January 21, 2025

อ้ก ดิจิทัล ผู้ให้บริการธุรกิจด้านวิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่ ให้บริการสื่อโฆษณาครบวงจรและการให้คำปรึกษาด้านการตลาดดิจิทัลสัญชาติไทย ใช้พลังการผสานการทำงานระหว่าง AI, ML, อินไซท์เชิงลึก, สื่อ O4 (Online, OOH, On-Premise, On-Ground) และมาร์เทคโซลูชัน โชว์ศักยภาพนักสร้างสรรค์กลยุทธ์การสื่อสารและโฆษณาสุดเจ๋ง พาแบรนด์ลูกค้ากวาด 5 รางวัลใหญ่ จากเวทีระดับนานาชาติ Marketing Excellence Awards 2024 Thailand จัดโดยนิตยสาร MARKETING-INTERACTIVE ประเทศสิงคโปร์

โดยเอ้ก ดิจิทัลคว้ารางวัลระดับ Gold 1 รางวัล ระดับ Silver 1 รางวัล และระดับ Bronze 3 รางวัล ตอกย้ำความสำเร็จในฐานะพาร์ทเนอร์ด้านโฆษณาและการตลาดดิจิทัลที่มีศักยภาพแข็งแกร่งได้อีกครั้ง การันตีด้วยผลงานคุณภาพที่กวาดรางวัลทั้งเวทีการตลาดในประเทศไทยและระดับภูมิภาคมากมาย

เอ้ก ดิจิทัล ขยายธุรกิจสู่ที่ปรึกษาด้านวิเคราะห์ข้อมูล การทำตลาดดิจิทัล สื่อในห้างค้าปลีก และการวางแผนโฆษณาครบวงจรเมื่อปี 2022 และด้วยจุดแข็งของการผสานพลังความเชี่ยวชาญ (The Power of Collaboration) ด้าน AI, First-Party Data & Second-Party Data 360/720 องศา และพลังสมองของผู้เชี่ยวชาญนิวเจน ทั้งทีมกลยุทธ์, ทีมนักวิทยาศาสตร์ข้อมูล, ทีมดูแลลูกค้า และทีมปฏิบัติการ ทำให้สร้างสรรค์แคมเปญโฆษณาและการตลาดที่ตอบโจทย์ลูกค้า โดนใจผู้บริโภค และสอดคล้องกับสื่อยุคใหม่จนกวาดรางวัลจากเวทีระดับประเทศและนานาชาติมามากมาย ล่าสุด ธุรกิจ Media Convergence และธุรกิจ MarTech Solution พาแคมเปญของลูกค้าคว้า 5 รางวัลใหญ่เวที Marketing Excellence Awards 2024 Thailand จากผลงานเข้ารอบชิงชนะเลิศทั้งหมด 13 รางวัลใน 9 สาขา ถือเป็นเครื่องการันตีความสำเร็จและศักยภาพของเอ้ก ดิจิทัลเป็นอย่างดี

 

นายชัชพล องนิธิวัฒน์ ผู้จัดการทั่วไป ธุรกิจ Media Convergence บริษัท เอ้ก ดิจิทัล จำกัด กล่าวว่า “ด้วยการทำงานแบบเพื่อนคู่คิดกับคู่ค้า ประสบการณ์ความเชี่ยวชาญของทีมงานและความครบเครื่องของแพลตฟอร์ม MediaFusion ที่ดูแลครบวงจรตั้งแต่การวิเคราะห์พฤติกรรมผู้บริโภค จับเทรนด์อินไซท์เชิงลึกของกลุ่มเป้าหมายพร้อมชี้โอกาสสำคัญต่อยอดขายให้กับแบรนด์แบบวัดผลได้ ทำให้เราคว้ารางวัลระดับ Gold สาขา “Excellence in Omnichannel” ได้เป็นปีที่ 2 ติดต่อกัน ระดับ Silver สาขา “Excellence in Personalisation Marketing’ ระดับ Bronze สาขา ‘Excellence in Launch Marketing’ และสาขา ‘Excellence in Omnichannel’ เป็นเครื่องพิสูจน์ว่า เอ้ก ดิจิทัล สามารถวิเคราะห์ สร้างกลยุทธ์และวางแผนปฎิบัติการพร้อมแนะนำส่วนผสมในการเลือกกลุ่มเป้าหมาย โลเคชันและการใช้สื่อ O4 ได้อย่างสร้างสรรค์ แม่นยำและมีประสิทธิภาพทั้งสื่อ Online Personalization, OOH Shoppers’ Digital Screen, On-Premise Retail media, On-Ground Activation”

 

นางสาวรัฐธีร์ เจริญรัตน์วรกุล ผู้จัดการทั่วไป ธุรกิจ MarTech Solution บริษัท เอ้ก ดิจิทัล จำกัด กล่าวว่า “ทางธุรกิจ มุ่งเน้นการขับเคลื่อนด้วยข้อมูลและเทคโนโลยี AI/ML พร้อมกับนำเสนอโซลูชันการตลาดดิจิทัลที่ครบวงจรผ่านแพลตฟอร์มเดียว (One Platform) ที่เชื่อมต่อข้อมูลกลุ่มเป้าหมายจากหลายแหล่งเข้าสู่ระบบเดียวกัน ทำให้สามารถวิเคราะห์และเข้าใจพฤติกรรมของกลุ่มเป้าหมายได้อย่างลึกซึ้ง สร้างโอกาสทางธุรกิจด้วยข้อมูลที่มีความแม่นยำสูง โดยนำเสนอประสบการณ์เฉพาะเจาะจงและตรงความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย ซึ่งช่วยให้การเพิ่มยอดขายเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งยังสามารถ

ขยายฐานข้อมูลผ่านพันธมิตรและคู่ค้าต่างๆ ปัจจุบันเรามีโซลูชันทางการตลาดที่ครอบคลุม ทั้งระบบบริหารความสัมพันธ์ลูกค้า (Advanced CRM), บริการวิเคราะห์ข้อมูล (Analytic Service), ระบบอัตโนมัติสำหรับการตลาด (Marketing Automation), การสื่อสารเชิงสร้างสรรค์แบบปรับเปลี่ยนได้ (Adaptive Creative Communication) และเทคโนโลยีโฆษณา (Advertising Tech) ซึ่งการสร้างกลยุทธ์การตลาดด้วยการใช้ข้อมูลให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดและสามารถวัดผลลัพธ์ได้อย่างเป็นรูปธรรม ด้วยจุดแข็งเหล่านี้ทำให้เราคว้ารางวัลระดับ Bronze สาขา ‘Excellence in Loyalty Marketing’ มาได้สำเร็จ”

ในปีนี้ Marketing Excellence Awards 2024 Thailand จัดประกวดถึง 43 หมวด มีผลงานร่วมประกวดกว่า 402 แคมเปญ โดยตัวอย่างผลงานโดดเด่นของเอ้ก ดิจิทัลที่ได้รับรางวัลในปีนี้ ได้แก่

· แคมเปญ The Extreme Lime Experience แบรนด์ Coke Zero Lime คว้ามาได้ 2 รางวัล รางวัลระดับ Gold สาขา Excellence in Omnichannel และระดับ Bronze สาขา Excellence in Launch Marketing ด้วยการใช้ AI วิเคราะห์และแบ่งกลุ่มเป้าหมายที่สอดคล้องกับพฤติกรรมการดื่มเครื่องดื่มไม่มีน้ำตาล ซึ่งแบ่งออกเป็น 1) กลุ่มมิลเลเนียล 2) กลุ่มคนรักสุขภาพ 3) กลุ่มคนที่ดื่มเป็นครั้งคราวและเพื่อสังคม วางกลยุทธ์การสื่อสารผ่าน Omnichannel Media ที่ประสานการทำงานของสื่อ O2O ได้แก่ สื่อ Online และสื่อ Out-of-Home หรือ Shoppers’ Digital Screen รวมถึงเสนอแนวทางสร้างประสบการณ์ตรงกับผู้บริโภคที่หน้าร้าน โดยใช้สื่อที่หลากหลายเพื่อกระตุ้นให้เกิดการซื้อ ซึ่งกลยุทธ์นี้ช่วยเพิ่มยอดขายให้กลุ่มโค้กสูตรไม่มีน้ำตาลได้ถึง 55% เมื่อเทียบกับช่วงก่อนแคมเปญ รวมถึงสามารถเพิ่มลูกค้าใหม่ในช่วงแคมเปญนี้ได้ถึง 49% ของฐานผู้ซื้อทั้งหมด

· แคมเปญ The Lucky Draw แบรนด์ Dreamy คว้ารางวัลระดับ Bronze สาขา Excellence in Loyalty Marketing ด้วยการยกระดับ CRM Platform ให้ขับเคลื่อนด้วยข้อมูล โดยใช้ AI และ Data Analysis มาช่วยรวบรวมข้อมูลและวิเคราะห์พฤติกรรมลูกค้าและร้านค้าเป้าหมาย โดยพัฒนาฟังก์ชันบนแพลตฟอร์มให้ครอบคลุมการสร้างประสบการณ์ที่หลากหลาย ทั้งรายละเอียดเมนู, ดีลพิเศษสำหรับร้านค้า, Loyalty Platform, ระบบสะสมและใช้คะแนน และสิทธิพิเศษต่างๆ นอกจากนี้ได้สร้างสรรค์แคมเปญ Lucky Draw 'ล่าภาพลุ้นทอง' ซื้อผลิตภัณฑ์ Dreamy ลุ้นรับทองง่ายๆ โดยตลอดแคมเปญระบบ CRM มีผู้ลงทะเบียนใหม่เพิ่มขึ้น 930.70% และในช่วงแคมเปญยังเพิ่มยอดขายผลิตภัณฑ์ได้ถึง 56.62%

พลังของการผสานจุดแข็งรอบด้านทำให้เอ้ก ดิจิทัลได้รับความไว้วางใจจากลูกค้ามาอย่างต่อเนื่อง ปัจจุบันมีฐานลูกค้าในหลากหลายอุตสาหกรรมรวมกว่า 400 แบรนด์ ซึ่งเอ้ก ดิจิทัล พร้อมที่จะเป็นพาร์ทเนอร์สำหรับองค์กรธุรกิจทุกขนาด เพื่อช่วยทุกธุรกิจปลดล็อกศักยภาพด้านการตลาด การสื่อสาร และการใช้สื่อในยุคดิจทัล พร้อมขับเคลื่อนธุรกิจให้เติบโตอย่างก้าวกระโดดไปพร้อมกัน

การ์ทเนอร์คาดการณ์ว่าในอีกสามปี (พ.ศ. 2570) 40% ของโซลูชัน Generative AI จะทำงานในแบบมัลติโหมดที่จะสามารถประมวลผล ทำความเข้าใจและทำงานร่วมกับข้อมูลได้มากกว่าหนึ่งประเภท (อาทิ ข้อความ, รูปภาพ, เสียง และวิดีโอ) ซึ่งเพิ่มขึ้นจาก 1% ในปี 2566 โดยการเปลี่ยนแปลงนี้ทำให้ Human-AI มีปฏิสัมพันธ์ที่พัฒนายิ่งขึ้น และยังมอบโอกาสที่จะสร้างความต่างให้กับสิ่งที่ GenAI มีให้

เอริค เบรทเดอนิวซ์ รองประธานฝ่ายวิจัยการ์ทเนอร์ กล่าวว่า “เนื่องจากตลาด GenAI วิวัฒน์ไปสู่โมเดลที่เกิดและพัฒนาด้วยโหมดต่าง ๆ มากกว่าหนึ่งโหมด สิ่งนี้ช่วยสะท้อนภาพความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูลที่ส่งออกมาในปริมาณมากและเพิ่มขึ้นต่อเนื่องที่แตกต่างกัน และมีศักยภาพในการปรับขนาดการใช้และเพิ่มประโยชน์ของ GenAI ให้ครอบคลุมประเภทข้อมูลและแอปพลิเคชันทั้งหมด นอกจากนี้ยังช่วยให้ AI สนับสนุนการทำงานของมนุษย์ได้มากขึ้นโดยไม่คำนึงถึงสภาพแวดล้อม”

Multimodal GenAI เป็นหนึ่งในสองเทคโนโลยีที่ได้รับการระบุไว้ในรายงาน Gartner Hype Cycle for Generative AI ปีนี้ โดยการนำมาใช้ช่วงแรกอาจสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันที่สำคัญและเพิ่มประสิทธิภาพในด้านระยะเวลาในการนำออกสู่ตลาด ควบคู่ไปกับโมเดลภาษาโอเพนซอร์สขนาดใหญ่ (LLM) ทำให้เทคโนโลยีทั้งสองมีศักยภาพที่จะสร้างผลกระทบสูงต่อองค์กรอย่างสูงภายในห้าปีข้างหน้านี้  บรรดานวัตกรรม GenAI ที่การ์ทเนอร์คาดว่าจะได้รับการยอมรับแพร่หลายภายใน 10 ปีนั้น มีเทคโนโลยี 2 ประเภทที่ได้รับการระบุว่ามีศักยภาพสูงสุด ได้แก่ Domain-Specific GenAI Models และ Autonomous Agents

อรุณ จันทรเศกการัน รองประธานฝ่ายวิจัยของการ์ทเนอร์ กล่าวว่า “การวิเคราะห์แนวโน้มระบบนิเวศของ GenAI ยังคงเป็นเรื่องยากสำหรับองค์กร เนื่องจากระบบนิเวศของเทคโนโลยีนี้และผู้ผลิตหรือผู้ให้บริการเทคโนโลยีนั้นมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว โดย GenAI กำลังอยู่ในช่วงขาลงเมื่ออุตสาหกรรมเริ่มรวมตัวเข้าด้วยกัน ทว่าประโยชน์ที่แท้จริงจะเกิดขึ้นเมื่อกระแสนี้ลดลง และตามมาด้วยขีดความสามารถที่ก้าวหน้าขึ้นจะเกิดขึ้นรวดเร็วไปอีกมากในอีกไม่กี่ปีข้างหน้านี้”

 

Multimodal GenAI

Multimodal GenAI จะมีผลกระทบต่อแอปพลิเคชันองค์กรอย่างมาก จากการเพิ่มคุณสมบัติและฟังก์ชันใหม่ ๆ ที่วิธีอื่น ๆ ทำไม่ได้ และผลกระทบนั้นไม่ได้จำกัดอยู่แค่เฉพาะอุตสาหกรรมหรือยูสเคสการใช้งานเฉพาะเท่านั้น แต่ยังสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในทุก Touchpoint ระหว่าง AI กับมนุษย์ ปัจจุบัน Multimodal Model หลาย ๆ ตัวยังมีข้อจำกัดอยู่เพียงสองหรือสามโหมดเท่านั้น แต่อีกไม่กี่ปีข้างหน้าจะเพิ่มขึ้นเพื่อให้ครอบคลุมมากขึ้น

“ในโลกความเป็นจริง ผู้คนจะพบเจอและเข้าใจข้อมูลผ่านการประมวลผลที่เป็นการผสมผสานของข้อมูลหลากหลายประเภท อาทิ เสียง ภาพและการสัมผัส โดย Multimodal GenAI นั้นมีความสำคัญอย่างยิ่ง เนื่องจากข้อมูลโดยทั่วไปนั้นจะประกอบด้วยประเภทต่าง ๆ อยู่แล้ว เมื่อนำ Single Modality Models มาประกอบเข้าด้วยกันเพื่อรองรับแอปพลิเคชัน Multimodal GenAI มักส่งผลให้เกิดความล่าช้าและลดความแม่นยำของผลลัพธ์ ส่งผลให้ได้รับประสบการณ์ที่มีคุณภาพต่ำ” เบรทเดอนิวซ์ กล่าวเพิ่ม

Open-Source LLMs LLM แบบโอเพ่นซอร์สเป็นโมเดลพื้นฐานการเรียนรู้เชิงลึกที่เร่งมูลค่าองค์กรจากการนำ GenAI ไปปรับใช้งาน โดยทำให้การเข้าถึงเชิงพาณิชย์ได้อย่างเสรีและอนุญาตให้ผู้พัฒนาปรับแต่งโมเดลให้เหมาะกับงานและยูสเคสการใช้งานเฉพาะ นอกจากนี้ ยังสามารถเข้าถึงชุมชนนักพัฒนาในองค์กร สถาบันการศึกษา และบทบาทการวิจัยอื่น ๆ ที่กำลังทำงานเพื่อเป้าหมายร่วมกันปรับปรุงและทำให้โมเดลนี้มีคุณค่ามากขึ้น

“LLM แบบโอเพ่นซอร์สเพิ่มศักยภาพด้านนวัตกรรมผ่านการปรับแต่งอย่างเหมาะสม ทำให้การควบคุมความเป็นส่วนตัวและความปลอดภัยดีขึ้น โมเดลมีความโปร่งใส มีความสามารถเพิ่มจากการพัฒนาร่วมกัน และมีศักยภาพในการลดการผูกขาดของผู้ขาย ท้ายที่สุดแล้ว LLM นำเสนอโมเดลขนาดเล็กกว่าให้กับองค์กร ซึ่งฝึกฝนได้ง่ายและมีค่าใช้จ่ายน้อยกว่า และเปิดใช้งานแอปพลิเคชันทางธุรกิจและกระบวนการทางธุรกิจหลัก” จันทราเสการัน กล่าวเพิ่ม

 

Domain-Specific GenAI Models

Domain-Specific GenAI Models ได้รับการพัฒนาเพื่อตอบสนองต่อความต้องการของอุตสาหกรรม ฟังก์ชันทางธุรกิจ หรือภารกิจที่มีความเฉพาะ โดยโมเดลเหล่านี้สามารถเพิ่มประสิทธิภาพของการจัดวางยูสเคสการใช้งานภายในองค์กรได้ พร้อมมอบความแม่นยำ ความปลอดภัย และความเป็นส่วนตัวที่ดีกว่า รวมถึงคำตอบที่เข้าใจบริบท ซึ่งช่วยลดความจำเป็นในการออกแบบข้อความที่ใช้สื่อสารกับโมเดล AI เทียบกับโมเดล AI ที่พัฒนามาเพื่อวัตถุประสงค์ทั่วไป และยังสามารถลดความเสี่ยงจากกรณีที่ AI อาจสร้างภาพหลอนขึ้นมาเอง (Hallucination Risks) จากการฝึกฝนที่เน้นการกำหนดเป้าหมาย

“Domain-specific models สามารถร่นระยะเวลาส่งมอบบริการตามความต้องการ (Time to Value) ประสิทธิภาพเพิ่มขึ้นและมีความปลอดภัยสูงขึ้นสำหรับโครงการ AI ต่าง ๆ โดยการนำเสนอจุด Start ที่ก้าวล้ำกว่าสำหรับงานอุตสาหกรรมเฉพาะ สิ่งนี้จะส่งเสริมการนำ GenAI มาใช้อย่างแพร่หลายมากขึ้น เนื่องจากองค์กรต่าง ๆ จะสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในยูสเคสที่ General-Purpose Models ไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอ” จันทราเสการัน กล่าวเพิ่ม

Autonomous Agents

Autonomous Agents คือ ระบบรวม (Combined Systems) ที่สามารถบรรลุเป้าหมายที่กำหนดไว้ได้โดยปราศจากมนุษย์ โดยใช้เทคนิค AI ที่หลากหลายในการระบุรูปแบบของสภาพแวดล้อม การตัดสินใจ การจัดลำดับการดำเนินการและสร้างผลลัพธ์ โดยตัวแทนเหล่านี้มีศักยภาพเรียนรู้จากสภาพแวดล้อมและปรับปรุงตลอดเวลา ทำให้สามารถจัดการงานที่ซับซ้อนได้

“Autonomous Agents เป็นการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญของความสามารถ AI โดยความสามารถดำเนินการและตัดสินใจได้อย่างอิสระช่วยปรับปรุงการดำเนินธุรกิจ สร้างประสบการณ์ที่ดีให้กับลูกค้า และใช้ในการเปิดตัวผลิตภัณฑ์และบริการใหม่ ๆ ส่งผลให้ประหยัดต้นทุนและมีความได้เปรียบทางการแข่งขัน นอกจากนี้ยังเปลี่ยนบทบาทของทีมงานในองค์กรจากการส่งมอบ (Delivery) เป็นการควบคุมดูแล (Supervision) แทน”

ทรูบิสิเนส ผู้ให้บริการสื่อสารและดิจิทัลโซลูชันครบวงจรสำหรับลูกค้าธุรกิจชั้นนำ ร่วมกับ อินเทล ผู้นำด้านเทคโนโลยี  ทรานสฟอร์มอุตสาหกรรมสาธารณสุขไทยสู่ดิจิทัลเต็มรูปแบบ ดึงพลังเครือข่ายทรู 5G ผสานเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์สุดล้ำของอินเทล เปิดตัว 7 โซลูชันด้านการดูแลสุขภาพอัจฉริยะ (Smart Healthcare) ครอบคลุมทั้งการวินิจฉัยและรักษา ฟื้นฟูดูแล และการจัดการข้อมูลทางการแพทย์ในโรงพยาบาลและสถานพยาบาลในประเทศไทย พลิกโฉมบริการสาธารณสุขไทยยุคใหม่ เพิ่มประสิทธิภาพและความคุ้มค่า ทั้งยังส่งเสริมความสามารถในการแข่งขันของประเทศ ก้าวสู่ศูนย์กลางทางการแพทย์ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ควบคู่กับการยกระดับคุณภาพชีวิตและสุขภาพที่ดีอย่างยั่งยืนของคนไทย

ความร่วมมือในครั้งนี้ นำไปสู่การพัฒนาโซลูชันด้านสุขภาพที่ใช้เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ในการประมวลผลบนอุปกรณ์ปลายทางผ่านโซลูชันซอฟต์แวร์ของอินเทล เช่น OpenVino ซึ่งช่วยย่นระยะเวลาทั้งในการวินิจฉัยและการรักษา อาทิ โซลูชันสำหรับเพิ่มประสิทธิภาพการดูแลผู้ป่วยและความปลอดภัยด้วยอุปกรณ์ไร้การสัมผัส (Digital Patient Twin - Patient-Management-as-a-Service) ที่เพิ่มขีดความสามารถให้บุคลากรทางการแพทย์สามารถดูแลและเฝ้าระวังผู้ป่วยได้อย่างต่อเนื่องและปลอดภัย โดยใช้เทคโนโลยี 5G และการประมวลผลบนอุปกรณ์ปลายทางอันทรงพลังด้วย Intel Edge AI บน Intel Core Ultra ซึ่งนับได้ว่าเป็นหนึ่งในการผลักดันของ Intel เพื่อการนำ AI ไปใช้อย่างแพร่หลาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งผ่านหลากหลายผลิตภัณฑ์และแพลตฟอร์มของอินเทลที่ออกแบบมาเพื่อการนำ AI ไปใช้ด้วยความปลอดภัยและยั่งยืน ตลอดจนสามารถขยายขอบเขตและทำงานร่วมกันได้ เพื่อช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้คน

โซลูชันด้านการดูแลสุขภาพอัจฉริยะเหล่านี้ ทำงานได้เต็มประสิทธิภาพบนเครือข่ายทรู 5G ที่รองรับการรับ-ส่งข้อมูล ควบคุมและสั่งการได้แบบเรียลไทม์ จึงเอื้อต่อการพัฒนาระบบอัตโนมัติต่างๆ ในการดูแลผู้ป่วย ช่วยลดต้นทุนทั้งอุปกรณ์ทางการแพทย์และขั้นตอนการรักษา รวมถึงแบ่งเบาภาระของบุคลากรทางการแพทย์ ยิ่งไปกว่านั้น โซลูชัน Smart Healthcare ยังมีการบันทึกข้อมูลการรักษาในระบบดิจิทัล เพื่อให้ AI นำไปวิเคราะห์เชิงลึก และทำงานร่วมกับการวินิจฉัยของแพทย์และผู้เชี่ยวชาญ ช่วยเพิ่มศักยภาพในการดูแลรักษาผู้ป่วยได้อย่างรวดเร็วและแม่นยำ รวมถึงการรักษาอาการที่ซับซ้อนและเฉียบพลันมีประสิทธิภาพมากขึ้นและได้ผลลัพธ์ดีขึ้น

นายพิชิต ธันโยดม หัวหน้าคณะผู้บริหารด้านกลุ่มธุรกิจองค์กร บมจ. ทรู คอร์ปอเรชั่น กล่าวว่า “ทรูบิสิเนส เร่งพัฒนานวัตกรรมบริการ ควบคู่กับการนำ AI มาปรับใช้เพื่อเพิ่มศักยภาพขององค์กร โดยการร่วมมือกับผู้นำระดับโลกอย่าง อินเทล ในครั้งนี้ เรามุ่งพัฒนาโซลูชันที่จับต้องได้และใช้งานได้จริง เพื่อสนับสนุนองค์กรธุรกิจไทยเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัล เติมเต็มวิสัยทัศน์ของทรู คอร์ปอเรชั่น ผู้นำโทรคมนาคม-เทคโนโลยี ที่จะเป็นมากกว่าผู้ให้บริการเครือข่าย”

ความร่วมมือในครั้งนี้ มุ่งเน้นการผสมผสานและขับเคลื่อนการทำงานของโซลูชันอัจฉริยะด้านการดูแลสุขภาพที่ครอบคลุมทั้งการวินิจฉัยรักษา การฟื้นฟูดูแล และการจัดการข้อมูลทางการแพทย์ เพื่อยกระดับอุตสาหกรรมการแพทย์และสาธารณสุขของไทยให้ก้าวล้ำไปอีกขั้น อีกทั้งยังช่วยสนับสนุนการทำงานของแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ในโรงพยาบาลต่างๆ ทั่วประเทศ ให้สามารถส่งมอบบริการทางการแพทย์ที่มีคุณภาพ แม่นยำ และรวดเร็วมากยิ่งขึ้น ขณะเดียวกันผู้ป่วยในทุกพื้นที่ทั่วประเทศสามารถเข้าถึงบริการสาธารณสุขได้อย่างทั่วถึง ตลอดจนได้รับประสบการณ์และผลลัพธ์ในการรักษาที่ดียิ่งขึ้น เพื่อคุณภาพชีวิตและสุขภาพที่ดีขึ้นแบบยั่งยืนของคนไทย นอกจากนี้ ทรูบิสิเนส และ อินเทล ยังมุ่งส่งเสริมการค้นคว้าทางวิทยาศาสตร์และเพิ่มประสิทธิผลของบริการด้านการดูแลสุขภาพบนพื้นฐานของการใช้ AI อย่างมีจริยธรรม ปลอดภัย และโปร่งใส

โซลูชันอัจฉริยะด้านการวินิจฉัยและรักษา

· Telemedicine and Tele ICU บริการการแพทย์ทางไกลผ่านเครือข่ายทรู 5G ที่เชื่อมโยงชุดอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่ติดตั้งในท้องถิ่นต่างๆ กับระบบหลักของโรงพยาบาล โดยมีแพลตฟอร์มจัดเก็บข้อมูลและประวัติของผู้ป่วย บันทึกทุกการดำเนินการทางการแพทย์ เช่น การวินิจฉัยและรักษา การนัดพบแพทย์ การผ่าตัด พร้อมแสดงข้อมูลผ่านแดชบอร์ดเพื่อให้แพทย์สามารถให้คำปรึกษาและรักษาผู้ป่วยได้แบบเรียลไทม์จากระยะไกล ช่วยเพิ่มโอกาสการเข้าถึงบริการทางการแพทย์ของผู้ที่อยู่ในพื้นที่ห่างไกลทั่วประเทศ ดูแลสุขภาพได้อย่างต่อเนื่อง ลดความจำเป็นในการเดินทางไปโรงพยาบาล

· Future of Large Language Model (LLM) แพลตฟอร์มสำหรับตรวจสอบประวัติผู้ป่วยและวิเคราะห์อาการเบื้องต้น โดยผู้ป่วยสามารถกรอกข้อมูลส่วนบุคคลและอาการเจ็บป่วย ระบบ AI จะช่วยวิเคราะห์อาการร่วมกับข้อมูลทางการแพทย์ที่ทันสมัยล่าสุด พร้อมให้ข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับสาเหตุและแนวทางการรักษาโรคหรือปัญหาสุขภาพ รวมถึงขั้นตอนถัดไปในการรักษา ช่วยให้ผู้ป่วยได้รับการรักษาที่รวดเร็วมากขึ้น ลดขั้นตอนและเวลาในการพบแพทย์ อีกทั้งยังช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานของแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ด้วย

· Pathology as a Service แพลตฟอร์มที่ใช้เทคโนโลยีสแกนชิ้นเนื้อเพื่อแปลงภาพพยาธิวิทยาเป็นดิจิทัล ซึ่ง AI สามารถวิเคราะห์ได้อย่างรวดเร็ว ช่วยให้กระบวนการทดสอบตัวอย่างชิ้นเนื้อและเลือดมีความรวดเร็วมากขึ้น จึงช่วยให้นักพยาธิวิทยาทำงานได้เร็วขึ้น เพิ่มทั้งประสิทธิภาพและความแม่นยำในการวินิจฉัย การตรวจพบโรคตั้งแต่ระยะแรกจึงทำได้ง่ายขึ้น ทำให้ผู้ป่วยสามารถเข้าถึงการรักษาได้ทันท่วงที เช่น การพยาธิวิทยาดิจิทัลที่ขับเคลื่อนด้วย AI สามารถตรวจพบมะเร็งได้ภายในไม่กี่นาที ซึ่งกระบวนการแบบดั้งเดิมอาจใช้เวลาหลายสัปดาห์ โดยเทคโนโลยีการจัดเก็บข้อมูลบนคลาวด์และระบบเครือข่ายที่ปลอดภัยของทรู คอร์ปอเรชั่น ช่วยให้สถานพยาบาลต่างๆ ทั่วประเทศไทยสามารถนำบริการพยาธิวิทยา (Pathology-as-a-Service) ในระบบดิจิทัลไปใช้ได้อย่างราบรื่น ช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการวินิจฉัย ขณะเดียวกันยังช่วยลดค่าใช้จ่ายต่อการตรวจพบโรค

· Ophthalmology as a Service แพลตฟอร์มที่ให้บริการสำหรับการวิเคราะห์และคัดกรองจักษุวิทยา เช่น จอประสาทตาเสื่อมจากอายุและเบาหวาน โดยใช้กล้องเรตินาที่ขับเคลื่อนด้วย AI และคอมพิวเตอร์วินิจฉัยแบบอัตโนมัติ ใช้เวลาไม่ถึงหนึ่งนาทีในกระบวนการตรวจวิเคราะห์อย่างแม่นยำ โดยไม่ต้องใช้ยาหยอดขยายม่านตาที่ทำให้รู้สึกไม่สบายตา โดยชุดผลิตภัณฑ์ที่รองรับ AI ของอินเทล ช่วยเพิ่มความสามารถในการตรวจพบโรค เช่น เบาหวานขึ้นตา ความหนาแน่นของกระดูกในโรคกระดูกพรุน และพยาธิวิทยาสำหรับมะเร็งเต้านมและมะเร็งไต

โซลูชันอัจฉริยะด้านการฟื้นฟูดูแล

· Digital Patient Twin (Patient Management as a Service - PMaaS) – โซลูชันสำหรับเพิ่มประสิทธิภาพการดูแลผู้ป่วยและความปลอดภัยด้วยอุปกรณ์ไร้การสัมผัส โดยข้อมูลต่างๆ ของผู้ป่วย ไม่ว่าจะเป็น อุณหภูมิร่างกาย อัตราการเต้นของหัวใจ อัตราการหายใจ คุณภาพการนอนหลับ และตำแหน่งของผู้ป่วยบนเตียง จะถูกส่งไปยังอุปกรณ์เซ็นเซอร์ที่ถูกติดตั้งอยู่บนเพดานห้องพักระดับเหนือเตียงผู้ป่วย พร้อมเชื่อมโยงไปยังศูนย์กลางเพื่อรวบรวมและแจ้งเตือนเมื่อพบความผิดปกติ จึงช่วยให้สามารถดูแลและเฝ้าระวังผู้ป่วยได้อย่างใกล้ชิด รวดเร็ว ปลอดภัย และมีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยไม่จำเป็นต้องรบกวนการพักผ่อนของผู้ป่วยในการตรวจวัดค่าต่างๆ เป็นประจำ

· Residential Care Management แพลตฟอร์มสำหรับดูแลผู้สูงอายุ ช่วยให้ผู้สูงอายุหรือผู้ป่วยได้รับการดูแลจากบุคลากรทางการแพทย์อย่างใกล้ชิดและต่อเนื่อง ด้วยอุปกรณ์ Edge IoT และเซ็นเซอร์ที่ติดตั้งบนรถเข็น โทรศัพท์เคลื่อนที่หรือแท็บเล็ต บันทึกข้อมูลในรูปแบบดิจิทัล ส่งผ่านเครือข่ายทรู 5G แบบเรียลไทม์ เพื่อรวบรวมบนแพลตฟอร์มที่ใช้เทคโนโลยี AI ในการวิเคราะห์เพื่อทำความเข้าใจพฤติกรรมและความเสี่ยงด้านสุขภาพ เชื่อมโยงกับระบบของโรงพยาบาล และสามารถแจ้งเตือนทันทีเมื่อพบความเสี่ยงหรือสิ่งผิดปกติ

 

โซลูชันอัจฉริยะด้านการจัดการข้อมูลทางการแพทย์

· Transforming of PACS (Picture Archiving and Communication System) โซลูชันที่จะพลิกโฉมระบบจัดเก็บรูปภาพทางการแพทย์ (Medical Images) หรือภาพถ่ายทางรังสี ผ่านแพลตฟอร์ม AI และประยุกต์ใช้ AI ได้ทุกที่ แม้ในพื้นที่ห่างไกล โดยเชื่อมต่อกับแพลตฟอร์มระบบคลาวด์ได้ทุกรูปแบบ ลดข้อจำกัดและความยุ่งยากเรื่องโครงสร้างพื้นฐานด้านไอทีที่ซับซ้อน

พิสูจน์ผลลัพธ์ กับ 2 กรณีตัวอย่างจากการใช้งานจริง*

· การวิเคราะห์เนื้อเยื่อเพื่อตรวจวินิจฉัยโรคมะเร็งได้เร็วขึ้นกว่าแบบดั้งเดิมถึง 2,000 เท่า

โดยเฉลี่ยนักพยาธิวิทยามักใช้เวลาในการวิเคราะห์เนื้อเยื่อเพื่อตรวจหาโรคต่างๆ โดยเฉพาะโรคมะเร็ง นานถึง 2 สัปดาห์ หรือมากกว่านั้นหากโรงพยาบาลอยู่ในพื้นที่ห่างไกลและขาดแคลนผู้เชี่ยวชาญและเครื่องมือทางการแพทย์ ทำให้ผู้ป่วยไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงทีและเสี่ยงต่อการลุกลามของโรค โซลูชัน Pathology as a Service นำแพลตฟอร์ม AI มาช่วยสำหรับวิเคราะห์ภาพถ่ายพยาธิวิทยา ช่วยประหยัดเวลาในการวิเคราะห์ โดยใช้เวลาเพียง 5 นาทีและเพิ่มความแม่นยำในการศึกษาวิจัย โดยนักพยาธิวิทยาสามารถแบ่งปันภาพพยาธิวิทยากับทีมงานทั่วโลกที่ทำงานจากระยะไกลในการวิเคราะห์สไลด์แบบดิจิทัล เอื้อต่อการร่วมวิเคราะห์และปรึกษาแนวทางการรักษาผู้ป่วยได้แบบเรียลไทม์ จึงช่วยแก้ไขปัญหาความขาดแคลนของนักพยาธิวิทยาทั่วโลก โดยเฉพาะในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่สำคัญ Pathology as a Service ยังเป็นแพลตฟอร์มที่ส่งเสริมความร่วมมือในการพัฒนายาใหม่และความก้าวหน้าด้านพยาธิวิทยาอีกด้วย

· การดูแลผู้ป่วยหรือผู้พักฟื้นด้วยอุปกรณ์ไร้การสัมผัส เพิ่มประสิทธิภาพการดูแลผู้ป่วยสูงขึ้น 30%

ยกระดับประสบการณ์การพักฟื้นของผู้ป่วยจากการได้รับการดูแลและเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิด โดยไม่ต้องถูกรบกวนในช่วงเวลาการพักฟื้น และไม่ต้องติดตั้งอุปกรณ์ทางการแพทย์หลายๆอุปกรณ์ที่สัมผัสกับร่างกายเพื่อติดตามค่าต่างๆ จึงสามารถเคลื่อนไหวร่างกายได้อย่างสะดวกสบาย ขณะเดียวกัน แพทย์และบุคลากรทางการแพทย์สามารถเพิ่มขีดความสามารถในการดูแลผู้ป่วยผ่าน โซลูชัน Digital Patient Twin โดยใช้เครื่องมือตรวจวัดค่าต่างๆ ของร่างกาย และตรวจจับเหตุการณ์ฉุกเฉินที่อาจเกิดขึ้นกับผู้ป่วยที่นอนพักฟื้นบนเตียง ด้วยการดำเนินการทางคลินิกจากอุปกรณ์เซ็นเซอร์ที่ส่งสัญญาณไลฟ์สตรีมและประมวลผลด้วยระบบอัจฉริยะ AI พร้อมแจ้งเตือนเหตุการณ์ฉุกเฉินต่างๆ ที่เกิดขึ้นกับผู้ป่วยบนเตียง นำไปสู่การตัดสินใจที่เหมาะสมอย่างทันท่วงที จึงช่วยแบ่งเบาภาระ ลดขั้นตอน และปริมาณการดำเนินงานในคลินิกหรือหอพักผู้ป่วย อีกทั้งยังช่วยแก้ไขปัญหาการขาดแคลนแพทย์และบุคลากรการแพทย์ โดยเจ้าหน้าที่พยาบาลสามารถดูแลผู้ป่วยได้มากขึ้น บุคลากรทางการแพทย์ 1 คน สามารถดูแลผู้ป่วยได้มากถึง 10 คน จากเดิมที่ต้องใช้เจ้าหน้าที่พยาบาลเฉลี่ย 3 คน ในการดูแลผู้ป่วย 10 คน

ไมโครซอฟท์ ประเทศไทย ประกาศวิสัยทัศน์ “AI for All Thais” ตอกย้ำความมุ่งมั่นเสริมศักยภาพให้กับทุกคนและทุกองค์กรในประเทศไทยด้วยพลังแห่ง Generative AI อันล้ำสมัย ผ่านกลยุทธ์หลัก 3 ด้าน ได้แก่ สร้างทักษะ เสริมขีดความสามารถ และสานต่อความมั่นคง ตอกย้ำพันธกิจของไมโครซอฟท์ในการร่วมพัฒนาเศรษฐกิจดิจิทัล เพื่อสร้างการเติบโตและชีวิตที่ดีให้กับคนไทยและประเทศไทย 

12 เดือนที่ผ่านมา นับเป็นประวัติศาสตร์หน้าใหม่ของไมโครซอฟท์ในประเทศไทย จากการมาเยือนของนายสัตยา นาเดลลา ที่ได้ประกาศพันธสัญญาเพื่อขับเคลื่อนประเทศไทยสู่อนาคตในยุค AI และคลาวด์ ผสานความร่วมมือกับภาครัฐและเอกชนในโครงการใหม่ๆ เพื่อยกระดับประเทศไทย และการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน Datacenter region เพื่อขยายการให้บริการคลาวด์จากไมโครซอฟท์ให้กว้างขวางและทั่วถึงยิ่งขึ้น มอบเสถียรภาพและสมรรถนะที่ตอบโจทย์ผู้ใช้งานระดับองค์กรมากยิ่งขึ้น ทั้งยังรองรับมาตรฐานของประเทศไทยด้านการจัดเก็บและรักษาความปลอดภัยของข้อมูลอย่างครบถ้วน 

นายธนวัฒน์ สุธรรมพันธุ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ไมโครซอฟท์ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า “ไมโครซอฟท์ เห็นโอกาสที่ AI และคลาวด์จะเข้ามายกระดับและสร้างการเปลี่ยนแปลงเชิงบวกให้กับคนไทยและประเทศไทย ทั้งภาคการศึกษา  
การท่องเที่ยว เกษตร อุตสาหกรรม เป็นต้น พันธกิจที่เราได้ประกาศออกไปเกี่ยวกับการลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน AI และคลาวด์  
ดาต้าเซ็นเตอร์ เป็นกุญแจสำคัญที่เข้ามาสร้างโอกาสให้คนไทย บริษัทไทย และประเทศไทย ประสบความสำเร็จในเวทีโลก จึงเป็นที่มาของการประกาศวิสัยทัศน์ “AI for All Thais” ด้วยเจตนารมณ์ที่จะมอบพลังและศักยภาพของ AI ให้คนไทย ผ่าน 3 กลยุทธ์หลัก คือ สร้างทักษะ AI เสริมขีดความสามารถให้เกิดการนำ AI ไปใช้ในวงกว้าง และสานต่อความมั่นคงเพื่อให้ทุกคนใช้งานได้อย่างมั่นใจ รวมทั้งส่งเสริมอีโคซิสเท็มของ AI ที่ปลอดภัยและเชื่อถือได้” 

สร้างทักษะ 

เพื่อตอกย้ำความตั้งใจในการพัฒนาทักษะด้าน AI ให้กับคนไทยอย่างยั่งยืน ผ่านความร่วมมือกับพันธมิตรในภาคส่วนต่างๆ ไมโครซอฟท์ เตรียมเปิดตัวโครงการ ‘AI National Skill Initiative’ ซึ่งมีเป้าหมายเพื่อสนับสนุนทักษะ AI ที่จำเป็นให้กับคนไทย 1 ล้านคนภายในปีหน้า ผ่านหลากหลายหลักสูตรฝึกอบรมที่เป็นหลักสูตรภาษาไทยกว่า 80% ซึ่งออกแบบให้ครอบคลุมผู้ใช้งานทุกระดับ ไม่ว่าจะเป็น ผู้ใช้งานทั่วไป ผู้บริหาร และนักพัฒนา เพื่อนำศักยภาพของ AI ไปประยุกต์ใช้เพิ่มความสะดวกในการใช้ชีวิตประจำวัน การทำงาน ตลอดจนการสร้างสรรค์นวัตกรรม AI ด้วยฝีมือคนไทย  

เสริมขีดความสามารถ 

ไมโครซอฟท์ มุ่งมั่นเสริมศักยภาพให้กับคนไทยและองค์กรไทยได้รับประโยชน์จากขุมพลังอันไร้ขีดจำกัดของ AI เพื่อนำไปประยุกต์ใช้งานในวงกว้างทั้งระดับบุคคลและองค์กร โดยในระดับบุคคล ไมโครซอฟท์ พร้อมขับเคลื่อนการใช้งาน AI ให้กับผู้ใช้ทุกกลุ่ม ไม่ว่าจะเป็น บุคคลทั่วไป นักเรียนนักศึกษา ครูอาจารย์ นักสร้างสรรค์คอนเทนต์ ข้าราชการ และอีกมากมาย โดยเปิดให้ผู้ใช้เข้าถึงเครื่องมือและประสิทธิภาพของเครื่องมือและบริการที่ขับเคลื่อนด้วย AI อันหลากหลาย เช่น Copilot บน Windows และ Edge, Microsoft Designer บนแอปพลิเคชันและผ่านเว็บ, Cocreator และ Paint บน Windows 11, ฟีเจอร์ Reading progress ใน Microsoft Teams และ Reading immersive ใน Microsoft Words, GitHub Copilot รวมถึง  Copilot+ PC ยุคใหม่ของพีซีที่มอบสมรรถนะสูงสุดและคุณสมบัติการใช้งานที่ชาญฉลาดที่สุดบนแพลตฟอร์ม Windows  

ในระดับองค์กร ไมโครซอฟท์ ขับเคลื่อนการนำศักยภาพของ AI ที่มีการพัฒนาไปอย่างก้าวกระโดดในระดับโลก จนกลายเป็นผู้ช่วยที่มีบทบาทสำคัญในการยกระดับการดำเนินงานให้กับองค์กรยุคใหม่ และช่วยรับมือความท้าทายต่างๆ ในปัจจุบันที่เกิดขึ้นรวดเร็วและคาดเดาได้ยาก ด้วยนวัตกรรมโซลูชันที่ช่วยเสริมประสิทธิภาพ ความคิดสร้างสรรค์ และความคล่องตัว เพื่อให้ทุกภารกิจสำเร็จได้อย่างราบรื่น โดยทำงานอย่างใกล้ชิดกับองค์กรทั้งภาครัฐและเอกชน และครอบคลุมในทุกอุตสาหกรรม 

สานต่อความมั่นคง 

ไมโครซอฟท์ เชื่อว่าความปลอดภัยคือประเด็นสำคัญอันดับหนึ่งที่ทุกผลิตภัณฑ์ ทุกบริการด้านเทคโนโลยีจะต้องมี เพราะผู้ใช้ต้องเกิดความไว้วางใจก่อน จึงจะสามารถได้รับประโยชน์จากเทคโนโลยีนั้นๆ ซึ่งการทำงานด้านความปลอดภัยเป็นความรับผิดชอบร่วมกันของทุกภาคส่วน โดยไมโครซอฟท์จะขยายความร่วมมือกับภาครัฐและเอกชนอย่างต่อเนื่อง ทั้งเสริมสร้างความแข็งแกร่งด้านความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ของประเทศ เสริมทักษะด้านการใช้ AI เพื่อความปลอดภัยไซเบอร์ และแนวทางการใช้งาน AI อย่างถูกต้อง ปลอดภัย และมีความรับผิดชอบ 

ไมโครซอฟท์ ประเทศไทย พร้อมร่วมมือกับทุกภาคส่วนเพื่อขับเคลื่อนอนาคตดิจิทัลของประเทศไทย โดยส่งเสริมทักษะ AI และขยายการเข้าถึงเทคโนโลยี และสร้างระบบนิเวศดิจิทัลที่ปลอดภัย เพื่อให้คนไทยได้รับประโยชน์จากศักยภาพ AI ที่พัฒนาไปอย่างก้าวล้ำในระดับโลก และสนับสนุนทุกคนและทุกองค์กรในประเทศไทยให้บรรลุเป้าหมายที่ยิ่งใหญ่ไปพร้อมกัน 

 

Artificial Intelligence (AI) กำลังพลิกโฉมในทุกแวดวง แม้กระทั่งวงการสาธารณสุข เมื่อเร็ว ๆ นี้ หนึ่งในกลุ่มธุรกิจผู้ให้บริการทางการแพทย์ (Healthcare Provider) ดำเนินกิจการที่ประกอบด้วยเครือโรงพยาบาลเอกชนและธุรกิจเกี่ยวเนื่อง เปิดเผยถึงการลงทุนพัฒนาด้านเทคโนโลยี AI และ ML ร่วมกับสตาร์ทอัพเพื่อสร้างนวัตกรรมที่ช่วยเพิ่มศักยภาพการให้บริการในทุกมิติ ในขณะเดียวกัน เล็งเห็นว่าการจะใช้งานนวัตกรรมเหล่านี้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดได้ ก็จำเป็นต้องทำควบคู่ไปกับการพัฒนา User Adoption ทั้งกับบุคลากรผู้ปฏิบัติงาน และผู้รับบริการ

OPEN-TEC ศูนย์รวมองค์ความรู้ด้านเทคโนโลยี (Tech Knowledge Sharing Platform) ภายใต้การดูแลของ TCC TECHNOLOGY GROUP ขอนำข้อมูลที่เป็นประโยชน์บางส่วนจากผู้ทรงคุณวุฒิที่มาร่วมอภิปรายในหัวข้อ AI-Driven Innovation for Longevity ในงาน TMA Digital Dialogue 2024 ที่บอกเล่าศักยภาพของเทคโนโลยี AI เพื่อสนับสนุนอุตสาหกรรมการแพทย์ การปรับตัวของบุคลากรและผู้ใช้งาน ทั้งในแง่ทักษะการใช้งาน, Mindset (วิธีคิด) และโครงสร้างของระบบ ว่าจะมีบทบาทและสนับสนุนความสำเร็จของกลุ่มธุรกิจในอนาคตได้อย่างไร

ศักยภาพของ AI เพื่อสนับสนุนอุตสาหกรรมการแพทย์

ผู้บริหารฝ่ายนวัตกรรมองค์กรยั่งยืนจากองค์กรผู้ให้บริการทางการแพทย์ กล่าวว่าในธุรกิจมีการใช้งาน AI ร่วมกับ IoT กลุ่มเครื่องมือแพทย์ที่สนับสนุนการรักษามานานกว่า 20 ปี ทั้งในกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการวางแผนการรักษา การวิจัย และฝึกอบรมบุคลากร (Simulation / Scenario Training) โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อช่วยวิเคราะห์และประมวลผลข้อมูลจำนวนมาก ทำให้เกิดปัจจัยที่ช่วยการเห็นภาพ (Visibility) ที่ชัดเจนมากขึ้นเพื่อประกอบการตัดสินใจ เพิ่มความแม่นยำ และลดระยะเวลาในการวินิจฉัยของแพทย์ ซึ่งในระยะหลัง AI ได้ถูกนำมาใช้เพื่อรับมือกับความซับซ้อนของข้อมูลทางด้านพันธุกรรม โดยช่วยอ่านค่าผลทดสอบจากห้องปฏิบัติการ นำมาสู่ “แผนการรักษาและการดูแลสุขภาพเฉพาะบุคคล” (Personalized Medicine) ซึ่งช่วยส่งเสริมให้มีคุณภาพชีวิตที่ดียิ่งขึ้น นอกเหนือจากการวิเคราะห์จากข้อมูลที่ติดตัวแต่กำเนิด ข้อมูลเชิงพฤติกรรมและการใช้ชีวิตของบุคคลนั้น ๆ เป็นองค์ประกอบ

 ความท้าทายและขอบเขตการมีส่วนร่วมของ AI

ผู้ทรงคุณวุฒิจากองค์กรผู้พัฒนาเทคโนโลยีให้ข้อมูลว่า AI ทางการแพทย์นั้น มีการพัฒนาและใช้งานมาหลายสิบปีแล้วในรูปแบบของ Machine Learning ตัวอย่างหนึ่งของเครื่องมือที่พัฒนาขึ้น ได้แก่ Healthcare API ที่ใช้ในการตรวจเบาหวานขึ้นจอประสาทตา สามารถอ่านผลเอ็กซเรย์เพื่อบ่งชี้ระดับอาการของโรคเพื่อวางแผนการรักษา ซึ่งมีการนำมาทดสอบและใช้งานแล้วกับผู้ป่วยหลายหมื่นรายในประเทศไทย สำหรับการพัฒนาในรูปแบบ Generative AI จะอยู่บนพื้นฐานของการนำข้อมูลจำนวนมากมาใช้งานบน Large Language Models (LLMs) เพื่อให้ส่งคำตอบที่เป็นคำอธิบาย หรือสรุปใจความจากเอกสารมากมายที่ป้อนข้อมูลให้ มากกว่าตอบเพียงว่าใช่หรือไม่ ตัวอย่างเช่น รายงานของแพทย์

แน่นอนว่าความสามารถในระดับที่สร้างปรากฏการณ์นี้ ย่อมมีความท้าทายในหลาย ๆ ด้านตามมา เช่น ความรับผิดชอบต่อข้อมูลส่วนบุคคล การด่วนสรุปและตัดสินใจด้วยข้อมูลจาก AI โดยขาดวิจารณญาณและการประเมินอย่างละเอียดถี่ถ้วนรอบด้าน รวมถึงความเสี่ยงจากการใช้งานในทางที่ผิดจริยธรรม ฯลฯ ความท้าทายเหล่านี้จำเป็นอย่างยิ่งที่ผู้พัฒนาเทคโนโลยีและผู้ใช้งานจะต้องให้ความสำคัญกับความรับผิดชอบต่อหลักธรรมาภิบาลเพื่อป้องกันผลกระทบในภาพรวม

 ในแง่ขอบเขตการมีส่วนร่วม เมื่อมีการนำ AI ไปใช้งาน การตระหนักรู้ว่า AI จะเข้ามามีบทบาท “เป็นส่วนหนึ่งกับมนุษย์และอาชีพต่าง ๆ” ไม่ว่าแพทย์ บุคลากรด้านสาธารณสุข หรืออาชีพใด ๆ เป็นเรื่องที่ต้องคำนึงถึง โดยอาศัยการปรับมุมมองและวิธีคิดว่า AI จะไม่ได้เข้ามาแทนที่มนุษย์หรืออาชีพไหน แต่จะเข้ามาสนับสนุน และส่งเสริมความสามารถในการทำงานและการใช้ชีวิต (AI / Human-in-the-loop)

ส่งเสริมการเรียนรู้ เพิ่มทักษะให้ผู้ใช้งาน

ผู้อำนวยการศูนย์นวัตกรรมการสอนและการเรียนรู้จากสถาบันอุดมศึกษา ให้มุมมองของ AI ต่อการเป็นแหล่งผลิตบุคลากรที่มีทักษะความเชี่ยวชาญเข้าสู่ตลาดแรงงานว่า นอกเหนือจากการที่ผู้เรียนจะต้องเพิ่มทักษะการใช้ AI ให้เกิดประโยชน์อย่างถูกวิธีแล้ว วิธีคิด (Mindset) ก็เป็นสิ่งสำคัญ เพื่อให้การใช้ AI นั้นเกิดคุณประโยชน์ทั้งต่อตนเองและต่อองค์กร อนาคตหลาย ๆ องค์กรอาจจะไม่ได้เสาะหาคนเก่งในเชิงวิชาการแต่เพียงอย่างเดียว แต่จะหาคนที่ใช้ AI ได้เก่งและชำนาญด้วย เพราะจะนำมาซึ่งผลิตภาพ (Productivity) ทั้งในแง่มูลค่า ปริมาณ และเวลาที่มีประสิทธิภาพขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ ซึ่งทักษะทางด้าน “Prompt Engineering” จะกลายเป็นทักษะที่สำคัญมาก เพื่อให้ชุดคำสั่งที่ป้อนเข้าสู่เครื่องมือ AI มีความชัดเจนตามโจทย์และวัตถุประสงค์ นำมาซึ่งคำตอบที่ต้องการครบถ้วน ได้คุณภาพ

ในแง่สถาบันการศึกษาเองก็จำเป็นต้องเร่งปรับตัว ปรับโครงสร้างหลักสูตรทางวิชาการที่สอดคล้องกับความต้องการของตลาดแรงงานในอนาคต เพื่อเตรียมความพร้อมของบุคลากรให้เหมาะสมและทันต่อการเปลี่ยนแปลงของโลกเทคโนโลยี ตัวอย่างหนึ่งของสถาบันพัฒนาบุคลากรทางการแพทย์ คือ การนำ AI มาใช้ฝึกอบรมเพื่อเป็นผู้ช่วยสำหรับหัวข้อ เนื้อหาวิชาขั้นพื้นฐาน หรือกิจกรรมที่ต้องทำเป็นประจำ (Routine Task) เพื่อเพิ่มเวลาให้ผู้เรียนได้มีประสบการณ์กับเคสผู้ป่วยจริงมากขึ้น ยกระดับทักษะและการเรียนรู้โดยใช้เวลาที่สั้นลง

 ใช้งาน AI อย่างไร ให้เกิดความยั่งยืน

หนึ่งในปัจจัยที่เอื้อต่อความสำเร็จในการใช้งาน AI ในองค์กร ผ่านมุมมองของผู้บริหารฝ่ายนวัตกรรมองค์กรยั่งยืน คือ การมีส่วนร่วมและความไว้วางใจในเครื่องมือ AI ของเหล่าแพทย์และบุคลากร ซึ่งจะได้รับสิทธิในการทดสอบและประเมินว่าเครื่องมือ AI ประเภทไหนจากผู้พัฒนารายใดมีความเหมาะสม สามารถสนับสนุนการทำงานได้ตรงจุด และราบรื่นสอดรับกับขั้นตอนการปฏิบัติงาน

ผู้พัฒนานวัตกรรมหลากหลายที่ได้รับโอกาสให้เข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งของแผนการพัฒนา AI เพื่อธุรกิจที่มีแนวโน้มความต้องการใช้งานสูงขึ้นเรื่อย ๆ (Market Pull) ส่วนใหญ่จะเป็นสตาร์ทอัพระดับประเทศ ยังไม่มีผลงานมากนักในระดับสากล แต่มีจุดเด่น คือ ความเป็นผู้ประกอบการที่มีไอเดีย มีมุมมองที่แตกต่าง มีทีมนักพัฒนาที่มีความสามารถ และแพสชั่นในการสร้างสรรค์นวัตกรรมเพื่อต่อยอดธุรกิจ (Technology Push) ซึ่งเป็นส่วนที่ทดแทนกันได้ มีศักยภาพที่เอื้อประโยชน์ต่อการสร้าง Ecosystem ที่ยั่งยืนในระยะยาว

ภาพรวมของเทคโนโลยี AI นั้นมีศักยภาพสูงในการสนับสนุนอุตสาหกรรมการแพทย์ทั้งในแง่การวิเคราะห์และประมวลผลข้อมูลจำนวนมาก เพื่อช่วยให้การวินิจฉัยและการรักษามีความแม่นยำและรวดเร็วมากขึ้น อย่างไรก็ตาม การนำ AI มาใช้งานในทางที่เหมาะสมและยั่งยืนยังคงต้องอาศัยการพัฒนาทักษะและการปรับเปลี่ยนวิธีคิดของบุคลากรทั้งผู้พัฒนาและผู้ใช้งานเป็นสำคัญ ตลอดจนมีการปรับตัวของสถาบันการศึกษาและหน่วยงานต่าง ๆ เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงของโลกเทคโนโลยีที่รวดเร็ว โดยให้ความสำคัญกับหลักธรรมาภิบาลเพื่อป้องกันผลกระทบเชิงลบ ท้ายที่สุดแล้ว การสร้าง Ecosystem ที่เอื้อต่อการเติบโตของนวัตกรรมและการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันระหว่างผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกฝ่ายนั้น จะเป็นปัจจัยสำคัญที่จะนำพาสู่การใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยี AI ได้อย่างยั่งยืน

Page 1 of 4
X

Right Click

No right click