January 22, 2025

สร้างประวัติศาสตร์ใหม่ให้วงการประมูลงานศิลปะของไทยร้อนแรงขึ้นอีกครั้ง หลังความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่ของนิทรรศการประมูลงานศิลปะ ‘Museum Mania’ ภายใต้ความร่วมมือของ The Art Auction Center (TAAC) และ RSF Art Clinic (Restaurateurs Sans Frontières Art Clinic) ผู้เชี่ยวชาญด้านการอนุรักษ์และปกป้องรักษางานศิลปกรรมที่มีชื่อเสียงและได้รับการยอมรับในระดับสากลมานานกว่า 40 ปี โดยคอนเซ็ปต์ของจัดงานในครั้งนี้สื่อถึงแนวคิด “ผลงานที่ทรงคุณค่าระดับพิพิธภัณฑ์อันมีความสำคัญต่อวงการศิลปะไทยในหลากหลายช่วงเวลา” ที่เปิดโอกาสให้นักสะสมทั้งชาวไทยและต่างชาติ ได้ครอบครองงานศิลป์หายากของศิลปินระดับ Old Master และศิลปินยุคใหม่ที่มีฐานแฟนคลับทั่วทั้งเอเชีย

ในงาน Museum Mania  ได้รับการจัดวางเพื่อผู้ชมสามารถสำรวจพิพิธภัณฑ์ผานแนวคิดอุดมคติของนักสะสมและคนรักงานศิลปะ  ที่ผ่านการจัดแสดงผลงานที่ร้อยเรียงเรื่องราว 2 ศตวรรษของประวัติศาสตร์ศิลปะไทยสมัยใหม่ โดยแบ่งออกเป็น 5 ยุคสมัย จากรากฐานตั้งแต่ยุค “สยามศิวิไลซ์และความสัมพันธ์กับศิลปินยุโรป” ในสมัยรัชกาลที่ 5 เรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน ซึ่งศิลปะไทยได้รับการสร้างสรรค์จากความหลากหลายของโลกาภิวัฒน์ ความร่วมสมัย และยุคสมัยแห่งดิจิทัล

โดยครั้งนี้มีผลงานที่ผ่านการคัดเลือกจากคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในแวดวงศิลปะมากกว่า 137 ชิ้น ที่เข้าร่วมการประมูลและเปิดโอกาสให้ผู้สนใจสามารถรับชมนิทรรศการที่ RCB Galleria 1 และ RCB Artery 1 ริเวอร์ ซิตี้ แบงค็อก

‘Vitruvian Man’ ของอาจารย์ถวัลย์ ได้สร้างสถิติใหม่ด้วยยอดประมูลสูงถึง 25,531,000 ล้านบาท เรียกเสียงฮือฮาเป็นอย่างมาก

และเมื่อการประมูลร้อนแรงถึงขีดสุดกับผลงานชื่อ ‘วิทรูเวียนแมน’ (Vitruvian Man) ของถวัลย์ ดัชนี ศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ (จิตรกรรม) พ.ศ. 2544 ที่ทุบสถิติผลงานราคาสูงสุดจากการประมูลในประเทศไทยเท่าที่เคยมีมา (นอกเหนือจากงานประมูลการกุศล) ด้วยยอดประมูลถึง 25,531,000 บาท

ภาพจิตรกรรมสีน้ำมันขนาดใหญ่ที่สร้างสรรค์ขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2511 ในช่วงเวลาคาบเกี่ยวที่เขาเดินทางกลับจากศึกษาต่อที่ประเทศเนเธอร์แลนด์ คาดว่าได้รับแรงบันดาลใจมาจากภาพ ‘Vitruvian Man’ ขณะที่ควายทั้งสามตัวหมายถึง การที่ยังคงไม่ลืมรากเหง้าของตัวเอง ภาพนี้จึงอาจหมายถึง ตัวศิลปินสำนึกถึงความ สำคัญของประเพณี วัฒนธรรม ความเป็นตัวตนคนไทย แม้ว่าจะได้เปิดโลกทัศน์และเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ มากมายจากต่างประเทศมาแล้วก็ตาม

 

รวม 5 ผลงานศิลปะชิ้นไฮไลต์ภายในงาน Museum Mania

การประมูลในครั้งนื้ถือเป็นบทพิสูจน์ความสำเร็จครั้งใหม่ของ TAAC หลังจากที่ Museum Mania สร้างสถิติใหม่ให้กับวงการประมูลศิลปะของไทย ที่ได้รับความสนใจในกลุ่มนักสะสมงานศิลปะในหลายประเทศทั่วเอเชีย โดยการประมูลในครั้งนี้มีผู้เข้าร่วมประมูลทั้งภายในงานและออนไลน์หนาตา ทำให้บรรยากาศในการประมูลเป็นไปอย่างคึกคักและสนุกสนานมากขึ้น โดยผลงานศิลปะที่คว้าสถิติการประมูลสูงสุด ได้แก่

· “Triton and Nereid” (2464) ผลงานของคาร์โล ริโกลี (Carlo Rigoli) ทำสถิติสูงถึง 4,525,950 บาท

· “กินรีร่ายมนต์ขอกายสิทธิ์จากดวงดาว” (Kinnara's Incantation) ผลงานของอังคาร กัลยาณพงศ์ (2540) ทำสถิติสูงถึง 4,061,750 บาท

· “Hide1” ผลงานของนที อุตฤทธิ์ ทำสถิติสูงถึง 2,321,000 บาท

· "Face" ผลงานของ Alex Face ทำสถิติสูงถึง 2,088,900 บาท

· “ดอกบัว” ผลงานของประหยัด พงษ์ดำ ทำสถิติสูงถึง 1,508,650 บาท

นอกจากนี้ ภายในงานยังมีผลงานของศิลปินอีกมากมายที่เข้าร่วมการประมูล รวมถึงผลงานของ 3 ศิลปินที่ได้รับความสนใจจากผู้เข้าร่วมประมูลไม่แพ้กัน ได้แก่ “The Last Drink” ผลงาน ของกิตติ นารอด ทำสถิติสูงถึง 696,300 บาท, “แสงธรรมนำทาง” ผลงานของทองไมย์ เทพราม ทำสถิติสูงถึง 696,300 บาท และ “รั้ง” ผลงานของวันดา ใจมา ทำสถิติสูงถึง 394,570 บาท สร้างประวัติศาสตร์ใหม่ให้กับวงการประมูลศิลปะของไทยอีกด้วย

ผู้สนใจสามารถติดตามความเคลื่อนไหวของ The Art Auction Center (TAAC) และอัปเดตวงการประมูลศิลปะได้ที่ https://www.facebook.com/theartauctioncenter หรือสอบถามข้อมูลได้ที่ Line @theartauction และ โทร. 065-097-9909

ธนาคารยูโอบี ประเทศไทย เชิญชวนศิลปินมืออาชีพและศิลปินใหม่หรือสมัครเล่น ส่งผลงานเข้าร่วมการประกวดจิตรกรรมยูโอบี ครั้งที่ 14 ประจำปี 2566

เวทีการประกวดงานจิตรกรรมเพียงหนึ่งเดียวในประเทศไทยที่ต่อยอดสู่การประกวดระดับภูมิภาค โดยมุ่งสนับสนุนชุมชนศิลปินและศิลปินรุ่นเยาว์ที่มีความคิดสร้างสรรค์ในประเทศไทยให้เป็นที่รู้จักในเวทีศิลปะระดับภูมิภาค และปีนี้ยูโอบีได้ขยายการประกวดจิตรกรรมยูโอบี ซึ่งถือเป็นหนึ่งในเวทีการประกวดจิตรกรรมที่ทรงเกียรติที่สุดของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ สู่เวียดนามเป็นประเทศที่ห้า

สำหรับงานเปิดตัวในวันนี้ ธนาคารยูโอบี ประเทศไทย ได้จัดให้มีการเสวนาแบ่งปันประสบการณ์ เกี่ยวกับความท้าทายและโอกาสของศิลปินไทยในการมุ่งสู่เส้นทางการเป็นศิลปินในเวทีศิลปะระดับสากล พร้อมบอกเล่าปัจจัยสำคัญที่เอื้อประโยชน์แก่ศิลปินในการเติบโตและประสบความสำเร็จในแวดวงศิลปินระดับโลก อันได้แก่ การสร้าง อัตลักษณ์ทางศิลปะ เทคนิค ความหลงใหล และความมุ่งมั่นอันแรงกล้า นอกจากนี้ งานเสวนายังแบ่งปันวิธีที่ศิลปินใหม่หรือสมัครเล่นจะเรียนรู้จากข้อมูลเชิงลึกและประสบการณ์ของศิลปินอาชีพและผู้เชี่ยวชาญในวงการศิลปะ ซึ่งจะช่วยชี้แนะให้ประสบความสำเร็จในวงการศิลปะที่แข่งขันสูง การเสวนาครั้งนี้นำโดย อาจารย์ อำมฤทธิ์ ชูสุวรรณ ศิลปินแห่งชาติสาขาทัศนศิลป์ (สื่อผสม) ปี 2563 และรองอธิบดีฝ่ายศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยศิลปากร ประธานคณะกรรมการตัดสิน การประกวดจิตรกรรมยูโอบี ประเทศไทย คุณชมรวี สุขโสม ผู้ชนะการประกวดจิตรกรรมยูโอบีระดับภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ประจำปี 2565 และ คุณนริศรา เพียรวิมังสา ศิลปินชื่อก้องผู้สร้างสรรค์ผลงานสีอะคริลิกและผ้า ที่มีประสบการณ์เข้าร่วมโครงการศิลปินในพำนักในประเทศญี่ปุ่น ฝรั่งเศส และอเมริกา

การออกแบบโลโก้การประกวดจิตรกรรมยูโอบี ครั้งที่ 14

การออกแบบโลโก้การประกวดจิตรกรรมยูโอบี ประจำปี 2566 ได้รับแรงบันดาลใจจากผลงาน ดิสโทเปีย ของคุณชมรวี สุขโสม ศิลปินไทยผู้ชนะการประกวดจิตรกรรมยูโอบีระดับภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ประจำปี 2565 รูปทรงกลมที่กำลังเปลี่ยนแปลงรูปร่างสื่อถึงโลกของเราที่พัฒนาและปรับเปลี่ยนตลอดเวลา ตามวัฒนธรรมและอัตลักษณ์ที่แตกต่างกันไป ซึ่งสอดคล้องกับคำมั่นสัญญาในระยะยาวของธนาคารที่จะไม่หยุดพัฒนาเพื่อตอบโจทย์ผู้บริโภคและอยู่เคียงข้างชุมชน

นางสาวธรรัตน โอฬารหาญกิจ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริหารสื่อสารและภาพลักษณ์องค์กร ธนาคารยูโอบี ประเทศไทย กล่าวว่า “ในปีนี้ ยูโอบีมีความยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้ขยายการจัดการประกวดจิตรกรรมยูโอบีนี้ไปสู่ประเทศเวียดนาม ซึ่งจะเปิดโอกาสให้ผู้คนจำนวนมากขึ้นได้ค้นพบความหลงใหลที่มีต่องานศิลปะ เพราะเราเชื่อว่าศิลปะช่วยยกระดับจิตใจและเชื่อมโยงชุมชนต่างๆ เข้าด้วยกัน โดยทางธนาคารยูโอบี ประเทศไทย ประสบความสำเร็จในการเฟ้นหา ฟูมฟัก และสนับสนุนศิลปินผู้เปี่ยมด้วยพรสวรรค์และความสามารถในประเทศไทยมาเป็นเวลานานกว่า 1 ทศวรรษ ผ่านการประกวดจิตรกรรมยูโอบีประจำปีและโครงการส่งเสริมศิลปะสู่ชุมชนต่างๆ ดิฉันรู้สึกดีใจที่ได้เห็นศิลปินรุ่นพี่ผู้ชนะการประกวดจิตรกรรมยูโอบีมาร่วมแบ่งปันประสบการณ์ ความสามารถและเอกลักษณ์ที่โดดเด่นของแต่ละคน เพื่อสร้างแรงบันดาลใจแก่เพื่อนศิลปิน และเพื่อให้สอดคล้องกับความมุ่งหมายของธนาคารในการสร้างอนาคตของอาเซียน”

เชิญชวนศิลปินส่งผลงานเข้าร่วมการประกวดจิตรกรรมยูโอบี ครั้งที่ 14 พร้อมเงินรางวัลสำหรับประเภทศิลปินใหม่หรือสมัครเล่นที่เพิ่มขึ้น

ในฐานะผู้อุปถัมภ์ศิลปะชั้นนำในเอเชีย การประกวดจิตรกรรมยูโอบีประสบความสำเร็จในการเฟ้นหาศิลปินอาชีพและศิลปะใหม่หรือสมัครเล่นจากประเทศต่างๆ ทั่วภูมิภาค การประกวดจิตรกรรมยูโอบี ครั้งที่ 14 เปิดรับผลงานศิลปะของผู้มีสัญชาติไทยและผู้มีถิ่นพำนักถาวรในประเทศไทยผ่านระบบดิจิทัล www.uob.co.th/poy ตั้งแต่วันที่ 9 พฤษภาคม ถึง 15 สิงหาคม 2566

พิธีประกาศและมอบรางวัลการประกวดจิตรกรรมยูโอบี ครั้งที่ 14 จะจัดขึ้นในวันที่ 11 ตุลาคม 2566 ผลงานชนะเลิศจากประเทศไทยจะได้รับสิทธิเข้าแข่งขันในระดับภูมิภาคร่วมกับผลงานชนะเลิศจากอินโดนีเซีย มาเลเซีย สิงคโปร์ และเวียดนาม เพื่อชิงเงินรางวัลอีก 13,000 เหรียญสิงคโปร์ นอกเหนือจากเงินรางวัลระดับประเทศ นอกจากนี้ ผู้ชนะการประกวดจิตรกรรมยูโอบีระดับประเทศยังมีโอกาสได้รับคัดเลือกเป็นศิลปินในพำนัก ณ พิพิธภัณฑ์ศิลปะเอเชีย ฟุกุโอกะ ประเทศญี่ปุ่น เป็นระยะเวลา 1 เดือนอีกด้วย พิธีประกาศและมอบรางวัลการประกวดจิตรกรรมยูโอบีระดับภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จะจัดขึ้นที่โรงละครวิคตอเรีย ประเทศสิงคโปร์ ในวันที่ 8 พฤศจิกายน 2566

นอกจากนี้ เพื่อสนับสนุนศิลปินใหม่หรือสมัครเล่นในภูมิภาคในการไล่ตามความฝันในแวดวงศิลปะ ยูโอบีจึงเพิ่มเงินรางวัลสำหรับประเภทศิลปินใหม่หรือสมัครเล่น โดยผู้ได้รับรางวัลชนะเลิศประเภทศิลปินใหม่หรือสมัครเล่นจะได้รับเงินรางวัลเพิ่มเป็น 125,000 บาท

ส่งเสริมศิลปะสู่ชุมชนต่างๆ เพื่อสร้างแรงบันดาลใจแก่ศิลปินรุ่นเยาว์

เพื่อส่งเสริมให้ศิลปินไทยเติบโตและประสบความสำเร็จในแวดวงศิลปะระดับภูมิภาค ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโครงการส่งเสริมศิลปะสู่ชุมชนต่างๆ ธนาคารยูโอบี ประเทศไทย ได้เตรียมจัดทำคลิปวิดีโอเพื่อให้ความรู้ โดยมีศิลปินรุ่นพี่ผู้ชนะการประกวดจิตรกรรมยูโอบี อาทิ คุณปานพรรณ ยอดมณี คุณธิดารัตน์ จันทเชื้อ และคุณชมรวี สุขโสม มาร่วมแบ่งปันเทคนิค กระบวนการคิดในการสร้างสรรค์ผลงานศิลปะ และทัศนคติที่จำเป็นในการผลักดันผลงานให้เป็นที่รู้จักในเวทีศิลปะระดับสากล ผู้สนใจสามารถชมวิดีโอแบ่งปันความรู้ได้ตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2566 เป็นต้นไป ผ่าน www.facebook.com/uob.th และ www.uob.co.th/uobandart

นอกจากนี้ ธนาคารยูโอบี ประเทศไทย จะจัดเดินสายกิจกรรม “โรดโชว์ศิลปะ” ไปตามสถาบันการศึกษาต่างๆ ทั่วประเทศกว่า 20 แห่ง ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของความพยายามอย่างต่อเนื่องในการเฟ้นหาศิลปินไทยรุ่นใหม่จากทั่วประเทศ เพื่อเปิดโอกาสให้ชุมชนศิลปะท้องถิ่นและนิสิตนักศึกษาสาขาวิชาศิลปะได้แลกเปลี่ยนมุมมองด้านศิลปะและรับแรงบันดาลใจจากศิลปินอาชีพและศิลปินรุ่นพี่ผู้ชนะการประกวดจิตรกรรมยูโอบีที่ประสบความสำเร็จในแวดวงศิลปะต่างประเทศ

เดอะ ปาร์ค (The PARQ) โครงการไลฟ์สไตล์มิกซ์ยูสภายใต้แนวคิด Life Well Balanced ที่มุ่งพัฒนาออฟฟิศและรีเทลอัจฉริยะ จัดเทศกาลศิลปะร่วมสมัย “Art in The PARQ - Season 2” เต็มอิ่มกับกิจกรรม หลากหลายเพื่อคนรักงานศิลปะและการถ่ายภาพ เริ่มจากการร่วมสนับสนุนการจัดแสดงงานศิลปะในงาน 'บางกอก อาร์ต เบียนนาเล่ 2022' (Bangkok Art Biennale 2022) และกิจกรรมแข่งขันถ่ายภาพ One Shot Knockout และการจัดแสดงนิทรรศการภาพถ่ายขาวดำ “Piece Place PARQ” โดยธนพล แก้วพริ้ง ตลอดจนกิจกรรมอื่น ๆ อาทิ อาร์ตมาร์เก็ต งานคราฟต์ เวิร์คช็อป กิจกรรมสร้างสรรค์ งานศิลปะและผลงาน DIY และอื่นๆ อีกมากมาย ตั้งแต่วันนี้ไปจนถึง 23 กุมภาพันธ์ 2566

สำหรับกิจกรรมแรก เทศกาลศิลปะร่วมสมัยนานาชาติ “บางกอก อาร์ต เบียนนาเล่ 2022” ซึ่งเดอะ ปาร์ค ได้ร่วมเป็นหนึ่งในผู้สนับสนุนการจัดงานต่อเนื่องเป็นครั้งที่ 2 แล้ว ผลงานกำหนดจะจัดแสดงในปีนี้คือ “Peasant Park, 2022” ผลงานวิดีโอจัดวาง (Video installation) โดย “อันอินสไปร์ บาย เคอเรนท์

อีเวนต์ส์ (Uninspired by Current Events)” ศิลปินคอมพิวเตอร์กราฟิก ซึ่งเป็นที่รู้จักจากการโพสต์ภาพผลงานศิลปะสะท้อนภาพเหตุการณ์และข่าวสารบ้านเมืองแบบรายวัน ผลงานวีดีโอจัดวางที่นำมาแสดงในครั้งนี้จะนำเสนอภาพอนุสาวรีย์ในประเทศไทย และกรุงเทพมหานคร ในสไตล์ที่เป็นเอกลักษณ์ของศิลปิน จัดแสดงผลงานที่ BAB Café ชั้น 3 เดอะ ปาร์ค และอีกผลงาน “Daily Stone, 2022” ของศิลปินอิสระชาวอิตาเลียน ฟรานเชสโก อารีนา ผู้สร้างสรรค์งาน ประติมากรรมขนาดใหญ่กับวัสดุที่แตกต่างกันอย่างแท่นหินและหนังสือพิมพ์ โดยแท่นหินเปรียบเสมือนความคงที่ ส่วนหนังสือพิมพ์เปรียบดังการหมุนเวียนเปลี่ยนไปอย่างต่อเนื่องตามเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในแต่ละวัน ณ บริเวณลานน้ำพุ Q Space เดอะ ปาร์ค ตั้งแต่วันนี้ ไปจนถึง 23 กุมภาพันธ์ 2566

อีกกิจกรรมสำหรับสายโฟโต้ การแข่งขันถ่ายภาพ One Shot Knockout โดยเดอะ ปาร์ค ร่วมกับ สมาคมถ่ายภาพแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ จัดกิจกรรมแข่งขันถ่ายภาพแบบเอ็กซ์คลูซีฟ ชิงเงินรางวัลมูลค่า รวม 125,000 บาท โดยเปิดรับสมัครผู้เข้าแข่งขันเพียง 100 ท่านเท่านั้น ผ่านทางเว็บไซต์ของสมาคมถ่ายภาพแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ www.rpst.or.th ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป โดยจะจัดการแข่งขันพร้อมตัดสินผู้ชนะในวันที่ 29 ตุลาคม 2565 ที่เดอะ ปาร์ค ผลงานที่ชนะการประกวด จะนำไปจัดแสดงนิทรรศการภาพถ่าย บริเวณชั้น 2 เดอะ ปาร์ค ไลฟ์ ระหว่างวันที่ 1 - 23 ธันวาคม 2565

นอกจากนี้ยังมี นิทรรศการภาพถ่ายขาวดำ “Piece Place PARQ” โดยตาล ธนพล แก้วพริ้ง ศิลปินและช่างภาพอิสระมาถ่ายทอดความงามของชิ้นงานศิลปะจาก เดอะ ปาร์ค คอลเลคชั่น ทั้ง 5 ชิ้น ผ่านมุมมองส่วนตัวที่มีต่องานศิลปะทั้งหมด ออกมาเป็นภาพถ่ายขาวดำจำนวน 15 ภาพ และสร้างความแตกต่างด้วยการพิมพ์ภาพลงบนอลูมิเนียมเคลือบพิเศษ ซึ่งจะสามารถสะท้อนรายละเอียดของตัวงานที่อาจไม่สามารถมองเห็นได้จากระยะสายตาปกติ เพิ่มมิติให้ชิ้นงานแตกต่างจากภาพถ่ายบนกระดาษโฟโต้ทั่วไป โดยนิทรรศการนี้จัดแสดงตัเงแต่วันนี้ไปจนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2565 เวลา 10.00 – 20.00 น. ชั้น 1 โครงการ เดอะ ปาร์ค

เดอะ ปาร์ค มีความมุ่งมั่นในการการสนับสนุนและจัดกิจกรรมด้านศิลปะที่เปิดโอกาสให้ผู้ชื่นชอบงานศิลปะได้เข้ามามีส่วนร่วม การให้คุณค่าแก่ศิลปะเมื่อรวมกับการพัฒนาโครงการด้วยแนวคิดความยั่งยืนส่งผลให้ที่นี่เป็นโครงการ มิกซ์ยูสแห่งแรกของไทยที่ได้รับการรับรองด้านการดูแลสิ่งแวดล้อมของอาคารตามมาตรฐาน LEED เวอร์ชั่น 4 BD+C: Core and Shell ซึ่งเป็นมาตรฐานล่าสุดสำหรับการออกแบบและก่อสร้างอาคารเขียวที่ยั่งยืน และการส่งเสริมสุขภาพที่ดีของผู้ใช้อาคารตามมาตรฐาน WELL รวมทั้งการรับรองตามมาตรฐาน WELL Mind ด้วยการใช้งานศิลปะเป็นองค์ประกอบสำคัญในการดูแลฟื้นฟูจิตใจผู้ที่อยู่ในอาคาร

X

Right Click

No right click