February 22, 2025

ทีเอ็มบีธนชาต หรือ ทีทีบี ร่วมกับ ศูนย์การค้าเอ็มโพเรียม เอ็มควอเทียร์ และเอ็มสเฟียร์ มอบประสบการณ์การช้อปปิ้งสุดพิเศษในเดือนแห่งความรักให้กับผู้ถือบัตรเครดิต ttb และบัตรเครดิต ttb Global House ประเภทบุคคลธรรมดา ด้วยแคมเปญEM District Love Unstoppable 2025” พร้อมรับคูปองแทนเงินสด สูงสุด 11,500 บาท / วัน เมื่อช้อปตามเงื่อนไข ตั้งแต่วันนี้ – 28 กุมภาพันธ์ 2568

พิเศษ! 3 วันเท่านั้น รับเพิ่ม Erb Dazzling Couple Gift เซตคู่ดูแลผิวสวยและผิวหอม มูลค่า 2,280 บาท จำนวน 1 สิทธิ์ / ท่าน ตลอดรายการ เมื่อมียอดใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิต ttb และบัตรเครดิต ttb Global House ตั้งแต่ 14,000 บาท ขึ้นไป / เซลล์สลิป ในระหว่างวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2568 - 16 กุมภาพันธ์ 2568 ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมของโปรโมชัน ได้ที่ https://www.ttbbank.com/th/promotion/detail/emdistrict-feb25

ทีทีบีส่งเสริมให้ลูกค้าบัตรเครดิตใช้จ่ายเท่าที่จำเป็นและชำระคืนได้เต็มจำนวนตามกำหนด จะได้ไม่เสียดอกเบี้ย 7% - 16% ต่อปี เพื่อชีวิตทางการเงินที่ดีขึ้นทั้งในวันนี้ และอนาคต

คนมีรถคงเข้าใจกันดีว่า เมื่อซื้อรถสักคันแล้ว ค่าใช้จ่ายจะยังไม่จบแค่วันที่ขับรถออกจากศูนย์ เพราะในทุก ๆ ปีจะมีปัจจัยหลาย ๆ อย่างที่ทำให้เจ้าของรถจำเป็นต้องใช้เงินอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เช่น ค่าดูแลสภาพรถ ค่าน้ำมัน ค่าผ่อนงวดรถ ค่าประกันภัย ค่าภาษีและพ.ร.บ. หรือค่าจอดรถและค่าทางด่วน ดังนั้น ผู้ขับขี่ทุกคนต้องวางแผนอย่างรัดกุม เพื่อให้รายรับ-รายจ่ายในแต่ละเดือนอยู่ในสภาพคล่อง ไม่ให้เงินที่ดูแลรถกระทบค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน และไม่ให้ค่าใช้จ่ายอื่น ๆ กระทบเงินที่ต้องใช้เกี่ยวกับรถ fintips by ttb #เรื่องเงินที่รู้จริงแบบเพื่อนที่รู้ใจ จึงอยากให้คนมีรถวางแผนค่าใช้จ่ายอย่างถี่ถ้วน เพื่อให้สภาพการเงินหลังซื้อรถราบรื่น วันนี้จึงชวนมาเช็กลิสต์กันว่าเมื่อมีรถเป็นของตัวเอง 1 คัน ภายใน 1 ปีจะมีค่าใช้จ่ายอะไรบ้าง

  1. ค่าผ่อนรถยนต์ และดอกเบี้ย

หลายคนเลือกซื้อรถยนต์ด้วยการผ่อน แบ่งชำระเป็นงวด ๆ เพราะรถยนต์เป็นทรัพย์สินมูลค่าสูง การควักเงินก้อนใช้ซื้อรถในครั้งเดียว อาจไม่สะดวกต่อใครหลายคน การผ่อนชำระรถยนต์มีการคำนวณดอกเบี้ยแบบคงที่ (Flat Rate) ซึ่งเป็นรูปแบบที่เงินต้นลด แต่ดอกเบี้ยไม่ลดตาม ต้องชำระค่าผ่อนรถจำนวนเต็มให้ตรงกำหนดทุกงวด หากไม่ชำระและมียอดค้างหลาย ๆ งวด อาจถูกยึดรถคันนั้นไปอย่างน่าเสียดาย

  1. ค่าน้ำมัน และ ค่าไฟฟ้า

เงินที่ใช้ไปกับการเติมน้ำมันถือเป็นค่าใช้จ่ายประจำสำหรับคนมีรถ ซึ่งปัจจุบันราคาน้ำมันไม่มีทีท่าว่าจะถูกลง ทำให้หลายคนมองหาทางเลือกใหม่อย่าง รถยนต์ไฟฟ้าที่มีค่าเติมพลังงานราคาถูกกว่า แต่เจ้าของรถยนต์เติมน้ำมันไม่ต้องกังวลไป เพราะสามารถแบ่งเบาภาระค่าน้ำมันได้ด้วยการชำระผ่านบัตรเครดิตทีทีบี ที่ไม่เพียงแค่รูดจ่ายได้สะดวกรวดเร็วเท่านั้น แต่ยังมีโปรโมชันจากบัตรเครดิตที่คุ้มค่าได้มากขึ้น เมื่อเติมน้ำมันที่ปั๊มบางจากและปั๊มคาลเท็กซ์ รับเครดิตเงินคืนได้สูงสุดถึง 5%

  1. ค่าเบี้ยประกันรถยนต์

ค่าเบี้ยประกันรถยนต์ถือเป็นสิ่งสำคัญที่ผู้ขับขี่รถจำเป็นต้องซื้อกรมธรรม์ประกันภัย ก็จะสามารถเป็นหลักประกันความเสียหายในอนาคต ซึ่งประกันรถยนต์มีหลายราคา แบ่งตามความคุ้มครองที่ผู้ซื้อประกันจะได้รับ ก่อนจะตัดสินใจซื้อกรมธรรม์ประกันภัยควรสำรวจให้ดีว่าตนเองมีพฤติกรรมการใช้รถยนต์อย่างไร โดยแผนประกันภัยมีความแตกต่าง ดังนี้

  • ประกันภัยรถยนต์ชั้น 1 : คุ้มครองอุบัติเหตุทั้งเจ้าของรถและสภาพรถยนต์ ให้ความคุ้มครองมากกว่าประกันภัยประเภทอื่น ๆ เหมาะกับผู้ขับขี่มือใหม่หรือรถใหม่ป้ายแดง
  • ประกันภัยรถยนต์ชั้น 2 และ 2 พลัส (2+) : ประกันชั้น 2 จะคุ้มครองความเสียหายแค่ภายนอกของรถ และแผนประกันแบบชั้น 2+ จะเพิ่มความคุ้มครองรถยนต์ในกรณีอุบัติเหตุที่มีคู่กรณีเท่านั้น เหมาะกับเจ้าของรถที่มีประสบการณ์เชี่ยวชาญการขับขี่
  • ประกันภัยรถยนต์ชั้น 3 และ 3 พลัส (3+) : ไม่คุ้มครองสภาพรถยนต์ ประกันชั้น 3 จะชดเชยค่าเสียหายให้คู่กรณีเท่านั้น แต่ถ้าซื้อประกันรถยนต์ชั้น 3+ จะได้รับการดูแลรถยนต์ เมื่อเกิดอุบัติเหตุระหว่างรถชนรถ เหมาะกับรถยนต์ที่ไม่ได้นำไปขับบ่อย
  1. ค่าภาษีรถยนต์และค่าพ.ร.บ.

รถยนต์มีค่าภาษีประจำปี กฎหมายกำหนดให้เจ้าของรถต้องเสียภาษีรถยนต์ทุกปี หากไม่จ่ายภาษีรถยนต์ติดต่อกัน 3 ปี ทะเบียนจะถูกระงับ เจ้าของรถต้องดำเนินเรื่องเพื่อขอทะเบียนใหม่ และโดนเรียกเก็บค่าภาษีย้อนหลัง ราคาค่าใช้จ่ายในการต่อภาษีประจำปี สำหรับรถยนต์ส่วนบุคคลที่นั่งไม่เกิน 7 ที่นั่ง ขนาดเครื่อง 600 ซีซีแรก คำนวณซีซีละ 50 สตางค์, ขนาดเครื่อง 601-1,800 ซีซี คำนวณซีซีละ 1.50 บาท และขนาดเครื่อง 1,801 ซีซีขึ้นไป คำนวณซีซีละ 4 บาท

ส่วนค่าประกัน พ.ร.บ. คือ ประกันภัยรถยนต์ภาคบังคับตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 ซึ่งเป็นข้อบังคับที่รถทุกคันต้องทำ หากเกิดอุบัติเหตุทางรถยนต์ขึ้นมา ผู้ขับขี่ ผู้โดยสาร และบุคคลภายนอกจะได้รับความคุ้มครองนั่นเอง และค่าใช้จ่ายสำหรับรถยนต์ส่วนบุคคลที่นั่งไม่เกิน 7 ที่นั่งอยู่ที่ 645.21 บาท

  1. ค่าดูแลรักษาสภาพรถยนต์

แน่นอนว่าต้องมีรายจ่ายค่าดูแลรักษาสภาพรถยนต์ อะไหล่และอุปกรณ์ของรถยนต์จะเสื่อมสภาพไปตามการใช้งาน ค่าใช้จ่ายซ่อมแซมรถ ค่าเปลี่ยนอุปกรณ์อะไหล่ ค่าเปลี่ยนถ่ายของเหลวในรถยนต์ ทั้งน้ำมันเครื่อง น้ำมันเบรก น้ำมันเกียร์ก็จะตามมา แนะนำให้นำรถยนต์เข้าไปเช็กสภาพเป็นประจำ ไม่ว่าจะเดินทางไกลหรือใกล้ รถทุกคันที่ใช้งานควรได้รับการตรวจสภาพทุก ๆ 6 เดือนหรือ 1 ปีเพื่อความปลอดภัยของผู้ขับขี่และผู้ใช้ถนนคนอื่น

  1. ค่าที่จอดรถ ค่าทางด่วน ค่าล้างรถ

ค่าที่จอดรถ ค่าผ่านทางด่วน ค่าล้างรถ ค่าปรับกรณีฝ่าฝืนกฎจราจร ค่าใช้จ่ายเหล่านี้เรียกว่าค่าใช้จ่ายแฝง เจ้าของรถบางคนอาจมีที่จอดรถฟรีในบ้าน แต่เมื่อขับออกมาก็ต้องยอมจ่ายค่าจอดรถที่รอเรียกเก็บ ณ ปลายทางอยู่ดี ค่าใช้จ่ายแฝงแบบนี้ไม่ได้เกิดขึ้นบ่อย ๆ และไม่ใช่ทุกคนที่ต้องจ่าย หลายอย่างขึ้นอยู่กับพฤติกรรมส่วนตัวของผู้ขับขี่ เช่น ค่าปรับที่ขับรถฝ่าไฟแดง แน่นอนว่าคนขับที่มีความประพฤติดีจะไม่มีค่าใช้จ่ายส่วนนี้ หรือ ค่าล้างรถที่เจ้าของรถบางคันก็ล้างด้วยตัวเอง แต่บางรายก็ใช้บริการล้างรถตามจุดให้บริการต่าง ๆ

 

แม้ว่าการมีรถยนต์จะนำมาซึ่งค่าใช้จ่ายมากมาย แต่สำหรับใครที่ “รถยนต์” คือสิ่งจำเป็นต้องใช้เดินทางทุกวัน และสามารถจัดการกับค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นได้ ก็ไม่ต้องกังวล ส่วนคนที่ยังไม่พร้อมต้องคิดไตร่ตรองอย่างรอบคอบ ขยันเก็บออมให้มากขึ้น เพื่อรถในฝันจะได้ไม่ต้องเป็นภาระอันหนักอึ้งจนสั่นคลอนสถานะทางการเงิน

 

โดยกำหนดซื้อหุ้นคืนรอบแรกด้วยวงเงิน 7,000 ล้านบาท ตั้งแต่วันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2568 ถึงวันที่ 1 สิงหาคม 2568 เป็นไปตามแผนการบริหารส่วนทุนเพื่อสร้างมูลค่าให้กับผู้ถือหุ้นผ่านการปรับโครงสร้างและขนาดงบดุลให้มีความเหมาะสม

ทีเอ็มบีธนชาต หรือ ทีทีบี จัดแคมเปญ Megabangna Exclusive 2025” กิน – ช้อป สนุกสุดคุ้มได้มากกว่ากับผู้ถือบัตรเครดิต ttb และบัตรเครดิต ttb Global House ประเภทบุคคลธรรมดา รับสิทธิพิเศษมากมาย ณ ศูนย์การค้าเมกาบางนา ตั้งแต่วันที่ 6 มกราคม 2568 – วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2568

  1. รับส่วนลดสูงสุด 50% หรือสิทธิพิเศษจากหมวดร้านอาหาร และหมวดร้านค้าที่ร่วมรายการ
  2. รับ MEGA VOUCHER มูลค่า 200 บาท เมื่อมียอดใช้จ่ายสะสมครบ 5,000 บาทขึ้นไปต่อวัน ณ ร้านอาหารและร้านค้าที่ร่วมรายการ จำนวน 1 สิทธิ์ / หมายเลขบัตร / วัน
  3. รับเพิ่ม! กระเป๋า Limited Edition ออกแบบโดยศิลปิน The Fairydust Spell มูลค่า 999 บาท เมื่อมียอดใช้จ่ายสะสมครบ 10,000 บาทขึ้นไปต่อวัน ณ ร้านอาหารและร้านค้าที่ร่วมรายการ ตั้งแต่วันที่ 6 มกราคม 2568 – วันที่ 31 มกราคม 2568 จำนวน 1 ใบ / หมายเลขบัตร / วัน

ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมของโปรโมชัน ได้ที่ https://www.ttbbank.com/th/promotion/detail/-megabangna-jan25

ทีทีบีส่งเสริมให้ลูกค้าบัตรเครดิตใช้จ่ายเท่าที่จำเป็นและชำระคืนได้เต็มจำนวนตามกำหนด จะได้ไม่เสียดอกเบี้ย 7% -16% ต่อปี เพื่อชีวิตทางการเงินที่ดีขึ้นทั้งในวันนี้ และอนาคต

ในยุคปัจจุบันที่สภาพภูมิอากาศผันแปรอย่างรวดเร็ว อาจนำมาสู่การสูญพันธุ์ครั้งที่ 6 ของสิ่งมีชีวิต ทุกภาคส่วนจึงต้องตื่นตัว รวมถึงภาคธุรกิจ หากตระหนักและใส่ใจเรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ จะเป็นแรงขับเคลื่อนที่สำคัญและช่วยให้ธุรกิจยั่งยืนได้ finbiz by ttb จึงชวนผู้ประกอบการมาทำความเข้าใจและจัดเก็บข้อมูลเพื่อจัดการคาร์บอนฟุตพริ้นท์องค์กร ให้ธุรกิจสามารถจัดการการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้อย่างถูกต้องตรงจุด และเสริมภาพลักษณ์ที่แข็งแกร่งให้กับองค์กร

การสูญพันธุ์ครั้งที่ 6 สัญญาณเตือนที่ไม่ควรมองข้าม

โลกได้เผชิญกับการสูญพันธุ์มาแล้วถึง 5 ครั้ง ซึ่งในแต่ละครั้งเกิดจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การปะทุของภูเขาไฟที่เป็นไปโดยธรรมชาติ และอีก 1 ครั้งจากการชนโลกของอุกกาบาตขนาดใหญ่ และในครั้งนี้ที่โลกกำลังเผชิญกับการสูญพันธุ์ครั้งที่ 6 ซึ่งจะมีอัตราการสูญพันธุ์ของสิ่งมีชีวิตเร็วกว่าปกติถึง 100-1,000 เท่า และมีการเปลี่ยนแปลงอื่น ๆ ของสภาพแวดล้อมเร็วกว่าการทำนายโดยสถิติที่เคยคาดการณ์ไว้ เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่รวดเร็วด้วยอัตราความเร่งที่สูงกว่าอดีต ซึ่งสาเหตุหลักมาจากกิจกรรมของมนุษย์ เช่น การตัดไม้ทำลายป่าและการเผาไหม้เชื้อเพลิงฟอสซิล ปัญหานี้ไม่ได้กระทบเฉพาะธรรมชาติ แต่ยังส่งผลต่อระบบเศรษฐกิจและการดำเนินธุรกิจอย่างชัดเจน ธุรกิจจึงต้องเริ่มปรับตัวตั้งแต่วันนี้ ก่อนที่จะต้องเผชิญกับความเสี่ยงที่คาดไม่ถึงและกฎระเบียบข้อบังคับต่าง ๆ ที่จะมีเพิ่มขึ้นอีกในอนาคต

พฤติกรรมผู้บริโภคเปลี่ยนไป เมื่อความยั่งยืนของโลกคือสิ่งที่ลูกค้าต้องการ

อีกหนึ่งปัจจัยที่ธุรกิจต้องให้ความสนใจด้านสิ่งแวดล้อม คือ พฤติกรรมของผู้บริโภคในยุคปัจจุบันสะท้อนให้เห็นถึงความสำคัญของความยั่งยืนในธุรกิจมากขึ้น ผลสำรวจจาก Nielsen ในปี 2023 พบว่า 73% ของผู้บริโภคทั่วโลกยินดีจ่ายเงินเพิ่มเพื่อสนับสนุนแบรนด์ที่มีความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะกลุ่ม Gen Z และ Millennials ที่มองว่าความยั่งยืนไม่ใช่แค่ “ตัวเลือก” แต่เป็น “มาตรฐาน” เช่น การตัดสินใจซื้อสินค้าจากแบรนด์ที่ลดการใช้พลาสติก หรือมีการชดเชยคาร์บอน (Carbon Offset) ธุรกิจที่ไม่ปรับตัวให้สอดคล้องกับแนวโน้มนี้ อาจเสี่ยงเสียส่วนแบ่งตลาดให้กับคู่แข่งที่นำเสนอมูลค่าด้านความยั่งยืนได้ดีกว่า

ความสมดุลระหว่าง ต้นทุน กำไร และความเสี่ยง คือหัวใจความยั่งยืนของธุรกิจ

การผสมผสานเป้าหมายด้านสิ่งแวดล้อมเข้ากับกลยุทธ์ทางธุรกิจ ไม่ได้แค่สร้างภาพลักษณ์ที่ดีและมีผลต่อการตัดสินใจของผู้บริโภค แต่ยังช่วยลดต้นทุนระยะยาว และรักษาสมดุลของต้นทุน กำไร และความเสี่ยง เช่น การใช้พลังงานทดแทนหรือการปรับปรุงกระบวนการผลิตให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น นอกจากนี้ ยังเป็นเกราะป้องกันความเสี่ยงที่เกิดจากกฎระเบียบด้านสิ่งแวดล้อมที่เข้มงวดขึ้น จึงเป็นอีกหนึ่งเหตุผลที่ทำให้เป้าหมายด้านสิ่งแวดล้อม กลายเป็นความยั่งยืนทั้งของโลกและของธุรกิจ

ก๊าซเรือนกระจก 7 ชนิด ที่ธุรกิจต้องลดให้ได้

ก๊าซเรือนกระจกที่มีบทบาทสำคัญในการเพิ่มอุณหภูมิโลก ได้แก่ คาร์บอนไดออกไซด์ คิดเป็น 74% ของก๊าซเรือนกระจกทั้งหมด มาจากการเผาไหม้เชื้อเพลิง มีเทน เกิดจากภาคเกษตรกรรมและการทิ้งขยะ ไนตรัสออกไซด์ มาจากปุ๋ยเคมีและการผลิตอุตสาหกรรม กลุ่มก๊าซเปอร์ฟลูออไรคาร์บอน เกิดจากกระบวนการถลุงอะลูมิเนียม และใช้เป็นสารตั้งต้นในการผลิต กลุ่มก๊าซไฮโดรฟลูออโรคาร์บอน ที่ใช้ในอุตสาหกรรมเครื่องทำความเย็น ไนโตรเจนไตรฟลูออไรด์ อยู่ในกระบวนการผลิตอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ซัลเฟอร์เฮกซะฟลูออไรด์ นำมาใช้เป็นฉนวนไฟฟ้าจากอุปกรณ์สวิตช์ไฟฟ้าแรงสูง หากธุรกิจสามารถวิเคราะห์และลดการปล่อยก๊าซเหล่านี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น การลดใช้พลังงานที่มาจากฟอสซิล ก็จะช่วยลดต้นทุนในกระบวนการผลิตและเพิ่มโอกาสทางธุรกิจในระยะยาวได้

ก๊าซเรือนกระจกในขอบเขตขององค์กร

การปล่อยก๊าซเรือนกระจกขององค์กรสามารถแบ่งเป็น 3 Scope ที่สำคัญ ธุรกิจต้องทำความเข้าใจในการปล่อยก๊าซเรือนกระจกแต่ละ Scope จึงจะดูแลได้อย่างตรงจุด

  • Scope 1: การปล่อยก๊าซเรือนกระจกโดยตรง การปล่อยและดูดกลับก๊าซเรือนกระจกทางตรงจากกิจกรรมของธุรกิจเอง เห็นได้ง่าย ๆ คือ มีควันออกมาจากปล่อง มีการรั่วออกมาโดยตรง
  • Scope 2: การปล่อยก๊าซเรือนกระจกทางอ้อมที่ถูกซื้อมา การปล่อยและดูดกลับก๊าซเรือนกระจกทางอ้อมจากการใช้พลังงาน ที่องค์กรของเราซื้อหรือนำเข้ามาโดยที่องค์กรไม่ได้ผลิตเอง มีทั้งหมด 5 รายการ ได้แก่ ไฟฟ้า ไอน้ำ ความร้อน ความเย็น และ อากาศอัด
  • Scope 3: การปล่อยก๊าซเรือนกระจกทางอ้อมอื่น ๆ การปล่อยและดูดกลับก๊าซเรือนกระจกทางอ้อมอื่น ๆ เช่น จากซัพพลายเชนของธุรกิจ

 

คาร์บอนฟุตพริ้นท์องค์กร สิ่งที่ทุกธุรกิจต้องใส่ใจ

การจัดการคาร์บอนองค์กร เช่น การตั้งเป้า Net Zero หรือการพัฒนาสินค้าคาร์บอนต่ำ ไม่เพียงสร้างความยั่งยืนในสายตาของผู้บริโภค แต่ยังเพิ่มความน่าสนใจให้กับนักลงทุนที่มองหาองค์กรที่มีเป้าหมายระยะยาวที่ชัดเจน บริษัทใหญ่หลาย ๆ บริษัทมีเป้าหมายที่ชัดเจน เช่น ตั้งเป้าลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากผลิตภัณฑ์ทุกชิ้นให้เป็นศูนย์ภายในปีที่กำหนด ซึ่งนอกจากจะเป็นผลดีต่อสิ่งแวดล้อมแล้วยังช่วยเสริมภาพลักษณ์ที่เข้มแข็งของธุรกิจในตลาดโลก ธุรกิจที่ตื่นตัวและเร่งใส่ใจด้านสิ่งแวดล้อม ไม่เพียงสร้างความเชื่อมั่นในระยะสั้นให้ผู้บริโภค แต่ยังช่วยปูทางสู่ความสำเร็จในอนาคตที่ยั่งยืนและเติบโตได้อย่างมั่นคง

ขั้นตอนสู่การจัดการคาร์บอนฟุตพริ้นท์องค์กร

ขั้นตอนที่ 1 การกำหนดขอบเขตองค์กร แบบควบคุมทางการเงินและควบคุมการดำเนินงาน หรือ แบบปันส่วนตามกรรมสิทธิ์ และการกำหนดขอบเขตการดำเนินงานตาม 3 Scope

ขั้นตอนที่ 2 การระบุกิจกรรมที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกภายในขอบเขตและ Value Chain ขององค์กร

ขั้นตอนที่ 3 การจัดเก็บข้อมูลเกี่ยวกับกิจกรรมและแหล่งที่มาของก๊าซเรือนกระจก

ขั้นตอนที่ 4 การคำนวณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก

ขั้นตอนที่ 5 วิเคราะห์ข้อมูลกิจกรรมและค่าการปล่อยก๊าซเรือนกระจก เพื่อปรับปรุงคุณภาพข้อมูล การจัดลำดับความสำคัญของกิจกรรมตามความเกี่ยวข้องและนัยยะสำคัญขององค์กร

ขั้นตอนที่ 6 รายงานและทวนสอบ จัดทำรายงานเพื่อแสดงแหล่งที่มาและกิจกรรมการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และการตรวจสอบโดยองค์กรภายนอกที่ได้รับใบอนุญาตตามมาตรฐานที่เกี่ยวข้อง

ขั้นตอนที่ 7 ขึ้นทะเบียน ผู้ตรวจสอบจะออกรายงานการทวนสอบ และถ้อยแถลงส่งมาที่องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก ซึ่งจะพิจารณาอนุมัติขึ้นทะเบียนคาร์บอนฟุตพริ้นท์และออก Certificate เพื่อรับรองว่าองค์กรปล่อยก๊าซเรือนกระจกเท่าไหร่ในแต่ละ Scope

การจัดการคาร์บอนฟุตพริ้นท์องค์กรเป็นก้าวแรกของการเปลี่ยนผ่านสู่การเป็นธุรกิจที่ยั่งยืน เพื่อนำไปสู่การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ เพื่อให้องค์กรรู้ปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่แท้จริง และจัดการก๊าซเรือนกระจกได้ถูกต้องตรงจุด อันจะส่งผลระยะยาวกับความยั่งยืนของโลกและธุรกิจ ทั้งนี้ปัจจุบันมีแหล่งเงินทุนสนับสนุนการเปลี่ยนผ่านธุรกิจสู่ความยั่งยืนที่ธุรกิจสามารถเข้าถึงได้ง่าย เพื่อสร้างความยั่งยืนของโลกและให้ธุรกิจเติบโตอย่างยั่งยืน

Page 1 of 46
X

Right Click

No right click