ผสานความล้ำสมัย และบริการเหนือระดับ เพื่อชีวิตในเมืองยุคใหม่ ภายใต้ธีม "Smart Life Smart City with True Together" ตอบโจทย์ทุกเจน เติมเต็มทุกไลฟ์สไตล์
นับตั้งแต่การเกิดขึ้นของอารยธรรมทางภาษาและการจดบันทึกในยุคอียิปต์โบราณ จนถึงภาษาดิจิทัลและเทคโนโลยีคลาวด์คอมพิวติ้งในปัจจุบัน “ข้อมูล” (Data) หรือ เนื้อหาที่ถูกเข้ารหัสทางภาษาในการสื่อสารถือเป็นตัวแปรสำคัญที่ทำให้สังคมมนุษย์และมวลมนุษยชาติก้าวหน้าต่อไปอย่างไม่หยุดยั้ง สะท้อนได้จาก Generative AI ที่ได้สร้างความมหัศจรรย์และนานาประโยชน์ที่มนุษย์คาดไม่ถึง
อย่างไรก็ตาม การใช้ประโยชน์จากข้อมูลที่ผ่านมา ยังคงจำกัดอยู่ในแวดวงธุรกิจเป็นหลัก พร้อมยังเป็นที่ถกเถียงถึงแนวทางการใช้ประโยชน์จากข้อมูลเพื่อสาธารณะ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการออกแบบนโยบายสาธารณะ ทั้งนี้ ในงาน dataCon 2024 งานสัมมนาที่เชื่อมกลุ่มคนที่ต้องการสร้างการเปลี่ยนแปลงและคนในวงการข้อมูลให้มาพบกัน เพื่อสร้างสรรค์สังคมที่ดีขึ้นด้วยดาต้า ที่จัดขึ้น ณ True Digital Park โดยการสนับสนุนของ ทรู ดิจิทัล กรุ๊ป ได้จัดเสวนาหัวข้อ “สร้างนโยบายแห่งอนาคต ด้วยพลังข้อมูล Shaping the Future with Insights”
Mobility Data เพื่อการส่งเสริมนโยบายท่องเที่ยวที่แม่นยำ-ตรงใจ
ผศ.ดร.ณัฐพงศ์ พันธ์น้อย อาจารย์ภาควิชาวางแผนภาคและเมือง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เล่าถึงการจัดทำแนวทางส่งเสริมการท่องเที่ยวเมืองรอง 55 จังหวัด โจทย์ใหญ่เพื่อรองรับการฟื้นตัวของภาคการท่องเที่ยวหลังโควิดที่รายได้จากภาคการท่องเที่ยวโดยส่วนใหญ่กระจุกตัวอยู่เพียงไม่กี่จังหวัดเท่านั้น และการจัดเก็บข้อมูลเพื่อสำรวจพฤติกรรมการท่องเที่ยวมีข้อจำกัด ทรู-ดีแทค สดช. คณะสถาปัตย์ จุฬาฯ และบุญมีแล็บจึงได้ผนึกกำลังวิจัย “ศักยภาพการท่องเที่ยวจังหวัดเมืองรองจาก Mobility Data” ทำให้เห็นข้อมูลที่สำคัญถึงพฤติกรรมในการเดินทางท่องเที่ยวของคนไทย ทั้งวิธีการเดินทาง รูปแบบการเดินทาง และได้จัดทำข้อเสนอแนะในเชิงนโยบายส่งเสริมการท่องเที่ยวเมืองรอง ซึ่งมี 3 ด้าน ดังนี้
1. การดึงดูดการท่องเที่ยวระยะใกล้ (Micro-Tourism) แบบเช้าไปเย็นกลับ ในระยะทาง 150 กิโลเมตร
2. การส่งเสริมการค้างคืน เพื่อสร้างประสบการณ์ใหม่ เพิ่มมูลค่าการใช้จ่าย และระยะเวลาพำนัก
3. การพัฒนาการท่องเที่ยวแบบกลุ่มจังหวัด (คลัสเตอร์) เพื่อส่งเสริมการเดินทางในกลุ่มจังหวัดใน 1 ทริป
“เราได้วิเคราะห์พฤติกรรมการเดินทางแบบกลุ่มจังหวัด (คลัสเตอร์) โดยใช้ Mobility Data ว่าในหนึ่งทริปของการเดินทางผ่านจังหวัดใดบ้าง สรุปออกมาได้เป็น 19 คลัสเตอร์ และมี 7 คลัสเตอร์ที่มีศักยภาพในการส่งเสริมการท่องเที่ยวแบบกลุ่มจังหวัดในระดับสูง ที่สามารถทำกิจกรรม โปรโมตการเดินทางร่วมกันได้ เพื่อเพิ่มโอกาสในการสร้างรายได้ทั้งระยะเวลาในการพำนักและใช้จ่าย อุตสาหกรรมท่องเที่ยวเป็นหัวใจสำคัญที่สร้างรายได้ แต่ที่ผ่านมากลับพบปัญหาด้านความเหลื่อมล้ำในเชิงพื้นที่ท่องเที่ยวและการกระจายรายได้มาโดยตลอด ซึ่งผลวิเคราะห์ Mobility Data นี้เอง จะช่วยเสริมแกร่งให้จังหวัดเมืองรอง สามารถวางกลยุทธ์ส่งเสริมการท่องเที่ยวตามศักยภาพของตนเอง เพื่อดึงดูดกลุ่มเป้าหมายที่ใช่มายังจังหวัด อันนำไปสู่การเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจและกระจายรายได้สู่เมืองรองได้อย่างยั่งยืน”
นอกจากนี้ ข้อมูลจาก Mobility Data ยังมีศักยภาพสามารถนำมาวิเคราะห์ในด้านการให้บริการสาธารณะด้านอื่น ๆ ได้ เช่น ระบบขนส่งสาธารณะ ระบบสาธารณสุขของประเทศไทย
“การใช้ Mobility Data ไม่เพียงแต่ช่วยให้นโยบายของรัฐสามารถดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ภาคเอกชนที่เข้ามาร่วมแก้ปัญหาอย่างทรู-ดีแทคได้มองเห็นโอกาสจากการวิเคราะห์ดาต้าเพื่อการออกแบบนโยบายสาธารณะ ที่เปิดให้ทั้งภาครัฐและเอกชนเข้ามาร่วมกันวางนโยบายสำหรับอนาคต” ผศ.ดร.ณัฐพงศ์ กล่าว
ความท้าทายของการใช้ข้อมูล
ดร.โสมรัศมิ์ จันทรัตน์ ผู้อำนวยการ สถาบันป๋วย อึ๊งภากรณ์ กล่าวว่า ปัจจุบันภาครัฐมีข้อมูลหลายชุด ทั้งดาต้าของแต่ละหน่วยงาน ดิจิทัล ฟุตปรินต์ แต่การบริหารจัดการข้อมูล และนำข้อมูลมาออกแบบนโยบายในภาพใหญ่ของประเทศ ต้องเข้าใจปัญหาให้รอบด้าน และลงลึกถึงกลุ่มที่ภาครัฐต้องการเข้าไปช่วยเหลืออย่างแท้จริง ผ่านการเก็บข้อมูลให้ครบทั้ง 3 มิติ หนึ่ง ครอบคลุมตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน สอง ลงลึกถึงรายละเอียด และสาม ต้องเห็นความเชื่อมโยง
ทั้งนี้ การนำข้อมูลมาใช้วิเคราะห์จะต้องส่องให้ครบ 5 เลนส์สำคัญ คือ
1. Macro but granular ภาพใหญ่แต่ต้องลงลึกให้เห็นรายละเอียด อย่างการทำวิจัยหนี้ครัวเรือนของสถาบันป๋วย ข้อมูลหลักที่ใช้จากเครดิตบูโร ซึ่งอาจยังไม่ครอบคลุม ต้องลงไปดูในพื้นที่ที่มีการกระจุกตัวของหนี้ครัวเรือน เช่น ในเมือง กลุ่มเหล่านี้เปราะบางอย่างไร
2. Near real time ใช้ข้อมูลแบบเรียลไทม์ อย่างช่วงโควิดในสหรัฐอเมริกา ใช้ข้อมูลจากแอปพลิเคชันด้านการเงิน เพื่อวิเคราะห์จำนวนผู้ป่วย
3. Lungitudinal ติดตามพัฒนาการของแต่ละเจนเนอเรชั่น อย่างการใช้ข้อมูล tax data เพื่อจะดูว่าพ่อแม่จน ส่วนใหญ่ลูกยังจนอยู่
4. Network/relationship ติดตามความเชื่อมโยง อย่างระบบพร้อมเพย์ จะทำให้เห็นความเชื่อมโยงระหว่างรัฐกับประชาชน ผู้บริโภคกับผู้บริโภค และผู้บริโภคกับภาคธุรกิจ
5. Observe the unobserved ดาต้าจะช่วยให้คนทำนโยบายมองเห็นสิ่งที่ไม่เคยเห็นมาก่อน
“ดาต้า ทำให้มีหลายเลนส์ที่เห็นกันได้ แต่การทำนโยบายที่ดีที่สุด ต้องนำทุกเลนส์เข้ามาร่วมกัน แต่สิ่งที่เป็นความท้าทายในการนำข้อมูลมาใช้เพื่อออกแบบนโยบาย หนึ่ง คือข้อมูลไม่ครบ การใช้ข้อมูลต้องบูรณาการร่วมกันระหว่างภาครัฐและเอกชน สอง การนำข้อมูลมาใช้ต้องให้ความสำคัญกับคุณภาพของข้อมูล สาม การเชื่อมโยงข้อมูลระหว่างหน่วยงานรัฐและเอกชน และสี่ การแชร์ข้อมูล จะสามารถนำข้อมูลมาใช้ประโยชน์ในการออกแบบนโยบายเพื่อประโยชน์สาธารณะได้อีกมาก” ดร.โสมรัศมิ์ กล่าว
ด้าน LINE MAN Wongnai ในฐานะเป็นบริษัทเอกชนที่ใช้ข้อมูลในการดำเนินธุรกิจ อิสริยะ ไพรีพ่ายฤทธิ์ รองประธานฝ่ายนโยบายสาธารณะและรัฐกิจสัมพันธ์ กล่าวว่า บริษัทฯ มีการเก็บข้อมูลจำนวนมาก และเก็บทุกรายละเอียดของธุรกรรมที่เกิดขึ้น ซึ่งสะท้อนให้เห็นพฤติกรรมของคนไทย ข้อมูลธุรกิจร้านอาหาร และนำไปเผยแพร่บางส่วนเพื่อให้สังคมนำไปวิเคราะห์ได้ สามารถออกแบบนโยบายสนับสนุนผู้ประกอบการได้ โดยเฉพาะร้านอาหารขนาดเล็ก เช่น การสำรวจข้อมูลร้านอาหารในประเทศไทย ดัชนีอาหารจานเดียว (กะเพรา อินเด็กซ์) เพื่อเทียบราคาอาหารกับเงินเฟ้อ รวมถึงการใช้นโยบายคนละครึ่ง มีส่วนช่วยธุรกิจร้านอารหารได้มากน้อยเพียงใด และยังมีข้อมูลอีกมากที่ภาครัฐสามารถนำไปออกแบบนโยบายเพื่อช่วยเหลือประชาชน
“สุดท้าย อยากให้ภาครัฐให้ความสำคัญกับการใช้ข้อมูล ทั้งข้อมูลทางการค้า ข้อมูลส่วนบุคคล อยากให้มีกลไก หรือกรอบทางกฎหมายที่จะทำให้เอกชนมั่นใจว่าการนำข้อมูลไปใช้จะไม่มีปัญหาตามมา ถือเป็นสิ่งสำคัญในการแชร์ข้อมูลระหว่างภาครัฐและเอกชน” อิสริยะ กล่าวทิ้งท้าย
บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ได้รับรางวัลอันทรงเกียรติ "ดีลแห่งปี" ในงาน SET Awards 2024 จาก Deal of the Year Awards – Mergers & Acquisition Deal ซึ่งเป็นรางวัลที่มอบให้เพื่อยกย่องความสำเร็จและคุณค่าจากการควบรวมกิจการ (Amalgamation) ระหว่างบริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) เดิม และบริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือดีแทค ถือเป็นก้าวสำคัญทางประวัติศาสตร์ของอุตสาหกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร รวมทั้งรางวัลนี้ถือเป็นก้าวสำคัญต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศไทยโดยเฉพาะการมุ่งพัฒนาเทคโนโลยีดิจิทัล
การควบรวมกิจการระหว่างทรู คอร์ปอเรชั่นเดิม และโทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น ซึ่งเสร็จสิ้นเมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2566 นับเป็นการควบรวมกิจการโทรคมนาคมที่ใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เมื่อพิจารณาจากมูลค่าการควบรวม (Combined enterprise value) และเป็นการควบรวมกิจการที่ใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ระหว่างบริษัทจดทะเบียนไทยสองบริษัทเมื่อพิจารณาจากมูลค่าตลาดรวม (Combined market capitalization) บริษัทใหม่ได้ยกระดับการเชื่อมต่อและนวัตกรรมดิจิทัลทั่วประเทศ พร้อมเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันของไทยในวงการเทคโนโลยีระดับโลก
ดีลครั้งประวัติศาสตร์นี้เกิดจากวิสัยทัศน์ร่วมกันของเครือซีพีและกลุ่มเทเลนอร์ ในการสร้างบริษัทโทรคมนาคม-เทคโนโลยีชั้นนำในไทยที่สามารถรับมือกับความท้าทายในยุคดิจิทัลที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว เครือซีพี ผู้ถือหุ้นใหญ่ของ บมจ. ทรู คอร์ปอเรชั่นเดิม และกลุ่มเทเลนอร์ ผู้ถือหุ้นใหญ่ของ บมจ. โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น สร้างความร่วมมืออย่างเท่าเทียมกัน โดยถือหุ้นกันที่ร้อยละ 30.3 ในบริษัทใหม่
นาย มนัสส์ มานะวุฒิเวช ประธานคณะผู้บริหาร บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า "รางวัล 'Deal of the Year Awards' จากตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย สะท้อนให้เห็นถึงความมุ่งมั่นและการเปลี่ยนแปลงของทรู คอร์ปอเรชั่นสู่การเป็นผู้นำด้านเทคโนโลยี เพิ่มขีดความสามารถในการลงทุนโครงข่ายใหม่ และสนับสนุนการพัฒนาด้านดิจิทัลของประเทศไทย ดีลนี้ถูกออกแบบมาเพื่อส่งเสริมนวัตกรรมในด้านต่างๆ เช่น ปัญญาประดิษฐ์ คลาวด์ อุปกรณ์อัจฉริยะ และเมืองอัจฉริยะ ซึ่งสอดคล้องกับเป้าหมายของนโยบายประเทศไทย 4.0 ในการส่งเสริมด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม พร้อมขับเคลื่อนเศรษฐกิจดิจิทัลไทย"
การผนึกกำลังทางธุรกิจครั้งยิ่งใหญ่แห่งประวัติศาสตร์
รางวัล “Deal of the Year Awards" เป็นหนึ่งในรางวัลแห่งคุณค่าสูงสุดที่มอบโดยตลาดหลักทรัพย์ฯ (SET) เพื่อเชิดชูธุรกรรมที่โดดเด่นและสร้างผลประโยชน์สร้างสรรค์ต่อตลาดทุน รางวัลนี้ยกย่องดีลที่แสดงให้เห็นถึงนวัตกรรม วิสัยทัศน์เชิงกลยุทธ์ และการสร้างมูลค่าที่มีนัยสำคัญ
นายนกุล เซห์กัล หัวหน้าคณะผู้บริหารด้านการเงิน (ร่วม) บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า "การได้รับรางวัล ‘ดีลแห่งปี หรือ Deal of the Year Awards’ จาก SET ตอกย้ำถึงความมุ่งมั่นอันแข็งแกร่งของกลุ่มเทเลนอร์และเครือซีพีในการสร้างผู้นำด้านโทรคมนาคมและเทคโนโลยีที่สามารถขับเคลื่อนการเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัลของประเทศไทย ดีลนี้เผชิญความท้าทายที่สำคัญหลายประการ รวมถึงการเจรจาที่อยู่ในช่วงผลกระทบของโควิด-19 สูงสุด เราได้จัดตั้งทีมเฉพาะกิจ (Clean teams) ภายใต้มาตรการพิเศษจากทั้งสองบริษัท ซึ่งช่วยให้มั่นใจว่าสามารถรักษาความลับของข้อมูลที่มีผลกระทบต่อมูลค่าราคาในตลาด และทั้งสองบริษัทยังคงแข่งขันกันได้ระหว่างการทำธุรกรรม การก้าวสู่ความท้าทายเหล่านี้ได้สำเร็จสะท้อนให้เห็นถึงความเชี่ยวชาญและความแข็งแกร่งของทีมผู้นำและทีมการเงินของทั้งสองฝ่าย"
การควบรวมกิจการของ บมจ. ทรู คอร์ปอเรชั่น และ บมจ. โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น ได้ให้ความสำคัญกับความโปร่งใสและการปฏิบัติต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (Stakeholders) ทุกฝ่ายอย่างเท่าเทียม ข้อมูลสำคัญได้ถูกเปิดเผยให้แก่ผู้ถือหุ้น นักลงทุน หน่วยงานกำกับดูแล เจ้าหนี้ และคู่ค้า เพื่อให้มั่นใจว่าการเปลี่ยนผ่านเป็นไปอย่างราบรื่น พร้อมข้อมูลครบถ้วน การยึดมั่นในหลักการความโปร่งใสนี้ ได้สร้างความเชื่อมั่นต่อทิศทางกลยุทธ์ของทรู คอร์ปอเรชั่นใหม่ สะท้อนผ่านรางวัล 'ดีลแห่งปี' จากตลาดหลักทรัพย์ฯ
มุ่งขับเคลื่อนอนาคตดิจิทัลของประเทศไทย
บริษัทใหม่คาดว่าจะสร้างผลประโยชน์ที่ได้จากการควบรวมกิจการ หรือ “Synergies” มูลค่า 2.5 แสนล้านบาทใน 4 ด้านหลัก ได้แก่ เทคโนโลยีและไอที การรวมองค์กรและการดำเนินงาน การจัดซื้อในระดับใหญ่ และผลประโยชน์ร่วมด้านรายได้ โดย Synergies นี้จะขับเคลื่อนการดำเนินงานที่มีกำไร ปรับปรุงกระบวนการให้มีประสิทธิภาพ และเพิ่มความได้เปรียบในการแข่งขันของบริษัท
นายชารัด เมห์โรทรา รองประธานคณะผู้บริหาร บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า "การควบรวมกิจการได้สร้างประโยชน์อย่างมากต่อผู้ใช้งานมือถือและประเทศ การควบรวมทำให้ทรู คอร์ปอเรชั่นสามารถเร่งพัฒนาความครอบคลุมของบริการ 5G เพิ่มคุณภาพโครงข่าย ความน่าเชื่อถือ และความเร็ว มอบประสบการณ์การเชื่อมต่อที่เหนือกว่าให้แก่ลูกค้า การผนึกจุดแข็งที่รวมกันของทรู และดีแทคสร้างสรรค์ให้เกิดผลิตภัณฑ์ บริการ และสิทธิพิเศษที่คุ้มค่ามากยิ่งขึ้น พร้อมยกระดับประสบการณ์ระดับเวิลด์คลาสแก่ลูกค้าของเรา ทั้งนี้ นับเป็นการยกระดับเศรษฐกิจดิจิทัลไทย ในการสร้างโอกาสใหม่ทั้งด้านธุรกิจและการสร้างงาน มุ่งสู่การเป็นศูนย์กลางเทคโนโลยีแห่งภูมิภาค "
ราคาหุ้นของทรู คอร์ปอเรชั่น (ชื่อย่อหลักทรัพย์: TRUE) หลังจากกลับมาจดทะเบียนซื้อขายใหม่เมื่อวันที่ 3 มีนาคม 2566 ได้เพิ่มขึ้นกว่าร้อยละ 130 เมื่อเทียบกับต้นปี แสดงให้เห็นถึงการควบรวมได้ดึงดูดการลงทุนและความเชื่อมั่นจากนักลงทุนในประเทศและต่างประเทศ ทรูได้รับการปรับอันดับเครดิต (Credit rating) ที่ปรับตัวดีขึ้น และเพิ่มฐานนักลงทุนหุ้นกู้ที่กว้างขึ้นซึ่งมีส่วนช่วยในการเติบโตและเสถียรภาพของตลาดการเงิน นอกจากนี้ การควบรวมยังสร้างโอกาสในการจ้างงานและสนับสนุนผู้ผลิตและซัพพลายเออร์ในประเทศ ซึ่งมีส่วนช่วยในการพัฒนาเศรษฐกิจโดยรวม
บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ได้รับรางวัลอันทรงเกียรติ "ดีลแห่งปี" ในงาน SET Awards 2024 จาก Deal of the Year Awards – Mergers & Acquisition Deal ซึ่งเป็นรางวัลที่มอบให้เพื่อยกย่องความสำเร็จและคุณค่าจากการควบรวมกิจการ (Amalgamation) ระหว่างบริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) เดิม และบริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือดีแทค ถือเป็นก้าวสำคัญทางประวัติศาสตร์ของอุตสาหกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร รวมทั้งรางวัลนี้ถือเป็นก้าวสำคัญต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศไทยโดยเฉพาะการมุ่งพัฒนาเทคโนโลยีดิจิทัล
การควบรวมกิจการระหว่างทรู คอร์ปอเรชั่นเดิม และโทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น ซึ่งเสร็จสิ้นเมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2566 นับเป็นการควบรวมกิจการโทรคมนาคมที่ใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เมื่อพิจารณาจากมูลค่าการควบรวม (Combined enterprise value) และเป็นการควบรวมกิจการที่ใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ระหว่างบริษัทจดทะเบียนไทยสองบริษัทเมื่อพิจารณาจากมูลค่าตลาดรวม (Combined market capitalization) บริษัทใหม่ได้ยกระดับการเชื่อมต่อและนวัตกรรมดิจิทัลทั่วประเทศ พร้อมเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันของไทยในวงการเทคโนโลยีระดับโลก
ดีลครั้งประวัติศาสตร์นี้เกิดจากวิสัยทัศน์ร่วมกันของเครือซีพีและกลุ่มเทเลนอร์ ในการสร้างบริษัทโทรคมนาคม-เทคโนโลยีชั้นนำในไทยที่สามารถรับมือกับความท้าทายในยุคดิจิทัลที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว เครือซีพี ผู้ถือหุ้นใหญ่ของ บมจ. ทรู คอร์ปอเรชั่นเดิม และกลุ่มเทเลนอร์ ผู้ถือหุ้นใหญ่ของ บมจ. โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น สร้างความร่วมมืออย่างเท่าเทียมกัน โดยถือหุ้นกันที่ร้อยละ 30.3 ในบริษัทใหม่
นาย มนัสส์ มานะวุฒิเวช ประธานคณะผู้บริหาร บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า "รางวัล 'Deal of the Year Awards' จากตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย สะท้อนให้เห็นถึงความมุ่งมั่นและการเปลี่ยนแปลงของทรู คอร์ปอเรชั่นสู่การเป็นผู้นำด้านเทคโนโลยี เพิ่มขีดความสามารถในการลงทุนโครงข่ายใหม่ และสนับสนุนการพัฒนาด้านดิจิทัลของประเทศไทย ดีลนี้ถูกออกแบบมาเพื่อส่งเสริมนวัตกรรมในด้านต่างๆ เช่น ปัญญาประดิษฐ์ คลาวด์ อุปกรณ์อัจฉริยะ และเมืองอัจฉริยะ ซึ่งสอดคล้องกับเป้าหมายของนโยบายประเทศไทย 4.0 ในการส่งเสริมด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม พร้อมขับเคลื่อนเศรษฐกิจดิจิทัลไทย"
การผนึกกำลังทางธุรกิจครั้งยิ่งใหญ่แห่งประวัติศาสตร์
รางวัล “Deal of the Year Awards" เป็นหนึ่งในรางวัลแห่งคุณค่าสูงสุดที่มอบโดยตลาดหลักทรัพย์ฯ (SET) เพื่อเชิดชูธุรกรรมที่โดดเด่นและสร้างผลประโยชน์สร้างสรรค์ต่อตลาดทุน รางวัลนี้ยกย่องดีลที่แสดงให้เห็นถึงนวัตกรรม วิสัยทัศน์เชิงกลยุทธ์ และการสร้างมูลค่าที่มีนัยสำคัญ
นายนกุล เซห์กัล หัวหน้าคณะผู้บริหารด้านการเงิน (ร่วม) บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า "การได้รับรางวัล ‘ดีลแห่งปี หรือ Deal of the Year Awards’ จาก SET ตอกย้ำถึงความมุ่งมั่นอันแข็งแกร่งของกลุ่มเทเลนอร์และเครือซีพีในการสร้างผู้นำด้านโทรคมนาคมและเทคโนโลยีที่สามารถขับเคลื่อนการเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัลของประเทศไทย ดีลนี้เผชิญความท้าทายที่สำคัญหลายประการ รวมถึงการเจรจาที่อยู่ในช่วงผลกระทบของโควิด-19 สูงสุด เราได้จัดตั้งทีมเฉพาะกิจ (Clean teams) ภายใต้มาตรการพิเศษจากทั้งสองบริษัท ซึ่งช่วยให้มั่นใจว่าสามารถรักษาความลับของข้อมูลที่มีผลกระทบต่อมูลค่าราคาในตลาด และทั้งสองบริษัทยังคงแข่งขันกันได้ระหว่างการทำธุรกรรม การก้าวสู่ความท้าทายเหล่านี้ได้สำเร็จสะท้อนให้เห็นถึงความเชี่ยวชาญและความแข็งแกร่งของทีมผู้นำและทีมการเงินของทั้งสองฝ่าย"
การควบรวมกิจการของ บมจ. ทรู คอร์ปอเรชั่น และ บมจ. โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น ได้ให้ความสำคัญกับความโปร่งใสและการปฏิบัติต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (Stakeholders) ทุกฝ่ายอย่างเท่าเทียม ข้อมูลสำคัญได้ถูกเปิดเผยให้แก่ผู้ถือหุ้น นักลงทุน หน่วยงานกำกับดูแล เจ้าหนี้ และคู่ค้า เพื่อให้มั่นใจว่าการเปลี่ยนผ่านเป็นไปอย่างราบรื่น พร้อมข้อมูลครบถ้วน การยึดมั่นในหลักการความโปร่งใสนี้ ได้สร้างความเชื่อมั่นต่อทิศทางกลยุทธ์ของทรู คอร์ปอเรชั่นใหม่ สะท้อนผ่านรางวัล 'ดีลแห่งปี' จากตลาดหลักทรัพย์ฯ
มุ่งขับเคลื่อนอนาคตดิจิทัลของประเทศไทย
บริษัทใหม่คาดว่าจะสร้างผลประโยชน์ที่ได้จากการควบรวมกิจการ หรือ “Synergies” มูลค่า 2.5 แสนล้านบาทใน 4 ด้านหลัก ได้แก่ เทคโนโลยีและไอที การรวมองค์กรและการดำเนินงาน การจัดซื้อในระดับใหญ่ และผลประโยชน์ร่วมด้านรายได้ โดย Synergies นี้จะขับเคลื่อนการดำเนินงานที่มีกำไร ปรับปรุงกระบวนการให้มีประสิทธิภาพ และเพิ่มความได้เปรียบในการแข่งขันของบริษัท
นายชารัด เมห์โรทรา รองประธานคณะผู้บริหาร บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า "การควบรวมกิจการได้สร้างประโยชน์อย่างมากต่อผู้ใช้งานมือถือและประเทศ การควบรวมทำให้ทรู คอร์ปอเรชั่นสามารถเร่งพัฒนาความครอบคลุมของบริการ 5G เพิ่มคุณภาพโครงข่าย ความน่าเชื่อถือ และความเร็ว มอบประสบการณ์การเชื่อมต่อที่เหนือกว่าให้แก่ลูกค้า การผนึกจุดแข็งที่รวมกันของทรู และดีแทคสร้างสรรค์ให้เกิดผลิตภัณฑ์ บริการ และสิทธิพิเศษที่คุ้มค่ามากยิ่งขึ้น พร้อมยกระดับประสบการณ์ระดับเวิลด์คลาสแก่ลูกค้าของเรา ทั้งนี้ นับเป็นการยกระดับเศรษฐกิจดิจิทัลไทย ในการสร้างโอกาสใหม่ทั้งด้านธุรกิจและการสร้างงาน มุ่งสู่การเป็นศูนย์กลางเทคโนโลยีแห่งภูมิภาค "
ราคาหุ้นของทรู คอร์ปอเรชั่น (ชื่อย่อหลักทรัพย์: TRUE) หลังจากกลับมาจดทะเบียนซื้อขายใหม่เมื่อวันที่ 3 มีนาคม 2566 ได้เพิ่มขึ้นกว่าร้อยละ 130 เมื่อเทียบกับต้นปี แสดงให้เห็นถึงการควบรวมได้ดึงดูดการลงทุนและความเชื่อมั่นจากนักลงทุนในประเทศและต่างประเทศ ทรูได้รับการปรับอันดับเครดิต (Credit rating) ที่ปรับตัวดีขึ้น และเพิ่มฐานนักลงทุนหุ้นกู้ที่กว้างขึ้นซึ่งมีส่วนช่วยในการเติบโตและเสถียรภาพของตลาดการเงิน นอกจากนี้ การควบรวมยังสร้างโอกาสในการจ้างงานและสนับสนุนผู้ผลิตและซัพพลายเออร์ในประเทศ ซึ่งมีส่วนช่วยในการพัฒนาเศรษฐกิจโดยรวม
บริษัท โตเกียวมารีนประกันชีวิต (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) ตอกย้ำความเป็นผู้นำด้านนวัตกรรมประกันสุขภาพ เปิดตัวบริการล่าสุด เพิ่มช่องทาง "พบแพทย์ออนไลน์" ผ่านแอปพลิเคชัน "MorDee” (หมอดี) เพื่อยกระดับการดูแลสุขภาพของลูกค้าให้ง่าย สะดวก รวดเร็ว ไร้กังวลเรื่องค่าใช้จ่าย โดยให้บริการครอบคลุม ดังนี้
- พบแพทย์ออนไลน์ ปรึกษาสุขภาพกายได้ทุกที่ ทุกเวลา ผ่านสมาร์ทโฟน
- ลูกค้าประกันกลุ่มที่มีความคุ้มครอง OPD เคลมประกันได้ทันที ไม่ต้องสำรองจ่าย ทั้งค่าแพทย์ ค่ายา ตามวงเงินผลประโยชน์
- บริการส่งยาถึงบ้านหรือสถานที่ที่ลูกค้าต้องการทั่วประเทศ (พิเศษ! ฟรีค่าจัดส่งยา ตามเงื่อนไขและระยะเวลาตามที่แอปฯ "MorDee” (หมอดี) กำหนด)
นายทาคาชิ ไซโตะ กรรมการผู้จัดการ บริษัท โตเกียวมารีนประกันชีวิต (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า "ภารกิจของเราคือการคุ้มครอง ดูแลลูกค้าในทุกช่วงเวลาของชีวิต ความร่วมมือกับ ทรู ดิจิทัล กรุ๊ป ในการเพิ่มช่องทางดูแลสุขภาพผ่านแอปพลิเคชัน 'MorDee' (หมอดี) ครั้งนี้ เป็นก้าวสำคัญในการสนับสนุนให้ลูกค้าของเราใช้ชีวิตได้อย่างยืดหยุ่นและมั่นใจมากขึ้นในยุคดิจิทัล"
ด้วยบริการใหม่นี้ ลูกค้าประกันกลุ่มของโตเกียวมารีนประกันชีวิตสามารถเข้าถึงการรักษาพยาบาลได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว ไม่ว่าจะอยู่ที่ไหนในประเทศไทย ตอบโจทย์การใช้ชีวิตในยุคปัจจุบันที่ต้องการความคล่องตัวและการดูแลสุขภาพที่ทันสมัย
นายชาง ฟู หัวหน้าสายงานด้านดิจิทัล เฮลท์ บริษัท ทรู ดิจิทัล กรุ๊ป จำกัด กล่าวว่า “ทรู ดิจิทัล กรุ๊ป พัฒนาแพลตฟอร์มดูแลสุขภาพอัจฉริยะ “MorDee” (หมอดี) เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของคนไทยทั่วประเทศ ให้สามารถเข้าถึงบริการทางการแพทย์ผ่านระบบออนไลน์ (Telemedicine) และดูแลสุขภาพแบบองค์รวมได้อย่างสะดวก รวดเร็ว และทั่วถึง พร้อมขยายความร่วมมือกับบริษัทประกันชั้นนำ เพิ่มทางเลือกสำหรับผู้ที่มีกรมธรรม์ประกันสุขภาพแบบผู้ป่วยนอก (OPD) ให้ปรึกษาปัญหาสุขภาพได้ทุกที่ ทุกเวลา บนทุกสมาร์ทดีไวซ์ รักษา รับยา เคลมประกันได้ในแอปฯเดียว ผ่านฟังก์ชัน “เทเลเมดิเคลม” (TeleMediClaim+) โดยภายใต้ความร่วมมือครั้งนี้ “MorDee” (หมอดี) นำทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางจากสถาบันการแพทย์ชั้นนำกว่า 500 คน ช่วยดูแลสุขภาพของลูกค้าประกันกลุ่มของโตเกียวมารีนประกันชีวิต ครอบคลุมกว่า 20 สาขา พบแพทย์ออนไลน์ ปรึกษาปัญหาสุขภาพกายได้แบบส่วนตัว ไม่ต้องกังวลค่าใช้จ่าย พร้อมบริการส่งยาถึงบ้าน ช่วยประหยัดเวลาและลดความแออัดในโรงพยาบาล ทั้งยังสามารถดูประวัติการรักษาผ่านแอปฯ และมั่นใจได้ในความปลอดภัยของข้อมูลส่วนบุคคล”
ลูกค้าประกันกลุ่มของโตเกียวมารีนประกันชีวิต สามารถปรึกษาแพทย์ออนไลน์-รักษา-รับยา-เคลมประกัน ผ่านแอปฯ “MorDee” (หมอดี) ได้แล้ววันนี้ โดยมีขั้นตอนง่ายๆ ในการดาวน์โหลดและเริ่มต้นใช้งานแอปฯ MorDee (หมอดี) ดังนี้
1. ดาวน์โหลดแอปฯ MorDee ทาง Apps Store/Play Store หรือคลิก https://mordee.app.link/7me4in9appb แล้วลงทะเบียน เพื่อเริ่มต้นใช้งาน
2. เชื่อมสิทธิ์ประกัน โดยเลือกเมนู เชื่อมสิทธิพิเศษ แล้วกด เพิ่มสิทธิพิเศษ จากนั้นเลือก โตเกียวมารีนประกันชีวิต แล้วกรอกข้อมูลให้เรียบร้อย
3. ยืนยันตัวตน โดยถ่ายภาพหน้าตรง และภาพบัตรประชาชน/พาสสปอร์ต
ขั้นตอนการใช้บริการพบแพทย์ออนไลน์ผ่านแอปฯ MorDee (หมอดี) ดังนี้
1. ค้นหาแผนก โดยเลือกเมนู หน้าแรก กดแถบค้นหา แล้วเลือกแผนกหรืออาการที่ต้องการปรึกษา
2. เลือกแพทย์ โดยเลือกจากรายชื่อแพทย์ที่มีโลโก้ โตเกียวมารีนประกันชีวิต
3. ทำนัดหมาย โดยเลือกวันและเวลา เลือกรูปแบบการปรึกษาเป็นวิดีโอคอล เพื่อให้สามารถใช้สิทธิ์ประกันได้
4. เคลมประกัน ในขั้นตอนชำระเงิน โดยให้กดเลือก การชำระเงิน/สิทธิพิเศษ แล้วเลือก โตเกียวมารีนประกันชีวิต เพื่อใช้บริการได้โดยไม่ต้องสำรองจ่าย
5. ปรึกษา รับยา โดยให้เข้าห้องสนทนาในแอปฯ เพื่อทำการปรึกษาแพทย์เมื่อถึงเวลานัดหมาย จากนั้นรอแพทย์ส่งสรุปผลการปรึกษา พร้อมใบสั่งยา (ถ้ามี) โดยสามารถสั่งซื้อยา โดยการเคลมประกัน แล้วรอรับยาที่บ้านได้