September 19, 2024

ผลิตผลของโครงการ “ชดเชยคาร์บอน” จากการมีส่วนร่วมของผู้ใช้บริการแกร็บ

แกร็บ ประเทศไทย ประกาศปรับพอร์ตฯ สินเชื่อเงินสดเพื่อพาร์ทเนอร์ร้านค้า นำเสนอ 3 ผลิตภัณฑ์สินเชื่อเพื่อตอบโจทย์ผู้ประกอบการร้านค้าและร้านอาหารให้ครอบคลุมทุกขนาดธุรกิจ พร้อมขยายวงเงินสินเชื่อสูงสุดถึง 10 ล้านบาท พร้อมอัตราดอกเบี้ยไม่เกิน 1% ต่อเดือนสำหรับร้านขนาดใหญ่ หวังช่วยเพิ่มทุนหมุนเวียน เสริมสภาพคล่องและให้ผู้ประกอบการสามารถต่อยอดธุรกิจท่ามกลางสภาพเศรษฐกิจที่ท้าทาย โดยยังชูจุดเด่น ขั้นตอนที่สะดวกไม่ต้องยื่นเอกสาร อนุมัติไวภายใน 1 วัน และผ่อนจ่ายสบายแบบรายวัน

นางสาวจันต์สุดา ธนานิตยะอุดม รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายงานพาณิชย์และการตลาด แกร็บ ประเทศไทย กล่าวว่า “ด้วยสภาพเศรฐกิจในปัจจุบันที่ชะลอตัว จากปัจจัยทั้งภายในและภายนอกประเทศ ประกอบกับอัตราหนี้ครัวเรือนไทยอยู่ในระดับที่สูงส่งผลต่อการเบิกใช้สินเชื่อใหม่ อีกทั้งในช่วงไตรมาสที่สองยังคงมีแรงกดดันจากการทยอยชำระคืนสินเชื่อโดยเฉพาะสินเชื่อภาครัฐและภาคธุรกิจ ทำให้ภาพรวมตลาดสินเชื่อของธนาคารพาณิชย์ขยายตัวชะลอลงราว 0.3% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว1 โดยเป็นที่คาดการณ์ว่าตลาดสินเชื่อในปี 2567 จะมีอัตราการเติบโตเพียง 1.5% ลดลงจากที่คาดการณ์ไว้ก่อนหน้าที่ 3%2 แม้ภาพรวมตลาดสินเชื่อของประเทศจะอยู่ในช่วงชะลอตัว แต่ธุรกิจสินเชื่อของแกร็บยังคงมีผลประกอบการที่ดีและเติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะการให้สินเชื่อกับกลุ่มพาร์ทเนอร์ร้านค้า ซึ่งในช่วงครึ่งปีที่ผ่านมามีจำนวนผู้ได้รับสินเชื่อเงินสดจากแกร็บเพิ่มขึ้นมากกว่า 15% เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า และมีอัตราหนี้เสีย (NPL) อยู่ที่ 2.35% ซึ่งต่ำกว่าค่าเฉลี่ยอัตราหนี้เสียของประเทศ3 สะท้อนให้เห็นถึงคุณภาพของกลุ่มผู้ขอสินเชื่อเงินสดจากแกร็บ”

แกร็บได้นำเทคโนโลยี AI และ Big Data เข้ามาใช้เป็นส่วนหนึ่งในขั้นตอนการประเมินความเสี่ยง โดยพิจารณาจากพฤติกรรมและข้อมูลการทำธุรกรรมผ่านแอปพลิเคชันของพาร์ทเนอร์ร้านค้า (Behavioural Scorecard) เพื่อการอนุมัติสินเชื่อและลดความเสี่ยงในการผิดนัดชำระ ทั้งนี้ ผู้ประกอบการส่วนใหญ่ที่ขอสินเชื่อจากแกร็บมีความต้องการสินเชื่อเพื่อใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียนและเสริมสภาพคล่องให้กับธุรกิจ เช่น การซื้อวัตถุดิบและบริหารสต็อกสินค้า การบริหารลูกจ้างและพนักงาน การจัดการกระแสเงินสด การปรับปรุงหน้าร้าน รวมไปถึงการอัพเกรดเทคโนโลยีและการขยายธุรกิจ เป็นต้น

“เพื่อเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจและสนับสนุนผู้ประกอบการร้านอาหาร ทั้งรายย่อยและ SME อย่างต่อเนื่อง ล่าสุด แกร็บได้ปรับพอร์ตฯ ผลิตภัณฑ์สินเชื่อสำหรับพาร์ทเนอร์ร้านค้าเพื่อให้ตอบโจทย์ความต้องการที่หลากหลายตามขนาดและรูปแบบธุรกิจ พร้อมขยายวงเงินสูงสุดถึง 10 ล้านบาท โดยยังคงจุดเด่นในเรื่องของขั้นตอนการขอรับสินเชื่อที่ไม่ยุ่งยาก (ไม่ต้องยื่นเอกสาร) อนุมัติไวภายใน 1 วัน และสามารถผ่อนชำระคืนแบบรายวัน” นางสาวจันต์สุดา กล่าวเสริม

สำหรับผลิตภัณฑ์สินเชื่อเงินสดเพื่อพาร์ทเนอร์ร้านค้าของแกร็บถูกออกแบบมาเพื่อเป็นตัวช่วยในการประกอบอาชีพและส่งเสริมการดำเนินธุรกิจสำหรับผู้ประกอบการรายย่อย รวมถึงเจ้าของธุรกิจขนาดเล็กและขนาดกลาง โดยมีการกำหนดวงเงินสินเชื่อเพื่อให้สอดคล้องไปกับขนาดและรูปแบบของธุรกิจที่ต่างกันไป ซึ่งประกอบไปด้วย

  • สินเชื่อเงินสดทันใจ: เจาะกลุ่มผู้ประกอบการรายย่อย (ดำเนินธุรกิจในรูปแบบบุคคลธรรมดา) ซึ่งเป็นเจ้าของร้านค้า ร้านอาหารขนาดเล็กหรือสตรีทฟู้ด โดยให้วงเงินสูงสุด 1 แสนบาท อัตราดอกเบี้ยไม่เกิน 75% ต่อเดือน4 และมีระยะเวลาผ่อนชำระสูงสุด 9 เดือน
  • สินเชื่อเงินสดทันใจ พลัส: เจาะกลุ่มผู้ประกอบการรายย่อย (ดำเนินธุรกิจในรูปแบบบุคคลธรรมดา) ซึ่งเป็นเจ้าของร้านค้า ร้านอาหารที่มีขนาดใหญ่ขึ้นหรือมีหลายสาขา โดยให้วงเงินสูงสุด 1 ล้านบาท อัตราดอกเบี้ยไม่เกิน 08% ต่อเดือน5 และมีระยะเวลาผ่อนชำระสูงสุด 12 เดือน
  • สินเชื่อเงินสดทันใจ เอ็กซ์ตร้า: เจาะกลุ่มเจ้าของธุรกิจ SME หรือแฟรนไชส์ ดำเนินธุรกิจในรูปแบบนิติบุคคล โดยให้วงเงินสูงสุด 10 ล้านบาท อัตราดอกเบี้ยไม่เกิน 1% ต่อเดือน และมีระยะเวลาผ่อนชำระสูงสุด 12 เดือน

“นอกจากบริการสินเชื่อแล้ว ล่าสุด แกร็บยังได้ร่วมกับ บริษัท ชับบ์สามัคคีประกันภัย จำกัด (มหาชน) พัฒนาบริการประกันภัยสำหรับพาร์ทเนอร์ร้านค้าแกร็บในชื่อ ‘ประกันค้าขายหายห่วง’ เพื่อให้ความคุ้มครองผู้ประกอบการธุรกิจจากเหตุไม่คาดฝันอย่างอุบัติภัยหรือภัยธรรมชาติ เช่น ไฟไหม้หรือน้ำท่วม ด้วยวงเงินคุ้มครองสูงสุดถึง 5 ล้านบาท โดยมีค่าเบี้ยประกันเริ่มต้นเพียงวันละ 14 บาทเท่านั้น ทั้งนี้ แกร็บจะยังคงมุ่งมั่นพัฒนาและยกระดับผลิตภัณฑ์ทางการเงินต่าง ๆ อย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็น ระบบชำระเงินอิเล็กทรอนิกส์ สินเชื่อ รวมถึงประกัน เพื่อตอบโจทย์ความต้องการและส่งเสริมการเข้าถึงโอกาสทางการเงินให้กับทุกคนในอีโคซิสเต็ม ทั้งผู้ใช้บริการ พาร์ทเนอร์ร้านค้าและคนขับ เพื่ออำนวยความสะดวกและเสริมศักยภาพในการสร้างรายได้และเติบโตทางธุรกิจได้อย่างมั่นคง” นางสาวจันต์สุดา กล่าวทิ้งท้าย


1, 3 อ้างอิงข้อมูล ธนาคารแห่งประเทศไทย

2 อ้างอิงบทวิเคราะห์ Econ Digest “แนวโน้มสินเชื่อช่วงที่เหลือปี 2567 เติบโตต่ำ ถูกกดดันตามภาวะเศรษฐกิจ” โดยศูนย์วิจัยกสิกรไทย

4 คำนวณตามอัตราดอกเบี้ย 33% ต่อปี (ลดต้นลดดอก) ตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนด และมีการหักชำระเป็นรายวัน

5 คำนวณตามอัตราดอกเบี้ย 25% ต่อปี (ลดต้นลดดอก) ตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนด และมีการหักชำระเป็นรายวัน

แกร็บ ประเทศไทย ประกาศปรับพอร์ตฯ สินเชื่อเงินสดเพื่อพาร์ทเนอร์ร้านค้า นำเสนอ 3 ผลิตภัณฑ์สินเชื่อเพื่อตอบโจทย์ผู้ประกอบการร้านค้าและร้านอาหารให้ครอบคลุมทุกขนาดธุรกิจ พร้อมขยายวงเงินสินเชื่อสูงสุดถึง 10 ล้านบาท พร้อมอัตราดอกเบี้ยไม่เกิน 1% ต่อเดือนสำหรับร้านขนาดใหญ่ หวังช่วยเพิ่มทุนหมุนเวียน เสริมสภาพคล่องและให้ผู้ประกอบการสามารถต่อยอดธุรกิจท่ามกลางสภาพเศรษฐกิจที่ท้าทาย โดยยังชูจุดเด่น ขั้นตอนที่สะดวกไม่ต้องยื่นเอกสาร อนุมัติไวภายใน 1 วัน และผ่อนจ่ายสบายแบบรายวัน

นางสาวจันต์สุดา ธนานิตยะอุดม รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายงานพาณิชย์และการตลาด แกร็บ ประเทศไทย กล่าวว่า “ด้วยสภาพเศรฐกิจในปัจจุบันที่ชะลอตัว จากปัจจัยทั้งภายในและภายนอกประเทศ ประกอบกับอัตราหนี้ครัวเรือนไทยอยู่ในระดับที่สูงส่งผลต่อการเบิกใช้สินเชื่อใหม่ อีกทั้งในช่วงไตรมาสที่สองยังคงมีแรงกดดันจากการทยอยชำระคืนสินเชื่อโดยเฉพาะสินเชื่อภาครัฐและภาคธุรกิจ ทำให้ภาพรวมตลาดสินเชื่อของธนาคารพาณิชย์ขยายตัวชะลอลงราว 0.3% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว1 โดยเป็นที่คาดการณ์ว่าตลาดสินเชื่อในปี 2567 จะมีอัตราการเติบโตเพียง 1.5% ลดลงจากที่คาดการณ์ไว้ก่อนหน้าที่ 3%2 แม้ภาพรวมตลาดสินเชื่อของประเทศจะอยู่ในช่วงชะลอตัว แต่ธุรกิจสินเชื่อของแกร็บยังคงมีผลประกอบการที่ดีและเติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะการให้สินเชื่อกับกลุ่มพาร์ทเนอร์ร้านค้า ซึ่งในช่วงครึ่งปีที่ผ่านมามีจำนวนผู้ได้รับสินเชื่อเงินสดจากแกร็บเพิ่มขึ้นมากกว่า 15% เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า และมีอัตราหนี้เสีย (NPL) อยู่ที่ 2.35% ซึ่งต่ำกว่าค่าเฉลี่ยอัตราหนี้เสียของประเทศ3 สะท้อนให้เห็นถึงคุณภาพของกลุ่มผู้ขอสินเชื่อเงินสดจากแกร็บ”

แกร็บได้นำเทคโนโลยี AI และ Big Data เข้ามาใช้เป็นส่วนหนึ่งในขั้นตอนการประเมินความเสี่ยง โดยพิจารณาจากพฤติกรรมและข้อมูลการทำธุรกรรมผ่านแอปพลิเคชันของพาร์ทเนอร์ร้านค้า (Behavioural Scorecard) เพื่อการอนุมัติสินเชื่อและลดความเสี่ยงในการผิดนัดชำระ ทั้งนี้ ผู้ประกอบการส่วนใหญ่ที่ขอสินเชื่อจากแกร็บมีความต้องการสินเชื่อเพื่อใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียนและเสริมสภาพคล่องให้กับธุรกิจ เช่น การซื้อวัตถุดิบและบริหารสต็อกสินค้า การบริหารลูกจ้างและพนักงาน การจัดการกระแสเงินสด การปรับปรุงหน้าร้าน รวมไปถึงการอัพเกรดเทคโนโลยีและการขยายธุรกิจ เป็นต้น

“เพื่อเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจและสนับสนุนผู้ประกอบการร้านอาหาร ทั้งรายย่อยและ SME อย่างต่อเนื่อง ล่าสุด แกร็บได้ปรับพอร์ตฯ ผลิตภัณฑ์สินเชื่อสำหรับพาร์ทเนอร์ร้านค้าเพื่อให้ตอบโจทย์ความต้องการที่หลากหลายตามขนาดและรูปแบบธุรกิจ พร้อมขยายวงเงินสูงสุดถึง 10 ล้านบาท โดยยังคงจุดเด่นในเรื่องของขั้นตอนการขอรับสินเชื่อที่ไม่ยุ่งยาก (ไม่ต้องยื่นเอกสาร) อนุมัติไวภายใน 1 วัน และสามารถผ่อนชำระคืนแบบรายวัน” นางสาวจันต์สุดา กล่าวเสริม

สำหรับผลิตภัณฑ์สินเชื่อเงินสดเพื่อพาร์ทเนอร์ร้านค้าของแกร็บถูกออกแบบมาเพื่อเป็นตัวช่วยในการประกอบอาชีพและส่งเสริมการดำเนินธุรกิจสำหรับผู้ประกอบการรายย่อย รวมถึงเจ้าของธุรกิจขนาดเล็กและขนาดกลาง โดยมีการกำหนดวงเงินสินเชื่อเพื่อให้สอดคล้องไปกับขนาดและรูปแบบของธุรกิจที่ต่างกันไป ซึ่งประกอบไปด้วย

· สินเชื่อเงินสดทันใจ: เจาะกลุ่มผู้ประกอบการรายย่อย (ดำเนินธุรกิจในรูปแบบบุคคลธรรมดา) ซึ่งเป็นเจ้าของร้านค้า ร้านอาหารขนาดเล็กหรือสตรีทฟู้ด โดยให้วงเงินสูงสุด 1 แสนบาท อัตราดอกเบี้ยไม่เกิน 2.75% ต่อเดือน4 และมีระยะเวลาผ่อนชำระสูงสุด 9 เดือน

· สินเชื่อเงินสดทันใจ พลัส: เจาะกลุ่มผู้ประกอบการรายย่อย (ดำเนินธุรกิจในรูปแบบบุคคลธรรมดา) ซึ่งเป็นเจ้าของร้านค้า ร้านอาหารที่มีขนาดใหญ่ขึ้นหรือมีหลายสาขา โดยให้วงเงินสูงสุด 1 ล้านบาท อัตราดอกเบี้ยไม่เกิน 2.08% ต่อเดือน5 และมีระยะเวลาผ่อนชำระสูงสุด 12 เดือน

· สินเชื่อเงินสดทันใจ เอ็กซ์ตร้า: เจาะกลุ่มเจ้าของธุรกิจ SME หรือแฟรนไชส์ ดำเนินธุรกิจในรูปแบบนิติบุคคล โดยให้วงเงินสูงสุด 10 ล้านบาท อัตราดอกเบี้ยไม่เกิน 1% ต่อเดือน และมีระยะเวลาผ่อนชำระสูงสุด 12 เดือน

“นอกจากบริการสินเชื่อแล้ว ล่าสุด แกร็บยังได้ร่วมกับ บริษัท ชับบ์สามัคคีประกันภัย จำกัด (มหาชน) พัฒนาบริการประกันภัยสำหรับพาร์ทเนอร์ร้านค้าแกร็บในชื่อ ‘ประกันค้าขายหายห่วง’ เพื่อให้ความคุ้มครองผู้ประกอบการธุรกิจจากเหตุไม่คาดฝันอย่างอุบัติภัยหรือภัยธรรมชาติ เช่น ไฟไหม้หรือน้ำท่วม ด้วยวงเงินคุ้มครองสูงสุดถึง 5 ล้านบาท โดยมีค่าเบี้ยประกันเริ่มต้นเพียงวันละ 14 บาทเท่านั้น ทั้งนี้ แกร็บจะยังคงมุ่งมั่นพัฒนาและยกระดับผลิตภัณฑ์ทางการเงินต่าง ๆ อย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็น ระบบชำระเงินอิเล็กทรอนิกส์ สินเชื่อ รวมถึงประกัน เพื่อตอบโจทย์ความต้องการและส่งเสริมการเข้าถึงโอกาสทางการเงินให้กับทุกคนในอีโคซิสเต็ม ทั้งผู้ใช้บริการ พาร์ทเนอร์ร้านค้าและคนขับ เพื่ออำนวยความสะดวกและเสริมศักยภาพในการสร้างรายได้และเติบโตทางธุรกิจได้อย่างมั่นคง” นางสาวจันต์สุดา กล่าวทิ้งท้าย

นายวรฉัตร ลักขณาโรจน์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ แกร็บ ประเทศไทย รับมอบรางวัล “สุดยอดแบรนด์ทรงพลัง” (The Most Powerful Brands of Thailand 2024) ในสาขาแพลตฟอร์มส่งอาหาร (Food Delivery Platform) จากภาควิชาการตลาด คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในฐานะที่ GrabFood ได้ัรับการคัดเลือกให้เป็นหนึ่งใน 29 แบรนด์ที่ทรงพลังที่สุดในประเทศไทย จากการสำรวจและเก็บข้อมูลผู้บริโภคมากกว่า 24,000 ตัวอย่างทั่วประเทศ ครอบคลุมใน 4 มิติ ได้แก่ ความตระหนักในแบรนด์ ความชื่นชอบในแบรนด์ การใช้ผลิตภัณฑ์ และภาพลักษณ์ ณ หอประชุมจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อเร็ว ๆ นี้

“แกร็บรู้สึกภูมิใจและเป็นเกียรติอย่างยิ่งที่แบรนด์แกร็บฟู้ด (GrabFood) ได้รับรางวัลสุดยอดแบรนด์ทรงพลัง (The Most Powerful Brands of Thailand) จากภาควิชาการตลาด คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ต่อเนื่องเป็นครั้งที่ 2 โดยจากผลการวิจัยในปีนี้ แกร็บฟู้ดยังคงเป็นแบรนด์ที่ครองใจคนไทยทุกช่วงวัย (18-69 ปี) ทุกเพศ ทั้งในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัด และเราจะยังคงมุ่งมั่นพัฒนาบริการและนวัตกรรมต่างๆ เพื่อให้แพลตฟอร์มของแกร็บสามารถตอบโจทย์พฤติกรรมของผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไปในทุกยุคทุกสมัย โดยยังคงรักษาคุณภาพและมาตรฐานการให้บริการอย่างต่อเนื่อง ควบคู่ไปกับการส่งเสริมความยั่งยืนในด้านสังคมและสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นไปตามพันธกิจในการดำเนินธุรกิจที่เรียกว่า GrabForGood” นายวรฉัตร กล่าวเสริม

สำหรับการประกาศรางวัล "สุดยอดแบรนด์ทรงพลังของประเทศไทย 2024" (The Most Powerful Brands of Thailand 2024) จัดขึ้นในปีนี้เป็นครั้งที่ 7 โดยภาควิชาการตลาด คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ทำการวิจัยและสำรวจความคิดเห็นจากประชาชนทั่วประเทศอย่างต่อเนื่องทุก 2 ปี โดยปีนี้มีการเก็บข้อมูลจาก 24,000 ตัวอย่าง แบ่งเป็นกลุ่มในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล 12,000 ตัวอย่าง และใน 13 จังหวัดหัวเมืองใหญ่ทั่วประเทศอีก 12,000 ตัวอย่าง เพื่อจัดอันดับความแข็งแกร่งของแบรนด์ พร้อมวิเคราะห์ปัจจัยสำคัญที่ส่งเสริมให้แบรนด์แข็งแกร่ง เพื่อนำมาเป็นองค์ความรู้ในการกำหนดกลยุทธ์การสร้างแบรนด์ให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของตลาดต่อไป

แต่ก่อนถ้าไปเที่ยวเชียงใหม่ หรือหาดใหญ่ หลายคนคงต้องเคยได้นั่ง “รถแดง” หรือ “ตุ๊กตุ๊ก” รถสาธารณะของคนท้องถิ่นที่กลายเป็นเอกลักษณ์ประจำจังหวัด ที่ไม่ว่านักท่องเที่ยวชาวไทย หรือชาวต่างชาติต้องขอมาถ่ายรูป และลองนั่งดูสักครั้ง แต่เมื่อวิถีชีวิตของคนเปลี่ยนไป ทางเลือกในการเดินทางที่สะดวกสบายมีมากขึ้น ทำให้การนั่ง “รถแดง” หรือ “ตุ๊กตุ๊ก” ไม่ได้รับการนิยมเหมือนแต่ก่อน ทำให้คนขับรถรับจ้างเหล่านี้ต้องปรับตัวให้ตอบรับกับไลฟ์สไตล์ของลูกค้ายุคใหม่ เหมือนเช่นสองคนขับ ไพรัช ชัยลำพูน คนขับรุ่นใหญ่ที่ให้บริการรถแดงที่เชียงใหม่เป็นเวลากว่า 20 ปี และ ธนัท กิตติภูริคุณ คนขับรถตุ๊กตุ๊กในหาดใหญ่ผู้มีใจรักงานบริการ ที่เริ่มหันมาให้บริการเรียกรถผ่านแอปพลิเคชันแกร็บเพื่อเป็นรายได้เสริม

กู้ชื่อเสียง “รถแดง” เอกลักษณ์คู่เมืองเชียงใหม่ที่คนหลงลืม 

“รถแดง” เป็นรถโดยสารสาธารณะที่อยู่คู่จังหวัดเชียงใหม่มาอย่างยาวนาน การขึ้นรถแดงเดินทางรอบเมืองเชียงใหม่ถือเป็นอีกหนึ่งกิจกรรมที่ทำให้นักท่องเที่ยวได้มีโอกาสสัมผัสวัฒนธรรม และวิถีชีวิตของคนท้องถิ่นอย่างใกล้ชิด โดย “ไพรัช ชัยลำพูน” หรือ พี่ไพรัช คนขับรถแดงวัย 53 ปี ที่ให้บริการขับรถแดงมากว่า 20 ปี เล่าว่า เหตุผลที่ทำให้เขาสามารถทำอาชีพนี้มาได้อย่างยาวนาน ส่วนหนึ่งเป็นเพราะเขาภูมิใจที่สิ่งที่ตัวเองทำ รถแดงเป็นเหมือนสัญลักษณ์ของจังหวัดเชียงใหม่ และยังสนุกที่ได้พานักท่องเที่ยวไปเที่ยวชมเชียงใหม่ เมืองบ้านเกิดที่เขารัก 

พี่ไพรัช เผยว่า ในช่วงปีที่ผ่านมานักท่องเที่ยวเริ่มโบกเรียกรถแดงน้อยลง เนื่องจากความกังวลในราคาที่ไม่ชัดเจน หรือเคยโดนโก่งราคาแบบไม่สมเหตุสมผลมาก่อน ซึ่งในขณะที่เขากังวลว่าจะไปไม่รอด เป็นจังหวะเดียวกับที่แกร็บติดต่อเข้ามาผ่านสหกรณ์ เพื่อชวนคนขับรถแดงให้มาร่วมให้บริการผ่านแอปพลิเคชัน ซึ่งพี่ไพรัชก็ไม่รอช้า ตัดสินใจเข้าร่วมให้บริการผ่านแกร็บเป็นกลุ่มแรกๆ “ผมไม่เคยมีรายได้เยอะขนาดนี้มาก่อน จนได้ลองมารับผู้โดยสารกับแกร็บ” พี่ไพรัชกล่าว การเข้าให้บริการผ่านแอปพลิเคชันเพื่อหารายได้เสริมทำให้เขาเห็นแสงสว่างของการรักษาอาชีพที่เขารักเอาไว้

“ปกติถ้าจะขึ้นรถแดงเที่ยวเชียงใหม่ ผู้โดยสารสามารถโบกรถขึ้นได้เลยตามทาง ซึ่งส่วนใหญ่รถแดงจะจอดอยู่ตามสถานที่สำคัญต่างๆ ในเมือง อย่างสถานีขนส่ง หรือโซนนิมมาน ในขณะที่เวลาให้บริการบนแกร็บ ผู้โดยสารจะเรียกเราจากที่ไหนก็ได้ จะเรียกไปส่งไกลถึงแม่สอด ปาย หรือแม้แต่เชียงรายก็ได้ ซึ่งง่ายต่อทั้งผู้โดยสารและคนขับ”

พี่ไพรัชเล่าต่อว่าตั้งแต่ให้บริการผ่านแกร็บมา 5 ปี เขามีโอกาสรับส่งลูกค้าในระยะที่ไกลขึ้น มีรายได้มากขึ้น อีกทั้งการเรียกรถผ่านแอปฯ ยังสะดวกสบาย คนขับไม่ต้องถูกต่อราคา ผู้โดยสารก็ไม่ต้องกลัวโดนเรียกค่าบริการที่แพงเกินไป 

“การเรียกรถแดงผ่านแอปฯ ช่วยสร้างความมั่นใจให้กับนักท่องเที่ยวในเรื่องของราคาที่มีมาตรฐาน ในขณะที่คนขับก็สามารถพาผู้โดยสารไปส่งยังจุดหมายได้อย่างถูกต้องตาม GPS ทำให้นักท่องเที่ยวมั่นใจและอยากกลับมานั่งรถแดงอีกครั้ง ซึ่งถือเป็นการรักษาเอกลักษณ์ท้องถิ่นของเชียงใหม่เอาไว้”

พี่ไพรัชยังเสริมว่า นักท่องเที่ยวชอบถ่ายรูปกับรถแดง เพราะให้ความรู้สึกว่ามาถึงเชียงใหม่แล้ว บางคนไม่ได้เป็นลูกค้าแต่ขอถ่ายรูปกับรถ เขาก็ไม่เคยเก็บเงิน ยินดีให้ถ่ายเต็มที่ เพราะการที่คนให้ความสนใจถ่ายรูปกับรถแดง ถือว่าได้โปรโมทเชียงใหม่ไปในตัวด้วย

“รถตุ๊กตุ๊ก” รถท้องถิ่นของคนหาดใหญ่ที่ตอบโจทย์ทุกคนในครอบครัว

นอกจากจังหวัดท่องเที่ยวสุดฮอตอย่างเชียงใหม่แล้ว รถสองแถวที่คนหาดใหญ่เรียกกันว่า “รถตุ๊กตุ๊ก” ก็ได้รับความนิยมจากนักท่องเที่ยวไม่แพ้กัน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง กลุ่มนักท่องเที่ยวชาวมาเลเซีย สิงคโปร์ และอินโดนีเซีย  ซึ่งเป็นประเทศบ้านใกล้เรือนเคียงที่อยู่ไม่ไกลจากอำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา

“ธนัท กิตติภูริคุณ” หรือ พี่ธนัท คนขับตุ๊กตุ๊กวัย 47 ปีจากหาดใหญ่ เล่าว่า “รถตุ๊กตุ๊ก คือรถที่สามารถสร้างความสุขให้กับกลุ่มนักท่องเที่ยวแนวครอบครัว เพราะเด็กๆ จะรู้สึกสนุก แฮปปี้ ส่วนผู้สูงอายุก็มีพื้นที่ในการยืดขา อายุเท่าไหร่ก็เลยขึ้นได้ไม่มีปัญหา” 

พี่ธนัท ยังเสริมว่า “การขับรถตุ๊กตุ๊กที่หาดใหญ่ค่อนข้างสบายและเป็นอิสระ เพราะสามารถเลือกเวลาทำงานได้เอง ไม่เหมือนรถสาธารณะประเภทอื่นที่ต้องมีตารางเวลางานที่ชัดเจน” การเลือกเวลาทำงานได้เป็นข้อดีที่ตรงกับวิถีการใช้ชีวิตของพี่ธนัท เพราะเขาสามารถช่วยภรรยาดูแลสวนยางที่บ้านตอนเช้าก่อนออกไปขับตุ๊กตุ๊ก พร้อมได้มีเวลาอยู่ดูแลลูกที่กำลังเรียนอยู่ชั้นมัธยมปลายได้มากขึ้น  

พี่ธนัทขับตุ๊กตุ๊กมาเกือบ 17 ปีแล้ว ซึ่งก่อนหน้านี้เคยทำงานขับรถบรรทุก ก่อนที่จะผันตัวมาขับตุ๊กตุ๊กบริเวณตลาดอาเซียน ไนท์บาซาร์ และ บขส.หาดใหญ่ เป็นหลัก รวมถึงให้บริการบริเวณตัวเมืองสงขลา ด่านศุลกากรปาดังเบซาร์ และด่านศุลกากรสะเดา เป็นครั้งคราว เนื่องจากตลาดเป็นสถานที่ท่องเที่ยวยอดนิยมในหมู่นักท่องเที่ยว โดยเฉพาะชาวมาเลเซีย “ผมตัดสินใจเข้าร่วมให้บริการผ่านแกร็บมาได้กว่า 6 เดือนแล้ว ตั้งแต่นั้นก็ทำให้มีรายได้เข้ามาตลอดไม่ขาดมือ เพราะนักท่องเที่ยวสามารถเรียกรถจากตรงไหนก็ได้ ตอนไหนก็ได้ ไม่จำเป็นต้องรอช่วงไฮซีซั่นหรือบริเวณที่มีคนมาก ถึงแม้ในช่วงโลว์ซีซั่นรายได้จะลดลงบ้าง แต่ว่ายังดีกว่าช่วงก่อนเข้าร่วมกับแกร็บ ก่อนนั้นถือว่าค่อนข้างลำบาก ต้องคอยรอนักท่องเที่ยวจากจุดประจำที่มีคนเยอะบ้างน้อยบ้างตามเวลา เนื่องจากรายได้หลักของครอบครัวมาจากการขับตุ๊กตุ๊ก ถือว่าแกร็บได้ช่วยเพิ่มทางเลือก ทำให้เราได้มีลูกค้ามากขึ้นนอกจากการรอลูกค้าที่โบกรถ” พี่ธนัทกล่าว

“จริงๆ นักท่องเที่ยวหลายคนมีรถตู้ส่วนตัวไว้เดินทางกัน แต่พอถึงหาดใหญ่เขาเลือกที่จะจอดไว้ที่โรงแรม แล้วกดแอปฯ เรียกรถตุ๊กตุ๊กกัน เพราะเขาชอบที่ได้เห็นวิว บรรยากาศรอบเมืองโดยไม่ต้องมีกระจกมากั้น” พี่ธนัทเล่าด้วยความดีใจผ่านน้ำเสียงที่ซาบซึ้ง ที่รถตุ๊กตุ๊กยังเป็นสิ่งที่นักท่องเที่ยวมองหาและเลือกใช้บริการ 

“แกร็บเป็นเหมือนสะพานเชื่อมต่อระหว่างคนขับและนักท่องเที่ยว คนขับไม่ต้องหาลูกค้าเอง ราคาชัดเจน ไม่ต้องต่อรอง นักท่องเที่ยวสามารถเข้าถึงประสบการณ์ท้องถิ่นได้อย่างใกล้ชิด ได้รู้จักเอกลักษณ์การเดินทางของประเทศไทยแบบที่หาไม่ได้จากที่ไหน” พี่ธนัทกล่าวทิ้งท้าย

Page 1 of 8
X

Right Click

No right click