยขับเคลื่อนการลงทุนจากต่างประเทศ โดยเฉพาะในสถานการณ์ปัจจุบันที่บริษัทรายใหญ่ระดับโลกมีความต้องการที่จะขยายธุรกิจและมองหาโอกาสใหม่ ๆ ซึ่งวันนี้อาเซียนถือเป็นภูมิภาคที่มีความโดดเด่น และไทยเป็นหนึ่งในประเทศอาเซียนที่มีความเหมาะสมจะเป็นฐานลงทุนแห่งใหม่ของตลาดโลก บีโอไอมั่นใจว่าเครือข่ายระดับโลกของธนาคารเอชเอสบีซี จะช่วยเสริมความแข็งแกร่งและเร่งการลงทุนใน 5 กลุ่มอุตสาหกรรมตามยุทธศาสตร์ของบีโอไอ ได้แก่ ยานยนต์ไฟฟ้า เซมิคอนดักเตอร์ ดิจิทัล อุตสาหกรรมชีวภาพและพลังงานสะอาด และสนับสนุนการตั้งสำนักงานภูมิภาคในประเทศไทย เพื่อขยายการเข้าถึงกลุ่มนักลงทุนกว้างขึ้น โดยบีโอไอและธนาคารเอชเอสบีซีจะทำงานร่วมกันอย่างใกล้ชิดเพื่อผลักดันการลงทุนผ่านกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้ร่วมกัน” นายนฤตม์ กล่าว

 

นายจอร์โจ กัมบา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคารเอชเอสบีซี ประเทศไทย

นายจอร์โจ กัมบา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคารเอชเอสบีซี ประเทศไทย กล่าวว่า “ประเทศไทยเป็นหนึ่งในตลาดสำคัญที่ธุรกิจระหว่างประเทศต้องการลงทุน โดยบทวิจัย HSBC Global Connections ระบุว่า ร้อยละ 37 ของบริษัทที่เป็นกลุ่มตัวอย่างมีการดำเนินธุรกิจในประเทศไทยแล้วในปัจจุบัน ซึ่งแรงงานที่มีทักษะเป็นปัจจัยที่ทำให้ไทยเป็นตลาดที่น่าสนใจ ตามมาด้วยเศรษฐกิจดิจิทัลที่กำลังเติบโตและจำนวนประชากรที่มีรายได้ปานกลาง นอกจากนี้ ประเทศไทยยังเป็นฐานการผลิตที่สำคัญของภูมิภาคมาอย่างยาวนาน และยังคงเป็นส่วนสำคัญของซัพพลายเชนของโลก ทั้งนี้ ปัจจุบันไทยถือเป็นผู้ผลิตยานยนต์ที่ใหญ่ที่สุดของอาเซียน โดยมียอดการผลิตคิดเป็นสัดส่วนถึงร้อยละ 50 ของประเทศทั้งหมดในภูมิภาค ส่งผลให้ไทยเป็นจุดหมายปลายทางที่มีศักยภาพสำหรับการลงทุนขนาดใหญ่จากประเทศเศรษฐกิจสำคัญทั้งในภูมิภาคและทั่วโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้า (อีวี)”

“ธนาคารเอชเอสบีซีเป็นหนึ่งในธนาคารระหว่างประเทศที่ใหญ่ที่สุดในโลก ซึ่งดำเนินธุรกิจอยู่ใน 62 ประเทศและเขตการปกครอง และเป็นธนาคารพาณิชย์แห่งแรกของไทยซึ่งมีประสบการณ์ในการธุรกิจในประเทศไทยมากว่า 135 ปี เราจึงเชื่อมั่นในศักยภาพขององค์กรในการเชื่อมโยงประเทศไทยกับนักลงทุนทั่วโลก ผ่านการนำเสนอ โซลูชันด้านการเงินที่ครบวงจรและแพลตฟอร์มนวัตกรรมด้านการเงินดิจิทัล โดยธนาคารฯ พร้อมให้การสนับสนุนบีโอไอในกิจกรรมโรดโชว์ต่าง ๆ และพัฒนาความร่วมมือด้านการค้าและการลงทุนใหม่ ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในอุตสาหกรรมเป้าหมาย เช่น อิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ และเศรษฐกิจดิจิทัล”

รายงานของธนาคารเอชเอสบีซียังชี้ให้เห็นว่า ธุรกิจระหว่างประเทศร้อยละ 18 ที่ยังไม่ได้ดำเนินธุรกิจในไทยมีแผนจะขยายธุรกิจเข้ามาในประเทศไทยภายใน 2 ปีข้างหน้า สะท้อนให้เห็นว่าประเทศไทยยังคงเป็นตลาดนักลงทุนทั่วโลกให้ความสนใจและมองว่ามีศักยภาพในการเป็นศูนย์กลางการลงทุนของภูมิภาค เราเชื่อว่าความร่วมมือครั้งนี้และโซลูชันด้านการเงินระหว่างประเทศชั้นนำของเอชเอสบีซีจะช่วยให้เราบรรลุเป้าหมายในการร่วมปลดล็อคโอกาสการลงทุน เพื่อขับเคลื่อนการเติบโตของการลงทุนจากต่างประเทศได้อย่างมั่นคง” นายกัมบา กล่าวปิดท้าย

นายนฤตม์ เทอดสถีรศักดิ์ เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) (ที่ 2 จากขวา),

นายจอร์โจ กัมบา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคารเอชเอสบีซี ประเทศไทย (ที่ 3 จากขวา), นางสาวฐนิตา ศิริทรัพย์ ผู้อำนวยการกองส่งเสริมการลงทุนจากต่างประเทศ บีโอไอ (ที่ 1 จากขวา) และนายกฤษฎา แพทย์เจริญ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มลูกค้าธุรกิจ ธนาคารเอชเอสบีซี ประเทศไทย (ที่ 4 จากขวา)

 

ภายหลังพิธีการลงนามข้อตกลงความร่วมมือ ยังมีการเสวนาในหัวข้อ “ปลดล็อคโอกาสการลงทุนในไทย” โดยมีตัวแทนจากภาครัฐและเอกชนเข้าร่วม ได้แก่ นางสาวฐนิตา ศิริทรัพย์ ผู้อำนวยการกองส่งเสริมการลงทุนจากต่างประเทศ บีโอไอ, นายกฤษฎา แพทย์เจริญ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มลูกค้าธุรกิจ ธนาคารเอชเอสบีซี ประเทศไทย, นายแฟรงค์ คอนสแตนต์ ผู้ร่วมก่อตั้ง คอนสแตนท์ เอนเจอร์จี ผู้ให้บริการโซลูชันพลังงานหมุนเวียน และนายยี่ เสี่ยวผิง รองประธาน ไฮเซ่นส์ อาเซียน โดยผู้ร่วมเสวนาได้แลกเปลี่ยนมุมมองเกี่ยวกับโอกาสของประเทศไทยในการดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศ เพื่อเจาะตลาดไทยควบคู่ไปกับการตั้งฐานการผลิตในไทยเพื่อส่งออกไปยังตลาดอื่น ๆ ในอาเซียน โดยการสนับสนุน อาทิ ฟรีวีซ่าและความตกลงการค้าเสรี ถือเป็นปัจจัยสำคัญที่จะยกระดับความสามารถในการแข่งขันของไทย นอกเหนือไปจากสิทธิประโยชน์ทางภาษี

ภายในงานยังมีบุคคลสำคัญและผู้แทนจากสถานทูตและหอการค้าระหว่างประเทศเข้าร่วมงาน เช่น สถานเอกอัครราชทูตอังกฤษประจำประเทศไทย สถานเอกอัครราชทูตเวียดนาม องค์กรส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน สถานเอกอัครราชทูตออสเตรเลีย สถานเอกอัครราชทูตฝรั่งเศสประจำประเทศไทย สำนักงานเศรษฐกิจและการค้าฮ่องกง หอการค้าอเมริกันในประเทศไทย หอการค้าเกาหลี – ไทย และหอการค้าอังกฤษ-ไทย

บริษัท ดั๊บเบิ้ล เอ (1991) จำกัด (มหาชน) เผยผลประกอบการไตรมาส 1 ปี 2567 รายได้รวม 6,456 ล้านบาท เติบโต 6.38% และมีกำไรสุทธิ 529 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 7.09% จากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ปัจจัยหลักที่หนุนความสำเร็จของรายได้ในไตรมาสนี้ มาจากการขยายตัวของตลาดต่างประเทศเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะในตลาดใหญ่ที่มีความต้องการซื้อสูง อย่างออสเตรเลียและอินเดีย ซึ่งสะท้อนถึงกลยุทธ์ การรุกตลาดที่เข้มแข็ง และศักยภาพของแบรนด์ ดั๊บเบิ้ล เอ ที่ได้รับการยอมรับจากผู้บริโภคทั่วโลก

นอกจากนี้ ดั๊บเบิ้ล เอ ยังประสบความสำเร็จจากความแข็งแกร่งของผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพสูง ตรงตามความต้องการของลูกค้า กลยุทธ์ทางการตลาดที่ผสมผสาน ช่วยสร้างการรับรู้และจดจำแบรนด์ในกลุ่มเป้าหมาย และการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ ควบคุมต้นทุนและค่าใช้จ่าย

สำหรับไตรมาสที่เหลือในปี 2567 บริษัทฯ มีแผนลงทุนพัฒนากระบวนการผลิต ที่จะลดการใช้พลังงานและสารเคมี เพื่อเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม รวมถึงเพิ่มทักษะให้กับบุคคลากรโดยนำระบบ Digital และ Automation เข้ามาใช้ในการปฏิบัติงาน และจัดโครงการต่อเนื่องเพื่อสนับสนุนชุมชน ให้เกิดเป็นสังคมที่เข้มแข็ง พร้อมปรับตัวรองรับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว ซึ่งทั้งหมดนี้ทำให้ดั๊บเบิ้ล เอ สามารถเติบโตได้อย่างยั่งยืนในอนาคต สอดคล้องกับนโยบายการบริหารจัดการตามแนว ESG

Page 1 of 7
X

Right Click

No right click