หัวเว่ยประกาศความพร้อมสนับสนุนประเทศไทยในการก้าวสู่เมืองอัจฉริยะอย่างเต็มรูปแบบ
หลายคนอาจมีจินตนาการว่าเมืองอัจฉริยะหรือสมาร์ทซิตี้ (Smart City) น่าจะเหมือนกับในภาพยนตร์แนวไซ-ไฟที่มียานพาหนะลอยฟ้ารับส่งผู้คน หรือมีหุ่นยนต์ที่ทำหน้าที่หมอประจำบ้าน
เราพูดถึงกันมานานเกี่ยวกับเมืองที่มีความเป็น ‘อัจฉริยะ’ แต่คำนิยามของความเป็นอัจฉริยะที่ว่านี้ในปัจจุบันเป็นอย่างไร และเรามีการพัฒนาที่ใกล้เคียงกับวิสัยทัศน์ดังกล่าวมากน้อยเพียงใด เราจะมาสำรวจกันว่าพัฒนาการของ ‘สมาร์ทซิตี้’ ในปี 2565 ก้าวล้ำไปถึงไหนแล้ว
ถึงแม้ว่าวิสัยทัศน์ล่าสุดของสมาร์ทซิตี้ยังคงห่างไกลจากภาพที่ปรากฏในภาพยนตร์ แต่ด้วยเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI), 5G, เทคโนโลยีคลาวด์, บิ๊กดาต้า และ Internet of Things (IoT) ที่ถูกนำมาใช้ในเมืองอย่างต่อเนื่องทำให้พัฒนาการของสมาร์ทซิตี้ได้ก้าวหน้าไปตามความคาดหวังของผู้ใช้งานมากขึ้นเรื่อยๆ
ถ้าจะให้ยกตัวอย่างของสมาร์ทซิตี้ในวันนี้ งาน Expo 2020 Dubai* น่าจะเป็นตัวอย่างที่ดีที่สุดในโลกสำหรับสภาพแวดล้อมเมืองที่มีการเชื่อมต่ออย่างทั่วถึงและได้รับการออกแบบเพื่อรองรับวัตถุประสงค์ที่ชัดเจน
(*ถึงแม้จะถูกจัดขึ้นระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม 2564 – 31 มีนาคม 2565 งานนี้ยังคงใช้ชื่อ “เอ็กซ์โป 2020 ดูไบ”)
ด้วยอาคารกว่า 130 หลังเชื่อมต่อถึงกันในพื้นที่ที่มีขนาดใหญ่เป็นสองเท่าของประเทศโมนาโก งาน Expo 2020 Dubai ใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยเพื่อรองรับการจัดงานแสดงสินค้านานาชาติที่ปลอดภัย ยั่งยืน และบริหารจัดการด้วยระบบดิจิทัลมากที่สุดในประวัติศาสตร์ 170 ปี ของการจัดนิทรรศการระดับโลกนี้
Expo 2020 Dubai มีความเป็นอัจฉริยะมากแค่ไหน
หัวข้อหลักของการจัดงาน Expo 2020 คือ “การเชื่อมโยงความคิดและการสร้างสรรค์อนาคต” งานนิทรรศการนี้อาศัยการขับเคลื่อนด้วย AI และมีแพลตฟอร์มที่แยกต่างหากสำหรับการจัดการพลังงาน นอกจากนี้ อาคารอัจฉริยะและระบบรักษาความปลอดภัยถูกเชื่อมต่อเข้าด้วยกันและทำงานอย่างสอดประสานกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ ช่วยให้ผู้จัดการอาคารสามารถควบคุมฟังก์ชั่นต่าง ๆ ในแบบเรียลไทม์ผ่านแอปพลิเคชั่น เช่น การทำความเย็น คุณภาพของอากาศ การผ่านเข้า-ออกอาคาร และสัญญาณเตือนอัคคีภัย
Expo 2020 เก็บรวบรวมข้อมูลพื้นที่ต่าง ๆ ทั่วทั้งงานกว่า 210,000 จุด รวมไปถึงประตูเข้า-ออก 5,500 จุด และกล้องกว่า 15,000 ตัว เพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพการดำเนินงาน ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก เพิ่มความสะดวกสบายและความปลอดภัยให้แก่ผู้เข้าชมงาน โดยทั้งหมดนี้เกิดขึ้นพร้อม ๆ กันอย่างราบรื่นและไร้รอยต่อ นอกจากนั้น ยังมีการประหยัดพลังงาน ปรับสมดุลในช่วงที่มีการใช้ไฟฟ้าสูงสุดโดยนำเอาพลังงานหมุนเวียนมาใช้ และใช้พลังงานที่กักเก็บในแบตเตอรี่ให้เกิดประโยชน์สูงสุดรวมถึงการชาร์จไฟให้กับยานยนต์ไฟฟ้า
ความชาญฉลาดของงาน Expo 2020 อยู่บนระบบปฏิบัติการ MindSphere ที่ทำงานบนคลาวด์ของซีเมนส์ (Siemens) โดยข้อมูลที่เกิดขึ้นจากการใช้งานต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นลิฟต์โดยสาร ไปจนถึงเครื่องปรับอากาศ โคมไฟส่องสว่างและฮาร์ดแวร์อื่น ๆ ถูกเชื่อมโยงในลักษณะที่สัมพันธ์กันและถูกกลั่นกรองออกมาเป็นข้อมูลเชิงลึกเพื่อนำมาใช้ปรับสภาพความเป็นอยู่ภายในเมือง โดยมีระบบรักษาความปลอดภัยที่ถูกออกแบบและรวมไว้ตั้งแต่ระดับรากฐานของ MindSphere
งาน Expo 2020 ตอกย้ำถึงศักยภาพของสมาร์ทซิตี้อย่างรอบด้าน กล่าวคือ ระบบอัจฉริยะจะก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ต่อมิติต่างๆ ของเมือง เช่น การบริหารจัดการ การคมนาคมขนส่ง บริการสาธารณสุข และการดูแลความปลอดภัยของประชาชน ซึ่งนักวิเคราะห์คาดการณ์ว่ากระบวนการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวจะสร้างประโยชน์ทางเศรษฐกิจทั่วโลกรวมมูลค่าราว 20 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐฯจนถึงปี พ.ศ. 2569
ด้วยเหตุนี้จึงคาดว่าการลงทุนเพื่อปรับปรุงเมืองให้ฉลาดขึ้นจะเพิ่มขึ้นกว่าสองเท่าจาก 1 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เมื่อปี พ.ศ. 2564 เพิ่มเป็น 2.5 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในปี พ.ศ. 2573 โดยจะเป็นการลงทุนทั้งในส่วนของภาคเอกชน เช่น การสร้างอาคารอัจฉริยะ และระบบโครงข่ายไฟฟ้าขนาดเล็ก (Microgrid) รวมถึงภาครัฐ และทุกคนจะได้รับประโยชน์ เพราะเทคโนโลยีจะช่วยให้เมืองที่ขยายตัวอย่างรวดเร็วมีความยืดหยุ่นและปลอดภัยมากขึ้น
ต่อยอดจาก Expo 2020 Dubai สู่เมืองที่แท้จริง
หลังจากที่งาน Expo 2020 สิ้นสุดลงในช่วงปลายเดือนมีนาคม พื้นที่ในบริเวณนี้จะถูกพัฒนาต่อยอดให้เป็นเมืองแห่งอนาคตที่มีชื่อว่า “District 2020” ภายใต้โครงการของรัฐบาลดูไบ
ด้วยการปรับเปลี่ยนวัตถุประสงค์การใช้งานและการพัฒนาพื้นที่และสภาพแวดล้อมที่มีการก่อสร้างแล้วกว่า 80 เปอร์เซ็นต์ให้กลายเป็นชุมชนเมืองเพื่อรองรับผู้อยู่อาศัย องค์กรธุรกิจ และนักท่องเที่ยว District 2020 จะยังคงเก็บรักษาสินทรัพย์และสิ่งก่อสร้างภายในพื้นที่จัดงาน Expo 2020 ที่เป็นไปตามมาตรฐานอาคารสีเขียวทั้ง LEED และ CEEQUAL โดยจะพัฒนาไปสู่การเป็นชุมชนเมืองอัจฉริยะที่ให้ความสำคัญกับมนุษย์และรองรับการใช้งานที่หลากหลายและยั่งยืน มีทั้งพื้นที่สำนักงาน พื้นที่สำหรับการทำงานร่วมกัน ชุมชนที่อยู่อาศัย พื้นที่สีเขียวที่ร่มรื่นและเงียบสงบ สถานที่ท่องเที่ยวทางสังคมและวัฒนธรรม เช่น ศูนย์วิทยาศาสตร์สำหรับเยาวชน ศูนย์นิทรรศการ Dubai Exhibition Center และสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ เพื่อธุรกิจและการพักผ่อน โดยคาดว่า District 2020 จะสามารถรองรับได้ประชากรสูงสุดถึง 145,000 คน
ซีเมนส์จะมีบทบาทสำคัญในการแปลงโฉมพื้นที่จัดงาน Expo 2020 ให้กลายเป็น District 2020 และจะกลายเป็นผู้เช่าพื้นที่รายใหญ่ โดยบริษัทฯ มีแผนที่จะย้ายสำนักงานใหญ่ระดับโลกในส่วนของธุรกิจขนส่งสินค้าทางอากาศ ทางบก และทางเรือ จากเมืองมิวนิค ประเทศเยอรมนี มาที่ District 2020 และคาดว่าพนักงานของซีเมนส์ประมาณ 1,000 คนจะทำงานอยู่ในอาคารสองหลังที่ใช้เทคโนโลยีการจัดการอาคารที่ถูกติดตั้งไว้เดิมสำหรับงาน Expo 2020 เช่น เซ็นเซอร์อัจฉริยะ และแพลตฟอร์ม IoT ที่รองรับ ‘ระบบตรวจจับ’ ทั่วทุกจุดภายในอาคาร เพื่อจัดหาข้อมูลแบบเรียลไทม์และข้อมูลวิเคราะห์เกี่ยวกับสถานะใช้งานของอาคาร รวมไปถึงการให้บริการค้นหาตำแหน่งที่ตั้งสำหรับบุคคลและอุปกรณ์ต่าง ๆ
ถอดบทเรียน Expo 2020 Dubai กับการพัฒนา Smart City ของประเทศไทย
สถานการณ์การแพร่ระบาดก่อให้เกิดปัญหาท้าทายมากมายสำหรับเมืองต่าง ๆ ทั่วโลก ทั้งยังทำให้รูปแบบการใช้ชีวิต การทำงาน และการพบปะสังสรรค์ของผู้คนเปลี่ยนแปลงอย่างฉับพลัน นอกจากนั้น ภาวะโลกร้อนได้กลายเป็นเรื่องสำคัญเร่งด่วนสำหรับเมืองต่าง ๆ เนื่องจากมีข้อมูลว่าการปล่อยก๊าซเรือนกระจกกว่า 60% มาจากพื้นที่เมือง ความท้าทายที่สำคัญสองประการนี้เป็นแรงกระตุ้นให้ผู้บริหารเมืองในประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกคิดทบทวนเกี่ยวกับอนาคตของเมืองที่ตนเองดูแล ประเทศไทยก็ตกอยู่ในสถานการณ์ที่ไม่ต่างจากกัน
เนื่องจากธุรกิจท่องเที่ยวและการลงทุนจากต่างชาติเป็นแรงขับเคลื่อนที่สำคัญสำหรับการเติบโตทางเศรษฐกิจของไทย ดังนั้นโครงสร้างพื้นฐานของเมืองในส่วนที่เกี่ยวข้องกับประชาชน เช่น ระบบขนส่งสาธารณะ ไฟฟ้า ประปา และเครือข่ายการสื่อสาร จึงมีความสำคัญอย่างมากต่อการดึงดูดนักท่องเที่ยวและนักลงทุน
แนวทางการสร้างสมาร์ทซิตี้จากงาน Expo 2020 ซึ่งประเทศไทยสามารถเรียนรู้และนำมาปรับใช้:
ขณะที่เมืองต่าง ๆ เปิดรับนักท่องเที่ยวอีกครั้ง หลังจากที่การเดินทางระหว่างประเทศและกิจกรรมต่าง ๆ เริ่มกลับเข้าสู่ภาวะปกติ ภาคส่วนที่เกี่ยวข้องจึงจำเป็นที่จะต้องเร่งดำเนินการ เพราะโครงสร้างพื้นฐานของเมืองเริ่มกลายเป็นหนึ่งในเกณฑ์ที่สำคัญที่สุดสำหรับการพิจารณา ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการท่องเที่ยวพักผ่อน การเดินทางเพื่อทำธุรกิจ หรือจุดหมายปลายทางสำหรับการลงทุน เราสามารถเร่งการพัฒนาสมาร์ทซิตี้ได้ด้วยการเรียนรู้จากแนวทางปฏิบัติที่เหมาะสม และสร้างโซลูชั่นที่เหมาะกับวัฒนธรรมและชีวิตความเป็นอยู่ของเรา โดยจุดมุ่งหมายคือการสร้างเมืองแห่งอนาคตที่สะดวกสบาย ปลอดภัย ปรับเปลี่ยนได้อย่างยืดหยุ่น และมีความยั่งยืนสำหรับทั้งคนไทยและผู้มาเยือน
บทความ โดย นางสุวรรณี สิงห์ฤาเดช ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ซีเมนส์ ประเทศไทย
เมืองอัจฉริยะ(Smart City) เป็นหนึ่งในหัวข้อที่สังคมยุคใหม่พูดถึงกันมาอย่างต่อเนื่องในช่วงเวลาการเปลี่ยนผ่านสังคมสู่สังคมดิจิทัลที่กำลังเกิดขึ้นในแวดวงต่างๆ แต่เมืองอัจฉริยะที่เกิดขึ้นแล้วบนโลกและกำลังจะเกิดขึ้นแต่ละแห่งก็มีความแตกต่างกันไป
ในงานสัมมนา Delta Future Industry Summit ที่จัดโดยบริษัท เดลต้า อีเลคโทรนิคส์ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) ได้เชิญวิทยากรที่น่าสนใจมาพูดเกี่ยวกับเรื่องเมืองอัจฉริยะของไทย
เริ่มจากฝั่งผู้กำหนดนโยบาย พันศักดิ์ ศิริรัชตพงษ์ ผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม มาให้มุมมองเรื่องเมืองอัจฉริยะว่า เป็นการต่อยอดแนวคิดจากแผนงานดิจิทัลไทยแลนด์ ที่ต้องการให้ประเทศไทยเติบโตโดยใช้เทคโนโลยีอย่างชาญฉลาด โดยรัฐบาลได้เตรียมพร้อมทางด้านสาธารณูปโภคพื้นฐานที่จะรองรับเช่น การวางสายเคเบิลใยแก้วให้ไปถึงทุกหมู่บ้านของประเทศภายในปีหน้า เพื่อให้คนทุกพื้นที่เข้าถึงอินเทอร์เน็ต สามารถใช้ประโยชน์สร้างรายได้จากอีคอมเมิร์ช เรียนรู้ความรู้จากโลกออนไลน์ รวมถึงสามารถเข้าถึงบริการของภาครัฐได้อย่างสะดวกรวดเร็ว ลดความเหลื่อมล้ำระหว่างสังคมเมืองและชนบท
ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมารัฐบาลเริ่มสนับสนุนโครงการพัฒนาเมืองสู่เมืองอัจฉริยะไปแล้ว 7 จังหวัด ประกอบด้วย ภูเก็ต เชียงใหม่ ขอนแก่น กรุงเทพมหานคร และอีก 3 จังหวัดในอีอีซี คือชลบุรี ระยอง ฉะเชิงเทราเป็นการทดลองพัฒนาเมืองในด้านต่างตามที่ภาคประชาสังคมในพื้นที่มีความต้องการ โดยมีการตั้งคณะกรรมการขึ้นมาช่วยส่งเสริมการขับเคลื่อนนำโดยรองนายกรัฐมนตรี พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง เป็นประธาน
ผู้ช่วยรัฐมนตรีดีอี บอกว่าปัจจุบันอัตราประชากรที่เข้ามาอยู่ในเมืองทั่วโลกอยู่ที่ประมาณ 50 เปอร์เซ็นต์และจะเพิ่มขึ้นเป็น 60-70 เปอร์เซ็นต์ภายในปี 2030 จึงเป็นเหตุให้การพัฒนาเมืองอัจฉริยะเป็นเรื่องที่ต้องให้ความสนใจ เพื่อจะช่วยให้เกิดการใช้ทรัพยากรอย่างยั่งยืน สามารถจัดการมลภาวะต่างๆ ได้ดียิ่งขึ้น
ทั้งนี้นิยามของเมืองอัจฉริยะในประเทศไทยโดยพันศักดิ์คือ เมืองที่น่าอยู่ มีการจัดการอย่างมีประสิทธิภาพ และเป็นการพัฒนาอย่างยั่งยืน โดยเป็นการเลือกใช้เทคโนโลยีอย่างชาญฉลาด ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการ ลดค่าใช้จ่าย
โดยปัจจัยสำคัญที่จะช่วยหนุนให้เกิดเมืองอัจฉริยะขึ้นมาได้อย่างแท้จริงนั้น ผู้ช่วยรัฐมนตรีดีอีบอกว่า คือการมีส่วนร่วมของภาคประชาสังคม ไม่ว่าจะเป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ประชาชนในพื้นที่ ที่จะมาช่วยกันระดมความคิดเห็นว่าจะเลือกทำเมืองอัจฉริยะในแง่มุมใดก่อนตามความต้องการของแต่ละพื้นที่ที่มีแตกต่างกัน
อีกปัจจัยหนึ่งคือการมีส่วนร่วมของคนในชุมชน ซึ่งสามารถใช้เทคโนโลยีผ่านแอปพลิเคชันต่างๆ มาเป็นเครื่องมือเพื่อหากลไกเชื่อมโยง แบ่งปันข้อมูลต่างๆ เพื่อนำไปใช้งานได้จริงโดยจะต้องมีผู้ดูแลอาจจะเป็นรูปแบบธุรกิจเพื่อสังคมเพื่อให้โครงการต่างๆ มีความยั่งยืน
โดยภาครัฐจะทำหน้าที่ส่งเสริมด้านโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ เพื่อช่วยให้การพัฒนาเมืองอัจฉริยะเป็นไปได้ โดยรัฐบาลอยากเห็นภาคเอกชนบริษัทชั้นนำในอุตสาหกรรมต่างๆ รวมถึงสตาร์ทอัพเข้าไปมีส่วนร่วมในการทำงานร่วมกันเพื่อช่วยกันขับเคลื่อนเมืองอัจฉริยะในประเทศไทย
อีกมุมมองจากฝั่งของนักวิชาการ ผศ.ดร.นพพร ลีปรีชานนท์ หัวหน้าภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้าและคอมพิวเตอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มาให้ความเห็นเกี่ยวกับเมืองอัจฉริยะว่ามีองค์ประกอบสำคัญการเชื่อมโยงข้อมูลระหว่างภาครัฐและประชาชนผ่านฮาร์ดแวร์และซอฟท์แวร์ที่มาช่วยแก้ปัญหา
โดยปัจจัยที่ช่วยกระตุ้นให้เกิดเมืองอัจฉริยะประกอบด้วยการที่ประชากรย้ายเข้าสู่เมืองเพิ่มขึ้น การมองหาความโปร่งใสในกิจกรรมต่างๆ เพิ่มขึ้น การที่มีเทคโนโลยีที่สามารถเชื่อมโยงและจัดการข้อมูลจำนวนมาก ทิศทางของสังคมและปัญหาเรื่องสภาวะแวดล้อม
ทั้งนี้เมืองอัจฉริยะจะมาช่วยแก้ปัญหาต่างๆ เช่นลดการใช้พลังงาน ลดปัญหาการจราจร ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการรักษาความปลอดภัยให้กับชุมชนในเมือง ผ่านกริดในด้านต่างๆ ที่เชื่อมโยงกัน ไม่ว่าจะเป็นด้านการควบคุมพลังงาน การจราจร การจัดการคุณภาพอากาศและน้ำ จัดการที่จอดรถ สถานีชาร์จรถไฟฟ้า ซึ่งเหล่านี้เป็นโครงสร้างพื้นฐานที่รัฐจัดการเป็นส่วนใหญ่ โดยอาจจะมีภาคเอกชนเข้าไปร่วมด้วยในบางกิจกรรม
ผศ.ดร.นพพรมองว่า สิ่งสำคัญคือการเชื่อมโยงกันระหว่างของข้อมูลระบบโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ กับประชาชน โดยการจะเปลี่ยนเมืองสู่เมืองอัจฉริยะในด้านใดขึ้นกับการจัดลำดับความสำคัญของแต่ละชุมชนที่จะเลือกประเด็นที่ต้องการพัฒนาเมืองในด้านต่างๆ จากนั้นจึงมองหาพาร์ตเนอร์ที่เข้ากับเป้าหมายที่วางเอาไว้ โดยต้องคำนึงถึง ความคุ้มค่าและยั่งยืนที่จะเกิดขึ้น ด้วยการบริหารจัดการข้อมูลที่เชื่อมโยงสังคม สภาพแวดล้อมและเศรษฐกิจที่ต้องคำนึงถึงในการกำหนดแผน
โดยสรุปแล้วไม่ว่าจะเลือกพัฒนาเมืองสู่เมืองอัจฉริยะในด้านใดทั้งผู้ช่วยรัฐมนตรีและนักวิชาการมองไปในทิศทางเดียวกันว่า หัวใจสำคัญของการพัฒนาเมืองอัจฉริยะคือ การมีส่วนร่วมของทั้งภาครัฐและประชาชนซึ่งเป็นเรื่องสำคัญที่จะช่วยหนุนให้โครงการต่างๆ เดินหน้าไปได้อย่างยั่งยืน โดยอาศัยเทคโนโลยีต่างๆ เป็นตัวช่วย
บริษัท เดลต้า อีเลคโทรนิคส์ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) จัดงานสัมมนา Delta Future Industry Summit ประจำปี 2561 ขึ้นเป็นครั้งแรกในประเทศไทยโดยเซีย เชน เยน ประธานบริหาร บริษัท เดลต้า อีเลคโทรนิคส์ (ประเทศไทย) บอกว่าต้องการจะให้เป็นงานที่แลกเปลี่ยนความรู้แนวคิดใหม่ๆ ให้กับสังคมไทยโดยมีผู้เชี่ยวชาญด้านต่างๆ มาร่วมพูดคุย และเป็นการสร้างเครือข่ายให้กับผู้ที่เกี่ยวข้องในวงการต่างๆ โดยจะจัดกิจกรรมเช่นนี้ต่อเนื่องในทุกปี
อนันดา เออร์เบินเทค (Ananda UrbanTech) เป็นวิสัยทัศน์และความมุ่งมั่นของบริษัท อนันดา ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด (มหาชน) ที่จะพัฒนารูปแบบการใช้ชีวิตของคนเมืองผ่านการปรับใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยี และ Seedstars องค์กรระดับโลกที่มุ่งมั่นสร้างการเปลี่ยนแปลงและพัฒนารูปแบบการใช้ชีวิตของคนเมืองผ่านเทคโนโลยีและการคิดค้นของผู้ประกอบการธุรกิจหน้าใหม่ ร่วมมือกันเป็นปีที่สองในการเป็นเจ้าภาพจัดงาน Ananda x Seedstars Urban Living 2018 โดยนำวิทยากรชั้นนำมาให้ข้อมูลเกี่ยวกับแนวทางเทคโนโลยีและนวัตกรรมล่าสุดเพื่อยกระดับการใช้ชีวิตของคนกรุงเทพฯรวมทั้งพื้นที่ใกล้เคียงอื่นๆ
วิทยากรที่มาร่วมให้ความคิดเห็นประกอบด้วย คริสเตียน โคลเกิ้ล (Kristian Kloeckl) นักออกแบบและรองศาสตราจารย์ มหาวิทยาลัยนอร์ทอีสเทอร์น สาขาศิลปะและสถาปัตยกรรมศาสตร์ คริสเตียน ให้ความสำคัญในการตรวจสอบการออกแบบปฏิสัมพันธ์ (Interaction Design) เพื่อการนำไปสู่ไฮบริดซิตี้ และการศึกษาบทบาทของแนวคิดไร้แบบแผนสำหรับการออกแบบ ซึ่งผลงานของเขาเกี่ยวกับประเด็นดังกล่าวได้รับการเปิดเผยอย่างแพร่หลายจากงานจัดแสดงในสถานที่ต่างๆ อาทิ เวนิส เบียนนาเล่ พิพิธภัณฑ์ศิลปะสมัยใหม่ในนิวยอร์ก และพิพิธภัณฑ์ศิลปะสิงคโปร์
มานูเอล เดอร์ ฮาโกเพน (Manuel Der Hagopian) ผู้ร่วมก่อตั้ง บริษัท G8A Architecture ในเมืองเจนีวา ปัจจุบันเขาให้ความสนใจเกี่ยวกับผลกระทบของการเติบโตอย่างรวดเร็วของประชากรที่อยู่อาศัยในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ตั้งแต่ปี ค.ศ 2015 มานูเอลดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์ประจำสาขาวิชาเทคโนโลยีและการออกแบบมหาวิทยาลัยแห่งชาติสิงคโปร์
และสุดีป ไมธี (Sudeept Maiti) ผู้จัดการอาวุโสฝ่ายซิตี้โปรแกรม บริษัท WRI India สุดีป เป็นผู้ดูแลฝ่ายการควบคุมบริหารจัดการอุปกรณ์เคลื่อนที่ต่างๆของบริษัท WRI India เพื่อการพัฒนาระบบการขนส่งในเมือง เขามีประสบการณ์การทำงานด้านการควบคุมบริหารอุปกรณ์ (Mobility Solutions) มามากกว่า 200 ระบบ มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านการขนส่งที่ยั่งยืน การวางผังเมือง และการออกแบบชุมชนเมือง นอกจากนี้เขายังมีส่วมร่วมในการจัดตั้งกลุ่ม Multi-City และ Multi-Stakeholder เพื่อช่วยเปิดโอกาสสำหรับการเข้าร่วมพัฒนาของภาคเอกชน รวมทั้งการวางแผนกลยุทธ์, การดำเนินการภาคพื้นดินสำหรับระบบความปลอดภัย, การออกแบบพื้นที่สาธารณะ และแนวคิดการพัฒนามุ่งเน้นการขนส่ง (TOD) สำหรับเมืองต่างๆ
ผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบเมืองเหล่านี้มารวมตัวกันเพื่อแบ่งปันแนวคิดในการพัฒนาเมืองสมัยใหม่ เพราะ การพัฒนาชุมชนเมืองคือประเด็นสำคัญ ในยุคการย้ายถิ่นฐานเข้ามาอยู่ในเมืองใหญ่ (Urbanization) ประชากรโลกกว่าครึ่งอาศัยอยู่ในเมือง โดยองค์การสหประชาชาติคาดการณ์ว่า ประชากรที่จะเข้ามาอาศัยในเมืองจะมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นถึง 70 เปอร์เซ็นต์ ภายในปี ค.ศ. 2050 ความท้าทายที่นักวางแผนเมืองต้องเผชิญคือการพิจารณาภูมิทัศน์เมืองตลอดจนสุขภาพ การเคลื่อนย้าย การศึกษาของผู้อยู่อาศัย มลพิษ ความปลอดภัย และโครงสร้างพื้นฐาน ตามรายงานเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals Report)
งานในครั้งนี้จัดขึ้นเพื่อให้นักวางผังเมือง นักลงทุน ผู้ประกอบการ รวมถึงกลุ่มวิทยากรชั้นนำที่มีความเชี่ยวชาญเกี่ยวกับการใช้ชีวิตในเมืองมาปรึกษาหารือโดยใช้ข้อมูลเมืองและนวัตกรรมเทคโนโลยีล่าสุดเพื่อยกระดับศักยภาพทางเศรษฐกิจและสังคมรวมทั้งการปรับปรุงคุณภาพชีวิตของคนเมือง
โดยสามประเด็นหลักในการพูดคุยประกอบด้วย:
“การออกแบบซิตี้ไฮบริด: Inter/face, Inter/act, Improv/act” โดย คริสเตียน โคลเกิ้ล เขาบอกว่าไฮบริดซิตี้ถือเป็นสภาพแวดล้อมเหนือกว่าความเป็นสมาร์ทซิตี้ที่สามารถวัดการตอบสนองแบบเรียลไทม์ต่อสถานการณ์หรือการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอย่างไม่คาดคิด ซึ่งแนวคิดไร้แบบแผนช่วยให้มีความยืดหยุ่นมากขึ้น สามารถปรับตัวเข้ากับการเปลี่ยนแปลงต่างๆได้เป็นอย่างดี เพราะเมื่อเราเรียนรู้กับการสร้างสรรค์อย่างไร้แบบแผน เราจะพร้อมรับมือกับทุกสิ่งที่จะเกิดขึ้นในอนาคต
การออกแบบเมืองสมัยใหม่ทำได้โดยการออกแบบให้เข้ากับรูปแบบการใช้ชีวิตจริงของคนในสังคม โดยการคิดแบบองค์รวมผ่านผู้เชี่ยวชาญสาขาต่างๆ โดยความท้าทายที่อาจจะเกิดขึ้นได้คือ เรื่องนี้เป็นความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชนที่ต้องมาทดลองคิดและวางแผนร่วมกัน โดยเขาให้คำแนะนำว่า ควรจะคิดนอกกรอบ และให้คนทุกภาคส่วนมีส่วนร่วม
และคำแนะนำในการเลือกเทคโนโลยีที่จะนำมาใช้ว่า สามารถมองได้หลายมุมมอง แต่สิ่งสำคัญคือต้องทำให้คนในสังคมทุกคนอยากเลือกใช้ เหมาะกับชีวิตของคนในเมืองนั้นจริงๆ ไม่ว่าจะเป็นด้านการดูแลสุขภาพ การขนส่ง การศึกษา และอื่นๆ ซึ่งการจะเปลี่ยนแปลงนั้นต้องการความยืดหยุ่นเพื่อให้สามารถปรับตัวได้ในอนาคต เขาให้ข้อสังเกตว่าความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีที่เข้ามาอาจเป็นส่วนๆ ก็ได้เช่นการใช้พื้นที่แบบ Co-Working Space ที่เกิดขึ้นก็เป็นความเปลี่ยนแปลงที่เห็นได้ทั่วโลกในปัจจุบัน
“การออกแบบตามธรรมชาติสำหรับสภาพแวดล้อมที่มีความหนาแน่นสูง" โดย มานูเอล เดอร์ ฮาโกเพน ที่เขาบอกโดยสรุปว่า ทุกเมืองมีความแตกต่างอย่างมากโดยเฉพาะด้านวัฒนธรรม สภาพภูมิอากาศ การเมืองการปกครอง ซึ่งในบางครั้งการสร้างอาคารอาจไม่ใช่สิ่งจำเป็นเสมอไป แต่กว่าจะรู้นั้นก็ต่อเมื่อเราจำเป็นต้องหยุดสร้างไปเสียแล้ว เราสร้างอาคารสูงเนื่องจากพื้นที่มีจำกัดซึ่งลักษณะการสร้างอาคารดังกล่าวอาจปิดโอกาสการติดต่อสื่อสารของคนในสังคมมากกว่าการขยายโครงสร้างอาคารทางแนวนอนหรือให้กว้างยิ่งขึ้น
เขาเสริมว่าการออกแบบต้องตอบโจทย์ความต้องการพื้นฐานของการใช้พื้นที่ที่มีความหนาแน่นสูง โดยออกแบบสถาปัตยกรรมให้สอดคล้องกับสภาพแวดล้มและการใช้ชีวิตที่อยากให้เป็น สามารถตอบสนองสิ่งที่คนในชุมชนจะใช้ชีวิตได้ตามความเป็นจริง
"นวัตกรรมเพื่อการเปลี่ยนแปลง" โดย สุดีป ไมธี ที่บอกว่า ทางเดียวที่จะแก้ไขปัญหาการจราจรแออัดคือให้ประชากรหันมาใช้บริการขนส่งสาธารณะ ซึ่งบริการเหล่านี้ต้องอำนวยความสะดวกสบายควบคู่กับการบริการด้านต่างๆเพื่อให้วิธีการแก้ไขนั้นมีประสิทธิภาพสูงสุด
เขาบอกว่า การบูรณาการการเดินทางทำให้ระบบสาธารณูปโภคดีขึ้นกว่าที่เป็นมาจะช่วยพัฒนาให้เกิดสมาร์ทซิตี้ได้ โดยการเลือกใช้เทคโนโลยีใดขึ้นกับความต้องการของแต่ละพื้นที่ ไม่มีคำตอบเดียวสำหรับทุกเรื่อง
ดร.จอห์น มิลลาร์ ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายพัฒนาเชิงกลยุทธ์ บริษัท อนันดา ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด (มหาชน) กล่าวถึง การร่วมมือกับ Seedstars ถือเป็นบทบาทสำคัญในการพัฒนาชุมชนเมืองในประเทศไทยและในภูมิภาคผ่านกลยุทธ์การช่วยสนับสนุนและส่งเสริมบริษัทหน้าใหม่ที่มุ่งมั่นสร้างสรรค์เพื่อพัฒนาการใช้ชีวิตของคนเมืองที่ดียิ่งขึ้น ท่ามกลางการถกเถียงมากมายว่าสมาร์ทซิตี้จะไม่ยั่งยืนอย่างแท้จริง เว้นแต่ประชาชนจะมีส่วนร่วมขับเคลื่อนความเป็นสมาร์ทซิตี้ จากแนวคิดสำคัญของวิทยากรนำเสนอ 4 โซลูชั่นส์ที่น่าจะเป็นไปได้เพื่อช่วยพัฒนากรุงเทพฯให้กลายเป็นสมาร์ทซิตี้ ซึ่ง 4 โซลูชั่นส์ดังกล่าว
ประกอบด้วย:
เขาบอกว่า กรุงเทพฯเป็นเมืองแบบใด ความต้องการมีอย่างไรผู้ที่รู้ดีที่สุดคือคนที่ใช้ชีวิตในกรุงเทพ และตามแผนพัฒนาระบบขนส่งในกรุงเทพฯจะทำให้เมืองแห่งนี้เป็นพื้นที่ที่น่าสนใจเมื่อเมืองเปลี่ยนรูปแบบไป กรุงเทพฯจะเป็นเวทีที่ทำให้ผู้มาเยือนได้สัมผัสเทคโนโลยีที่หลากหลายมากกว่าอีกหลายเมืองบนโลกใบนี้
คาตาริน่า ซูเลนไยโอวา (Katarina Szulenyiova) หัวหน้าฝ่ายปฏิบัติการ บริษัท Seedstars บริษัทจากประเทศสวิสเซอร์แลนด์ ที่มุ่งมั่นสร้างการเปลี่ยนแปลงและพัฒนารูปแบบการใช้ชีวิตของคนเมืองผ่านเทคโนโลยีและการคิดค้นของผู้ประกอบการธุรกิจหน้าใหม่ กล่าวถึงความร่วมมือครั้งนี้ว่า จากวิสัยทัศน์ของSeedstarsคือมุ่งมั่นสร้างการเปลี่ยนแปลงและพัฒนารูปแบบการใช้ชีวิตของคนเมืองผ่านเทคโนโลยีและการเปิดโอกาสสำหรับผู้ประกอบการธุรกิจหน้าใหม่ การใช้ชีวิตในเมืองและสมาร์ทซิตี้เป็นสองประเด็นสำคัญสำหรับองค์กรที่ต้องการสร้างความแตกต่าง การนำผู้เชี่ยวชาญและผู้คิดค้นพัฒนามาปรึกษาหารือแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับประเด็นดังกล่าวถือเป็นหัวใจสำคัญ ซึ่งเรายินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้มีส่วนร่วมในการสนับสนุนเครื่องมือเพื่อให้การคิดค้นของพวกเขาบรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้