December 22, 2024

เทคโนโลยีอัจฉริยะในปัจจุบันกำลังเข้ามาเปลี่ยนแปลงคุณภาพชีวิตของทุกคน ทั้งในแง่ของกระบวนการทำงาน และรูปแบบการติดต่อสื่อสาร ส่งผลให้หลาย ๆ ภาคส่วนต้องปรับวิสัยทัศน์และแนวทางในด้านการดำเนินงาน เพื่อมุ่งสู่การเป็นเมืองอัจฉริยะ (Smart City) ตอบรับกับเทรนด์โลกที่เริ่มมุ่งเข้าสู่ยุคดิจิทัลมากขึ้น โดยเมืองอัจฉริยะ (Smart City) คือการนำหลากเทคโนโลยีอัจฉริยะมาใช้งานร่วมกันแบบบูรณาการ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารและจัดการทรัพยากรภายในเมือง รวมถึงยกระดับคุณภาพชีวิตของประชากรที่อาศัยอยู่ในเมืองอีกด้วย โดยการนำเทคโนโลยีทั้งระบบคอมพิวเตอร์ที่เรียนรู้โดยอัตโนมัติ (Machine Learning) ปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence) อุปกรณ์ที่เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต (Internet of Things) และอีกมากมาย มาใช้งานร่วมกันอย่างไร้รอยต่อ จนกลายเป็นนวัตกรรมใหม่ที่ตอบโจทย์การใช้ชีวิตในปัจจุบัน ช่วยให้ประชากรมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นแม้ว่าจะต้องเผชิญกับสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงง่าย โรคระบาดใหม่ ๆ โดยเฉพาะประเทศไทยที่ยังคงต้องแก้ไขปัญหาการจราจรที่ควบคุมได้ยาก และอาชญากรรมที่ล้วนคาดเดาไม่ได้  หัวเว่ย ในฐานะผู้นำด้านโครงสร้างพื้นฐานเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT) พร้อมเร่งสนับสนุนประเทศไทยให้เข้าสู่การเปลี่ยนแปลงสู่ยุคดิจิทัล โดยใช้เทคโนโลยีที่มีคุณภาพระดับสากล สามารถผลักดันให้การใช้เทคโนโลยีเกิดขึ้นได้จริง จนกลายเป็นอีกหนึ่งเมืองอัจฉริยะในทวีปเอเชีย

เมื่อไม่นานมานี้หัวเว่ยได้ร่วมมือกับสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล หรือ ดีป้า จัดเวทีพิเศษ Thailand Smart City 2023 ภายใต้แนวคิด “Accelerating Intelligence of Smart City ยกระดับเมืองอัจฉริยะน่าอยู่” ซึ่งได้เชิญผู้เชี่ยวชาญและผู้นำจากภาคอุตสาหกรรมต่าง ๆ มาร่วมแลกเปลี่ยนความรู้และเทรนด์เทคโนโลยีดิจิทัล พร้อมกับจัดแสดง นวัตกรรม เทคโนโลยี และกลยุทธ์ที่ช่วยขับเคลื่อนการเปลี่ยนผ่านสู่ยุคดิจิทัลให้เกิดขึ้นได้จริงในเมืองอัจฉริยะ

นายเชลดอน หวัง รองประธานกลุ่มธุรกิจเอ็นเตอร์ไพรส์ บริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี่ (ประเทศไทย) จำกัด ได้กล่าวถึงความก้าวหน้าของเมืองอัจฉริยะ (Smart City) ภายในงาน ไทยแลนด์ สมาร์ทซิตี้ ฟอรัม 2023 (Thailand Smart City 2023) ว่า “เมื่อเราพูดถึงคำว่า เมืองอัจฉริยะ เรากำลังหมายถึงการบูรณาการเทคโนโลยีมากมายเข้าด้วยกัน สำหรับ หัวเว่ย เราแบ่งหมวดหมู่ของเทคโนโลยีออกเป็นสามกลุ่มใหญ่ๆ กลุ่มแรกคือ คลาวด์คอมพิวติ้ง (Cloud Computing) ที่จะช่วยให้ทุกสิ่งในเมืองถูกเข้าถึงได้ทั้งหมดผ่านระบบคลาวด์ กลุ่มถัดมาคือ ระบบเชื่อมต่ออัจฉริยะ (Smart Connectivity) ที่ช่วยให้ระบบหลักของเมือง (City Backbone) สามารถเชื่อมต่อถึงเทคโนโลยีอื่นที่มีความหลากหลายและทำงานร่วมกันได้ทั้งหมด และกลุ่มสุดท้ายคือ ศูนย์ปฏิบัติการอัจฉริยะ (Intelligent Operation Center) ที่ควบคุมการจัดการอย่างเป็นระบบและคอยช่วยเหลือผู้คนที่อาศัยในเมืองให้ดำเนินชีวิตประจำวันได้อย่างราบรื่น”

โดยทั้งหมดนี้ หัวเว่ย ให้ความสำคัญในเรื่องความปลอดภัยเป็นอันดับแรก จากนั้นจึงคำนึงถึงการเติบโตอย่างยั่งยืนของ เศรษฐกิจเชิงสังคม (Social Economy) ตามมาด้วยเรื่องของคุณภาพชีวิตและการศึกษาของประชากรภายในเมือง สำหรับการรักษาความปลอดภัยในเมืองแห่งเทคโนโลยีนี้ หัวเว่ย เลือกใช้เทคโนโลยีเซ็นเซอร์อัจฉริยะ (Intelligent Sensor) ได้แก่ ระบบ 5G อุปกรณ์ IoT ต่าง ๆ และระบบโครงสร้างพื้นฐาน (Infrastructure) ที่รองรับความหลากหลายของอุตสาหกรรมทางธุรกิจ มาช่วยให้ระยะเวลาการตอบสนองต่อเหตุการณ์ฉุกเฉิน (Emergency Response Time) เป็นไปตามมาตรฐาน ตอบสนองต่อเหตุการณ์ได้อย่างรวดเร็วจากการทำงานร่วมกันระหว่างกล้องวงจรปิด (CCTV) อุปกรณ์ IoT ที่เชื่อมผ่านสัญญาณไวไฟ (Wi-Fi) ไปยังศูนย์ควบคุม เมื่อมีเหตุการณ์ฉุกเฉิน ผู้เกี่ยวข้องสามารถใช้ระบบวิเคราะห์แบบเรียลไทม์ (Real Time Monitoring) ได้ทันที

 

นายประยุทธ์ ตั้งสงบ หัวหน้าคณะผู้บริหารฝ่ายเทคโนโลยี กลุ่มธุรกิจเอ็นเตอร์ไพรส์ บริษัท หัวเว่ยเทคโนโลยี่ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวถึงความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีของประเทศไทยว่า “เรามีระบบ 5G ที่พร้อมที่สุด และเป็นผู้นำของเอเชีย สามารถเก็บข้อมูลสำหรับโครงการ Government Data Center and Cloud Service (GDCC) นอกจากนี้เรายังมี AI Unique Thailand ซึ่งเป็นระบบ AI Computing ที่เข้าใจภาษาไทยและคนไทยเป็นพิเศษ รวมถึงระบบ AI ที่ถูกสร้างมาเพื่อการใช้งานของภาครัฐโดยเฉพาะ เช่น ใช้สำหรับพยากรณ์อากาศ การก้าวสู่การเป็นเมืองอัจฉริยะ เราจะเชื่อมโยงทุกจุดของประเทศไทยทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นหมู่บ้านในพื้นที่ห่างไกล ตำบลที่อยู่ไกลจากตัวเมือง ผ่านสัญญาณ 5G ที่เป็นคลื่นไมโครเวฟให้เชื่อมถึงกัน เรามีเทคโนโลยี AI ที่สามารถสร้างชุมชนโลกเสมือนจริง (Metaverse) มองเห็นเมืองได้ตั้งแต่บนพื้นดินจนถึงท่อที่อยู่ใต้ดิน ให้ผู้ดูแลเข้าถึงข้อมูลทั้งหมดและรับรู้ความเป็นไปที่เกิดขึ้นหรือเกี่ยวข้องกับเมือง เช่น หากพายุกำลังจะเข้าเมือง เจ้าหน้าที่สามารถใช้ AI ในการคำนวนค่าการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศและแจ้งประชาชนที่อยู่ในพื้นที่เสี่ยงเพื่อเตรียมรับมือหรืออพยพ”

การยึดมั่นในเรื่องความปลอดภัยในเมืองอัจฉริยะของหัวเว่ย คือจุดเริ่มต้นของแนวคิดระบบความปลอดภัยรอบด้าน (Omni Safety) ที่จะเป็นการเชื่อมข้อมูลของทุกระบบการสื่อสารของทุกหน่วยงานในไทยเข้าด้วยกัน ในยามที่ต้องรับมือกับเหตุการณ์ฉุกเฉิน เช่น อุบัติเหตุรถแก๊สชนกัน ซึ่งปกติจะมีการแจ้งเหตุผ่านโทรศัพท์โดยประชาชนผู้พบเห็นเหตุการณ์ไปยังโรงพยาบาล สถานีตำรวจ ตามแต่วิจารณญาณส่วนบุคคล แต่เมื่อมีนวัตกรรมเมืองอัจฉริยะ ระบบจะรวบรวมทุกอย่างที่เกี่ยวกับเหตุการณ์ดังกล่าว และส่งข้อมูลไปที่สมองของเมือง หรือ Intelligent Operation Center ที่ทำหน้าที่ในการบริหารตัดการเมือง ช่วยสังเกตการณ์และรวบรวมข้อมูลจำนวนมากเพื่อจัดการกับสถานการณ์ในเมืองได้อย่างเป็นระบบและรวดเร็ว โดยศูนย์ควบคุมหลักนี้ประกอบไปด้วยระบบรวมศูนย์ข้อมูลที่จะแจ้งเตือนเจ้าหน้าที่และหน่วยงานทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องให้สามารถเตรียมรับมือกับเหตุการณ์ต่าง ๆ หรือภัยพิบัติที่อาจเกิดขึ้น โดยมีกล้องวงจรปิดอัจฉริยะ (Intelligent Vision) ที่เข้าใจสิ่งที่ปรากฏในภาพ ทำหน้าที่เป็นเหมือนผู้ดูแลคอยแจ้งเตือนเจ้าหน้าที่อย่างทันท่วงที

เทคโนโลยีที่ข้บเคลื่อนด้วยข้อมูลและสามารถใช้งานได้จริง เป็นหนึ่งในองค์ประกอบสำคัญในการขับเคลื่อนสังคมและมนุษย์ให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีแบบยกระดับ หัวเว่ยพร้อมสนับสนุนและผลักดันให้เมืองอัจฉริยะ รวมถึงการเปลี่ยนผ่านสู่ยุคดิจิทัลในประเทศไทยให้ก้าวหน้าอย่างรวดเร็วเพื่อต่อยอดสู่การพัฒนาระบบบริการสาธารณะที่ชาญฉลาดให้สามารถกระจายตัวเข้าถึงทุกพื้นที่ในประเทศไทยได้อย่างไร้ขอบเขต มอบความสะดวกสบายและคุณภาพชีวิตที่มีมาตรฐานให้กับคนไทย สอดคล้องกับพันธกิจ “เติบโตในประเทศไทย ร่วมสนับสนุนประเทศไทย” ของหัวเว่ยที่ต้องการส่งเสริมการเติบโตอย่างยั่งยืน ผ่านการร่วมมือกับพันธมิตรในหลายภาคส่วน เพื่อผลักดันให้ประเทศไทยกลายเป็นอีกหนึ่งเมืองอัจฉริยะแห่งอนาคตในภูมิภาคอาเซียน

ดีป้า ร่วมกับ จังหวัดปราจีนบุรี แถลงผลสำเร็จการพัฒนาพื้นที่ อำเภอศรีมหาโพธิสู่การเป็นเมืองอัจฉริยะต้นแบบด้าน Smart Living ภายใต้โครงการ Si Maha Phot Smart Living Showcases ด้วยการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมดิจิทัลใน 3 ด้านสำคัญ เพื่อพัฒนาเมืองและคุณภาพชีวิต สนองตอบความต้องการของประชาชนในพื้นที่อย่างตรงจุด พร้อมปูทางสู่การเป็นเมืองอัจฉริยะน่าอยู่ของประเทศต่อไป

ผศ.ดร.ณัฐพล นิมมานพัชรินทร์ ผู้อำนวยการใหญ่ สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล หรือ ดีป้า พร้อมด้วย นางจารุณี กาวิล หัวหน้าสำนักงานจังหวัดปราจีนบุรี ร่วมแถลงผลสำเร็จโครงการพัฒนาต้นแบบเมืองอัจฉริยะน่าอยู่ Si Maha Phot Smart Living Showcases ด้วยการพัฒนาพื้นที่อำเภอศรีมหาโพธิสู่การเป็นเมืองอัจฉริยะต้นแบบด้าน Smart Living ด้วยการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมดิจิทัล

ผศ.ดร.ณัฐพล กล่าวว่า ความสำเร็จของโครงการ Si Maha Phot Smart Living Showcases เกิดจากการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในพื้นที่ เพื่อหาแนวทางการพัฒนาเมืองและคุณภาพชีวิต ก่อนนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมดิจิทัลที่มีคุณภาพและได้มาตรฐานจากดิจิทัลสตาร์ทอัพสัญชาติไทยที่ขึ้นทะเบียนกับ ดีป้า มาประยุกต์ใช้แก้ไขปัญหา (Pain Point) ของเมือง และตอบสนองความต้องการของภาคประชาชนได้อย่างตรงจุดใน 3 ด้าน ประกอบด้วย

  • ด้านความมั่นคง โดยการติดตั้งกล้องวงจรปิด (CCTV) ในพื้นที่เพิ่มเติมจำนวน 30 จุด เชื่อมโยงกับกล้องวงจรปิดชุดเดิมและระบบซอฟต์แวร์อัจฉริยะ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการติดตาม กำกับดูแล ตรวจจับความผิดปกติ ก่อนนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์และประมวลผล เพื่อยกระดับความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินให้กับประชาชนในพื้นที่ รวมถึงการบริหารงานจราจรอย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ยังมีการติดตั้งป้ายประชาสัมพันธ์อิเล็กทรอนิกส์ (LED Billboard) เพื่อประชาสัมพันธ์ข่าวสารอันเป็นประโยชน์ รวมถึงข้อมูลเมืองอัจฉริยะในด้านต่างๆ แก่ประชาชน

  • ด้านการศึกษา โดยดำเนินกิจกรรมยกระดับทักษะด้านดิจิทัล (Upskill) ให้กับบุคลากรครูจากโรงเรียนศรีมหาโพธิ และโรงเรียนมัธยมวัดใหม่กรงทอง ในพระราชูปถัมภ์ฯ กว่า 60 ราย ผ่านหลักสูตรการยกระดับทักษะดิจิทัลสำคัญแห่งศตวรรษที่ 21 และกิจกรรมแสดงผลงานการพัฒนาคุณครูต้นแบบการศึกษาแห่งยุคดิจิทัล (Si Maha Phot Education Showcases) เพื่อพัฒนาและต่อยอดศักยภาพ รวมถึงเพิ่มประสิทธิภาพการเรียนการสอนแก่บุคลากรครูในยุคดิจิทัล

  • ด้านการสาธารณสุข โดยการส่งเสริมและสนับสนุนให้บุคลากรทางการแพทย์และกลุ่มอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) จำนวน 100 ราย สามารถประยุกต์ใช้อุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลสุขภาพ (Medical Devices)  เพื่อช่วยบันทึกและตรวจสอบข้อมูลสุขภาพผู้สูงวัย รวมถึงผู้ป่วยที่มีภาวะพึ่งพิงภายใต้การดูแลของสาธารณสุขอำเภอศรีมหาโพธิกว่า 200 ราย จัดเก็บผ่านระบบ CM Square ซึ่งเป็นระบบติดตามหน่วยบริบาลผู้มีภาวะพึ่งพิง เพื่อกำหนดแผนการดูแลผู้สูงวัย และผู้ป่วยที่มีภาวะพึ่งพิงได้อย่างใกล้ชิด รวดเร็ว แม่นยำ ทั่วถึง และเต็มประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

“สำหรับการขับเคลื่อนการพัฒนาศรีมหาโพธิสู่การเป็นเมืองอัจฉริยะน่าอยู่ยังคงต้องดำเนินการในเรื่องของการกําหนดเป้าหมายร่วมกันของคนในพื้นที่เกี่ยวกับการขับเคลื่อนศรีมหาโพธิเมืองอัจฉริยะในอนาคต การออกแบบสถาปัตยกรรมของเมืองใหม่ และการจัดทํา City Data Platform ซึ่งจะเป็นส่วนสำคัญในการขยายผลจาก Smart Living ไปสู่ Smart ด้านอื่นต่อไป” ผู้อำนวยการใหญ่ ดีป้า กล่าว

ขณะที่ นางจารุณี กล่าวว่า ชาวศรีมหาโพธิทุกคนปรารถนาที่จะเห็นความเปลี่ยนแปลงเชิงบวกในพื้นที่ ซึ่งหมายถึงคุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น และพร้อมที่จะต่อยอดและสร้างเสริมศักยภาพของพื้นที่สู่การเป็นเมืองอัจฉริยะต้นแบบด้าน Smart Living ที่ยั่งยืน และหวังเป็นอย่างยิ่งว่า การมีส่วนร่วมเพื่อออกแบบพื้นที่เมืองในครั้งนี้จะสร้างแรงบันดาลใจและเป็นต้นแบบให้พื้นที่อื่น ๆ และพื้นที่ใกล้เคียงสามารถถอดบทเรียน เพื่อนำไปเป็นกลไกในการขับเคลื่อนพื้นที่ของตนเองไปสู่การเป็นเมืองอัจฉริยะด้าน Smart Living ในบริบทที่เหมาะสมกับผู้คน ชุมชน และพื้นที่ต่อไป

สำหรับปี 2566 ดีป้า มีแผนที่จะขยายผลโครงการพัฒนาพื้นที่สู่การเป็นเมืองอัจฉริยะต้นแบบด้าน Smart Living ในพื้นที่ 5 จังหวัด เพื่อเป็นแนวทางในการขับเคลื่อนการพัฒนาเมืองอัจฉริยะในประเทศไทยต่อไป

พลเอก ประวิตร เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการขับเคลื่อนการพัฒนาเมืองอัจฉริยะนัดแรก ประจำปี 2565

ดีป้า พร้อมภาคีเครือข่ายเดินหน้าพัฒนาพื้นที่อำเภอศรีมหาโพธิ จังหวัดปราจีนบุรี สู่การเป็นเมืองอัจฉริยะต้นแบบด้าน Smart Living

          เมืองอัจฉริยะ(Smart City) เป็นหนึ่งในหัวข้อที่สังคมยุคใหม่พูดถึงกันมาอย่างต่อเนื่องในช่วงเวลาการเปลี่ยนผ่านสังคมสู่สังคมดิจิทัลที่กำลังเกิดขึ้นในแวดวงต่างๆ แต่เมืองอัจฉริยะที่เกิดขึ้นแล้วบนโลกและกำลังจะเกิดขึ้นแต่ละแห่งก็มีความแตกต่างกันไป

          ในงานสัมมนา Delta Future Industry Summit ที่จัดโดยบริษัท เดลต้า อีเลคโทรนิคส์ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน)  ได้เชิญวิทยากรที่น่าสนใจมาพูดเกี่ยวกับเรื่องเมืองอัจฉริยะของไทย

พันศักดิ์ ศิริรัชตพงษ์ ผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม

            เริ่มจากฝั่งผู้กำหนดนโยบาย พันศักดิ์ ศิริรัชตพงษ์ ผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม มาให้มุมมองเรื่องเมืองอัจฉริยะว่า เป็นการต่อยอดแนวคิดจากแผนงานดิจิทัลไทยแลนด์ ที่ต้องการให้ประเทศไทยเติบโตโดยใช้เทคโนโลยีอย่างชาญฉลาด โดยรัฐบาลได้เตรียมพร้อมทางด้านสาธารณูปโภคพื้นฐานที่จะรองรับเช่น การวางสายเคเบิลใยแก้วให้ไปถึงทุกหมู่บ้านของประเทศภายในปีหน้า เพื่อให้คนทุกพื้นที่เข้าถึงอินเทอร์เน็ต สามารถใช้ประโยชน์สร้างรายได้จากอีคอมเมิร์ช เรียนรู้ความรู้จากโลกออนไลน์ รวมถึงสามารถเข้าถึงบริการของภาครัฐได้อย่างสะดวกรวดเร็ว ลดความเหลื่อมล้ำระหว่างสังคมเมืองและชนบท

          ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมารัฐบาลเริ่มสนับสนุนโครงการพัฒนาเมืองสู่เมืองอัจฉริยะไปแล้ว 7 จังหวัด ประกอบด้วย ภูเก็ต เชียงใหม่ ขอนแก่น กรุงเทพมหานคร และอีก 3 จังหวัดในอีอีซี คือชลบุรี ระยอง ฉะเชิงเทราเป็นการทดลองพัฒนาเมืองในด้านต่างตามที่ภาคประชาสังคมในพื้นที่มีความต้องการ โดยมีการตั้งคณะกรรมการขึ้นมาช่วยส่งเสริมการขับเคลื่อนนำโดยรองนายกรัฐมนตรี พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง เป็นประธาน

            ผู้ช่วยรัฐมนตรีดีอี บอกว่าปัจจุบันอัตราประชากรที่เข้ามาอยู่ในเมืองทั่วโลกอยู่ที่ประมาณ 50 เปอร์เซ็นต์และจะเพิ่มขึ้นเป็น 60-70 เปอร์เซ็นต์ภายในปี 2030 จึงเป็นเหตุให้การพัฒนาเมืองอัจฉริยะเป็นเรื่องที่ต้องให้ความสนใจ เพื่อจะช่วยให้เกิดการใช้ทรัพยากรอย่างยั่งยืน สามารถจัดการมลภาวะต่างๆ ได้ดียิ่งขึ้น

            ทั้งนี้นิยามของเมืองอัจฉริยะในประเทศไทยโดยพันศักดิ์คือ เมืองที่น่าอยู่ มีการจัดการอย่างมีประสิทธิภาพ และเป็นการพัฒนาอย่างยั่งยืน โดยเป็นการเลือกใช้เทคโนโลยีอย่างชาญฉลาด ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการ ลดค่าใช้จ่าย

            โดยปัจจัยสำคัญที่จะช่วยหนุนให้เกิดเมืองอัจฉริยะขึ้นมาได้อย่างแท้จริงนั้น ผู้ช่วยรัฐมนตรีดีอีบอกว่า คือการมีส่วนร่วมของภาคประชาสังคม ไม่ว่าจะเป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ประชาชนในพื้นที่ ที่จะมาช่วยกันระดมความคิดเห็นว่าจะเลือกทำเมืองอัจฉริยะในแง่มุมใดก่อนตามความต้องการของแต่ละพื้นที่ที่มีแตกต่างกัน

            อีกปัจจัยหนึ่งคือการมีส่วนร่วมของคนในชุมชน ซึ่งสามารถใช้เทคโนโลยีผ่านแอปพลิเคชันต่างๆ มาเป็นเครื่องมือเพื่อหากลไกเชื่อมโยง แบ่งปันข้อมูลต่างๆ เพื่อนำไปใช้งานได้จริงโดยจะต้องมีผู้ดูแลอาจจะเป็นรูปแบบธุรกิจเพื่อสังคมเพื่อให้โครงการต่างๆ มีความยั่งยืน

            โดยภาครัฐจะทำหน้าที่ส่งเสริมด้านโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ เพื่อช่วยให้การพัฒนาเมืองอัจฉริยะเป็นไปได้ โดยรัฐบาลอยากเห็นภาคเอกชนบริษัทชั้นนำในอุตสาหกรรมต่างๆ รวมถึงสตาร์ทอัพเข้าไปมีส่วนร่วมในการทำงานร่วมกันเพื่อช่วยกันขับเคลื่อนเมืองอัจฉริยะในประเทศไทย

ผศ.ดร.นพพร ลีปรีชานนท์ หัวหน้าภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้าและคอมพิวเตอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

            อีกมุมมองจากฝั่งของนักวิชาการ ผศ.ดร.นพพร ลีปรีชานนท์ หัวหน้าภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้าและคอมพิวเตอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มาให้ความเห็นเกี่ยวกับเมืองอัจฉริยะว่ามีองค์ประกอบสำคัญการเชื่อมโยงข้อมูลระหว่างภาครัฐและประชาชนผ่านฮาร์ดแวร์และซอฟท์แวร์ที่มาช่วยแก้ปัญหา

            โดยปัจจัยที่ช่วยกระตุ้นให้เกิดเมืองอัจฉริยะประกอบด้วยการที่ประชากรย้ายเข้าสู่เมืองเพิ่มขึ้น การมองหาความโปร่งใสในกิจกรรมต่างๆ เพิ่มขึ้น การที่มีเทคโนโลยีที่สามารถเชื่อมโยงและจัดการข้อมูลจำนวนมาก ทิศทางของสังคมและปัญหาเรื่องสภาวะแวดล้อม

            ทั้งนี้เมืองอัจฉริยะจะมาช่วยแก้ปัญหาต่างๆ เช่นลดการใช้พลังงาน ลดปัญหาการจราจร ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการรักษาความปลอดภัยให้กับชุมชนในเมือง ผ่านกริดในด้านต่างๆ ที่เชื่อมโยงกัน ไม่ว่าจะเป็นด้านการควบคุมพลังงาน การจราจร การจัดการคุณภาพอากาศและน้ำ จัดการที่จอดรถ สถานีชาร์จรถไฟฟ้า ซึ่งเหล่านี้เป็นโครงสร้างพื้นฐานที่รัฐจัดการเป็นส่วนใหญ่ โดยอาจจะมีภาคเอกชนเข้าไปร่วมด้วยในบางกิจกรรม

            ผศ.ดร.นพพรมองว่า สิ่งสำคัญคือการเชื่อมโยงกันระหว่างของข้อมูลระบบโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ กับประชาชน โดยการจะเปลี่ยนเมืองสู่เมืองอัจฉริยะในด้านใดขึ้นกับการจัดลำดับความสำคัญของแต่ละชุมชนที่จะเลือกประเด็นที่ต้องการพัฒนาเมืองในด้านต่างๆ จากนั้นจึงมองหาพาร์ตเนอร์ที่เข้ากับเป้าหมายที่วางเอาไว้ โดยต้องคำนึงถึง ความคุ้มค่าและยั่งยืนที่จะเกิดขึ้น ด้วยการบริหารจัดการข้อมูลที่เชื่อมโยงสังคม สภาพแวดล้อมและเศรษฐกิจที่ต้องคำนึงถึงในการกำหนดแผน

            โดยสรุปแล้วไม่ว่าจะเลือกพัฒนาเมืองสู่เมืองอัจฉริยะในด้านใดทั้งผู้ช่วยรัฐมนตรีและนักวิชาการมองไปในทิศทางเดียวกันว่า หัวใจสำคัญของการพัฒนาเมืองอัจฉริยะคือ การมีส่วนร่วมของทั้งภาครัฐและประชาชนซึ่งเป็นเรื่องสำคัญที่จะช่วยหนุนให้โครงการต่างๆ เดินหน้าไปได้อย่างยั่งยืน โดยอาศัยเทคโนโลยีต่างๆ เป็นตัวช่วย

เซีย เชน เยน ประธานบริหาร บริษัท เดลต้า อีเลคโทรนิคส์ (ประเทศไทย)

            บริษัท เดลต้า อีเลคโทรนิคส์ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) จัดงานสัมมนา Delta Future Industry Summit ประจำปี 2561 ขึ้นเป็นครั้งแรกในประเทศไทยโดยเซีย เชน เยน ประธานบริหาร บริษัท เดลต้า อีเลคโทรนิคส์ (ประเทศไทย) บอกว่าต้องการจะให้เป็นงานที่แลกเปลี่ยนความรู้แนวคิดใหม่ๆ ให้กับสังคมไทยโดยมีผู้เชี่ยวชาญด้านต่างๆ มาร่วมพูดคุย และเป็นการสร้างเครือข่ายให้กับผู้ที่เกี่ยวข้องในวงการต่างๆ โดยจะจัดกิจกรรมเช่นนี้ต่อเนื่องในทุกปี

X

Right Click

No right click