November 08, 2024

การประชุมสุดยอดหัวเว่ย คลาวด์ ซัมมิท (Huawei Cloud Summit) ตอกย้ำความเป็นเลิศของหัวเว่ย คลาวด์ ด้านความเป็นที่สุดแห่งโครงสร้างพื้นฐานสำหรับ AI โดยงานประชุมจัดขึ้นภายใต้แนวคิด ‘รุดหน้าสู่ความอัจฉริยะด้วยทุกสิ่งในรูปแบบบริการ’ (Accelerate Intelligence with Everything as a Service) ซึ่งมีผู้บริหารและผู้เชี่ยวชาญกว่า 500 รายจากหลากหลายอุตสาหกรรมเข้าร่วม เช่น ธุรกิจบริการเครือข่าย ธุรกิจการเงินและอินเทอร์เน็ต นอกจากนี้ หัวเว่ย คลาวด์เผย 10 นวัตกรรมสุดล้ำเพื่อ AI และความเชี่ยวชาญหลากหลายด้านของผานกู่ โมเดล (Pangu Model) โดยมีเป้าหมายเพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่พร้อมรองรับ AI และประยุกต์ให้เหมาะสมกับอุตสาหกรรมแต่ละสาขาเพื่อก้าวสู่ยุคอัจฉริยะได้อย่างรวดเร็วยิ่งขึ้น

นายจิม ลู่ ประธานภูมิภาคยุโรปและรองประธานอาวุโสของหัวเว่ย กล่าวย้ำระหว่างสุนทรพจน์ว่า “ระบบอัจฉริยะจะเปิดประตูสู่โอกาสใหม่ให้ยุโรปในทศวรรษหน้า เรามุ่งมั่นพัฒนาเทคโนโลยีไอซีทีเพื่อช่วยให้ลูกค้าและพันธมิตรทั่วโลกปลดล็อกศักยภาพสู่ความอัจฉริยะอย่างเต็มรูปแบบ เมื่อผนึกกำลังกับพันธมิตรในยุโรป เราจะพร้อมสนับสนุนการเปลี่ยนผ่านสู่ยุคดิจิทัลและยุคอัจฉริยะในภาคอุตสาหกรรมได้ดียิ่งขึ้นไปอีก”

แจ็คเกอลีน สือ ประธานฝ่ายการตลาดและบริการขายระดับโลกของหัวเว่ย คลาวด์ กล่าวว่า “หัวเว่ย คลาวด์ เป็นหนึ่งในผู้ให้บริการคลาวด์ที่เติบโตเร็วที่สุดในโลก ทีมงานของเราทุกคนทุ่มเทเพื่อก้าวข้ามขีดจำกัดและนำเสนอเทคโนโลยีล้ำสมัยให้กับลูกค้าทั่วโลก ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมาเราได้เปิดตัว Could Region ในไอร์แลนด์, ตุรกี, อินโดนีเซีย, ซาอุดีอาระเบีย เพื่อให้ลูกค้าเข้าถึงระบบคลาวด์ประสิทธิภาพสูงได้ง่ายขึ้น หัวเว่ยมีการรับรองด้านความปลอดภัยมากกว่า 120 ฉบับทั่วโลก มอบความมั่นใจว่าธุรกิจและข้อมูลของคุณจะปลอดภัย นอกเหนือจากการนำเสนอเทคโนโลยีสุดล้ำ เรามุ่งผลักดันพาร์ทเนอร์ให้เติบโตไปพร้อมกัน และบรรลุเป้าหมายดังกล่าวด้วยโครงการ GoCloud และ GrowCloud ในขณะที่ เทคโนโลยี AI ปัจจุบันกำลังพลิกโฉมทุกสิ่ง และเรามุ่งยืนหยัดในระดับแนวหน้าเพื่อวางรากฐานระบบคลาวด์ที่แข็งแกร่งสำหรับผู้ใช้งานทุกคน ใน ทุกอุตสาหกรรมเพื่อพุ่งทะยานสู่ความอัจฉริยะ”

โมเดลพื้นฐานในปัจจุบันสร้างนิยามใหม่ของการผลิต, ปฏิสัมพันธ์, กระบวนทัศน์การบริการ และโมเดลธุรกิจสำหรับการใช้งานแบบดั้งเดิม AI ถูกใช้เป็นเครื่องมือผลักดันการเติบโตของการประมวลผลบนคลาวด์ ถึงแม้ว่า AI จะมีศักยภาพมากมาย แต่การนำไปใช้ให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ทางธุรกิจต้องมีนวัตกรรมเชิงระบบที่เหมาะสม บรูโน จาง ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายเทคโนโลยีของหัวเว่ย คลาวด์ กล่าวว่า “หัวเว่ย คลาวด์จะช่วยคุณด้วยสองกลยุทธ์หลัก กล่าวคือ AI for Cloud ที่ใช้ AI และโมเดลพื้นฐานในการยกระดับประสบการณ์ใช้งาน โดยพลิกโฉมการพัฒนาซอฟต์แวร์ การผลิตคอนเทนต์ดิจิทัลและสิ่งอื่น ๆ อีกมากมาย และอีกข้อคือ Cloud for AI ที่ทำให้การใช้ AI ราบรื่นและมีประสิทธิภาพ โดยใช้นวัตกรรมเชิงสถาปัตยกรรม พื้นที่จัดเก็บข้อมูลแบบ AI Native และการผสานข้อมูลกับ AI ทำให้การฝึกและใช้งาน AI มีประสิทธิภาพมากกว่าที่เคย"

วิลเลียม ฟาง ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายผลิตภัณฑ์ของหัวเว่ย คลาวด์ เน้นย้ำถึงความต้องการที่เพิ่มขึ้นในด้านต่าง ๆ ของโครงสร้างพื้นฐานคลาวด์ เนื่องจาก AI และโมเดลพื้นฐานพัฒนารุดหน้าอย่างรวดเร็ว ลูกค้าต้องการการทำงานร่วมกันระหว่างสถาปัตยกรรมการประมวลผลที่ต่างกัน การประมวลผลแบบคลาวด์ เนทีฟ (Cloud Native) ประสิทธิภาพสูง พื้นที่จัดเก็บข้อมูลขนาดใหญ่ การปฏิบัติตามข้อกำหนดความปลอดภัย การกำกับดูแลที่ลดความสูญเปล่า และความยืดหยุ่นด้านการใช้งาน เมื่อโมเดลพื้นฐานขยายไปสู่การใช้งานที่กว้างขึ้น การประมวลผลบนคลาวด์จะช่วยบ่มเพาะนวัตกรรมและการพัฒนาโมเดล AI ดังนั้น การผสานการทำงานระหว่าง AI กับคลาวด์จะปลดปล่อยศักยภาพความอัจฉริยะให้รุดหน้า โดยหัวเว่ย คลาวด์มุ่งมั่นผลักดันการบูรณาการนี้ให้บรรลุเป้าหมาย เพื่อตอบโจทย์ความต้องการสูงสุดของลูกค้า

ในการประชุมสุดยอดหัวเว่ย คลาวด์ ซัมมิท หัวเว่ย คลาวด์เปิดตัว 10 นวัตกรรมล้ำสมัยที่มุ่งรองรับ AI ตอกย้ำความเป็นที่สุดแห่งโครงสร้างพื้นฐานคลาวด์สำหรับ AI อย่างแท้จริง

คูเวิร์ส (KooVerse): หัวเว่ย คลาวด์มี Availability Zone (AZ) 85 แห่งใน 30 ภูมิภาค ในกว่า 170 ประเทศ โครงสร้างพื้นฐานคลาวด์ระดับโลกนี้ครอบคลุมการประมวลผล การจัดเก็บข้อมูล ระบบเครือข่าย และระบบรักษาความปลอดภัยขั้นสูง ที่ลดค่าความหน่วงลงเหลือเพียง 50 มิลลิวินาที

สถาปัตยกรรมชิงเทียนแบบกระจาย (Distributed QingTian architecture): โมเดลพื้นฐานต้องการทรัพยากรการประมวลผลเพิ่ม 10 เท่าทุก 18 เดือน ซึ่งเหนือกว่ากฎของมัวร์ (Moore's Law) มาก เพื่อรับมือความท้าทายนี้ สถาปัตยกรรมชิงเทียนแบบกระจายได้พัฒนาจากสถาปัตยกรรมหลักและรองแบบดั้งเดิม และเนื่องจากสร้างบนบัสความเร็วสูง (Unified Bus) ชิงเทียนจึงก้าวข้ามขีดจำกัดด้านการประมวลผล พื้นที่จัดเก็บ และเครือข่ายในกลุ่มแกนหลักการประมวลผล AI ขั้นสูงที่ประมวลผลด้วยเครือข่ายแบบ peer-to-peer ด้วยฐานข้อมูลต่างชนิดกัน

การประมวลผล AI (AI compute): บริการ AI บนคลาวด์ขนาดมหึมาและเสถียรภาพสูง รองรับการฝึกโมเดลพื้นฐานได้ในระดับล้านล้านพารามิเตอร์ ทำการฝึกอบรม AI บนคลัสเตอร์ที่มีการ์ดนับพันใบต่อเนื่องได้เป็นเวลา 30 วัน โดยประสิทธิภาพการทำงานสูงถึง 90% มีช่วงเวลาหยุดให้บริการไม่เกิน 10 นาที ใช้การประมวลผลผ่านผานกู่ โมเดล (Pangu Model) มากกว่า 100 ชุด พร้อมด้วยโมเดลโอเพนซอร์สขนาดใหญ่ที่ดัดแปลงแล้ว 100 รายการ

พื้นที่จัดเก็บข้อมูลแบบ AI-Native (AI-Native storage): โมเดลการฝึกอบรมต้องการข้อมูลมหาศาล หัวเว่ย คลาวด์รับมือกับความต้องการนี้ด้วย 3 กลยุทธ์ ได้แก่ บริการหน่วยความจำ EMS ที่จัดเก็บพารามิเตอร์หลายเพตะไบต์ด้วยแบนด์วิดท์ขนาดใหญ่ถึง 220 TB พร้อมค่าความหน่วงต่ำระดับไมโครวินาที; บริการ Cache SFS Turbo พร้อมประสิทธิภาพการประมวลผลเหนือระดับและทำงานพร้อมกันด้วยความเร็วหลายสิบล้าน IOPS ทำให้บันทึกข้อมูล 1 พันล้านรายการในเวลาเพียง 5 ชั่วโมง จากเวลาปกติ 100 ชั่วโมง และแหล่งเก็บข้อมูลบนคลาวด์ Object Storage Service (OBS) ที่ลดต้นทุนการจัดเก็บข้อมูลการฝึกอบรมและการอนุมานลงถึง 30%

การรักษาความปลอดภัย E2E (E2E security): วงจรการรักษาความปลอดภัยที่ครอบคลุมสภาพแวดล้อมการทำงานของโมเดลทั้งข้อมูลการฝึก, โมเดล, เนื้อหาที่สร้างขึ้นและแอปพลิเคชัน เพิ่มความมั่นใจได้ว่าจะเป็นโมเดลและแอปพลิเคชันที่มีความเสถียร ปลอดภัย และสอดคล้องกับข้อกำหนด

เกาส์ดีบี (GaussDB): คลังข้อมูลยุคใหม่พร้อมใช้งาน ทั้งยังเปี่ยมประสิทธิภาพ, ความปลอดภัย, ความยืดหยุ่นและความอัจฉริยะ นอกจากนี้ยังปรับใช้งานและโยกย้ายได้ง่ายดาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งสถาปัตยกรรมแบบกระจายที่รองรับความต้องการระดับองค์กร ยกระดับความพร้อมใช้งานด้วยจุดกู้คืนข้อมูล (RPO) คลัสเตอร์คู่แบบ zero intra-city, แยกการขัดข้องระหว่างซอฟต์แวร์และฮาร์ดแวร์อย่างสมบูรณ์โดยไม่หยุดการทำงาน เกาส์ดีบี (GaussDB) ได้รับการรับรองความปลอดภัยระดับ CC EAL4+ ซึ่งเป็นระดับความปลอดภัยสูงสุดในอุตสาหกรรม สำหรับระบบอัตโนมัติ เกาส์ดีบี (GaussDB) ยกระดับการโยกย้ายฐานข้อมูล การใช้งาน และการโยกย้ายในรูปแบบฐานข้อมูล AI เนทีฟชุดแรกของโลก

ดร. นิโคส เอ็นตาร์มอส ผู้อำนวยการศูนย์ปฏิบัติการฐานข้อมูล สถาบันซอฟต์แวร์ส่วนกลางของหัวเว่ย กล่าวย้ำว่า GaussDB เกิดจากการสั่งสมประสบการณ์ด้านฐานข้อมูลของหัวเว่ยเป็นเวลายาวนานกว่า 20 ปี นอกจากนี้ศักยภาพการบริการระดับองค์กรอันเป็นที่ยอมรับมานานกว่า 30 ปี GaussDB จึงเป็นตัวเลือกที่เหนือกว่าสำหรับผู้ใช้คลาวด์ทั่วโลก เพื่อตอบสนองความต้องการด้านธุรกรรมและการประมวลผลข้อมูลขั้นสูง

การผสานระหว่าง Data และ AI (Data-AI convergence): ปลดปล่อยศักยภาพเต็มรูปแบบของโมเดลพื้นฐาน จาก “Data+AI” เป็น “Data4AI และ AI4Data” หัวเว่ยคลาวด์ เลคฟอร์เมชัน (Huawei Cloud LakeFormation) รวมข้อมูลมหาศาลจาก Data Lake หรือคลังสินค้าหลายแห่ง และสามารถใช้ชุดข้อมูลเพียงชุดเดียวกับกลไกการวิเคราะห์ข้อมูลและกลไก AI อื่น ๆ โดยปราศจากการโยกย้ายข้อมูล ก่อให้เกิดการทำงานร่วมกันระหว่าง DataArts, ModelArts และ CodeArts จากนั้นจัดระเบียบและกำหนดข้อมูลและขั้นตอนการทำงานของ AI ซึ่งทั้ง 3 ส่วนนี้จะขับเคลื่อนการฝึกอบรมแบบออนไลน์และการอนุมานด้วยข้อมูลแบบเรียลไทม์ กลยุทธ์ AI4Data ทำให้การกำกับดูแลข้อมูลมีความอัจฉริยะยิ่งขึ้น ตั้งแต่การบูรณาการข้อมูล การพัฒนา ไปจนถึงการจัดการคุณภาพและสินทรัพย์

โครงสร้างพื้นฐานสำหรับสื่อ (Media infrastructure): หัวเว่ย คลาวด์ สร้างโครงสร้างพื้นฐานสำหรับสื่อที่เปี่ยมประสิทธิภาพเพื่อรองรับยุคทองของการสร้างคอนเทนต์ด้วยปัญญาประดิษฐ์ (AIGC) และอินเทอร์เน็ต 3 มิติ (3D Internet) ที่มอบประสบการณ์สดใหม่และพลิกโฉมวงการโดยสิ้นเชิง เจมี หลู ประธานฝ่ายบริการสื่อหัวเว่ย คลาวด์ เผยว่า หัวเว่ย คลาวด์ ปรับโฉมและบูรณาการบริการด้านสื่อด้วยโซลูชันล้ำสมัยที่ออกแบบเฉพาะอุตสาหกรรม ในด้านการเพิ่มประสิทธิภาพ Huawei Cloud MetaStudio รวมบริการผลิตคอนเทนต์ที่มาพร้อม Workspace และมนุษย์เสมือนจริงจาก AIGC ช่วยเพิ่มคุณภาพและย่นเวลาการผลิตเนื้อหา ในด้านประสบการณ์โซลูชัน Huawei Cloud Live, Low Latency Live และ SparkRTC มอบประสบการณ์ไลฟ์สดที่น่าจดจำ และในด้านการพลิกโฉมวงการสื่อ หัวเว่ย คลาวด์มอบบริการ AIGC และ 3D space ที่สามารถโต้ตอบกับผู้ใช้งานแบบเรียลไทม์ ทุกบริการดังกล่าวช่วยต่อยอดธุรกิจและยกระดับประสบการณ์การใช้งานไปอีกขั้น

การจัดการพื้นที่ใช้งาน (Landing Zone): ลูกค้าองค์กรใช้งานและจัดการทรัพยากรได้ดีขึ้นบนหัวเว่ย คลาวด์ ด้วยการบริหารแบบควบรวมทั้งบัญชีผู้ใช้ ข้อมูลส่วนตัว สิทธิ์การใช้งาน เครือข่าย การกำกับดูแล และการจัดการต้นทุน โดยระบบคลาวด์แบบ multi-tenancy ทำให้การทำงานร่วมกันทั้งด้านบุคลากร การเงิน ทรัพยากร สิทธิ์การใช้งานและการปฏิบัติตามข้อกำหนดความปลอดภัยราบรื่นแบบไร้รอยต่อ

การใช้งานที่ยืดหยุ่น (Flexible deployment): ศักยภาพและบริการของผานกู่ โมเดล (Pangu Model) สามารถใช้งานได้ในระบบคลาวด์สาธารณะ ระบบคลาวด์ส่วนตัวและระบบคลาวด์แบบไฮบริด กล่าวคือลูกค้าสามารถสร้างและใช้งานแพลตฟอร์ม AI และโมเดลพื้นฐานบนคลาวด์ส่วนตัวขององค์กรในศูนย์ข้อมูลบนหัวเว่ย คลาวด์ สแต็ก (Huawei Cloud Stack) ซึ่งเป็นโซลูชันคลาวด์แบบไฮบริด

นอกเหนือจากการเปิดตัวนวัตกรรมสุดล้ำทั้ง 10 ประการ หัวเว่ย คลาวด์ได้ย้ำกลยุทธ์การบูรณาการเทคโนโลยีคลาวด์เนทีฟและเทคโนโลยี AI เพื่อขับเคลื่อนความรุดหน้าด้านเทคโนโลยีและการใช้งาน AI อย่างกว้างขวางทั่วโลก ในการประชุมสุดยอดครั้งนี้ บรูโน จาง เปิดตัว Global Leap Program โดย Cloud Native Elite Club (CNEC) ภายใต้แนวคิด “เติบโตก้าวกระโดดด้วยคลาวด์เนทีฟและ AI” (Leap with Cloud Native × AI) เพื่อจุดประกายความคิดผ่านการแลกเปลี่ยนความรู้ด้านเทคนิค การอภิปรายเชิงลึกและหลักปฏิบัติสู่ความสำเร็จ

บริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี่ (ประเทศไทย) จำกัด จัดอีเวนท์ครั้งใหญ่เพื่ออวดโฉมเทคโนโลยี Huawei Cloud Stack ซึ่งตอบโจทย์การให้บริการโซลูชันคลาวด์ที่ปลอดภัยและน่าเชื่อถือ ให้กับศูนย์ข้อมูลของกลุ่มลูกค้าองค์กรในประเทศไทย ด้วยความทุ่มเทอย่างต่อเนื่องในการพัฒนาเทคโนโลยีคลาวด์ของหัวเว่ย เสริมความแกร่งด้วยจุดยืน “Huawei Cloud Stack: ที่สุดแห่งบริการคลาวด์เพื่อยกระดับสู่ความอัจฉริยะ” สอดคล้องกับพันธกิจ “เติบโตในประเทศไทย สนับสนุนประเทศไทย” ของหัวเว่ย รวมถึงความมุ่งมั่นในการนำเสนอโซลูชันที่เปี่ยมด้วยเทคโนโลยีล้ำสมัย ปูทางขับเคลื่อนประเทศไทยสู่การเป็นศูนย์กลางด้านดิจิทัลแห่งภูมิภาคอาเซียนในอนาคต

งาน Huawei Cloud TechDay Thailand 2024 ครั้งนี้ จัดขึ้น ณ โรงแรมอีสติน แกรนด์ พญาไท กรุงเทพมหานคร ในหัวข้อ “Huawei Cloud Stack: ที่สุดแห่งบริการคลาวด์เพื่อยกระดับสู่ความอัจฉริยะ” โดยมีเป้าหมายเพื่อผลักดันศักยภาพการใช้งานคลาวด์ในประเทศไทย เนื่องจากคลาวด์ถือเป็นหนึ่งในโครงสร้างพื้นฐานด้านไอทีที่สำคัญสำหรับอุตสาหกรรมหลายพันแห่ง และระบบไฮบริดคลาวด์ก็ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายในองค์กร จากจุดเด่นด้านการใช้งานแบบอเนกประสงค์, ต้นทุนต่ำ, ปรับการใช้งานเข้ากับอุปกรณ์ที่มีอยู่ได้อย่างครอบคลุมและมีนวัตกรรมการบริการที่ทันสมัย ภายในงานนี้ มีจำนวนพาร์ทเนอร์ของหัวเว่ยในประเทศไทยเข้าร่วมมากกว่า 30 ราย และมีเป้าหมายในการส่งเสริมอีโคซิสเต็มคลาวด์ในประเทศไทยให้แข็งแกร่ง

นายวิคเตอร์ หลัว ผู้อำนวยการด้านสถาปัตยกรรมโซลูชัน หัวเว่ย คลาวด์ ประเทศไทย ได้ขึ้นกล่าวสุนทรพจน์ในงานว่า “ปัจจุบันภาครัฐและองค์กรล้วนต้องการการบริการด้าน AI และบิ๊กดาต้า เพื่อรองรับนวัตกรรมด้านแอปพลิเคชันต่าง ๆ ทั้งนี้ การประมวลผลด้วยเทคโนโลยีคลาวด์สามารถช่วยสร้างสถาปัตยกรรมในรูปแบบเดิมได้อย่างรวดเร็ว ตอบโจทย์ความต้องการทางธุรกิจใหม่ขององค์กรในหลากหลายระดับได้อย่างเหมาะสม อย่างไรก็ตาม ในช่วงที่ธุรกิจเติบโตอย่างก้าวกระโดดด้วยคลาวด์ในรูปแบบเดียว (single-form cloud) มีข้อจำกัดในการประมวลผลข้อมูลจำนวนมหาศาลทำให้ไม่สามารถวิเคราะห์ผลได้แบบเรียลไทม์ เทคโนโลยี Huawei Cloud Stack จึงมอบโซลูชันที่ทรงประสิทธิภาพเพื่อตอบโจทย์ความท้าทายนี้ ด้วยศักยภาพในการเชื่อมต่อและประมวลผลข้อมูลจากเทคโนโลยีขั้นสูง เช่น ฐานข้อมูลต่าง ๆ , บิ๊กดาต้า และปัญญาประดิษฐ์ (AI) ได้อย่างไร้ข้อจำกัด”

ผู้นำด้านเทคโนโลยี

จุดแข็งของ Huawei Cloud Stack คือความเชี่ยวชาญในการผสานนวัตกรรมระบบคลาวด์และข้อมูลของหัวเว่ย ตลอดจนการประยุกต์ใช้ปัญญาประดิษฐ์ (AI) และการพัฒนาบริการคลาวด์ อย่างต่อเนื่อง ด้วยความเป็นผู้นำด้านเทคโนโลยี พื้นที่เก็บข้อมูลได้รับการพัฒนาให้เป็นแบบอัจฉริยะ โดยยกระดับประสิทธิภาพการวิเคราะห์ข้อมูลได้สูงขึ้น 30%, ในขณะเดียวกันการบูรณาการข้อมูลและการหมุนเวียนสินทรัพย์ในระบบคลาวด์ช่วยเพิ่มมูลค่าข้อมูล ด้วยบริการคอนเทนเนอร์ระดับองค์กรที่ใช้งานร่วมกับโอเพ่นซอร์สแบบ K8 ได้ 100% นอกจากนี้ Huawei Cloud Stack ยังเป็นแพลตฟอร์ม AI แบบครบวงจร ที่ช่วยพัฒนา AI ในระดับอุตสาหกรรม และมอบความสามารถในการประมวลผลอัลกอริธึม AI ในสถานการณ์ที่หลากหลาย พร้อมแพลตฟอร์มการจัดการวงจรการพัฒนา AI อย่างเต็มรูปแบบ รวมถึงการประยุกต์ใช้งานและสร้างกระบวนการดำเนินการอีกด้วย

ยืนหนึ่งด้านความปลอดภัยและความน่าเชื่อถือ

รากฐานคลาวด์เนทีฟประสิทธิภาพสูงของ Huawei Cloud Stack ทำให้การกู้คืนข้อมูลหลังเหตุวิกฤติทำได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยไม่จำเป็นต้องสร้างสถาปัตยกรรมใหม่ องค์กรจึงสามารถปกป้อง กู้คืนข้อมูล และแอปพลิเคชันได้อย่างปลอดภัยและมีความน่าเชื่อถือ สถาปัตยกรรมด้านความปลอดภัยที่ครอบคลุม พร้อมด้วยระบบการควบคุมสิทธิ์การเข้าถึง มอบปราการป้องกันถึง 7 ชั้นและเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงานสูงขึ้นถึง 10 เท่า นอกจากนี้ ประสบการณ์อันยาวนานในอุตสาหกรรมและการขยายธุรกิจอย่างครอบคลุมของหัวเว่ย ส่งผลให้มีการเข้าถึงโซลูชันเฉพาะอุตสาหกรรมเพื่อยกระดับการใช้งานและส่งเสริมความปลอดภัยบนระบบคลาวด์ให้ดียิ่งขึ้น

ปัจจุบัน Huawei Cloud Stack ให้บริการลูกค้าภาครัฐและองค์กรมากกว่า 5,200 รายใน 150 ประเทศทั่วโลก ซึ่งรวมถึงระบบคลาวด์ของรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (e-government) ใน 800 หน่วยงาน, สถาบันการเงิน 300 แห่ง, และองค์กรชั้นนำติดอันดับ Fortune Global 500 ถึง 70 แห่ง นอกจากนี้ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ยังได้มีการใช้เทคโนโลยี Huawei Cloud Stack กับระบบคลาวด์ของภาครัฐและองค์กรมากกว่า 200 ระบบ ครอบคลุมทั้งการบริหารงานภาครัฐ, การเงิน, สายการบินและองค์กรขนาดใหญ่

ผู้นำด้านคลาวด์และ AI

ด้วยผลงานชั้นนำด้านนวัตกรรมเทคโนโลยี AI, องค์ความรู้ในอุตสาหกรรมที่ครอบคลุม และการบริการที่เป็นเลิศ Huawei Cloud Stack พร้อมให้การสนับสนุนและผลักดันองค์กรไทยสู่การปลดล็อกศักยภาพดิจิทัล และปูทางสู่การพลิกโฉมประเทศไทยให้เป็นศูนย์กลางดิจิทัลชั้นนำในภูมิภาค ซึ่งรวมถึงการสนับสนุนจากทีมบริการในประเทศของหัวเว่ย ครอบคลุมการบริการระดับมืออาชีพกว่า 80 รายการ สำหรับลูกค้าและแบรนด์ต่าง ๆ เพื่อปรับใช้ให้ตรงกับความต้องการของธุรกิจ ในปัจจุบันหัวเว่ย คลาวด์ ครองอันดับหนึ่งในกลุ่มผู้นำด้านบริการคลาวด์ และขับเคลื่อนอุตสาหกรรมดังกล่าวด้วยความเชี่ยวชาญที่หลากหลาย ครอบคลุมทั้งสามด้าน ตอกย้ำความเป็นผู้นำด้านการบริการไฮบริดคลาวด์ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ที่กำลังพัฒนาอย่างไม่หยุดยั้ง

นอกจากนี้ หัวเว่ย คลาวด์ ได้ผนึกกำลังร่วมกับโครงการพัฒนาระบบคลาวด์กลางภาครัฐ (GDCC) และลงนามบันทึกความเข้าใจ (MOU) กับกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (MDES) ในประเทศไทย เพื่อผลักดันการบูรณาการข้อมูลและยกระดับประสิทธิภาพการดำเนินงานของรัฐบาลดิจิทัล ทั้งนี้หัวเว่ยยังจับมือกับโรงพยาบาลศิริราช นำเทคโนโลยี Huawei Cloud Stack มาใช้เพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านไอทีแบบครบวงจร ทำให้มีความยืดหยุ่นและเพิ่มประสิทธิภาพการบริการด้านไอทีผ่านสถาปัตยกรรมอัจฉริยะ นอกจากนี้หัวเว่ย คลาวด์ ร่วมกับริษัท โทรคมนาคมแห่งชาติ จำกัด (มหาชน) นำ Huawei Cloud Stack ร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาระบบคลาวด์สำหรับรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ในระดับประเทศ ยกระดับศักยภาพไฮบริดคลาวด์ในประเทศและฟูลสแต็กสำหรับหน่วยงานต่างๆของภาครัฐ ตลอดจนพัฒนาขีดความสามารถด้านการบริการของภาครัฐให้ดียิ่งขึ้น

ด้วยการพัฒนาอย่างต่อเนื่องและการลงทุนอย่างยั่งยืนในอีโคซิสเต็มและโครงสร้างพื้นฐานของระบบสถาปัตยกรรมคลาวด์ในประเทศ หัวเว่ยจึงได้รับความไว้วางใจจากภาครัฐและองค์กรชั้นนำในประเทศไทย ในการร่วมยกระดับประเทศไทยสู่ยุคอัจฉริยะด้วยบริการคลาวด์แบบไฮบริด, บริการคลาวด์สาธารณะ และบริการคลาวด์ส่วนตัว ยิ่งตอกย้ำพันธกิจระยะยาวของหัวเว่ยที่มีต่อประเทศไทยและการปูทางสู่การเติบโตอย่างมีคุณภาพด้วยการ 'ขับเคลื่อนทุกคนไปข้างหน้า โดยไม่ทิ้งใครไว้เบื้องหลัง'

X

Right Click

No right click