December 22, 2024
×

Warning

JUser: :_load: Unable to load user with ID: 7636

ศ.ดร.นภดล ร่มโพธิ์ อาจารย์ประจำคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และผู้เขียนหนังสือ “The Lost Skills”

ไม่มีใครปฏิเสธได้จริง ๆ ว่าในช่วง 3 – 4 ปีมานี้โลกเปลี่ยนแปลงไปมาก แนวคิด ทัศนคติ กระแสสังคม พลิกจากหน้ามือเป็นหลังมือ ทักษะอาชีพที่เรียกได้ว่าเคยเป็นงานนอกกระแสกลับบูมอย่างคาดไม่ถึง ไม่ว่าจะเป็น ไรเดอร์ส่งอาหาร, TikToker, ขายของออนไลน์, นักเล่นหุ้น, นักเขียนนิยายออนไลน์ ฯลฯ หรือหลายคนก็ยังคงเกาะตำแหน่งเหนียวแน่นไม่ไปไหน ด้วยค่าตอบแทนเท่าเดิม ชีวิตแบบเดิม ทว่าต้องทนกับปัจจัยทางเศรษฐกิจที่แย่ลงเรื่อย ๆ ซึ่งเราก็จะได้เห็นว่าท่ามกลางสถานการณ์เหล่านี้ มีทั้งคนที่ประสบความสำเร็จกับการใช้ชีวิตอย่างมาก คนที่แค่พออยู่พอกิน ไปจนถึงด้านกลับก็คือคนที่ไม่ได้รับผลตอบแทนเป็นชิ้นเป็นอันจากการพยายามเอาชีวิตรอดในโลกยุคใหม่นี้เลย และกำลังเอาตัวรอดไปในแต่ละวันอย่างยากลำบากเจียนตาย

อะไรคือความแตกต่างระหว่างคนแต่ละประเภท

ในคนทั้งสามรูปแบบที่กล่าวไปข้างต้น แม้จะมีเรื่องดวงเข้ามาเกี่ยวทำให้แต่ละคนมีระดับความสำเร็จที่ต่างกันไป ถึงอย่างนั้น การมี ‘Soft Skills’ ก็ถือเป็นปัจจัยสำคัญอย่างหนึ่งเช่นกัน โดยงานวิจัยจากความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยฮาวาร์ด, มูลนิธิคาร์เนกี และศูนย์วิจัยสแตนฟอร์ด ระบุว่า 85% ของการทำงานที่มีประสิทธิภาพ เกิดจากการมี Soft Skills ที่ดี โดยหากขาด Soft Skills ไปก็จะทำให้มาตรฐานการทำงานลดลง ประสิทธิภาพในการผลิตนวัตกรรมใหม่ ๆ ลดลง และยังส่งผลกระทบต่อการผลิตบุคลากรใหม่ ๆ ในวงกว้างอีกด้วย

ภายในงาน SOFT SKILLS BOOTCAMP ครั้งที่ 1 “Work Life Enhance” มี Session หนึ่งที่ชื่อว่า The Lost Skills” ซึ่งมี ศ.ดร.นภดล ร่มโพธิ์ อาจารย์ประจำคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และผู้เขียนหนังสือ “The Lost Skills” พาสำรวจทักษะชีวิตที่ใครหลายคนอาจหลงลืมหรือทำหล่นหายไปเสียแล้ว เป็นกุญแจสำคัญที่จะไขประตูสู่การอยู่รอด และการประสบความสำเร็จในโลกยุคใหม่

เข้าใจว่าการเรียนไม่รู้จบ

ท่ามกลาง Soft Skills นับพันที่ล่องลอยอยู่ตามโลกอินเทอร์เน็ตและหนังสือคู่มือพัฒนาตัวเอง ทักษะแรกที่ ศ.ดร.นภดลเลือกจะแนะนำกลับเป็นเรื่องเบสิค ไม่ต้องมีชื่อจำยากหวือหวาอย่าง “ทักษะการเรียนรู้” โดยได้ให้เหตุผลว่าในยุคสมัยที่ทุกอย่างเปลี่ยนไปเร็วเกินกว่าใครจะคาดคิด เรื่องที่เราเคยสอนเคยเรียนกันในคลาสทุกวันนี้ ปีหน้าอาจล้าสมัยไปเสียแล้ว ฉะนั้นทักษะที่จะซึมซับเรื่องราวใหม่ ๆ เข้ามาเติมเต็มสมองอยู่ตลอดเวลาจึงสำคัญ โดยการฝึกตัวเองให้รักการเรียนรู้ โดยหัวใจสำคัญคือการที่เราต้องรู้ว่า เรียนไปแล้วได้อะไร ความรู้ชุดนี้ใช้ประโยชน์ได้จริงไหม เพื่อทำให้การเรียนอะไรสักอย่างมีความหมาย

เลือกโฟกัสบางเรื่อง เพราะยากที่จะเก่งทุกเรื่องในเวลาเดียวกัน

ในโลกนี้มีความรู้อยู่มากมายหลายศาสตร์ ซึ่งคนจำนวนไม่น้อยคิดว่าการได้มีคามรู้ติดหัวไว้ยิ่งมากยิ่งดี ดังคำกล่าว ‘Why Choose? When You Can Have Them All’ อยากเก่ง อยากได้ความรู้อะไรก็เลือกช็อปปิ้งแบบบุฟเฟต์จาก Google ไปเลยสิ ทว่าระดับความจำและศักยภาพในการทำความเข้าใจของมนุษย์ก็มีจำกัด หากเทียบกับองค์ความรู้ทั้งหมดที่มีอยู่รอบตัวในตอนนี้ เราจึงต้องมี “ทักษะการเลือก” เพื่อคัดกรองสิ่งที่ควรต้องเรียน และนำมาจัดลำดับความสำคัญเพื่อไม่ให้ตัวเอง Overload จนเกินไปจะดีกว่า

หมั่นสร้างทักษะที่ไม่มีใครแทนที่ได้

ยุคนี้เป็นยุคที่น่ากลัวสำหรับคนเก่ง เพราะไม่ว่าทักษะใดก็มีวี่แววว่าจะโดนปัญญาประดิษฐ์กับหุ่นยนต์เข้ามาแย่งงานได้ทุกเมื่อ ทั้งงานสายบัญชี, พิสูจน์อักษร, งานออกแบบ ไปจนถึงงานสายความคิดสร้างสรรค์อย่าง Creative Content หรือนักเขียนบทความ ก็มีข่าวว่ามีเอไอที่สามารถผลิตผลงานลักษณะนี้แทนมนุษย์ได้เช่นกัน ฉะนั้นการรับมือที่ดีที่สุดคือการ Up-Skill & Re-Skill อยู่เสมอ เพื่อสร้าง “ทักษะที่ไม่มีใครมาแทนได้” ให้เกิดขึ้นในตนเอง

ศ.ดร.นภดลได้ทิ้งท้ายว่าจากที่กล่าวมาทั้งหมดอาจไม่สามารถเกิดขึ้นจริงได้เลย หากคนเราขาดความเชื่อที่ว่า ตนนั้น ‘เรียนรู้และฝึกฝนได้’ ซึ่งนี่ก็ถือเป็นอีกหนึ่งทักษะสำคัญเช่นกัน ศ.ดร.นภดลเคยนิยามตัวเองว่าเป็น Introvert คนหนึ่ง คือไม่ชอบที่จะพูดต่อหน้าคนเยอะ ๆ ไม่ได้กล้าแสดงออก แต่ก็พัฒนาตัวเองจนกลายมาเป็นอาจารย์และนักจัดพอดแคสต์ในทุกวันนี้ได้ จากความรู้สึกที่อยากจะแบ่งปันความรู้และเรื่องราวดี ๆ ที่ตนได้พบเจอมากให้กับคนอื่น อะไรก็ตามที่เราเคยไม่เก่ง ไม่เคยทำได้มาก่อน หากได้ลองเปิดโอกาสเพื่อฝึกฝนตนเองดูก็อาจพัฒนาจนกลายเป็นทักษะที่มีประโยชน์ต่อตัวเองและโลกใบนี้ก็เป็นได้

มีหลายเหตุการณ์ที่เปลี่ยนโลกไปอย่างสิ้นเชิง และดูเหมือนว่าโลกอนาคตจะอยู่ใกล้ตัวเรามากกว่าที่คิด 

ซีไอโอต้องใช้เวลาเพื่อพิจารณาถึงสถานการณ์ “จะเกิดอะไรขึ้นถ้า… (หรือ What If)” เพื่อไม่ให้เป็นการปิดหูปิดตาตัวเองจากกระแสดิสรัปชั่นทางสังคม พฤติกรรม และเทคโนโลยี ที่มีผลต่อการเติบโตขององค์กร

การดิสรัปชั่นเป็นพื้นฐานของการเปลี่ยนแปลงที่ส่งผลต่อเนื่องอย่างถาวร และองค์กรที่ประสบความสำเร็จคือองค์กรที่พร้อมรับมือกับมัน โดยเราต้องตั้งคำถาม “จะเกิดอะไรขึ้นถ้า…” ต่อไปเรื่อย ๆ เพื่อเปิดรับโอกาสที่มาพร้อมกับการดิสรัปชั่น”

การเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ 7 อย่างที่ผู้บริหารด้านเทคโนโลยีทั้งหลายควรใส่ใจพิจารณาในอีก 5 ปีข้างหน้านี้ ได้แก่

1. ประสบการณ์การทำงานกับ Metaverse

ในปัจจุบัน มีองค์กรมากมายใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยี Metaverse ไม่ว่าจะเป็นการสร้างการมีส่วนร่วม การทำงานร่วมกัน และการเชื่อมต่อที่ดีขึ้นกับพนักงานในสถานที่ทำงานที่มอบประสบการณ์สมจริงยิ่งขึ้นในสำนักงานเสมือน และการใช้ประสบการณ์ Metaverse ภายในองค์กรหรือที่เรียกว่า Intraverses

การ์ทเนอร์ คาดการณ์ว่าการสร้างพื้นที่ทำงานเสมือนจริงเต็มรูปแบบ (Fully Virtual Workspaces) จะคิดเป็น 30% ของการเติบโตด้านการลงทุนในเทคโนโลยี Metaverse และจะพลิกโฉมประสบการณ์การทำงานในสำนักงานไปจนถึงปี 2570

2. รถบินได้ (Flying cars)

ยานยนต์ไร้คนขับหรืออากาศยานไร้คนขับ (UAV) ที่ใช้รับส่งผู้โดยสารเป็นระยะทางสั้น ๆ ตามเขตเมือง โดยอากาศยานที่บินได้ประเภทนี้หรือที่บางครั้งเรียกว่า "รถบินได้" หรือโดรนสำหรับผู้โดยสาร ถูกออกแบบให้ทำงานโดยไม่มีนักบินที่เป็นมนุษย์ บริษัทหลายแห่งกำลังทำงานเกี่ยวกับเครื่องบินรุ่นใหม่ที่ขับเคลื่อนด้วยปัญญาประดิษฐ์ (AI) และเพื่อสร้างวิถีการเดินทางทางอากาศที่เร็วกว่า ถูกกว่า ปลอดภัยกว่า และลดการปล่อยคาร์บอน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในพื้นที่แออัด ซึ่งบริการแท็กซี่บินได้แห่งแรกมีกำหนดเปิดตัวในปี 2567  แม้จะมีความท้าทายด้านกฎระเบียบที่อาจเกิดขึ้น แต่ผู้บริหารไอทีควรพิจารณาและประเมินเกี่ยวกับปัญหาในด้านการขนส่ง การเคลื่อนย้ายคนและสินค้าขององค์กร ซึ่งอาจแก้ไขได้โดยใช้ยานพาหนะเหล่านี้แทน

3. ระบบเศรษฐกิจของมนุษย์ดิจิทัล

ตั้งแต่การดูแลทางการแพทย์ การให้บริการลูกค้า เวอร์ชวลอินฟลูเอนเซอร์ (Virtual Influencer) และการฝึกอบรมของฝ่ายบุคคล ไปจนถึงการกู้คืนชีวิตผู้ตาย ล้วนเป็นความเป็นไปได้ของการใช้งานมนุษย์ดิจิทัลที่ไม่สิ้นสุด โดยระบบเศรษฐกิจมนุษย์ดิจิทัลนั้นนำเสนอโอกาสให้แก่ระบบนิเวศดิจิทัลใหม่ ๆ ซึ่งอาศัยศักยภาพของเทคโนโลยีที่นำบุคคลและองค์กรมารวมตัวกันเพื่อสร้างสรรค์และโต้ตอบในรูปแบบใหม่

การ์ทเนอร์คาดการณ์ว่าภายในปี 2578 ระบบเศรษฐกิจมนุษย์ดิจิทัล (The Digital Human Economy) จะมีมูลค่าตลาดสูงถึง 125 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และจะเติบโตอย่างต่อเนื่อง

4. “องค์กรอิสระแบบกระจายอำนาจ” (The “Decentralized Autonomous Organization”)

องค์กรอิสระแบบกระจายอำนาจ (Decentralized Autonomous Organizations หรือ DAO) เป็นองค์กรรูปแบบใหม่ที่เกิดขึ้นในตลาดบริการด้านไอที การ์ทเนอร์ได้ให้คำจำกัดความ DAO ว่าเป็นหน่วยงานดิจิทัลที่ดำเนินงานบนบล็อกเชน และยังมีส่วนร่วมในการโต้ตอบทางธุรกิจกับองค์กร DAO อื่น ๆ หรือตัวแทนดิจิทัลและตัวแทนที่เป็นมนุษย์ โดยไม่ต้องมีการบริหารจัดการบุคลากรในแบบเดิม ๆ พนักงานที่มีความรู้ความสามารถด้านดิจิทัลระดับสูงจำนวนมากจะถูกดึงดูดให้ทำงานในองค์กร DAO แม้ตอนนี้จะยังอยู่ในช่วงเริ่มต้น แต่ DAOs มีศักยภาพที่จะก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างมากต่อบรรทัดฐานของอุตสาหกรรมเทคโนโลยีหลายประการที่เป็นอยู่ ณ ปัจจุบัน

5. การชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า (EV) แบบไร้สาย

เมื่อการชาร์จแบบไร้สายพร้อมให้บริการแล้ว จะเป็นแนวทางที่เหมาะสมที่สุดสำหรับยานพาหนะในกลุ่มรถประจำทางและรถแท็กซี่ ซึ่งยานพาหนะเหล่านี้สามารถใช้การชาร์จแบบไดนามิก (Dynamic Charging) ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ช่วยเพิ่มระยะทางขับขี่ได้ไกลขึ้นและลดต้นทุนต่าง ๆ นอกจากนั้นการติดตั้งสถานีชาร์จไฟในที่พักอาศัยจะกลายเป็นตลาดที่ใหญ่ที่สุดสำหรับการชาร์จรถยนต์แบบไร้สาย เนื่องจากเจ้าของรถยนต์ไฟฟ้า (EV) จะสะดวกขึ้นโดยไม่ต้องเสียบสายเคเบิลให้ลำบาก อย่างไรก็ตาม เมื่อมองไปไกลกว่านั้น

การ์ทเนอร์คาดว่าโครงการบ้านจัดสรรของภาคเอกชนและพื้นที่ว่างแบบแคมปัสของสถาบันการศึกษาจะมีปริมาณการติดตั้งสถานีชาร์จไร้สายแซงหน้าการติดตั้งที่บ้านพักอาศัย

6.กราฟีนจะมาแทนที่ซิลิกอน

ในอีก 7 ถึง 10 ปีข้างหน้านี้ เราจะเห็นศักยภาพมหาศาลของอุปกรณ์ทรานซิสเตอร์แบบฟิลด์เอฟเฟกต์ที่ใช้คาร์บอนเป็นโครงสร้างหลักทดแทนซิลิคอนในทรานซิสเตอร์แบบเดิมที่มาถึงขีดจำกัดเรื่องขนาดที่เล็กสุด ตัวอย่างหนึ่งคือ กราฟีน ซึ่งเป็นวัสดุคาร์บอนบริสุทธิ์ความหนาหนึ่งอะตอม เรียงต่อกันเป็นโครงสร้างแบบรังผึ้งหกเหลี่ยม ซึ่งกราฟีนสามารถแทนที่อุปกรณ์ซิลิกอนในปัจจุบันได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งใช้สำหรับการสื่อสารไร้สาย โดยที่อุปกรณ์ FET ที่ทำมาจากคาร์บอนเหล่านี้สามารถเก็บกระแสไฟฟ้าที่สูงกว่าได้มากในพื้นที่ขนาดเล็กลง ทำให้สามารถประมวลผลได้รวดเร็ว

ซีไอโอควรพิจารณาความเป็นไปได้ใหม่ ๆ ที่เกิดจากเทคโนโลยีที่ใช้ “กราฟีน” และเริ่มค้นหาซัพพลายเออร์ที่เกิดใหม่ สำหรับเตรียมพร้อมรับมือการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้น

7. เทคโนโลยีกลายเป็นของใช้แล้วทิ้ง

จะเกิดอะไรขึ้นหากวงการเทคโนโลยีจะกลายเป็นแบบเดียวกับวงการแฟชั่น ด้วยการออกแบบแอปพลิเคชันที่ “ใช้แล้วทิ้ง” อย่างรวดเร็ว? ขณะที่องค์ประกอบต่าง ๆ ในการดำเนินธุรกิจที่เน้นความคล่องตัวเป็นหลัก (Business Composability) ได้รับการยอมรับในวงกว้าง ถือเป็นโอกาสของผู้บริหารไอทีที่จะดำเนินการไปอีกขึ้นและเตรียมพร้อมสร้างความยืดหยุ่นให้แก่เทคโนโลยีแบบที่ใช้แล้วทิ้ง

 # Gartner IT Symposium /Xpo 2022

บทความ   :  เดวิด ยอดเคลสัน  รองประธานฝ่ายวิจัย / การ์ทเนอร์

 

 

เคยมีคำกล่าวว่า “แนวทางการตลาดที่ถูกเปลี่ยนแปลงไปนานกว่าหกเดือน จะไม่มีวันย้อนกลับมาทำเหมือนเดิมได้อีกแล้ว”

ดูเหมือนว่า บริษัทผู้เชี่ยวชาญและให้คำปรึกษาด้านไอที อาทิ การ์ทเนอร์ ฟอเรสเตอร์ ต่างคาดการณ์ทิศทางของโลกนับจากปี 2563 เป็นต้นไป กำลังเดินหน้าสู่ยุคของระบบอัตโนมัติ (The Age of Automation) อย่างเต็มรูปแบบมากขึ้น

 

ไฮบริดคลาวด์ เอดจ์ คอมพิวติ้ง ไอโอที เออาร์ แมชชีนเลิร์นนิ่ง ปัญญาประดิษฐ์ (เอไอ) หุ่นยนต์ ดิจิทัล ทวิน บล็อกเชน ระบบจัดการและวิเคราะห์ข้อมูล ระบบความปลอดภัยด้านไอทีและข้อมูล ยังคงทรงอิทธิพลต่อการพัฒนาระบบไอทีอย่างต่อเนื่อง ว่ากันว่า หากองค์กรสามารถบูรณาการการใช้งานเทคโนโลยีข้างต้น ในการเข้าถึงความต้องการของมนุษย์ (เช่น ลูกค้า และ พนักงาน) และครอบคลุมพื้นที่ในการดำรงชีวิต ( เช่น บ้าน สถานที่ทำงาน) ซึ่งการ์ทเนอร์เรียกกลยุทธ์นี้ว่า People-centric Smart Space จะช่วยเพิ่มโอกาสทางธุรกิจได้อีกมากมาย โดยเฉพาะการพัฒนาระบบงานที่มีความป็นอัตโนมัติ (Autonomous) ที่ทำให้เราสามารถใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีได้มากขึ้น และง่ายขึ้น โดยไม่จำเป็นต้องมีความเชี่ยวชาญสูงมากนัก ตลอดจนการออกแบบแพลตฟอร์มการนำเสนอผลิตภัณฑ์ บริการ หรือกิจกรรมการตลาดได้ตามคาดหวังและประสบการณ์ซึ่งส่งตรงถึงตัวกลุ่มลูกค้าเป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยทิศทางการพัฒนาและใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีที่เราจะได้เห็นมากขึ้นในปีนี้ ได้แก่

 

การบูรณาการเทางเทคโนโลยีหลายรูปแบบเพื่อมุ่งสู่ความเป็น ไฮบริด อินเทลลิเจนท์ (Hybrid Intelligence-HI) มากขึ้น เช่น คลาวด์แบบไฮบริด ซึ่งเป็นตัวอย่างหนึ่งที่เปิดกว้างให้องค์กรสามารถผสมผสานการใช้งานหลายรูปแบบ ทั้งคลาวด์ส่วนตัว และคลาวด์สาธารณะ จากหลากหลายผู้ให้บริการไอทีให้เหมาะกับความต้องการเฉพาะด้าน ผสมกับพลังของ เอดจ์ คอมพิวติ้ง (Empowered Edge) ผู้ช่วยคนสำคัญที่จะทำให้อุปกรณ์ใช้งานปลายทางมีความฉลาดในการประมวลผลด้วยตัวเอง ซึ่งจะช่วยลดปริมาณงานของคลาวด์ส่วนกลาง ทั้งสนับสนุนให้แนวคิดการสร้างคลาวด์กระจายออกไปตามจุดต่าง ๆ(Distributed Cloud) มีความเป็นไปได้มากขึ้น ซึ่งจะทำให้ระบบไอทีโดยภาพรวมทำงานได้รวดเร็วขึ้น

 

ประกอบกับองค์กรธุรกิจหรือผู้ใช้งานต่างต้องการแอปพลิเคชันที่ปรับเปลี่ยนได้ตามที่ตนเองต้องการมากขึ้นเรื่อยๆ ถึงกว่า 40% เมื่อถึงปี 2567 ซึ่งไม่เพียงจะทำให้องค์กรต้องเร่งพัฒนาโซลูชันหลักในการดำเนินธุรกิจแล้ว ยังต้องเพิ่มแอปพลิเคชันในลักษณะ คอนเทนเนอร์ และ ไมโครเซอร์วิส แยกออกเป็นส่วน ๆ สำหรับงานหรือบริการบางประเภท เพื่อให้องค์กรสามารถสร้างและปรับปรุงบริการการใช้งานได้เร็ว ทันการเปลี่ยนแปลงของธุรกิจ และทันใจผู้ใช้มากขึ้น

 

นอกจากนี้ ความนิยมในการเข้าถึงบริการและแอปพลิเคชันจากที่ไหนก็ได้โดยอิสระผ่านสมาร์ทโฟน หรือ อุปกรณ์ BYOD โดยยังคงรักษาประสิทธิผลของงานได้เหมือนเดิม หรือดียิ่งกว่าเดิม เป็นสิ่งที่การ์ทเนอร์คาดการณ์ว่า จนถึงปี 2566 กว่า 30% ขององค์กรธุรกิจกำลังปรับเปลี่ยนนโยบายในการติดตามผลการทำงานของพนักงาน หรือติดตามพฤติกรรมลูกค้าที่ใช้บริการผ่านอุปกรณ์ BYOD ต่าง ๆ มากขึ้น อย่างไรก็ตาม องค์กรก็ต้องมีแนวทางควบคุมการใช้งานอุปกรณ์เหล่านี้ เพื่อการใช้งานเฉพาะในขอบเขตที่เป็นประโยชน์และเหมาะสมกับธุรกิจไว้ด้วย

 

ปัญญาประดิษฐ์ หรือ เอไอ จะถูกพัฒนาให้เป็นไฮบริดมากขึ้นในมิติต่าง ๆ เช่น การเติมเต็มความเป็นอัตโนมัติให้กับระบบงาน ใช้เป็นตัวตรวจจับพฤติกรรมเสี่ยงต่อระบบความปลอดภัย หรือพัฒนาให้ฉลาดพอที่จะประเมินพฤติกรรมหรือสิ่งที่มนุษย์รู้สึก ซึ่งการ์ทเนอร์เรียกสิ่งนี้ว่า Artificial Emotional Intelligence - AEI ทั้งยังทำนายต่ออีกว่า ในปี 2567 ปัญญาประดิษฐ์ที่สามารถจับอารมณ์ความรู้สึกของมนุษย์อย่างลึกซึ้งและแม่นยำ จะมีผลต่อการสร้างสรรค์โฆษณาสินค้าออนไลน์เกินกว่าครึ่ง รวมถึงมีผลต่อ

การตัดสินใจซื้อของลูกค้า ขณะเดียวกัน 28% ของนักการตลาดทั้งหลายต่างจัดอันดับให้ทั้ง เอไอ และ แมชชีนเลิร์นนิ่ง มีผลต่อการขับเคลื่อนการตลาดในอนาคต

 

เพิ่มเติมด้วยเทคโนโลยี ไอโอที โดย ฟอร์เรสเตอร์ ซึ่งกล่าวว่า นับจากปี 2563 เป็นต้นไป ไอโอทีจะเดินเครื่องเต็มที่สู่ยุค 5G ด้วยศักยภาพในการรับ-ส่งข้อมูลที่ใช้เวลาน้อยลงเรื่อย ๆ (Low-Latency) โดยเฉพาะการใช้งานในภาคอุตสาหกรรม สำหรับการเก็บและแชร์ข้อมูลผ่านอุปกรณ์เซ็นเซอร์ในการเชื่อมโยงการบริหารงานโรงงานกับเครื่องจักรในสายการผลิต การเพิ่มประสิทธิภาพในการตรวจติดตาม หรือตรวจสอบย้อนกลับถึงแหล่งที่มา-ที่ไปของสินค้าในระบบซัพพลายเชน หรือระบบขนส่งได้ในแบบเรียลไทม์ หรือ การเก็บรวบรวมและเชื่อมโยงระบบข้อมูลจากอุปกรณ์ไอโอทีที่เชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ตนับเป็นพัน ๆ ล้านชิ้นในการสร้างระบบนิเวศน์ด้านไอที (Ecosystem) เพื่อการจัดการในองค์กร การดำเนินธุรกิจ การสื่อสารกับลูกค้า ได้อย่างเหมาะสมและคุ้มค่ากับการลงทุนทางเทคโนโลยี

 

การบริหารจัดการข้อมูลเพื่อประโยชน์ในการตัดสินใจทางธุรกิจ หรือ บิสซิเนส อินเทลลิเจนท์ จะยังคงอยู่ต่อไป แต่จะมีประสิทธิภาพสูงขึ้นกว่าเดิม ด้วยการเติมเทคโนโลยีด้านเอไอเพื่อช่วยจัดการกับข้อมูลระดับ บิ๊ก ดาต้า การสร้าง วิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึกและรอบด้าน (Data Analytics) ให้สามารถตอบโจทย์ธุรกิจได้จริง หรือ การออกแบบ ระบบจัดการชุดข้อมูล (Data Catalog) เพื่อแก้ปัญหาการจัดเก็บข้อมูลที่ไม่ตรงตามวัตถุประสงค์ใช้งาน หรือ ไม่สร้างมูลค่าใด ๆ ให้กับธุรกิจ ข้อมูลที่เก็บมาเฉพาะใช้งานในหน่วยงานเดียว ไม่สามารถปรับเปลี่ยน หรือขยายรูปแบบการเก็บข้อมูลออกไปได้ เป็นต้น

 

ส่วนเทคโนโลยี บล็อกเชน ซึ่งถึงแม้มาตรฐานความปลอดภัยในการดูแลบัญชีธุรกรรมออนไลน์จะยังไม่นิ่ง แต่ผู้ใช้ก็ไม่รีรอที่จะซื้อขายใช้จ่ายเงินในตลาดออนไลน์ ผ่านสมาร์ทโฟน หรือแพลตฟอร์มการเงินต่าง ๆ อาทิ กระเป๋าเงินอิเล็กทรอนิกส์ หรือคิวอาร์โค้ด โดยคาดว่าจะเพิ่มสูงถึง 50% ในปี 2568 เลยทีเดียว ขณะเดียวกัน การแก้ไขปัญหาเชิงเทคนิคของบล็อกเชนยังคงดำเนินต่อไป เช่น การกระจายข้อมูลให้เข้าถึงได้ การเข้ารหัสด้วยชุดข้อมูลเสมือนแบบโทเคน (Token) เพื่อให้หลาย ๆ บล็อกเชนสามารถทำงานร่วมกัน หรือปรับขยายระบบเพื่อรองรับข้อมูลหรือผู้ใช้ที่เพิ่มขึ้นได้

 

อย่างไรก็ตาม เหรียญย่อมมีสองด้าน และด้านมืดของไอทีที่ยังเป็นปัญหาใหญ่ คือ การโจมตีจากอาชญากรไซเบอร์ การละเมิดสิทธิและข้อมูลส่วนบุคคล การเข้าถึงชั้นความลับของข้อมูลทางธุรกิจโดยบุคคลที่ไม่ได้รับอนุญาต การขโมยรหัสผ่านเพื่อเข้าถึงบัญชีธุรกรรมออนไลน์ การเจาะช่องโหว่ของระบบเพื่อก่อกวนการทำงาน รวมถึงการปล่อยไวรัสแรนซัมแวร์ บนโลกดิจิทัลจะยังคงเกิดอย่างต่อเนื่อง

 

ดังนั้น องค์กรควรให้ความใส่ใจกับการสร้างปราการ ความปลอดภัยไอที เครือข่ายและข้อมูล ให้ครอบคลุมทั้งด้านเทคนิคและนโยบาย ในเชิงเทคนิค เช่น ระบบป้องกันไวรัส เกตเวย์ ไฟร์วอลล์ ซึ่งถือเป็นระบบพื้นฐานที่ต้องมีอยู่แล้วภายในทุกองค์กร หรือบนคลาวด์ทุกประเภท การพัฒนาระบบพิสูจน์ตัวตน (Authentication) เมื่อเวลามีการร้องขอข้อมูลเชิงลึก หรือเข้าใช้งานในระบบ การเฝ้าระวังการรับ-ส่งข้อมูลที่ได้มาจากการใช้งานเอไอ แมชชีนเลิร์นนิ่ง หรือ ไอโอที เนื่องจากเป็นเป้าโจมตีที่อาชญกรไซเบอร์ชื่นชอบ เป็นต้น ส่วน ในเชิงนโยบาย ก็เช่น การวางมาตรฐานด้านจริยธรรมทางเทคโนโลยีที่ซื่อสัตย์ โปร่งใส ตรวจสอบได้ (Transparency and Traceability) เพื่อไม่ให้ก้าวล่วงความเป็นส่วนตัวของผู้คนจนเกินไป เพราะทุกคนต่างฉลาดพอที่จะเดาได้ว่า ข้อมูลของเขากำลังถูกเก็บและนำไปใช้อย่างไร รวมถึงหมั่นติดตามและคอยปรับปรุงนโยบายด้านความปลอดภัยให้เป็นไปตามข้อบังคับ หรือกฎหมายความปลอดภัยจากในและนอกประเทศ เช่น พรบ. อาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ จีดีพีอาร์ มาตรฐานทางบัญชีใหม่ IFRS 9 หรืออื่น ๆ เพื่อให้ระบบความปลอดภัยมีความทันสมัย ทันเหตุการณ์ และเป็นไปตามมาตรฐานสากลอยู่เสมอ

 

เรื่องน่ายินดีก็คือ การ์ทเนอร์คาดว่า การใช้จ่ายด้านไอทีทั่วโลกจะโตเพิ่มขึ้นอีก 3.7% ในปี 2563 จากยอดใช้จ่ายรวม 3.7 ล้านล้านดอลล่าร์สหรัฐ ในปี 2562 และถึงแม้ตัวเลขส่วนใหญ่ถูกใช้จ่ายไปกับเรื่องซอฟต์แวร์สำหรับองค์กรธุรกิจ แต่ตัวเลขใช้จ่ายด้านความปลอดภัยก็สูงถึง 10.5% ในปี 2562 ทั้งนี้ ตัวเลขที่ใช้จ่ายไปกับการรักษาความปลอดภัยบนคลาวด์ คาดว่าจะโตถึง 41.2% ในอีก 5 ปีข้างหน้า

ทั้งหมดนี้ เป็นเพียงส่วนหนึ่งที่สะท้อนให้เห็นว่า วิถีโลกยุคระบบอัตโนมัติที่มีศักยภาพและเสถียรภาพนั้น ช่วยให้มนุษย์มีอิสระในการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยี แต่ก็ต้องเป็นระบบที่ต้องตอบสนองวิถีชีวิตทั้งในโลกความเป็นจริง และชีวิตในเวอร์ชันดิจิทัลได้อย่างชาญฉลาด มีคุณภาพ และมีความปลอดภัยสูงเป็นสำคัญ

เปิดหนังสือในแวดวงไอทีช่วงนี้ คำหนึ่งที่จะพบเสมอคือ “บิ๊กเดต้า” (Big Data) หรือข้อมูลที่ยิ่งใหญ่

Page 1 of 2
X

Right Click

No right click