November 24, 2024

บริษัท มาโครมิลล์ เซาท์ อีสต์ เอเชีย (ประเทศไทย) จำกัด ผู้ดำเนินการวิจัยออนไลน์ ได้จัดทำแบบสำรวจด้านอาชีพเสริม

โดยแบบสำรวจนี้มีเป้าหมายคือผู้บริโภคชาย-หญิงในประเทศไทยจำนวน 2,065 คน ที่มีอายุ 16 ปีขึ้นไป ซึ่งดำเนินการสำรวจตั้งแต่วันที่ 17 สิงหาคม 2023 จนถึงวันที่ 6 กันยายน 2023 พบว่าเกือบ 50% ของผู้ตอบแบบสอบถามทั้งหมดนิยมรับคะแนนผ่านการตอบแบบสำรวจและทดลองสินค้า

เมื่อถามถึงช่องทางหรือวิธีการให้ได้มาซึ่งรายได้เสริมหรือรางวัลตอบแทนในช่วงปีที่ผ่านมา ส่วนมากใช้วิธีการรับงานตอบแบบสอบถามและทดลองใช้ผลิตภัณฑ์ ซึ่งคิดเป็น 53.5% ส่วนอันดับที่ 2 ได้แก่การทำงานพาร์ทไทม์ชั่วคราว ทั้งนี้ คำตอบของอันดับ 1 และอันดับ 2 นั้นห่างกัน 30 คะแนน และสำหรับอันดับ 3 นั้นได้แก่การลงทุนทางการเงิน  เกือบ 40% ของผู้ตอบแบบสอบถามมักใช้เงินสดไปกับการใช้จ่ายส่วนตัว และต้องการเก็บออมเงินสำหรับใช้จ่ายในอนาคต

เมื่อถามถึงเหตุผลของการรับทำอาชีพเสริมหรือรับรางวัลตอบแทนในปัจจุบันหรือมีความสนใจที่จะรับรายได้ดังกล่าวในอนาคต พบว่า เหตุผล 5 อันดับแรกมีดังนี้ อันดับที่ 1 คือเพื่อให้ได้เงินสดสำหรับใช้จ่ายส่วนตัวหรือเงินที่สามารถใช้ได้อย่างอิสระ คิดเป็น 44.0% อันดับที่ 2 คือเพื่อเก็บออมเงินสำหรับใช้ในอนาคต คิดเป็น 40.2% และ อันดับที่ 3 จำนวน 30% พบว่าการใช้ชีวิตโดยอาศัยเพียงเงินเดือนหรือรายได้หลักของตนเองอย่างเดียวนั้นไม่เพียงพอ

เกือบ 85% ตั้งใจที่จะหารายได้เสริมหรือของรางวัลตอบแทนผ่านอาชีพเสริม การลงทุน หรือสะสมคะแนนในแอปพลิเคชั่นในอนาคต

เมื่อถามว่าผู้ตอบแบบสอบถามว่ามีความสนใจในการหารายได้เสริมหรือรับรางวัลตอบแทนผ่านการทำอาชีพเสริม การลงทุน การสะสมคะแนนในแอปพลิเคชั่น ฯลฯ ในอนาคตหรือไม่ คนจำนวน 243 คนได้ตอบคำถามดังกล่าว โดยมี 2 คำตอบอันดับต้นๆ ได้แก่ “สนใจมาก” และ “สนใจอยู่บ้าง” ซึ่งรวมแล้วคิดเป็น 85.6%

 

(2 อันดับต้น: สัดส่วนที่รวมทั้งผู้ที่สนใจมากและผู้ที่สนใจอยู่บ้างไว้ด้วยกัน)

จากผลสำรวจข้างต้น ทำให้เข้าใจถึงข้อมูลความสนใจในอาชีพเสริมของผู้บริโภคชาวไทยได้อย่างชัดเจน ซึ่งข้อมูลรายวันที่ทางบริษัทฯ ได้รับจากผู้บริโภค อาทิเช่น ผลตอบแบบสำรวจ จะกลายเป็นหัวข้อหลักในการปรับปรุงและพัฒนาสินค้าและบริการของหลายบริษัท อันนำไปสู่การสร้างอนาคตที่สะดวกสบายและเอื้อต่อการใช้ชีวิตได้ง่ายขึ้นกว่าเดิม

ร่วมตอบแบบสำรวจออนไลน์เพื่อรับของรางวัลและร่วมเป็นส่วนหนึ่งของการสร้างประโยชน์ต่อสังคม

คลิกที่นี่เพื่อลงทะเบียนเป็นหนึ่งในสมาชิกผู้ตอบแบบสำรวจออนไลน์ของ Yimresearch>  https://yimresearch.net/public/

ปัญญาประดิษฐ์ (AI) เป็นผู้เปลี่ยนเกมในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา และมีศักยภาพที่จะเปลี่ยนแปลงอุตสาหกรรมต่างๆ มากมาย แต่สำหรับปี 2566 นี้ generative AI ได้กลายเป็นเทคโนโลยีที่ก้าวล้ำ ซึ่งจะทำให้โลกตะลึง ผลการสำรวจ "วิสัยทัศน์ด้านเทคโนโลยีปี 2023" ของ Accenture เมื่อเร็วๆ นี้ เปิดเผยว่า 100% ของผู้ตอบ แบบสอบถามชาวไทย (ซึ่งเป็นเปอร์เซ็นต์ที่สูงที่สุดในโลก) เห็นพ้องกันว่า generative AI จะเปลี่ยนโฉมระบบ อัจฉริยะขององค์กร สิ่งนี้สะท้อนให้เห็นว่า ผู้บริหารชาวไทยพร้อมที่จะเปิดรับ generative AI มาใช้งานเพื่อ กำหนดขอบเขตการปฏิบัติงานในยุคถัดไป อันนำมาซึ่งโอกาสอันยิ่งใหญ่ในการพัฒนาสร้างสรรค์องค์กรรูปแบบ ใหม่ และพลิกโฉมโมเดลธุรกิจแบบเดิมๆ ด้วยการใช้โมเดลพื้นฐาน AI ผู้บริหารในประเทศไทยรายงานว่า ประโยชน์หลักสำหรับองค์กรมีอยู่ 2 ประการสำคัญ ได้แก่ ประสบการณ์ของลูกค้าที่ดีขึ้น (78%) และการเร่ง สร้างนวัตกรรม (68%) ความเสี่ยงในการดำเนินการอันดับต้นๆ ที่ผู้บริหารชาวไทยคาดการณ์ไว้คือ การประยุกต์ ใช้เทคโนโลยีที่เข้ากันไม่ได้กับของเดิม การปฏิเสธการเข้าร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และต้นทุนที่สูงขึ้นหรือ เพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตาม แม้ว่าเครื่องมือเหล่านี้จะสร้างประโยชน์มากมายสำหรับการพัฒนาซอฟต์แวร์ก็ตาม แต่ก็ ยังต้องพิจารณาข้อด้อยหลายประการที่พบได้ทั่วไปด้วย

ข้อด้อย 3 ประการสำหรับการพัฒนาแอปพลิเคชั่น AI

ความท้าทายที่องค์กรต้องเตรียมพร้อมรับมือเมื่อใช้เครื่องมือ AI ได้แก่:

 

● การขาดแคลนผู้มีความสามารถด้านเทคโนโลยี เป็นอุปสรรคต่อการตรวจสอบความถูกต้อง ของผลลัพธ์: แม้ว่าเครื่องมือ AI จะเพิ่มประสิทธิภาพของนักพัฒนา โดยการสร้างโค้ดขึ้นมาได้เอง แต่เครื่องมือเหล่านี้เพียงอย่างเดียว ไม่สามารถแก้ไขความขาดแคลนของผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยี ได้ เนื่องจากนักพัฒนาที่มีทักษะยังคงมีความสำคัญในการทำงาน เพื่อรับประกันว่าโค้ดที่ใช้งานจะ ปราศจากข้อผิดพลาดและมีความปลอดภัย และรับประกันความสมบูรณ์และฟังก์ชั่นการทำงาน ตามจุดประสงค์ที่ออกแบบไว้

● การละเลยขั้นตอนอื่นๆ ของวงจรการพัฒนา: การสร้างแอปพลิเคชั่นครอบคลุมมากกว่าแค่การสร้าง โค้ดและการแก้ไขโค้ด มันไปไกลกว่าความสามารถของเครื่องมือสร้าง AI ใดๆ เนื่องจากเกี่ยวข้องกับ การสร้างสภาพแวดล้อมการพัฒนา การคอมไพล์โค้ดและการสร้างแอปพลิเคชั่น การดูแลการบูรณาการ โค้ด การทดสอบ การจัดการการเปลี่ยนแปลงผ่านแนวทางปฏิบัติ DevOps และการจัดการโฮสต์ของ แอปพลิเคชั่นและการจัดการเวลาการใช้งานจริง

● ภาระต้นทุนค่าใช้จ่ายทางด้านเทคโนโลยีที่เพิ่มขึ้น: โมเดลกำเนิดที่ใช้ AI มีศักยภาพมหาศาล ในการเร่งความเร็วในการสร้างโค้ดใหม่อย่างมีนัยสำคัญ อย่างไรก็ตาม สิ่งสำคัญคือต้องใช้ความ ระมัดระวัง เนื่องจาก AI สามารถเริ่มต้นสร้างนวัตกรรมได้อย่างก้าวกระโดด แต่ก็อาจจะก่อให้เกิดค่าใช้ จ่ายในการบำรุงรักษา และการทำให้มั่นใจว่าแอปพลิเคชั่นมีความยั่งยืน โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากมี ปัญหาเกี่ยวกับคุณภาพของโค้ด การกำกับดูแล และความปลอดภัย สิ่งนี้อาจเสี่ยงต่อการสะสมภาระ ค่าใช้จ่ายที่เกิดจากงานทางด้านเทคโนโลยี และเพิ่มภาระให้กับผู้เชี่ยวชาญด้านไอทีที่มีงานล้นมือ อยู่แล้ว

 

เพื่อจัดการกับความท้าทายเหล่านี้อย่างมีประสิทธิผล องค์กรต่างๆ จึงต้องนำแนวทางแบบบูรณาการมาใช้ โดยใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีแบบฝัง AI ไว้ในโซลูชั่นอยู่แล้ว ขณะเดียวกันก็ให้การกำกับดูแล การตรวจสอบ ความปลอดภัย และการสนับสนุนนักพัฒนาตลอดวงจรการพัฒนาซอฟต์แวร์

การผสมผสาน AI เข้ากับทุกขั้นตอนของวงจรการพัฒนาแอป

ด้วยการใช้การตั้งค่าที่ถูกต้อง ทีมนักพัฒนาสามารถเอาชนะความท้าทายข้างต้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ และใช้ ประโยชน์จาก AI เพื่อเร่งการพัฒนาแอปได้อย่างเต็มที่

เพื่อให้เกิดนวัตกรรมที่ดียิ่งขึ้น การผสมผสาน generative AI เข้ากับเทคโนโลยี low-code ช่วยยกระดับการ กำกับดูแล ฝังการตรวจสอบความปลอดภัย และสนับสนุนนักพัฒนา ตลอดวงจรการพัฒนาซอฟต์แวร์ทั้งหมด ถือเป็นสิ่งสำคัญ การบูรณาการนี้ช่วยเพิ่มศักยภาพให้กับบุคคลากรและองค์กรมากยิ่งขึ้น โดยจัดเตรียมเครื่องมือ ในการพัฒนาและแก้ไขแอปพลิเคชั่นด้วยความคล่องตัว ความสามารถในการปรับลดขนาดของระบบและระบบ ความปลอดภัยที่ได้รับการปรับปรุงให้ดีขึ้น ช่วยให้พวกเขาสามารถสร้างโมเดลแอปพลิเคชั่นใหม่ๆ ด้วย สถาปัตยกรรมและประสบการณ์ผู้ใช้ที่เหมาะสม ตลอดจนวิเคราะห์มูลค่าทางธุรกิจและผลกระทบต่อองค์กรได้ อย่างมีประสิทธิภาพ

การใช้ประโยชน์จากตัวเชื่อมต่อ ChatGPT เป็นตัวอย่างที่ดี ผู้ช่วยเสมือนเป็นเครื่องมือทรงพลังที่สามารถโต้ ตอบกับผู้ใช้ผ่านการประมวลผลและการสร้างภาษาธรรมชาติ ผู้ช่วยเสมือนเหล่านี้สามารถให้คำตอบเฉพาะ บุคคล ตอบคำถามและปฏิบัติงาน ปรับปรุงประสบการณ์ผู้ใช้และเร่งประสิทธิภาพการทำงานให้เร็วขั้นได้

ด้วยการใช้ประโยชน์จาก generative AI ภายในแอปพลิเคชั่น นักพัฒนาสามารถขยายไปสู่กรณีการใช้งาน ใหม่ๆ และปลดล็อกความเป็นไปได้ใหม่ๆ ด้วยประสบการณ์การสนทนาเชิงโต้ตอบ สิ่งเหล่านี้จะเปิดช่องทาง สำหรับการสนับสนุนลูกค้าที่ได้รับการปรับปรุงดีขึ้น ไม่ว่าจะเป็นผู้ช่วยเสมือน แอปพลิเคชั่นการเดินทางและ การจอง การแปลภาษา และแอปพลิเคชันอื่นๆ อีกมากมาย

ท้ายที่สุดแล้ว ในขอบเขตของการพัฒนาซอฟต์แวร์ การใช้ประโยชน์จากแพลตฟอร์มการพัฒนาแบบ low-code ยังให้ประโยชน์เพิ่มเติมมากมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังจากผสมผสาน generative AI เข้าด้วยกัน

● ส่งเสริมนักพัฒนารุ่นใหม่: การใช้ low-code ทำให้ความสามารถของ AI ทำงานกับระบบส่วนรวม ได้ดีขึ้น โดยขยายขอบเขตการเข้าถึงไปยังนักพัฒนาในวงกว้าง รวมถึงนักพัฒนาและผู้เชี่ยวชาญด้าน ไอทีรุ่นรุ่นใหม่ๆ ซึ่งทำได้โดยการนำการพัฒนาที่มีคำแนะนำไปใช้ และทำให้กระบวนการระบุ จุดประสงค์การใช้งานภายในแอปพลิเคชันง่ายขึ้น โดยใช้ภาษาภาพที่ตรวจสอบและทวนสอบได้ง่าย

● ความเป็นส่วนตัว ความปลอดภัยและการควบคุมผู้ใช้งานที่แข็งแกร่ง: การรักษาความลับของ ข้อมูล ได้รับการยึดถือปฏิบัติในแพลตฟอร์มแบบ low-code ทำให้มั่นใจได้ว่าข้อมูลที่แชร์ออกไปนั้น ยังคงความเป็นส่วนตัว และไม่สามารถเข้าถึงได้โดยผู้ใช้ที่ไม่ได้รับอนุญาต นอกจากนี้นักพัฒนายังได้ รับความสามารถในการกำหนดสิทธิ์ของผู้ใช้งาน ทำให้พวกเขาสามารถจัดการบทบาทและความ รับผิดชอบภายในแพลตฟอร์มได้อย่างรอบคอบ

● โซลูชั่นแบบครบวงจร: เมื่อโซลูชั่นแบบ low-code ถูกรวมเข้ากับ AI โซลูชั่นเหล่านี้จะสามารถ รองรับทุกขั้นตอนของวงจรการใช้งานซอฟต์แวร์ ซึ่งรวมถึงภาระงานต่างๆ เช่น การออกแบบงาน ส่วนหน้า การบูรณาการข้อมูล การใช้ตรรกะ การเผยแพร่ การใช้งานโฮสต์ และอื่นๆ

การผสานรวมระหว่าง low-code และ AI มีศักยภาพในการปฏิวัติการพัฒนาซอฟต์แวร์ ด้วยการทำให้ AI เป็น ส่วนสำคัญของกระบวนการพัฒนา นักพัฒนาสามารถปลดล็อกความเป็นไปได้ใหม่ๆ และส่งมอบแอปพลิเคชัน คุณภาพสูงด้วยความคล่องตัว ความสามารถในการปรับลดขนาดระบบ และประสบการณ์ผู้ใช้ที่ได้รับการปรับปรุง

อย่างไรก็ตาม สิ่งสำคัญคือ ต้องตระหนักถึงข้อผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้นของ AI และ low-code และดำเนินการ เพื่อบรรเทาผลกระทบเหล่านั้น ด้วยการวางแผนและดำเนินโครงการอย่างรอบคอบ นักพัฒนาสามารถมั่นใจ ได้ว่าพวกเขากำลังใช้เทคโนโลยีเหล่านี้ได้อย่างเต็มศักยภาพ

บทความโดย: มาร์ค วีสเซอร์ รองประธานกรรมการ เอเชียแปซิฟิก

 

Mark Weaser, Vice-President for Asia-Pacific OutSystems

 

 

แมทเพรสโซ่ (Mathpresso) สตาร์ทอัปสาย EdTech ชื่อดังจากเกาหลี ผู้พัฒนา QANDA แพลทฟอร์มการเรียนออนไลน์อันดับหนึ่งของไทย

X

Right Click

No right click