January 05, 2025
  • 99% ขององค์กรในไทยเชื่อว่า AI จะเข้ามาปฏิรูปอุตสาหกรรม 
  • 27% ของผู้ร่วมสำรวจในไทย กำลังเปลี่ยนผ่านจากแนวคิดสู่การนำ GenAI มาใช้งานจริง  
  • 98% ขององค์กรไทยกล่าวว่าข้อมูลคือหัวใจสำคัญของความสำเร็จด้าน AI 
  • 89% ของผู้ร่วมสำรวจในไทย กล่าวว่าเครื่องมือ AI ช่วยเพิ่มศักยภาพให้มนุษย์ และให้ผลลัพธ์สูงสุด 

 

ผลการวิจัย Dell Technologies Innovation Catalyst Research   99% สำหรับองค์กรไทย (เอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่น 85% ทั่วโลก 81%) โดยองค์กรที่รายงานการเติบโตของรายได้เพิ่มขึ้นในปี 2023 มีสูงถึง 91% (เพิ่มขึ้น 25%) และลดลงเหลือ 75% สำหรับองค์กรที่รายงานการเติบโตรายได้ลดลง (1-5%) และมีรายได้คงที่หรือถดถอย  

จากการสำรวจผู้มีอำนาจตัดสินใจด้านไอที และผู้มีอำนาจตัดสินใจทางธุรกิจจำนวน 6,600 คน ครอบคลุม 40 ประเทศ รายงานชี้ให้เห็นว่า แม้องค์กรส่วนใหญ่มีความเชื่อมั่นในศักยภาพของ AI และ GenAI แต่ระดับความพร้อมขององค์กรในการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ล้วนแตกต่างกันไปมาก  เกือบทุกองค์กรในประเทศไทย (98%) กล่าวว่าตัวเองมีจุดยืนที่ดีในการแข่งขันและมีกลยุทธ์ที่แข็งแกร่ง (เอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่น 80% ทั่วโลก 82%) ขณะเดียวกัน ครึ่งหนึ่งผู้เข้าร่วมสำรวจที่เป็นองค์กรในไทยต่างไม่แน่ใจว่าอุตสาหกรรมจะเป็นอย่างไรในอีก 3-5 ปีข้างหน้า (เอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่น 50% ทั่วโลก 48%) และทุกองค์กร (100%) รายงานถึงความยากลำบากในการตามให้ทันกับสถานการณ์ (เอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่น 59% ทั่วโลก 57%) โดย 40% ของผู้ร่วมการสำรวจในไทยกล่าวว่ายังขาดบุคลากรที่มีความสามารถ (เอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่น 41% ทั่วโลก 35%) โดย 37% รายงานถึงความกังวลใจเรื่องความเป็นส่วนตัวของข้อมูลและความปลอดภัยทางไซเบอร์ (เอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่น 36% ทั่วโลก 31%) และ 34% ขององค์กรในประเทศไทยรายงานถึงการขาดงบประมาณ (เอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่น 31% ทั่วโลก 29%) ว่าเป็นความท้าทายที่ต้องเผชิญในการขับเคลื่อนนวัตกรรม 

GenAI จากแนวคิดสู่การใช้งานจริง 

60% ของผู้ร่วมการสำรวจในไทย กล่าวว่า GenAI ให้ศักยภาพที่โดดเด่นในการปฏิรูปการทำงาน ช่วยสร้างคุณค่าในการปรับปรุงการรักษาความปลอดภัยไอที (เอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่น 51% ทั่วโลก 52%) และ 65% อ้างถึงการสร้างผลลัพธ์ที่ดี (เอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่น 53% ทั่วโลก 52%) ขณะที่ 62% ของผู้ร่วมการสำรวจในไทย อ้างถึงศักยภาพที่ช่วยปรับปรุงประสบการณ์ลูกค้าได้ดีขึ้น (เอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่น 51% ทั่วโลก 51%) นอกจากนี้ ผู้ร่วมการสำรวจยังตระหนักดีถึงความท้าทายที่ต้องรับมือ 88% ขององค์กรในไทยกลัวว่า AI จะนำพาปัญหาใหม่ๆ ด้านความปลอดภัยภัยและความเป็นส่วนตัวมาด้วย (เอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่น 69% ทั่วโลก 68%) และ 90% ของผู้ร่วมการสำรวจในไทย (เอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่น 76% ทั่วโลก 73%) เห็นพ้องว่าข้อมูลและทรัพย์สินทางปัญญาในองค์กรตนมีค่ามากเกินกว่าจะเอามาไว้ในเครื่องมือ GenAI ที่บุคคลที่สามสามารถเข้าถึงได้ 

ในภาพรวม การตอบแบบสอบถามยังชี้ว่าองค์กรต่างๆ กำลังพิจารณาความเป็นไปได้ของ GenAI ในการเปลี่ยนจากแนวคิดสู่การนำมาใช้งานจริง 27% ของผู้ร่วมการสำรวจจากไทยกล่าวว่ากำลังเริ่มนำ GenAI มาใช้งาน เนื่องจากองค์กรต่างๆ กำลังนำมาใช้กันมากขึ้น ซึ่งความกังวลหลักจะอยู่ที่การทำความเข้าใจว่ามีความเสี่ยงตรงจุดไหนบ้าง และใครรับผิดชอบความเสี่ยงเหล่านั้น โดย 92% ของผู้ร่วมการสำรวจในไทย เห็นพ้องว่าองค์กรควรเป็นผู้รับผิดชอบต่อความผิดพลาดหรือพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ ของ AI มากกว่าตัวระบบ การใช้งาน หรือสาธารณะเองก็ตาม 

ฐิตพล บุญประสิทธิ์ กรรมการผู้จัดการ เดลล์ เทคโนโลยีส์ ในประเทศไทย ให้ข้อมูลเพิ่มว่า “ข้อมูลแสดงให้เห็นว่าบรรดาธุรกิจในประเทศไทยเริ่มตระหนักถึงพลังในการเปลี่ยนแปลงของ AI และ GenAI ที่ให้ศักยภาพสำคัญในการเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน ปรับปรุงเรื่องความปลอดภัยและยกระดับประสบการณ์ที่เหนือชั้นให้แก่ลูกค้า ความท้าทายในขณะนี้ คือการเปลี่ยนจากแนวคิดสู่การใช้งานจริง และการสร้างระบบนิเวศของพันธมิตรที่เชื่อถือได้คือสิ่งสำคัญยิ่งที่ช่วยให้องค์กรสร้างโครงสร้างพื้นฐานที่ปลอดภัย สามารถปรับขยายเพื่อรองรับนวัตกรรมได้ อีกทั้งช่วยตอบโจทย์ความกังวลใจหลักอย่างความเป็นส่วนตัวของข้อมูล การขาดแคลนบุคลากรที่มีความสามารถที่เหมาะสม และการสร้างความยั่งยืน   

องค์กรกำลังต่อกรกับความท้าท้ายของภาพรวมภัยคุกคามในปัจจุบัน 

การรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ ยังคงเป็นปัญหาใหญ่สำหรับองค์กรในวงกว้าง ความกังวลเหล่านี้ มีที่มาที่ไป เนื่องจาก 92% ของผู้ร่วมการสำรวจในไทย กล่าวว่าได้รับผลกระทบจากการโจมตีความปลอดภัยภายใน 12 เดือนที่ผ่านมา (เอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่น 84% ทั่วโลก 83%) ผู้ร่วมการสำรวจส่วนใหญ่ (96%) กำลังนำกลยุทธ์ Zero Trust มาใช้ (เอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่น 90% ทั่วโลก 89%) และ 94% ขององค์กรในประเทศไทย กล่าวว่าองค์กรตนมีแผนตอบสนองต่อเหตุการณ์ (Incident Response Plan) อยู่แล้ว ในการรับมือการโจมตี หรือข้อมูลรั่วไหล (เอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่น 79% ทั่วโลก 78%) 

ปัญหาหลักสามอันดับแรก ได้แก่ มัลแวร์ ฟิชชิ่ง และการละเมิดข้อมูล ในรายงานยังเน้นว่าปัญหาที่เกิดจากฟิชชิ่ง เป็นสัญญานบ่งชี้ถึงปัญหาที่ใหญ่ขึ้นตามมา โดยพนักงานมีบทบาทต่อภัยคุกคามในภาพรวม ตัวอย่างเช่น 86% ของผู้ร่วมการสำรวจไทย (เอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่น 72% ทั่วโลก 67%) เชื่อว่าพนักงานบางคนหลบหลีกข้อกำหนดและแนวทางปฏิบัติด้านความปลอดภัยในองค์กรเพราะทำให้เกิดความล่าช้าในการทำงานและทำให้ประสิทธิภาพการทำงานลดลง และ 91% ของผู้ร่วมการสำรวจไทย กล่าวว่าภัยคุกคามจากในองค์กรเป็นความกังวลอย่างมาก (เอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่น 70% ทั่วโลก 65%) ซึ่งชี้ให้เห็นถึงความจำเป็นที่ต้องมุ่งเน้นเรื่องการฝึกอบรมเพราะบุคลากรคือด่านแรกในการป้องกัน 

โครงสร้างพื้นฐานเทคโนโลยีที่เหมาะสมจะช่วยให้องค์กรประสบความสำเร็จ  

การวิจัยยังเผยว่าโครงสร้างพื้นฐานที่ทันสมัยมีบทบาทสำคัญในขณะที่เทคโนโลยีอย่าง GenAI กำลังเดินหน้าพัฒนาและมีปริมาณข้อมูลเพิ่มขึ้น การลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานที่ทันสมัย รองรับการปรับขยายได้ ถูกหยิบยกว่าเป็นปัจจัยสำคัญอันดับแรกที่ธุรกิจต้องปรับปรุงเพื่อเร่งสร้างนวัตกรรม ผู้มีอำนาจตัดสินใจด้านไอทีส่วนใหญ่ในประเทศไทย (78%) กล่าวถึงความชื่นชอบในโมเดลแบบ on-prem หรือไฮบริด ว่าช่วยตอบโจทย์ความท้าทายที่คาดว่าจะเกิดจากการนำ GenAI มาใช้ในองค์กร 

นอกจากนี้ ความสามารถในการแบ่งปันข้อมูลทั่วองค์กร ยังนับว่าเป็นส่วนสำคัญในการสร้างนวัตกรรม 53% ของผู้ร่วมการสำรวจชาวไทย (เอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่น 36% ทั่วโลก 33%) กล่าวว่าปัจจุบันตนสามารถเปลี่ยนข้อมูลให้เป็นข้อมูลเชิงลึกแบบเรียลไทม์เพื่อช่วยสนับสนุนการสร้างนวัตกรรมได้ อย่างไรก็ตาม ผลสำรวจชี้ให้เห็นว่าองค์กรต่างๆ กำลังรับมือกับความท้าทาย 98% ของผู้ร่วมการสำรวจในไทย (เอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่น 84% ทั่วโลก 82%) กล่าวว่าข้อมูลคือปัจจัยที่สร้างความแตกต่างและกลยุทธ์ GenAI ต้องสัมพันธ์กับการใช้และปกป้องข้อมูล นอกจากนี้ผู้ร่วมการสำรวจเกินครึ่ง (62%) ในไทย (เอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่น 47% ทั่วโลก 42%) ยังอ้างว่าตัวเองคาดว่าภายในห้าปีข้างหน้า จะมีปริมาณข้อมูลมากมายที่หลั่งไหลมาจากเอดจ์ 

ผลวิจัยที่น่าสนใจอื่นๆ รวมถึงประเด็นต่อไปนี้ 

  • เรื่องทักษะ เกือบสามในสี่ของผู้ร่วมการสำรวจชาวไทย (78%) (เอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่น 74% ทั่วโลก 67%) อ้างว่าปัจจุบันองค์กรขาดแคลนบุคลากรที่มีทักษะซึ่งจำเป็นต่อการสร้างนวัตกรรมในอุตสาหกรรม ความคล่องตัวในการเรียนรู้และปรับตัว ความเชี่ยวขาญด้าน AI และความสร้างสรรค์ รวมถึงการคิดในเชิงสร้างสรรค์ ได้รับการจัดให้เป็นทักษะและความสามารถด้านการแข่งขันในอันดับต้นสำหรับห้าปีข้างหน้า 
  • ความยั่งยืน 64% ของผู้ร่วมการสำรวจชาวไทย (เอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่น 48% ทั่วโลก 42%) เชื่อว่า “การขับเคลื่อนนวัตกรรมที่สร้างความยั่งยืนให้สภาพแวดล้อม” คือส่วนสำคัญที่ต้องปรับปรุง และประสิทธิภาพด้านพลังงานคือประเด็นหลัก 92% ขององค์กรในไทย (เอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่น 79% ทั่วโลก 79%) กำลังทดลองใช้โซลูชันเชิงบริการ (as-a-Service) เพื่อจัดการสภาพแวดล้อมไอทีให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น และ 97% ของผู้ร่วมการสำรวจชาวไทย (เอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่น 76% ทั่วโลก 73%) กำลังย้ายการดำเนินงานด้าน AI Inferencing ไปที่เอดจ์ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพด้านพลังงาน (เช่น อาคารอัจฉริยะ) 
  • การทำไอที ให้เป็นเป็นพันธมิตรเชิงกลยุทธ์  ปัจจุบัน 82% ของผู้มีอำนาจตัดสินใจทางธุรกิจในประเทศไทย (เอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่น 85% ทั่วโลก 81%) มีเหตุผลในการแยกผู้มีอำนาจตัดสินใจด้านไอที ออกจากการสนทนาที่เป็นเชิงกลยุทธ์ กระนั้นทั้งสองฝ่ายก็ยังถูกจัดว่ามีความสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้นมากขึ้น ซึ่งนับเป็นปัจจัยที่ควรปรับปรุงและสำคัญเป็นอันดับสอง 
  • การให้ผลลัพธ์ 89% ของผู้ร่วมการสำรวจชาวไทย เชื่อว่าเครื่องมือ AI จะช่วยเพิ่มศักยภาพให้มนุษย์และให้ผลลัพธ์สูงสุด 

 

เดลล์ เทคโนโลยีส์ เปิดตัวกลุ่มผลิตภัณฑ์คอมเมอร์เชียล AI แล็ปท็อป และโมบาย เวิร์กสเตชัน เพื่อการใช้งานในองค์กรธุรกิจ ได้รับการออกแบบมาเพื่อนำพาทั้งองค์กรและประสิทธิภาพการทำงานของพนักงานก้าวเข้าสู่ยุค AI

"เน็กซ์เจนพีซีเกิดขึ้นในช่วงการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญนี้ ด้วยการปรับปรุงครั้งใหม่และความสามารถใหม่ของพีซีที่จะสร้างแรงกระเพื่อมที่กำลังจะมาถึง" แพทริค มัวร์เฮด ผู้ก่อตั้งและซีอีโอของ Moor Insights & Strategy กล่าว "คอมเมอร์เชียล AI พีซีและเวิร์กสเตชันของเดลล์ มาพร้อมกับระบบนิเวศของทั้งอุปกรณ์เสริม ซอฟต์แวร์ และบริการของตัวเอง เพื่อให้การใช้งาน AI ที่ต่อเนื่องที่ได้รับออกแบบมาเพื่อเสริมประสิทธิภาพสูงสุดให้กับประสบการณ์การใช้งานของผู้ใช้ และสร้างรากฐานการนำองค์กรธุรกิจไปสู่ความสําเร็จในอนาคต"

“ทุกบริษัทที่ต้องการคงไว้ซึ่งความสามารถในการแข่งขัน ต่างพิจารณาที่จะนำ AI มาใช้งาน และ AI พีซี จะกลายเป็นศูนย์กลางของการเคลื่อนไหวนี้” แซม เบิร์ด ประธานกลุ่ม Client Solutions Group เดลล์ เทคโนโลยีส์ กล่าว "เริ่มตั้งแต่เวิร์กโหลด AI ที่ซับซ้อนบนเวิร์กสเตชัน ไปจนถึงการใช้แอปพลิเคชันที่ขับเคลื่อนด้วยพลัง AI ที่ใช้เป็นประจำบนแล็ปท็อป AI PC จึงถือเป็นการลงทุนที่สําคัญที่ให้ผลตอบแทนทั้งในด้านประสิทธิภาพการทำงาน และการปูทางไปสู่อนาคตที่ชาญฉลาดกว่าเดิม ข้อได้เปรียบของเดลล์เริ่มต้นด้วยการนำเสนอ AI PC ที่ครบถ้วนทั่วทั้งกลุ่มผลิตภัณฑ์คอมเมอร์เชียลตั้งแต่วันแรก ช่วยให้ลูกค้ามีความสามารถในการเตรียมความพร้อมสําหรับ AI สำหรับอนาคตได้ในทันที"

 AI PCs เพื่อการทำงานแบบไฮบริด

หน่วยประมวลผล Neural Processing Unit (NPU) ที่ติดตั้งอยู่ใน AI PC จะมีการเติบโตจากจำนวนประมาณ 50 ล้านยูนิตในปี 2024 เป็นจำนวนที่มากกว่า 167 ล้านยูนิตในปี 2027 คิดเป็น 60% ของปริมาณการจัดส่ง (Shipments) พีซีทั่วโลก ทั้งนี้ NPU เสริม AI acceleration engine เพื่อตอบโจทย์การทำงานของ AI ที่มีความจำเพาะมากขึ้นได้ ช่วยลดปริมาณงานให้ CPU

และ GPU สามารถทำงานในส่วนอื่นได้ ช่วยสร้างประสบการณ์ที่ตอบสนองมากขึ้นและเพิ่มประสิทธิภาพ ความปลอดภัย อายุการใช้งานแบตเตอรี่ และผลิตภาพเพิ่มมากขึ้น

ทั้งนี้ สายผลิตภัณฑ์ใหม่ของ Latitude และ Precision โมบาย เวิร์กสเตชันของเดลล์ นำเสนอตัวเลือกคอมเมอร์เชียล AI PC ที่กว้างขวาง เพื่อการใช้งานเชิงธุรกิจให้กับลูกค้า โดยเริ่มตั้งแต่แล็ปท็อปและเวิร์กสเตชันในระดับเอนทรี ไปจนถึงระดับอัลตร้า-พรีเมียม ด้วยสายผลิตภัณฑ์ Latitude แล็ปท็อป และ Precision โมบาย เวิร์กสเตชันใหม่ ด้วยพลังของ Intel Core Ultra processors with Intel vPro® เดลล์คอมเมอร์เชียลพีซีเหมาะสมสำหรับการขับเคลื่อน AI เวิร์กโหลด และปลดล็อกการสร้างผลิตภาพและประสิทธิภาพในระดับใหม่ ยกตัวอย่าง คนทำงานสามารถที่จะ

· ทำงานร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ด้วยการผสานประโยชน์ของ NPU เพื่อปลดปล่อยขีดความสามารถในการ การกำหนดกรอบอัตโนมัติ (Auto-framing) การทำให้พื้นหลังเบลอ ตลอดจนการติดตามสายตา (Eye-tracking) พร้อมพลังการทำงานอันเปี่ยมประสิทธิภาพของโปรเซสเซอร์ Intel Core Ultra ที่มอบพลังงานแบตเตอรี่เพิ่มขึ้นถึง 38% ให้กับพนักงาน รวมถึงเวลาทำงานที่เพิ่มมากขึ้นในแต่ละวันที่เต็มไปด้วยการประชุมผ่าน Zoom

· สร้างสรรค์คอนเทนต์ได้เร็วยิ่งขึ้น โดยการแจกจ่ายการประมวลผล AI ไปยัง CPU GPU และทั้ง NPU โดยถ้วนทั่ว ผู้ใช้สามารถสร้างสรรค์ภาพ AI ได้เร็วขึ้นถึง 5 เท่าด้วย Stable Diffusion โมเดลแปลงข้อความเป็นภาพ (Text-to-Image)

· ทำงานด้วยความปลอดภัยที่เพิ่มมากขึ้นในสภาพแวดล้อมการทำงานแบบไฮบริด ผู้จําหน่ายซอฟต์แวร์อิสระจำนวนมากขึ้นจะหันมาสร้างแอปพลิเคชันสำหรับ AI PC ยกตัวอย่าง เดลล์กำลังทำงานร่วมกับ CrowdStrike และ Intel เพื่อโอนย้ายฟังก์ชันด้านความปลอดภัยไปประมวลผลบนอุปกรณ์ผ่าน NPU ซึ่งให้การตรวจจับภัยคุกคามที่ครอบคลุมมากขึ้น ช่วยให้ลูกค้าตรวจพบเว็บไซต์และช่องโหว่ด้านความปลอดภัยที่มีความร้ายแรงได้อย่างรวดเร็ว ให้ความล่าช้าที่ลดลงเมื่อเทียบกับโซลูชันบนคลาวด์

· รักษาการทำงานให้เป็นไปอย่างต่อเนื่อง โดยกลุ่มผลิตภัณฑ์นี้มาพร้อมฟีเจอร์ Windows 11 และปุ่ม Copilot เพื่อทําให้การทำงานเป็นไปง่ายขึ้นและจดจ่ออยู่กับงานได้ ด้วยการกดปุ่ม ผู้ใช้สามารถเข้าถึง AI เป็นผู้ช่วยในชีวิตประจำวันได้เร็วยิ่งขึ้น

บริการอัตโนมัติที่ขับเคลื่อนด้วย AI

ต่อยอดบนความเป็นผู้นำอุตสาหกรรมอันยาวนานด้านการทำงานเชิงรุกและคาดการณ์ล่วงหน้าโดยอัตโนมัติ พร้อมทั้งคำชี้แนะจากผู้เชี่ยวชาญ ความสามารถใหม่ของบริการ Dell Services ช่วยให้ลูกค้า

· เพิ่ม PC Uptime สูงสุด พร้อมปรับปรุงประสิทธิภาพการทำงานด้วยความสามารถใหม่ในการซ่อมแซมตัวเอง (Self-healing) ผ่าน ProSupport Suite for PC โดยลูกค้าที่เชื่อมต่อกับเทคโนโลยี SupportAssist ของเดลล์สามารถยกระดับการรวบรวมข้อมูลและ AI เพื่อแก้ไขปัญหาพีซีได้ไม่ต้องใช้การสนับสนุนจากมนุษย์ ซึ่งทำให้ IT สามารถเปิดใช้สคริปต์ที่เดลล์สร้างขึ้นเพื่อแก้ไขข้อผิดพลาดจอฟ้า (Blue Screen Errors) โดยอัตโนมัติ รวมไปถึงปัญหาระบบความร้อน และอื่น ๆ ที่อาจเกิดขึ้นในกลุ่มผลิตภัณฑ์ทั้งหมดของพีซี

· ใช้งาน และเพิ่มมูลค่าสูงสุดให้กับการลงทุน GenAI ด้วย Digital Employee Experience Services for Gen AI โดยบริการเหล่านี้ให้ทั้งเครื่องมือและเทคโนโลยีที่ปรับแต่งอย่างเหมาะสมกับหลากรูปแบบการทำงานของพนักงาน

 

ไฮไลต์ผลิตภัณฑ์

· กลุ่มผลิตภัณฑ์ Latitude ใหม่ของ Dell รวมถึง Latitude 7350 Detachable มอบอิสระให้กับมืออาชีพเพื่อการทำงานด้วยการเชื่อมต่ออุปกรณ์พร้อมใช้งานที่โต๊ะทำงานอย่างเต็มรูปแบบ หรือการใช้งานขณะเดินทางด้วยแท็บเล็ตหรือแล็ปท็อป มาพร้อมกล้อง 8MP HDR เพื่อภาพถ่ายคุณภาพสูงในสภาพแสงที่ท้าทาย กลุ่มผลิตภัณฑ์ที่ปรับปรุงใหม่ทั้งหมดนี้มาพร้อมการอัพเดทในรุ่น 5000 ซีรีส์ 7000 ซีรีส์ และ 9000 ซีรีส์ รวมถึง Latitude 7350/7450 Ultralights

· Precision เวิร์กสเตชันทั้งแบบโมบายและตั้งโต๊ะใหม่ของเดลล์ ตอบโจทย์ความต้องการด้านประสิทธิภาพของผู้ใช้งานระดับมืออาชีพ นักพัฒนา และอื่นๆ นอกเหนือจากนี้ ด้วยฐานะของความเป็นผู้นำเวิร์กสเตชันระดับโลก Precision มอบพลังการประมวลผลสำหรับ AI เวิร์กโหลดที่ซับซ้อนที่ให้ทั้งความปลอดภัยและความประหยัดบนพีซี นอกจากนี้ การบูรณาการ NVIDIA RTX™ 500 และ 1000 Ada Generation Laptop GPUs เข้ากับ Precision mobile workstations ช่วยส่งมอบความสามารถ AI และความน่าเชื่อถือในระดับองค์กรเพื่อการทำงานได้ในจากทุกที่ ในขณะที่ Precision 3280 Compact Form Factor (CFF) คือฟอร์มแฟคเตอร์เพื่อการประหยัดพื้นที่ใหม่ที่สร้างขึ้นเพื่อสำหรับการพัฒนา AI และแอปพลิเคชันสร้างสรรค์แบบเบาๆ

· ชุดหูฟัง 5 รุ่นใหม่จากเดลล์ โดย Dell Premier Wireless ANC Headset (WL7024) มาพร้อมไมโครโฟนปิดเสียงรบกวนอัตโนมัติด้วย AI ซึ่งจำแนกสัญญาณเสียงพูดของมนุษย์ออกจากเสียงรบกวนพื้นหลังทั้งของผู้ใช้และผู้ฟัง และปรับระดับการปิดเสียงรบกวนตามสภาพแวดล้อม ระบบแอดวานซ์เซ็นเซอร์ทำงานในแบบอัจฉริยะ เช่น ปิด/เปิดไมค์ ทำงาน/หยุดทำงาน ตราบเท่าที่หูฟังข้างหนึ่งถูกยกขึ้น พร้อมทั้งการควบคุมด้วยการสัมผัสที่สามารถปรับปรุงประสบการณ์เสียงที่เหมาะกับผู้ใช้ได้

การเร่งเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) ให้เร็วขึ้น

ในฐานะผู้นำด้านการออกแบบแบบหมุนเวียน (Circular Design) เดลล์จัดการแบบครบวงจร ตั้งแต่เพิ่มการใช้วัสดุและแร่ธาตุที่รีไซเคิลในผลิตภัณฑ์ต่างๆ เพื่อทำให้อุปกรณ์ง่ายต่อการซ่อมบำรุง และนำกลับมาใช้ใหม่ด้วยความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม

· อุปกรณ์ Latitude ใหม่ นำเอาโคบอลที่มีการรีไซเคิลมาใช้ในแบตเตอรี่ · ด้วยแรงบันดาลใจจาก Concept Luna เครื่อง Latitude 7350 Detachable มาพร้อมหน้าจอที่สามารถซ่อมบำรุงได้ ซึ่งทำให้ง่ายต่อการซ่อมและยืดอายุการใช้งานของอุปกรณ์ได้นานขึ้น · ในขณะที่องค์กรอัพเกรดอุปกรณ์เพื่อเพิ่มขีดความสามารถด้านปัญญาประดิษฐ์ (AI) บริการกู้คืนและรีไซเคิลของ เดลล์ช่วยให้ลูกค้าเกษียณอุปกรณ์ไอทีได้อย่างถูกต้องเพื่อหลีกเลี่ยงการส่งขยะอิเล็กทรอนิกส์ไปยังบ่อขยะ ด้วยการทำให้ผลิตภัณฑ์และวัสดุอยู่ในการหมุนเวียนนานขึ้น

 

ความพร้อมในการวางตลาด

· Latitude 7350 Detachable พร้อมวางจำหน่ายในไตรมาสที่ 2

· Precision 3280 CFF (Compact Form Factor) จะวางจำหน่ายช่วงปลายเดือนมีนาคม

· Precision โมบาย เวิร์กสเตชัน พร้อมวางจำหน่ายช่วงเดือนมีนาคม

· Dell Premier Wireless ANC Headset (WL7024) จะวางจำหน่ายในเดือนเมษายน

· ProSupport Suite สําหรับ PC ที่มีความสามารถในการซ่อมแซมตัวเอง จะวางจำหน่ายทั่วโลกภายในสิ้นเดือนเมษายน

· Digital Employee Experience Services สําหรับ GenAI มีให้บริการแล้วทั่วโลก

 

 

เดลล์ เทคโนโลยีส์ เผยผลการสำรวจ ดัชนีชี้วัดนวัตกรรม (Innovation Index) ระบุ 66% ขององค์กรธุรกิจในประเทศไทย (เอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่น 60% และทั่วโลก 57%) เกรงว่าองค์กรของตัวเองอาจตกกระแสได้ในอีก 3-5 ปีข้างหน้า

เมื่อพิจารณาจากความแข็งแกร่งของวัฒนธรรมการสร้างนวัตกรรมและแผนงานนวัตกรรมในกระบวนการทำงาน (Pipeline) การทำวิจัยเพื่อสำรวจความคิดเห็นทั่วโลกครั้งใหม่นี้ เป็นการทำโพลล์ด้วยการพูดคุยกับพนักงานองค์กรจำนวน 6,600 คนในกว่า 45 ประเทศทั่วโลก เพื่อให้สามารถเห็นภาพที่ชัดเจนว่าเพราะเหตุใดนวัตกรรมจึงมีความสำคัญเป็นอย่างมากต่อการดำเนินธุรกิจ และองค์กรธุรกิจเองควรเตรียมความพร้อมของคนทำงาน กระบวนการในการทำงาน และเทคโนโลยีต่างๆ เพื่อการสร้างนวัตกรรมให้เกิดขึ้นอย่างมีประสิทธิภาพอย่างไรได้บ้าง ขณะเดียวกัน รายงานในส่วนของประเทศในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกเกิดจากการทำโพลล์จากการพูดคุยกับพนักงาน 1,700 คนทั้งในประเทศไทย ออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ อินเดีย ญี่ปุ่น มาเลเซีย สิงคโปร์ และเกาหลีใต้

“เทคโนโลยียังคงเป็นแกนหลักที่มีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งต่อกลยุทธ์การดำเนินธุรกิจของแต่ละองค์กร ในการที่จะช่วยให้ธุรกิจสามารถทรานส์ฟอร์มและเติบโต การเคลื่อนไหวที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วของตลาดได้สร้างโอกาสอย่างมหาศาลให้กับธุรกิจต่างๆ และในขณะที่ผลการศึกษาของดัชนีชี้วัดด้านนวัตกรรม หรือ Innovation Index เผยให้เห็นว่าองค์กรธุรกิจของไทยจัดอยู่ในระดับแนวหน้าในกลุ่มของผู้นำนวัตกรรม (Innovation Leader) เมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆ ภายในภูมิภาค องค์กรส่วนใหญ่ยังคงต้องตัดสินใจว่าในจุดไหนที่ต้องการไปให้ถึงในอนาคตอันใกล้นี้” ฐิตพล บุญประสิทธิ์ กรรมการผู้จัดการ ประจำประเทศไทย เดลล์ เทคโนโลยีส์ กล่าว “ทั้งนี้ องค์กรธุรกิจสามารถดำเนินการในรูปแบบนี้ได้ด้วยการปรับเป้าหมายต่างๆ ที่บริษัทมีอยู่ให้สอดคล้องกัน พร้อมทั้งบ่มเพาะวัฒนธรรมของการความอยากรู้และอยากลองด้วยการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยี ผู้คน และกระบวนการรูปแบบต่างๆ”

นวัตกรรมคือสิ่งที่สำคัญอย่างยิ่งต่อการดำเนินธุรกิจ

ด้วยการประเมินองค์กร ผู้ตอบแบบสอบถามจะถูกประเมินหรือตรวจสอบโดยการเปรียบเทียบกับมาตรฐาน (Benchmark) เพื่อดูเกณฑ์มาตรฐานความพร้อมด้านนวัตกรรม ตั้งแต่ผู้นำด้านนวัตกรรมไปจนถึงผู้ที่ยังคงล้าหลังด้านนวัตกรรม จากการวิเคราะห์ องค์กรต่างๆ เพียง 31% ในประเทศไทย (เอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่น 17% และทั่วโลก 18%) เท่านั้นที่สามารถกำหนดให้เป็นผู้นำทางนวัตกรรม (Innovation Leaders) และผู้ที่นำนวัตกรรมเข้ามาใช้งาน (Innovation Adopters) องค์กรในกลุ่มนี้มีกลยุทธ์ด้านนวัตกรรมแบบครบวงจร (End-to-End) และวางตัวเองอยู่ในตำแหน่งที่ดีในการฟันฝ่าอุปสรรคและปัญหาที่มาจากภาวะเศรษฐกิจถดถอยทั่วโลก ปัญหาซัพพลายเชน ไปจนถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และอื่นๆ อีกมากมาย ขณะที่ยังคงเติบโตต่อไป

ในความเป็นจริง 52% ของผู้นำทางนวัตกรรม (Innovation Leaders) และผู้นำนวัตกรรมเข้ามาใช้งาน (Innovation Adopters) ของประเทศไทย (เอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่น 51% และทั่วโลก 50%) มั่นใจว่าตัวเองสามารถเร่งสร้างนวัตกรรมได้ในช่วงที่เศรษฐกิจถดถอย ซึ่ง “ความยืดหยุ่นของนวัตกรรม” หรือที่เรียกว่า “innovation resilience” นี้ (เช่น ความมุ่งมั่นและความสามารถในการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ ในช่วงเวลาที่ยากลำบาก) ส่งผลดีให้กับผู้นำทางนวัตกรรม โดย 32% ของผู้นำทางนวัตกรรม และผู้นำนวัตกรรมเข้ามาใช้งานของประเทศไทย (เอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่น 33% และทั่วโลก 32%) ได้รับประสบการณ์ที่ระดับของรายได้เติบโตเพิ่มขึ้นถึง 15% ในปี 2022 นอกจากนี้ ยังพบความท้าทายที่ลดลงในการรักษาบุคลากรที่มีทักษะด้านไอทีที่จำเป็นต่อการขับเคลื่อนนวัตกรรม ปัจจัยสนับสนุนอีกประการหนึ่งอาจเป็นเพราะ 65% ของผู้นำทางนวัตกรรม และผู้นำนวัตกรรมเข้ามาใช้งานของไทย (เอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่น 73% และทั่วโลก 75%) ได้ตอบรับการใช้งานระบบอัตโนมัติอย่างเต็มที่เพื่อสู้กับกระบวนการไอทีทั้งแบบแมนนวลและทั้งใช้เวลายาวนาน เพื่อเร่งการพัฒนานวัตกรรมให้เร็วยิ่งขึ้น

 

ตามที่เส้นกราฟการเติบโตอย่างเต็มที่ของนวัตกรรมแสดงให้เห็น องค์กรธุรกิจในส่วนที่เป็นผู้ล้าหลังด้านนวัตกรรม (Innovation Laggards) และผู้ตามทางนวัตกรรม (Innovation Followers) ยังขาดการกำหนดกลยุทธ์ด้านนวัตกรรมหรือกำลังพยายามดิ้นรนเพื่อให้ได้มาซึ่งผลกำไรสำหรับกลุ่มที่เป็นผู้ที่กำลังประเมินเพื่อการใช้งานนวัตกรรม (Innovation Evaluators) ทั้งนี้ ดัชนีชี้วัดทางนวัตกรรม (Innovation Index) คือการจับภาพหรือการสรุปภาพรวมของสถานการณ์ได้ทันเวลา องค์กรธุรกิจสามารถพัฒนาปรับปรุงได้ด้วยการพิจารณาถึงบุคลากร กระบวนการทำงาน และการใช้เทคโนโลยีในแบบองค์รวม และสร้างกลยุทธ์นวัตกรรมที่แข็งแกร่งแต่คล่องตัว

นวัตกรรมที่ให้ความสำคัญบุคลากร

องค์กรธุรกิจต่างต้องการความช่วยเหลือในการพัฒนาวัฒนธรรมนวัตกรรมที่ให้ความสำคัญกับแนวความคิดทุกรูปแบบเพื่อที่จะสามารถสร้างความต่าง อีกทั้งสามารถเรียนรู้ผ่านความผิดพลาด โดยผลการสำรวจชี้ให้เห็นว่า

· 64% ของผู้ตอบแบบสอบถามคนไทย (เอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่น 59% และทั่วโลก 59%) เชื่อว่าการที่มีคนลาออกจากบริษัทเกิดจากการที่ไม่สามารถสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ ได้มากเท่าที่คาดว่าจะทำได้

· 61% ในประเทศไทย (เอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่น 63% และทั่วโลก 64%) ระบุว่าวัฒนธรรมของบริษัทในด้านต่างๆ คือสิ่งที่สกัดกั้นทำให้ไม่สามารถสร้างสรรค์นวัตกรรมได้มากเท่าที่ต้องการหรือสามารถทำได้

วัฒนธรรมในบริษัทได้ถูกกำหนดและสร้างขึ้นเป็นแบบอย่างโดยผู้นำ แต่ 71% ของผู้ตอบแบบสอบถามในประเทศไทย (เอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่น 73% และทั่วโลก 71%) ระบุว่าผู้นำของตัวเองมีแนวโน้มที่จะชอบความคิดของตัวเองมากกว่า นอกจากนี้ ยังมีการระบุถึงอุปสรรคส่วนบุคคลในอันดับต้นๆ ที่มีต่อการสร้างนวัตกรรมที่ถูกกล่าวถึงมากที่สุด คือความกลัวที่จะความล้มเหลว ไปจนถึงการขาดความมั่นใจในการแบ่งปันความคิดกับผู้นำของตัวเอง

นวัตกรรมที่ให้ความสำคัญต่อกระบวนการ

ในทำนองเดียวกัน รายงานดัชนีชี้วัดทางนวัตกรรมยังเผยให้เห็นว่าธุรกิจต่างกำลังดิ้นรนที่จะนำเอากระบวนการนวัตกรรมที่ขับเคลื่อนด้วยดาต้าและมีสตรัคเจอร์เข้ามาฝัง (Embed) ไว้ภายในองค์กร เพื่อให้สามารถประสบความสำเร็จในการสร้างนวัตกรรมให้เกิดขึ้นในทุกภาคส่วนขององค์กร โดยผลการสำรวจสำคัญชี้ให้เห็นว่า

· ผู้มีอำนาจตัดสินใจด้านไอทีมากถึง 56% ในประเทศไทย (เอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่น 28% และทั่วโลก 26%) กล่าวว่าความพยายามด้านนวัตกรรมทั้งหมดของพวกเขาขึ้นอยู่กับข้อมูล

· มีเพียง 37% ขององค์กรในประเทศไทย (เอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่น 46% และทั่วโลก 52%) กำลังจัดโครงการนวัตกรรมให้สอดคล้องกับเป้าหมายของบริษัท เป็นไปได้ว่า การขาดกระบวนการและกลยุทธ์นี้อาจเป็นส่วนหนึ่งของสาเหตุที่องค์กรต่างๆ พยายามดิ้นรนเพื่อจัดลำดับความสำคัญของนวัตกรรม: อุปสรรคสำคัญต่อนวัตกรรมที่ส่งผลกระทบต่อทีมคือการไม่มีเวลาสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ เนื่องจากมีภาระงานล้นหลาม (ประเทศไทย: 36% เอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่น 40% และทั่วโลก 38%)

นวัตกรรมที่ให้ความสำคัญกับเทคโนโลยี

ผลการศึกษาชี้ให้เห็นถึงพลังของเทคโนโลยีในการก่อให้เกิดนวัตกรรมและผลที่ตามมาของการถูกทิ้งไว้ข้างหลัง โดยส่วนใหญ่ หรือ 99% ขององค์กรที่ตอบแบบสอบถามในประเทศไทย (เอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่น 84% และทั่วโลก 86%) ต่างกำลังแสวงหาเทคโนโลยีที่เข้ามาช่วยให้พวกเขาสามารถบรรลุเป้าหมายด้านนวัตกรรม และในทางกลับกัน 49% ขององค์กรในประเทศไทย (เอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่น 58% และทั่วโลก 57%) เชื่อว่าเทคโนโลยีของตัวเองยังไม่ใช่เทคโนโลยีที่ล้ำสมัยและหวั่นเกรงว่าจะถูกทิ้งให้ตามหลังคู่แข่ง

การศึกษามุ่งที่จะสำรวจในรายละเอียดเพื่อดูว่าองค์กรธุรกิจสามารถได้รับผลประโยชน์ และเผชิญกับอุปสรรคใดบ้างจาก 5 เทคโนโลยีหลักที่ถือเป็นตัวกระตุ้น (Catalysts) สำหรับนวัตกรรม อันได้แก่ เทคโนโลยีมัลติ-คลาวด์ เอดจ์ โครงสร้างพื้นฐานโมเดิร์น ดาต้า การทำงานจากทุกที่ที่ต้องการ (Anywhere-work) และการรักษาความปลอดภัยบนไซเบอร์ และในเกือบทุกภาคส่วน สิ่งที่เป็นอุปสรรคที่ใหญ่ยิ่งที่สุดในการปลดล็อคศักยภาพทางนวัตกรรมนั่นคือความซับซ้อน (Complexity) หากให้ยกตัวอย่าง จะเห็นได้ว่ามีองค์กรธุรกิจในจำนวนที่มากจนเกินไปที่เข้ามาสู่สภาพแวดล้อมแบบมัลติ-คลาวด์โดยบังเอิญ ทำให้เกิดการควบรวมกันของแพลตฟอร์มต่างๆ ด้านคลาวด์ ตลอดจนแอปพลิเคชัน ทูลส์ และอื่นๆ เป็นจำนวนมาก ซึ่งความซับซ้อนเหล่านี้ก่อให้เกิดต้นทุนทั้งในด้านเวลา เงินลงทุน ไปจนถึงโอกาสอันมีค่าในการสร้างนวัตกรรม

และนี่คือสิ่งที่เป็นหลักฐานที่เด่นชัดของอุปสรรคทางเทคโนโลยีของประเทศไทยที่ส่งผลต่อการพัฒนานวัตกรรมที่ถูกกล่าวถึงมากที่สุด:

1. การต่อสู้กับความซับซ้อนของระบบเอดจ์ที่ปลายทาง

2. การทุ่มเทความพยายามไปกับการเปลี่ยนดาต้าให้กลายเป็นข้อมูลเชิงลึกแบบเรียล-ไทม์

3. การขาดกลยุทธ์ด้านการรักษาความปลอดภัยแบบครบวงจรในแบบองค์รวม

4. ต้นทุนทางด้านคลาวด์ที่เพิ่มสูงขึ้น

5. การที่ผู้คนไม่สามารถทำงานอย่างปลอดภัยได้จากทุกที่ที่ต้องการ

เพื่อให้การสนับสนุนองค์กรต่างๆ ในการเดินทางบนเส้นทางแห่งนวัตกรรม เดลล์ เทคโนโลยีส์พร้อมที่จะแบ่งปัน "บทเรียนเหล่านี้ที่ได้จากผู้ที่เป็น ผู้นำทางนวัตกรรม (Innovation Leaders) และผู้ที่นำนวัตกรรมไปใช้งาน (Innovation Leaders)" หาข้อมูลเพิ่มเติมและเข้ามาอ่านรายงานสรุป Executive Summary ได้ที่ www.dell.com/innovationindex

เคยเจอปัญหาแบบนี้บ้างหรือเปล่า?  บางทีที่เราเกิดอยากดูหนังขึ้นมา แต่แฟน หรือสมาชิกในครอบครัว หรือเพื่อนร่วมห้องกลับบอกว่าอยากเล่นเกมออนไลน์อย่าง Fornite ไปเรื่อยๆ แบบไม่รู้จบเสียอย่างนั้น

คิดว่าทุกคนน่าจะเคยเจอกับสถานการณ์แบบนี้กันมาบ้างทั้งนั้น เมื่อห้องนั่งเล่นที่มักมีจอขนาดใหญ่อยู่ในนั้นกลายเป็นที่ที่สมาชิกในครอบครัวใช้เชื่อมต่อเข้ากับกิจกรรมที่แต่ละคนสนใจ และก็บ่อยครั้งที่ห้องนั่งเล่น กลับกลายไปเป็นสนามรบของการต่อสู้ระหว่าง “รายการที่จะดูมาแล้ว” กับการต่อรองที่ว่า “น่านะ ขอเล่นอีกเกมนึง

ในปีที่แล้ว ทีมงานมือฉมังของเราจาก Experience Innovation Studio ได้ออกมาเสกมนต์ที่ทำลายประสบการณ์เก่าๆ ของการเล่นเกมบนคอมพิวเตอร์ด้วยการเปิดตัวแนวคิด Concept Nyx อันเป็นคอนเซ็ปต์การเล่นเกมจากอุปกรณ์ปลายทาง (Edge Gaming) ที่จะให้ผู้เล่นเข้าถึงห้องสมุดเกม (Gaming Libraries) ได้จากทั้งอุปกรณ์ และหน้าจอต่างๆ กัน เพื่อที่ว่าผู้เล่นจะได้สามารถเล่นเกมที่บ้านไปเรื่อยๆ ได้แบบสบายๆ โดยในปีนี้ ทีมงานได้ต่อยอดการทดลองออกไปเพื่อค้นหาวิธีในการที่จะทำให้ห้องสมุดเกมสามารถเข้าถึงได้มากกว่าที่เคย

ว่าแต่ จะทำอย่างไรล่ะ? 

เพียงหนึ่งคอนโทรลเลอร์เพื่อควบคุมทุกอุปกรณ์...

ตลอดเวลาที่ผ่านมา คีย์บอร์ดและเม้าส์คือหัวใจของการเล่นเกมบนพีซี และยิ่งมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งต่อการเล่นเกมกลยุทธ์แบบเรียล-ไทม์ หรือเกม MMO เกมออนไลน์ที่มีผู้เล่นเป็นจำนวนมาก (massively multiplayer online) ถัดจากนั้น คือตัวคอนโทรลเลอร์ที่หน้าตาคล้ายคอนโซล ที่ค่อยๆ คืบคลานเข้ามามีบทบาทต่อจากพีซีที่ให้ทั้งความเรียบง่ายในการเล่นพร้อมทั้งดีไซน์ที่เอื้อต่อการลงนอนเล่นบนโซฟา หากแต่ก็ยังเหลือพื้นที่อีกมากในการปรับแต่งการควบคุมให้ดียิ่งขึ้น คิดถึงรูปแบบใหม่ ออกแบบเพื่อตอบโจทย์ของผู้เล่นยุคใหม่และความต้องการของพวกเขาเหล่านั้น

แม้จะแปลกไปบ้าง ก็เดินหน้ากันต่อไปทีมงานที่แสนเก่งกาจของเรา ทั้งดีไซเนอร์ ทั้ง Technologist Gamer

พูดตามจริง ดีไซน์แรกที่ทำออกมามองดูแล้วค่อนข้างที่จะแปลกไปไม่น้อย เพราะเราเพิ่มสิ่งต่างๆ ที่ดัดแปลงเข้าไปค่อนข้างมาก ไม่ว่าจะเป็นปุ่มคำสั่งเป็นจำนวนมาก ทั้งยังเซ็นเซอร์ หรือแม้กระทั่งการออกแบบในลักษณะแยกชิ้นส่วน หรือแบบโมดูลาร์ ดีไซน์ (modular design) ที่สามารถแยกออกจากกันและกำหนดการใช้งานตามต้องการ (customized) สำหรับการใช้กับแต่ละเกมได้ ซึ่งถือได้ว่าทั้งทันสมัยและทั้งเปลี่ยนแปลงไปอย่างสุดๆ และเราก็เริ่มที่จะอยากรู้ว่า มันจะเป็นอย่างไรหากตัวคอนโทรลเลอร์ไม่เพียงสามารถที่จะจดจำตัวคุณได้ หากแต่ยังสามารถแยกแยะตัวคุณออกจากคนอื่นๆ ที่เหลือในบ้านได้ และไม่ว่าเมื่อใดที่คุณหยิบตัวคอนโทรลเลอร์ขึ้นมาเจ้าตัวควบคุมนี้จะส่งคุณกลับไปในเกมในช่วงที่คุณเล่นค้างเอาไว้ได้ หรือจะเป็นอย่างไรหากคอนโทรลเลอร์ของคุณสามารถปรับตัวเองได้โดยอัตโนมัติโดยขึ้นกับว่าเกมที่คุณเลือกเล่นเป็นเกมประเภทใด

 

เปิดตัว Concept Nyx Game Controller

กลับมาที่ปัจจุบัน ก่อนที่หลายๆ คนจะมีคำถาม ต้องบอกก่อนว่านี่คือแนวคิด คือคอนเซ็ปต์ที่ยังไม่ได้ออกมาเป็นผลิตภัณฑ์ นี่คือแนวทางหนึ่งสำหรับเราในการทดสอบเทคโนโลยีต่างๆ เพื่อเป็นการชี้แนะแนวทางแผนการพัฒนา (roadmaps) ประสบการณ์ในอนาคตของเรา เรามีความภูมิใจในการที่เราสามารถจัดการกับความฝันหลายๆ อย่างที่เรามีแล้วบีบอัดออกมาให้กลายเป็นต้นแบบผลิตภัณฑ์ (Prototype) มาร่วมมือกับเราในการสร้างประสบการณ์ใหม่ของการเล่นเกมในอนาคต ในแวบแรก มันอาจจะมองดูคล้ายๆ กับคอนโทรลเลอร์เครื่องหนึ่ง แต่เมื่อลองพิจารณาดูใกล้ๆ แล้วคุณจะมองเห็นคุณสมบัติที่โดดเด่นมากมายที่ยังไม่เคยเห็นมาก่อนบนคอนโทรลเลอร์สำหรับเล่นเกมบนพีซีแล้วการปรับแต่งทั้งเซ็ตติ้งการเล่นและคอนเทนต์ให้เป็นไปตามต้องการ (Personalized) ก็สามารถเกิดขึ้นได้เพียงแค่ปลายนิ้วสัมผัส เครื่องอ่านลายนิ้วมือที่ชาญฉลาดสามารถดึงคุณเข้าสู่เกม Guild Wars 2 ได้ในพริบตา และตัวคุณเองก็ยังสามารถสตรีมไปยังอุปกรณ์ตัวไหนๆ หรือหน้าจอใดๆ ก็ได้พียงแค่ชี้คอนโทรลเลอร์ไปยังอุปกรณ์ที่ต้องการแล้วกดปุ่ม และหากไม่ต้องการขยับเขยื้อนเคลื่อนตัว คุณก็สามารถใช้เสียงของคุณเองในการเชื่อมเข้าสู่ระบบได้อีกด้วย

เมื่อมาถึงเรื่องของการเล่นเกมแบบสมจริง (immersive) เรากำลังทำการทดสอบกับ Thumb Sticks แบบสัมผัส และแบบต้านทานตัวแปรที่ปรับตัวเองได้ที่สามารถปรับให้เข้ากับแนวความชอบหรือให้กับเข้ากับเกมเฉพาะที่คุณกำลังเล่นอยู่ได้ เพราะฉะนั้น ไม่ว่าคุณกำลังบังคับรถถังให้มุ่งตะลุยไป หรือกำลังอยู่ในโหมดกำลังง้างธนูเพื่อล่าสัตว์ หรือกำลังขับเคี่ยวเพื่อโค่นล้มกองทัพหุ่นยนต์ ตัว thumb sticks และ X-triggers ของเราสามารถให้การป้อนข้อมูลการรับ-ส่งความรู้สึกให้กับอุปกรณ์ควบคุมแบบอัตโนมัติที่หลากหลายกับคุณได้ นอกจากนี้ เรายังจับสิ่งที่ต้องมีในพีซีเกมมิ่งอัดเข้าไปไว้ในตัวคอนเซ็ปต์ที่เรากำลังพัฒนาด้วยการรวมเอาปุ่ม shift ทั้งหลายเข้าไว้ด้วยกันเพื่อให้ตัวเลือกที่เป็นปุ่มด้านหน้ามากขึ้น รวมไปถึงปุ่มเลื่อน (scroll wheels) ที่เป็นนวัตกรรมใหม่สำหรับทั้งการเลื่อน หรือ navigate และการสับเปลี่ยนอาวุธที่ง่ายดาย รวมทั้งทัชแพดอัจฉริยะสำหรับการเข้าถึงการควบคุมที่ปรับแต่งได้ในทันที ซึ่งทั้งหมดนี้ทำให้เป็นเรื่องง่ายที่จะเล่นเกมได้อย่างต่อเนื่องโดยไม่ต้องยุ่งเกี่ยวกับเมนูในการปรับแต่งเกม ลองนึกภาพดูว่าจะเป็นอย่างไรหากสามารถสลับสับเปลี่ยนระหว่างอาวุธ ชุดเกราะ ยาเพิ่มพลัง และไอเทมอื่นๆ ในเกมได้อย่างง่ายดายเพียงแค่ปัด scroll wheels เท่านั้น

เพราะเราเข้าใจเป็นอย่างดีว่าในบางครั้งเป็นเรื่องยากในการที่จะตามให้ทันกับเกมมิ่งคอนโทรลหลากรูปแบบที่ต่างกันออกไปในแต่ละเกม เราจึงจับคู่ตัวคอนโทรลเลอร์เข้ากับการควบคุมบนหน้าจออัจฉริยะที่ปรับแต่งได้อย่างเต็มที่ รวมทั้งโอเวอร์เลย์เพื่อแสดงแผนที่การใช้งานปุ่มต่างๆ ด้วยคุณสมบัตินี้ คุณไม่จำเป็นต้องเดาเลยว่าคุณไปจับคู่ปุ่ม X-button เข้ากับโล่หรือระเบิดมือของคุณเข้าหรือไม่ ?

ยุติสงครามภายในบ้านโดยสิ้นเชิงยังจำการสู้รบกันระหว่างเกมเมอร์กับคนที่ติดซีรีส์หรือรายการหนังต่างๆ ได้หรือเปล่า ในอนาคตธงขาวอาจไม่จำเป็น การเชื่อมต่อของ Wi-Fi ตรงเข้ากับ Concept Nyx หมายความว่าคุณและเหล่าเพื่อนพ้อง หรือสมาชิกคนอื่นๆ ในบ้านสามารถทำโน่นนั่นนี่พร้อมกันแบบมัลติทาสก์ได้อย่างง่ายดาย ทั้งดูแอปฯรับ-ส่งข้อความ เช็คอีเมล ดูหนัง หรือเล่นเกมบนหน้าจอแยกได้อย่างง่ายดาย และที่ดีไปกว่านั้นคือการเชื่อมต่อเข้ากับชุดหูฟังไร้สาย (headset) หนึ่งชุด (หรือสองสามชุด) อีกทั้งยังสามารถเล่นเกมอยู่บนครึ่งหนึ่งของหน้าจอ ในขณะที่คนที่คุณรักอาจนั่งดูภาพยนตร์ในอีกครึ่งหนึ่ง หรือที่ดีกว่านั้นคือการแบ่งจอกันเล่นเกมคนละเกม เห็นมั้ย ไม่มีอะไรยุ่งยากก แล้วทุกคนก็มีความสุข!

นอกจากนี้ เรายังได้ปรับปรุงและทำให้ระบบแสดงผลการทำงาน หรือ dashboard ของ Concept Nyx ง่ายขึ้นเพื่อที่คุณจะได้รับรู้ว่าเพื่อนๆ กำลังเล่นเกมอะไร และสามารถเข้าถึงเกมของคุณเองได้อย่างว่องไว เรากำลังทดสอบกับประสบการณ์ร่วมกันแบบใหม่ที่จะช่วยให้สมาชิกในครอบครัวและเพื่อนฝูงได้ใกล้ชิดกันมากขึ้น ให้ความยืดหยุ่นกับผู้คนในการเล่นเกมร่วมกับคนอื่นๆ ที่อยู่ร่วมห้องเดียวกัน สำหรับครอบครัว เราอยากให้ประสบการณ์การเล่นเกมในอนาคตสามารถแบ่งปันและส่งเสริมความสัมพันธ์ระหว่างผู้ปกครองและเกมเมอร์รุ่นเยาว์ เพื่อให้ไปถึงเป้าหมาย เราได้พัฒนาเครื่องมือนวัตกรรมสำหรับผู้ปกครอง (parental tools)และ dashboards ที่จะช่วยให้ผู้ปกครองสามารถเฝ้าสังเกตุการณ์ เข้าไปมีส่วนร่วม และมีปฏิสัมพันธ์กับบุตรหลานได้โดยสะดวก

เอาแต่เล่นไม่ทำงานหรืออย่างไร? 

โซลูชัน AI เพื่อการใช้ชีวิตสองฟากแบบไฮบริดในที่สุดแล้ว เคยรู้สึกอยากอยู่สองที่ในเวลาเดียวกันบ้างหรือเปล่า เราทุกคนต่างมีประสบการณ์แบบนี้กันทั้งนั้นในการทำหลายอย่างพร้อมกับแบบมัลติทาสกิ้ง บางทีบางครั้งคุณอาจทำงานไปจนเสร็จด้วยตาข้างนึง ขณะที่ตาอีกข้างจับจ้องอยู่กับการเล่นเกม หรืออาจจะดูหนัง และแล้วเสียงโทรศัพท์ก็ดังขึ้นมา นั่นแหละ เรากำลังทดลองหาหนทางที่จะช่วยให้ผู้คนค้นหาสมดุลย์เหล่านี้ จะเป็นอย่างไรถ้านอกเหนือจากความสามารถในการแยกหน้าจอออกจากกัน คุณยังสามารถเปิดใช้งานผู้ช่วยที่เป็น AI ให้ฟังสิ่งต่างๆ ในนามของคุณ หรือตอบรับเมื่อมีคนถามคำถามบางอย่างกับเพื่อที่คุณจะได้ไม่พลาดสิ่งสำคัญใดๆ ก็ตาม หรือจะเป็นอย่างไรหากเราเพิ่มคำบรรยายในการโทรเข้าไปด้วย เพื่อให้คุณสามารถอ่านบริบทเพิ่มเติมเมื่อถูกเรียกให้ตอบกลับ นี่อาจจะเป็นสิ่งที่เป็นความฝันของเหล่ามัลติทาสเกอร์เลย ว่ามั้ย?

นี่อาจฟังดูแล้วคล้ายจะเป็นหนึ่งในการสำรวจที่กล้าหาญที่สุดของเราในปัจจุบัน อย่างไรก็ตามการผสานเข้าด้วยกันของการทำงาน (work) และการเล่น (play) เพื่อผ่อนคลายคือสิ่งที่เป็นจริง ดังนั้น เราจะยังคงค้นหาหนทางในการที่จะทำให้ AI สามารถเข้ามาช่วยเราในการเปลี่ยนแปลงระหว่าง สำรวจต่อไปว่า AI สามารถช่วยเราสามารถเปลี่ยนผ่านระหว่างงาน (tasks) ข้ามพื้นที่ หรือ spaces ได้ระหว่างกันได้อย่างราบรื่นไร้รอยต่อ

ก้าวต่อไปของ Concept NYX จะเป็นอย่างไรการเล่นเกมได้เปิดเส้นทางที่นำไปสู่ประสบการณ์แบบ immersive ที่ดื่มด่ำ และการสำรวจได้กลายมาเป็นพิมพ์เขียว หรือ blueprint สำหรับการพัฒนาระบบนิเวศของเทคโนโลยีเอดจ์อัจฉริยะของ Concept Nyx ที่นอกเหนือไปจากการเล่นเกม เราในฐานะของนักเล่นเกม เราพร้อมที่จะผลักดันเส้นขอบเขตของประสบการณ์การเล่นเกมและหวังจะนำการเรียนรู้ที่ได้จากเส้นทางการเดินทางนี้ไปสู่พอร์ตการลงทุนในอนาคตของเรา และอย่าลืมติดตามเพื่อการอัปเดตเพิ่มเติม!

เดลล์ เทคโนโลยีส์ เผยงานวิจัยในกว่า 40 ประเทศ ชี้ช่วงเวลา 2 ปีแห่งความรีบเร่งในการปฏิรูปเข้าสู่ระบบดิจิทัล ผู้นำองค์กรธุรกิจต่างตระหนักอย่างชัดเจนพนักงานคือผู้มีบทบาทสำคัญในการผลักดันให้การเปลี่ยนแปลงเดินไปสู่ความสำเร็จ

Dell Technologies Forum 2022 - กรุงเทพฯ ประเทศไทย – วันที่ 29 กันยายน 2565

ข้อมูลไฮไลท์

· ผู้นำองค์กรธุรกิจในประเทศไทย 86% (เอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่น: 90%; ทั่วโลก: 85%) มองว่าบุคลากรคือสินทรัพย์สำคัญที่สุด

· อย่างไรก็ตาม ผู้บริหารในประเทศไทย 66.5% (เอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่น: 67%; ทั่วโลก: 67%) เชื่อว่าองค์กรของตนมีการประเมินความต้องการด้านบุคลากรต่ำกว่าที่ควรจะเป็นเมื่อมีการวางแผนโครงการต่าง ๆ ด้านการเปลี่ยนแปลง

· พนักงานทั้งหมดในประเทศไทย 74% (เอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่น: 77%; ทั่วโลก: 72%) กล่าวว่าองค์กรตนต้องมอบระบบโครงสร้างพื้นฐานและเครื่องมือที่จำเป็นเพื่อให้ทำงานได้อย่างยืดหยุ่น ในแนวทางที่เหมาะสำหรับทุกคน

หลังจากช่วงเวลา 2 ปีที่ผ่านมาที่องค์กรธุรกิจต่างเร่งปฏิรูปสู่ระบบดิจิทัล ราวครึ่งหนึ่งของผู้นำด้านไอทีในประเทศไทย หรือ 58% (เอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่น: 45%; ทั่วโลก: 50%) กล่าวว่าองค์กรของตนรู้ว่าจะต้องทำอย่างไรบ้างในการปฏิรูปคนทำงานสู่ระบบดิจิทัล แต่หลังจากที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว พนักงานหลายคนกำลังเจอปัญหาท้าทายในการก้าวให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลง สอดคล้องตามการสำรวจครั้งใหม่ของเดลล์ เทคโนโลยีส์ ที่ยิ่งกว่านั้นก็คือ มากกว่าสองในสามของผู้ตอบจำนวน 10,500 รายจากกว่า 40 ประเทศ เชื่อว่าองค์กรของตนประเมินต่ำเกินไปในเรื่องการทำให้พนักงานมีส่วนร่วมในการเปลี่ยนแปลงได้อย่างเหมาะสมในการวางแผนโปรแกรมการปฏิรูป

ผลสำรวจเน้นให้เห็นว่าช่วงที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วเมื่อไม่นานมานี้ ทำให้บรรดาองค์กรธุรกิจและคนทำงานต้องการเวลาในการปรับตัว เตรียมใจ ก่อนที่จะเริ่มดำเนินการตามโครงการใหม่หรือโครงการที่หยิบมาทำซ้ำ แม้ว่าช่วงสองสามปีที่ผ่านมาจะเห็นถึงความมุ่งมั่นพยายามและความก้าวหน้าอย่างมากก็ตาม โดยผลวิจัยเน้นว่ายังคงมีแนวโน้มว่าการปฏิรูปจะเกิดการสะดุด โดยผู้ตอบในประเทศไทย 69% (เอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่น: 72%; ทั่วโลก: 64%) เชื่อว่าการต่อต้านการเปลี่ยนแปลงจากคนในองค์กรอาจทำให้การปฏิรูปไม่ประสบผลสำเร็จ กว่าครึ่งของผู้ตอบในประเทศไทยจำนวน 54% (เอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่น: 62%; ทั่วโลก: 53%) กลัวว่าจะตัวเองจะถูกปิดกั้นจากความก้าวหน้าของโลกดิจิทัล เนื่องจากขาดผู้ที่มีอำนาจ/มีวิสัยทัศน์ที่เหมาะสมจะนำโอกาสมาใช้ให้เกิดประโยชน์ และเรื่องนี้ก็ทำให้โมเดล As-a-Service กลายเป็นทางเลือกที่น่าสนใจสำหรับหลายธุรกิจ

“ในการสร้างอนาคตที่ดีขึ้นและเหมาะสมสำหรับทุกคน เราต้องเข้าใจก่อนว่าความสำเร็จทางธุรกิจและความเป็นอยู่ที่ดีของพนักงานนั้นคือสิ่งที่เชื่อมโยงกันอย่างแยกไม่ออก การวิจัยล่าสุดของเราแสดงให้เห็นว่าการปฏิรูปสู่ดิจิทัลที่ให้ความยั่งยืน

เกิดขึ้นจากการมาบรรจบกันระหว่างคนและเทคโนโลยี การจะบรรลุความก้าวหน้าครั้งสำคัญอย่างมีประสิทธิภาพ องค์กรต่างๆ ควรพิจารณาแนวทางใน 3 แง่มุมด้วยกัน ประการแรกคือมอบประสบการณ์การทำงานที่ต่อเนื่องและปลอดภัยให้กับพนักงาน ไม่ได้กำหนดว่าทำงานจากที่ไหน ประการที่สอง ช่วยขับเคลื่อนผลลัพธ์ของงานด้วยการนำเครื่องมือด้านเทคโนโลยีมาช่วยเพิ่มความสามารถให้กับคนเพื่อช่วยให้พนักงานมุ่งเน้นกับงานที่ทำได้ดีที่สุด ประการสุดท้ายคือการสร้างแรงบันดาลใจให้พนักงานด้วยวัฒนธรรมการทำงานที่เข้าอกเข้าใจรวมถึงความเป็นผู้นำที่แท้จริง” อามิต มิธา ประธาน เอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่น และGlobal Digital Cities เดลล์ เทคโนโลยีส์ กล่าว

“องค์กรส่วนใหญ่ทั่วโลก รวมถึงประเทศไทย ตระหนักดีถึงความจำเป็นในการปฏิรูปทางดิจิทัล แต่พวกเขาพบว่าการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลนั้นเป็นสิ่งที่ค่อนข้างยาก และบุคลากรที่อยู่ในองค์กรก็ไม่ได้ยอมรับการเปลี่ยนแปลงเสมอไป ความขัดแย้งระหว่างเทคโนโลยีกับมนุษย์นี้ประกอบกันขึ้นมาเพียงจากการแพร่ระบาดของโรค ทำให้สุดท้ายแล้วเราต้องเข้าสู่การทำให้ธุรกิจความสามารถตอบสนองต่อวิกฤติได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งนั่นก็ทำให้หลายๆ คนอ่อนแรงไปไม่ใช่น้อย” ฐิตพล บุญประสิทธิ์ กรรมการผู้จัดการใหม่ประจำประเทศไทย เดลล์ เทคโนโลยีส์ กล่าวเสริม “วันนี้ องค์กรธุรกิจที่ปรารถนาความสำเร็จอย่างยั่งยืนต้องถามตัวเองว่าพวกเขาจะสามารถช่วยพนักงานของตนนำทางไปสู่การเปลี่ยนแปลงที่มากขึ้นต่อไปได้อย่างไร”

ปัจจุบัน นับเป็นช่วงเวลาที่องค์กรจะต้องประเมินสถานการณ์ก่อนที่จะเริ่มโครงการใหม่ในการปฏิรูปสู่ดิจิทัล เพื่อให้มั่นใจว่าคนทำงานจะได้รับการสนับสนุนและมีความเข้าใจชัดเจนเกี่ยวกับการดำเนินงานในขั้นตอนถัดไป

เปรียบเทียบเพื่อประเมินความพร้อมสำหรับการเปลี่ยนแปลงสู่ดิจิทัล

เดลล์และผู้เชี่ยวชาญอิสระด้านพฤติกรรมได้ทำการศึกษาเกี่ยวกับการสำรวจความพอใจในการเปลี่ยนแปลงสู่ดิจิทัลของผู้เข้ารับการสำรวจ และพบว่าคนทำงานในประเทศไทย 30% (เอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่น: 7%; ทั่วโลก: 10%) ตั้งแต่ผู้นำธุรกิจระดับอาวุโส ตลอดจนผู้มีอำนาจตัดสินใจด้านไอทีและพนักงาน กำลังดำเนินการตามโครงการปรับปรุงความทันสมัยให้กับองค์กร จำนวนน้อยกว่าครึ่งของคนทำงานในประเทศไทย 19% (เอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่น: 46%; ทั่วโลก: 42%) ตอบรับการเปลี่ยนแปลงอย่างช้าๆ หรือยังลังเลอยู่

การศึกษาที่กำหนดเส้นทางข้างหน้า ส่งสัญญาณบ่งบอกถึงโอกาสสำหรับภาคธุรกิจในการมุ่งเน้นและก้าวให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลง โดยมีความก้าวหน้าครั้งสำคัญที่เกิดขึ้นจากการบรรจบกันของคนและเทคโนโลยีในสามส่วนด้วยกัน

1. การเชื่อมต่อ

ธุรกิจประสบความสำเร็จอย่างมากในเรื่องของการเชื่อมต่อ การประสานความร่วมมือและการทำธุรกิจออนไลน์ในช่วงของการแพร่ระบาด แต่นับว่ายังไม่เสร็จสิ้นสมบูรณ์

ผู้ตอบแบบสอบถามในประเทศไทย 2% (เอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่น: 78%; ทั่วโลก: 72%) บอกว่าอยากให้องค์กรของตนมอบระบบโครงสร้างและเครื่องมือที่จำเป็นที่ช่วยให้ทำงานได้จากทุกที่ (พร้อมให้อิสระในการเลือกรูปแบบการทำงานได้ตามต้องการ) ในความเป็นจริง คนเหล่านี้ต่างกังวลว่าพนักงานของตนจะถูกทิ้งอยู่ข้างหลังเนื่องจากไม่มีเทคโนโลยีที่เหมาะสมในเวลาที่เปลี่ยนไปใช้รูปแบบการทำงานแบบกระจายศูนย์ (ซึ่งการทำงานและการประมวลผลไม่ได้ผูกกับส่วนกลาง แต่เกิดขึ้นได้ทุกที่)

ลำพังแค่เทคโนโลยีอย่างเดียวนับว่าไม่พอ องค์กรธุรกิจต้องทำให้งานเป็นเรื่องที่เสมอภาคสำหรับคนที่มีความต้องการต่างกัน มีความสนใจและความรับผิดชอบต่างกัน รวมถึง ประเทศไทย 86% (เอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่น: 78%; ทั่วโลก: 76%) ของพนักงานอยากให้องค์กรของตนดำเนินการในเรื่องต่อไปนี้ไม่เรื่องใดก็เรื่องหนึ่ง

· กำหนดความมุ่งมั่นที่ชัดเจนต่อเนื่องเพื่อให้จัดการงานได้อย่างยืดหยุ่นและมีแนวทางปฏิบัติที่ทำได้จริง ประเทศไทย 56% (เอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่น: 46%; ทั่วโลก: 40%)

· เตรียมความพร้อมให้กับผู้นำในการบริหารจัดการทีมงานจากระยะไกลได้อย่างทัดเทียมและมีประสิทธิภาพ ประเทศไทย 65% (เอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่น: 45%; ทั่วโลก: 43%)

· ให้อำนาจแก่พนักงานในการเลือกรูปแบบการทำงานได้ตามต้องการและมอบเครื่องมือ/ระบบโครงสร้างที่จำเป็น ประเทศไทย 51% (เอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่น: 47%; ทั่วโลก: 44%)

2. ผลลัพธ์ของงาน

เวลาของคนทำงานนั้นมีอยู่อย่างจำกัด และปัจจุบันผู้สมัครที่มีคุณสมบัติเหมาะกับบทบาทการทำงานที่เปิดกว้างนั้นมีอยู่ แค่ไม่กี่คน ในการรับมือกับข้อจำกัดเหล่านี้ องค์กรธุรกิจสามารถมอบหมายงานที่ต้องทำซ้ำให้เป็นเรื่องของกระบวนการดำเนินงานแบบอัตโนมัติ และทำให้บุคลากรมีเวลาเพื่อมุ่งเน้นการทำงานที่สร้างคุณค่าได้มากขึ้น

ปัจจุบัน คนทำงานในประเทศไทย 32% (เอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่น: 32%; ทั่วโลก: 37%) บอกว่างานของตนได้รับการส่งเสริมและไม่จำเจ การที่มีโอกาสเปลี่ยนงานที่ต้องทำซ้ำๆ ให้เป็นระบบอัตโนมัติได้มากขึ้น ทำให้พนักงานในประเทศไทย

73% (เอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่น:74%; ทั่วโลก: 69%) มุ่งหวังว่าจะเรียนรู้เทคโนโลยีและทักษะใหม่ เช่นทักษะด้านความเป็นผู้นำ หลักสูตรด้านแมชชีนเลิร์นนิ่ง หรือมุ่งเน้นที่โอกาสในเชิงกลยุทธ์มากขึ้นเพื่อต่อยอดหน้าที่การงาน

อย่างไรก็ตาม บรรดาธุรกิจที่มีงบประมาณจำกัดมีความกังวลว่าจะไม่สามารถพัฒนาคนทำงานให้มีความก้าวหน้าและแข่งขันได้

3. การเข้าอกเข้าใจ

หัวใจสำคัญ คือองค์กรธุรกิจต้องสร้างวัฒนธรรมที่มีแบบอย่างมาจากผู้นำที่มีความเข้าอกเข้าใจและดูแลพนักงานเสมือนเป็นแหล่งทรัพยากรที่สำคัญที่สุดที่ให้ความคิดสร้างสรรค์และคุณค่าแก่องค์กร

งานวิจัยชิ้นนี้ แสดงให้เห็นว่ามีงานที่ต้องทำและใช้ความเข้าอกเข้าใจในการตัดสินใจ จากการลดความซับซ้อนของเทคโนโลยีลงเกือบครึ่งหนึ่งของคน หรือในประเทศไทยราว 73% (เอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่น: 52%; ทั่วโลก: 49%) คนมักจะรู้สึกว่าโดนครอบงำด้วยเทคโนโลยีที่ซับซ้อน เพื่อให้โปรแกรมการเปลี่ยนแปลงนั้นตรงกับทักษะเฉพาะตัวของแต่ละคน โดย ประเทศไทย 73% (เอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่น: 50%; ทั่วโลก: 41%) ของพนักงานเชื่อว่าผู้นำของตัวเองจะทำแบบนี้ หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติม อ่านงานวิจัยของเราได้ที่ www.dell.com/breakthrough

รูปแบบ วิธีการดำเนินการวิจัย

งานภาคสนามดำเนินการโดยบริษัทวิจัยตลาดแวนสัน บอร์น (Vanson Bourne) ตั้งแต่เดือนสิงหาคม - ตุลาคม 2564 ครอบคลุมกว่า 40 แห่งในทุกภูมิภาคทั่วโลก

ฐานการทำวิจัย: เดลล์ เทคโนโลยีส์ ได้ทำการสำรวจกับผู้มีอำนาจตัดสินใจทางธุรกิจระดับสูง 10,500 คน ผู้มีอำนาจตัดสินใจด้านไอที และพนักงานที่มีความรู้ (พนักงานที่เกี่ยวข้องกับการปฏิรูปสู่ดิจิทัล) ในกว่า 40 ประเทศ โดยในเอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่น ได้มีการสำรวจผู้ตอบแบบสอบถาม 2,900 คนจาก 11 แห่ง สำหรับในภาคพื้นเอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่น ได้แก่ ประเทศออสเตรเลีย อินเดีย อินโดนีเซีย ญี่ปุ่น มาเลเซีย นิวซีแลนด์ ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ เกาหลีใต้ ประเทศไทย และเวียดนาม โดยในประเทศไทยมีผู้ตอบแบบสอบถามจำนวน 200 คน

Page 1 of 2
X

Right Click

No right click