December 22, 2024
×

Warning

JUser: :_load: Unable to load user with ID: 7636

นายวัชชระ ชินเศรษฐวงศ์ นายกสมาคมอุตสาหกรรมเยื่อและกระดาษไทย กล่าวถึงความสำคัญของอุตสาหกรรมเยื่อและกระดาษว่า ทิศทางของหลายประเทศทั่วโลกขณะนี้ มุ่งเน้นการสร้างความร่วมมือในการขับเคลื่อนการเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมควบคู่ไปกับการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน ทั้งในเรื่องการลดการใช้พลังงาน การใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า ลดการเกิดของเสียจากการผลิต รวมถึงสนับสนุนการใช้วัสดุที่ย่อยสลายได้ กระดาษจึงเป็นตัวเลือกที่ดีที่สุดอย่างหนึ่ง เพราะเป็นวัสดุที่ย่อยสลายได้และนำมารีไซเคิลใช้ใหม่ได้ ทำให้หลายธุรกิจและอุตสาหกรรมเริ่มกลับมาใช้กระดาษเป็นส่วนประกอบของผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์มากขึ้น ซึ่งกระดาษในวันนี้ได้ถูกพัฒนาด้วยนวัตกรรมและเทคโนโลยีให้มีทั้งความคงทน แข็งแรง ตอบสนองต่อธุรกิจและอุตสาหกรรมได้ในหลายรูปแบบ แนวโน้มดังกล่าวส่งผลให้อุตสาหกรรมกระดาษเริ่มกลับมาเติบโตอีกครั้ง หลังได้รับผลกระทบจากความเปลี่ยนผ่านเข้าสู่ยุคดิจิทัล

นอกจากนั้น อุตสาหกรรมกระดาษยังได้รับผลบวกจากการเติบโตของธุรกิจอีคอมเมิร์ซ ส่งผลให้ผลิตภัณฑ์ในกลุ่มกระดาษคราฟท์ ที่มีสัดส่วนการผลิตกว่า 80% และใช้วัตถุดิบที่ได้จากการรีไซเคิลกระดาษปีละหลายล้านตันได้รับผลดีตามไปด้วย ซึ่งภูมิภาคเอเชียยังคงเป็นกลุ่มผู้บริโภคและผู้ผลิตอันดับต้นของโลก โดยเฉพาะอาเซียนที่เป็นฐานการผลิตของหลายอุตสาหกรรม ทำให้ไทยกลายเป็น HUB และเป็นศูนย์กลางของอาเซียนที่หลายประเทศให้ความสำคัญ รวมถึงผู้อยู่ในอุตสาหกรรมกระดาษจากทั่วโลก

งาน ASEAN Paper Bangkok 2023 ในครั้งนี้ มีความสำคัญต่ออนาคตของอุตสาหกรรมกระดาษไทยและโลกเป็นอย่างมาก นอกจากจะเป็นงานฯ ที่เป็นการพบปะแลกเปลี่ยนความรู้ เจรจาธุรกิจการค้าร่วมกันแล้ว ยังมีกิจกรรมที่ส่งเสริมความร่วมมือ พร้อมกำหนดแนวโน้มทิศทางของอุตสาหกรรมกระดาษในอนาคตร่วมกันอีกด้วย

นายพรรธระพี ชินะโชติ ประธานกรรมการร่วม อินฟอร์มา มาร์เก็ตส์ ประเทศไทย กล่าวถึงการจัดงาน ASEAN Paper Bangkok 2023 ว่า อาเซียนมีประชากรมากถึง 680 ล้านคนในปี 2565 เป็นตลาดขนาดใหญ่ มีการบริโภคสูง เป็นฐานการผลิตสินค้าสำคัญของโลก โดยมีกระดาษเข้าไปเป็นหนึ่งในองค์ประกอบหรือเป็นบรรจุภัณฑ์ของผลิตภัณฑ์ ดังนั้นการจัดงานฯ ในครั้งนี้จึงดึงดูดความสนใจจากบริษัทชั้นนำจากทั่วโลกให้มารวมกันอยู่ที่ประเทศไทย เพื่อจัดแสดงตั้งแต่วัตถุดิบที่ใช้ในการผลิต เครื่องจักร โซลูชั่น นวัตกรรมเทคโนโลยี และผลิตภัณฑ์กระดาษประเภทต่างๆ ที่ครบวงจร

ที่สุดของภูมิภาค โดยแนวคิดในการจัดงานครั้งนี้ คือ “เทคโนโลยีการผลิตกระดาษเพื่อความยั่งยืนและโซลูชั่นสำหรับธุรกิจของอนาคต” (Sustainable Paper Production Technology & Solution for Future Business) ซึ่งสอดคล้องกับแนวโน้มและทิศทางของธุรกิจและอุตสาหกรรมของโลก

โดยไฮไลท์ของงานฯ ในครั้งนี้ คือ การเปิดพื้นที่โซนจัดแสดงงานใหม่ในกลุ่มกระดาษลูกฟูกและกระดาษรีไซเคิล (Corrugated and Paper Recycling) ซึ่งเป็นกลุ่มผลิตภัณฑ์กลุ่มใหญ่ของอุตสาหกรรมกระดาษ และในการจัดงานยังได้รับความร่วมมือจากองค์กรธุรกิจสำคัญในอุตสาหกรรมทั้งไทยและนานาชาติ อาทิ Federation of ASEAN Pulp and Paper Industries (FAPPI), The Australasian Pulp and Paper Technical Association (Appita) จากประเทศออสเตรเลีย, Indian Agro & Recycled Paper Mills Association (IARPMA) จากประเทศอินเดีย, Myanmar Pulp And Paper Industry Association (MPPIA) จากสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์, Vietnam Pulp and Paper Association (VPPA) จากประเทศเวียดนาม, Printing and Packaging Industry Club (FTI) กลุ่มอุตสาหกรรมการพิมพ์และบรรจุภัณฑ์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และ The Thai Pulp and Paper Industries Association (TPPIA) สมาคมอุตสาหกรรมเยื่อกระดาษไทย จากประเทศไทย

รวมทั้งยังมีกิจกรรมที่น่าสนใจอีกมากมายภายในงาน ไม่ว่าจะเป็นการประชุมในหัวข้อ ทิศทางอุตสาหกรรมเยื่อและกระดาษในอนาคต The Future of Tissue and Paper Forum การบรรยายพิเศษเจาะลึกอุตสาหกรรมกระดาษกับ Technical Insights และ Executive Insights The World’s Market Trend of Pulp and Paper Industry ฯลฯ ซึ่งในการจัดงานครั้งนี้มีบริษัทชั้นนำจากทั่วโลกเข้าร่วมจัดแสดงงานกว่า 200 ราย และคาดว่าจะมีผู้เข้าร่วมชมงานมากกว่า 3,000 ราย จึงอยากเชิญชวนให้ผู้ประกอบการและผู้สนใจในอุตสาหกรรมกระดาษให้เข้ามาเยี่ยมชมงาน ซึ่งจะสามารถนำไปพัฒนา สร้างมูลค่า และต่อยอดธุรกิจได้เป็นอย่างดี

งาน ASEAN Paper Bangkok 2023 เริ่มแล้ววันนี้ - 1 กันยายน 2566 ณ ฮอลล์ 4 ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ ผู้สนใจสามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.aseanpaperbangkok.com

นายวัชชระ ชินเศรษฐวงศ์ นายกสมาคมอุตสาหกรรมเยื่อและกระดาษไทย (ที่สามจากซ้าย) นายปณิธาน มีสวัสดิ์ ผู้จัดการฝ่ายขายส่วนภูมิภาค บริษัท วอยท์ เปเปอร์ (ไทยแลนด์) จำกัด (ที่สองจากขวา) และนายธัชพล วงษ์รักษา รองผู้อำนวยการฝ่ายบริหารโครงการ อินฟอร์มา มาร์เก็ตส์ ประเทศไทย (ที่สามจากขวา) ร่วมกันแถลงข่าวความร่วมมือและความพร้อมในการจัดงาน ASEAN Paper Bangkok 2023 งานแสดงสินค้าอุตสาหกรรมกระดาษ เยื่อกระดาษ บรรจุภัณฑ์ และผลิตภัณฑ์ต่อเนื่องที่ใหญ่ที่สุดของภูมิภาค เพื่อนำเสนอแนวโน้มธุรกิจ เทคโนโลยี และความยั่งยืนในอุตสาหกรรมฯ รับการฟื้นตัวและเติบโตฝ่ากระแสดิจิทัล โดยงาน ASEAN Paper Bangkok 2023 จัดขึ้นระหว่างวันที่ 30 สิงหาคม - 1 กันยายน 2566 ณ ฮอลล์ 4 ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ ผู้สนใจสามารถหาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.aseanpaperbangkok.com

ดูเหมือนว่า บริษัทผู้เชี่ยวชาญและให้คำปรึกษาด้านไอที อาทิ การ์ทเนอร์ ฟอเรสเตอร์ ต่างคาดการณ์ทิศทางของโลกนับจากปี 2563 เป็นต้นไป กำลังเดินหน้าสู่ยุคของระบบอัตโนมัติ (The Age of Automation) อย่างเต็มรูปแบบมากขึ้น

 

ไฮบริดคลาวด์ เอดจ์ คอมพิวติ้ง ไอโอที เออาร์ แมชชีนเลิร์นนิ่ง ปัญญาประดิษฐ์ (เอไอ) หุ่นยนต์ ดิจิทัล ทวิน บล็อกเชน ระบบจัดการและวิเคราะห์ข้อมูล ระบบความปลอดภัยด้านไอทีและข้อมูล ยังคงทรงอิทธิพลต่อการพัฒนาระบบไอทีอย่างต่อเนื่อง ว่ากันว่า หากองค์กรสามารถบูรณาการการใช้งานเทคโนโลยีข้างต้น ในการเข้าถึงความต้องการของมนุษย์ (เช่น ลูกค้า และ พนักงาน) และครอบคลุมพื้นที่ในการดำรงชีวิต ( เช่น บ้าน สถานที่ทำงาน) ซึ่งการ์ทเนอร์เรียกกลยุทธ์นี้ว่า People-centric Smart Space จะช่วยเพิ่มโอกาสทางธุรกิจได้อีกมากมาย โดยเฉพาะการพัฒนาระบบงานที่มีความป็นอัตโนมัติ (Autonomous) ที่ทำให้เราสามารถใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีได้มากขึ้น และง่ายขึ้น โดยไม่จำเป็นต้องมีความเชี่ยวชาญสูงมากนัก ตลอดจนการออกแบบแพลตฟอร์มการนำเสนอผลิตภัณฑ์ บริการ หรือกิจกรรมการตลาดได้ตามคาดหวังและประสบการณ์ซึ่งส่งตรงถึงตัวกลุ่มลูกค้าเป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยทิศทางการพัฒนาและใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีที่เราจะได้เห็นมากขึ้นในปีนี้ ได้แก่

 

การบูรณาการเทางเทคโนโลยีหลายรูปแบบเพื่อมุ่งสู่ความเป็น ไฮบริด อินเทลลิเจนท์ (Hybrid Intelligence-HI) มากขึ้น เช่น คลาวด์แบบไฮบริด ซึ่งเป็นตัวอย่างหนึ่งที่เปิดกว้างให้องค์กรสามารถผสมผสานการใช้งานหลายรูปแบบ ทั้งคลาวด์ส่วนตัว และคลาวด์สาธารณะ จากหลากหลายผู้ให้บริการไอทีให้เหมาะกับความต้องการเฉพาะด้าน ผสมกับพลังของ เอดจ์ คอมพิวติ้ง (Empowered Edge) ผู้ช่วยคนสำคัญที่จะทำให้อุปกรณ์ใช้งานปลายทางมีความฉลาดในการประมวลผลด้วยตัวเอง ซึ่งจะช่วยลดปริมาณงานของคลาวด์ส่วนกลาง ทั้งสนับสนุนให้แนวคิดการสร้างคลาวด์กระจายออกไปตามจุดต่าง ๆ(Distributed Cloud) มีความเป็นไปได้มากขึ้น ซึ่งจะทำให้ระบบไอทีโดยภาพรวมทำงานได้รวดเร็วขึ้น

 

ประกอบกับองค์กรธุรกิจหรือผู้ใช้งานต่างต้องการแอปพลิเคชันที่ปรับเปลี่ยนได้ตามที่ตนเองต้องการมากขึ้นเรื่อยๆ ถึงกว่า 40% เมื่อถึงปี 2567 ซึ่งไม่เพียงจะทำให้องค์กรต้องเร่งพัฒนาโซลูชันหลักในการดำเนินธุรกิจแล้ว ยังต้องเพิ่มแอปพลิเคชันในลักษณะ คอนเทนเนอร์ และ ไมโครเซอร์วิส แยกออกเป็นส่วน ๆ สำหรับงานหรือบริการบางประเภท เพื่อให้องค์กรสามารถสร้างและปรับปรุงบริการการใช้งานได้เร็ว ทันการเปลี่ยนแปลงของธุรกิจ และทันใจผู้ใช้มากขึ้น

 

นอกจากนี้ ความนิยมในการเข้าถึงบริการและแอปพลิเคชันจากที่ไหนก็ได้โดยอิสระผ่านสมาร์ทโฟน หรือ อุปกรณ์ BYOD โดยยังคงรักษาประสิทธิผลของงานได้เหมือนเดิม หรือดียิ่งกว่าเดิม เป็นสิ่งที่การ์ทเนอร์คาดการณ์ว่า จนถึงปี 2566 กว่า 30% ขององค์กรธุรกิจกำลังปรับเปลี่ยนนโยบายในการติดตามผลการทำงานของพนักงาน หรือติดตามพฤติกรรมลูกค้าที่ใช้บริการผ่านอุปกรณ์ BYOD ต่าง ๆ มากขึ้น อย่างไรก็ตาม องค์กรก็ต้องมีแนวทางควบคุมการใช้งานอุปกรณ์เหล่านี้ เพื่อการใช้งานเฉพาะในขอบเขตที่เป็นประโยชน์และเหมาะสมกับธุรกิจไว้ด้วย

 

ปัญญาประดิษฐ์ หรือ เอไอ จะถูกพัฒนาให้เป็นไฮบริดมากขึ้นในมิติต่าง ๆ เช่น การเติมเต็มความเป็นอัตโนมัติให้กับระบบงาน ใช้เป็นตัวตรวจจับพฤติกรรมเสี่ยงต่อระบบความปลอดภัย หรือพัฒนาให้ฉลาดพอที่จะประเมินพฤติกรรมหรือสิ่งที่มนุษย์รู้สึก ซึ่งการ์ทเนอร์เรียกสิ่งนี้ว่า Artificial Emotional Intelligence - AEI ทั้งยังทำนายต่ออีกว่า ในปี 2567 ปัญญาประดิษฐ์ที่สามารถจับอารมณ์ความรู้สึกของมนุษย์อย่างลึกซึ้งและแม่นยำ จะมีผลต่อการสร้างสรรค์โฆษณาสินค้าออนไลน์เกินกว่าครึ่ง รวมถึงมีผลต่อ

การตัดสินใจซื้อของลูกค้า ขณะเดียวกัน 28% ของนักการตลาดทั้งหลายต่างจัดอันดับให้ทั้ง เอไอ และ แมชชีนเลิร์นนิ่ง มีผลต่อการขับเคลื่อนการตลาดในอนาคต

 

เพิ่มเติมด้วยเทคโนโลยี ไอโอที โดย ฟอร์เรสเตอร์ ซึ่งกล่าวว่า นับจากปี 2563 เป็นต้นไป ไอโอทีจะเดินเครื่องเต็มที่สู่ยุค 5G ด้วยศักยภาพในการรับ-ส่งข้อมูลที่ใช้เวลาน้อยลงเรื่อย ๆ (Low-Latency) โดยเฉพาะการใช้งานในภาคอุตสาหกรรม สำหรับการเก็บและแชร์ข้อมูลผ่านอุปกรณ์เซ็นเซอร์ในการเชื่อมโยงการบริหารงานโรงงานกับเครื่องจักรในสายการผลิต การเพิ่มประสิทธิภาพในการตรวจติดตาม หรือตรวจสอบย้อนกลับถึงแหล่งที่มา-ที่ไปของสินค้าในระบบซัพพลายเชน หรือระบบขนส่งได้ในแบบเรียลไทม์ หรือ การเก็บรวบรวมและเชื่อมโยงระบบข้อมูลจากอุปกรณ์ไอโอทีที่เชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ตนับเป็นพัน ๆ ล้านชิ้นในการสร้างระบบนิเวศน์ด้านไอที (Ecosystem) เพื่อการจัดการในองค์กร การดำเนินธุรกิจ การสื่อสารกับลูกค้า ได้อย่างเหมาะสมและคุ้มค่ากับการลงทุนทางเทคโนโลยี

 

การบริหารจัดการข้อมูลเพื่อประโยชน์ในการตัดสินใจทางธุรกิจ หรือ บิสซิเนส อินเทลลิเจนท์ จะยังคงอยู่ต่อไป แต่จะมีประสิทธิภาพสูงขึ้นกว่าเดิม ด้วยการเติมเทคโนโลยีด้านเอไอเพื่อช่วยจัดการกับข้อมูลระดับ บิ๊ก ดาต้า การสร้าง วิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึกและรอบด้าน (Data Analytics) ให้สามารถตอบโจทย์ธุรกิจได้จริง หรือ การออกแบบ ระบบจัดการชุดข้อมูล (Data Catalog) เพื่อแก้ปัญหาการจัดเก็บข้อมูลที่ไม่ตรงตามวัตถุประสงค์ใช้งาน หรือ ไม่สร้างมูลค่าใด ๆ ให้กับธุรกิจ ข้อมูลที่เก็บมาเฉพาะใช้งานในหน่วยงานเดียว ไม่สามารถปรับเปลี่ยน หรือขยายรูปแบบการเก็บข้อมูลออกไปได้ เป็นต้น

 

ส่วนเทคโนโลยี บล็อกเชน ซึ่งถึงแม้มาตรฐานความปลอดภัยในการดูแลบัญชีธุรกรรมออนไลน์จะยังไม่นิ่ง แต่ผู้ใช้ก็ไม่รีรอที่จะซื้อขายใช้จ่ายเงินในตลาดออนไลน์ ผ่านสมาร์ทโฟน หรือแพลตฟอร์มการเงินต่าง ๆ อาทิ กระเป๋าเงินอิเล็กทรอนิกส์ หรือคิวอาร์โค้ด โดยคาดว่าจะเพิ่มสูงถึง 50% ในปี 2568 เลยทีเดียว ขณะเดียวกัน การแก้ไขปัญหาเชิงเทคนิคของบล็อกเชนยังคงดำเนินต่อไป เช่น การกระจายข้อมูลให้เข้าถึงได้ การเข้ารหัสด้วยชุดข้อมูลเสมือนแบบโทเคน (Token) เพื่อให้หลาย ๆ บล็อกเชนสามารถทำงานร่วมกัน หรือปรับขยายระบบเพื่อรองรับข้อมูลหรือผู้ใช้ที่เพิ่มขึ้นได้

 

อย่างไรก็ตาม เหรียญย่อมมีสองด้าน และด้านมืดของไอทีที่ยังเป็นปัญหาใหญ่ คือ การโจมตีจากอาชญากรไซเบอร์ การละเมิดสิทธิและข้อมูลส่วนบุคคล การเข้าถึงชั้นความลับของข้อมูลทางธุรกิจโดยบุคคลที่ไม่ได้รับอนุญาต การขโมยรหัสผ่านเพื่อเข้าถึงบัญชีธุรกรรมออนไลน์ การเจาะช่องโหว่ของระบบเพื่อก่อกวนการทำงาน รวมถึงการปล่อยไวรัสแรนซัมแวร์ บนโลกดิจิทัลจะยังคงเกิดอย่างต่อเนื่อง

 

ดังนั้น องค์กรควรให้ความใส่ใจกับการสร้างปราการ ความปลอดภัยไอที เครือข่ายและข้อมูล ให้ครอบคลุมทั้งด้านเทคนิคและนโยบาย ในเชิงเทคนิค เช่น ระบบป้องกันไวรัส เกตเวย์ ไฟร์วอลล์ ซึ่งถือเป็นระบบพื้นฐานที่ต้องมีอยู่แล้วภายในทุกองค์กร หรือบนคลาวด์ทุกประเภท การพัฒนาระบบพิสูจน์ตัวตน (Authentication) เมื่อเวลามีการร้องขอข้อมูลเชิงลึก หรือเข้าใช้งานในระบบ การเฝ้าระวังการรับ-ส่งข้อมูลที่ได้มาจากการใช้งานเอไอ แมชชีนเลิร์นนิ่ง หรือ ไอโอที เนื่องจากเป็นเป้าโจมตีที่อาชญกรไซเบอร์ชื่นชอบ เป็นต้น ส่วน ในเชิงนโยบาย ก็เช่น การวางมาตรฐานด้านจริยธรรมทางเทคโนโลยีที่ซื่อสัตย์ โปร่งใส ตรวจสอบได้ (Transparency and Traceability) เพื่อไม่ให้ก้าวล่วงความเป็นส่วนตัวของผู้คนจนเกินไป เพราะทุกคนต่างฉลาดพอที่จะเดาได้ว่า ข้อมูลของเขากำลังถูกเก็บและนำไปใช้อย่างไร รวมถึงหมั่นติดตามและคอยปรับปรุงนโยบายด้านความปลอดภัยให้เป็นไปตามข้อบังคับ หรือกฎหมายความปลอดภัยจากในและนอกประเทศ เช่น พรบ. อาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ จีดีพีอาร์ มาตรฐานทางบัญชีใหม่ IFRS 9 หรืออื่น ๆ เพื่อให้ระบบความปลอดภัยมีความทันสมัย ทันเหตุการณ์ และเป็นไปตามมาตรฐานสากลอยู่เสมอ

 

เรื่องน่ายินดีก็คือ การ์ทเนอร์คาดว่า การใช้จ่ายด้านไอทีทั่วโลกจะโตเพิ่มขึ้นอีก 3.7% ในปี 2563 จากยอดใช้จ่ายรวม 3.7 ล้านล้านดอลล่าร์สหรัฐ ในปี 2562 และถึงแม้ตัวเลขส่วนใหญ่ถูกใช้จ่ายไปกับเรื่องซอฟต์แวร์สำหรับองค์กรธุรกิจ แต่ตัวเลขใช้จ่ายด้านความปลอดภัยก็สูงถึง 10.5% ในปี 2562 ทั้งนี้ ตัวเลขที่ใช้จ่ายไปกับการรักษาความปลอดภัยบนคลาวด์ คาดว่าจะโตถึง 41.2% ในอีก 5 ปีข้างหน้า

ทั้งหมดนี้ เป็นเพียงส่วนหนึ่งที่สะท้อนให้เห็นว่า วิถีโลกยุคระบบอัตโนมัติที่มีศักยภาพและเสถียรภาพนั้น ช่วยให้มนุษย์มีอิสระในการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยี แต่ก็ต้องเป็นระบบที่ต้องตอบสนองวิถีชีวิตทั้งในโลกความเป็นจริง และชีวิตในเวอร์ชันดิจิทัลได้อย่างชาญฉลาด มีคุณภาพ และมีความปลอดภัยสูงเป็นสำคัญ

X

Right Click

No right click